โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาจริยวาท

ดัชนี อาจริยวาท

อาจริยวาท แปลว่า วาทะของอาจารย์ เป็นคำที่คณาจารย์พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทใช้เรียกพุทธศาสนานิกายใด ๆ ที่ไม่ยอมรับมติของพระเถระผู้ทำสังคายนาครั้งที่ 1 แต่ถือตามคำสอนของอาจารย์ของตน จึงเรียกว่า อาจริยวาท ตามที่ปรากฏในคัมภีร์มหาวงศ์และทีปวงศ์ นิกายที่ถือเป็นอาจริยวาทมี 17 นิกาย ได้แก.

18 ความสัมพันธ์: พหุศรุตียะกาศยปียะมหายานมหาวงศ์มหาสังฆิกะมหีศาสกะวาตสีปุตรียะสรวาสติวาทสังกันติกะสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธสางมิตียะธรรมคุปต์ปรัชญัปติวาทโคกุลิกะไจติกะเสาตรานติกะเอกัพยาวหาริกะเถรวาท

พหุศรุตียะ

นิกายพหุสสุติกวาท หรือ นิกายพหุศรุตียะ แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะหรือนิกายโคกุลิกะ นิกายใดนิกายหนึ่ง ตามประวัติของนิกายนี้กล่าวว่าพระอรหันต์รูปหนึ่งเข้าฌานสมาบัติเป็นเวลานานจน..

ใหม่!!: อาจริยวาทและพหุศรุตียะ · ดูเพิ่มเติม »

กาศยปียะ

นิกายกัสสปิกวาท หรือ นิกายกาศยปียะ เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ซึ่งแยกตัวออกมาจากนิกายสรวาสติวาทราว พ.ศ. 200 หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายธรรมคุปต์ เชื่อว่ากรรมที่ทำในอดีตให้ผลในอดีตแล้วหยุดเท่านั้น ไม่ตามมาให้ผลในปัจจุบันและอนาคตอีก มีพระไตรปิฎกเป็นของตนเอง.

ใหม่!!: อาจริยวาทและกาศยปียะ · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: อาจริยวาทและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวงศ์

มหาวงศ์ เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ บันทึกเหตุการณ์ในยุคต้นของลังกาทวีป หรือศรีลังกา รจนาขึ้นเมื่อราวศตวรรษที่ 5 โดยพระมหาเถระ มหานามะ โดยใช้ข้อมุลจากพงศาวดาร และตำราต่างๆ ในวัดมหาวิหาร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เนื้อหากล่าวถึงตั้งแต่เมื่อครั้งเจ้าชายวิชัย เดินทางมาจากพังคละ มาถึงลังกาทวีป ปราบชนพื้นเมืองแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครอง จากนั้นพรรณนาวงศ์กษัตริย์ต่างๆ พร้อมกับเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนาในลังกาควบคู่กันไป คัมภีร์มหาวงศ์ รจนาขึ้นในรูปแบบคาถา หรือบทกวีใช้ฉันทลักษณ์พรรณนาเหตุการณ์ นับเป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ในภาษาบาลีที่ยิ่งใญ่ที่สุด มีทั้งเหตุการณ์ทางการเมือง การชิงไหวชิงพริบในราชสำนัก การต่อรองทางการทูต และเรือองราวอันน่าสะเทือนใจ รวมถึงแสดงถึงอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาวสิงหล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างศาสนสถานอันยิ่งใหญ่ และการก่อกำเนิดของระบบชลประทานอันทันสมั.

ใหม่!!: อาจริยวาทและมหาวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสังฆิกะ

มหาสังฆิกะ (महासांघिक mahāsāṃghika) เป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่แยกออกมาจากคณะสงฆ์ดั้งเดิมหรือฝ่ายเถรวาทเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่ 2 โดยแยกตัวออกไปทำสังคายนาต่างหาก ในระยะแรกนิกายนี้ไม่ได้รุ่งเรืองมาก เนื่องจากมีความขัดแย้งกับฝ่ายเถรวาทอย่างรุนแรง ต่อมาจึงมีอิทธิพลที่เมืองปาฏลีบุตร เวสาลี แคว้นมคธ ไปจนถึงอินเดียใต้ มีนิกายที่แยกออกไป 5 นิกาย คือ นิกายโคกุลิกวาท นิกายเอกัพโยหาริกวาท นิกายปัญญตติกวาท นิกายพหุสสุติกวาท และนิกายเจติยวาท และถือเป็นต้นกำเนิดของมหายานในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อาจริยวาทและมหาสังฆิกะ · ดูเพิ่มเติม »

มหีศาสกะ

นิกายมหิสาสกวาท หรือ นิกายมหีศาสกะ เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่หลักฐานฝ่ายบาลีกล่าวว่าแยกมาจากเถรวาท ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายสรวาสติวาท อาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิกายนี้เป็นพราหมณ์ เมื่อมาบวชได้นำหลักธรรมในพระเวทมาผสมกับพระพุทธพจน์ แพร่หลายทางภาคตะวันตกและภาคใต้ของอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นอวันตี วนวาสี มหาสมณฑล เกรละ และมีอิทธิพลในลังกาด้วย พระพุทธชีวะได้แปลวินัยของนิกายนี้เป็นภาษาจีน หลักธรรมของนิกายนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากนิกายอื่นๆ หลายประการ เช่น ไม่มีอันตรภพ ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วไม่เสื่อมแต่พระโสดาบันเสื่อมได้ การบูชาสถูปเจดีย์ได้บุญน้อย การถวายทานให้คณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานมีผลมากกว่าถวายทานต่อพระพุทธเจ้าองค์เดียว เป็นต้น.

ใหม่!!: อาจริยวาทและมหีศาสกะ · ดูเพิ่มเติม »

วาตสีปุตรียะ

นิกายวัชชีปุตวาท เป็นนิกายที่แยกออกมาจากเถรวาทเมื่อครั้งการสังคายนาครั้งที่ 2 นิกายนี้ได้แพร่หลายจากมคธไปสู่อินเดียภาคตะวันตกและภาคใต้ ไม่มีปกรณ์ของนิกายนี้เหลืออยู่เลยในปัจจุบัน หลักธรรมเท่าที่มีหลักฐานเหลืออยู่คือนิกายนี้ยอมรับว่ามีอาตมันหรืออัตตาจึงถูกโจมตีจากนิกายอื่น เช่น นิกายมหาสังฆิกะ เถรวาทและนิกายเสาตรันติกวาท.

ใหม่!!: อาจริยวาทและวาตสีปุตรียะ · ดูเพิ่มเติม »

สรวาสติวาท

แนวปฏิบัติของศาสนาพุทธแบบทิเบต โดยธรรมเนียมแล้วยึดถือตามวินัยของนิกายสรวาสติวาท นิกายสรวาสติวาท หรือ นิกายสัพพัตถิกวาท เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายหินยาน คัมภีร์ทีปวงศ์ระบุว่านิกายนี้แยกมาจากนิกายมหีศาสกะ ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายเถรวาทโดยตรง นิกายนี้แพร่หลายไปทั่วอินเดียภาคกลางและอินเดียภาคเหนือ รวมทั้งแพร่หลายไปสู่เอเชียกลางและจีนด้วย หลักธรรมของนิกายนี้เขียนด้วยภาษาสันสกฤต นิกายนี้ในญี่ปุ่นเรียกว่านิกายกุชา ผู้ให้กำเนิดนิกายนี้คือ พระอุปคุตอรหันตเจ้า ผู้ทำการปราบพยามารที่มารบกวนพิธีฉลองเจดีย์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับเถรวาท แต่ต่างกันที่ว่านิกายนี้ถือว่า ขันธ์ห้าเป็นของมีอยู่จริง(อัตตา) พระอรหันต์เสื่อมได้ สิ่งทั้งหลายมีอยู่และเป็นอยู่ในลักษณะสืบต่อ ความจริงมีสองระดับคือสมมติสัจจะ เป็นความจริงโดยสมมติ เป็นความจริงของชาวโลก จัดเป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัย ความจริงอีกระดับหนึ่งคือปรมัตถสัจจะ เป็นสิ่งสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เรียกว่าอสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน นิกายนี้ถือตามอภิธรรมมหาวิภาษาที่เป็นอรรถกถาของอภิธรรมชญานปริสถานเป็นหลัก คัมภีร์ของนิกายนี้มีผู้แปลเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบตไว้มาก พระภิกษุในทิเบตปัจจุบันถือวินัยของนิกายนี้.

ใหม่!!: อาจริยวาทและสรวาสติวาท · ดูเพิ่มเติม »

สังกันติกะ

นิกายสังกันติกะ หรือ สังกรันติกะ คัมภีร์ทีปวงศ์ระบุว่าเป็นสาขาของนิกายกาศยปี.

ใหม่!!: อาจริยวาทและสังกันติกะ · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธ

ถ้ำสัตตบรรณคูหาสถานที่ปฐมสังคายนา ปฐมสังคายนา เป็นการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก กระทำขึ้นหลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้เพียง 3 เดือน สาเหตุสืบเนื่องมาจากพระมหากัสสปะ เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานจึงรีบเดินทางมาจากเมืองปาวา แต่ระหว่างทางพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นปุถุชนได้ร้องไห้คร่ำครวญขึ้นมาทำให้มีภิกษุผู้บวชเมื่อแก่นามว่าสุภัททะ ได้กล่าววาจาจาบจ้วงพระพุทธเจ้าพระมหากัสสปะจะลงโทษพระสุภัททะแต่ก็รอให้ผ่านพิธีถวายพระเพลิงเสียก่อน หลังจากพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระได้ผ่านไปแล้ว 3 เดือนพระมหากัสสปะจึงได้ชักชวนพระอรหันต์ทั้งสิ้น 500 รูปมาร่วมสังคายนาพระไตรปิฎกโดยมีท่านเป็นประธานและทำหน้าที่ซักถามพระวินัยและพระธรรมส่วน พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย และพระอานนท์ซึ่ง 1 วันก่อนสังคายนาท่านได้บำเพ็ญธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม และได้พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภก โดยสถานที่ทำปฐมสังคายนาคือ ถ้ำสัตบรรณคูหา กระทำทั้งสิ้น 7 เดือนจึงสำเร็จ ผลของการสังคายนา ไม่มีพระสงฆ์รูปใดกล่าวดูหมิ่น หมวดหมู่:สังคายนาในศาสนาพุทธ.

ใหม่!!: อาจริยวาทและสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สางมิตียะ

นิกายสมิติยวาท หรือ สางมิตียะ เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่แยกมาจากนิกายวาตสีปุตรียะ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายแม่ คือรับรองว่ามีอาตมันหรือบุคคล รุ่งเรืองในอินเดียจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 แต่หลักฐานเหลือมาถึงปัจจุบันไม่มากนัก.

ใหม่!!: อาจริยวาทและสางมิตียะ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมคุปต์

รรมคุปต์ หรือ ธรรมคุปตวาท แยกมาจากนิกายมหีศาสกะ ในเวลาใกล้เคียงกับนิกายสรวาสติวาท โดยแตกต่างจากนิกายแม่ที่เรื่องการถวายทาน นิกายนี้เห็นว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าหรือแม้แต่สถูปเจดีย์มีผลมากกว่าถวายต่อสงฆ์ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสังฆิกะมากกว่านิกายมหีศาสกะ แพร่หลายในเอเชียกลางและจีน พระวินัยของนิกายนี้เป็นต้นแบบของนิกายวินัยในจีน นักวิชาการถือว่านิกายนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิกายเถรวาท แต่นิกายเถรวาทถือว่านิกายนี้เป็นฝ่ายอาจริยวาทและอธรรมวาที ในคัมภีร์กถาวัตถุปรากฏข้อมูลว่าเถรวาทกับธรรมคุปต์เห็นต่างกันหลายเรื่อง เช่น อานิสงส์ของการทำทาน การบูชาพระเจดีย์ วิมุตติของพระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวก อภิญญาของศาสนาในศาสนาอื่น เป็นต้น.

ใหม่!!: อาจริยวาทและธรรมคุปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญัปติวาท

นิกายปรัชญัปติวาท เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ซึ่งแยกมาจากนิกายเอกัพยาวหาริกะตามหลักฐานฝ่ายบาลี ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือ ถือว่าทุกข์ไม่มีขันธ์ อายตนะ 12 เป็นมายา ไม่มีอกาล บุญกุศลเป็นเหตุปัจจัยให้ได้บรรลุอริยมรร.

ใหม่!!: อาจริยวาทและปรัชญัปติวาท · ดูเพิ่มเติม »

โคกุลิกะ

นิกายโคกุลิกวาท แป็นนิกายที่แยกตัวออกมาจากนิกายมหาสังฆิกะ หลักธรรมโดยทั่วไปเหมือนกับนิกายมหาสังฆิกะ แต่ที่แยกตัวออกมาเพราะนิกายนี้ถือพระอภิธรรมปิฎกเป็นพิเศษ ไม่เคร่งครัดในพระวินัย ถือว่าการปฏิบัติให้พ้นกิเลสตัณหาโดยเร็วสำคัญกว่าการรักษาสิกขาบท.

ใหม่!!: อาจริยวาทและโคกุลิกะ · ดูเพิ่มเติม »

ไจติกะ

นิกายเจติยวาท หรือ นิกายไจติกะ เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ตั้งขึ้นโดยอาจารย์มหาเทวะ แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสังฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าการสร้างและการตกแต่งสถูปเจดีย์ได้บุญมาก พระนิพพานเป็นสภาวะที่มีอยู่ เป็นอมตธาต.

ใหม่!!: อาจริยวาทและไจติกะ · ดูเพิ่มเติม »

เสาตรานติกะ

ตรานติกะ หรือสุตตวาท เป็นพระพุทธศาสนานิกายหนึ่ง คัมภีร์ฝ่ายสันสกฤตระบุว่าแยกมาจากนิกายสรวาสติวาท ส่วนฝ่ายบาลีว่าแยกมาจากนิกายสังกันติกะ เหตุที่แยกออกมาเพราะเมื่อคณาจารย์ฝ่ายสรวาสติวาทหันไปนับถือพระอภิธรรมปิฎกมากขึ้น แต่มีบางส่วนเห็นแย้งว่าพระสุตตันตปิฎกสำคัญกว่า กลุ่มนี้จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ นิกายทั้ง 2 นี้ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จนมีกล่าวโต้แย้งปรัชญาซึ่งกันและกัน นิกายนี้แพร่หลายอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย เชื่อว่าผู้ก่อตั้งนิกายนี้คือพระกุมารลาตะ ไม่มีคัมภีร์ของนิกายนี้เหลืออยู่ คงมีแต่ที่กล่าวพาดพิงถึงในคัมภีร์ของนิกายสรวาสติวาทเท่านั้น ปรัชญาของนิกายนี้เชื่อว่าความจริงมีสองอย่างคือวัตถุกับจิตใจ เน้นเรื่องอนิจจัง ทุกอย่างไม่เที่ยงทั้งภาวะและอภาวะ ชีวิตเป็นเพียงลำดับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความรู้ทั้งหลายจะรู้ได้เฉพาะอนุมานประมาณเท่านั้น เพราะจิตไม่อาจยึดความจริงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ นิกายนี้ถือว่าเฉพาะวิญญาณขันธ์ในขันธ์ห้าเท่านั้นที่ไปเกิดใหม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกับนิกายสางมิตียะ เชื่อว่าทุกคนมีธาตุแห่งพุทธะอยู่ในตัวเช่นเดียวกับความเชื่อของฝ่ายมหายาน นิกายนี้เมื่อแพร่หลายไปที่ญี่ปุ่นเรียกว่านิกายโจจิต.

ใหม่!!: อาจริยวาทและเสาตรานติกะ · ดูเพิ่มเติม »

เอกัพยาวหาริกะ

นิกายเอกัพยาวหาริกะ หรือ นิกายเอกวยหาริกวาท เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าไม่มีสภาวธรรมที่แท้จริง ทั้งทางโลกียะและโลกุตระ เป็นแต่บัญญัติโวหารเท่านั้น.

ใหม่!!: อาจริยวาทและเอกัพยาวหาริกะ · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: อาจริยวาทและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อาจาริยวาทนิกายอาจริยวาท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »