โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาชญากรรมสงคราม

ดัชนี อาชญากรรมสงคราม

อาชญากรรมสงคราม (war crime) คือ การกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง ทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะตัว เช่น การฆ่าพลเรือนหรือนักโทษโดยเจตนา, การทรมาน, การทำลายทรัพย์สินพลเรือน, การจับเป็นตัวประกัน, การล่อลวง, การข่มขืนกระทำชำเรา, การใช้เด็กทางทหาร, การปล้นทรัพย์, การไม่ไว้ชีวิต, และการละเมิดอย่างร้ายแรงซึ่งหลักการแยกแยะและหลักความได้สัดส่วน เป็นต้นว่า การทำลายประชากรพลเรือนด้วยระเบิดยุทธศาสตร์ แนวคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามปรากฏขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ใช้บังคับได้สำหรับการทำสงครามระหว่างรัฐอธิปไตย การประมวลกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับชาติ เช่น การเผยแพร่ประมวลกฎหมายลีแบร์ในสหรัฐเมื่อ..

18 ความสัมพันธ์: พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)กฎหมายสงครามการทรมานการข่มขืนกระทำชำเราการฆ่าคนฝ่ายอักษะรัฐสังข์ พัธโนทัยสงครามสงครามกลางเมืองสงครามโลกครั้งที่สองหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)อนุสัญญาเจนีวาตัวประกันประยูร ภมรมนตรีปรีดี พนมยงค์แปลก พิบูลสงคราม

พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)

frameless พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ หรือ สิทธิ จุณณานนท์ (ชื่อเดิม สุทธิ จุณณานนท์) (29 มิถุนายน พ.ศ. 2438 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2520) เป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ ในสมัยรัฐบาลเสนีย์ ปราโมช อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรม ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 อดีตอธิบดีกรมอัยการ ในปี..

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายสงคราม

กฎหมายสงคราม เป็นภาษาเฉพาะวงการกฎหมายซึ่งหมายถึงกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองส่วนที่ว่าด้วยการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายที่ยอมรับได้ที่จะเข้าสู่สงคราม (jus ad bellum) และจำกัดความประพฤติยามสงครามที่ยอมรับได้ (jus in bello หรือกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ) กฎหมายสงครามสมัยใหม่กล่าวถึงการประกาศสงคราม การยอมรับการยอมจำนน การปฏิบัติต่อเชลยศึก ความจำเป็นทางทหาร การแยกแยะพลรบกับพลเรือน (distinction) และความได้สัดส่วน (proportionality) และการห้ามอาวุธบางอย่างซึ่งอาจก่อความทุกข์ทรมานที่ไม่จำเป็นThe Program for Humanitarian Policy and Conflict Research at Harvard University, "IHL PRIMER SERIES | Issue #1" Accessed at http://www3.nd.edu/~cpence/eewt/IHLRI2009.pdf เป็นต้น กฎหมายสงครามถูกพิจารณาแยกกับประชุมกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายในประเทศของคู่สงครามหนึ่ง ๆ ซึ่งอาจให้ข้อจำกัดทางกฎหมายต่อความประพฤติหรือการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายของสงครามเพิ่มเติม.

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและกฎหมายสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

การทรมาน

การทรมาน (torture) เป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางกายหรือจิตใจต่อสิ่งมีชีวิตเพื่อตอบสนองความปรารถนาบางอย่างของผู้ทรมานหรือบังคับให้สิ่งที่ถูกทรมานกระทำบางอย่าง การทรมานโดยนิยามเป็นการกระทำที่รู้สำนึกและเจตนา ปกติการกระทำโดยไม่รู้สำนึกหรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างละเลยโดยปราศจากเจตนาเช่นนั้นไม่ถือเป็นการทรมาน ปัจเจกบุคคล กลุ่มหรือรัฐใช้หรืออนุมัติการทรมานโดยตลอดตั้งแต่โบราณกาลจนปัจจุบัน และรูปแบบการทรมานมีระยะเวลาได้หลากหลายตั้งแต่ไม่กี่นาทีจนถึงหลายวันหรือกว่านั้น สาเหตุของการทรมานนั้นมีได้ตั้งแต่การลงโทษ การล้างแค้น การล้างสมอง การป้องปราม การบีบบังคับผู้เสียหายหรือบุคคลอื่น การสอบสวนเพื่อล้วงสารสนเทศหรือคำสารภาพโดยไม่คำนึงว่าเป็นเท็จหรือไม่ หรือเป็นเพียงความพึงพอใจแบบซาดิสต์ของผู้ที่ลงมือหรือสังเกตการทรมานนั้น ในกรณีอื่น ผู้ทรมานอาจแตกต่างจากเงื่อนไขของผู้เสียหาย มีการออกแบบการทรมานบางรูปแบบเพื่อก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางจิตใจหรือทิ้งการบาดเจ็บทางกายหรือหลักฐานน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ขณะที่มีการทำลายทางจิตใจอย่างเดียวกัน ผู้ทรมานอาจฆ่าหรือทำให้บาดเจ็บซึ่งผู้เสียหายหรือไม่ก็ได้ แต่บางครั้งการทรมานทำให้เกิดการเสียชีวิตโดยเจตนาและใช้เป็นโทษประหารชีวิตรูปแบบหนึ่ง รูปแบบการทรมานซึ่งเจตนาให้ถึงตายอาจยืดออกไปเพื่อให้ผู้เสียหายทุกข์ทรมานมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย (ตัวอย่างเช่น การแขวนคอครึ่ง) แม้บางรัฐอนุมัติการทรมาน แต่กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในประเทศของประเทศส่วนใหญ่ห้าม แม้การทรมานมิชอบด้วยกฎหมายและมีการประณามอย่างกว้างขวาง แต่ยังมีการอภิปรายอยู่ว่าสิ่งใดมีนิยามทางกฎหมายว่าเป็นการทรมาน การทรมานเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและข้อ 5 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประกาศว่ายอมรับไม่ได้ (แต่ไม่ขัดต่อกฎหมาย) ประเทศภาคีอนุสัญญาเจนีว..

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและการทรมาน · ดูเพิ่มเติม »

การข่มขืนกระทำชำเรา

การข่มขืนกระทำชำเรา (rape) เป็นการทำร้ายร่างกายทางเพศซึ่งปกติเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์หรือการใช้การล่วงล้ำทางเพศแบบอื่นต่อบุคคลโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวอาจโดยใช้กำลังทางกาย การบีบบังคับ การละเมิดอำนาจหรือต่อบุคคลที่ไม่สามารถให้ความยินยอมสมบูรณ์ได้ เช่น ผู้ที่หมดสติ ไร้ความสามารถหรืออายุต่ำกว่าอายุที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ตามกฎหมาย คำว่า "ข่มขืนกระทำชำเรา" บางครั้งใช้แทนคำว่า "การทำร้ายร่างกายทางเพศ" ได้ อุบัติการณ์การข่มขืนกระทำชำเราที่ตำรวจบันทึกทั่วโลกในปี 2553 แปรผันระหว่าง 0.2 ต่อ 100,000 คนในประเทศอาเซอร์ไบจาน ถึง 92.9 ต่อ 100,000 คนในประเทศบอตสวานา โดยมีค่า 6.3 ต่อ 100,000 คนในประเทศลิทัวเนียเป็นมัธยฐาน United Nations.

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและการข่มขืนกระทำชำเรา · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าคน

การฆ่าคน (murder) เป็นการกระทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย จัดเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง ทางนิติศาสตร์แบ่งเป็นสองประเภท คือ การทำให้คนตายโดยเจตนา (homicide) และการทำให้คนตายโดยไม่เจตนา (manslaughter) การฆ่าคนทั้งสองประเภท ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักหรือเบาตามกฎหมายแล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและการฆ่าคน · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ (Axis Powers; Achsenmächte; Potenze dell'Asse; Suujikukoku.) หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin-Tokyo Axis) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน..

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและฝ่ายอักษะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 1.

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สังข์ พัธโนทัย

ังข์ พัธโนทัย (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2529) อดีตที่ปรึกษาคนสนิท ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บุกเบิกสัมพันธไมตรีไทย-สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้เขียนสามก๊กฉบับพิชัยสงครามอดีตหัวหน้ากองหนังสือพิมพ์กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์) อดีตผู้จัดรายการวิทยุ "นายมั่น นายคง" สมัยยุคสงครามโลกครั้งที่ 2.

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและสังข์ พัธโนทัย · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน..

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมือง

งครามกลางเมือง (civil war) เป็นสงครามภายในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม, สัญชาติ หรือสังคมแบบเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือดินแดน สงครามกลางเมืองอาจนับเป็นการปฏิวัติ (Revolution) ได้ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ภายในสังคมนั้นหลังจากสิ้นสุดสงคราม นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มยังได้นับรวมเอาการจลาจล (Insurgency) เป็นสงครามกลางเมืองประเภทหนึ่งด้วยถ้ามีการสู้รบระหว่างกองทัพอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันความแตกต่างระหว่าง "สงครามกลางเมือง", "การปฏิวัติ" และ "การจลาจล" นั้นไม่ชัดเจนนัก ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้งาน สงครามกลางเมืองที่สำคัญ.

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและสงครามกลางเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ภาพนี้ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2487 ในงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 19 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ที่สหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 4 สมัย ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนเข้าสู่วงการเมือง เคยเป็นผู้พิพากษา และเคยดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา มาก่อน ม.ร.ว.เสนีย์ เกิดที่ค่ายทหาร ในจังหวัดนครสวรรค์ เวลาใกล้รุ่ง เป็นโอรสใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) ชื่อ "เสนีย์" หมายถึง ทหาร หรือ เสนาบดี ได้รับพระราชทานนามนี้จากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สันนิษฐานว่า เนื่องจากเสด็จพ่อ (พระองค์เจ้าคำรบ) เป็นทหาร ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช มีบุตรชาย-หญิง 3 คน บุตรชาย ได้แก่ ม.ล.เสรี ปราโมช, ม.ล.อัศนี ปราโมช และ บุตรี ได้แก่ ม.ล.นียนา ปราโมช ม.ร.ว.เสนีย์ มีน้องชายที่มีชื่อเสียงคู่กันคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีความสามารถในหลายสาขา โดยสื่อมวลชนนิยมเรียก ท่านทั้งคู่ว่า "หม่อมพี่ หม่อมน้อง" นอกจากนี้ยังมีพี่สาวคือ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี (สมรสกับ พล.ต.อ.พระพินิจชนคดี หรือ พินิจ อินทรทูต) ม.ร.ว เสนีย์ เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่อายุน้อยที่สุดในประศาสตร์การเมืองไทย ด้วยอายุขณะรับตำแหน่ง คือ 40 ปี.

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช · ดูเพิ่มเติม »

หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)

ลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ, ชื่อเดิม กิมเหลียง วัฒนปฤดา 金良 แต่มิได้มีเชื้อจีนแต่ประการใด) เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ นักคิด นักพูด นักเขียนคนสำคัญของไทย บุตรนายอิน และนางคล้าย เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่จังหวัดอุทัยธานี บิดามารดามีอาชีพค้าขาย อายุ 8 ขวบเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง เมื่อจบประถมศึกษา บิดาได้นำไปฝากให้บวชสามเณรอยู่กับพระมหาชุ้ย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เมื่อท่านอายุ 13 ปี ในปี พ.ศ. 2453 ท่านได้ศึกษานักธรรมและบาลีจนจบนักธรรมเอกและเปรียญ 5 ประโยค โดยสอบได้เปรียญ 5 ประโยคเมื่ออายุ 19 ปีใน..

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาเจนีวา

อนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) คือสนธิสัญญาสี่ฉบับ และพิธีสารสามฉบับที่วางมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้เป็นเหยื่อของสงครามอย่างมีมนุษยธรรม ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม..

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและอนุสัญญาเจนีวา · ดูเพิ่มเติม »

ตัวประกัน

ตัวประกัน เป็นบุคคลหรือสิ่งอื่นซึ่งภาคีคู่ปรปักษ์ (belligerent) ฝ่ายหนึ่งถือหรือยึดไว้เป็นหลักประกันเพื่อปฏิบัติตามข้อตกลง หรือเป็นมาตรการป้องกันสงคราม ทว่า ในการใช้ร่วมสมัย ตัวประกันหมายความว่า บุคคลที่ถูกอาชญากรผู้ลักพาตัวยึดไว้เพื่อบังคับภาคีอื่น เช่น ญาติ นายจ้าง ผู้บังคับใช้กฎหมาย หรือรัฐบาลเพื่อให้กระทำหรืองดมิให้กระทำในทางหนึ่ง ๆ โดยมักขู่ว่าจะทำร้ายตัวประกันหลังเวลาล่วงคำขาด หมวดหมู่:การจับตัวประกัน หมวดหมู่:การลักพาตัว หมวดหมู่:การก่อการร้าย.

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและตัวประกัน · ดูเพิ่มเติม »

ประยูร ภมรมนตรี

รองอำมาตย์เอก นายพลโท ประยูร ภมรมนตรี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ฝ่ายพลเรือน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเหลนของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) เสนาบดีพระคลังในรัชกาลที่๓ เป็นบุตรของ พันตรี พระชำนาญคุรุวิทย์ (แย้ม ภมรมนตรี) ทูตทหารประจำจักรวรรดิเยอรมัน กับมารดาที่เป็นชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นครูสอนภาษาเยอรมันให้กับนักเรียนในจักรวรรดิเยอรมันขณะนั้น2475: สองฝั่งประชาธิปไตย, สารคดี: ทีวีไทย พฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ชื่อ แพทย์หญิงแอนเนลี ไฟร์ พลโท ประยูร ภมรมนตรี เป็นผู้เสนอจัดตั้งโรงแรมขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความเจริญของกรุงเทพมหานคร หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อปี..

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและประยูร ภมรมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ปรีดี พนมยงค์

ตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและปรีดี พนมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: อาชญากรรมสงครามและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

War crimeอาญาศึกอาชญากรสงครามความผิดอาญาศึกความผิดอาญาสงคราม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »