โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐผู้คัดเลือกโคโลญ

ดัชนี รัฐผู้คัดเลือกโคโลญ

รัฐผู้คัดเลือกโคโลญ (Electorate of Cologne, Kurfürstentum Köln หรือ Kurköln) เป็นราชรัฐอัครมุขนายกในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่รุ่งเรืองมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 รัฐโคโลญประกอบด้วยมุขมณฑลโรมันคาทอลิกโคโลญ (Erzbistum Köln) ที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปผู้มีตำแหน่งเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก (prince-elector) ในจักรวรรดิ เมืองหลวงของรัฐคือโคโลญ (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1288) และต่อมาบอนน์ รัฐมาถูกยุบในปี..

11 ความสัมพันธ์: บอนน์การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนีรัฐราชรัฐอัครมุขนายกจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โคโลญเสรีนครจักรวรรดิเจ้าชายมุขนายกเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก

บอนน์

อนน์ (Bonn) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ห่างออกไปประมาณ 25 กิโลเมตร ทางใต้ของโคโลญ บนแม่น้ำไรน์ในรัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย บอนน์เคยเป็นเมืองหลวงของอดีตประเทศเยอรมนีตะวันตก ในช่วง ค.ศ. 1949 ถึง ค.ศ. 1990 และเป็นที่ตั้งอย่างเป็นทางการของรัฐบาลจนถึง ค.ศ. 1990 เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1998 องค์กรรัฐบาลแห่งชาติหลายแห่งได้ย้ายจากบอนน์ไปเบอร์ลิน สภาทั้งสองแห่งของรัฐสภาแห่งชาติเยอรมัน คือ บุนเดสทาก (Bundestag - สภาล่าง) และ บุนเดสราท (Bundesrat - สภาสูง) ได้ย้ายไป พร้อมกับสำนักนายกรัฐมนตรี (Chancellery) และบ้านพักประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม บอนน์ยังคงเป็นศูนย์กลางการเมืองและการปกครองแห่งหนึ่งอยู่ ประมาณครึ่งหนึ่งของตำแหน่งงานในรัฐบาลไม่ได้ย้ายไปไหน เนื่องจากหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งยังคงอยู่ที่บอนน์และหน่วยงานระดับเล็กกว่ากระทรวงจำนวนมากได้ย้ายมาจากเบอร์ลินและส่วนอื่น ๆ ของเยอรมนีเพื่อเป็นการแสดงความสำคัญ เมืองหลวงเก่าแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า นครสหพันธ์ ("Bundesstadt").

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกโคโลญและบอนน์ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 เป็นภาพของรัฐจำนวนมาก การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี (German Mediatisation) เป็นการปฏิรูปอาณาเขตการปกครองทั้งทางฆราวัสจักรและสังฆาจักร (Mediatisation และ Secularisation) ในเยอรมนีที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกโคโลญและการปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 1.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกโคโลญและรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐ

ราชรัฐ เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกเขตการปกครองที่มีประมุขเป็นเจ้าซึ่งมีอิสริยยศต่ำกว่าพระมหากษัตริย์ ราชรัฐมี 4 ชั้น คือ.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกโคโลญและราชรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกโคโลญและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกโคโลญและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกโคโลญและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

โคโลญ

ลญ (Cologne) หรือ เคิลน์ (Köln) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศเยอรมนี รองจากเบอร์ลิน ฮัมบวร์ค และมิวนิก และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน โคโลญเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี สร้างโดยชาวโรมัน มีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึง ค.ศ. ​50 เมืองโคโลญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไรน์ มีอาสนวิหารโคโลญซึ่งเป็นโบสถ์ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่มีชื่อเสียง มหาวิทยาลัยโคโลญเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ ตัวเมืองมีพื้นที่ 405.15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรนับเฉพาะที่อาศัยในเขตเมือง 998,105 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2009).

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกโคโลญและโคโลญ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนครจักรวรรดิ

รีนครของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 1648 เสรีนครจักรวรรดิ (Free imperial city; freie Reichsstadt) หมายถึงนครที่ปกครองโดยจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยตรง ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ที่มิใช่เสรีนครจะถูกปกครองโดย เฟือสท์ ที่อาจจะเป็นดยุก หรือเจ้าชายมุขนายก (prince-bishop) นอกจากนั้น เสรีนครยังมีตัวแทนในสภาไรช์ของจักรวรรดิอีกด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีความแตกต่างระหว่าง "จักรพรรดินคร" (Reichsstädte) กับ "เสรีนคร" (freie Städte) เสรีนครคือนครที่เดิมปกครองโดยเจ้าชายมุขนายก แต่ต่อมาได้รับอิสระจากการปกครองของบิชอปช่วงกลางสมัยกลาง (High Middle Ages) เมืองเหล่านี้ก็ได้แก่ บาเซิล (ค.ศ. 1000) เวิร์มส (ค.ศ. 1074) ไมนซ์ (ค.ศ. 1244 เปลี่ยนฐานะ ค.ศ. 1462) เรเกนส์บูร์ก (ค.ศ. 1245) สทราซบูร์ (ค.ศ. 1272) โคโลญ (ค.ศ. 1288) และชไปเออร์ (ค.ศ. 1294) แม้ว่ารายละเอียดทางกฎหมายของแต่ละรัฐเหล่านี้จะต่างกันไปแต่ "เสรีนครจักรวรรดิ" เดิมมีอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษต่างมากกว่า "นครจักรวรรดิ" ตัวอย่างเช่นในกรณีที่เกิดสงครามครูเสด เสรีนครจักรวรรดิก็จะมีความรับผิดชอบแต่เพียงให้การสนับสนุนทางการทูตและยุทธปัจจัยแก่ราชสำนักจักรพรรดิ แต่นครจักรวรรดิต้องเสียภาษีให้แก่จักรพรรดิและต้องส่งกองทัพไปช่วยในการทัพด้ว.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกโคโลญและเสรีนครจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายมุขนายก

ันน์ ออทโท ฟอน เกมมิงเงิน เจ้าชายบิชอปแห่งเอาก์สบูร์กในบาวาเรีย เจ้าชายมุขนายก (Prince-Bishop) เป็นมุขนายกที่มีศักดิ์เป็นเจ้าชายแห่งคริสตจักรโดยมีราชรัฐในปกครองอย่างน้อยหนึ่งแห่ง ทำให้เขตปกครองของพระองค์ทั้งราชรัฐและมุขมณฑลมีลักษณะทับซ้อนกันในพื้นที่เดียว กรณีที่เป็นอัครมุขนายกปกครองราชรัฐก็เรียกว่า เจ้าชายอัครมุขนายก ถ้าเป็นนักพรตปกครองราชรัฐเรียกว่าเจ้าชายอธิการอาราม (prince-abbot) ในยุโรปตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิโรมันเริ่มสูญเสียพระราชอำนาจเพราะถูกคุกคามจากพวกอนารยชน ดังนั้นมุขนายกซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายคริสตจักรจึงต้องขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการฝ่ายอาณาจักรแทน บางครั้งก็ถึงกับต้องนำทัพเองด้วยถ้าจำเป็น ในจักรวรรดิไบเซนไทน์ จักรพรรดิก็นิยมแต่งตั้งหรือพระราชทานสิทธิและหน้าที่พิเศษให้มุขนายกบางองค์ปกครองรัฐในมุขมณฑลของตนได้ ซึ่งถือเป็นแนวพัฒนาการของลัทธิจักรพรรดิสันตะปาปานิยมที่จะให้คริสตจักรตะวันออกมาทำงานให้กับจักรวรรดิด้วย เช่น มีอัครบิดรสากลที่ทำหน้าที่คล้ายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศาสนาให้กับองค์จักรพรรดิ จักรวรรดิรัสเซียมีการดำเนินการยิ่งกว่านี้อีก กล่าวคือยุบตำแหน่งอัครบิดรแล้วให้คริสตจักรอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของฝ่ายอาณาจักร คำว่า ฮอคชติฟท์ ในภาษาเยอรมันก็หมายถึงอำนาจหน้าที่ฝ่ายอาณาจักรที่มุขนายกสามารถว่าการปกครองราชรัฐของตนได้ ถ้าเป็นของอัครมุขนายก เรียกว่า แอร์ซชติฟท.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกโคโลญและเจ้าชายมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก

ระมหากษัตริย์โบฮีเมีย เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก (Princeps Elector, Kurfürst, Prince-elector หรือ Electors) คือสมาชิกของคณะผู้คัดเลือก (electoral college) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีหน้าที่ในการเลือกพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมันพระองค์ใดพระองค์หนึ่งให้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงของเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกเรียกว่าเจ้าผู้คัดเลือก (electoral prince) เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกถือเป็นผู้มีเกียรติรองจากพระมหากษัตริย์และพระจักรพรรดิ ตามทฤษฎีแล้วจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 การเลือกตั้งก็มักจะเป็นเพียงการทำเพียงพิธี โดยมีพระจักรพรรดิผู้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ฮับส์บูร์กของออสเตรีย ที่ตำแหน่งมักจะเป็นของพระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิผู้เสด็จสวรรคต แต่กระนั้นตำแหน่งมิได้เป็นตำแหน่งสืบทอดในตระกูลเดียวกัน และทายาทไม่สามารถเรียกตนเองว่า "จักรพรรดิ" โดยมิได้รับเลือก การเลือกตั้งเป็นการเลือกพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน ผู้ได้รับเลือกในเยอรมนีและจะได้เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็เมื่อได้รับทำพิธีบรมราชาภิเษกโดยพระสันตะปาปา จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ทรงเป็นจักรพรรดิที่ได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิ ผู้เป็นจักรพรรดิต่อจากนั้นเป็นจักรพรรดิโดยการเลือกตั้งเท่านั้น.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกโคโลญและเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Archbishopric of CologneElectorate of Cologneอาณาจักรเลือกตั้งแห่งโคโลญ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »