โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดัชชีบราบันต์

ดัชนี ดัชชีบราบันต์

แผนที่ของดัชชีแห่งบราบองต์ อาณาจักรสมเด็จพระสังฆราชแห่งลีเยช (ค.ศ. 1477) ดัชชีแห่งบราบองต์ (Duchy of Brabant) เป็นดัชชีในประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในบริเวณที่ในปัจจุบันคือบริเวณบราบองต์เฟล็มมิช, บราบองต์วอลลูน (Walloon Brabant), อันท์เวิร์พ และบรัสเซลส์ ในประเทศเบลเยียม และเลยไปในบริเวณนอร์ธบราบองต์ในเนเธอร์แลนด์ด้วย ในสมัยโรมันโบราณบราบองต์ตั้งอยู่ในบริเวณจังหวัดโรมันชื่อกาลเลียเบลจิคา และเจอร์มาเนียใต้ และเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์จนมาแทนที่ด้วยชนเจอร์มานิคซึ่งเป็นการยุติความมีอำนาจของจักรวรรดิโรมันในบริเวณนี้ เมืองสำคัญของบราบองต์ก็ได้แก่บรัสเซลส์, อันท์เวิร์พ, ลูแวง (Leuven) และ เบรดา ชื่อของบริเวณนี้บันทึกเป็นครั้งแรกในสมัยคาโรลิงเกียนว่า “pagus Bracbatensis” ที่เป็นบริเวณที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำเชลด์ท (Scheldt) และแม่น้ำ Dijle ที่มาจากคำว่า “bracha” ที่แปลว่า “ใหม่” และคำว่า “bant” ที่แปลว่า “บริเวณ”.

10 ความสัมพันธ์: บรัสเซลส์ชาวเคลต์กลุ่มชนเจอร์แมนิกกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำจักรวรรดิโรมันประเทศเบลเยียมประเทศเนเธอร์แลนด์แกลเลียเบลจิกาแอนต์เวิร์ปโลว์เออร์เจอร์เมเนีย

บรัสเซลส์

รัสเซลส์ (Brussels), บรูว์แซล (Bruxelles) หรือ บรึสเซิล (Brussel; Brüssel) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตนครหลวงบรัสเซลส์ หรือ เขตบรัสเซลส์ (All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.) (Région de Bruxelles-Capitale, Brussels Hoofdstedelijk Gewest) เป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียม และเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรป (อียู) เขตบรัสเซลส์แบ่งการปกครองย่อยเป็นเทศบาลจำนวน 19 แห่ง รวมถึง เทศบาลนครบรัสเซลส์ (City of Brussels) ซึ่งอยู่ใจกลางเขตมีอาณาเขตเพียง 32.61 ตร.กม.

ใหม่!!: ดัชชีบราบันต์และบรัสเซลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: ดัชชีบราบันต์และชาวเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ใหม่!!: ดัชชีบราบันต์และกลุ่มชนเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ

一 ประเทศแผ่นดินต่ำต่างๆ กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ (Low Countries) หมายถึง ภูมิภาคหนึ่งที่อยู่ทางด้านบนของทวีปยุโรป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป สาเหตุที่เรียกว่าประเทศแผ่นดินต่ำนี้ เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในพื่นที่ที่ลาดต่ำมาก คือ ต่ำกว่าน้ำทะเล ทำให้เกิดอุทกภัยได้ง่าย จึงทำให้ประเทศเหล่านี้มีการจัดการกับอุทกภัยที่ดีที่สุด ของโลกก็ว่าได้ พื้นที่ของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคประเทศแผ่นดินต่ำ มีดังนี้ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และ ฝรั่งเศส(ทางตอนเหนือ).

ใหม่!!: ดัชชีบราบันต์และกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ดัชชีบราบันต์และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: ดัชชีบราบันต์และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: ดัชชีบราบันต์และประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แกลเลียเบลจิกา

แผนที่แสดงที่ตั้งของจังหวัดแกลเลียเบลจิกา ด้านซ้ายของภาพ แกลเลียเบลจิกา หรือ กัลเลียเบลกีกา (อังกฤษ, Gallia Belgica) บางครั้งเรียกว่า แกลเลียพริมา หรือ กัลเลียปรีมา (อังกฤษ, Belgica Prima) เป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส และทางตะวันตกของเยอรมนีในปัจจุบัน ชนพื้นเมืองทางตอนใต้ของแกลเลียเบลจิกาประกอบด้วยกลุ่มชนเคลต์และเยอรมัน ซึ่งนิยมเรียกว่าเบลไก ตามคำกล่าวของจูเลียส ซีซาร์ พรมแดนระหว่างแกลเลียกับเบลจิกาคือแม่น้ำมาร์นและแม่น้ำแซน และพรมแดนระหว่างแกลเลียเบลจิกากับเจอร์เมเนียคือแม่น้ำไรน์ ภูมิภาคนี้คือหัวใจทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ที่ปัจจุบันสอดคล้องกับที่ตั้งของรัฐในกลุ่มเบเนลักซ์ซึ่งได้แก่เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก รวมทั้งฟลานเดอส์ของฝรั่งเศสและบางส่วนของไรน์ลัน.

ใหม่!!: ดัชชีบราบันต์และแกลเลียเบลจิกา · ดูเพิ่มเติม »

แอนต์เวิร์ป

มืองแอนต์เวิร์ป แอนต์เวิร์ป (Antwerp), อันต์แวร์เปิน (Antwerpen) หรือ อ็องแวร์ส (Anvers) เป็นเมืองในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแอนต์เวิร์ปในฟลานเดอส์ หนึ่งในสามบริเวณของเบลเยียม แอนต์เวิร์ปมีประชากรทั้งสิ้น 472,071 (1 มกราคม 2008) Population of all municipalities in Belgium, as of 1 January 2008.

ใหม่!!: ดัชชีบราบันต์และแอนต์เวิร์ป · ดูเพิ่มเติม »

โลว์เออร์เจอร์เมเนีย

ักรวรรดิโรมันในรัชสมัยของจักรพรรดิเฮเดรียน (ปกครอง ค.ศ. 117-ค.ศ. 138) แสดงภาพจังหวัดโลว์เออร์เจอร์เมเนีย (เยอรมนีตะวันตกเฉียงเหนือ เนเธอร์แลนด์ตอนใต้ เบลเยียมตะวันออก) และที่ตั้งกองทหารอีก 3 กองที่ถูกส่งไปในปี ค.ศ. 125 โลว์เออร์เจอร์เมเนีย (Lower Germania) หรือ เกร์มาเนียอินเฟรีออร์ (Germania Inferior) เป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำไรน์ ปัจจุบันคือบริเวณประเทศลักเซมเบิร์ก ทางตอนใต้ของเนเธอร์แลนด์ บางส่วนของเบลเยียม และบางส่วนของรัฐนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลินในเยอรมนี บริเวณที่ตั้งถิ่นฐานหลักของจังหวัดนี้ ได้แก่ กัสตราเวเตรา, โกโลเนียอุลเปียไตรยานา (ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองซันเทินในเยอรมนี), โกรีโอวัลลุม (ปัจจุบันคือเฮร์เลินในเนเธอร์แลนด์), อัลบาเนียนา (อัลเฟินอานเดินเรนในเนเธอร์แลนด์), ลุกดูนุมบาตาโวรุม (คัทเวคในเนเธอร์แลนด์), โฟรุมฮาเดรียนี (โฟร์บูร์กในเนเธอร์แลนด์), อุลเปียโนวีโอมากุสบาตาโวรุม (เนเมเกินในเนเธอร์แลนด์), ไตรเยกตุม (อูเทรคท์ในเนเธอร์แลนด์), อาตูอาตูกาตุงโกรรุม (ทองเกเรินในเบลเยียม), โบนา (บอนน์ในเยอรมนี) รวมทั้งโกโลเนียอากริปปีเนนซิส (โคโลญในเยอรมนี) ซึ่งเป็นเมืองหลวง กองทัพที่ประจำการอยู่ในโลว์เออร์เจอร์เมเนียมีชื่อย่อซึ่งพบจากจารึกว่า "EX.GER.INF." (Exercitus Germania Inferior) แบ่งออกเป็นหลายกองย่อย ในจำนวนนี้ กองทหารที่ 1 มีเนร์เวีย (Legio I Minervia) และกองทหารที่ 30 อุลเปียวิกตริกซ์ (Legio XXX Ulpia Victrix) เป็นกองประจำการถาวร ส่วนกองเรือรักษาความปลอดภัยที่มีหน้าที่ลาดตระเวนตามลำน้ำไรน์และชายฝั่งทะเลเหนือมีฐานที่ตั้งอยู่ที่เมืองกัสตราเวเตราและต่อมาย้ายไปที่เมืองอากริปปีเนนซิส การเผชิญหน้ากันครั้งแรกระหว่างกองทัพโรมันกับผู้คนในแถบโลว์เออร์เจอร์เมเนียเกิดขึ้นในสมัยของจูเลียส ซีซาร์ระหว่างสงครามกอล (Gallic Wars) ซีซาร์เข้ามารุกรานบริเวณนี้ราวปี 57 ก่อนคริสต์ศักราช และต่อมาอีก 3 ปีก็สามารถกำจัดชนเผ่าไปได้หลายกลุ่ม รวมทั้งเอบูโรเนส (Eburones) และเมนาปี (Menapii) ซึ่งจูเลียส ซีซาร์เรียกว่าเป็น "พวก เยอรมัน" แต่ความจริงพวกเขาอาจมาจากกลุ่มชาติพันธุ์เคลต์หรืออย่างน้อยก็เป็นชนเผ่าเยอรมันที่มีเชื้อสายเคลต์ โลว์เออร์เจอร์เมเนียเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของโรมันมาตั้งแต่ราวปี 50 ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงแรกเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดแกลเลียเบลจิกา จนกระทั่งได้รับการสถาปนาเป็นจังหวัดโรมันในปี ค.ศ. 90 ต่อมาก็ได้รับการจัดเป็นจังหวัดของจักรพรรดิ (Imperial province) โลว์เออร์เจอร์เมเนียตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอัปเปอร์เจอร์เมเนีย ทั้งคู่รวมเรียกว่าเจอร์เมเนีย (คำว่า "โลว์เออร์" หมายถึงตั้งอยู่ทางท้ายน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำกว่า ไม่ใช่ตั้งอยู่ทางทิศใต้).

ใหม่!!: ดัชชีบราบันต์และโลว์เออร์เจอร์เมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Duchy of Brabantอาณาจักรดยุคแห่งบราบองต์อาณาจักรดยุคแห่งบราบังท์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »