โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ท

ดัชนี อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ท

อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ท (Arthur Seyss-Inquart) เป็นนักการเมืองนิยมนาซีชาวออสเตรีย เป็นผู้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศออสเตรียเป็นเวลาเพียงสองวัน ตั้งแต่ 11-13 มีนาคม ปี 1938 ก่อนที่จะมีการอันชลุสส์ (Anschluss) คือการผนวกออสเตรียเข้ารวมกับนาซีเยอรมนี,เขาได้ลงนามในกฎหมายรัฐธรรมนูญในฐานะประมุขแห่งรัฐ หลังจากที่ประธานาธิบดีวิลเฮล์ม มิคลัสได้ลาออก.

25 ความสัมพันธ์: ชาวออสเตรียฟือเรอร์พรรคนาซีกฎหมายรัฐธรรมนูญการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ครัฐมนตรีลอยสงครามโลกครั้งที่สองอันชลุสส์อาชญากรรมต่อมนุษยชาติอดอล์ฟ ฮิตเลอร์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีคาร์ล เดอนิทซ์ประมุขแห่งรัฐประเทศออสเตรียประเทศโปแลนด์ประเทศเช็กเกียประเทศเนเธอร์แลนด์นายกรัฐมนตรีเยอรมนีนาซีเยอรมนีโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพโยเซฟ เกิบเบลส์ไรชส์คอมมิสซาเรียทเยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตรเขตปกครองสามัญเนือร์นแบร์ค

ชาวออสเตรีย

วออสเตรีย (Österreicher) เป็นกลุ่มคนเผ่าพันธุ์เจอรมานิก ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศออสเตรี.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและชาวออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ฟือเรอร์

ฟือเรอร์ (Führer) ในภาษาเยอรมัน หมายถึง "ผู้นำ" โดยคำว่า "ฟือเรอร์" มักจะหมายถึง ฉายาของผู้นำนาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเป็นตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาลสมัยนาซีเยอรมนี และองค์กรกึ่งทหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยเอ็สเอ็ส) โดยคำดังกล่าวเป็นการเอาอย่างจากคำว่า อิลดูเช ในภาษาอิตาลี ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและฟือเรอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคนาซี

รรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei, ย่อ: NSDAP) หรือ พรรคนาซี เดิมมีผู้เข้าร่วมเพียง 7 คน เป็นพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศเยอรมนีช่วงไรช์ที่สาม ตั้งแต..

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและพรรคนาซี · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายรัฐธรรมนูญ

กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายกลุ่มหนึ่งที่ว่าด้วยการจัดองค์กรของรัฐและการใช้อำนาจรัฐ ส่วน รัฐธรรมนูญ ที่หมายถึง กฎหมายสูงสุดของรัฐเป็นรายฉบับ ๆ ไป เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" และไม่เรียก "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" (เรียก "รัฐธรรมนูญ" เฉย ๆ) หมวดหมู่:กฎหมายรัฐธรรมนูญ.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและกฎหมายรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีลอย

รัฐมนตรีลอย (minister without portfolio) เป็นรัฐมนตรีที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเจาะจง หรือรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง ตำแหน่งที่มีแต่ในนามนี้ มักพบได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ปกครองโดยรัฐบาลผสม และคณะรัฐมนตรีที่อำนาจการตัดสินใจ ซึ่งรัฐมนตรีลอยแม้ว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งหรือประจำกระทรวงใดชัดเจน แต่มีสิทธิลงคะแนนออกเสียงในการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี ในบางประเทศที่ฝ่ายบริหารไม่ได้ประกอบด้วยพรรคร่วมรัฐบาล และ ที่พบบ่อยครั้งกว่าคือ ประเทศที่ประธานาธิบดีเป็นประมุข อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ตำแหน่งดังกล่าว หรือตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรีลอย มักพบได้น้อย หมวดหมู่:รัฐบาล.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและรัฐมนตรีลอย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อันชลุสส์

ตำรวจชายแดนเยอรมัน-ออสเตรียกำลังรื้อถอนที่กั้นชายแดนในเหตุการณ์อันชลุสส์ ปี 1938. อันชลุสส์ (Anschluss, Anschluß, ท. การผนวก หรือ การเชื่อมโยง) เป็นคำโฆษณาชวนเชื่อนาซีสำหรับการบุกครองและการรวมประเทศออสเตรียเข้ากับเยอรมนีในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและอันชลุสส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) เป็นการซึ่งกระทำลงโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง หรือการโจมตีแบบเอกเทศ ต่อบุคคลพลเรือนคนใด ๆ หรือต่อกลุ่มคนที่ระบุตัวได้ในหมู่ประชากรพลเรือน การดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นครั้งแรกในคดีเนือร์นแบร์ก และนับแต่นั้น การดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าวก็กลายเป็นหน้าที่ของศาลระหว่างประเทศ เช่น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย, และศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่การดำเนินคดีโดยศาลในประเทศก็มีบ้าง กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นพัฒนาขึ้นผ่านวิวัฒนาการของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ อาชญากรรมต่าง ๆ ที่กระทำต่อมนุษยชาตินั้นยังไม่มีประมวลไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใด ๆ แต่องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีโครงการริเริ่มกฎหมายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes Against Humanity Initiative) เป็นโต้โผ พยายามที่จะสร้างกฎหมายดังกล่าวให้ได้ในเร็ววัน อาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่างจากอาชญากรรมสงครามตรงที่อาชญากรรมต่อมนุษยชาติจะเกิดในยามสงครามหรือในเวลาอื่นก็ได้ แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองหรือเกิดนานทีปีหน หากแต่เป็นเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความโหดร้ายป่าเถื่อนที่กระทำเป็นวงกว้าง แล้วรัฐเพิกเฉยหรือไม่เอาโทษ ความผิดอาญา อย่างเช่น อาชญากรรมสงคราม, การฆ่าคน, การสังหารหมู่, การลดความเป็นมนุษย์, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การกวาดล้างชาติพันธุ์, การเนรเทศ, การทดลองมนุษย์โดยผิดจรรยาบรรณ, วิสามัญฆาตกรรม, การประหารแบบรวบรัด, การใช้อาวุธทำลายล้างสูง, การก่อการร้ายของรัฐ, การก่อการร้ายที่รัฐสนับสนุน, การใช้หมู่สังหาร, การลักพา, การบังคับให้บุคคลสูญหาย, การใช้เด็กทางทหาร, การกักกัน, การเอาคนลงเป็นทาส, การกินเนื้อมนุษย์, การทรมาน, การข่มขืนกระทำชำเรา, การเบียดเบียนทางการเมือง, การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ, และการละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล เดอนิทซ์

ร์ล เดอนิทซ์ (Karl Dönitz; 16 กันยายน 1891 – 24 ธันวาคม 1980) เป็นจอมพลเรือชาวเยอรมันผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์กองทัพเรือสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เดอนิทซ์สืบทอดตำแหน่งประมุขแห่งรัฐเยอรมนีต่อจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เขาเริ่มอาชีพในกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี 1918 ขณะที่เขาบังคับการเรือดำน้ำ UB-68 เรือถูกกองทัพบริติชจมและเดอนิทซ์ถูกจับเป็นเชลย ระหว่างอยู่ในค่ายเชลยศึก เขาสรุปสิ่งที่ต่อมาเขาเรียกว่ารูเดลทักทิค ("ยุทธวิธีฝูง" หรือเรียกทั่วไปว่า "ฝูงหมาป่า") เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เขาเป็นนายทหารเรือดำน้ำอาวุโสในครีกส์มารีเนอ ในเดือนมกราคม 1943 เขาได้ยศกรอสส์อัดมีรัล (จอมพลเรือ) และสืบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือจากจอมพลเรือ เอริช แรดเดอร์ วันที่ 30 เมษายน 1945 หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ถึงแก่อสัญกรรมและตามพินัยกรรมฉบับหลังสุดของฮิตเลอร์ เดอนิทซ์ถูกเสนอชื่อเป็นผู้สืบทอดประมุขแห่งรัฐจากฮิตเลอร์ ทั้งตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมนีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด วันที่ 7 พฤษภาคม 1945 เขาสั่งให้อัลเฟรด โยเดิล หัวหน้าเสนาธิการของกองบัญชาการทหารสูงสุด ลงนามตราสารยอมจำนนในแรมส์ ประเทศฝรั่งเศส เดอนิทช์ยังเป็นหัวหน้ารัฐบาลเฟลนซ์บุร์กจนถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยุบเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก เขาถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมสงครามและตัดสินลงโทษจำคุกสิบปี หลังการปล่อยตัว เขาใช้ชีวิตเงียบ ๆ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้ฮัมบุร์กจนเสียชีวิตในปี 1980.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและคาร์ล เดอนิทซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประมุขแห่งรัฐ

ประมุขแห่งรัฐ (head of state) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์และพิธีการทูตเมื่อหมายถึงข้าราชการ (official) ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐเอกราชหนึ่ง ๆ และมีอำนาจเด็ดขาดหรือจำกัดที่จะปฏิบัติเป็นผู้แทนสาธารณะสูงสุด (chief public representative) ของรัฐ ประมุขแห่งรัฐในประเทศส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาที่ดำรงตำแหน่ง หากในบางประเทศ คณะบุคคลอยู่ในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ เช่น สภาสหพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และผู้ครองนครร่วม (Captains Regent) ซานมารีโน คำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" มักใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากคำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" ยกตัวอย่าง ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 เช่น ระบบรัฐสภาอย่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พระมหากษัตริย์และประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นประมุขแห่งรัฐในสองประเทศนี้ตามลำดับ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้รับการยอมรับเป็นหัวหน้ารัฐบาล อย่างไรก็ดี ในสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งบุคคลที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลยังอาจเกิดได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและบางครั้งเช่นเดียวกับระบอบเผด็จการอื่น ๆ บทบาทของประมุขแห่งรัฐโดยทั่วไป รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมือง และหน้าที่ ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูตปฏิบัติภายใต้ข้อสันนิษฐานว่า หัวหน้าคณะทูต (คือ เอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต) ของประเทศผู้ส่งถูกถือว่าเป็นของประมุขแห่งรัฐรัฐผู้รับ มักคิดกันว่าประมุขแห่งรัฐเป็น "ผู้นำ" อย่างเป็นทางการของรัฐชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบัน หลายประเทศคาดหวังให้ประมุขแห่งรัฐของตนรวมค่านิยมของชาติในแบบนิยมที่คล้ายกัน.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและประมุขแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเช็กเกีย

็กเกีย (Czechia; Česko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic; Česká republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เมืองหลวงของประเทศคือ ปราก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน, ออสตราวา, เปิลเซน, ฮราเดตส์กราลอเว, เชสเกบุดเยยอวีตเซ และอูสตีนัดลาเบม นับตั้งแต่การยุบเลิกประเทศเชโกสโลวาเกียเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐเช็กได้สนับสนุนให้ใช้ชื่อประเทศแบบสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า "เช็กเกีย" (Czechia) แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่อ "เช็กเกีย" เป็นชื่อเรียกประเทศแบบสั้นอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและประเทศเช็กเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีเยอรมนี

นายกรัฐมนตรี (Bundeskanzler; Chancellor) เป็นตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารประเทศเยอรมนี เป็นชื่อเรียกตำแหน่งเก่าแก่ เกิดขึ้นในสมัยที่เยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน (Constitution of the German Empire 1871 AD) ในสมัยบิสมาร์คในปี..

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและนายกรัฐมนตรีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ

อุบิตส์ ฟรีดรีช วิลเฮล์ม โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ (Ulrich Friedrich Wilhelm Joachim von Ribbentrop) (30 เมษายน 2436 - 16 ตุลาคม 2489) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมัน เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของนาซีเยอรมนี ซึ่งเขาได้เป็นตัวแทนในการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพกับสหภาพโซเวียต เมื่อสิ้นสงครามเขาถูกตั้งข้อหาให้เป็นอาชญากรสงครามและได้รับโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในช่วงการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กในวันที่ 16 ตุลาคม..

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ · ดูเพิ่มเติม »

โยเซฟ เกิบเบลส์

ล์ โยเซฟ เกิบเบลส์ (Paul Joseph Goebbels) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โยเซฟ เกิบเบลส์ นักจิตวิทยามวลชน และแกนนำคนสำคัญฝ่ายพลเรือนของพรรคนาซี ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิที่สามหลังจากที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฆ่าตัวตาย ได้ชื่อว่าเป็นเสมือนมือซ้ายของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ขณะที่มือขวาคือ ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์).

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและโยเซฟ เกิบเบลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไรชส์คอมมิสซาเรียท

ไรช์มหาเยอรมัน (สีแดง) และพันธมิตรและดินแดนที่ถูกยึดครอง (สีส้ม) ในปี ค.ศ. 1942 ไรชส์คอมมิสซาเรียท (Reich Commissariat) เป็นชื่อเยอรมันสำหรับประเภทของเขตการปกครองโดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ ไรชส์คอมมิสซาร์ (Reich Commissioner) แม้ว่าสำนักงานดังกล่าวจะมีอยู่หลายแห่งในช่วงตลอดระยะเวลาของจักรวรรดิเยอรมันและสมัยนาซีในจำนวนของอาณาเขตที่แตกต่างกัน (อย่างเช่น โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ, การวางแผนเชิงพื้นที่, การล้างชาติพันธุ์ เป็นต้น) มันเป็นสิ่งที่ปกติที่ถูกใช้เพื่ออ้างถึงการจัดตั้งเขตการปกครองแบบกึ่งอาณานิคมซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยนาซีเยอรมนีในหลายประเทศที่ถูกยึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่ตั้งอยู่ในภายนอกเยอรมันไรช์อย่างเป็นทางการในแง่ของกฎหมาย หน่วยงานเหล่านี้ถูกควบคุมโดยตรงจากเจ้าหน้าที่พลเรือนที่มีอำนาจสูงสุด (ไรชส์คอมมิสซาร์) ผู้มีหน้าที่ในการปกครองดินแดนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ว่าการรัฐเยอรมันทั้งในนามของและฐานะตัวแทนโดยตรงของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ การริเริ่มการบริหารปกครองดินแดนเหล่านี้มีวัตถุประสงค์หลายประการ การก่อตั้งขึ้นมานั้นหรือวางแผนที่จะก่อตั้งขึ้นในทางตะวันตกและตอนเหนือของยุโรปโดยทั่วไปในฐานะที่เป็นขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านสำหรับการรวมตัวกันในอนาคตของชนชาติเยอรมันจากด้านนอกหลายประเทศต่างๆในช่วงก่อนสงครามเยอรมนีเข้าสู่การขยายตัวรัฐนาซี ในสิ่งที่คล้ายคลึงของทางด้านตะวันออกของพวกเขาได้มีหน้าที่เป็นอาณานิคมหลักและวัตถุประสงค์ของจักรวรรดินิยมเป็นแหล่งที่มาของอนาคต เลเบนสเราม์สำหรับการตั้งถิ่นฐานของชาวเยอรมันและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือระดับของการบริหารปกครองที่ปรับปรุงใหม่ที่ได้ดำเนินการในสองประเภท เช่นเดียวกับในดินแดนอื่นๆจำนวนมากที่ถูกยึดครองโดยเยอรมัน ผู้บริหารท้องถิ่นและข้าราชการได้ถูกกดดันเพื่อดำเนินการตามปกติแบบวันต่อวัน (โดยเฉพาะในระดับกลางและล่าง) แม้ว่าจะอยู่ภายใต่การกำกับดูแลของเยอรมันก็ตาม ในช่วงสงคราม ไรชส์คอมมิสซาเรียทในยุโรปตะวันตกและตอนเหนือยังคงรักษาโครงสร้างการบริหารที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ด้านตะวันออกก็ได้มีโครงสร้างขึ้นมาใหม่อย่างเสร็จสมบูรณ์ที่ได้รับการนำเสนอ ทั้งหมดของหน่วยงานเหล่านี้ต่างก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันสำหรับกรณีการรวมตัวเข้าสู่ไรช์มหาเยอรมัน (Großdeutsches Reich โกรซส์ดอยท์เชิสไรช์) ครอบคลุมพื้นที่ทั่วไปของยุโรปซึ่งทอดยาวจากทะเลเหนือไปยังเทือกเขายูรัล, ซึ่งเยอรมันจะสร้างเป็นพื้นฐาน หมวดหมู่:นาซีเยอรมนี.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและไรชส์คอมมิสซาเรียท · ดูเพิ่มเติม »

เยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร

มื่อนาซีเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะจึงได้แสดงสิทธิ์การปกครองเหนือดินแดนของรัฐเยอรมัน (เยอรมันไรช์) ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแนวโอเดอร์-ไนเซอ (Oder–Neisse line) และล้มล้างรัฐบาลภายใต้การปกครองของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ลง (ดูที่ปฏิญญาเบอร์ลิน ค.ศ. 1945) จากนั้นมหาอำนาจทั้ง 4 ของฝ่ายสัมพันธมิตรจึงได้แบ่งแยกเยอรมนีออกเป็น เขตยึดครอง จำนวนสี่เขตเพื่อเป้าหมายด้านการปกครอง โดยให้ฝรั่งเศสปกครองดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ สหราชอาณาจักรปกครองดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ สหรัฐปกครองดินแดนตอนใต้ และสหภาพโซเวียตปกครองภาคตะวันออก และบริเวณนี้เป็นที่รู้จักโดยรวมภายใต้ชื่อ เยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร (Alliierten-besetztes Deutschland) การแบ่งแยกนี้เป็นที่ยอมรับและให้สัตยาบัน ณ การประชุมพอทสดัม ระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม..

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและเยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองสามัญ

ตปกครองสามัญ(Generalgouvernement, Generalne Gubernatorstwo, Генеральна губернія),เรียกอีกอย่างว่า เจอเนอรัลโกเวอร์โนเรนท์ เป็นเขตยึดครองของเยอรมันที่ได้ก่อตั้งขึ้นภายหลังจากการร่วมมือบุกเข้ายึดครองโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตในปี..

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและเขตปกครองสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

เนือร์นแบร์ค

นือร์นแบร์ค (Nürnberg) หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า นูเร็มเบิร์ก (Nuremberg) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐไบเอิร์น (บาวาเรีย) ประเทศเยอรมนี ห่างจากนครมิวนิกขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 170 กิโลเมตร ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 500,000 คน เนือร์นแบร์คมีประวัติศาสตร์ถอยไปถึง ค.ศ. 1050 โดยเป็นเมืองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองนี้เป็นศูนย์ประชุมหลักของพรรคนาซี และหลังสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำพิจารณาคดีต่อเหล่าอาชญากรสงคราม หลังจากนาซีเยอรมันพ่ายแพ้.

ใหม่!!: อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทและเนือร์นแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »