โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัตติลา

ดัชนี อัตติลา

อัตติลา หรือที่ใช้อ้างอิงส่วนใหญ่ อัตติลาเดอะฮัน (Attila the Hun) (ค.ศ. 406 – ค.ศ. 453) เป็นจักรพรรดิชาวฮันผู้ครองจักรวรรดิฮัน (Hunnic Empire) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มชนเผ่าต่างๆทั้ง ฮัน ออสโตรกอท อลานส์ และเผ่าอนารยชนอื่นๆ ในดินแดนยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ระหว่าง ค.ศ. 434 จนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 453 ที่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตลง ในรัชสมัยของพระองค์สามารถครอบครองดินแดนตั้งแต่ ประเทศเยอรมนีไปจนถึงแม่น้ำยูรัล และจากแม่น้ำดานูบไปจนถึงทะเลบอลติก กินพื้นที่มากกว่า 4 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นการครอบครองดินแดนที่มากที่สุดอาณาจักรหนึ่งในยุคมืด ในรัชสมัยการปกครองของอัตติลาทรงเป็นประมุขผู้สร้างความหวาดหวั่นและถือเป็นศัตรูที่อันตรายที่สุดแก่จักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตก พระองค์ทรงรุกรานคาบสมุทรบอลข่านถึงสองครั้ง แต่พระองค์ไม่สามารถรุกรานกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ และจากผลพวงของการพ่ายแพ้ในเปอร์เซีย ในปี..

89 ความสัมพันธ์: บอลข่านชาร์เลอมาญชาลง-อ็อง-ช็องปาญชาวกอทชาววิซิกอทชาวออสโตรกอทชาวฮันชาวนอร์สชาวแฟรงก์ชาวแวนดัลชาวเบอร์กันดีชาวเคลต์ชีวประวัตินักบุญชนร่อนเร่พ.ศ. 949พ.ศ. 977พ.ศ. 996พลอฟดิฟพันธมิตรทางทหารกลุ่มชนเจอร์แมนิกกลุ่มชนเตอร์กิกกลุ่มภาษาเตอร์กิกกอลการทัพภาษาฮันมหาสมุทรแอตแลนติกมันโตวายุคมืดยุโรปกลางยุโรปตะวันออกยุโรปตะวันตกราฟาเอลรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ราเวนนาวุฒิสภาโรมันสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 1สนธิสัญญาสเตปป์หลอดอาหารออร์เลอ็องอากวีเลยาอาลาริคที่ 1อนารยชนจักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 2จักรวรรดิจักรวรรดิฮันจักรวรรดิแซสซานิดจักรวรรดิโรมันตะวันตกจักรวรรดิไบแซนไทน์จัสตา กราตา โฮโนเรีย...ทรัวทวีปยุโรปทวีปยูเรเชียทะเลบอลติกคอนสแตนติโนเปิลคาร์เธจตูลูซตีมูร์ซฺยงหนูซีโมนเปโตรประเทศบัลแกเรียประเทศฝรั่งเศสประเทศอาร์มีเนียประเทศอิหร่านประเทศอิตาลีประเทศฮังการีประเทศจีนประเทศตุรกีประเทศเยอรมนีปริสกุสปารีสนิรุกติศาสตร์นีชแม่น้ำยูรัลแม่น้ำวอลกาแม่น้ำดานูบแม่น้ำโปแม็สแร็งส์แคว้นปกครองตนเองซิซิลีโดยพฤตินัยโซเฟียเบลเกรดเออแฌน เดอลาครัวเอ็ดเวิร์ด กิบบอนเจงกีส ข่านเธรซเตอร์กิกเปาโลอัครทูต ขยายดัชนี (39 มากกว่า) »

บอลข่าน

แผนที่ทางอากาศของคาบสมุทรบอลข่าน คาบสมุทรบอลข่าน (Balkans) เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ หมายถึงดินแดนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 550,000 ตร.กม. และมีประชากรรวมกันราว 53 ล้านคน ชื่อนี้มาจากชื่อของเทือกเขาบอลข่านที่พาดผ่านใจกลางประเทศบัลแกเรียไปยังด้านตะวันออกของสาธารณรัฐเซอร์เบี.

ใหม่!!: อัตติลาและบอลข่าน · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์เลอมาญ

ร์เลอมาญ (Charlemagne) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (Karl der Große) เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: อัตติลาและชาร์เลอมาญ · ดูเพิ่มเติม »

ชาลง-อ็อง-ช็องปาญ

ลง-อ็อง-ช็องปาญ (Châlons-en-Champagne) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดมาร์นและของแคว้นช็องปาญาร์แดนในประเทศฝรั่งเศส แม้ว่าจะมีขนาดเพียงหนึ่งในสี่ของเมืองแร็งส์ เดิมชาลง-อ็อง-ช็องปาญชื่อ "ชาลง-ซูร์-มาร์น" แต่มาเปลี่ยนชื่อใหม่ในปี..

ใหม่!!: อัตติลาและชาลง-อ็อง-ช็องปาญ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวกอท

อตาลันด์ทางใต้ของสวีเดนที่อาจจะเป็นต้นกำเนิดของชนกอท ชาวกอท (Goths) เป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกที่มีที่มาจากกึ่งตำนานสแกนด์ซา (Scandza) ที่เชื่อกันว่าอยู่ในบริเวณที่เป็นเยอตาลันด์ (Götaland) ในสวีเดนปัจจุบัน ชนกอทข้ามทะเลบอลติกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 มายังบริเวณที่ได้รับชื่อว่ากอทิสแกนด์ซา (Gothiscandza) ที่เชื่อว่าอยูในบริเวณตอนใต้ของบริเวณวิสตูลาในพอเมอเรเลีย (Pomerelia) ในโปแลนด์ปัจจุบัน อารยธรรมวีลบาร์ค (Wielbark culture) เป็นอารยธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเริ่มมาตั้งถิ่นฐานของชนกอทและการกลืนตัวกับชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมากลุ่มชนกอทก็เริ่มโยกย้ายถิ่นฐานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตามลำวิสตูลาแม่น้ำวิสตูลาไปจนถึงซิทเธีย (Scythia) บนฝั่งทะเลดำ ในยูเครนปัจจุบัน และได้ทิ้งร่องรอยทางโบราณคดีไว้ในวัฒนธรรมเชอร์นยาคอฟ (Chernyakhov culture) ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 3 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนกอทซิทเธียก็แยกเป็นสองกลุ่ม: เทอร์วิงกิ (Thervingi) และ กรูทุงกิ (Greuthungi) แบ่งแยกกันโดยแม่น้ำนีสเตอร์ (Dniester River) ในช่วงเวลานี้ชนกอทก็รุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นระยะ ๆ ระหว่างสมัยที่เรียกว่าสงครามกอทิก ต่อมาชนกอทก็ยอมรับคริสต์ศาสนา ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ฮั่นก็มารุกรานดินแดนกอททางตะวันออก ชนกอทบางกลุ่มถูกปราบปรามและในที่สุดก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฮันนิค (Hunnic Empire) อีกกลุ่มหนึ่งถูกผลักดันเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และที่ 6 ชนกอทก็แยกตัวออกเป็นวิซิกอทและออสโตรกอท ทั้งสองกลุ่มก่อตั้งรัฐที่มีอำนาจหลังจากจักรวรรดิโรมันในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลี ชนกอทหันมานับถือคริสต์ศาสนาลัทธิแอเรียน โดยวูลฟิลานักสอนศาสนาครึ่งกอทผู้ต่อมาย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเมอเซีย (ต่อมาเป็นบริเวณในบัลแกเรีย) กับกลุ่มผู้ติดตาม วูลฟิลาแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษากอทิค แม้ว่ากอทจะมีอำนาจในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลีแต่ก็มาพ่ายแพ้ต่อจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ผู้พยายามฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ต่อมากอทก็ถูกรุกรานโดยชนแวนดัล (Vandals) และต่อมาชนลอมบาร์ด การที่มีการติดต่อกับประชาชนโรมันของอดีตจักรวรรดิโรมันอยู่เป็นเวลานานทำให้ในที่สุดกอทก็เปลี่ยนไปยอมรับนิกายโรมันคาทอลิก ความเสื่อมโทรมของกลุ่มชนกอทมาเร่งให้เร็วขึ้นเมื่อได้รับความพ่ายแพ้ต่อมัวร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภาษาและวัฒนธรรมของกอทก็เริ่มสูญหายไป นอกจากบางส่วนที่ไปปรากฏในวัฒนธรรมอื่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กลุ่มออสโตรกอทที่หลงเหลืออยู่ก็ไปปรากฏตัวที่ไครเมีย แต่การบ่งถึงเชื้อชาติก็ไม่เป็นที่แน่นอน.

ใหม่!!: อัตติลาและชาวกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาววิซิกอท

้นทางการอพยพของชาววิซิกอท วิซิกอท (Visigoths, Visigothi, Wisigothi, แปลว่า "กอทตะวันตก") เป็นหนึ่งในชาติพันธุ์สองสาขาหลักของชาวกอท ซึ่งเป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกกลุ่มหนึ่ง โดยอีกสาขาหนึ่งในกลุ่มนี้คือชาวออสโตรกอทหรือ "กอทตะวันออก" สันนิษฐานกันว่าชาวกอททั้งสองสาขานี้มีต้นกำเนิดอยู่แถบประเทศยูเครนในปัจจุบัน ชาววิซิกอทเป็นหนึ่งในอนารยชนกลุ่มชนเจอร์มานิคต่าง ๆ ที่เข้ามารุกรานจักรวรรดิโรมันตอนปลายในสมัยการอพยพ เนื่องจากประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น ความขาดแคลนอาหาร ประกอบกับการถูกกดดันจากอนารยชนชาวฮัน ที่มาจากเอเชียกลาง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 410 กองทัพวิซิกอทที่นำโดยพระเจ้าอาลาริกที่ 1 ประสบความสำเร็จในการพิชิตกรุงโรม และหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นต้นมา ชาววิซิกอทก็มีบทบาทสำคัญในด้านต่าง ๆ ของภูมิภาคยุโรปตะวันตกอยู่เป็นเวลานานถึงสองศตวรรษครึ่ง.

ใหม่!!: อัตติลาและชาววิซิกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาวออสโตรกอท

ออสโตรกอท (Ostrogoths, Ostrogothi, Austrogothi) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธ์กอทซึ่งเป็นสาขาของชนเจอร์มานิคตะวันออกที่มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในตอนปลายจักรวรรดิโรมัน อีกสาขาหนึ่งคือชาววิซิกอท ชนออสโตรกอทก่อตั้งรัฐในกรุงโรมในอิตาลีและคาบสมุทรบอลข่านอยู่ชั่วระยะหนึ่ง และในช่วงนั้นก็รวมส่วนใหญ่ของฮิสเปเนีย และตอนใต้ของกอล ออสโตรกอทรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษ ออสโตรกอทก็ถูกพิชิตโดยโรมในสงครามกอทิก (ค.ศ. 535–554) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่อิตาลี.

ใหม่!!: อัตติลาและชาวออสโตรกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาวฮัน

จักรวรรดิฮันทางตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่สเต็ปป์ของเอเชียกลางไปจนถึงเยอรมนีปัจจุบันและตั้งแต่ทะเลดำไปจนถึงทะเลบอลติก ชาวฮัน (Huns) หรือ ชาวซฺยง (匈人 ซฺยงเหริน) เป็นกลุ่มชาติพันธ์เร่ร่อนในทุ่งกว้างที่ปรากฏตั้งแต่เลยจากแม่น้ำวอลกาออกไปผู้โยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุโรปตั้งแต่ราว..

ใหม่!!: อัตติลาและชาวฮัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวนอร์ส

แผนที่แสดงบริเวณการตั้งถิ่นฐานของไวกิงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 11 รวมทั้งบริเวณที่ปล้นสะดมและค้าขายที่ส่วนใหญ่แทบจะแยกกันไม่ได้ ชาวนอร์ส (Norsemen) เป็นคำที่เคยใช้ในการเรียกกลุ่มชนทั้งกลุ่มที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ (North Germanic language) เป็นภาษาแม่ (“นอร์ส” โดยเฉพาะหมายถึงภาษานอร์สโบราณที่เป็นสาขาของภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน โดยเฉพาะภาษานอร์เวย์ ภาษาไอซ์แลนด์ ภาษาสวีเดน และภาษาเดนมาร์กแบบโบราณ) “นอร์สเม็น” หมายความว่า “ผู้มาจากทางเหนือ” และเป็นคำที่ใช้สำหรับชนนอร์ดิกที่เดิมมาจากทางตอนไต้และตอนกลางของสแกนดิเนเวีย ชาวนอร์สได้ตั้งถิ่นฐานและอาณาบริเวณการปกครองในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งบางส่วนของหมู่เกาะแฟโร อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ รัสเซีย อิตาลี แคนาดา กรีนแลนด์ ฝรั่งเศส ยูเครน เอสโตเนีย ลัตเวีย และเยอรมนี “นอร์ส” และ “นอร์สเม็น” หมายถึงประชากรสแกนดิเนเวียของปลายคริสต์ศตวรรษ 8 ถึง 11 ส่วนคำว่า “นอร์มัน” ต่อมาหมายถึงผู้ที่ดั้งเดิมคือผู้มาจากทางเหนือที่ตั้งถิ่นฐานในนอร์ม็องดีในฝรั่งเศส ที่รับวัฒนธรรมและภาษาฝรั่งเศส คำว่า “Norse-Gaels” (เกลลิคต่างประเทศ) เป็นคำที่ใช้เรียก “นอร์ส” ที่มาจากไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ผู้ยอมรับวัฒนธรรมเกลส์ ไวกิงเป็นคำทั่วไปที่ใช้สำหรับ “นอร์สเม็น” ในต้นสมัยกลางโดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงการปล้นสดมสำนักสงฆ์ต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลน.

ใหม่!!: อัตติลาและชาวนอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: อัตติลาและชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแวนดัล

การโจมตีกรุงโรม โดยไฮน์ริช ลอยเตอมันน์ ราว ค.ศ. 1860–ค.ศ. 1880 กลุ่มชนเจอร์แมนิกในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1 แวนดัล/ลูกีอี สีเขียวในบริเวณโปแลนด์ปัจจุบัน แวนดัล (Vandals) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์เจอร์แมนิกตะวันออกที่เข้ามามีบทบาทในตอนปลายสมัยจักรวรรดิโรมัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 กษัตริย์ชาวกอทพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชพระเจ้าแผ่นดินของชาวออสโตรกอทและผู้สำเร็จราชการของชาววิซิกอทเป็นพันธมิตรของแวนดัลโดยการสมรส และเป็นพันธมิตรกับเบอร์กันดีและแฟรงก์ภายใต้การปกครองของโคลวิสที่ 1 แวนดัลอาจจะมีชื่อเสียงจากการโจมตีกรุงโรม (Sack of Rome) ในปี..

ใหม่!!: อัตติลาและชาวแวนดัล · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเบอร์กันดี

วบูร์กอญ (Burgundians, Burgundiones) เป็นชาติพันธุ์ในกลุ่มชนเจอร์มานิคตะวันออกที่อาจจะอพยพมาจากแผ่นดินใหญ่สแกนดิเนเวียมายังเกาะบอร์นโฮล์ม (Bornholm) ซึ่งยังเรียกเป็นภาษานอร์สโบราณว่า “Burgundarholmr” หรือ “เกาะของชาวบูร์กอญ” จากนั้นก็ไปยังแผ่นดินใหญ่ยุโรป ใน ตำนานของทอร์ชไตน์ลูกไวกิง (Þorsteins saga Víkingssonar) เวเซติตั้งถิ่นฐานบนเกาะที่เรียกว่าเกาะของบอร์กันด์ หรือ บอร์นโฮล์ม คำแปลของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชของงานเขียนของโอโรเซียส (Orosius) ใช้คำว่า “Burgenda land” หรือ “ดินแดนของเบอร์เกนดา” กวีและนักตำนานวิทยาวิคเตอร์ ริดเบิร์ก (Viktor Rydberg) (ค.ศ. 1828–ค.ศ. 1895), ใน Our Fathers' Godsaga กล่าวอ้างจากแหล่งข้อมูลจากต้นยุคกลาง ตำนานชีวิตของนักบุญซิจิมุนด์แห่งบูร์กอญ (Sigismund of Burgundy) ว่าชาวบูร์กอญยังคงรักษาวัฒนธรรมการบอกเล่าต่อๆ กันมาเกี่ยวกับบรรพบุรุษที่มาจากสแกนดิเนเวี.

ใหม่!!: อัตติลาและชาวเบอร์กันดี · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: อัตติลาและชาวเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวประวัตินักบุญ

นักบุญเซบาสเตียนโดยโจวันนี เบลลีนี ชีวประวัตินักบุญ (Hagiography) คือวรรณกรรมเกี่ยวกับประวัติชีวิตนักบุญหรือผู้นำคริสตจักร ส่วนคำว่า “hagiology” หมายถึง วิชาว่าด้วยชีวประวัตินักบุญ ชีวประวัตินักบุญในศาสนาคริสต์เน้นประวัติชีวิตและการอัศจรรย์ของผู้ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิก แองกลิคันคอมมิวเนียน อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ ในศาสนาอื่น ๆ อาจมีวรรณกรรมในลักษณะเดียวกัน โดยรวบรวมชีวประวัติของผู้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนานั้น ๆ เช่น คัมภีร์อปทานในสุตตันตปิฎก.

ใหม่!!: อัตติลาและชีวประวัตินักบุญ · ดูเพิ่มเติม »

ชนร่อนเร่

นร่อนเร่ในท้องทุ่งตั้งแค้มพ์ใกล้นัมโซ (Namtso) ในปี ค.ศ.2005 ราว 40% ของชาวทิเบตเป็นชนร่อนเร่หรือชนกึ่งเร่ร่อนhttp://news.bbc.co.uk/2/shared/spl/hi/picture_gallery/06/asia_pac_tibetan_nomads/html/1.stm In pictures: Tibetan nomads BBC News ชนร่อนเร่ (νομάδες, Nomad หรือ Nomadic people) คำว่า “Nomad” มาจาก “nomádes” ที่แปลว่า “ผู้นำฝูงสัตว์เลี้ยงในทุ่ง” คือชุมชนที่ย้ายที่อยู่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งแทนที่จะตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งอย่างถาวรในที่ใดที่หนึ่ง ชนร่อนเร่มีด้วยกันราว 30-40 ล้านคนทั่วโลก อารธรรมหลายวัฒนธรรมเดิมมาจากการเป็นชนร่อนเร่ แต่การเป็นชนร่อนเร่เป็นวิถีชีวิตที่เป็นไปได้ยากขึ้นในประเทศอุตสาหกรรม ชนร่อนเร่แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม: ผู้ล่าสัตว์และหาอาหาร (hunter-gatherer) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างบริเวณที่ล่าสัตว์ต่างๆ, ผู้หากินกับทุ่งเลี้ยงสัตว์ (pastoralism) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างบริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์ต่างๆ และ “ผู้ร่อนเร่ตามแหล่งหากิน” (peripatetic nomads) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างแหล่งงานหรือแหล่งการค้า ชนร่อนเร่ที่หากินด้วยการล่าสัตว์เป็นกลุ่มชนที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติที่ดำรงชีวิตโดยการหากินจากสิ่งที่หาได้จากป่าที่พำนักอาศัยตามฤดูกาล ชนร่อนเร่ที่หากินด้วยการเลี้ยงสัตว์ย้ายถิ่นฐานไปตามทุ่งที่มีอาหารดีสำหรับสัตว์เลี้ยงและทิ้งทุ่งเก่าไว้ให้ฟื้นตัวก่อนที่จะกลับมาใหม่ “ชนร่อนเร่หากิน” เป็นกลุ่มที่พบในประเทศอุตสาหกรรมที่ย้ายถิ่นฐานตามแต่ที่ใดจะมีทางทำมาหากิน.

ใหม่!!: อัตติลาและชนร่อนเร่ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 949

ทธศักราช 949 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 406.

ใหม่!!: อัตติลาและพ.ศ. 949 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 977

ทธศักราช 977 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 434.

ใหม่!!: อัตติลาและพ.ศ. 977 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 996

ทธศักราช 996 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 453.

ใหม่!!: อัตติลาและพ.ศ. 996 · ดูเพิ่มเติม »

พลอฟดิฟ

ลอฟดิฟ (Пловдив; Plovdiv) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศบัลแกเรีย รองจากเมืองโซเฟีย โดยมีประชากร 338,153 คน (ค.ศ. 2011) ประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ย้อนไปได้ราว 6,000 ปี ในการตั้งถิ่นฐานในยุคหินใหม่ ราว 4000 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในยุโรป เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดพลอฟดิฟ เป็นเมืองสำคัญด้านเศรษฐกิจ การขนส่ง วัฒนธรรม และการศึกษา สถาบันการศึกษาอเมริกันนอกสหรัฐอเมริกาที่เก่าแก่ที่สุดตั้งอยู่ที่เมืองนี้ โดยก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: อัตติลาและพลอฟดิฟ · ดูเพิ่มเติม »

พันธมิตรทางทหาร

ันธมิตรทางทหารของยุโรปก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง - สีเขียวคือฝ่ายไตรภาคี ส่วนสีน้ำตาลคือฝ่ายไตรพันธมิตร พันธมิตรทางทหาร (อังกฤษ: Military alliance) เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติเมื่อผู้สัญญาสัญญาว่าจะให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันในกรณีที่เกิดวิกฤติที่ไม่ได้ระบุไว้ล่วงหน้า พันธมิตรทางการทหารแตกต่างจากกลุ่มพันธมิตรเนื่องจากพันธมิตรก่อตัวขึ้นเพื่อช่วยเหลือวิกฤติที่เกิดขึ้น พันธมิตรทางทหารสามารถจำแนกได้เป็นข้อตกลงในการป้องกัน, ข้อตกลงและการกระทำที่ไม่ใช่การรุกราน ฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ.

ใหม่!!: อัตติลาและพันธมิตรทางทหาร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ใหม่!!: อัตติลาและกลุ่มชนเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเตอร์กิก

กลุ่มชนเตอร์กิก (Turkic peoples) เป็นกลุ่มชนยูเรเชียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือ กลาง และตะวันตกของยูเรเชียผู้พูดภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษากลุ่มเตอร์กิก, Encyclopædia Britannica, Online Academic Edition, 2008 ชนในกลุ่มชนเตอร์กิกมีลักษณะวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์บางอย่างร่วมกัน คำว่า “เตอร์กิก” เป็นคำที่ใช้แทนกลุ่มชาติพันธุ์/ภาษา (ethno-linguistic group) ของชาติพันธุ์ของสังคมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันเช่นชาวอาเซอร์ไบจาน, ชาวคาซัคสถาน, ชาวตาตาร์, ชาวคีร์กีซ, ชาวตุรกี, ชาวเติร์กเมน, ชาวอุยกูร์, ชาวอุซเบกิสถาน, ชาวฮาซารา, ชาวการากัลปัก ชาวโนกาย ชาวการาเชย์-บัลการ์ ชาวตาตาร์ไซบีเรีย ชาวตาตาร์ไครเมีย ชาวชูวาช ชาวตูวัน ชาวบัชกีร์ ชาวอัลไต ชาวยาคุตส์ ชาวกากาอุซ และรวมทั้งประชาชนในรัฐและจักรวรรดิเตอร์กิกในอดีตเช่นฮั่น, บัลการ์, คูมัน, ชนอาวาร์, เซลจุค, คาซาร์, ออตโตมัน, มามลุค, ติมูริด และอาจจะรวมทั้งซฺยงหนู (Xiongnu).

ใหม่!!: อัตติลาและกลุ่มชนเตอร์กิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเตอร์กิก

กลุ่มภาษาเตอร์กิกเป็นกลุ่มของภาษาที่แพร่กระจายจากยุโรปตะวันออก ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปถึงไซบีเรียและจีนตะวันตก และจัดเป็นส่วนหนึ่งของสมมติฐานตระกูลภาษาอัลไตอิก กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน ถ้ารวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองด้วยมีราว 200 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40%ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหม.

ใหม่!!: อัตติลาและกลุ่มภาษาเตอร์กิก · ดูเพิ่มเติม »

กอล

แผนที่ของ กอล ราว 100 ปีก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพันธ์กับเผ่าเคลติก กอล (Gaul) เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ ใช้ในยุคโรมันเพื่อเรียกขานดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ในภาษาอังกฤษ คำว่า กอล อาจหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น (ภาษาฝรั่งเศสเรียก Gaulois) พลเมืองในอดีตสามารถพูดภาษากอล (Gaulish) ได้อย่างกว้างขวาง (เป็นภาษาที่พัฒนามาจากเคลติกยุคต้น) โดยแพร่หลายในดินแดนบริเตน ไอบีเรีย ไอร์แลนด์ ไปจนกระทั่งถึงอนาโทเลียกลางในยุคโรมัน คำในภาษาละตินของ กอล ยังคงมีใช้อยู่ในคำภาษากรีกยุคใหม่สำหรับใช้เรียกประเทศฝรั่งเศส คือ กัลเลีย (Gallia) กอลภายใต้การนำของ Brennus บุกยึดโรมันได้ในราวทศวรรษ 390 ก่อนคริสตกาล ในแดนอีเจี้ยน มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวกอลตะวันออก จากดินแดนเทรซ ทางตอนเหนือของกรีซ ในราวปี 281 ก่อนคริสตกาล ผู้นำของชาวกอลอีกคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Brennus เหมือนกัน เป็นผู้นำของกองทัพขนาดใหญ่ ได้หวนกลับจากการทำลายล้างวิหารอพอลโลในเมืองเดลฟีในกรีซในวินาทีสุดท้าย เล่ากันว่าเขาได้รับเตือนโดยเสียงฟ้าร้องและสายฟ้า ในเวลาเดียวกับที่ชาวเคลต์กำลังอพยพ นักรบกว่า 10,000 นาย พร้อมด้วยบรรดาผู้หญิง เด็ก และทาส ได้เดินทางผ่านดินแดนเทรซพอดี ชาวกอลสามกลุ่มใหญ่ได้เดินทางข้ามดินแดนเทรซไปยังเอเชียไมเนอร์ตามคำเชิญของ Nicomedes ที่ 1 กษัตริย์แห่ง Bithynia พระองค์ได้ส่งคำร้องขอความช่วยเหลือเพื่อสู้กับน้องชายของพระองค์เอง ในเวลาต่อมาชาวกอลก็ตั้งถิ่นฐานลงทางตะวันออกของ Phrygia และ Cappadocia ในแคว้นอนาโทเลียกลาง ดินแดนซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ กาลาเทีย (Galatia).

ใหม่!!: อัตติลาและกอล · ดูเพิ่มเติม »

การทัพ

การทัพ (Military campaign) ในทางวิทยาการทหาร หมายถึงการสงครามต่อเนื่องขนาดใหญ่หรือกระบวนการต่อสู้ทางทหารที่มีการตั้งจุดประสงค์หลัก การวางแผนโครงการการดำเนินการและการใช้ยุทธศาสตร์ทางทหารที่ใช้เวลานาน ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางทหาร และสงครามหรือยุทธการที่ต่อเนื่องและมีส่วนเกี่ยวพันกันทางจุดประสงค์โดยทั่วไปที่เรียกรวม ๆ กันว่าสงคราม เช่นการการรณรงค์ทางทหารในการขยายดินแดนเข้าไปยังทวีปเอเชียของสุลต่านสุลัยมานมหาราช คำว่า “Campaign” มาจากที่ราบ “Campania” ซึ่งเป็นสถานที่ที่กองทัพของสาธารณรัฐโรมันมาประกอบกิจการต่างๆ ทางทหารเป็นประจำทุกปี หมวดหมู่:สงคราม.

ใหม่!!: อัตติลาและการทัพ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮัน

ภาษาฮัน เป็นภาษาที่ตายแล้วของชาวฮัน ความสัมพันธ์กับภาษาอื่น ๆ ยังไม่ชัดเจน โดยทั่วไปจัดให้อยู่ในตระกูลภาษาตระกูลภาษาอัลไตอิก ใกล้เคียงกับภาษาชูวาส ซึ่งเป็นตระกูลภาษาอัลไตอิกที่ได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาฟินโน-ยูราลลิก (เช่นภาษาฮังการี) โดยทั้งสองภาษานี้เป็นลูกหลานของกลุ่มภาษาเตอร์กิกชนิด r และ l เหมือนกัน ในขณะที่ ภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆจัดอยู่ในชนิด z และ s ฮัน.

ใหม่!!: อัตติลาและภาษาฮัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: อัตติลาและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มันโตวา

มันโตวา (Mantova) หรือ แมนชัว (Mantua) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในแคว้นลอมบาร์เดียในประเทศอิตาลี มันโตวาเป็นเมืองหลวงของจังหวัดมันโตวา มันโตวาถูกโอบรอบสามด้านด้วยทะเลสาบที่ขุดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่ได้น้ำจากแม่น้ำมินโชที่มาจากทะเลสาบการ์ดา ทะเลสาบทั้งสามชื่อ ลาโกซูเปรีโอเร (Lago Superiore-ทะเลสาบใหญ่) ลาโกดีเมซโซ (Lago di Mezzo-ทะเลสาบกลาง) และลาโกอินเฟรีโอเร (Lago Inferiore-ทะเลสาบเล็ก) ทะเลสาบปาโจโล (ทะเลสาบที่สี่) เคยเป็นทะเลสาบสุดท้ายที่ล้อมเมืองแต่มาเหือดแห้งไปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มันโตวาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี..

ใหม่!!: อัตติลาและมันโตวา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคมืด

เพทราคผู้ริเริ่มความคิดเกี่ยวกับ “ยุคมืด” ของยุโรปจาก “ชีวิตบุรุษและสตรีคนสำคัญ” อันเดรีย ดิ บาร์จิลแลค ราว ค.ศ.1450 ยุคมืด (Dark Ages หรือ Dark Age) หมายถึงช่วงเวลาของความเสื่อมโทรมทั้งทางวัฒนธรรมและทางสังคมในยุโรปหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (Decline of the Roman Empire) มาจนถึงในสมัยที่มีการฟื้นฟูการศึกษากันขึ้นอีกครั้ง.

ใหม่!!: อัตติลาและยุคมืด · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปกลาง

รัฐในยุโรปกลางในปี ค.ศ. 1902 ยุโรปกลาง (Central Europe) คือ อาณาบริเวณที่ตีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่าง ที่ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันตก คำนี้และความสนใจโดยทั่วไปของบริเวณนี้กลับมาเป็นที่สนใจกันอีกครั้ง หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลงซึ่งก็เช่นเดียวกับม่านเหล็กที่เป็นอาณาบริเวณที่แบ่งยุโรปทางการเมืองออกเป็นตะวันออก และ ตะวันตก และม่านเหล็กผ่ายุโรปกลางออกเป็นสองข้าง ความหมายของยุโรปกลางในเชิงความมีลักษณะวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มรัฐที่อยู่ในเครือเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นความคิดลวง แต่กระนั้นนักวิชาการก็ยังเสนอว่าลักษณะเอกลักษณ์ของ “วัฒนธรรมยุโรปกลางที่แม้จะยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่นั้นมีอยู่จริง” ความเห็นนี้มีพื้นฐานมาจาก “ความคล้ายคลึงกันที่มาจากลักษณะทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม” ซึ่งสามารถบอกได้จากการที่บริเวณที่ว่านี้เคยเป็น “สถานที่ที่เป็นแหล่งสำคัญที่สุดของผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก” ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 คริสต์ศตวรรษที่ 20 “Cross Currents: A Yearbook of Central European Culture” ให้คำจำกัดความของยุโรปกลางว่าเป็น “ยุโรปตะวันตกที่ถูกละเลย หรือ สถานที่ที่ยุโรปตะวันออกและตะวันตกประสานงานกัน” ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ประเทศหลายประเทศในยุโรปกลางก็มักจะติดอันดับอยู่ในบรรดากลุ่ม 30 ประเทศที่ถือกันว่าเป็นประเทศพัฒนา (Developed countries) ที่สุดในโลก แต่วัฒนธรรมสมัยนิยมของตะวันตก (โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน) ยังคงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริเวณนี้ที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นประเทศที่ยังอยู่ในความ “ความล้าหลัง” ของสงครามเย็น.

ใหม่!!: อัตติลาและยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันออก

แผนที่ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออก (Eastern Europe) มีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 - 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประกอบไปด้วยประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, อดีตเช็กโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกียและสโลวาเกีย), โปแลนด์, ฮังการี, โรมาเนีย, บัลแกเรีย และอดีตยูโกสลาเวีย ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรแมนซ์และกลุ่มสลาวอนิก.

ใหม่!!: อัตติลาและยุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันตก

แผนที่ยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันตก ตั้งอยู่ติดกับทะเลเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และ มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทำให้ดินแดนยุโรปตะวันตกนี้ไม่ห่างจากทะเลมากนัก เป็นผลทำให้มีความชื้นในอากาศสูงและอุณหภูมิหน้าหนาวไม่เย็นจัดเหมือนยุโรปที่อยู่ในภาคพื้นทวีปยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันตกมีพื้นที่ประมาณ 36,933,412 ตารางกิโลเมตร ภาษาในภูมิภาคนี้มีมากมายเช่น กลุ่มภาษาโรมานซ์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ฯลฯ กลุ่มภาษาเยอรมานิค เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาอังกฤษ ภาษาสวีเดน ฯลฯ และ ภาษากรีก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ทั้งนิกายโปรเตสแตนท์และโรมันคาทอลิก ความแตกต่างของประเทศในยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกคือระบอบการปกครองและการเมืองช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่มักจะกล่าวถึงว่าเป็นประเทศในยุโรปตะวันตก.

ใหม่!!: อัตติลาและยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ราฟาเอล

วาดตัวเองของราฟาเอล ราฟาเอล (Raphael) หรือ รัฟฟาเอลโล ซานซีโอ ดา อูร์บีโน (Raffaello Sanzio da Urbino; พ.ศ. 2026-2063) เป็นจิตรกรชาวอิตาลีที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีอายุน้อยกว่าเลโอนาร์โด ดา วินชี 31 ปี และอ่อนกว่ามีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี 8 ปี เมื่อ..

ใหม่!!: อัตติลาและราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อัตติลาและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราเวนนา

มเสกจักรพรรดิจัสติเนียนและข้าราชสำนักที่บาซิลิกาซานวิทาเล ที่ราเวนนา ราเวนนา (Ravenna) เป็นเมืองที่อยู่ในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา ประเทศอิตาลี ราเวนนาเคยเป็นเมืองหลักของจักรวรรดิโรมันตะวันตก และอาณาจักรออสโตรกอท (Ostrogoth Kingdom) ในเวลาต่อมา ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของจังหวัดราเวนนา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 652 ตารางกิโลเมตร ราเวนนาเป็นเมืองที่มีเนี้อที่ใหญ่เป็นที่สองของอิตาลีรองจากกรุงโรม.

ใหม่!!: อัตติลาและราเวนนา · ดูเพิ่มเติม »

วุฒิสภาโรมัน

“Senatus Populusque Romanus”(วุฒิสภาและประชาชนโรมัน) วุฒิสภาโรมัน (Senatvs Romanvs) เป็นสถาบันทางการเมืองของโรมันโบราณที่ก่อตั้งก่อนที่พระมหากษัตริย์แห่งโรมพระองค์แรกจะขึ้นครองราชย์ (ที่กล่าวกันว่าเป็นเวลา 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระบบนี้รอดการล่มสลายของราชอาณาจักรโรมันเมื่อ 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช, การล่มสลายของสาธารณรัฐโรมันเมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช และการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี..

ใหม่!!: อัตติลาและวุฒิสภาโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 1

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 1 (Leo I) หรือนักบุญลีโอผู้ยิ่งใหญ่ (Saint Leo the Great) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 440 ถึง ค.ศ. 461 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 4 หมวดหมู่:พระสันตะปาปาชาวอิตาลี หมวดหมู่:นักบุญชาวอิตาลี หมวดหมู่:นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 5 หมวดหมู่:นักปราชญ์แห่งคริสตจักร หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นตอสคานา.

ใหม่!!: อัตติลาและสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญา

นธิสัญญา (treaty) เป็นข้อตกลงเฉพาะหน้าภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเข้าทำสัญญาโดยตัวแสดงในกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ รัฐเอกราชและองค์การระหว่างประเทศ สนธิสัญญาอาจเรียกชื่อต่าง ๆ เช่น กติกา (covenant), กติกาสัญญา (pact), กรรมสาร (act), ข้อตกลง (accord), ความตกลง (agreement), แถลงการณ์ (communiqué), ปฏิญญา (declaration), พิธีสาร (protocol) และ อนุสัญญา (convention) แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร รูปแบบความตกลงทั้งหมดเหล่านี้ถือว่าเป็นสนธิสัญญาเท่าเทียมกันและมีหลักเกณฑ์เดียวกันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญาสามารถเปรียบได้หลวม ๆ กับสัญญา ทั้งสองต่างเป็นวิธีการที่ภาคีที่สมัครใจยอมรับพันธกรณีต่อกัน และภาคีซึ่งไม่สามารถยึดพันธกรณีสามารถรับผิดได้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเท.

ใหม่!!: อัตติลาและสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

สเตปป์

ทุ่งหญ้าสเตปป์ในมองโกเลีย สเตปป์ในอุซเบกิสถาน ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) คือลักษณะทางภูมิศาสตร์ “ทุ่งหญ้าสเตปป์” เป็นบริเวณที่มีลักษณะทางสภาวะอากาศและภูมิภาคที่เป็นเอกลักษณ์ที่ประกอบด้วยที่ราบที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างที่ไม่มีต้นไม้ นอกจากบริเวณริมแม่น้ำหรือทะเลสาบ ทุ่งหญ้าแพรรี (prairie) (โดยเฉพาะทุ่งหญ้าเตี้ยแพรรี) อาจจะถือว่าเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์ ภูมิภาคของทุ่งหญ้าสเตปป์อาจจะเป็นพื้นที่กึ่งทะเลทราย หรือปกคลุมด้วย หญ้า หรือพุ่มไม้ หรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับฤดูและละติจูด “สเตปป์” อาจจะใช้หมายถึงสภาพภูมิอากาศที่พบในบริเวณที่แห้งจนไม่สามารถมีป่าได้ แต่ก็ไม่แห้งจนกระทั่งเป็นทะเลทราย “สเตปป์” เป็นลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีป (continental climate) และภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง (semi-arid climate) อุณภูมิสูงสุดในฤูดูร้อนอาจจะสูงถึง 40 °C (104 °F) และต่ำสุดในฤดูหนาวอาจจะลดลงถึง -40 °C (-40 °F) นอกจากความแตกต่างกันมากของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวแล้ว ก็ยังมีความแตกต่างกันมากระหว่างอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืน ทางบริเวณที่สูงของมองโกเลียอุณหภูมิตอนกลางวันอาจจะสูงถึง 30 °C (86 °F) แต่กลางคืนอาจจะลดต่ำลงต่ำกว่าศูนย์ °C (sub 32 °F) ทุ่งหญ้าสเตปป์ในช่วงละติจูดตอนกลางมีลักษณะที่หน้าร้อนจะร้อนจัดและหน้าหนาวจะหนาวจัด โดยมีปริมาณฝนหรือหิมะตกเฉลี่ยราว 250-500 มิลลิเมตร (10-20 นิ้ว) ต่อปี คำว่า “steppe” มาจากภาษารัสเซียว่า “степь” ที่แปลว่า “ดินแดนที่ราบและแห้ง”.

ใหม่!!: อัตติลาและสเตปป์ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดอาหาร

หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6.

ใหม่!!: อัตติลาและหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ออร์เลอ็อง

ออร์เลอ็อง (Orléans) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ราว 130 ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส เป็นเมืองหลักของจังหวัดลัวแรในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ ตรงที่แม่น้ำโค้งไปทางใต้ไปยังมาซิฟซ็องทราล.

ใหม่!!: อัตติลาและออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

อากวีเลยา

อากวีเลยา หรือ อากวีเลจา (Aquileia หรือ Aquilegia) เป็นที่ตั้งถิ่นฐานโบราณของเมืองโรมันที่ในปัจจุบันอยู่ในประเทศอิตาลีตรงส่วนบนสุดของทะเลเอเดรียติกริมทะเลสาบน้ำเค็มประมาณ 10 กิโลเมตรจากทะเลบนฝั่งแม่น้ำนาตีโซ (ปัจจุบันนาตีโซเน) ที่เปลี่ยนเส้นทางไปบ้างตั้งแต่สมัยโรมัน อากวีเลยาเป็นที่ตั้งของมรดกโลกพื้นที่โบราณคดีและมหาวิหารอากวีเล.

ใหม่!!: อัตติลาและอากวีเลยา · ดูเพิ่มเติม »

อาลาริคที่ 1

อาราริคที่ 1 (Alaric I, กอธ: Alarik, Alaricus) (ราว ค.ศ. 370 – ค.ศ. 410) เป็นพระมหากษัตริย์ของชนชนวิสิกอธผู้ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 395 จนเสด็จสวรรคตเมื่อในปี ค.ศ. 410 อาราริคเป็นพระมหากษัตริย์เจอร์มานิคที่ยึดกรุงโรมได้ อาราริคต้องการที่จะนำชนวิซิกอธเข้าไปตั้งถิ่นฐานในจักรวรรดิโรมัน การยึดโรมได้ครั้งนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่นำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของจักรวรรดิโรมัน.

ใหม่!!: อัตติลาและอาลาริคที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

อนารยชน

นักรบเจอร์มานิค” โดย ฟิลิปป์ คลือเวอร์ (Philipp Clüver) ใน “Germania Antiqua” (ค.ศ.1616) อนารยชน (barbarian) เป็นคำที่มีความหมายในทางเหยียดหยามสำหรับผู้ที่ถือกันว่าไม่มีวัฒนธรรมที่อาจจะเป็นการใช้โดยทั่วไปที่หมายถึงกลุ่มชนในชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic group) โดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงกลุ่มชนที่มีลักษณะเป็นเผ่าพันธ์ (tribal society) จากมุมมองของวัฒนธรรมเมืองที่เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมที่ด้อยกว่าหรือชื่นชมว่าเป็นคนเถื่อนใจธรรม (noble savage) เมื่อใช้เป็นสำนวน “อนารยชน” ก็อาจจะหมายถึงผู้ที่เป็นคนทารุณ, โหดร้าย, นิยมสงคราม และไร้ความรู้สึกต่อผู้อื่น การใช้คำว่า “อนารยชน” มาจากวัฒนธรรมกรีก-โรมันแต่คำทำนองเดียวกันก็พบในวัฒนธรรมอื่นๆ ด้ว.

ใหม่!!: อัตติลาและอนารยชน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 2

ักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 2 หรือ เฟลเวียส เทออดอซิอุส หรือ คาลิกราเฟอร์ (Theodosius II; ชื่อเต็ม: Flavius Theodosius) (10 เมษายน ค.ศ. 401 – 28 กรกฎาคม ค.ศ. 450) เทออดอซิอุสทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ผู้ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 408 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 450 จักรพรรดิเทออดอซิอุสทรงเป็นที่รู้จักจากกฎหมายที่ใช้พระนามของพระองค์ “ประมวลกฎหมายธีโอโดซิอานัส” (Codex Theodosianus) และกำแพงธีโอโดเซียนแห่งคอนสแตนติโนเปิลที่สร้างในรัชสมัยของพระอง.

ใหม่!!: อัตติลาและจักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิ

ักรวรรดิ (อ่านว่า จัก-กฺระ-หฺวัด, อังกฤษ: empire) ถูกนิยามว่าหมายถึง "กลุ่มชาติรัฐหรือชาติพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิหรืออธิปไตยของรัฐอื่นๆที่ทรงอิทธิพล โดยทั่วไปมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชอาณาจักร" นักวิชาการได้ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับคำว่า “Empire” ในภาษาอังกฤษหรือ “จักรวรรดิ” ในภาษาไทย (จากคำภาษาละติน “imperium” ที่หมายถึงสายการบังคับบัญชาทางการทหารของรัฐบาลโรมันโบราณ) โดยทั่วไปมักนิยามให้เป็นรัฐที่มีอาณาจักรอื่นที่มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างชัดเจนอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจการปกครองหรืออยู่ในเครือจักรภพ เช่นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษในปัจจุบัน นิยามอีกรูปแบบหนึ่งอาจเน้นปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการเมือง แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงการครอบงำทางอำนาจการทหาร เช่นเดียวกับรัฐทั่วไป จักรวรรดิจะมีโครงสร้างทางการเมืองของตนเอง หรืออย่างน้อยก็โดยวิธีกดขี่บังคับให้อยู่ใต้อำนาจ จักรวรรดิบนแผ่นดินใหญ่ (เช่นจักรวรรดิมองโกล หรือจักรวรรดิอาคีเมนิดเปอร์เชีย – Achaemenid Persia) มักจะขยายไปตามอาณาเขตที่ประชิดต่อเนื่องกัน ส่วนจักรวรรดิทางทะเล (เช่น จักรวรรดิเอเธนีเนียน จักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิอังกฤษ) อาจมีอาณาเขตกระจัดกระจายหลวมๆ แต่อยู่ในอำนาจการควบคุมทางกองทัพเรือเป็นต้น จักรวรรดิที่มีมาก่อนจักรวรรดิโรมันหลายร้อยปี ได้แก่จักรวรรดิอียิปต์ซึ่งได้ก่อตั้งจักรวรรดิเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อน..

ใหม่!!: อัตติลาและจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฮัน

ักรวรรดิฮัน (Hunnic Empire) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งโดยชาวฮัน ฮันเป็นสมาพันธ์ของกลุ่มชนยูเรเชียที่ส่วนใหญ่อาจจะพูดภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีลักษณะอื่นที่มาจากภาษากลุ่มอื่นผสม ฮันที่มาจากทุ่งหญ้าสเตปป์ในเอเชียกลางเป็นกลุ่มชนที่มีความสามารถทางการใช้อาวุธที่ก้าวหน้ากว่าชนกลุ่มอื่นในช่วงเวลานั้นซึ่งทำให้สามารถเข้ารุกรานและยึดครองอาณาบริเวณต่างๆ ของชนเผ่าอื่น ได้เป็นจำนวนมหาศาล หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนฮันก็เริ่มอพยพเข้ามาในบริเวณยุโรปจากทางแม่น้ำวอลกา มาเริ่มการรุกรานโดยการโจมตีชนอาลานี (Alani) ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ราบระหว่างแม่น้ำวอลกาและแม่น้ำดอน หลังจากนั้นก็สามารถโค่นจักรวรรดิของออสโตรกอธที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำดอน และแม่น้ำนีสเตอร์ได้ ราวปี ค.ศ. 376 ฮันก็ได้รับชัยชนะต่อวิซิกอธผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณโรเมเนียปัจจุบันซึ่งก็เท่ากับมาถึงเขตแดนแม่น้ำดานูบของจักรวรรดิโรมัน การโยกย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่เข้ามาในยุโรปของฮันที่นำโดยอัตติลาเป็นการนำมาซึ่งความวุ่นวายทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางชาติพันธุ์ครั้งสำคัญของยุโรป.

ใหม่!!: อัตติลาและจักรวรรดิฮัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิแซสซานิด

ักรวรรดิซาสซานิยะห์ (ساسانیان, Sassanid Empire) ที่เป็นหนึ่งในจักรวรรดิเปอร์เชียและที่เป็นจักวรรดิสุดท้ายก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเริ่มขึ้นเป็นหนึ่งในสองมหาอำนาจของเอเชียตะวันตกเป็นเวลากว่าสี่ร้อยปี ราชวงศ์ซาสซานิยะห์ก่อตั้งโดยอาร์ดาเชอร์ที่ 1 (Ardashir I) หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิพาร์เธียนองค์สุดท้ายอาร์ตาบานัสที่ 4 (Artabanus IV) และมาสิ้นสุดลงเมื่อยาซเดเกิร์ดที่ 3 (Yazdegerd III) มาพ่ายแพ้หลังจากที่ทรงใช้เวลาถึงสิบสี่ปีในการต่อต้านจักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนซึ่งเป็นหนึ่งในจักรวรรดิกาหลิปอิสลามที่ตามกันมา จักรวรรดิซาสซานิยะห์หรือที่เรียกว่า “Eranshahr” (“จักรวรรดิอิหร่าน”) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นปัจจุบันคืออิหร่าน, อิรัก, อาร์มีเนีย, ทางตอนใต้ของคอเคซัส (รวมทั้งทางตอนใต้ของดาเกสถาน), ตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียกลาง, ตะวันตกของอัฟกานิสถาน, บางส่วนของตุรกี, บางส่วนของซีเรีย, บริเวณริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรอาหรับ, บริเวณอ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน สมัยการปกครองของซาสซานิยะห์เป็นสมัยอันยาวนานของปลายสมัยโบราณและถือกันว่าเป็นสมัยที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดทางประวัติศาสตร์สมัยหนึ่งของ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของวัฒนธรรมของเปอร์เซียแ ละเป็นจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่จักรวรรดิสุดท้ายก่อนที่จะเริ่มยุคการพิชิตของมุสลิมและการยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมของเปอร์เซียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของโรมันเป็นอันมากในยุคซาสซานิยะห์J.

ใหม่!!: อัตติลาและจักรวรรดิแซสซานิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันตะวันตก

ักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปี..

ใหม่!!: อัตติลาและจักรวรรดิโรมันตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: อัตติลาและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จัสตา กราตา โฮโนเรีย

ัสตา กราตา โฮโนเรีย (Justa Grata Honoria) จัสตา กราตา โฮโนเรียเป็นพระขนิษฐาของจักรพรรดิวาเล็นติเนียนที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตก จากเหรียญกษาปณ์ทำให้ทราบได้ว่าโฮโนเรียได้รับแต่งตั้งให้เป็น “ออกัสตา” ซึ่งเป็นตำแหน่งสำหรับสตรีเทียบเท่าตำแหน่ง “ออกัสตัส”.

ใหม่!!: อัตติลาและจัสตา กราตา โฮโนเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ทรัว

ทรัว (Troyes) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดโอบในแคว้นช็องปาญาร์แดนในประเทศฝรั่งเศส เมืองทรัวตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแซน ราว 150 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้ของปารีส ผู้อาศัยอยู่ในเมืองทรัวเรียกว่า "Troyens" หรือ "Troyennes".

ใหม่!!: อัตติลาและทรัว · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: อัตติลาและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยูเรเชีย

ทวีปยูเรเชีย เป็นมหาทวีปที่รวมเอาทวีปยุโรป กับทวีปเอเชียเข้าด้วยกัน โดยเส้นแบ่งของทวีปยุโรปกับเอเชียคือเทือกเขายูราล คำนี้ส่วนใหญ่จะใช้พูดถึงกับเรื่องในประวัติศาสตร์เมื่อครั้งโลกหลายร้อยล้านปีที่ทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียยังติดกัน ทวีปนี้ขยายตัวมาจากมหาทวีปพันเจีย โดยมีทวีปต่างๆที่แยกตัวออกมาคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ (แยกออกมาจากทวีปแอฟริกา) ทวีปยูเรเชีย เกาะอินเดีย ออสเตรเลีย และขั้วโลกใต้ โดยที่ทวีปยูเรเชียนั้น ในปัจจุบันเรามักจะเรียกว่า ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย มากกว่าที่จะเรียกว่า ยูเรเชีย สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากที่ การเรียกอย่างนี้จะทำให้เกิดการสับสนว่าเป็น ทวีปใดกันแน่ ทั้งวัฒนธรรม การเมือง ประเพณี ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ วิถีชีวิต อาหารการกิน ยังแตกต่างกันด้วย นอกจากเราจะยังพูดถึงโลกล้านปีแล้ว การที่ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ติดกันตรงพรมแดนของประเทศจีน-ประเทศรัสเซีย เป็นต้น เป็นเสมือนเกาะใหญ่ และการคมนาคม ประวัติศาสตร์ยังคล้ายคลึงกันอีกด้วย เราจึงยังจะคงเรียกอยู.

ใหม่!!: อัตติลาและทวีปยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลบอลติก

ทะเลบอลติก (Baltic Sea) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปเหนือ ห้อมล้อมด้วยคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคยุโรปเหนือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ภูมิภาคยุโรปกลาง และหมู่เกาะของประเทศเดนมาร์ก ทะเลนี้เชื่อมเข้าสู่ช่องแคบแคตทีแกต (Kattegat) ผ่านทางช่องแคบเออเรซุนด์ (Öresund) ช่องแคบเกรตเบลต์ (Great Belt) และช่องแคบลิตเทิลเบลต์ (Little Belt) ซึ่งหากผ่านช่องแคบแคทีแกตต่อไปก็จะพบช่องแคบสแกเกอร์แรก (Skagerrak) ที่จะเข้าสู่ทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลบอลติกยังเชื่อมต่อกับทะเลขาวด้วยคลองไวต์ซี (White Sea) และเชื่อมต่อกับทะเลเหนือโดยผ่านทางคลองคีล (Kiel).

ใหม่!!: อัตติลาและทะเลบอลติก · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

ใหม่!!: อัตติลาและคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

คาร์เธจ

ร์เธจ (Carthago) เป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองตูนิส ประเทศตูนีเซี.

ใหม่!!: อัตติลาและคาร์เธจ · ดูเพิ่มเติม »

ตูลูซ

ตูลูซ (Toulouse) เป็นเทศบาลในจังหวัดโอต-การอน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของแคว้นมีดี-ปีเรเน ซึ่งติดกับประเทศสเปน แต่มีพรมแดนธรรมชาติ คือ เทือกเขาพิเรนีสคั่นไว้ ตูลูซเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สี่ของประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีประชากรอยู่ราว 1,300,000 คน เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการบินของโลก โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และโรงงานของแอร์บัส นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของอินเทลภาคพื้นยุโรปตลอดจนหน่วยงานด้านอวกาศของฝรั่ง.

ใหม่!!: อัตติลาและตูลูซ · ดูเพิ่มเติม »

ตีมูร์

ติมูร์ (Timur bin Taraghay Barlas หรือ Tamerlane) มีชีวิตอยู่ในปี ค.ศ. 1336 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405 เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวตะวันตกว่า Tamerlane ติมูร์เป็นขุนศึกที่มีเชื้อสายผสมระหว่างมองโกลและเติร์ก และเป็นผู้พิชิตดินแดนส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง และยังเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิตีมูร์ และ ราชวงศ์ตีมูร์ ซึ่งจะคงอยู่ต่อไปจนถึงปี..

ใหม่!!: อัตติลาและตีมูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซฺยงหนู

thumb ซฺยงหนู ตามสำเนียงกลาง หรือ เฮงโน้ว ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นชื่อเรียกกลุ่มชนโบราณซึ่งมีพวกร่อนเร่เป็นพื้น และตั้งตัวกันเป็นรัฐหรือสหพันธรัฐ อยู่ในภาคเหนือของประเทศจีน ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับพวกซฺยงหนูจึงมาจากจีน กับทั้งชื่อเสียงเรียงนามของคนเหล่านั้นก็เป็นที่ทราบกันไม่มาก จึงใช้ตามที่จีนทับศัพท์มาจากภาษาซฺยงหนูอีกทอดหนึ่ง อัตลักษณ์ของแกนกลางทางชาติพันธุ์ซฺยงหนูนั้นเป็นแต่สมมุมติฐานกันไปในหลายทาง เพราะภาษาซฺยงหนู โดยเฉพาะชื่อแซ่บุคคลนั้น ปรากฏในแหล่งข้อมูลจีนน้อยมาก นักวิชาการเสนอว่า คนซฺยงหนูอาจใช้ภาษาเติร์ก (Turkic), มองโกล (Mongolic), เยนีเซย์ (Yeniseian), Beckwith 2009: 404-405, nn.

ใหม่!!: อัตติลาและซฺยงหนู · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: อัตติลาและซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบัลแกเรีย

ัลแกเรีย (България) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบัลแกเรีย (Република България) เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ ประเทศเซอร์เบียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางตะวันตก และประเทศโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบบัลแกเรียเคยเป็นอาณานิคมของรัสเซี.

ใหม่!!: อัตติลาและประเทศบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: อัตติลาและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอาร์มีเนีย

อาร์มีเนีย หรือ อาร์เมเนีย (Armenia,; Հայաստան ฮายาสตาน) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอาร์มีเนีย (Republic of Armenia; Հայաստանի Հանրապետություն) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส มีอาณาเขตติดต่อกับตุรกีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับจอร์เจียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันออก และทางทิศใต้ติดต่อกับอิหร่านและรัฐปกครองตนเองนาคีเชวาน (เป็นดินแดนส่วนแยกของอาเซอร์ไบจาน) อาร์มีเนียเป็นรัฐสมาชิกของสภายุโรปและเครือรัฐเอกราช อาร์มีเนียเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: อัตติลาและประเทศอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: อัตติลาและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: อัตติลาและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ใหม่!!: อัตติลาและประเทศฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: อัตติลาและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: อัตติลาและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: อัตติลาและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปริสกุส

ปริสกุส (Priscus) เป็นนักการทูต, นักวาทศิลป์, นักโซฟิสต์ และนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ปริสกุสเดินทางติดตามมักซิมินุผู้เป็นทูตของจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 ไปยังราชสำนักของอัตติลาในปี..

ใหม่!!: อัตติลาและปริสกุส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อัตติลาและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นิรุกติศาสตร์

นิรุกติศาสตร์ เป็นศัพท์บัญญัติ จากคำว่า philology ในภาษาอังกฤษ นิยามที่ตรงที่สุดของคำนี้ ก็คือ การเรียนรู้ถึงภูมิหลัง และการใช้ในปัจจุบัน ของการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าด้วยวิธีการพูดหรือการเขียน แม้ว่าคุณลักษณะทั่วไปของภาษาที่ถูกศึกษา จะมีความสำคัญมากกว่าที่มา หรืออายุ แต่การศึกษาเรื่องที่มาและอายุของคำก็มีความสำคัญเช่นกัน คำว่า ฟิโลโลจี (philology) ในภาษาอังกฤษ มาจากคำศัพท์ภาษากรีก ฟิลอส (Φιλος) ความรักอย่างพี่น้อง และ โลกอส (λογος) สนใจ หมายถึง ความรักในคำศัพท์ การศึกษาเชิงนิรุกติศาสตร์ คือการทำความเข้าใจถึง ที่มาของภาษา และมักใช้ในการศึกษาภาษา หรือคัมภีร์โบราณ คำนี้ มักจะใช้สับสนกับคำว่า ศัพทมูลวิทยา (etymology) ซึ่งเป็นการศึกษาที่มาของคำศัพท์ หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ หมวดหมู่:การเขียน หมวดหมู่:นิรุกติศาสตร์.

ใหม่!!: อัตติลาและนิรุกติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นีช

นีช (Ниш / Niš) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศเซอร์เบีย (รองจากกรุงเบลเกรดและนอวีซาด) จากข้อมูลปี..

ใหม่!!: อัตติลาและนีช · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำยูรัล

นดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัลมีลักษณะยาวและเรียวคล้ายกับตีนนก แม่น้ำยูรัล (Ural River) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากประเทศรัสเซียถึงประเทศคาซัคสถานซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป โดยไหลลงมาจากทางใต้ของเทือกเขายูรัลและสิ้นสุดที่ทะเลสาบแคสเปียน โดยแม่น้ำสายนี้มีความยาวประมาณ 2428 กิโลเมตร และมีความยาวเป็นอันดับ 3 ของทวีปยุโรป รองจากแม่น้ำวอลกาและแม่น้ำดานูบ น้ำในแม่น้ำยูรัลไหลลงสู่ทะเลสาบแคสเปียนในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งร้อยละ 70 ของน้ำในแม่น้ำยูรัลได้มาจากการละลายของหิมะ ส่วนที่เหลือมาจากปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ต้นกำเนิดของแม่น้ำยูรัลเกิดจากเทือกเขายูรัลซึ่งมีความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นเส้นแบ่งทวีประหว่างยุโรปกับเอเชีย ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัล (Ural delta) มีลักษณะยาว และเรียวคล้ายกับตีนนก (bird’s foot) ซึ่งการแสดงการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะนี้สามารถบอกได้ว่า เกิดจากอิทธิพลการไหลของแม่น้ำเป็นหลัก และได้รับอิทธิพลจากคลื่นเล็กน้อย ซึ่งบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปีในสหรัฐอเมริกามีลักษณะแบบนี้เช่นกัน การสะสมของตะกอน (sediment supply) โดยปกติปริมาณตะกอนรวมประมาณ 310 g/m³ ส่วนในฤดูน้ำหลากจะมีปริมาณตะกอนเพิ่มขึ้นจนถึง 2400 g/m³ และในฤดูหนาวจะมีปริมาณตะกอนต่ำสุดประมาณ 0.5 g/m³.

ใหม่!!: อัตติลาและแม่น้ำยูรัล · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำวอลกา

แม่น้ำวอลกาในเมืองยาโรสลัฟล์ ยามเช้าในฤดูใบไม้ร่วง แม่น้ำวอลกา (Волга.; Volga) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 3,690 กิโลเมตร และถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นแม่น้ำประจำชาติรัสเซีย ไหลผ่านทางด้านตะวันตกของประเทศ และเป็นแกนหลักของระบบแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป แหล่งเก็บกักน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกบางแห่ง ก็อยู่ตามแนวลำน้ำสายนี้ หากรวมความยาวของแม่น้ำสายย่อย และคูคลองต่าง ๆ ทั้งหมดที่มีทั้งสิ้น 151,000 สาย แม่น้ำจะยาวถึง 574,000 กิโลเมตร และหากรวมพื้นที่ของลำน้ำทั้งหมด จะเทียบเท่ากับ 1 ใน 3 ของอาณาเขตฝั่งยุโรปของรัสเซีย วอลกาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือวอลกาตอนบน วอลกาตอนกลาง และวอลกาตอนล่าง.

ใหม่!!: อัตติลาและแม่น้ำวอลกา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำดานูบ

แม่น้ำดานูบ (Danube River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในสหภาพยุโรป และยาวเป็นอันดับสองของทวีปยุโรป (รองจากแม่น้ำวอลกา) มีต้นกำเนิดที่แถบป่าดำ (Black Forest; Schwarzwald) ในประเทศเยอรมนี เกิดจากแม่น้ำเล็กๆ สองสาย คือ Brigach และ Breg ซึ่งไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำดานูบที่เมือง Donaueschingen แม่น้ำดานูบไหลจากป่าดำไปทางทิศตะวันออกผ่านเมืองหลวงและเมืองสำคัญๆ ของประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก ก่อนที่จะไหลผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบ (Danube Delta) และแยกลงสู่ทะเลดำที่ประเทศโรมาเนียและยูเครน มีความยาวประมาณ 2,845 กม.

ใหม่!!: อัตติลาและแม่น้ำดานูบ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโป

แม่น้ำโป (Padus หรือ Eridanus, Po River) เป็นแม่น้ำที่มีความยาวทั้งสิ้น 652 กิโลเมตรหรือ 682 กิโลเมตรถ้ารวมแม่น้ำไมราด้วย ที่ไหลจากต้นแม้น้ำในเทือกเขาแอลป์ไปทางตะวันออกทางตอนเหนือของอิตาลีไปยังสามเหลี่ยมปากแม่น้ำบนฝั่งทะเลอาเดรียติกไม่ไกลจากเวนิส แม่น้ำโปเป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในอิตาลี ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 503 เมตร สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโป ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งบริเวณคาบสมุทรอิตาลีทางตอนเหนือจะติดกับเทือกเขาแอลป์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลแอเดรียติกและทิศตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอเรเนียน โดยแม่น้ำโปเป็นแม่น้ำที่มีความยาวมากที่สุดในอิตาลีและมีต้นกำเนิดจากเทือก เขาแอลป์ไหลเข้าสู่ประเทศอิตาลีทางทิศเหนือและไหลออกสู่ทะเลแอเดรียติกทาง ทิศตะวันออก เนื่องจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโปนี้มีตะกอนที่มาตกสะสมตัวอยู่จากการพัดพา ตะกอนที่มีแหล่งกำเนิดที่สำคัญมาจากเทือกเขาแอลป์ลงมาตามลำน้ำโปโดยที่แม่ น้ำโปเป็นแม่น้ำที่มีสาขามากมายบริเวณปลายน้ำจัดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ประเภท river dominate ซึ่งปริมาณตะกอนที่ได้รับมาจากอิทธิพลของแม่น้ำเป็นหลัก ตามการจำแนกประเภทโดย Willium Golloway จากมหาวิทยาลัยเทกซั.

ใหม่!!: อัตติลาและแม่น้ำโป · ดูเพิ่มเติม »

แม็ส

แม็ส (Metz) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของแคว้นลอแรน เมืองหลักของจังหวัดโมแซลในประเทศฝรั่งเศส เมืองแม็สตั้งอยู่ทางตรงที่แม่น้ำโมแซลมาบรรจบกับแม่น้ำแซย์ และเป็นนครหลวงโบราณของอาณาจักรออสเตรเซียของราชวงศ์กาโรแล็งเชียง โดยมีมรดกทางวัฒนธรรมเป็นโบราณสถานซึ่งเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของเมืองย้อนไปกว่า 3000 ปี รวมไปถึงศิลปกรรมในยุคที่ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิเยอรมนีช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งปรากฏชัดบริเวณย่านจักรวรรดิ (Le quartier impérial) แม้ว่าในประวัติศาสตร์น็องซีจะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรดยุคแห่งลอแรน แต่แม็สได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของแคว้นลอแรนที่ตั้งขึ้นใหม่ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะความที่เคยเป็นเมืองหลวงของโลทาริงเกี.

ใหม่!!: อัตติลาและแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

แร็งส์

แร็งส์ (Reims) เป็นเมืองในจังหวัดมาร์นในแคว้นช็องปาญาร์แดนในประเทศฝรั่งเศส เมืองแร็งส์ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ราว 129 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของปารีส แร็งส์ก่อตั้งขึ้นโดยกอลและกลายมาเป็นเมืองสำคัญระหว่างสมัยจักรวรรดิโรมัน ต่อมาแร็งส์ก็มามีบทบาทสำคัญต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในการเป็นสถานที่สำหรับการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแร็ง.

ใหม่!!: อัตติลาและแร็งส์ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองซิซิลี

ซิซิลี (Sicily) หรือ ซีชีเลีย (Sicilia; Sicìlia) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีลักษณะเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคใต้ของประเทศโดยมีช่องแคบเมสซีนาคั่นระหว่างตัวเกาะกับแผ่นดินใหญ่ เกาะมีพื้นที่ 25,708 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลีและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดสูงสุดของเกาะคือภูเขาไฟเอตนา (3,320 เมตร) บนเกาะมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 5 ล้านคน เมืองสำคัญได้แก่ ปาแลร์โม (เมืองหลัก) เมสซีนา กาตาเนีย ซีรากูซา ตราปานี เอนนา คัลตานิสเซตตา และอากรีเจนโต ซิซิลีมีประวัติต่อเนื่องยาวนานกว่า 4,000 ปี ด้วยเหตุที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ซิซิลีจึงตกเป็นเป้าหมายของการยึดครองจากชนชาติที่มีอำนาจเข้มแข็งในช่วงเวลาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ชาวกรีก โรมัน คาร์เทจ อาหรับ นอร์มัน เยอรมัน ฝรั่งเศส และสเปน แต่ละชาติผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ ขณะเดียวกันก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของตนเข้ามาด้วย เกาะนี้จึงมีสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานกัน หากแต่ลงตัว นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยความงามทางธรรมชาติของทั้งชายหาด ทะเล และภูเขาไฟ และด้วยความที่อยู่ห่างไกลออกมา จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นอิตาลีดั้งเดิมอย่างที่หาไม่พบอีกแล้วตามเมืองใหญ่ในอิตาลีภาคพื้นทวีป.

ใหม่!!: อัตติลาและแคว้นปกครองตนเองซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

โดยพฤตินัย

ตินัย (De facto) หมายความว่า "by fact" หรือตามความเป็นจริง ซึ่งตั้งใจที่จะหมายความว่า "ในทางปฏิบัติหรือตามความเป็นจริง ที่อาจจะมิได้เป็นไปตามกฎหมายที่วางไว้" “โดยพฤตินัย” มักจะใช้คู่กับ “โดยนิตินัย” (de jure) เมื่อกล่าวถึงกฎหมาย, การปกครอง หรือวิธี (เช่นมาตรฐาน) ที่พบในประสบการณ์ที่สร้างหรือวิวัฒนาการขึ้นนอกเหนือไปจากในกรอบของกฎหมาย เมื่อใช้ในกิจการที่เกี่ยวกับกฎหมาย “โดยนิตินัย” จะหมายถึงสิ่งที่กฎหมายกำหนด และ “โดยพฤตินัย” ก็จะหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับวลี "for all intents and purposes" ("สรุปโดยทั่วไปแล้ว") หรือ "in fact" ("ตามความเป็นจริง") ในทางการปกครอง "de facto government" อาจจะหมายถึงรัฐบาลที่มีอำนาจปกครองที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นที่ยอมรับโดยนานาชาติว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นคำที่ใช้สถานการณ์ที่ไม่มีกฎหรือมาตรฐานแต่มีการปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป.

ใหม่!!: อัตติลาและโดยพฤตินัย · ดูเพิ่มเติม »

โซเฟีย

ซเฟีย (Sofia) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐบัลแกเรีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเรื่องจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 47 ของสหภาพยุโรป ตั้งอยู่ทางตะวันตกของบัลแกเรีย บริเวณตีนเขาวิโตชา เป็นเมืองศูนย์กลางของการขนส่งสินค้าทางบกที่สำคัญของคาบสมุทรบอลข่าน.

ใหม่!!: อัตติลาและโซเฟีย · ดูเพิ่มเติม »

เบลเกรด

ลเกรด (Belgrade) หรือ เบออกรัด (Београд) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเซอร์เบีย มีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์ เมื่อ 5,700-4,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช จุดเริ่มต้นของเมืองถูกก่อตั้งโดยชาวเคลต์กลุ่ม Scordisci ในศตวรรษที่สามก่อนศริสตศักราช ก่อนจะกลายมาเป็นที่ตั้งของเมืองโรมันในนาม Singidunum นับแต่อดีตมาเบลเกรดเป็นป้อมปราการที่สำคัญให้แก่ชนกลุ่มต่างๆตลอดระยะเวลากว่าสองพันปี ถูกทำลายแล้วสร้างกลับขึ้นมาใหม่หลายสิบครั้ง ด้วยประชาการกว่า 1,600,000 คน ปัจจุบันนี้ เบลกราดก็ถือเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศที่อดีตเคยรวมตัวกันเป็นยูโกสลาเวีย เป็นที่ตั้งของสนามบินที่เพียงแห่งเดียวในการเดินทางเข้าสู่เซอร์เบีย นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การคมนาคมและการท่องเที่ยวของประเท.

ใหม่!!: อัตติลาและเบลเกรด · ดูเพิ่มเติม »

เออแฌน เดอลาครัว

วาดตัวเอง พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) แฟร์ดีน็อง-วิกตอร์-เออแฌน เดอลาครัว เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศส เขาสามารถเรียนจากงานของยุคอื่นๆ เขานับถือการใช้สีของราฟาเอล และพลังวาดภาพอย่างเต็มที่ของแรมบรังด์และรูเบนส์ การศึกษางานของปีเตอร์ พอล รูเบนส์อย่างใกล้ชิดของเขาทำให้เขาพัฒนารูปแบบภาพวาดที่ทิ้งความเข้มงวดของยุคคลาสสิก นำค่าแท้จริงของสีกลับมา เดอลาครัวมีอำนาจวาสนาจากคลาสสิก ศิลปะของเขาให้ทางเข้าตรงไปสู่สถานะทางอารมณ์ภายใน ดังนั้นมันกลายเป็นบางอย่างที่ศิลปะสมัยใหม่ (Modernism) จะเอาทิศทางมาจากมัน ศิลปะซึ่งปล่อยตัวมันเองให้เป็นอิสระอย่างเพิ่มขึ้นจากความจริงเพื่อหาค่าแท้จริงของมัน ราบเรียบ นามธรรมและเต็มไปด้วยอารมณ.

ใหม่!!: อัตติลาและเออแฌน เดอลาครัว · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด กิบบอน

อ็ดเวิร์ด กิบบอน (Edward Gibbon) (27 มกราคม ค.ศ. 1737 - (16 มกราคม ค.ศ. 1794) เอ็ดเวิร์ด กิบบอนเป็นนักประวัติศาสตร์และสมาชิกของรัฐสภาชาวอังกฤษ ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของของเอ็ดเวิร์ด กิบบอนคือ “ประวัติศาสตร์ของความเสิ่อมโทรมและการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน” (The History of the Decline and Fall of the Roman Empire) ที่มีด้วยกันหกเล่มที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1776 ถึงปี ค.ศ. 1788 หนังสือ “การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน” มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีเพราะคุณภาพและสำนวนการเขียน นอกจากนั้นก็เป็นหนังสือที่ใช้หนังสืออ้างอิงจากต้นฉบับ และการวิจารณ์สถาบันศาสนาอย่างออกหน้าแต่ข้อหลังนี้ก็ยังไม่เป็นที่ตกลงกันในหมู่นักวิชาการ.

ใหม่!!: อัตติลาและเอ็ดเวิร์ด กิบบอน · ดูเพิ่มเติม »

เจงกีส ข่าน

งกีส ข่าน (Чингис Хаан, Chinggis Khaan, Činggis Qaɣan; หรือ,; Genghis Khan; พ.ศ. 1705 หรือ 1708 — 18 สิงหาคม พ.ศ. 1770) เจงกีส แปลว่า “เวิ้งสมุทร, มหาสมุทร” (ซึ่งเปรียบได้ว่า เจงกีส ข่าน มีความยิ่งใหญ่ ดั่งเวิ้งมหาสมุทรนั่นเอง) จักรพรรดินักรบชาวมองโกลผู้พิชิต ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล เดิมมีนามว่า เตมูจิน (Temüjin) ตามสถานที่เกิดริมฝั่งแม่น้ำโอนอน เป็นผู้นำครอบครัวแทนบิดาเมื่ออายุเพียง 13 ปี และต้องดิ้นรนต่อสู้ขับเคี่ยวกับชนเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นอริอยู่หลายปี ปราบเผ่า “ไนแมน” ทางด้านตะวันตก พิชิตชนชาติ “ตันกุต” (เซี่ยตะวันตก) และยอมรับการจำนนของชาว “อุยกูร์” ในปี..

ใหม่!!: อัตติลาและเจงกีส ข่าน · ดูเพิ่มเติม »

เธรซ

ในที่บรรจุศพ เธรซ (Thrace, Тракия, Trakiya, Θράκη, Thráki, Trakya) เป็นบริเวณประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ในปัจจุบันเธรซหมายถึงบริเวณที่ครอบคลุม ตอนใต้ของบัลแกเรีย (เธรซเหนือ), ทางตะวันออกเฉียงเหนือของGreece (เธรซตะวันตก), และตุรกีในยุโรป (เธรซตะวันออก) พรมแดนเธรซติดกับทะเลสามทะเล: ทะเลดำ, ทะเลอีเจียน และทะเลมาร์มารา บางครั้งเธรซก็เรียกว่า “รูเมเลีย” (Rumelia) หรือ “ดินแดนของโรมัน”.

ใหม่!!: อัตติลาและเธรซ · ดูเพิ่มเติม »

เตอร์กิก

ตอร์กิก อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: อัตติลาและเตอร์กิก · ดูเพิ่มเติม »

เปาโลอัครทูต

นักบุญเปาโลอัครทูต (St.) หรือนักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส (St.; San Paolo di Tarso) หรือนักบุญเปาโล มาจาก ภาษากรีก “Šaʾul HaTarsi” หมายถึง “เซาโลแห่งทาร์ซัส” มาจาก “Σαουλ” “Saul” หรือ “Σαῦλος” “Saulos” หรือ “Παῦλος” “Paulos” เป็น “อัครทูตถึงชนต่างชาติ” (Apostle to the Gentiles) พร้อมกับนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม (James the Just), เป็นมิชชันนารีที่สำคัญที่สุดในศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่ไม่เคยพบพระเยซูดังเช่นอัครทูตท่านอื่นๆ ไม่มีหลักฐานใดที่กล่าวว่านักบุญเปาโลเคยพบพระองค์ด้วยตนเองก่อนที่จะถูกตรึงกางเขนตามที่กล่าวใน “กิจการของอัครทูต” นักบุญเปาโลมานับถือศาสนาคริสต์ระหว่างที่เดินทางไป ดามัสกัส จากการที่ได้เห็นพระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม.

ใหม่!!: อัตติลาและเปาโลอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Atila the HunAtillaAttilaAttila the Hunอัตติลาเดอะฮั่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »