โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับปลาฉลามครุย

ดัชนี อันดับปลาฉลามครุย

อันดับปลาฉลามครุย (อันดับ: Hexanchiformes, Frilled shark, Cow shark) เป็นอันดับของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนอันดับหนึ่ง ในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hexanchiformes มีลักษณะแตกต่างจากปลาฉลามในอันดับอื่น คือ มีเหงือกและช่องเหงือก 6 หรือ 7 ช่องในแต่ละด้าน ซึ่งปลาฉลามที่ส่วนใหญ่มีเพียงแค่ 5 และไม่มีเยื่อหุ้มตา มีเพียงครีบหลังครีบเดียว เป็นปลาฉลามที่ถือกำเนิดมาจากในยุคจูราซซิค แบ่งออกเป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) อาศัยอยู่ในเขตน้ำลึก ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 6 ชนิด เพราะได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีหลักฐานเป็นฟอสซิล ซึ่งปลาฉลามในอันดับนี้ที่ได้ปรากฏมาและเป็นที่ฮือฮาในเขตทะเลญี่ปุ่น คือ ปลาฉลามครุย (Chlamydoselachus anguineus) ที่มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหล และมีปากที่กว้างมาก.

20 ความสัมพันธ์: ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคพ.ศ. 2516การสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามยุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคจูแรสซิกสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาฉลามครุยอันดับปลาไหลจิตรกรรมทะเลญี่ปุ่นตาซากดึกดำบรรพ์ปลากระดูกอ่อนปลาฉลามปลาฉลามครุยเลินนาร์ด คอมเพจโน

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2516

ทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและพ.ศ. 2516 · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคจูแรสซิก

ทรแอสซิก←ยุคจูแรสซิก→ยุคครีเทเชียส ยุคจูแรสซิก (Jurassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 199.6 ± 0.6 ถึง 145.4 ± 4.0 ล้านปีก่อน ยุคนี้อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ยุคนี้ถูกกำหนดช่วงเวลาจากชั้นหิน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงยังไม่สามารถระบุแน่นอน ตัวเลขปีที่ระบุข้างต้นมีโอกาสผิดพลาดได้ 5 ถึง 10 ล้านปี ชื่อจูแรสซิก ตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart) จากปริมาณหินปูนที่สะสมเป็นจำนวนมากในชั้นหินที่ตรวจที่ภูเขาชูรา ตรงรายต่อระหว่างประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และ สวิตเซอร์แลนด์ ยุคนี้ทำให้เกิดหนังเรื่องจูแรสซิกปาร.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและยุคจูแรสซิก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามครุย

อันดับปลาฉลามครุย (อันดับ: Hexanchiformes, Frilled shark, Cow shark) เป็นอันดับของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนอันดับหนึ่ง ในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hexanchiformes มีลักษณะแตกต่างจากปลาฉลามในอันดับอื่น คือ มีเหงือกและช่องเหงือก 6 หรือ 7 ช่องในแต่ละด้าน ซึ่งปลาฉลามที่ส่วนใหญ่มีเพียงแค่ 5 และไม่มีเยื่อหุ้มตา มีเพียงครีบหลังครีบเดียว เป็นปลาฉลามที่ถือกำเนิดมาจากในยุคจูราซซิค แบ่งออกเป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) อาศัยอยู่ในเขตน้ำลึก ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 6 ชนิด เพราะได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีหลักฐานเป็นฟอสซิล ซึ่งปลาฉลามในอันดับนี้ที่ได้ปรากฏมาและเป็นที่ฮือฮาในเขตทะเลญี่ปุ่น คือ ปลาฉลามครุย (Chlamydoselachus anguineus) ที่มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหล และมีปากที่กว้างมาก.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและอันดับปลาฉลามครุย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและอันดับปลาไหล · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลญี่ปุ่น

ทะเลญี่ปุ่น เป็นทะเลชายอาณาเขตทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างแผ่นดินใหญ่เอเชีย หมู่เกาะญี่ปุ่น และเกาะซาฮาลิน ล้อมรอบด้วยประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และรัสเซีย เป็นผืนน้ำที่ถูกปิดกั้นจากมหาสมุทรแปซิฟิกเกือบสมบูรณ์ ทำให้แทบไม่มีปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งคล้ายกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และความโดดเดี่ยวเช่นนี้ยังทำให้จำนวนชนิดพันธุ์สัตว์และความเค็มของน้ำมีน้อยกว่าในมหาสมุทร ภายในพื้นที่ไม่มีเกาะ อ่าว หรือแหลมขนาดใหญ่ สมดุลของน้ำได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกระแสน้ำที่ไหลเข้าและออกผ่านช่องแคบต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับทะเลรอบข้างและมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะที่แม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลแห่งนี้มีจำนวนน้อย จึงมีผลต่อปริมาตรน้ำในทะเลเพียงไม่เกินร้อยละ 1 น้ำในทะเลญี่ปุ่นมีความเข้มข้นของออกซิเจนละลายอยู่สูง ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ การประมงจึงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และการขนส่งทางเรือในทะเลญี่ปุนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออก แม้ว่าในอดีตจะไม่คับคั่งนักเนื่องด้วยประเด็นปัญหาทางการเมือง ขณะที่ชื่อของผืนน้ำแห่งนี้ยังคงเป็นประเด็นขัดแย้ง เนื่องจากเกาหลีใต้พยายามเรียกร้องให้ใช้ชื่อว่า ทะเลตะวันออก.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและทะเลญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและตา · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครุย

ปลาฉลามครุย (Frilled shark; ラブカ) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างประหลาดมากคล้ายปลาไหล อาศัยอยู่ในน้ำลึก 1,968 – 3,280 ฟุต มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydoselachus anguineus ในอยู่ในวงศ์ Chlamydoselachidae เดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มีรายงานพบในหลายพื้นที่ รวมถึงในเขตน่านน้ำของญี่ปุ่น ทำให้ปลาฉลามครุยกลายเป็น "ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต" อีกชนิดหนึ่งของโลก เพราะเชื่อว่ามันไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเลยมาตั้งแต่ยุคครีเทเชียส จนกระทั่งถึงปัจจุบัน บริเวณส่วนหัว ลักษณะฟันและปาก ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ปลาฉลามชนิดนี้ได้สร้างความฮือฮากลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั้งโลก เมื่อชาวประมงชาวญี่ปุ่นสามารถจับตัวอย่างที่ยังมีชีวิตได้ตัวหนึ่งในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งใกล้สวนน้ำอะวาชิมา ในเมืองชิซุโอะกะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียว ซึ่งเชื่อว่าปลาตัวนี้ลอยขึ้นมาเพราะร่างกายอ่อนแอเนื่องจากความร้อนที่ขึ้นสูงของอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็ตายไป เชื่อว่าปลาฉลามชนิดนี้ กระจายพันธุ์อยู่ในเขตน้ำลึกใกล้นอร์เวย์, แอฟริกาใต้, นิวซีแลนด์, ชิลี และญี่ปุ่น มีรูปร่างเรียวยาวคลายปลาไหลหรืองูทะเล เป็นไปได้ว่าตำนานงูทะเลขนาดใหญ่ที่เป็นเรื่องเล่าขานของนักเดินเรือในสมัยอดีตอาจมีที่มาจากปลาฉลามชนิดนี้ มีผิวสีน้ำตาลหรือเทาเข้ม มีซี่กรองเหงือก 6 คู่ สีแดงสด และฟูกางออกเหมือนซาลาแมนเดอร์บางชนิด ทำให้ดูแลเหมือนครุย ซึ่งมีไว้สำหรับดูดซับออกซิเจนโดยเฉพาะ เนื่องจากในทะเลลึกมีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าด้านบนถึงกว่าครึ่ง ปากกว้างเลยตำแหน่งของตา ภายในปากมีฟันที่แตกเป็นดอกแหลม ๆ 3 แฉก ทำให้สันนิษฐานว่าเป็นปลาที่ล่าปลาเล็กเป็นอาหารที่เก่งฉกาจชนิดหนึ่ง ความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6.5 ฟุต.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและปลาฉลามครุย · ดูเพิ่มเติม »

เลินนาร์ด คอมเพจโน

ลินนาร์ด โจเซฟ วิคเตอร์ คอมเพจโน หรือ เลินนาร์ด คอมเพจโน (Leonard Joseph Victor Compagno, Leonard Compagno) นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเรื่องของปลาฉลาม ดร.คอมเพจโนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เมื่อปี ค.ศ. 1979 ด้วยทุนการศึกษาของสถาบัน รวมถึงได้รับการทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดด้วย เป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกสเตท ระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึงปี ค.ศ. 1985 ดร.คอมเพจโน ปัจจุบันเป็นหัวหน้าของศูนย์การวิจัยปลาฉลาม และภัณฑารักษ์ด้านปลา ของพิพิธภัณฑ์อิซิโกแอฟริกาใต้ ที่เคปทาวน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับปลาฉลาม เป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับแนวหน้าของโลกเกี่ยวกับระบบร่างกาย การเปลี่ยนรูปร่างวิวัฒนาการซากดึกดำบรรพ์, สัตวภูมิศาสตร์ และความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการอนุรักษ์ปลาฉลาม เป็นรองประธานภูมิภาคกรรมการปลาฉลามของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการวิจัยสำหรับกองประมงขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ของสหประชาชาติ มีผลงานตีพิมพ์ยอดนิยมกว่า 200 เอกสารบทความ, รายงาน, เว็บไซต์, หนังสือและบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับปลาฉลามและปลากระดูกอ่อนต่าง ๆ ในด้านการอนุกรมวิธาน เป็นหนึ่งในผู้อนุกรมวิธานปลากระเบนขาว (Himantura signifer) ซึ่งเป็นปลากระเบนน้ำจืดที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้ว.

ใหม่!!: อันดับปลาฉลามครุยและเลินนาร์ด คอมเพจโน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HexanchiformesNotidanoidei

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »