โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัมพาตแบบเบลล์

ดัชนี อัมพาตแบบเบลล์

ภาวะอัมพาตแบบเบลล์ (Bell's paly) เป็นอาการอัมพาตของใบหน้าชนิดหนึ่งทำให้มีการทำงานผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (เส้นประสาทเฟเชียล) จนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ โรคหรือภาวะที่ทำให้มีใบหน้าชาเช่นนี้มีอีกหลายโรค ตั้งแต่เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไลม์ และอื่นๆ แต่หากไม่พบภาวะซึ่งเป็นสาเหตุได้จะถือว่าภาวะใบหน้าเป็นอัมพาตนั้นเกิดจากภาวะอัมพาตแบบเบลล์ ภาวะนี้ได้ชื่อตามนักกายวิภาคศาสตร์ชาวสก็อตชื่อชาร์ลส์ เบลล์ ซึ่งได้บรรยายภาวะนี้เอาไว้เป็นครั้งแรก อัมพาตแบบเบลล์เป็นโรคของเส้นประสาทเส้นเดียว (mononeuropathy) ที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุของภาวะเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาตเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดด้วย หมวดหมู่:ความผิดปกติทางประสาทวิทยา หมวดหมู่:โรคซึ่งไม่ทราบสาเหตุ หมวดหมู่:โรคของระบบประสาท หมวดหมู่:โสตศอนาสิกวิทยา.

7 ความสัมพันธ์: กายวิภาคศาสตร์อัมพาตประเทศสกอตแลนด์โรคหลอดเลือดสมองโรคไลม์เส้นประสาทเฟเชียลเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาต

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: อัมพาตแบบเบลล์และกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาต

อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาเป็นต้นตายไปกระดิกไม่ได้ ตรงกันข้ามกับอัมพฤกษ์ที่อวัยวะร่างกายเพียงอ่อนแรง.

ใหม่!!: อัมพาตแบบเบลล์และอัมพาต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: อัมพาตแบบเบลล์และประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดสมอง

รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.

ใหม่!!: อัมพาตแบบเบลล์และโรคหลอดเลือดสมอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคไลม์

รคไลม์เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียในจีนัส Borrelia อย่างน้อย 3 ชนิด โดยมี Borrelia burgdorferi sensu stricto เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปอเมริกาเหนือ และ Borrelia afzelii กับ Borrelia garinii เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปยุโรป โรคนี้ตั้งชื่อตามเมืองไลม์และโอลด์ไลม์ รัฐคอนเนกติคัต สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการตรวจพบโรคนี้เป็นครั้งแรกใน..

ใหม่!!: อัมพาตแบบเบลล์และโรคไลม์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทเฟเชียล

้นประสาทเฟเชียล ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: อัมพาตแบบเบลล์และเส้นประสาทเฟเชียล · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาต

เส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาต (facial nerve paralysis) เป็นภาวะที่ทำให้อวัยวะที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทเฟเชียลเกิดทำงานไม่ได้หรือเป็นอัมพาตขึ้นมา เส้นทางของเส้นประสาทนี้ยาวและซับซ้อน เพราะฉะนั้นจึงอาจมีสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้มากมาย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคืออัมพาตแบบเบลล์ ซึ่งเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ วินิจฉัยได้โดยการแยกเอาสาเหตุอื่นออกหมดแล้วเท่านั้น (by exclusion) หมวดหมู่:โสตศอนาสิกวิทยา หมวดหมู่:โรคของระบบประสาทนอกส่วนกลาง หมวดหมู่:ใบหน้า.

ใหม่!!: อัมพาตแบบเบลล์และเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bell palsyBell's palsyอัมพาตเบลล์โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »