โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ดัชนี จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

54 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1019พ.ศ. 1597พ.ศ. 1747พ.ศ. 1804พ.ศ. 1996พ.ศ. 873พ.ศ. 938พระสันตะปาปาการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลภาษากรีกภาษาละตินลัทธินอกศาสนาศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์ศิลปะไบแซนไทน์ศตวรรษที่ 11สุลต่านสงครามครูเสดสงครามครูเสดครั้งที่ 1สงครามครูเสดครั้งที่ 2สงครามครูเสดครั้งที่ 4อานาโตเลียอิสตันบูลอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ฮายาโซฟีอาจักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1จักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราชจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอสจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7จักรพรรดิโรมันจักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุสจักรพรรดิเฮราคลิอัสจักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1จักรวรรดิจักรวรรดิออตโตมันจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันตะวันตกจักรวรรดิไบแซนไทน์จักรวรรดิไนเซียคริสต์ศตวรรษที่ 15คอนสแตนติโนเปิลคาบสมุทรอิตาลีประชุมกฎหมายแพ่งประเทศบัลแกเรียประเทศอาร์มีเนียประเทศอิตาลีประเทศอียิปต์ประเทศจอร์แดนประเทศซีเรียแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์...โรมันคาทอลิกเยรูซาเลมเวนิสเทพปกรณัมโรมัน ขยายดัชนี (4 มากกว่า) »

พ.ศ. 1019

ทธศักราช 1019 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และพ.ศ. 1019 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1597

ทธศักราช 1597 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 1054.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และพ.ศ. 1597 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1747

ทธศักราช 1747 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และพ.ศ. 1747 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1804

ทธศักราช 1804 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และพ.ศ. 1804 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1996

ทธศักราช 1996 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และพ.ศ. 1996 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 873

ทธศักราช 873 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และพ.ศ. 873 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 938

ทธศักราช 938 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 395.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และพ.ศ. 938 · ดูเพิ่มเติม »

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Fall of Constantinople) เกิดขึ้นหลังจากที่คอนสแตนติโนเปิลถูกล้อมและยึดเมืองได้โดยสุลต่านเมห์เมดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมันจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่นำโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 การล้อมเริ่มตั้งแต่พฤหัสบดีที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1453 และสิ้นสุดลงเมื่อวันอังคารที่ 29 พฤษภาคมของปีเดียวกัน (ตามปฏิทินจูเลียน) การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลเท่ากับเป็นการสิ้นสุดอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่รุ่งเรืองมากว่าพันหนึ่งร้อยปี ที่ขณะนั้นก็เริ่มแตกแยกกันปกครองโดยราชวงศ์กรีกหลายราชวงศ์ หลังจากการขึ้นครองราชย์ของสุลต่านเมห์เมดแล้ว พระองค์ก็ทรงเพิ่มความกดดันต่อคอนสแตนติโนเปิลโดยการทรงสร้างเสริมป้อมปราการตามชายฝั่งช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (Dardanelles) เมื่อวันที่ 2 เมษายน พระองค์ก็ทรงเข้าล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลพร้อมด้วยกองทัพราวระหว่าง 80,000 ถึง 200,000 คน ตัวเมืองมีทหารรักษาราว 7,000 คนในจำนวนนั้น 2,000 เป็นชาวต่างประเทศ การล้อมเริ่มต้นด้วยการโจมตีด้วยการยิงกำแพงเมืองอย่างรุนแรงจากฝ่ายออตโตมันขณะที่กองทหารอีกจำนวนหนึ่งไปยึดที่ตั้งมั่นของฝ่ายไบแซนไทน์ในบริเวณนั้น แต่ความพยายามที่ปิดเมืองในระยะแรกโดยฝ่ายออตโตมันไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เรือกองหนุนของฝ่ายคริสเตียนสี่ลำเดินทางเข้าไปยังคอนสแตนติโนเปิลได้ สุลต่านเมห์เมดจึงมีพระราชโองการให้นำเรือของพระองค์เข้าไปยังแหลมทอง (Golden Horn) โดยการลากขึ้นไปบนขอนไม้ที่ทำให้ลื่น ความพยายามของฝ่ายไบแซนไทน์ที่จะเผาเรือจึงไม่สำเร็จและสามารถทำให้ฝ่ายออตโตมันในที่สุดก็ปิดเมืองได้ การโจมตีกำแพงเมืองของฝ่ายตุรกีได้รับการโต้ตอบอย่างเหนียวแน่นจากฝ่ายไบแซนไทน์ที่ทำให้ต้องเสียกองกำลังไปเป็นจำนวนมาก และความพยายามที่จะระเบิดกำแพงเมืองลงก็ได้รับการตอบโต้เช่นกันจนในที่สุดก็ต้องเลิก สุลต่านเมห์เมดทรงเสนอว่าจะยุติการล้อมเมืองถ้าคอนสแตนติโนเปิลยอมให้พระองค์เข้าเมืองแต่ก็ไม่เป็นผล เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ก็เกิดจันทรุปราคาที่เป็นลางถึงการเสียเมือง สองสามวันต่อมาจักรพรรดิคอนสแตนตินก็ทรงได้รับข่าวว่าจะไม่มีกองหนุนจากสาธารณรัฐเวนิสมาช่วย หลังเที่ยงคืนของวันที่ 29 พฤษภาคมกองทัพออตโตมันก็เข้าโจมตีกำแพงเมือง ระลอกแรกไม่ประสบความสำเร็จ ระลอกสองสามารถเจาะกำแพงทางตอนเหนือได้ แต่ฝ่ายไบแซนไทน์ก็สามารถตีฝ่ายออตโตมันกลับไปได้และสามารถยืนหยัดต่อต้านกองทหารชั้นเอก Janissaries ของตุรกีได้ ระหว่างการต่อสู้จิโอวานนิ จุสติเนียนินายทัพจากเจนัวก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนต้องถอยกลับไปยังเรือกับกองทหารและเสียชีวิตในที่สุด ทางด้านจักรพรรดิคอนสแตนตินพระองค์และกองทหารก็ดำเนินการต่อต้านต่อไปจนกระทั่งฝ่ายตุรกีเปิดประตูเมืองและบุกเข้าไปในเมืองพร้อมกับกองทหารเป็นจำนวนมากได้ กล่าวกันว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงถูกสังหารระหว่างการต่อสู้แต่ก็มิได้พบพระวรกายของพระองค์ จากนั้นฝ่ายตุรกีก็ปล้นเมือง การเสียเมืองครั้งนี้เป็นการสิ้นสุดอำนาจการปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสิ้นเชิงหลังจากที่รุ่งเรืองมากว่า 1,100 ปี และเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของคริสต์ศาสนจักร สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ทรงมีโองการให้โจมตีโต้ตอบทันทีแต่พระองค์ก็มาสิ้นพระชนม์ไม่นานหลังจากที่ทรงวางแผน สุลต่านเมห์เมดทรงประกาศให้คอนสแตนตินโนเปิลเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิของพระองค์ และทรงดำเนินการโจมตีและพิชิตอาณาจักรของไบแซนไทน์อีกสองอาณาจักรได้--อาณาจักรเดสโพเททแห่งโมเรียและจักรวรรดิเทรบิซอนด์ ชาวกรีกที่ยังเหลืออยู่ในคอนสแตนตินโนเปิลก็หนีไปยังส่วนต่างๆ ของยุโรปโดยเฉพาะอิตาลี การเคลื่อนย้ายของประชากรครั้งนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นเชื้อเพลิงที่ในที่สุดก็นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา นักวิชาการบางคนมีความเห็นว่าการเสียเมืองคอนสแตนตินโนเปิลเป็นเหตุการณ์หลักที่นำไปสู่การสิ้นสุดของยุคกลาง และบางท่านก็ใช้เหตุการณ์นี้เป็นเครื่องหมายของการสิ้น.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะไบแซนไทน์

มเสก ศิลปะไบแซนไทน์ ที่สุเหร่าโซเฟีย ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (พ.ศ. 640 - 1040) และ ศิลปะไบแซนไทน์ (พ.ศ. 1040 - 1996) ศิลปะคริสเตียนยุคแรก รับอิทธิพลมาจากศิลปะกรีกโบราณ ศิลปะไบแซนไทน์ หมายถึงศิลปะของรัฐที่นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ซึ่งอยู่ในระยะเวลาเดียวกับอาณาจักรไบแซนไทน์แต่มิได้เป็นอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ เช่น ประเทศบัลแกเรีย เซอร์เบีย หรือรุส รวมทั้งศิลปะของรัฐอาณาจักรเวนิส และราชอาณาจักรซิซิลี ศิลปะของผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันมักจะเรียกว่า ศิลปะหลังไบแซนไทน์ ศิลปะไบแซนไทน์บางลักษณะที่เริ่มจากอาณาจักรไบแซนไทน์โดยเฉพาะการเขียนภาพแบบที่เรียกว่า รูปสัญลักษณ์ (icon) และสถาปัตยกรรมการสร้างศาสนสถานยังคงทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศกรีซ ประเทศรัสเซีย และบางประเทศที่อยู่ในเครืออีสเติร์นออร์โธด็อกซ.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และศิลปะไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

ศตวรรษที่ 11

ตวรรษที่ 11 อาจหมายถึง.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และศตวรรษที่ 11 · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่าน

ลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมันกับขันทีอีกสองแบบ สุลต่าน หรือภาษาอาหรับเรียก สุลฏอน (Sultan, سلطان) เป็นชื่อตำแหน่งในหมู่ชนอิสลาม ซึ่งมีความหมายในทางประวัติศาสตร์มากมาย รากคำมาจากภาษาอาหรับซึ่งมีความหมายว่า "ความแข็งแกร่ง" "อำนาจ" หรือ "การปกครอง" มาจากคำนามกริยาว่า سلطة หมายถึง "อำนาจ" ต่อมาใช้เป็นชื่อตำแหน่งของผู้ปกครองประเทศมุสลิมซึ่งมีอำนาจปกครองอย่างเบ็ดเสร็จ (ไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังผู้ปกครองอื่นใดที่เหนือกว่า) บางครั้งก็ใช้เรียกผู้ปกครองแว่นแคว้นที่มีอำนาจภายในระบอบการปกครอง ต่อมายังพัฒนาความหมายไปอีกมากมายในหลายบริบท ราชวงศ์หรือดินแดนที่ปกครองโดยสุลต่าน จะเรียกชื่อว่า รัฐสุลต่าน หรือ Sultanate (سلطنة).

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และสุลต่าน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 1

งครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1096–1099) เริ่มต้นเป็นการแสวงบุญอย่างกว้างขวาง (ฝรั่งเศสและเยอรมนี) และจบลงด้วยปฏิบัติการนอกประเทศของทหารโดยทวีปยุโรปที่นับถือโรมันคาทอลิกเพื่อทวงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถูกยึดในการพิชิตเลแวนต์ของมุสลิม (ค.ศ. 632–661) จนเป็นผลให้ยึดเยรูซาเลมได้เมื่อ..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และสงครามครูเสดครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 2

“สภาสงครามครูเสดครั้งที่ 2” -- พระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี, พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 แห่งเยรูซาเลม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (Second Crusade) (ค.ศ. 1147-ค.ศ. 1149) เป็นสงครามครูเสด ครั้งสำคัญครั้งที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการเสียอาณาจักรเอเดสสาในปีก่อนหน้านั้น อาณาจักรเอเดสสาเป็นอาณาจักรครูเสดอาณาจักรแรกที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-ค.ศ. 1099) และเป็นอาณาจักรแรกที่ล่ม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 และเป็นสงครามครูเสดครั้งแรกที่นำโดยพระมหากษัตริย์ยุโรปที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้งสองพระองค์แยกกันเดินทางข้ามยุโรปไปยังตะวันออกกลาง หลังจากข้ามเข้าสู่ดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอานาโตเลียแล้ว กองทัพทั้งสองต่างก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อเซลจุคเติร์ก แหล่งข้อมูลของคริสเตียนตะวันตก--โอโดแห่งดุยล์ (Odo of Deuil) และคริสเตียนซีเรียคอ้างว่าจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงมีส่วนในความพ่ายแพ้ครั้งนี้โดยทรงสร้างอุปสรรคแก่การเดินหน้าของกองทัพทั้งสองโดยเฉพาะในอานาโตเลีย และทรงเป็นเป็นผู้สั่งการโจมตีของเซลจุคเติร์ก กองทัพที่ร่อยหรอที่เหลือของพระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าคอนราดก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเลม และในปี..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และสงครามครูเสดครั้งที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 4

งครามครูเสดครั้งที่ 4 (Fourth Crusade) (ค.ศ. 1202-ค.ศ. 1204) เป็นสงครามครูเสด ครั้งที่สี่ที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1202 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1204 จุดประสงค์แรกของสงครามก็เพื่อยึดเยรูซาเลมคืนจากมุสลิม แต่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1204 นักรบครูเสดจากยุโรปตะวันตกก็เข้ารุกรานและยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์แทนที่ ซึ่งถือกันว่าเป็นวิกฤติการณ์สุดท้ายที่ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างคริสต์ศาสนจักรตะวันออกและตะวันตก (East-West Schism) ระหว่างอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และ โรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และสงครามครูเสดครั้งที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อิสตันบูล

อิสตันบูล (ตุรกี: İstanbul) เดิมชื่อ คอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศตุรกี ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส ซึ่งทำให้อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญเพียงเมืองเดียวในโลก ที่ตั้งอยู่ใน 2 ทวีป คือ ทวีปยุโรป (ฝั่ง Thrace ของบอสฟอรัส) และทวีปเอเชีย (ฝั่งอานาโตเลีย) ข้อมูลปี 2007 จังหวัดอิสตันบูลมีประชากรประมาณ 11,372,613 คน ในอดีต อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญของชนเผ่าจำนวนมากในบริเวณนั้น จึงส่งผลให้อิสตันบูลมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ไบแซนไทน์, คอนสแตนติโนเปิล, สแตมโบล, อิสลามบูลเป็นต้น คำว่า อิสตันบูล มาจากภาษากรีก แปลว่า "ในเมือง" หรือ "ของเมือง".

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และอิสตันบูล · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮายาโซฟีอา

ัณฑ์อายาโซเฟียในปัจจุบัน โครงสร้างโบสถ์ ฮายาโซฟีอา (Hagia Sophia), อายาโซเฟีย (Ayasofya), ฮากีอาโซพีอา (Ἁγία Σοφία) หรือ ซางก์ตาซาปีเอนเตีย (Sancta Sapientia) เดิมเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนา นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมักถูกจัดให้อยู่ในรายการสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางHereward Carrington (1880-1958), "The Seven Wonders of the World: ancient, medieval and modern", reprinted in the Carington Collection (2003) ISBN 0-7661-4378-3,.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และฮายาโซฟีอา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1

thumb จักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 (ค.ศ. 482 - 565) จักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่ง ราชวงศ์ยุสตินิอานุส ทรงเป็นจักรพรรดิแห่ง จักรวรรดิโรมันตะวันออก ทรงครองราชย์สืบต่อจาก จักรพรรดิจัสตินที่ 1 พระปิตุลา ตั้งแต..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช

ักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 (ConstantineI 27 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ. 272Birth dates vary but most modern historians use "ca. 272". Lenski, "Reign of Constantine", 59. – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337) ครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 312 มีพระนามเต็มว่า “Flavius Valerius Aurelius Constantinus” หรือที่รู้จักกันว่า “คอนสตันไทน์ที่ 1” ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก หรือ “คอนสตันไทน์มหาราช” หรือ “นักบุญคอนสตันไทน์” ในบรรดาผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์หรือนิกายไบแซนไทน์คาทอลิก พระราชกรณียกิจสำคัญที่สุดคือการประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมือปี ค.ศ. 313 จักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จึงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมันที่นับถือศาสนาคริสต์ตามพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ที่ประกาศโดยจักรพรรดิลีซีนีอุส (Licinius) ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ยกเลิกการทารุณกรรมต่อคริสต์ศาสนิกชนทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน ตามปฏิทินศาสนาของไบเซ็นไทน์ของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และนิการคาทอลิกตะวันออกแห่งไบเซนไทน์บันทึกจักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1และเฮเลนแห่งคอนสแตนติโนเปิลพระมารดาว่าเป็นนักบุญ แต่ในปฏิทินศาสนาของตะวันตกไม่มีอยู่ในรายนามนักบุญ คอนสตันไทน์ได้รับนาม “มหาราช” เพราะพระราชกรณียกิจต่างที่ทรงทำให้ต่อคริสต์ศาสนา ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ทรงประกาศการปรับปรุงเมืองไบเซนเทียมให้เป็น “กรุงโรมใหม่” (Nova Roma) และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 ทรงประกาศให้เมืองไบเซ็นเทียมเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน เมืองไบเซ็นเทียมเปลื่ยนชื่อเป็น “คอนสแตนติโนเปิล” แปลว่า “เมืองของคอนสตันไทน์” หลังจากจักพรรดิคอนสตันไทน์สิ้นพระชนม์เมื่อปี..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส (Constantine XI Palaiologos, 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405-29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453) เป็นจักรพรรดิโรมันองค์สุดท้าย ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1449-ค.ศ. 1453 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1947 หมวดหมู่:จักรพรรดิไบแซนไทน์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตในสงคราม.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7

ักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 (Constantine VII หรือ Constantine Porphyrogennetos (Constantine the Purple-born), Κωνσταντίνος Ζ΄ Πορφυρογέννητος, Kōnstantinos VII Porphyrogennētos) (2 กันยายน ค.ศ. 905 – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 959) คอนสแตนตินเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิลีโอที่ 6 เดอะไวส์และพระอัครมเหสีองค์ที่สี่โซอี คาร์โบนอพซินา และเป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์แห่งไบแซนไทน์ คอนสแตนตินทรงมีชื่อเสียงในการทรงพระราชนิพนธ์หนังสือสองเล่ม “De Administrando Imperio” และ “De Ceremoniis” คอนสแตนตินที่ 7 ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ของราชวงศ์มาซิโดเนีย ผู้ทรงครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 908 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 959.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโรมัน

จักรพรรดิโรมัน เป็นผู้ที่ปกครองจักรวรรดิโรมันตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสตกาล ถึง ค.ศ. 476 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันตก และปี ค.ศ. 1453 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันออก.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรพรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส

รมูลุส เอากุสตุส (จาก http://www.cngcoins.com/ www.cngcoins.com) ฟลาวิอัส โรมุลุส เอากุสตุส หรือ ฟลาวิอุส โรมูลุส เอากุสตุส (เกิดราวค.ศ. 460/ค.ศ. 470 - เสียชีวิตหลังจาก ค.ศ. 511) มักถูกเรียกว่า โรมูลุส เอากุสตุส เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตกพระองค์สุดท้าย ชื่อตอนเกิดคือ ฟลาวิอุส โรมูลุส เป็นบุตรชายของ ฟลาวิอุส โอเรสเตส ทหารโรมันและนักการเมืองแห่งโรมซึ่งคาดว่ามีเชื้อสายเยอรมันอยู่ด้วย โอเรสเตสได้รับการแต่งตั้งเป็น "ผู้บัญชาการทหาร" โดยจักรพรรดิโรมัน จูเลียส เนโปส ในปี ค.ศ. 475 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 475 การก่อรัฐประหารของโอเรสเตสได้ประสบความสำเร็จในการควบคุมรัฐบาลที่เมืองราเวนนา (เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่ปี ค.ศ. 402) ไว้ได้ จูเลียส เนโปส ได้หลบหนีไปยังแคว้นดัลเมเชียและปกครองที่นั่นจนกระทั่งสวรรคตในปี ค.ศ. 480 โอเรสเตสได้กลายเป็นผู้ปกครองจังหวัดโรมันทางตะวันตกของแคว้นดัลเมเชียไปโดยปริยาย แม้ว่าเขาจะไม่มีสิทธิชอบธรรมในการขึ้นสู่บัลลังก์เองก็ตาม ดังนั้นเขาจึงได้ยกบุตรชายของตนขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 475 การแต่งตั้งดังกล่าวไม่ได้รับการเห็นชอบจากคู่อริ คือจักรพรรดิในจักรวรรดิไบแซนไทน์ (โรมันตะวันออก) เซโน และบาซิล.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเฮราคลิอัส

ักรพรรดิเฮราคลิอัส หรือ จักรพรรดิเฮราเคลออส(Heraclius; ชื่อเต็ม: Flavius Heraclius Augustus, Φλάβιος) (ราว ค.ศ. 575 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 641) เฮราคลิอัสเป็นจักรพรรดิเชื้อสายอาร์มีเนียแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ของราชวงศ์เฮราเคลียน ผู้ทรงครองราชย์เป็นเวลากว่าสามสิบปีระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 610 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 641 การเรืองอำนาจของพระองค์เริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรพรรดิเฮราคลิอัส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1

ักรพรรดิเทออดอซิอุส บนเหรียญสมัยโรมัน จักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1 หรือ จักรพรรดิเทออดอซิอุสมหาราช (11 มกราคม ค.ศ. 347 - 11 มกราคม ค.ศ. 395) เป็นจักรพรรดิโรมัน ครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิ

ักรวรรดิ (อ่านว่า จัก-กฺระ-หฺวัด, อังกฤษ: empire) ถูกนิยามว่าหมายถึง "กลุ่มชาติรัฐหรือชาติพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิหรืออธิปไตยของรัฐอื่นๆที่ทรงอิทธิพล โดยทั่วไปมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชอาณาจักร" นักวิชาการได้ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับคำว่า “Empire” ในภาษาอังกฤษหรือ “จักรวรรดิ” ในภาษาไทย (จากคำภาษาละติน “imperium” ที่หมายถึงสายการบังคับบัญชาทางการทหารของรัฐบาลโรมันโบราณ) โดยทั่วไปมักนิยามให้เป็นรัฐที่มีอาณาจักรอื่นที่มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างชัดเจนอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจการปกครองหรืออยู่ในเครือจักรภพ เช่นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษในปัจจุบัน นิยามอีกรูปแบบหนึ่งอาจเน้นปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการเมือง แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงการครอบงำทางอำนาจการทหาร เช่นเดียวกับรัฐทั่วไป จักรวรรดิจะมีโครงสร้างทางการเมืองของตนเอง หรืออย่างน้อยก็โดยวิธีกดขี่บังคับให้อยู่ใต้อำนาจ จักรวรรดิบนแผ่นดินใหญ่ (เช่นจักรวรรดิมองโกล หรือจักรวรรดิอาคีเมนิดเปอร์เชีย – Achaemenid Persia) มักจะขยายไปตามอาณาเขตที่ประชิดต่อเนื่องกัน ส่วนจักรวรรดิทางทะเล (เช่น จักรวรรดิเอเธนีเนียน จักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิอังกฤษ) อาจมีอาณาเขตกระจัดกระจายหลวมๆ แต่อยู่ในอำนาจการควบคุมทางกองทัพเรือเป็นต้น จักรวรรดิที่มีมาก่อนจักรวรรดิโรมันหลายร้อยปี ได้แก่จักรวรรดิอียิปต์ซึ่งได้ก่อตั้งจักรวรรดิเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อน..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันตะวันตก

ักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปี..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิโรมันตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไนเซีย

ักรวรรดิไนเซีย หรือ จักรวรรดิโรมันแห่งไนเซีย (Empire of Nicaea หรือ Roman Empire of Nicaea, Βασίλειον τῆς Νίκαιας) เป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในบรรดารัฐไบแซนไทน์กรีกที่ก่อตั้งโดยชนชั้นเจ้านายผู้ปกครองจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่หนีมาหลังจากที่เสียคอนสแตนติโนเปิลไปในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 จักรวรรดิไนเซียก่อตั้งโดยราชวงศ์ลาคาริสรุ่งเรืองระหว่างปี..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิไนเซีย · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 15

ริสต์ศตวรรษที่ 15 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1401 ถึง ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และคริสต์ศตวรรษที่ 15 · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรอิตาลี

ทางอากาศของคาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรอิตาลี หรือ คาบสมุทรแอเพนไนน์ (Penisola italiana, Penisola appenninica) เป็นคาบสมุทรที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาแอลป์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเอเดรียติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลไอโอเนียน และทางทิศตะวันตกติดกับทะเลติร์เรเนียนและทะเลลิกูเรียน คาบสมุทรนี้มีรูปร่างคล้ายรองเท้าบูท โดยบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาแอเพนไนน์เป็นแกนกลาง บริเวณตอนเหนือมีที่ราบลุ่มแม่น้ำโปซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอลป์กับเทือกเขาแอเพนไนน์นั้น เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม และเป็นที่ตั้งเมืองสำคัญของประเทศอิตาลี เช่น มิลาน ตูริน เวนิส โบโลญญา ปาร์มา เวโรนา คาบสมุทรอิตาลีมีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 290 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ มีพื้นที่ประมาณ 260,000 ตารางกิโลเมตร (ไม่นับรวมพื้นที่เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย) เป็นคาบสมุทรที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจาก คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรไอบีเรีย และคาบสมุทรบอลข่าน ตามลำดับ เมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรอิตาลีเรียงตามลำดับ 4 อันดับแรกได้แก่ โรม มิลาน เนเปิลส์ และตูริน ภูมิอากาศบริเวณคาบสมุทรอิตาลีเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกคือ มะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก และองุ่นเพื่อใช้ทำไวน์ เมืองท่าที่สำคัญบนคาบสมุทรอิตาลีได้แก่ เจนัว เวนิส และเนเปิล.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และคาบสมุทรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประชุมกฎหมายแพ่ง

วัดซันวีตาเล ประเทศอิตาลี ประชุมกฎหมายแพ่ง (Corpus Iuris Civilis) เป็นประชุมข้อเขียนทางนิติศาสตร์ซึ่งพระเจ้าจัสติเนียนที่ 1 พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีพระราชโองการให้รวบรวมและเผยแพร่ตั้งแต..

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และประชุมกฎหมายแพ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบัลแกเรีย

ัลแกเรีย (България) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบัลแกเรีย (Република България) เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ ประเทศเซอร์เบียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางตะวันตก และประเทศโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบบัลแกเรียเคยเป็นอาณานิคมของรัสเซี.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และประเทศบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอาร์มีเนีย

อาร์มีเนีย หรือ อาร์เมเนีย (Armenia,; Հայաստան ฮายาสตาน) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอาร์มีเนีย (Republic of Armenia; Հայաստանի Հանրապետություն) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส มีอาณาเขตติดต่อกับตุรกีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับจอร์เจียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันออก และทางทิศใต้ติดต่อกับอิหร่านและรัฐปกครองตนเองนาคีเชวาน (เป็นดินแดนส่วนแยกของอาเซอร์ไบจาน) อาร์มีเนียเป็นรัฐสมาชิกของสภายุโรปและเครือรัฐเอกราช อาร์มีเนียเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และประเทศอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์แดน

ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan; المملكة الأردنية الهاشمية) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (Jordan; الأردن Al-Urdunn อัลอุรดุน) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมทั้งติดต่อกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครองทางทิศตะวันตก จอร์แดนเป็นประเทศที่เกือบไม่มีทางออกสู่ทะเล มีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกอบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และประเทศจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์

ทะเลเดดซี แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land; הקודש; Terra Sancta; الأرض المقدسة; ภาษาอารามิคโบราณ: ארעא קדישא Ar'a Qaddisha) หมายถึงดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณประเทศอิสราเอลซึ่งมีความสำคัญต่อศาสนาสำคัญศาสนาอับราฮัมสามศาสนา ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม สาเหตุของความศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากความสำคัญของกรุงเยรูซาเลมทางศาสนาและความสำคัญของการเป็นดินแดนแห่งอิสราเอล สงครามครูเสดใช้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เป็นสาเหตุในการยึดคืนเพราะเป็นดินแดนที่มีความหมายต่อพันธสัญญาใหม่ ในปัจจุบันดินแดนบริเวณนี้เป็นดินแดนของความขัดแย้งระหว่างอาหรับและอิสราเอล.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เวนิส

วนิส (Venice) หรือ เวเน็ตเซีย (Venezia) เป็นเมืองหลักของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลเอเดรียติก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges) และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light) เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเอเดรียติก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำปลาวี มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในแตร์ราแฟร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่น ๆ ในทะเล.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมโรมัน

ทพีเซเรสเทพีผู้พิทักษ์การเจริญเติบโตของธัญพืช เทพปกรณัมโรมัน หรือ เทพปกรณัมละติน (Roman mythology หรือ Latin mythology) หมายถึงความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าของผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลาติอุมและเมืองสำคัญๆ ในคาบสมุทรอิตาลีของโรมันโบราณ ที่อาจจะแบ่งได้เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งที่เป็นความเชื่อสมัยต่อมาและความเชื่อทางวรรณกรรมที่ประกอบด้วยความเชื่อที่มาจากเทพปกรณัมกรีก อีกส่วนหนึ่งเป็นความเชื่อเดิมที่เกิดขึ้นก่อนหน้าอิทธิพลกรีกที่มีลักษณะที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับเทพปกรณัมกรีกในสมัยต่อม.

ใหม่!!: จักรวรรดิไบแซนไทน์และเทพปกรณัมโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Byzantine EmpireEastern Roman Empireอาณาจักรไบแซนไทน์จักรวรรดิโรมันตะวันออกจักวรรดิบาเซนไตน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »