โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรตระกูลเซมิติก

ดัชนี อักษรตระกูลเซมิติก

อักษรตระกูลเซมิติก เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ที่ได้แรงบันดาลใจจากอักษรไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์โบราณ อักษรเหล่านี้ไม่ได้มาจากสัญลักษณ์แทนพยัญชนะของชาวอียิปต์ แต่เป็นการรวมอักษรไฮโรกลิฟฟิกอื่นๆเข้ามาด้วย ทั้งหมดมี 30 ตัว กำหนดชื่อเป็นภาษาเซมิติก เช่น ไฮโรกลิฟ per (บ้าน ในภาษาอียิปต์) กลายเป็น bayt (บ้าน ในภาษาเซมิติก) เมื่อนำมาเขียนภาษาเซมิติกจะเป็นระบบพยัญชนะล้วน โดยอักษรแต่ละตัวแทนเสียงพยัญชนะตัวแรกของชื่อ เช่น รูปบ้าน beyt ใช้แทนเสียง b หรือใช้แทนทั้งเสียง b และลำดับพยัญชนะ byt ดังที่ใช้แทนเสียง p และลำดับพยัญชนะ pr ในภาษาอียิปต์ ในยุคที่ชาวคานาอันนำอักษรนี้ไปใช้ จะใช้แทนเสียง b เท่านั้น ไม่มีหลักฐานว่าอักษรเซมิติกเริ่มต้นมีจำนวนเท่าใดและเรียงลำดับอย่างใด อักษรที่พัฒนาต่อมานั้น อักษรยูการิติคมี 27 ตัว และอักษรฟินิเชียมี 22 ตัว การเรียงลำดับของอักษรเหล่านี้มี 2 แบบ คือ ลำดับ ABGDE ของอักษรฟินิเชีย และลำดับ HMĦLQ ของอักษรทางใต้ อักษรยูการิติกใช้ทั้ง 2 แบบ ชื่อของอักษรมักใช้ตามอักษรฟินิเชีย ทั้งอักษรซามาริทัน อักษรอราเมอิก อักษรซีเรียค อักษรฮีบรูและอักษรกรีก แต่ต่างไปในอักษรอาหรับและอักษรละติน แต่ไม่มีการใช้ชื่ออักษรในอักษรพราหมีและอักษรรูนิก.

78 ความสัมพันธ์: Aบีตาพาย (อักษรกรีก)มิว (อักษรกรีก)อักษรฟินิเชียอักษรพราหมีอักษรกรีกอักษรยูการิติกอักษรรูนอักษรละตินอักษรอาหรับอักษรฮีบรูอักษรซามาริทันอักษรซีรีแอกอักษรแอราเมอิกอิปไซลอนอีตาทีตาคอปปาซิกมาซีตานิวแกมมาแลมดาแอลฟาแคปปาแซมไพโรโอไมครอนไอโอตาไฮเออโรกลีฟอียิปต์ไซ (อักษรกรีก)เวาเอปไซลอนเทา (อักษรกรีก)เดลตาBCDEFGHIKLMNѲO...ҀPQRSTVYZКПОАНРТУШМИЗБВГДЄЕЛ ขยายดัชนี (28 มากกว่า) »

A

A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษรและสระตัวแรกในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา รูปพหูพจน์เขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้โดยวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ก็มีการเติมเครื่องหมายและถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบเพื่อการนำไปใช้เป็นอักขรวิธีในภาษาหนึ่ง.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและA · ดูเพิ่มเติม »

บีตา

ีตา (beta) หรือ วีตา (βήτα, ตัวใหญ่ Β, ตัวเล็ก β หรือ ϐ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 2 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 2 สำหรับอักษรรูปนี้ ϐ จะถูกใช้เมื่อบีตาตัวเล็กเป็นอักษรที่ไม่ได้อยู่ต้นคำ ซึ่งถูกนำไปใช้ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ การเงิน วิศวกรรม โดยถ้าตัวบีตาไปอยู่ในหนังสือหรือบทความวิชาใด ความหมายของบีตาก็จะเปลี่ยนไป เช่น ถ้าในวิชาฟิสิกส์ บีตาในที่นี้อาจหมายถึงสัดส่วนระหว่าง plasma pressure ต่อ magnetic pressure.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและบีตา · ดูเพิ่มเติม »

พาย (อักษรกรีก)

(pi) หรือ ปี (πι, ตัวใหญ่ Π, ตัวเล็ก π) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 16 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 80 อักษรพายตัวเล็กยังมีอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า โพเมกา (pomega, ϖ) ซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนอักษรนี้ด้วยลายมือ ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางเทคนิค ปัจจุบัน พายใช้แทนค่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมกับเส้นรอบวงหรือมีค่าประมาณ 3.14 หรือเศษ 22 ส่วน 7 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและพาย (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

มิว (อักษรกรีก)

มิว (mu) หรือ มี (μι; ตัวใหญ่ Μ, ตัวเล็ก μ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 12 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 40.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและมิว (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอักษรฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพราหมี

อักษรพราหมี อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) เป็นต้นกำเนิดของอักษรในอินเดียมากมาย รวมทั้งอักษรเขมรและอักษรทิเบตด้วย พบในอินเดียเมื่อราว..

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรยูการิติก

อักษรยูการิติก อักษรยูการิติก ตั้งชื่อตามนครรัฐยูการิตซึ่งใช้อักษรนี้ คาดว่าน่าจะประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 857 ปี ก่อนพุทธศักราช นครรัฐนี้ปรากฏขึ้นเมื่อ 857 ปี ก่อนพุทธศักราช ถูกทำลายลงเมื่อราว 637 – 627 ปี ก่อนพุทธศักราช การค้นพบนครรัฐนี้ เริ่มเมื่อ..

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอักษรยูการิติก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรูน

รึกอักษรฟูทาร์กใหม่บน Vaksala Runestone อักษรรูน หรือ อักษรรูนิก ในภาษาพื้นเมืองเรียกฟูทาร์ก ซึ่งหมายถึงตัวอักษร ข้อความ หรือจารึก ในภาษาเยอรมันเก่าหมายถึง ประหลาดหรือความลับ อักษรนี้มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของอักษรรูน ได้แก่ อักษรนี้ถูกออกแบบโดยอิสระ ไม่ขึ้นกับอักษรอื่น การเขียนเริ่มขึ้นในยุโรปใต้และถูกนำไปทางเหนือโดยเผ่าเยอรมัน เป็นแบบให้อักษรละตินและอักษรอีทรัสคัน จารึกอักษรรูนที่เก่าที่สุดพบราว..

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอักษรรูน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮีบรู

อรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขียนโดย Elijah Levita อักษรฮีบรูเป็นอักษรตระกูลเซมิติกไร้สระชนิดหนึ่ง ใช้ในการเขียนงานในภาษาฮีบรู ในยุคแรกๆอักษรฮีบรูโบราณพัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ, เมม, นุน, ฟี และซาดดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยตัว อะเลฟ, วาว และโยด/ยุด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาต.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอักษรฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซามาริทัน

ตัวอย่างเอกสารเขียนด้วยอักษรซามาริทัน อักษรซามาริทัน พัฒนามาจากอักษรฮีบรูโบราณโดยชาวซามาริทัน ซึ่งตามคัมภีร์ไบเบิล อพยพจากเมโสโปเตเมียมาสู่ปาเลสไตน์ในช่วง 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และพัฒนาวัฒนธรรมและศาสนายิวขึ้น อักษรนี้ยังคงใช้โดยชาวซามาริทันกลุ่มเล็กๆ ในเมืองนาบลัสและในจตุรัสของโฮโลน.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอักษรซามาริทัน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีรีแอก

หนังสือเขียนด้วยอักษรซีรีแอก อักษรซีรีแอก (Syriac script) เป็นอักษรที่ใช้ในวรรณคดีทางศาสนาของชาวคริสต์ในซีเรีย ราว..

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอักษรซีรีแอก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรแอราเมอิก

อักษรแอราเมอิก (Aramaic alphabet) พัฒนาขึ้นในช่วง 1,000 - 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเข้ามาแทนที่อักษรรูปลิ่มของอัสซีเรียซึ่งเป็นระบบการเขียนหลักของจักรวรรดิอัสซีเรีย อักษรนี้เป็นต้นกำแนิดของอักษรตระกูลเซมิติกอื่น ๆ และอาจเป็นต้นกำเนิดของอักษรขโรษฐี ที่ใช้ในแถบเอเชียกลางแถบแคว้นคันธาระและพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช อักษรแอราเมอิกยุคแรกเริ่มถูกแทนที่ด้วยอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยม ที่รู้จักต่อมาในชื่ออักษรแอราเมอิก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอักษรแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

อิปไซลอน

อิปไซลอน (upsilon) หรือ อิปซีลอน (ύψιλον, ตัวใหญ่ Υ หรือ ϒ, ตัวเล็ก υ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 20 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 400 สำหรับอักษรรูปนี้ ϒ จะถูกใช้เมื่อต้องการแยกแยะความแตกต่างออกจากอักษรละติน Y หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอิปไซลอน · ดูเพิ่มเติม »

อีตา

อีตา (eta; าτα, ตัวใหญ่ Η, ตัวเล็ก η) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 7 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 8 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและอีตา · ดูเพิ่มเติม »

ทีตา

ทีตา หรือ เทตา (theta,; θήτα, ตัวใหญ่ Θ, ตัวเล็ก θ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 8 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 9 ปัจจุบันใช้แทนค่ามุมใด ๆ ในทางคณิตศาสตร์ หรือ แทนมุมหักเห มุมตกกระทบ และมุมสะท้อนของแสงในทางวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและทีตา · ดูเพิ่มเติม »

คอปปา

อปปาแบบตัวเลข คอปปา (koppa, qoppa) หรือ โกปา (κόππα, ตัวใหญ่ Ϙ, ตัวเล็ก ϙ) เป็นอักษรกรีกที่เคยใช้ในเลขกรีกโดยมีค่าเท่ากับ 90 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว อักษรคอปปามีสองรูปแบบคือ "คอปปาแบบโบราณ" (Ϙ, ϙ) ใช้ในการเขียนหนังสือ และ "คอปปาแบบตัวเลข" (Ϟ, ϟ) ใช้แทนตัวเลขและการอ้างอิงเอกสาร.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและคอปปา · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมา

ซิกมา (sigma, σίγμα, ตัวใหญ่ Σ, ตัวเล็ก σ หรือ ς) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 18 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 200 สำหรับอักษรรูปนี้ ς จะใช้เมื่อซิกมาตัวเล็กเป็นอักษรตัวสุดท้ายของคำเท่านั้น ปัจจุบันมีความหมายในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ว่า "ผลรวมใด ๆ" หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและซิกมา · ดูเพิ่มเติม »

ซีตา

ซีตา (zeta; ζήτα, ตัวใหญ่ Ζ, ตัวเล็ก ζ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 6 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 7.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและซีตา · ดูเพิ่มเติม »

นิว

นิว (nu) หรือ นี (νι, ตัวใหญ่ Ν, ตัวเล็ก ν) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 13 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 50 ν ในสมการ -ฟิสิกส์ แทนความถี่คลื่น หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและนิว · ดูเพิ่มเติม »

แกมมา

แกมมา (gamma) หรือ กามา (γάμμα, γάμα, ตัวใหญ่ Γ, ตัวเล็ก γ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 3 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 3.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและแกมมา · ดูเพิ่มเติม »

แลมดา

แลมบ์ดา (lambda) หรือ ลัมดา (λάμδα, ตัวใหญ่ Λ, ตัวเล็ก λ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 11 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 30 λ ในสมการต่างๆ -ฟิสิกส์ แทนความยาวคลื่น.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและแลมดา · ดูเพิ่มเติม »

แอลฟา

แอลฟา (alpha) หรือ อัลฟา (άλφα, ตัวใหญ่ Α, ตัวเล็ก α) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 1 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 1.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและแอลฟา · ดูเพิ่มเติม »

แคปปา

แคปปาอีกแบบหนึ่ง แคปปา (kappa) หรือ กาปา (κάππα, κάπα, ตัวใหญ่ Κ, ตัวเล็ก κ หรือ ϰ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 10 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 20.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและแคปปา · ดูเพิ่มเติม »

แซมไพ

แซมไพแบบตัวเลข แซมไพ, ไดซิกมา (sampi, disigma) หรือ ซัมปี (σαμπί, ตัวใหญ่ Ͳ, ตัวเล็ก ͳ) เป็นอักษรกรีกที่เคยใช้ในเลขกรีกโดยมีค่าเท่ากับ 900 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว อักษรแซมไพมีสองรูปแบบคือ "แซมไพแบบโบราณ" (Ͳ, ͳ) ใช้ในการเขียนหนังสือ และ "แซมไพแบบตัวเลข" (Ϡ, ϡ) ใช้แทนตัวเลขและการอ้างอิงเอกสาร ความหมายตามตัวอักษรแปลว่า "เหมือนพาย" สำหรับชื่ออื่นของอักษรนี้คือ ไดซิกมา เนื่องจากใช้แทนหน่วยเสียง หรือ.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและแซมไพ · ดูเพิ่มเติม »

โร

โร (rho; ρω, ρο, ตัวใหญ่ Ρ, ตัวเล็ก ρ หรือ ϱ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 17 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 100 สำหรับอักษรรูปนี้ ϱ จะถูกใช้เมื่อต้องการแยกแยะความแตกต่างออกจากอักษรละติน p รโร.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและโร · ดูเพิ่มเติม »

โอไมครอน

โอไมครอน, ออมิครอน (omicron) หรือ โอมีกรอน (όμικρον, ตัวใหญ่ Ο, ตัวเล็ก ο) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 15 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 70 ความหมายตามตัวอักษรแปลว่า โอเล็ก (มิครอน แปลว่า เล็ก ซึ่งตรงข้ามกับโอเมกาหรือโอใหญ่) เสียงของโอไมครอนในภาษากรีก คล้ายกับเสียงสระออในภาษาไทย อักษรโอไมครอนตัวใหญ่ถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ของสัญกรณ์โอใหญ่ (Big O notation) อโอไมครอน.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและโอไมครอน · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอตา

ไอโอตา (iota) หรือ โยตา (ιώτα, γιώτα, ตัวใหญ่ Ι, ตัวเล็ก ι) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 9 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 10 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและไอโอตา · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

ออโรกลีฟอียิปต์ (Egyptian hieroglyphs) เป็นระบบการเขียนที่ชาวอียิปต์โบราณใช้อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยอักษร (alphabet) และสัญรูป (logograph) อักขระในระบบไฮเออโรกลีฟอียิปต์นี้ยังสัมพันธ์กับอักขระอียิปต์อีก 2 ชุด คือ อักขระไฮเออแรติก (hieratic) และอักขระดีมอติก (demotic) ไฮเออโรกลีฟอียิปต์แบบหวัดนั้นมักใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนาลงบนแผ่นไม้และแผ่นพาไพรัส ไฮเออโรกลีฟอียิปต์ยุคแรกย้อนหลังไปได้ไกลถึง 3,300 ปีก่อน..

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและไฮเออโรกลีฟอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไซ (อักษรกรีก)

ไซ, คไซ (xi) หรือ กซี (ξι, ตัวใหญ่ Ξ, ตัวเล็ก ξ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 14 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 60 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและไซ (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

เวา

วา, ไดแกมมา (wau, fau, digamma) หรือ วัฟ, ดีกามา (βαυ, Δίγαμμα, ตัวใหญ่ Ϝ, ตัวเล็ก ϝ) เป็นอักษรกรีกที่เคยใช้ในเลขกรีกโดยมีค่าเท่ากับ 6 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและเวา · ดูเพิ่มเติม »

เอปไซลอน

อปไซลอน (epsilon) หรือ เอปซีลอน (έψιλον, ตัวใหญ่ Ε, ตัวเล็ก ε) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 5 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 5.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและเอปไซลอน · ดูเพิ่มเติม »

เทา (อักษรกรีก)

เทา (tau) หรือ ตัฟ (ταυ, ตัวใหญ่ Τ, ตัวเล็ก τ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 19 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 300 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและเทา (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

เดลตา

ลตา (delta; δέλτα, ตัวใหญ่ Δ, ตัวเล็ก δ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 4 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 4 ใช้แทนตัวอักษร d เมื่อมีการใช้งานแทนแล้ว.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและเดลตา · ดูเพิ่มเติม »

B

B (ตัวใหญ่:B ตัวเล็ก:b ออกเสียง บี) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 2 ใช้แทนเสียงพยัญชนะจากริมฝีปาก (ขึ้นกับแต่ละภาษา) มักจะเป็นเสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและB · ดูเพิ่มเติม »

C

C (ตัวใหญ่:C ตัวเล็ก:c) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 3.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและC · ดูเพิ่มเติม »

D

D (ตัวใหญ่:D ตัวเล็ก:d) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 4.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและD · ดูเพิ่มเติม »

E

E (ตัวใหญ่:E ตัวเล็ก:e) เป็นอักษรละตินตัวที่ 5.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและE · ดูเพิ่มเติม »

F

F (ตัวใหญ่:F ตัวเล็ก:f) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 6.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและF · ดูเพิ่มเติม »

G

G เป็นอักษรลำดับที่ 7 ในอักษรละติน.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและG · ดูเพิ่มเติม »

H

H (ออกเสียงว่า เอช หรือเฮช"H" Oxford English Dictionary, 2nd edition (1989); Merriam-Webster's Third New International Dictionary of the English Language, Unabridged (1993); "aitch", op. cit.) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 8 ในการออกเสียงตามสัทอักษรสากลแสดงด้วยเสียง 2 เสียง คือ แสดงเสียงในลักษณะเสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง และ แสดงเสียงในลักษณะเสียงเสียดแทรก ลิ้นปิดกล่องเสียง ไม่ก้อง.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและH · ดูเพิ่มเติม »

I

I เป็นอักษรละติน ในลำดับที่ 9.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและI · ดูเพิ่มเติม »

K

K (ตัวใหญ่:k ตัวเล็ก:k) เป็นอักษรละติน นับเป็นอักษรตัวที่ 11 ของอักษรในภาษาอังกฤษ.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและK · ดูเพิ่มเติม »

L

L (ตัวใหญ่:L ตัวเล็ก:l) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 12.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและL · ดูเพิ่มเติม »

M

M (ตัวใหญ่:M ตัวเล็ก:m) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 13.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและM · ดูเพิ่มเติม »

N

N (ตัวใหญ่:N ตัวเล็ก:n) เป็นอักษรละตินในลำดับที่ 14.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและN · ดูเพิ่มเติม »

Ѳ

Fita (Ѳ, ѳ) เป็นอักษรซีริลลิกยุคเก่าตัวหนึ่ง มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก ทีตา อักษรนี้ใช้เขียนชื่อเฉพาะที่ทับศัพท์มาจากภาษากรีกเป็นหลัก และตั้งแต่ภาษารัสเซียออกเสียงตัวอักษรนี้เป็น // แทนที่จะเป็น // เหมือนภาษากรีก เช่น คำว่า Theodore ก็อ่านเป็น Fyodor จึงมีการใช้ Ef (Ф, ф) แทนอักษร Fita ใน พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) และสำหรับกลุ่มภาษาสลาวิกอื่นๆ ซึ่งออกเสียงอักษรนี้เป็น // ก็เปลี่ยนไปใช้ Te (Т, т) ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างภาษาบัลแกเรียจะอ่านคำว่า Theodore เป็น Teodor หรือ Todor เป็นต้น อักษรนี้จึงไม่มีที่ใช้ไปโดยปริยาย อักษร Fita มีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 9 และอย่าสับสนกับอักษร Oe (Ө, ө) ที่มีลักษณะคล้ายกัน (มีใช้ในภาษาคาซัค ภาษาตูวา และภาษามองโกเลีย) และบางครั้งขีดตรงกลางก็ถูกเขียนให้เป็นหยัก เป็นคลื่น หรือขีดให้เกินวงกลมออกมา ดังที่ปรากฏในฟอนต์บางตัว เพื่อให้เกิดความแตกต่างกับอักษรดังกล่าว.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและѲ · ดูเพิ่มเติม »

O

O (ตัวใหญ่:O ตัวเล็ก:o) เป็นอักษรละติน ในลำดับที่ 15 โดยชื่อเรียกคือ "โอ".

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและO · ดูเพิ่มเติม »

Ҁ

Koppa (Ҁ, ҁ) เป็นอักษรซีริลลิกยุคเก่าตัวหนึ่ง มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก คอปปา (Ϙ, ϙ) อักษรตัวนี้ไม่มีใช้แล้วในกลุ่มภาษาสลาวิก และไม่ได้ใช้แทนเสียงใดๆ เพียงแต่เป็นอักษรที่ใช้แทนเลขซีริลลิกที่มีค่าเท่ากับ 90 แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปใช้ Ч ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกันและไม่มีค่าของเลขซีริลลิกตั้งแต่แรก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและҀ · ดูเพิ่มเติม »

P

P (ตัวใหญ่: P ตัวเล็ก: p) เป็นอักษรละติyyน ลำดับที่ 16.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและP · ดูเพิ่มเติม »

Q

Q (ตัวใหญ่:Q ตัวเล็ก:q) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 17.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและQ · ดูเพิ่มเติม »

R

R (อาร์) เป็นอักษรละติน ในลำดับที่ 18 ในอักษรละติน.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและR · ดูเพิ่มเติม »

S

S (ตัวใหญ่: S ตัวเล็ก: s) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 19.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและS · ดูเพิ่มเติม »

T

T (ตัวใหญ่:T ตัวเล็ก:t) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 20.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและT · ดูเพิ่มเติม »

V

V (ตัวใหญ่:V ตัวเล็ก:v) เป็นอักษรละติน ตัวที่ 22.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและV · ดูเพิ่มเติม »

Y

Y (ตัวใหญ่:Y ตัวเล็ก:y) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 25.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและY · ดูเพิ่มเติม »

Z

Z (ตัวใหญ่:Z ตัวเล็ก:z) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 26 และเป็นลำดับสุดท้.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและZ · ดูเพิ่มเติม »

К

Ka (К, к) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก มีลักษณะคล้ายอักษรละติน K ไม่ว่าจะเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ แตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่เส้นขวาบน จะเป็นจะงอยเหมือนวงเล็บปีกกาเปิด.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและК · ดูเพิ่มเติม »

П

Pe (П, п) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียงพยัญชนะ // เหมือน ป ในภาษาไทย เว้นแต่เมื่ออยู่หน้าสระที่ออกเสียงเลื่อนขึ้นไปเพดานแข็ง อักษรนี้จะออกเสียงเป็น // อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก พาย มีชื่อเดิมว่า pokoi และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 100 ลักษณะของ П มีรูปร่างคล้ายกับสี่เหลี่ยมที่ไม่มีขีดด้านล่าง และอย่าสับสนกับ El (Л, л) ที่เส้นทางด้านซ้ายโค้งงอ อักษรตัวนี้มีรูปร่างเหมือนกับ พาย อย่างมาก ทั้งตัวเล็กและตัวใหญ.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและП · ดูเพิ่มเติม »

О

O หรือ On (О, о) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียงสระ // (โอ) หลังพยัญชนะเสียงหนัก หรือเสียง // (อะ) เมื่อมีการลดเสียงสระในภาษารัสเซีย อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก โอไมครอน มีชื่อเดิมคือ onǔ ซึ่งมีความหมายว่า "เขา" หรือ "สิ่งนั้น" ในภาษาเชิร์ชสลาโวนิกยุคเก่า แต่ไม่มีค่าของเลขซีริลลิก.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและО · ดูเพิ่มเติม »

А

อา (А, а) เป็นอักษรตัวแรกในอักษรซีริลลิก มีพัฒนาการโดยตรงมาจากอักษรกรีก แอลฟา ในอักษรซีริลลิกยุคเก่า อักษรตัวนี้มีชื่อว่า azǔ และมีค่าของตัวเลขเท่ากับ 1 ในหลายๆ ภาษาที่ใช้อักษรซีริลลิก เช่น ภาษารัสเซีย ภาษาเซอร์เบีย ภาษามาซิโดเนีย และภาษาบัลแกเรีย อ่านอักษรนี้ว่า // (อา) บางครั้งอาจจะอ่านเป็น // (อา ปากกว้าง) หรือ // (เออ) ในภาษาอย่างเช่น ภาษาอิงกุช หรือ ภาษาเชอเชน ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อักษรนี้มีหลากหลายลักษณะ แต่ทุกวันนี้ถูกทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงดูเหมือนอักษรละติน A (รวมทั้งรูปแบบตัวเอนด้วย).

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและА · ดูเพิ่มเติม »

Н

En (Н, н) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียง // เหมือน n ในภาษาอังกฤษ หรือ น ในภาษาไทย แต่จะเปลี่ยนเป็น // เมื่ออักษรตัวนี้อยู่ก่อนหน้าสระที่เลื่อนเสียงไปทางเพดานแข็ง อักษรนี้มีลักษณะเหมือนกับอักษรละติน H ทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่ อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก นิว (Ν, ν) ซึ่งมีชื่อเดิมคือ našǐ และมีค่าเลขซีริลลิกเท่ากับ 50.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและН · ดูเพิ่มเติม »

Р

Er (Р, р) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก โร ซึ่งมีรูปร่างเหมือนอักษรตัวใหญ่ อีกทั้งยังเหมือนอักษรละติน P อีกด้วย อักษรนี้มีชื่อเดิมว่า rǐci และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 100 อักษรนี้ใช้แทนเสียง // เหมือน ร ในภาษาไทย (เสียงรัวลิ้น) และกลายเป็น // เมื่ออยู่หน้าสระที่ออกเสียงเลื่อนไปทางเพดานแข็ง การเขียนอักษรละติน R ซึ่งมีขีดเพิ่มขึ้นมาทางด้านล่าง เป็นการทำให้เกิดความแตกต่างกับอักษรละติน P ที่กำหนดโดยชาวโรมัน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับรูปร่างของอักษร Er.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและР · ดูเพิ่มเติม »

Т

Te (Т, т) คืออักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียง // เหมือน t ในภาษาอังกฤษ หรือ ต หรือ ท ในภาษาไทย หรือเปลี่ยนเป็น // เมื่อสะกดด้วยสระที่เลื่อนเสียงไปทางเพดานแข็ง อักษรตัวนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก เทา ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ tvr̥do และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 300.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและТ · ดูเพิ่มเติม »

У

U (У, у) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียงสระ // (อู) เมื่อสะกดตามหลังพยัญชนะเสียงหนัก เมื่อเริ่มแรกนั้น อักษรนี้เป็นรูปย่อของอักษร Uk (Ѹ, ѹ) ที่มีใช้ในภาษาสลาวิกตะวันออกยุคเก่า และมีพัฒนาการมาจากทวิอักษรของอักษรกรีก ου (โอไมครอน-อิปไซลอน) อีกทีหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดออกเสียง // เหมือนกัน และในช่วงเดียวกันนั้นก็ได้รับเอาอักษรกรีก อิปไซลอน เข้ามาใช้เป็นอักษรซีริลลิกอีกรูปหนึ่งคือ Izhitsa (Ѵ, ѵ) ทำให้เกิดความกำกวมในอักขรวิธีระหว่างอักษรทั้งสอง จึงมีการยกเลิกอักษร Izhitsa โดยการปฏิรูปอักขรวิธีใน ค.ศ. 1917-1919.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและУ · ดูเพิ่มเติม »

Ш

Sha (Ш, ш) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียงพยัญชนะ // หรือ // ซึ่งออกเสียงคล้ายกับ sh ในภาษาอังกฤษ ch ในภาษาฝรั่งเศส sch ในภาษาเยอรมัน ş ในภาษาตุรกี หรือ sz ในภาษาโปแลนด์ ส่วนกลุ่มภาษาสลาวิกที่ใช้อักษรละตินจะเขียนอักษร š แทนเสียงดังกล่าว ซึ่งนักภาษาศาสตร์ก็ใช้อักษร š สำหรับถ่ายอักษร Ш ไปเป็นอักษรละตินเช่นกัน ลักษณะตัวพิมพ์ของอักษรนี้มีรูปร่างคล้ายอักษรละติน W หรือเหมือนยิ่งกว่าโดยนำอักษร E มาวางตะแคง อักษร Ш ถูกใช้ในทางที่หลากหลาย อย่างในทางคณิตศาสตร์ Tate-Shafarevich group จะใช้สัญลักษณ์เป็น Ш ซึ่งแนะนำให้ใช้เป็นครั้งแรกโดย เจ. ดับบลิว. เอส. แคสเซลส์ (ก่อนหน้านั้นใช้สัญลักษณ์ TS ซึ่งไม่ได้มีความหมายอะไรพิเศษ) และในอีกทางหนึ่ง รูปแบบของกราฟที่คล้ายอักษร Ш และได้ชื่อว่า Shah function ก็เป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชัน Dirac comb สัทอักษร // เป็นการอธิบายเสียงเสียดแทรกหลังปุ่มเหงือกแบบไม่ก้อง เนื่องจากเสียงประเภทนี้เป็นสาเหตุหลักที่อักษรกลาโกลิตและอักษรซีริลลิกต้องประดิษฐ์ขึ้น เพราะเสียงเหล่านี้ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของอักษรละตินหรืออักษรกรีก โดยที่ไม่ใช้เครื่องหมายเสริมอักษรหรือทวิอักษรได้ ภาษาในกลุ่มสลาวิกจึงมีอักษรแทนเสียงเสียดแทรกและเสียงกึ่งเสียดแทรกมากมาย และอักษร Sha เองก็เป็นหนึ่งในนั้น.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและШ · ดูเพิ่มเติม »

М

Em (М, м) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียงพยัญชนะ // เหมือน m ในภาษาอังกฤษ หรือ ม ในภาษาไทย เว้นแต่ว่าเมื่ออักษรนี้อยู่ก่อนหน้าสระที่เลื่อนขึ้นไปยังเพดานแข็งจะกลายเป็น // อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก มิว (Μ, μ) ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ mūslite และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 40.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและМ · ดูเพิ่มเติม »

И

I หรือ Y (И, и) บางครั้งก็เรียกว่า Octal I เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ออกเสียงสระ // (อี) ในภาษารัสเซียและ // (อิ) ในภาษายูเครน แต่ไม่มีในภาษาเบลารุส อักษรนี้มีลักษณะคล้ายอักษรละติน N ตัวใหญ่ที่เขียนกลับข้าง อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก อีตา ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ iže และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 8 อักษร И เมื่อต้องการถ่ายอักษรจะใช้ I สำหรับภาษารัสเซีย และใช้ Y หรือ I สำหรับภาษายูเครน.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและИ · ดูเพิ่มเติม »

З

Ze (З, з) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียง // เหมือนภาษาทั่วไปที่ใช้อักษรละติน z อักษรตัวนี้มักจะทำให้สับสนได้ง่ายกับเลขอารบิก 3 และอักษร E (Э, э) ของภาษารัสเซีย อักษร Ze มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก ซีตา ชื่อดั้งเดิมของอักษรนี้คือ zemlja และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 7.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและЗ · ดูเพิ่มเติม »

Б

Be (Б, б) เป็นอักษรตัวที่ 2 ในอักษรซีริลลิก ออกเสียงเป็น // เหมือนกับ b ในภาษาอังกฤษหรือ บ ในภาษาไทย ในภาษารัสเซียบางครั้งอักษรตัวนี้อ่านเป็น // ที่ไร้เสียงที่ตำแหน่งสุดท้ายของคำหรือพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง หรืออ่านเป็น // ที่หน้าเสียงสระซึ่งเลื่อนไปทางเพดานแข็งในช่องปาก ตัวอักษรนี้มีลักษณะคล้ายเลข 6 และไม่ควรจำสับสนกับ Ve (В, в) ที่ซึ่งมีรูปร่างเหมือนอักษรละติน B อักษรทั้งสองนี้ต่างก็มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก บีตา เหมือนกัน เมื่อตัวอักษรนี้ถูกเขียนด้วยลายมือ อักษร б ตัวเล็กจะดูคล้ายกับอักษรกรีก เดลตา ตัวเล็ก (δ) ชื่อเดิมของตัวอักษรนี้คือ bukū และไม่มีค่าทางตัวเลข เนื่องจากอักษร В ได้รับการนับเลขซีริลลิกจากอักษรกรีกไปแล้ว ดังนั้นอักษร Б จึงไม่มีค่าใ.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและБ · ดูเพิ่มเติม »

В

Ve (В, в) เป็นอักษรตัวที่ 3 ในอักษรซีริลลิก อ่านได้เป็นเสียง // และมีรูปร่างเหมือนอักษรละติน B แต่ออกเสียงต่างกัน อักษรตัวนี้และ Б มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก บีตา ซึ่งมีการใช้แทนเสียง // ของภาษากรีกในเวลาใกล้เคียงกับสมัยที่อักษรซีริลลิกถูกสร้างขึ้น ชื่อเดิมของอักษรตัวนี้คือ vědě และมีค่าตัวเลขเท่ากับ 2 ในระบบเลขซีริลลิก ในภาษารัสเซีย อักษรตัวนี้ออกเสียงเหมือน // เหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นเมื่ออักษรตัวนี้ปรากฏท้ายคำจะเป็น // ที่ไร้เสียง หรืออ่านเป็น // ก่อนเสียงสระซึ่งเลื่อนไปทางเพดานแข็ง ในการออกเสียงภาษายูเครนแบบมาตรฐาน (ซึ่งมีสำเนียงโพลทาวาเป็นฐาน) อักษร В จะออกเสียงเป็น // ในภาษาอังกฤษ (เหมือนมี ว สะกด) เมื่ออยู่ที่ท้ายคำ เช่น Владислав แปลงเป็นอักษรละตินจะได้ Vladyslaw อ่านว่า วลาดีสลาว แต่สำหรับชาวยูเครนกลุ่มหนึ่ง จะออกเสียงอักษรนี้เป็น // เสมอไม่ว่าจะปรากฏอยู่ที่ใด ในภาคตะวันออกของประเทศยูเครน อักษร В อาจจะถูกอ่านเป็น // ที่ไร้เสียงให้คล้ายกับภาษารัสเซีย ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ยกตัวอย่างคำว่า сказав ภาษายูเครนมาตรฐานจะอ่านว่า skazaw สคาซาว ในขณะที่ภาคตะวันออกจะอ่านว่า skazaf สคาซาฟ ในภาษาเบลารุส อักษร В จะออกเสียงเป็น // เท่านั้น แต่เมื่ออักษรตัวนี้ไปปรากฏอยู่ท้ายคำหรือหน้าพยัญชนะอีกตัวจะเปลี่ยนรูปเป็นอักษร Ў ซึ่งเป็นอักษรที่มีใช้ในภาษานี้เท่านั้นที่แทนเสียง // ตัวอย่าง คำศัพท์ мова (mova โมวา) ที่เป็นคำนาม เมื่อเปลี่ยนรูปไปเป็นคำคุณศัพท์จะกลายเป็น моўный (mownyy โมวนืยอี) และคำนามที่เป็นพหูพจน์จะกลายเป็น моў (mow โมว).

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและВ · ดูเพิ่มเติม »

Г

Ge หรือ He (Г, г) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ออกเสียงเป็น // หรือ // ในภาษาที่แตกต่างกัน อักษรนี้มีพัฒนาการโดยตรงมาจากอักษรกรีก แกมมา และ Г ทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก จะมีรูปร่างเหมือนแกมมาตัวใหญ่ ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ glagoli และมีค่าเท่ากับ 3 ในเลขซีริลลิก ในมาตรฐานของภาษาเซอร์เบีย ภาษาบัลแกเรีย และภาษามาซิโดเนีย อักษร Г จะออกเสียงเป็น // เหมือนกับ g ของคำว่า go ในภาษาอังกฤษ หรือ ก ในภาษาไทย ในภาษารัสเซียก็อ่านเป็น // เช่นกัน ยกเว้นเมื่อปรากฏท้ายคำจะเป็น // ที่ไร้เสียง (สะกดด้วย ก) หรือออกเสียงเป็น // ก่อนเสียงสระเพดานแข็ง มีอยู่น้อยคำที่อักษรนี้ปรากฏอยู่ตรงกลางแล้วออกเสียงเป็น // เช่น ураган urakan อูราคัน หมายถึง เฮอร์ริเคน ในภาษายูเครนและภาษาเบลารุส จะเรียกอักษรนี้ว่า He ใช้แทนเสียงเสียดแทรกในลำคอ // ไม่เหมือนเสียง h ของภาษาอังกฤษ สำหรับภาษายูเครนนั้น เสียง // นั้นหาที่ใช้ได้น้อย แต่เมื่อต้องการใช้จะเปลี่ยนรูปเขียนเป็น Ge with upturn (Ґ, ґ) แทน ส่วนภาษาเบลารุส แม้อักษร Г จะมีใช้บ่อย เพื่อแทนคำที่ยืมมาจากภาษาโปแลนด์และภาษารัสเซีย แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 การใช้เสียงนี้ในภาษาก็ได้หมดความสำคัญไป การเพิ่มตัวอักษร Г ลงในภาษาเบลารุสยังคงได้รับการยอมรับเฉพาะนักภาษาศาสตร์บางท่าน แต่ยังไม่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและГ · ดูเพิ่มเติม »

Д

De (Д, д) เป็นอักษรตัวหนึ่งของอักษรซีริลลิก อักษรตัวนี้ใช้ออกเสียง // เหมือนเสียง d ในภาษาอังกฤษ หรือ ด ในภาษาไทย แต่เมื่อไปปรากฏเป็นตัวสุดท้ายของคำจะกลายเป็น // ที่ไม่ออกเสียง และกลายเป็น // เมื่ออยู่ก่อนหน้าเสียงสระเพดานแข็ง อักษร Д มีพัฒนาการโดยตรงมาจากอักษรกรีก เดลตา ลักษณะแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากเดลตาคืออักษรนี้มี "เท้า" อยู่ที่มุมด้านล่าง อย่างไรก็ตาม อักษรตัวนี้สามารถเขียนได้สองรูปแบบคือ ยอดด้านบนที่ตัดเป็นเหลี่ยม หรือยอดมุมแหลมเหมือนเดลตา สำหรับอักษร El (Л, л) ก็เขียนในลักษณะนี้เช่นกัน อักษรนี้มีชื่อเดิมว่า dobro และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 4.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและД · ดูเพิ่มเติม »

Є

Ye (Є, є) คืออักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้เฉพาะในภาษายูเครน เพื่อออกเสียงสระ // (เย) ให้เหมือนกับ Ye (Е, е) ในภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย อักษรนี้เป็นรูปดั้งเดิมที่คล้ายกับอักษร Ye ในสมัยโบราณ ไม่ควรสับสนระหว่างตัวอักษร Є กับเครื่องหมายสกุลเงินยูโร € ซึ่งมีสองขีดตรงกลาง.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและЄ · ดูเพิ่มเติม »

Е

Ye หรือ E (Е, е) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก มีรูปร่างลักษณะเหมือนอักษรละติน E มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก เอปไซลอน ชื่อเดิมของตัวอักษรนี้คือ estǐ และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 5 ในภาษาบัลแกเรีย ภาษามาซิโดเนีย ภาษาเซอร์เบีย และภาษายูเครน จะเรียกอักษรนี้ว่า "E" และใช้แทนเสียง // หรือ // (เอ หรือ แอ) ส่วนภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย จะเรียกตัวอักษรนี้ว่า "Ye" และใช้แทนเสียงสระที่เลื่อนขึ้นไปทางเพดานแข็ง โดยอ่านเป็น /, / หรือ /, / (เย หรือ แย) ให้ควบเสียงเข้ากับพยัญชนะที่อยู่ข้างหน้า แต่เสียงที่เปล่งออกมานั้นไม่ค่อยมีความแตกต่างจาก "E" มากนัก สำหรับภาษายูเครน เมื่อต้องการอ่านเสียงให้เป็น "Ye" จะเปลี่ยนไปใช้ Є แทน.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและЕ · ดูเพิ่มเติม »

Л

El (Л, л) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก แลมบ์ดา ใช้แทนเสียงพยัญชนะ // เหมือน l ในภาษาอังกฤษ หรือ ล ในภาษาไทย หรือเปลี่ยนเป็น // เมื่ออยู่หน้าสระที่ออกเสียงเลื่อนไปทางเพดานแข็ง อักษรตัวนี้มีชื่อเดิมคือ ljudije และมีค่าเท่ากับ 30 ในเลขซีริลลิก อักษร Л ในรูปแบบตัวพิมพ์ มีรูปร่างคล้าย "หมวก" ที่มีเส้นโค้งด้านซ้ายและเส้นตรงด้านขวา และไม่ควรจำสับสนกับอักษร Pe (П, п) ซึ่งเป็นเส้นตรงทั้งสองด้าน.

ใหม่!!: อักษรตระกูลเซมิติกและЛ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »