โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชอาณาจักรเวสเซกซ์

ดัชนี ราชอาณาจักรเวสเซกซ์

ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ (Wessex หรือ Westseaxe (ภาษาอังกฤษเก่า)) เวสเซ็กซ์ หรือ “แซ็กซอนตะวันตก” เป็นอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนของแซ็กซอนตะวันตกทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนอังกฤษรวมตัวกันเป็นประเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ภายใต้ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หลังจากสมัยสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชเวสเซ็กซ์ก็มีฐานะเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ตั้งแต..

11 ความสัมพันธ์: ชาวแองโกล-แซกซันพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชพระเจ้าคนุตมหาราชพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันภาษาอังกฤษเก่าราชวงศ์เวสเซกซ์ราชอาณาจักรอังกฤษศาสนาคริสต์ประวัติศาสตร์หมู่เกาะอังกฤษ

ชาวแองโกล-แซกซัน

ราชอาณาจักรแองโกล-แซกซัน ราว ค.ศ. 600 หมวกนักรบที่พบในซัตตันฮูที่อาจจะเป็นของเรดวอลดแห่งอีสแองเกลีย (Raedwald of East Anglia) (ราว ค.ศ. 625) ออกแบบตามแบบหมวกนักรบของโรมันและตกแต่งแบบหมวกนักรบของสวีเด็นที่ทำในสมัยเดียวกันที่โอลด์อุพพ์ซาลา แองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxons) เป็นคำที่ใช้เรียกชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักรระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนกระทั่งถึงการรุกรานของนอร์มัน ในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (William I of England) หรือพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต (William the Conqueror) หรือพระเจ้าวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี (William II of Normandy) หรือบ้างเรียก พระเจ้าวิลเลียมลูกนอกสมรส (William the Bastard) พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ประสูติเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1027 (พ.ศ. 1570) และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1087 (พ.ศ. 1630) ทรงเป็นลูกนอกสมรสของโรเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์ม็องดีและเฮอร์เลวา เดิมทรงมีฐานะเป็นดยุกแห่งนอร์ม็องดีในฝรั่งเศส เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609) หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีสิ้นพระชนม์เมื่อ..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวล.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคนุตมหาราช

ระเจ้าคนุตมหาราช (Canute the Great หรือ Cnut the Great; นอร์สโบราณ: Knútr inn ríki; Knut den mektige; Knut den Store; Knud den Store) หรือ คานุต กษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ปี..1016 เดนมาร์ตั้งแต่ปี..1018 และสวีเดนตั้งแต่ปี..1028 พระองค์เริ่มต้นชีวิตวัยหนุ่มด้วยการเป็นนักรบไวกิ้งและกลายเป็นผู้ปกครองของจักรวรรดิที่ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดประกอบด้วยอังกฤษ เดนมาร์ก นอร์เวย์ และส่วนหนึ่งของสวีเดน คานุตรุกรานอังกฤษในปี..1013 ร่วมกับพระราชบิดา สเวน กษัตริย์แห่งเดนมาร์ก หลังการสวรรคตของสเวนในปี..1014 พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นกษัตริย์โดยกองกำลังไวกิ้ง คานุตปราบเอ็ดมุนด์ที่ 2 จอมพลังที่อาสซานดุน เอสเซ็กซ์ ในปี..1016 พระองค์กับเอ็ดมุนด์จอมพลังแยกอังกฤษออกจากกัน คานุตได้ปกครองเมอร์เซียและนอร์ธัมเบรียจนกระทั่งพระองค์ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของอังกฤษทั้งหมดหลังการสวรรคตของเอ็ดมุนด์ พระองค์สืบสันตติวงศ์เป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์กต่อจากพระเชษฐา ฮารัลด์ ในปี..1018 ทรงบังคับให้พระเจ้าแมลคอล์มถวายความจงรักภักดีด้วยการรุกรานสก็อตแลนด์ในช่วงราวปี..1027 และพิชิตนอร์เวย์ในปี..1028 พระองค์ได้รับการสืบสันตติวงศ์โดยพระโอรสนอกกฎหมาย แฮโรลด์ที่ 1 ภายใต้การปกครองของคานุต การค้าของอังกฤษเจริญรุ่งเรืองขึ้น และพระองค์ได้รับความนิยมจากไพร่ฟ้าชาวอังกฤษจากการส่งทหารกลับเดนมาร์ก ทว่าจักรวรรดิทะเลเหนือที่ประกอบด้วยเดนมาร์ก อังกฤษ และนอร์เวย์ล่มสลายหลังการสวรรคตของพระองค์ ทรงถูกฝังที่วินเชสเตอร.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และพระเจ้าคนุตมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอเธลสตานแห่งอังกฤษ (Athelstan of England; Æþelstān) (ราว ค.ศ. 895 - ค.ศ. 940) กษัตริย์แห่งอังกฤษปี..924-940 โอรสของเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส เอเธลสตานนำอังกฤษสู่ความเป็นหนึ่งโดยการปกครองทั้งเมอร์เซียและเวสเซ็กซ์ พระองค์ปราบการรุกรานของชาวสก็อตแลนด์, ชาวไอร์แลนด์ และชาวสแตรธไคลด์ ที่บรูนันเบอร์ในปี..937 พระองค์เอาชนะอาณาจักรของชาวสแกนดิเนเวียที่ตั้งรกรานอยู่ในยอร์กและเพิ่มอำนาจของอังกฤษในชายแดนของเวลส์และสก็อตแลน.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน

ผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) แสดงศึกเฮสติงส์และเหตุการณ์ที่นำมาสู่เหตุการณ์ที่ว่า ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ หรือ การรุกรานของชาวนอร์มัน (ภาษาอังกฤษ: Norman conquest of England) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยการรุกรานราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยดยุคแห่งนอร์มังดี และชัยชนะที่ได้รับที่ศึกเฮสติงส์ (Battle of Hastings) ผลของสงครามคือการปกครองของชาวนอร์มันในอังกฤษ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายอย่างในประวัติศาสตร์อังกฤษ ชัยชนะของชาวนอร์มันทำให้อังกฤษเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างอังกฤษและผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยการนำเจ้านายนอร์มันเข้ามาปกครองบริหารอังกฤษซึ่งทำให้ลดอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียลง ชัยชนะทำให้เกิดราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดราชวงศ์หนึ่งในยุโรปรวมทั้งการก่อตั้งระบบการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน และชัยชนะเปลี่ยนแปลงภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษและเป็นพื้นฐานของความเป็นคู่แข่งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่ต่อเนื่องกันมาเป็นพักๆ ร่วมพันปี.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และภาษาอังกฤษเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เวสเซกซ์

อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หรือ ราชวงศ์เซอร์ดิค (House of Wessex หรือ House of Cerdic) เป็นราชวงศ์แซ็กซอนที่ปกครองราชอาณาจักรทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าเวสเซ็กซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายใต้การนำของพระเจ้าเซอร์ดิคแห่งเวสเซ็กซ์จนกระทั่งรวมเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ จากนั้นราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ปกครองอังกฤษทั้งหมดที่เรียกว่า “Bretwalda” ตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ในปี ค.ศ. 871 ไปจนถึงสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1016 การปกครองของราชวงศ์เวสเซ็กซ์มักจะมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายอื่นโดยเฉพาะจาก บริเวณเดนลอว์ (Danelaw) ที่ปกครองโดยกฎหมายของเดนมาร์ก และต่อมาโดยสเวน ฟอร์คเบียร์ดผู้ยึดราชบัลลังก์ระหว่าง ค.ศ. 1013 ถึง ค.ศ. 1014 ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดและผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ปกครองอังกฤษจนปี ค.ศ. 1042 หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ได้รับการฟื้นฟูอยู่ชั่วระยะหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1042 ถึงปี ค.ศ. 1066 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ และ สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน หรือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็สิ้นสุดลงไม่นานหลังจากยุทธการเฮสติงส์โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮาโรลด์ถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยดยุคแห่งนอร์มังดีผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ “พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต” (William the Conqueror) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มัน.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และราชวงศ์เวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์หมู่เกาะอังกฤษ

ประวัติศาสตร์ของหมู่เกาะอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: History of the British Isles) เป็นประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับความขัดแย้งและความเป็นพันธมิตรระหว่างผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ ของบริเตนใหญ่, ไอร์แลนด์ และเกาะต่างๆ ที่รวมเป็นเกาะอังกฤษที่รวมทั้งฝรั่งเศส, เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, เดนมาร์ก และ สแกนดิเนเวีย ในปัจจุบันเกาะอังกฤษประกอบด้วยรัฐอิสระสองรัฐ: สาธารณรัฐไอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร นอกจากนั้นยังมีรัฐที่ขึ้นกับสหราชอาณาจักร: เกิร์นซีย์, เจอร์ซีย์ และ ไอล์ออฟแมน.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และประวัติศาสตร์หมู่เกาะอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kingdom of WessexWessexราชอาณาจักรเวสเซ็กส์ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์อาณาจักรเวสเซ็กส์อาณาจักรเวสเซ็กซ์เวสเซ็กซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »