โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด

ดัชนี อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด

อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด หรือ อันดับย่อยปลาขี้ตัง (Surgeonfish) อันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthuroidei ปลาในอันดับย่อยนี้ ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ปลาขี้ตังเบ็ด, ปลาขี้ตัง, ปลาค้างคาว เป็นต้น บางชนิดสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้.

18 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามวงศ์ปลาสลิดทะเลวงศ์ปลาหูช้างวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ดวงศ์ปลาตะกรับสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงปลาที่มีก้านครีบปลาขี้ตังเบ็ดฟ้าปลาค้างคาวปลาตะกรับปลาน้ำเค็มปลาโนรีเทวรูปน้ำกร่อยน้ำจืด

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสลิดทะเล

ระวังสับสนกับ ปลาสลิดหิน ปลาวงศ์อื่น ดูที่ วงศ์ปลากะพงสลิด วงศ์ปลาสลิดทะเล หรือ วงศ์ปลาสลิดหิน (Rabbitfish, Spinefish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siganidae (/ซิ-กะ-นิ-ดี้/) มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวแบบรูปไข่และแบนด้านข้าง หัวมีขนาดเล็ก เกล็ดมีขนาดเล็ก ครีบหางมีทั้งแบบตัดตรงและเว้าลึก ครีบหลังมีหนามแหลมคมและจะกางออก ซึ่งจะมีต่อมพิษที่เงี่ยงของครีบหลัง ครีบก้น และครีบท้อง เพื่อใช้ในการป้องกันตัว เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมีพฤติกรรมการกินแบบแทะเล็มคล้ายกระต่าย อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ มักพบในเขตชายฝั่งตามพื้นท้องทะเล, กองหินหรือแนวปะการัง และในดงหญ้าทะเล เป็นปลาที่สามารถรับประทานได้ แต่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เมื่อมือเปล่าจับ หนามเหล่านี้จะทิ่มตำ.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและวงศ์ปลาสลิดทะเล · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหูช้าง

วงศ์ปลาหูช้าง หรือ วงศ์ปลาค้างคาว หรือ วงศ์ปลาคลุด (Batfish, Spadefish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ephippidae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลักษณะทั่วไป ลำตัวแบนทรงกลมหรือเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ด้านข้างลำตัวแบนข้างมาก เกล็ดมีขนาดเล็กหรือปานกลางเป็นแบบสาก หัวมีขนาดเล็ก ปากมีขนาดเล็ก ยืดหดไม่ได้ อาจมีครีบสันหลังหรือไม่มีก็ได้ ครีบหูสั้นและกลม กระดูกซับออคิวลาร์ เชลฟ์ กว้างหรือแคบ ครีบหางมีทั้งแบบกลมและแยกเป็นแฉก เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น พบทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก, แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 70 เซนติเมตร โดยจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงหรือเป็นคู่ ลูกปลาวัยอ่อนจะเลี้ยงตัวในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำจืด เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน โดยมีสีสันแตกต่างจากปลาวัยโต และมีครีบต่าง ๆ ยาวกว่าด้วย เพื่อตบตาสัตว์นักล่าขนาดใหญ่กว่า นิยมตกกันเป็นเกมกีฬาในแถบแอตแลนติก ในน่านน้ำไทยพบ 2 ชนิด คือ ปลาหูช้างยาว (Platax teira) และปลาหูช้างกลม (P. orbicularis) โดยปกติแล้วจะไม่ถือเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่ก็ใช้รับประทานกันได้ และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบางชนิด ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้ทั้งหมด 8 สกุล (ดูในตาราง) ราว 18 ชน.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและวงศ์ปลาหูช้าง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด

วงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Surgeonfish, Tang, Lancetfish, Unicornfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Acanthuridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวสั้นหรือค่อนข้างยาวรูปไข่ ด้านข้างแบน ส่วนหลังและส่วนท้องโค้งเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กมากเป็นแบบบางเรียบ มีก้านครีบที่โคนหางสามารถขยับได้ ปากมีขนาดเล็ก มีฟันแบบฟันตัดเพียงแถวเดียว ไม่มีฟันที่เพดานปาก จะงอยปากไม่มีลักษณะเป็นท่อสั้น ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 4-9 ก้าน ไม่แยกจากครีบอ่อน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2-3 ก้าน เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ครีบหางตัดตรงหรือเว้าแบบพระจันทร์เสี้ยว เกล็ดบนลำตัวบางครั้งพบว่าค่อนข้างหยาบ ในขณะที่อายุยังน้อยไม่มีเกล็ด ลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้ คือ มีเกล็ดที่พัฒนาบริเวณส่วนโคนหางและครีบหางที่มีขนาดเล็กแต่แหลมคมมาก ใช้สำหรับป้องกันตัวและเป็นที่มาของชื่อเรียก และเป็นส่วนสำคัญในการอนุกรมวิธาน กินสาหร่าย และหญ้าทะเลที่ขึ้นอยู่บนหิน และปะการังเป็นอาหาร หรือบางชนิดกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร ส่วนใหญ่มีสีสันที่สวยสดงดงาม มีทั้งหมด 6 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 83 ชนิด มีขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป 15-40 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม กระจายพันธุ์อยู่ในแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะกรับ

วงศ์ปลาตะกรับ (Scat, Butterfish, Spadefish) เป็นวงศ์ปลาน้ำเค็มในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวงศ์ว่า Scatophagidae (/สแคท-โต-ฟา-กิ-ดี้/) มีรูปร่างทั่วไปแบนข้างมาก เกล็ดละเอียดเป็นแบบสากมือ และติดแน่นกับลำตัว ครีบหลังตอนแรกเป็นครีบแข็ง ครีบหลังตอนหลังจะอ่อนนุ่ม ก้านครีบหลังก้านแรกเป็นครีบแข็งและชี้ไปด้านหน้า ครีบหางตัดตรงและมีก้านครีบจำนวนมาก ตามลำตัวจะมีจุดสีดำหรือลวดลายกระจายไปทั่วต่างกันไปตามสกุลและสายพันธุ์ มีฟันที่เพดานปากและขากรรไกร ไม่มีหนามบนกระดูกโอเปอร์คัลและกระดูกพรีโอเปอร์คัล มีเส้นข้างลำตัวโค้งและสมบูรณ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลเขตอบอุ่น พบตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ซูลาเวซี, อินโดนีเซีย ตลอดจนถึงโซนโอเชียเนีย พบในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว คือ ปลาตะกรับ (Scatophagus argus) โดยปกติแล้วปลาในวงศ์นี้จะสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ แต่จะวางไข่ในที่น้ำเค็มแบบน้ำทะเล มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีทั้งหมด 4 ชนิด ใน 2 สกุล ซึ่งทั้งหมดนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม หรือตกเป็นเกมกีฬาและรับประทานเป็นอาหารในบางประเทศ โดยแบ่งออกเป็น สกุล Scatophagus.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและวงศ์ปลาตะกรับ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า

ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า หรือชื่อที่นิยมเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า ปลาบลูแทง (blue tang, regal tang, palette surgeonfish, royal blue tang, hippo tang, flagtail surgeonfish, blue surgeonfish, Pacific regal blue tang) เป็นปลาทะเลที่อาศัยตามแนวปะการังที่มีสีสันสดใส จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จัดอยู่ในวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล ParacanthurusFroese, Rainer, and Daniel Pauly, eds.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาค้างคาว

ปลาค้างคาว (Batfish) เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาในหลายวงศ์ หลายชน.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและปลาค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะกรับ

ำหรับปลาตะกรับอย่างอื่น ดูที่: ปลาตะกรับ ปลาตะกรับ (Spotted scats, Green scats, Common scats, Argusfishes) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะกรับ (Scatophagidae) มีรูปร่างสั้น ด้านข้างแบนและกว้างมาก หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเป็นแบบสากขนาดเล็ก สีพื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันมากอาจเป็นสีเขียว, สีเทาหรือสีน้ำตาล ครึ่งบนของลำตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดำพาดขวางหลายแนวและแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัวดูล้ายเสือดาว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา ปลาตัวผู้จะมีหน้าผากโหนกนูนกว่าตัวเมียแต่ขนาดลำตัวจะเล็กกว่าเล็กน้อย เส้นก้านครีบหลังชิ้นที่ 4 จะยาวที่สุด ขณะที่ตัวเมียเส้นก้านครีบหลังเส้นที่ 3 จะยาวที่สุด ก้านครีบแข็งที่หลังรวมถึงที่ท้องมีความแข็งและมีพิษแบบอ่อน ๆ เป็นอันตรายได้เมื่อไปสัมผัสถูกก่อให้เกิดความเจ็บปวด บริเวณส่วนหัวของตัวเมียบางตัวจะเป็นสีแดง โดยลักษณะดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อปลามีความยาวมากกว่า 4 นิ้วขึ้นไป ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 38 เซนติเมตร ปลาตะกรับเป็นปลาทะเลที่สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ โดยปกติจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลใกล้ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางตั้งแต่ตะวันออกกลาง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออกไปจนถึงเขตโอเชียเนีย สำหรับปลาในบางพื้นที่มีความหลากหลายทางสีมาก เช่น ปลาบางกลุ่มจะมีลายพาดสีดำเห็นชัดเจนตั้งแต่ส่วนหัว และลำตัวมีสีแดงเข้มจนเห็นได้ชัด ถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยที่มีชื่อเรียกว่า "ปลาตะกรับหน้าแดง" (S. a. var. rubifrons) เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นกลุ่ม กินอาหารได้ทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก นิยมตกเป็นเกมกีฬาและใช้รับประทานเป็นอาหารเป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะในภาคใต้ สามารถนำไปปรุงเป็นแกงส้มแต่เมื่อรับประทานต้องระวังก้านครีบ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้วย โดยในที่เลี้ยง ปลาตะกรับเป็นปลาที่สามารถทำความสะอาดตู้ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถกินตะไคร่น้ำและสาหร่ายบางชนิดได้ แต่เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวพอสมควร ปัจจุบันกรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วด้วยวิธีการผสมเทียม โดยฤดูผสมพันธุ์มีตั้งแต่เดือนสิงหาคม-พฤษภาคม ของอีกปีหนึ่ง ชื่ออื่น ๆ เรียกว่า "ปลากระทะ" หรือ "ปลาแปบลาย" ในภาษาใต้เรียกว่า "ปลาขี้ตัง" และชื่อในแวดวงปลาสวยงามจะเรียกว่า "ปลาเสือดาว" ตามลักษณะลวดลายบนลำตัว แต่ปลาตะกรับมีครีบหลังและครีบก้นที่มีหนามแหลม ซึ่งอาจแทงถูกมือมนุษย์ได้ โดยมักจะเกิดขึ้นเมื่อปลดปลาออกจากเครื่องมือประมง แต่ก่อให้เกิดพิษน้อยมาก.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและปลาตะกรับ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรีเทวรูป

ปลาโนรีเทวรูป หรือ ปลาผีเสื้อเทวรูป (Moorish idol) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zanclus cornutus จัดอยู่ในวงศ์ Zanclidae (มาจากภาษากรีกคำว่า zagkios หมายถึง ทแยง) และถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ และสกุล Zanclus ปลาโนรีเทวรูป มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มาก โดยเฉพาะกับปลาโนรี (Heniochus spp.) ซึ่งในอดีตเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ปัจจุบันได้มีการแยกออกมา แต่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปลาโนรีเทวรูปมีความใกล้เคียงกับปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) หรือปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มากกว่า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาโนรีครีบยาว (H. acuminatus) และปลาโนรีเกล็ด (H. diphreutes) มาก แต่มีลำตัวทางด้านท้ายเป็นสีเหลืองนวล จะงอยปากแหลมยาวกว่า ครีบหางมีสีดำ และสีครีบหางจะคล้ำและมีรอยคล้ายเขม่าที่บริเวณครีบหลัง ลักษณะเกล็ดแลดูเรียบเป็นมันเงา มีความยาวเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยจะได้พบในด้านทะเลอันดามัน ในต่างประเทศ พบได้กว้างขวางมาก ตั้งแต่ มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวแคลิฟอร์เนีย, อเมริกาใต้, ฮาวาย, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย, แอฟริกา หากินอยู่ตามแนวปะการังเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อ และสามารถหากินได้ลึกถึงหน้าดินในความลึกถึง 182 เมตร ซ้ำยังมีพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวันเช่นเดียวกัน แต่เป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ตามลำพังหรือไม่ก็เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ โดยกินฟองน้ำเป็นอาหารหลัก และสัตว์น้ำทั่วไปขนาดเล็ก ปลาวัยอ่อนมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ลำตัวโปร่งใส ใช้ชีวิตคล้ายกับแพลงก์ตอนคือ จะถูกกระแสน้ำพัดพาลอยไปไกลจากถิ่นกำเนิด จึงทำให้การแพร่กระจายพันธุ์เป็นไปอย่างกว้างขวาง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อหรือปลาโนรี และสามารถเลี้ยงรวมกันได้ ซึ่งในวัฒนธรรมร่วมสมัย ปลาโนรีเทวรูปได้ถูกสร้างเป็นตัวละครตัวหนึ่งในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Finding Nemo ของวอลต์ ดีสนีย์ ออกฉายในปี ค.ศ. 2003 โดยเป็นหัวหน้าฝูงปลาชื่อ กิลด์ (ให้เสียงพากย์โดย วิลเลม ดาโฟ) ในตู้กระจกภายในคลินิกทันตแพทย์ ปลาโนรีเทวรูป ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ได้แก่ "ปลาผีเสื้อหนัง" หรือ "ปลาโนรีหนัง".

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและปลาโนรีเทวรูป · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Acanthuroideiอันดับย่อยปลาขี้ตัง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »