โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แอลลิเกเตอร์จีน

ดัชนี แอลลิเกเตอร์จีน

แอลลิเกเตอร์จีน หรือ จระเข้ตีนเป็ดจีน (Chinese alligator;; พินอิน: yáng zǐ è) เป็นแอลลิเกเตอร์หนึ่งในสองชนิดที่ยังหลงเหลืออยู่ในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alligator sinensis มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร น้ำหนักมากกว่า 40 กิโลกรัม ทำรังด้วยการขุดโพรงวางไข่ที่ชายหาดริมฝั่งแม่น้ำ พบอาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แถบมณฑลอันฮุย เจียงซูและเจ้อเจียงเท่านั้น ครั้งหนึ่ง แอลลิเกเตอร์ชนิดนี้ เคยมีอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจีน แต่ในปัจจุบัน ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งใน 10 อันดับสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งในอนาคตของโลก เนื่องจากปัญหาด้านมลพิษ และอุณหภูมิที่สูงขึ้นรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นภัยคุกคามต่อการดำรงชีวิตของมัน ซึ่งปัจจุบันคาดมีปริมาณแอลลิเกเตอร์จีนอาศัยอยู่ในธรรมชาติราว 120 ตัว ซึ่งสถานะการอนุรักษ์ของแอลลิเกเตอร์จีน จัดอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต และติดอยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) และอยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลข 1 (Appendix I) ของไซเตส ซึ่งห้ามค้าขายโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะกระทำไปเพื่อการอนุรักษ์หรือวิจัย แต่ต้องได้รับการอนุญาตจากประเทศต้นกำเนิดเสียก่อน ปัจจุบัน ทางการจีนได้มีการอนุรักษ์และเพาะขยายพันธุ์แอลลิเกเตอร์จีนมาแล้วกว่า 30 ปี ซึ่งผลจากการอนุรักษ์และเพาะพันธุ์ที่ผ่านมานี้ทำให้มีลูกแอลลิเกเตอร์จีนเกิดมากขึ้นและมีเปอร์เซนต์รอดในธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นจากอดีตในรอบ 5 ปี และคาดว่าจะมีปริมาณแอลลิเกเตอร์จีนเพิ่มขึ้น 300 ตัว ในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้.

23 ความสัมพันธ์: บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติพ.ศ. 2422พ.ศ. 2490พินอินการตั้งชื่อทวินามมณฑลอานฮุยมณฑลเจียงซูมณฑลเจ้อเจียงวงศ์แอลลิเกเตอร์สมัยไพลสโตซีนสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์อันดับจระเข้อาร์โคซอร์อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จระเข้ตีนเป็ดประเทศจีนแม่น้ำแยงซีแผนที่เอเอสทีวีผู้จัดการ

บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

#D59D00nbspเสี่ยงต่ออันตราย ตามที่ระบุใน “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ค.ศ. 2007” บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ บัญชีแดง (IUCN Red List of Threatened Species หรือ IUCN Red List หรือ Red Data List) บัญชีแดงที่เป็นดัชนีที่เริ่มสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1948 เป็นดัชนีรายชื่อที่สมบูรณ์ที่สุดของสถานภาพของสปีชีส์พืชและสัตว์ต่างๆ ของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นสถาบันหลักผู้มีอำนาจในการระบุฐานะสถานภาพต่างๆ ของสปีชีส์ นอกจากบัญชีแดงโดยทั่วไปแล้วก็ยังมีบัญชีแดงระดับท้องถิ่น (Regional Red List) ที่รวบรวมขึ้นโดยประเทศ หรือ องค์การต่างๆ ที่ประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์ภายในเขตการปกครองของแต่ละท้องถิ่นในความรับผิดชอบ “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” กำหนดขึ้นจากข้อกำหนด (criteria) ที่วางไว้อย่างจำเพาะเจาะจงในการประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์และสปีชีส์ย่อยเป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของรวบรวมดัชนีรายชื่อก็เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเร่งด่วนเกี่ยวกับความจำเป็นในการอนุรักษ์แก่สาธารณชน และผู้มีอำนาจในการวางนโยบาย รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือประชาคมนานาชาติในการพยายามลดจำนวนการสูญพันธุ์ของสปีชีส์ต่างตามที่ระบุในดัชนี องค์การที่ร่วมในการประเมินระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสปีชีส์หลักก็รวมทั้งองค์การชีวปักษานานาชาติ (BirdLife International), สถาบันสัตวศาสตร์ (Institute of Zoology) (แผนกค้นคว้าของสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอน (Zoological Society of London), องค์การติดตามผลการอนุรักษ์นานาชาติ (Conservation Monitoring Centre) และกลุ่มชำนัญพิเศษต่างๆ ภายในคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ การประเมินระดับความเสี่ยงจากองค์การต่างๆ ดังว่ารวมกันได้เป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของสปีชีส์ในบัญชีแดง “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” ถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นดัชนีที่มีความมีจุดมุ่งหมายและมีหลักการที่สุดในการจัดระดับสปีชีส์ตามระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติมีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินระดับความเสี่ยงของทุกสปีชีส์ใหม่ทุก 5 ถ้าทำได้ หรืออย่างน้อยก็ทุก 10 ปี ที่ทำโดยวิธีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review) โดยคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ (Species Survival Commission (SSC)) ซึ่งเป็นกลุ่มชำนัญพิเศษของสหภาพเอง ผู้มีความรับผิดชอบดัชนีรายชือสปีชีส์, กลุ่มสปีชีส์ หรือ กลุ่มสปีชีส์ของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง หรือในกรณีขององค์การชีวปักษานานาชาติก็จะตรวจสอบสปีชีส์ในอันดับนก “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” ฉบับล่าสุดออกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ที่เมืองบาร์เซโลนาในประเทศสเปน.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2422

ทธศักราช 2422 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1879.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและพ.ศ. 2422 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2490

ทธศักราช 2490 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1947.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและพ.ศ. 2490 · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลอานฮุย

มณฑลอานฮุย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อ เหอเฟย์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 139,400 ตาราง ก.ม.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและมณฑลอานฮุย · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจียงซู

มณฑลเจียงซู (จีนตัวย่อ: 江苏省 จีนตัวเต็ม: 江蘇省 เจียงซูเฉิ่ง) ชื่อย่อ ‘ซู’ (苏) ตั้งอยู่ตอนกลางของดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อว่าหนานจิง มีเนื้อที่ 102,600 ก.ม.มีประชากร ปี 2004 74,330,000 คน จีดีพี 1.54 ล้านล้านเหรินหมินปี้ต่อประชากร 20,700 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น แม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านส่วนต่าง ๆ ทางใต้ของมณฑล.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและมณฑลเจียงซู · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจ้อเจียง

มณฑลเจ้อเจียง (จีน: 浙江省 เจ้อเจียงเฉิง Zhejiang) ชื่อย่อ ‘เจ้อ’ (浙)ในหลักฐานไทยแต่เดิมเรียก มณฑลเจ๊เกี๋ยง มีเมืองหลวงชื่อเมืองหางโจว.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและมณฑลเจ้อเจียง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แอลลิเกเตอร์

วงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligator, Caiman; ชื่อวิทยาศาสตร์: Alligatoridae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodylia) ที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ที่แยกออกจากวงศ์ Crocodylidae หรือวงศ์ของจระเข้ทั่วไป โดยวงศ์แอลลิเกเตอร์ปรากฏขึ้นมายุคครีเตเชียสเป็นครั้งแรก และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากเดิมมากนักจนถึงปัจจุบันจนอาจเรียกว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้ รูปร่างและลักษณะของวงศ์แอลลิเกเตอร์ จะแตกต่างจากจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae คือ ปลายปากมีลักษณะคล้ายตัวอักษรยู (U) เมื่อหุบปากแล้วฟันที่ขากรรไกรล่างจะสวมเข้าไปในร่องของขากรรไกรบนจึงมองไม่เห็นฟันของขากรรไกรล่าง ส่วนปลายของขากรรไกรล่างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ห่างจากแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลาเป็นช่องกว้าง กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้น แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Alligatorinae คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน (Alligator mississippiensis) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด พบได้ในสหรัฐอเมริกาอย่างกว้างขวาง และแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก พบได้เฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีในภาคตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น และ Caimaninae ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อสามัญว่า "จระเข้เคแมน" ซึ่งพบได้ตั้งแต่อเมริกากลางจนถึงทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะมีขนาดเล็ก โดยแต่เดิมนั้น แอลลิเกเตอร์มีจำนวนสมาชิกของวงศ์มากกว่านี้ แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ซึ่งปัจจุบันในสองวงศ์ย่อยนี้รวมกันแล้วมีจำนวนเพียง 8 ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและวงศ์แอลลิเกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลสโตซีน

มัยไพลสโตซีน (Pleistocene เครื่องหมาย PS) เป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ชาลส์ ไลเอลล์ บัญญัติคำนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและสมัยไพลสโตซีน · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับจระเข้

อันดับจระเข้ (Crocodile, Gharial, Alligator, Caiman) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocodilia หรือ Crocodylia ที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จระเข้" โดยอันดับนี้ปรากฏขึ้นมาบนโลกมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียส (84 ล้านปีมาแล้ว) จนถึงปัจจุบัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนังซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้นและแข็งแรงและมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด แต่ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระห่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis เพราะการวิเคราะห์ทางกายภาคจัดว่า Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า (ในบางข้อมูลอาจจะยังจัดให้อยู่ในวงศ์ Crocodylidae) เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย ภาพของสัตว์ในอันดับจระเข้ชนิดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับมนุษย์ (สีแดง & สีส้ม-สูญพันธุ์ไปแล้ว) ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและอันดับจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์โคซอร์

อาร์โคซอร์ (อังกฤษ: Archosaur, มาจากภาษากรีกแปลว่า กิ้งก่าผู้ครองโลก) ได้แก่กลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกหนึ่งซึ่งมีกะโหลกแบบ diapsid (มีสองโพรงในแต่ละด้าน) ซึ่งในอดีตรวมไปถึงไดโนเสาร์ ส่วนสัตว์พวกอาร์โคซอร์ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ จระเข้ และ นก ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า อาร์โคซอร์ ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อไร พวกที่จัดให้สัตว์เลี้อยคลาย Archosaurus rossicus และ/หรือ Protorosaurus speneri ว่าเป็นอาร์โคซอร์เต็มตัว จะถือเอายุคเพอร์เมียนตอนปลายเป็นจุดเริ่มต้น ในขณะที่อีกกลุ่มจัดสัตว์เลื้อยคลานข้างตนเป็นพวก อาร์โคซอริฟอรมส์ (archosauriformes) และนับให้อาร์โคซอร์วิวัฒนาการต่อจาก archosauriformes อีกที ยึดเอายุคโอลีนีเคียน (Olenekian, ตรงกับยุคไทรแอสซิกตอนต้น) เป็นจุดกำเนิด อาร์โคซอร์เป็นสัตว์ที่ครองโลกในยุคไทรแอสซิก หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและอาร์โคซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

ัญลักษณ์ไซเตส อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน (Washington Convention) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้ตีนเป็ด

แอลลิเกเตอร์ หรือ จระเข้ตีนเป็ด (Alligators; เรียกสั้น ๆ ว่า เกเตอร์: Gators) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodilia) ในวงศ์ Alligatoridae ใช้ชื่อสกุลว่า Alligator แอลลิเกเตอร์เป็นจระเข้ที่อยู่ในวงศ์ Alligatoridae ซึ่งแยกมาจากจระเข้ทั่วไปส่วนใหญ่ที่จะอยู่ในวงศ์ Crocodylidae ซึ่งแยกออกมาจากกันราว 200 ล้านปีก่อน ในมหายุคมีโซโซอิก และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง แอลลิเกเตอร์จึงจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง แอลลิเกเตอร์ มีลักษณะที่แตกต่างไปจากจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae หรือจระเข้ทั่วไป คือ เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นจะงอยปากสั้นและเป็นรูปตัวยู รูจมูกมีขนาดใหญ่ และเมื่อหุบปากแล้วฟันล่างจะไม่โผล่ออกมาให้เห็น เพราะมีส่วปลายของหัวแผ่กว้างและขากรรไกรยาว ส่วนปลายของขากรรไกรล่างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกแอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ห่างจากแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลาเป็นช่องกว้าง กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ่นมีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้น ปัจจุบัน แอลลิเกเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน (Alligator mississippiensis) ซึ่งถือเป็นสัตว์จำพวกจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ และแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) ที่พบในลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนเท่านั้น และเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว ซึ่งคำว่า แอลลิเกเตอร์นั้น มาจากภาษาสเปนคำว่า "Lagarto" หมายถึง "สัตว์เลื้อยคลาน".

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและจระเข้ตีนเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแยงซี

้นทางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แม่น้ำแยงซี, แยงซีเกียง (Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและแม่น้ำแยงซี · ดูเพิ่มเติม »

แผนที่

231x231px แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและแผนที่ · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แอลลิเกเตอร์จีนและเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Alligator sinensisCaigator sinensisอัลลิเกเตอร์จีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »