โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาณัติแห่งสวรรค์

ดัชนี อาณัติแห่งสวรรค์

อาณัติแห่งสวรรค์ (mandate of heaven) คือความชอบธรรมที่สวรรค์มอบให้แก่มนุษย์คนหนึ่ง ให้มีอำนาจในการปกครองประชาชน มีลักษณะใกล้เคียงกับแนวคิดเทวสิทธิราชย์ในปรัชญาการเมืองตะวันตก.

28 ความสัมพันธ์: ชาวแมนจูบูเช็กเทียนพระแม่องค์ธรรมพระเจ้าชางโจ้วพระเจ้าโจวอู่การบริหารรัฐกิจมองโกล (กลุ่มชาติพันธุ์)มนุษย์ราชวงศ์ชางราชวงศ์หมิงราชวงศ์ฮั่นราชวงศ์โจวลัทธิอนุตตรธรรมสมเด็จพระราชินีนาถสวรรค์อำนาจหน้าที่จักรพรรดิหงอู่จักรพรรดิฮั่นเกาจู่จักรพรรดิจีนจักรพรรดิถังไท่จงจักรพรรดิถังเกาจงจู่ซือประวัติศาสตร์จีนปรัชญาการเมืองโอรสสวรรค์เทวสิทธิราชย์เตี่ยนฉวนซือเต๋า

ชาวแมนจู

แมนจู (แมนจู:; หม่านจู๋) เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในประเทศจีนและผู้คนจากดินแดนแมนจูเรียได้ใช้ชื่อดินแดนเป็นชื่อเรียกชนเผ่าของตนเอง ชาวแมนจูเป็นกลุ่มสาขาที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มชาวตุงกูซิกที่ใช้ภาษากลุ่มตุงกูซิกและได้อาศัยกระจัดกระจายทั่วประเทศจีน ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน ชาวแมนจูได้อาศัยและพบได้ใน 31 จังหวัดของจีน โดยเฉพาะในดินแดนแมนจูเรีย เหลียวหนิงถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีประชากรแมนจูเยอะที่สุด ส่วนเหอเป่ย, เฮย์หลงเจียง, จี๋หลิน, มองโกเลียในและปักกิ่ง มีประชากรแมนจู 100,000 คนอาศัยอยู่ ประมาณครึ่งของประชากรอาศัยอยู่ในเหลียวหนิงและ 1 ใน 5 อยู่ที่เหอเป่ย์ นอกจากนี้ยังมีชาวแมนจูอาศัยอยู่ในประเทศรัสเซียอันได้แก่ ดินแดนปรีมอร์สกี บางส่วนของดินแดนฮาบารอฟสค์และแคว้นอามูร์ ประวัติโดยสังเขปของชาวแมนจูนั้น ในทัศนคติของชาวฮั่น ถือได้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนหรือคนป่าเถื่อน ชาวแมนจูได้สืบเชื้อสายมาจากชาวหนี่เจิน (Jurchen; 女真) ที่ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์จินตอนแรกขึ้นทางตอนเหนือของจีน ในช่วง..

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และชาวแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

บูเช็กเทียน

อู่ เจ๋อเทียน ตามสำเนียงกลาง หรือ บูเช็กเทียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (พระราชสมภพ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 624ปีประสูตินี้ ได้มาจากการเอาพระชนม์กับปีสวรรคตที่ระบุไว้ใน นวพงศาวดารถัง (New Book of Tang) ฉบับ ค.ศ. 1045–1060 มาบวกลบกัน ผลลัพธ์ดังกล่าวนี้เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ แต่ถ้าคำนวณตามที่ระบุไว้ใน พงศาวดารถัง (Book of Tang) ฉบับ ค.ศ. 941-945 จะได้ปีประสูติเป็น ค.ศ. 623; สวรรคต 16 ธันวาคม ค.ศ. 705)Paludan, 100 บางทีเรียก อู่ เจ้า หรือ อู่ โฮ่ว ในราชวงศ์ถังมักออกพระนามว่า พระนางสวรรค์ และในสมัยต่อมาว่า พระนางอู่ ทรงเป็นสตรีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนอันยาวนานกว่า 4,000 ปี ที่ได้เป็น "ฮ่องเต้" ในแผ่นดินของพระภัสดาและพระราชบุตรของพระนางระหว่างปี..

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และบูเช็กเทียน · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่องค์ธรรม

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา พระแม่องค์ธรรม (老母 เหลาหมู่)สายทอง (พงศาธรรม ๑), ศุภนิมิต ผู้แปล, กรุงเทพฯ: ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป., หน้า 9 คือพระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว รวมถึงลัทธิศาสนาต่าง ๆ ในประเทศจีนที่สืบมาจากลัทธินี้ด้วย เช่น ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และพระแม่องค์ธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชางโจ้ว

้ว ตามสำเนียงกลาง หรือ ติว ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นชื่อเชิงเหยียดหยามสำหรับใช้เรียก ตี้ ซิน (帝辛) พระเจ้าแผ่นดินจีนพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชาง คำว่า "โจ้ว" นี้หมายถึง เตี่ยวรั้งก้นม้า (horse crupper) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอานม้าที่ม้ามักทำสกปรก พระเจ้าโจ้วยังมีพระนามอื่นอีก คือ โจ้ว ซิน (紂辛).

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และพระเจ้าชางโจ้ว · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าโจวอู่

ระเจ้าโจวอู่ (หรือพระเจ้าจิวบู๊อ๋อง ในสำเนียงแต้จิ๋ว) (? - 1043 ปีก่อน ค.ศ.) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ผู้โค่นล้ม ราชวงศ์ซาง ทรงครองราชย์ระหว่าง 1046 - 1043 ปีก่อน..

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และพระเจ้าโจวอู่ · ดูเพิ่มเติม »

การบริหารรัฐกิจ

การบริหารรัฐกิจ รัฐประศาสนศาตร์ หรือ การบริหารราชการแผ่นดิน (public administration) คือ การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ยกเว้นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบัติการและการเป็นสาขาวิชาหนึ่งในการบริหารและการจัดการภาครัฐ ที่จะไม่เหมือนการบริหารธุรกิจที่เน้นกำไรสูงสุด (profit maximize) แต่เป็นการเน้นการให้บริการที่ให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยลูกค้าก็คือ ประชาชนที่มาใช้บริการ และต้องเป็นการให้บริการต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม รัฐประศาสนศาสตร์ (public administration science) คือ การเรียนการสอนวิชาในด้านการบริหารรัฐกิจ การบริหารและการจัดการภาครัฐ ในประเทศไทยมีหลายสถาบันอุดมศึกษาเปิดสอน ทั้งนี้การสังกัดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มีอยู่ในหลากหลายลักษณะ อาทิ สังกัดอยู่ภายใต้ชื่อคณะโดยตรง เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สังกัดอยู่ภายใต้ชื่อคณะรัฐศาสตร์ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดภายใต้ภาควิชา เช่น ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาการจัดการ รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนี้แล้วยังมีการสังกัดในลักษณะของภาควิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือวิทยาลัยเฉพาะ เช่น มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สังกัดภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ หรือ U-MDC มีหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ทั้งในสาขาการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรม สาขาการจัดการ ฯลฯ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาดังกล่าวมีการจัดหลักสูตรเพื่อเปิดสอนตั้งแต่ระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ทั้งในลักษณะภาคปกติ ภาคสมทบ ภาคพิเศษ หรือโครงการความร่วมมือกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ฯลฯ นอกจากมหาวิทยาลัยทั่วไปแล้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์เช่นกัน.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และการบริหารรัฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

มองโกล (กลุ่มชาติพันธุ์)

วมองโกล หรือ ชาวมองโกเลีย เป็นกลุ่มชนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศมองโกเลีย และ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ของประเทศจีน.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และมองโกล (กลุ่มชาติพันธุ์) · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชาง

ราชวงศ์ชาง (Shang dynasty) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์เซี่ย ปกครองดินแดนแถบแม่น้ำเหลืองเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล บางครั้งเรียกว่า "ราชวงศ์อิน" (Yin dynasty) ราชวงศ์นี้เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก จากหลักฐานที่ขุดได้ พบเป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่า มีรอยแตกอยู่ทั่วไป แสดงถึงความเชื่อในอำนาจแห่งสวรรค์ ถือว่าทุกสิ่ง สวรรค์เป็นผู้กำหนด ราชวงศ์ชางมีกษัตริย์ 30 องค์ กษัตริย์องค์สุดท้ายชื่อ พระเจ้าอินโจวหรือ โจ้ว (ติวอ๋อง) ซึ่งในประวัติศาสตร์ประณามไว้ว่า เป็นคนโหดร้ายทารุณมาก นิยมการสงคราม และหลงใหลในอิสตรี โดยเฉพาะสนมเอกชื่อ ต๋าจี หรือขันกี ซึ่งเป็นคนวิปริตผิดมนุษย์ คอยยุยงให้โจ้วฆ่าคนเป็นผักปลา สร้างสระเหล้าดงเนื้อขึ้น (เอาน้ำเหล้ามาใส่ในสระ แล้วเอาเนื้อสัตว์มาห้อยไว้ตามต้นไม้) ต่อมาโจวอู่หวัง เจ้าผู้ครองแคว้นโจวทางตะวันตก ได้ยกทัพมาปราบโจ้วอ๋อง โดยอ้างว่า ได้รับ "อาณัติ" หรือ "เทียนมิ่ง" จากสวรรค์ให้มาปราบ และได้ชัยชนะ โจ้วอ๋องจึงฆ่าตัวตายโดยกระโดดลงกองไฟ แต่จริง ๆ แล้ว นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนัก ว่าโจ้วอ๋องจะโหดร้ายเช่นนั้นจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจน รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับต๋าจีด้วย เรื่องราวในตอนท้ายราชวงศ์ชางนี้ ได้มีการนำไปแต่งเป็นนิยายหลายเรื่อง หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือ "นาจา" และ "เทพประยุทธ์พิชิตฟ้า" นั่นเอง และหนังสือพงศาวดารชื่อว่า "ฮ่องสิน" โดยจะเน้นหนักไปทางอิทธิปาฏิหาริย์เสียมาก หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ชาง หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และราชวงศ์ชาง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจว

ราชวงศ์โจว หรือ ราชวงศ์จิว (ภาษาอังกฤษ:Zhou Dynasty, ภาษาจีนกลาง:周朝, พินอิน: Zhōu Cháo) ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1123 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และราชวงศ์โจว · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถ

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยแบบรัฐสภา สมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) คือ พระมหากษัตริย์หญิงผู้ครองราชสมบัติด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง ต่างจาก "สมเด็จพระราชินี" (Queen Consort) ซึ่งเป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติ และไม่ทรงมีอำนาจในการบริหารราชกิจของบ้านเมืองอย่างเป็นทางการใด ๆ โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์มีทั้ง "สมเด็จพระราชาธิบดี" (King Regnant) และ "พระมหากษัตริย์พระราชสวามี" (King Consort) แต่เกิดขึ้นได้ยาก และมีการใช้พระอิสริยยศเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ ระบอบราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงครองราชบัลลังก์ พระสวามีของพระองค์จะไม่ได้มีพระอิสริยยศเป็นพระราชา แต่เป็นเพียงแค่ชั้นเจ้าชายเท่านั้น พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระสวามีคนที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชสวามีในอาณาจักรของพระองค์เอง แต่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของพสกนิกรและการอภิเษกสมรสกินเวลาเพียงไม่นาน พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระราชินีนาถแห่งชาวสก็อต ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์ที่ปกครองร่วมกันเป็น พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ และที่ 1 แห่งไอร์แลนด์ แต่ถือเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองร่วมกันครั้งเดียว และเป็นทางการที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ แต่หลังจากนั้นมา พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถในประเทศอังกฤษได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายพระราชสวามี" (Prince Consort) (มีเพียงคนเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งพระอิสริยยศนี้อย่างเป็นทางการคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถจะเกิดขึ้นเมื่อลำดับการสืบราชบัลลังก์เอื้ออำนวย วิธีการสืบราชสมบัติ (เป็นพระมหากษัตริย์ หัวหน้าเผ่า ฯลฯ) และรวมถึงการแต่งตั้ง (พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา หรือ คณะมนตรีแต่งตั้งรัชทายาท) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติก่อนที่สุด (primogeniture) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติหลังที่สุด (ultimogeniture) ขอบเขตในการสืบราชสมบัติอาจยึดจากสายทางพระชนก สายทางพระชนนีหรือทั้งสองฝ่าย หรือที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น (เมื่อถึงคราวจำเป็น) มาจากการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการสืบราชสมบัติโดยตามเพศ อาจจะให้ทั้งชายและหญิง จำกัดแต่เพศชายเท่านั้น หรือจำกัดแต่เพศหญิงเท่านั้น การสืบราชบัลลังก์ที่เป็นแบบแผนมากที่สุดตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นแบบการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดา (male-preference primogeniture) กล่าวคือ ลำดับการสืบราชบัลลังก์อยู่ในบรรดาพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ตามลำดับการประสูติก่อนแล้วจึงตามมาด้วยของพระราชธิดา ในบางอาณาจักรทางประวัติศาสตร์ห้ามมิให้มีการสืบราชสมบัติโดยผู้หญิงหรือผ่านทางเชื้อสายของผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางแห่งที่ยังคงยึดถือหลักเกณฑ์นี้ตามกฎหมายแซลิก ดังตัวอย่างเช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก แต่เมื่อกษัตริย์ดัตช์พระองค์สุดท้ายเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2433 และสืบราชบัลลังก์ต่อมาโดยพระราชธิดา กฎหมายแซลิกจึงไม่ยอมให้ลักเซมเบิร์กยอมรับพระองค์ในฐานะเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองตามพระราชสิทธิของพระองค์เอง เช่นเดียวกับตอนที่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระองค์ไม่ได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งแฮโนเวอร์ด้วย ถึงแม้ว่าสมเด็จพระปิตุลาธิราชของพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ของทั้งสองประเทศมาก่อน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ได้แก้ไขพระราชบัญญัติการสืบราชบัลลังก์จากการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดามาเป็นมีสิทธิสืบราชสมบัติเท่ากันตามลำดับการประสูติโดยไม่จำกัดเรื่องเพศ ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงอาจยังไม่ส่งผลอะไรมากมายจนกว่ารุ่นต่อจากรุ่นปัจจุบันเกิดขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดตำแหน่งของบุคคลที่อยู่ในลำดับการสืบราชบัลลังก์มาก่อน โดยเฉพาะในพระอิสริยยศพิเศษ.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และสมเด็จพระราชินีนาถ · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจหน้าที่

ในรัฐศาสตร์ อำนาจหน้าที่ (authority) หมายถึงความสามารถในการกำหนดกฎเกณฑ์ โดยไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจในการบังคับใช้กฎเกณฑ์เหล่านั้น หรือความสามารถในการอนุญาตให้บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นได้ ผู้คนยอมทำตามอำนาจหน้าที่เนื่องจากความเคารพ ในขณะที่ยอมตามอำนาจด้วยความกลัว ตัวอย่างเช่น "สภามีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย" เมื่อเทียบกับ "ตำรวจมีอำนาจในการจับผู้กระทำความผิด" อำนาจหน้าที่นั้นไม่จำเป็นต้องมีลักษณะที่คงเส้นคงวาหรือว่าสมเหตุสมผล เพียงแต่ต้องเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับว่าเป็นแหล่งที่สามารถให้คำอนุญาตได้หรือเป็นสิ่งที่จริงแท้ ปัญหาว่าใครจะมีอำนาจหน้าที่อะไร เป็นเสมือนหัวใจของการโต้เถียงทางการเมือง และคำตอบของคำถามเหล่านี้มักมาจากผลของการพิจารณาเชิงปฏิบัติหรือเชิงศีลธรรม จากแนวปฏิบัติที่ยึดถือกันมาและจากทฤษฎีของระบบยุติธรรมหรือจากสงครามเพื่อความยุติธรรม หน้าที่ (ความหมาย รัฐศาสตร์) คือ คุณลักษณะที่เป็นนามธรรม บ่งบอกถึงการกระทำของแต่ละบุคคลในแต่ละอาชีพ (นาย อำนาจ หมดสิ้นวาสนา).

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และอำนาจหน้าที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิหงอู่

มเด็จพระจักรพรรดิหงอู่ (21 ตุลาคม พ.ศ. 1871 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 1941) คือจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิงของจีน.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และจักรพรรดิหงอู่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นเกาจู่

ั่นเกาจู่ ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ฮั่นโกโจ ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน ("อัครบรรพชนฮั่น"; 256 ปีก่อนคริสตกาล – 1 มิถุนายน 195 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม หลิว ปัง เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฮั่นของจักรวรรดิจีน และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ดังกล่าว เสวยราชย์ช่วง 202–195 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นหนึ่งในปฐมกษัตริย์จีนไม่กี่พระองค์ที่มาจากครอบครัวรากหญ้า ก่อนเข้าสู่อำนาจ หลิว ปัง เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในราชวงศ์ฉิน ทำหน้าเป็นนายด่านที่บ้านเกิดในเทศมณฑลเพ่ย์ (沛縣) แห่งรัฐฉู่ (楚国) ที่ถูกราชวงศ์ฉินยึดครอง เมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฉิน สิ้นพระชนม์ และจักรวรรดิฉิน (秦朝) ตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมือง หลิว ปัง ละทิ้งตำแหน่งราชการเข้าร่วมกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน จนสามารถบีบให้จื่ออิง (子嬰) ผู้นำคนสุดท้ายของราชวงศ์ฉิน ยอมจำนนได้เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อสิ้นราชวงศ์ฉินแล้ว เซี่ยง อฺวี่ (項羽) ผู้นำกบฏ แบ่งดินแดนฉินออกเป็นสิบแปดส่วน ให้หลิว ปัง เป็น "ราชาฮั่น" (漢王) ไปครองภูมิภาคปาฉู่ (巴蜀) อันห่างไกลและกันดาร หลิว ปัง จึงนำทัพต่อต้านเซี่ยง อฺวี่ และสามารถยึดภูมิภาคฉินทั้งสาม (三秦) ไว้ได้ นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่เรียกว่า "สงครามฉู่–ฮั่น" (楚漢戰爭) ครั้น 202 ปีก่อนคริสตกาล หลังเกิดยุทธการไกเซี่ย (垓下之戰) หลิว ปัง มีชัยในการชิงอำนาจ จึงสามารถรวบดินแดนจีนส่วนใหญ่ไว้ในกำมือ เขาก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น มีตนเป็นจักรพรรดิพระองค์แรก ใช้พระนาม "ฮั่นเกาจู่" รัชสมัยฮั่นเกาจู่มีการลดหย่อนภาษี ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อ และปราบปรามกบฏเจ้าประเทศราชต่าง ๆ ฮั่นเกาจู่ยังริเริ่มนโยบายที่เรียก "วิวาห์สันติ" (和親) เพื่อสร้างความปรองดองกับกลุ่มซฺยงหนู (匈奴) หลังพ่ายแพ้ในยุทธการไป๋เติง (白登之戰) เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล ครั้น 195 ปีก่อนคริสตกาล ฮั่นเกาจู่สวรรคต พระโอรส คือ หลิว อิ๋ง (劉盈) สืบตำแหน่งต่อ ใช้พระนามว่า "ฮั่นฮุ่ย" (汉惠).

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจีน

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถังไท่จง

มเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จง (1170-1186) พระนามเดิม หลี่ซื่อหมิน จักรพรรดิองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ถังของประเทศจีน (ราว 1,600 ปี) ได้ยึดถือหลักคำสอนเรื่องนี้ของบรมครูขงจื่อในการ ปกครองประเทศจีน และทำให้ประเทศจีนในยุคที่พระองค์ทรงปกครองรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ 5 เป็นประเทศมหาอำนาจของโลกในยุคสมัยของพระองค์ราชวงศ์ถังนั้นยิ่งใหญ่มากมายนั้นเลยก็ว่าได้ แม้ว่าพระองค์มีพระราชอำนาจสูงสุด สามารถตัดสินพระทัยสั่งการใด ๆ ก็ได้ พระองค์ก็ทรงมิได้ปฏิบัติเช่นนั้น พระองค์จะไต่ถามความเห็นของเหล่าเสนาบดี และที่ปรึกษาของพระองค์ก่อนที่จะตัดสินพระทัยเสมอ โดยเฉพาะที่ปรึกษาท่านหนึ่ง นาม เว่ยเจิง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาของพี่ชายพระองค์ที่เป็นรัชทายาท และได้แนะนำให้พี่ชายของพระองค์ วางแผนสังหารพระองค์ เนื่องจากที่ปรึกษาท่านนี้มองเห็นว่า พระองค์จะเป็นภัยก่อการขบถยึดราชบัลลังก์ของพี่ชาย เนื่องจากถังไท่จงเหนือชั้นกว่า จึงวางแผนซ้อนแผน แทนที่พระองค์จะถูกสังหาร พี่ชายของพระองค์กลับถูกปลิดพระชนม์ชีพแทน แต่ถังไท่จงรับสั่งมิให้ทหารของพระองค์ทำร้ายที่ปรึกษาผู้นั้น นอกจากไม่ทำร้ายแล้ว พระองค์ยังทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเป็นประธานที่ปรึกษา เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาอีก ด้วยเหตุผลก็คือ พระองค์ท่านจะได้มีที่ปรึกษาอย่างน้อยหนึ่งท่านที่คิดแตกต่าง หรือไม่เหมือนกับที่พระองค์คิด กล้าคัดค้านพระองค์อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่เกรงกลัว หรือหวาดหวั่นต่อพระราชอำนาจ จักรพรรดิถังไท่จงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นมหาจักรพรรดิของจีนเพราะพระองค์แตกต่างจากจักรพรรดิทั้งปวง กล่าวคือ ไม่ว่าเชื้อพระวงศ์ก็ดี หรือเสนาบดีก็ดี หรือที่ปรึกษาก็ดีไปแอบนินทา ให้ร้ายพระองค์ลับหลัง พระองค์ก็จะทรงลงพระอาญา เพราะถือว่า พระองค์ทรงให้โอกาสวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย และถูกต้องแล้วบุคคลเหล่านี้กลับไม่ทำ หรือไม่ใช้โอกาสดังกล่าว กลับมาแอบทำลับหลังพระองค์ จึงต้องถูกลงโทษให้เป็นเยี่ยงอย่าง ส่วนผู้ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ หรือคัดค้านพระองค์ต่อหน้าพระพักตร์อย่างชนิดตรงไปตรงมา อย่างเช่น อดีตที่ปรึกษาของพระเชษฐาขององค์จักรพรรดิถังไท่จงก็ทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้เพื่อให้บรรดาเหล่าขุนนาง หรือข้าราชบริพารมีความกล้าที่จะใช้โอกาสดังกล่าวคัดค้านพระองค์ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่ไปแอบทำข้างหลัง นอกจากนั้นพระองค์ก็ทรงปลอมเป็นสามัญชนไปกับประธานที่ปรึกษาออกตระเวนเยี่ยมประชาชนของพระองค์ และตรวจงานการปฏิบัติราชการของ เหล่าข้าราชบริพารเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ทรงทราบว่า บรรดารายงานของข้าราชการที่ส่งไปให้พระองค์ทรงอ่านที่เมืองหลวงนั้นมีความถูกต้อง สอดคล้องกับความเป็นจริงมากเพียงใด ไม่ใช่ทรงอยู่แต่ในวังหลวงพึ่งพารายงานจากข้าราชการอย่างเดียว บางครั้ง หากพระองค์ประชวร พระองค์ก็จะทรงส่งประธานที่ปรึกษาของพระองค์ออกทำงานแทนพระองค์ จักรพรรดิถังไท่จงถือว่าประชาชนมีความสำคัญกว่าพระองค์ และพระราชวงศ์ เวลาพระองค์จะตัดสินพระทัยทำอะไร ก็มักจะมองไปที่ผลประโยชน์ของประชาชนก่อนเสมอ ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์มีพระนามว่า "หลี ซื่อ หมิน" ประสูติเมื่อ..

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และจักรพรรดิถังไท่จง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถังเกาจง

มเด็จพระจักรพรรดิเกาจง (ค.ศ. 649-683, พ.ศ. 1192-1226) จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ถัง ประสูติเมื่อปี..

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และจักรพรรดิถังเกาจง · ดูเพิ่มเติม »

จู่ซือ

ู่ซือ (祖師) บางตำราแปลว่า "ปรมาจารย์" หมายถึง ผู้ก่อตั้งหรือเจ้าสำนักองค์การศาสนาในประเทศจีน ใช้ในศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋า ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม เป็นต้น.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และจู่ซือ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์จีน

ตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และประวัติศาสตร์จีน · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาการเมือง

ลิติก ในสมัยกรีกโบราณ ปรัชญาการเมือง (political philosophy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาการเมืองเกิดขึ้นในนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์ในช่วงที่เอเธนส์เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบอภิสิทธ์ชนธิปไตย (Aristocracy) มาเป็นประชาธิปไตยโบราณ (Demokratia).

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และปรัชญาการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

โอรสสวรรค์

โอรสสวรรค์ หรือเทียนจื่อ (天子) เป็นราชฐานันดรอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิจีน กำเนิดขึ้นพร้อมกับราชวงศ์โจวโบราณ และตั้งอยู่บนหลักการเมืองและจิตวิญญาณเรื่องอาณัติสวรรค์ ต่อมา พระมหากษัตริย์เอเชียตะวันออกอื่นต่างรับเอาฐานันดรศักดิ์ "โอรสสวรรค์" ไปเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การปกครองของตน โอรสสวรรค์เป็นจักรพรรดิสากลสูงสุด ผู้ทรงปกครองเทียนเซี่ย ("ใต้หล้า") สถานภาพของพระองค์แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "ผู้ปกครองทั้งจักรวาล" หรือ "ผู้ปกครองทั้งโลก" ฐานันดรศักดิ์ "โอรสสวรรค์" มีการตีความตามอักษรเฉพาะในประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งพระมหากษัตริย์ถูกเรียกเป็นกึ่งเทวดา เทวดา หรือ "เทวดาที่ยังทรงพระชนม์ชีพ" ผู้ที่เทวดาโบราณทั้งปวงทรงเลือก หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์จีน หมวดหมู่:อภิชนจีน.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และโอรสสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวสิทธิราชย์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในเครื่องทรงพระอาทิตย์ เทวสิทธิราชย์ (Divine Right of Kings) เป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจใดภายในโลกียวิสัยเพราะทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจของประชาชน ขุนนาง หรือสถาบันใดใดทั้งสิ้น (ทั้งนี้ผู้นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ส่วนมากเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้อำนาจพระศาสนจักรอีกด้วย ส่วนผู้นับถือนิกายคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรไม่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์) หลักความเชื่ออันนี้เป็นนัยว่าความพยายามในการโค่นล้มราชบัลลังก์หรือความพยายามในการจำกัดสิทธิของพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า มีผลด้านการเมืองคือทำให้ประชาชนเข้าใจว่าผู้ทำพยายามกระทำการดังกล่าวเป็นพวกนอกรีต หลักความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอำนาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา ผู้ประพันธ์ทฤษฎีนี้คือฌอง โบแดง (Jean Bodin) ผู้เขียนจากการตีความหมายของกฎหมายโรมัน เมื่อการขยายตัวของรัฐอิสระต่างๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ที่สนับสนุนโดยสถาบันโรมันคาทอลิกมามีบทบาทสำคัญระหว่างรัชสมัยการปกครองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1603–1625) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1643–1715) ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” มาเริ่มลดความสำคัญลงในระหว่างสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และเทวสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

เตี่ยนฉวนซือ

ตี่ยนฉวนซือ (點傳師) บางตำราแปลว่าอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม เป็นตำแหน่งอาจารย์อาวุโสในลัทธิอนุตตรธรรม.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และเตี่ยนฉวนซือ · ดูเพิ่มเติม »

เต๋า

ปากว้า เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเต๋าและการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง เต๋า (道. เต้า) มีความหมายตามตัวอักษรว่า วิถี หรือ วิธี ต่อมาคัมภีร์เต๋ายุคแรก ได้ใช้คำว่า เต๋า ในความหมายใหม่ว่า เป็นสัจภาวะสูงสุด เป็นอุตรภาพ อัพภันตรภาพ ซึ่งปราศจากรูปร่าง พ้นวิสัยภาษา ความคิด และความเข้าใจของมนุษย์ เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่ง แม้ความเชื่อนี้จะมีที่มาจากลัทธิเต๋า แต่ก็ได้แพร่หลายไปยังคตินิยมอื่น ๆ ด้วยทั้ง ลัทธิขงจื๊อ ตลอดจนศาสนาและปรัชญาตะวันออกโดยรวม.

ใหม่!!: อาณัติแห่งสวรรค์และเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mandate of heavenอาณัติสวรรค์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »