โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัปแซ็งต์

ดัชนี อัปแซ็งต์

แก้วและช้อนที่ใช้เพื่อละลายน้ำตาลก้อนลงไปในอัปแซ็งต์ ภาพเขียน ''ภูตเขียว'' โดยอาลแบร์ แมญ็อง (ค.ศ. 1895) แสดงภาพกวีคนหนึ่งที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของภูตเขียว อัปแซ็งต์ (absinthe) เป็นเหล้าอาหนีชนิดหนึ่ง กลั่นจากสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ ดอกและใบของพรรณไม้ชนิด Artemisia absinthium ร่วมกับเมล็ดเทียนสัตตบุษย์, เมล็ดผักชีล้อม และสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่ใช้เป็นยาหรือทำอาหาร แต่เดิมจะมีสีเขียวตามธรรมชาติ แต่อาจไม่มีสีก็ได้ วรรณคดีตะวันตกเรื่องต่าง ๆ มักเรียกเหล้าชนิดนี้ว่า "เจ้าภูตเขียว" (la fée verte) ตามธรรมเนียมแล้ว อัปแซ็งต์จะถูกบรรจุขวดโดยมีปริมาณแอลกอฮอล์โดยปริมาตรในระดับสูง โดยได้รับการอธิบายว่าเป็นเครื่องดื่มกลั่นที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 45–74 โดยปริมาตร แต่ตามปกติก็ถูกทำให้เจือจางด้วยน้ำก่อนบริโภค แม้ว่าบางครั้งอัปแซ็งต์จะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเหล้าหวาน (liqueur) แต่ก็ไม่มีการบรรจุอัปแซ็งต์ลงขวดโดยเติมน้ำตาลเพิ่ม ดังนั้นจึงจัดว่าเป็นเหล้า (spirit) ชนิดหนึ่ง อัปแซ็งต์มีต้นกำเนิดในรัฐเนอชาแตลของสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้รับความนิยมอย่างสูงในฐานะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในฝรั่งเศสช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ศิลปินและนักเขียนชาวปารีส แต่เนื่องจากเหล้าชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องบางอย่างกับวัฒนธรรมโบฮีเมีย การบริโภคอัปแซ็งต์จึงถูกต่อต้านจากนักอนุรักษนิยมทางสังคมและผู้นิยมหลักการห้าม (prohibitionism) แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่านักเขียน กวี จิตรกร และนักประพันธ์ดนตรีหลายคนต่างเป็นนักดื่มอัปแซ็งต์ เช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, เจมส์ จอยซ์, ชาร์ล โบดแลร์, ปอล แวร์แลน, อาร์ตูร์ แร็งโบ, อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก, อาเมเดโอ โมดิลยานี, ปาโบล ปีกัสโซ, ฟินเซนต์ ฟัน โคค, ออสการ์ ไวลด์, มาร์แซล พรุสต์, แอลัสเตอร์ โครว์ลีย์, เอริก ซาตี, เอดการ์ แอลลัน โพ, ลอร์ด ไบรอน, อาลแฟรด ฌารี เป็นต้น, Sarasota Herald-Tribune, September 18, 2008 ในอดีต อัปแซ็งต์มักได้รับการพรรณนาว่าเป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและสารก่อประสาทหลอนที่มีอันตรายมาก โดยเชื่อกันว่าสารประกอบเคมีชนิดหนึ่งชื่อทูโจน (thujone) เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดผลดังกล่าว เมื่อถึงปี ค.ศ. 1915 อัปแซ็งต์ถือเป็นของต้องห้ามในสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรปซึ่งรวมถึงฝรั่งเศส, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย-ฮังการี แม้ว่าอัปแซ็งต์จะถูกกล่าวหาเช่นนั้น แต่ก็ไม่เคยมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงว่ามันมีอันตรายมากกว่าเหล้าธรรมดาแต่อย่างใด ผลการวิจัยในยุคหลังแสดงให้เห็นว่าในอัปแซ็งต์มีสารทูโจนอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสมบัติการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทของอัปแซ็งต์ (นอกเหนือจากที่มีอยู่ในแอลกอฮอล์) ก็ถูกขยายให้เกินความจริง การฟื้นฟูการผลิตอัปแซ็งต์เริ่มต้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากมีการประกาศใช้กฎหมายอาหารและเครื่องดื่มของสหภาพยุโรปซึ่งกำจัดอุปสรรคที่มีมายาวนานต่อการผลิตและการจำหน่าย เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีอัปแซ็งต์เกือบ 200 ยี่ห้อได้รับการผลิตในประเทศต่าง ๆ ประมาณ 12 ประเทศ ที่เด่นที่สุดได้แก่ ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, สเปน และเช็กเกี.

34 ความสัมพันธ์: ฟินเซนต์ ฟัน โคคพ.ศ. 2458การกลั่นมาร์แซล พรุสต์มิริงรัฐเนอชาแตลสมุนไพรสหภาพยุโรปสหรัฐออสการ์ ไวลด์อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็กผักชีล้อมจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีทวีปยุโรปคริสต์ศตวรรษที่ 18คริสต์ศตวรรษที่ 19คริสต์ศตวรรษที่ 20คริสต์ศตวรรษที่ 21คริสต์ทศวรรษ 1990ประเทศฝรั่งเศสประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศสเปนประเทศออสเตรเลียประเทศเบลเยียมประเทศเช็กเกียประเทศเนเธอร์แลนด์ปารีสปาโบล ปีกัสโซเอริก ซาตีเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์เอดการ์ แอลลัน โพเจมส์ จอยซ์เทียนสัตตบุษย์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ฟินเซนต์ ฟัน โคค

ฟินเซนต์ วิลเลิม ฟัน โคค (Vincent Willem van Gogh; 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 — 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1890)คำอ่านในภาษาอังกฤษบริติชมีทั้ง แวน โกค หรือบ้าง แวน กอฟ พจนานุกรมสหรัฐลงว่า แวน โก คนไทยมักเรียก วินเซนต์ แวน โก๊ะ เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในลัทธิประทับใจยุคหลัง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงและอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก เขาสร้างสรรค์งานศิลป์กว่า 2,100 ชิ้นในเวลาเพียงสิบปีกว่า ในจำนวนนี้เป็นภาพสีน้ำมัน 860 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในสองปีสุดท้ายของชีวิตเขา ผลงานของเขามีทั้งภาพภูมิประเทศ ภาพนิ่ง ภาพคนเหมือน และภาพเหมือนตนเอง ซึ่งล้วนมีลักษณะเด่นเป็นสีสันจัดจ้านและงานพู่กันที่ฉวัดเฉวียนแฝงอารมณ์ชวนประทับใจอันช่วยสร้างรากฐานให้แก่ศิลปะสมัยใหม่ หลังทนทุกข์เพราะไข้ใจและความจนมานานหลายปี เขาปลิดชีวิตตนเองเมื่ออายุได้ 37 ปี เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางค่อนไปทางชั้นสูง เขาเป็นเด็กที่เคร่งขรึม พูดน้อย แต่คิดมาก เมื่อโตเป็นหนุ่ม เขาทำงานเป็นนายหน้าขายศิลปกรรม จึงเดินทางบ่อย แต่เมื่อต้องย้ายบ้านไปอยู่ลอนดอน เขาก็ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า จึงหันไปหาศาสนา ปฏิบัติศาสนกิจในฐานะมิชชันนารีแห่งโปรเตสแตนต์ทางภาคใต้ของเบลเยียม ชีวิตเขาล่องลอยไปมาระหว่างสุขภาพอันทรุดโทรมกับความโดดเดี่ยวอ้างว้าง กระทั่งมาจับงานวาดเขียนเอาใน..

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และฟินเซนต์ ฟัน โคค · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2458

ทธศักราช 2458 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1915 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และพ.ศ. 2458 · ดูเพิ่มเติม »

การกลั่น

อุปกรณ์การกลั่น การกลั่น (Distillation) เป็นกระบวนการทางเคมีอย่างหนึ่งในการแยกของเหลวผสมของสาร 2 ชนิดหรือมากกว่าโดยอาศัยคุณสมบัติจุดเดือดที่แตกต่างกัน เมื่อให้ความร้อนกับของเหลวจนอุณหภูมิถึงจุดเดือดของสารชนิดหนึ่ง สารชนิดนั้นจะระเหยออกมาเป็นไอผ่านท่อที่มีการลดอุณหภูมิทำให้เกิดการควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง วิธีนี้ใช่ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากม.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และการกลั่น · ดูเพิ่มเติม »

มาร์แซล พรุสต์

วาล็องแต็ง หลุยส์ ฌอร์ฌ เออแฌน มาร์แซล พรุสต์ (Valentin Louis Georges Eugène Marcel Proust; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1871 - 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922) เป็นนักเขียนนวนิยายและบทความ, และนักวิพากษ์วรรณกรรมคนสำคัญชาวฝรั่งเศส ผลงานสำคัญของพรุสต์ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ In Search of Lost Time ("ในการค้นหาเวลาที่หายไป") ซึ่งเป็นงานนวนิยายชิ้นใหญ่และชิ้นสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ตีพิมพ์เป็นเจ็ดตอนระหว่างปี..

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และมาร์แซล พรุสต์ · ดูเพิ่มเติม »

มิริง

มใส่มิริง มิริง เป็นเครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นในการประกอบอาหารของญี่ปุ่น ประกอบด้วยน้ำตาล 40-50% เป็นประเภทไวน์ข้าวคล้ายกับสาเก แต่จะลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงจากราว 20% เหลือเพียง 14% โดยมิริงนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และมิริง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเนอชาแตล

รัฐเนอชาแตล (Canton de Neuchâtel) เป็นรัฐในภาครอมังดีทางตะวันตกของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส จากข้อมูลปี..

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และรัฐเนอชาแตล · ดูเพิ่มเติม »

สมุนไพร

ต้นหอม สมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหาร สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และสมุนไพร · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ออสการ์ ไวลด์

ออสการ์ ไวลด์ (Oscar Wilde หรือ Oscar Fingal O'Flahertie Wills Wilde) (16 ตุลาคม ค.ศ. 1854 - (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1900) ออสการ์ ไวลด์เป็นนักเขียนและกวีคนสำคัญชาวไอริชที่มีผลงานการเขียนบทละคร และเรื่องสั้นเป็นจำนวนมาก และนวนิยายหนึ่งเล่ม ไวลด์ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบดีเป็นนักเขียนบทละครผู้มีความสำเร็จมากที่สุดของปลายสมัยวิกตอเรียและเป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของสมัย บทละครหลายเรื่องของไวลด์ก็ยังนิยมนำมาสร้างกันอยู่โดยเฉพาะ The Importance of Being Earnest หลังจากที่ถูกฟ้องร้องในคดีที่ถูกกล่าวหาว่ามี “พฤติกรรมอันเป็นการอนาจาร” (gross indecency) กับชายคนอื่นๆ ซึ่งเป็นคดีที่อื้อฉาว ซึ่งทำให้ไวลด์สูญเสียชื่อเสียงและถูกส่งตัวไปจำคุกอยู่เป็นเวลาสองปี ทันทีที่ถูกปล่อยตัวไวลด์ก็จับเรือจากดิเอปป์ และไม่ได้กลับมาไอร์แลนด์หรือบริเตนอีกจนเสียชีวิต "ดอเรียน เกรย์ (The Picture of Dorian Gray)" นวนิยายซึ่งมีชื่อเสียงมากของไวลด์ บอกเป็นนัยถึงความนิยมความรักร่วมเพศผ่านตัวละครต่างๆเช่น ดอเรียน เกรย์ หนุ่มชั้นสูงในลอนดอน และบาซิล ศิลปินวาดภาพเหมือน กฎหมายที่ทำร้ายชีวิตไวลด์ในศตวรรษที่ 19 มีโฉมหน้าที่เปลี่ยนไปแล้ว หากเขามีชีวิตอยู่ในหลายพื้นที่ในปัจจุบัน เขาคงไม่ต้องใช้ชีวิตรักอย่างหลบซ่อน ไร้ผิด ไร้โทษใด นอกเหนือจากประเด็นข้างต้น ในนวนิยายของเขา มีประเด็นทางอาชญาวิทยาเรื่องกรรมพันธุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางลบของบุคคลในครอบครัวนับแต่ครั้งบรรพบุรุษ ใน The Picture of Dorian Gray ไม่เพียงภาพเหมือนของดอเรียนเท่านั้นที่สะท้อนกรรมของเขาออกมา ยังมีภาพบาปอีกมากในคฤหาสถ์ชนบทของเขาที่สะท้อนกรรมแบบเดียวกันของดอเรียนและบรรพบุรุษ.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และออสการ์ ไวลด์ · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก “ลากูลู (หลุยส์ เวเบ) มาถึงมูแล็งรูฌ” (La Goulue arriving at the Moulin Rouge) (ค.ศ. 1892) อ็องรี มารี แรมง เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก-มงฟา (Henri Marie Raymond de Toulouse-Lautrec-Monfa; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1864 - 9 กันยายน ค.ศ. 1901) เป็นจิตรกร ช่างพิมพ์ ช่างเขียนแบบ และอิลลัสเตรเตอร์ (Illustrator) สมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนโปสเตอร์ของชีวิตผู้คนในบริเวณมงมาตร์ และผู้ชอบใช้ชีวิตในวงการของความฟุ้งเฟ้อและโรงละครในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษ (fin de siècle) ของปารี.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก · ดูเพิ่มเติม »

ผักชีล้อม

''Foeniculum vulgare'' ผักชีล้อม (ชื่อวิทยาศาสตร์ Foeniculum vulgare Mill.) เป็นเครื่องเทศที่มีลักษณะใบสีเขียวสด ขี้นในน้ำหรืออาจปลูกในอ่างบัวก็ได้ นิยมใช้แพร่หลายมาช้านาน ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก กล่าวกันว่าเดิมนั้นเป็นพืชประจำท้องถิ่นของแถบเมดิเตอร์เรเนียน นับเป็นพืชที่ให้น้ำมันระเหย ซึ่งมีกล่าวไว้ในนิทานปรัมปราของกรีก และนิทานพื้นบ้านของอิตาลีด้วย ในช่วงขณะหนึ่งที่ยังเรียกกันอย่างสับสนนั้น เรียกผักชีล้อมว่า ยี่หร่าบ้าง ผักชีฝรั่งบ้าง เพื่อความเป็นกลาง กรมวิชาการเกษตร จึงประกาศไว้ใน บัญชีแนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง ทะเบียนพันธุ์พืชในประเทศไทย กำหนดให้เรียกเครื่องเทศชนิดนี้ ว่า ผักชีล้อม เป็นชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาไทย อันหมายถึง fennel ในภาษาอังกฤษ ส่วนชื่อในท้องถิ่นอื่นของไทยเรียกว่า เทียนแกลบ ผักชีเดือนห้า หรือเรียกแค่ ผักชี ก็มี ในภาษาอังกฤษเรียกว่า fennel มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า fenum อันเป็นคำศัพท์ที่ใช้บรรยายกลิ่นที่หอมหวาน เล่ามาว่าสตรีชาวโรมันนิยมรับประทานผักชีล้อมเพื่อลดความอ้วน ปัจจุบันมีการใช้ผักชีล้อมมากมายในตำรับอาหาร ซึ่งมีส่วนช่วยให้อาหารที่มีมันมากไม่เลี่ยน และย่อยได้ง่าย เชื่อกันว่าผักชีล้อมนั้นช่วยเสริมความแข็งแกร่งและความกล้าหาญ และยังทำให้มีชีวิตยืนยาวด้วย เชื่อกันว่างูนั้นกินผักชีล้อมเพื่อช่วยให้ลอกคราบ ในสมัยกลางนั้น มีการห้อยผักชีล้อมไว้เหนือประตูเพื่อขจัดวิญญาณชั่วร้าย ดอกผักชีล้อมนั้นสีขาว เป็นพืชปรุงรสที่สำคัญอย่างหนึ่ง มีกลิ่นฉุนรสร้อนแรง ใช้ปรุงอาหารหลายชนิด เชื่อว่ายังช่วยรักษาโรคตา และรักษาสายตาด้ว.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และผักชีล้อม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 18

ริสต์ศตวรรษที่ 18 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึง ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และคริสต์ศตวรรษที่ 18 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 19

ริสต์ศตวรรษที่ 19 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และคริสต์ศตวรรษที่ 19 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 21

ริสต์ศตวรรษที่ 21 คือคริสต์ศตวรรษแรกของคริสต์สหัสวรรษที่ 3 และเป็นคริสต์ศตวรรษปัจจุบัน เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และคริสต์ศตวรรษที่ 21 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1990

คริสต์ทศวรรษ 1990 (1990s) เป็นทศวรรษที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1990 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 เป็นทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 เป็นทศวรรษแรกที่ตามมาด้วยผลกระทบของการสิ้นสุดสงครามเย็น คริสต์ทศวรรษ 1990.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และคริสต์ทศวรรษ 1990 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเช็กเกีย

็กเกีย (Czechia; Česko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic; Česká republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เมืองหลวงของประเทศคือ ปราก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน, ออสตราวา, เปิลเซน, ฮราเดตส์กราลอเว, เชสเกบุดเยยอวีตเซ และอูสตีนัดลาเบม นับตั้งแต่การยุบเลิกประเทศเชโกสโลวาเกียเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐเช็กได้สนับสนุนให้ใช้ชื่อประเทศแบบสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า "เช็กเกีย" (Czechia) แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่อ "เช็กเกีย" เป็นชื่อเรียกประเทศแบบสั้นอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และประเทศเช็กเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ปาโบล ปีกัสโซ

Signatur Pablo Picasso ปาโบล รุยซ์ ปีกัสโซ (Pablo Ruiz Picasso;;; 25 ตุลาคม ค.ศ. 1881 – 8 เมษายน ค.ศ. 1973) จิตรกรเอกของโลก เป็นบุคคลที่นิตยสาร TIME ยกย่องให้เป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ปีกัสโซเกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และปาโบล ปีกัสโซ · ดูเพิ่มเติม »

เอริก ซาตี

ล้อเลียนตนเอง วาดโดยเอริก ซาตี เอริก ซาตี (Erik Satie) เป็นคีตกวี นักเปียโน และนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ชื่อเดิม เอริก อาลแฟรด เลลี ซาตี (Éric Alfred Leslie Satie) เกิดที่เมืององเฟลอร์ จังหวัดกาลวาโดส วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เสียชีวิตที่กรุงปารีส วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925).

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และเอริก ซาตี · ดูเพิ่มเติม »

เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์

ออร์เนสต์ มิลเลอร์ เฮมิงเวย์ (Ernest Miller Hemingway; พ.ศ. 2442-2504) นักประพันธ์นวนิยายและนักเขียนเรื่องสั้นชาวอเมริกันผู้ใช้ลีลาภาษาที่สั้นกระชับ เกิดที่ โอค ปาร์ก รัฐอิลลินอยส์ เริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าวกับหนังสือพิมพ์ เดอะแคนซัสซิตีสตาร์ เข้าเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่ 1 ประจำรถพยาบาลทหารจนได้รับบาดเจ็บเมื่อปี..

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ · ดูเพิ่มเติม »

เอดการ์ แอลลัน โพ

อดการ์ แอลลัน โพ (Edgar Allan Poe; 19 มกราคม ค.ศ. 1809 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 1849) เป็นนักเขียน กวี บรรณาธิการ และนักวิจารณ์วรรณกรรมชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดจากงานรหัสคดี และเรื่องสยองขวัญ โพเป็นนักเขียนคนแรก ๆ ที่เขียนเรื่องสั้นและได้รับการนับถือว่าเป็นผู้ริเริ่มเขียนเรื่องแต่งแนวสืบสวนสอบสวน เขายังได้รับการยอมรับว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาเรื่องแนวนิยายวิทยาศาสตร์ซึ่งเพิ่งถือกำเนิดในช่วงนั้นอีกด้วย เขาเป็นนักเขียนชาวอเมริกันชื่อดังคนแรกที่พยายามหาเลี้ยงชีพด้วยการเขียนหนังสืออย่างเดียวเท่านั้น อันเป็นผลให้ชีวิตและอาชีพการงานของเขาเต็มไปด้วยปัญหาทางการเงิน เขาเกิดมาในชื่อ เอดการ์ โพ ที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ บิดามารดาของเขาเสียชีวิตตั้งแต่เขาอายุยังน้อย เขาได้รับการเลี้ยงดูโดยจอห์น (John) และฟรานเซส (Frances) แอลลัน แห่งเมืองริชมอนด์ รัฐเวอร์จิเนีย แต่ทั้งคู่ไม่ได้ทำเรื่องรับอุปการะเขาอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด หลังจากใช้เวลาสั้นๆในมหาวิทยาลัยแห่งเวอร์จิเนีย (University of Virginia) และพยายามไต่เต้าอาชีพการงานในกองทัพอยู่ระยะหนึ่ง โพก็แยกตัวจากครอบครัวแอลลัน อาชีพนักเขียนของเขาเริ่มต้นด้วยหนังสือรวมกวีนิพนธ์นิรนาม Tamerlane and Other Poems (1827) และใช้เพียงนามปากกาว่า “ชาวบอสตันคนหนึ่ง” โพหันเหความสนใจของเขาไปยังงานร้อยแก้วและใช้เวลาหลายปีหลังจากนั้นทำงานให้วารสารและนิตยสารวรรณกรรมจนเป็นที่รู้จักจากรูปแบบการวิจารณ์วรรณกรรมของเขาเอง การทำงานของเขาทำให้เขาต้องโยกย้ายไปมาระหว่างหลายเมือง ซึ่งรวมถึงบอลทิมอร์, ฟิลาเดลเฟีย และนครนิวยอร์ก ที่เมืองบอลทิมอร์ ปี..

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และเอดการ์ แอลลัน โพ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ จอยซ์

มส์ จอยซ์ เจมส์ จอยซ์ (James Joyce) (2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1882 – 13 มกราคม ค.ศ. 1941) เป็นนักเขียนชาวไอริช เกิดในเมืองดับลิน แต่ไปจากบ้านเกิดตั้งแต่ยังหนุ่ม ซึ่งต้องการหลีกหนีจากปัญหาสังคมและเรื่องศาสนา โดยไปอาศัยอยู่ที่ปารีส งานเขียนที่สำคัญได้แก่ “ยูลิสซีส” (ค.ศ. 1922) และ Finnegans Wake (ค.ศ. 1939) เจมส์ จอยซ์ มีงานเขียนสามชิ้นที่ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่ม “นวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่องโดยโมเดิร์นไลบรารี” (Modern Library 100 Best Novels) ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ทำโดย Modern Library.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และเจมส์ จอยซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทียนสัตตบุษย์

ทียนสัตตบุษย์ (anise, aniseed, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pimpinella anisum) เป็นพืชล้มลุกปีเดียวในวงศ์ผักชี (Apiaceae) ความสูง 30-75 ซม.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และเทียนสัตตบุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

รื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หมายถึงเครื่องดื่มที่มีเอทิลแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ได้แก่ สุรา และเมรัย แอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่กินเหล้าในปริมาณไม่มาก จะรู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเองอยู่ แต่เมื่อกินมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่นๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติในที่สุด เครื่องดื่มชนิดนี้ผลิตจากวัตถุดิบที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลมาหมัก และเติมยีสต์ลงไปเพื่อให้ยีสต์กินน้ำตาลที่อยู่ในวัตถุดิบ และเปลี่ยนให้กลายเป็นแอลกอฮอล.

ใหม่!!: อัปแซ็งต์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Absintheแอบซินธ์แอบแซงธ์แอบแซ็งธ์แอ๊บซินธ์แอ๊บแซงต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »