โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อะเลคซันดร์ พุชกิน

ดัชนี อะเลคซันดร์ พุชกิน

อะเลคซันดร์ เซียร์เกเยวิช พุชกิน (a) เป็นกวีชาวรัสเซียในยุคโรแมนติกBasker, Michael.

9 ความสัมพันธ์: มอสโกวรรณกรรมแบบสัจนิยมวีรคติศิลปะจินตนิยมจักรวรรดิรัสเซียประเทศรัสเซียนาฏกรรมเทพนิยายเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: อะเลคซันดร์ พุชกินและมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมแบบสัจนิยม

วรรณกรรมแบบสัจนิยม (Literary realism) หรือ แนวเสมือนจริง คือคำศัพท์ทางด้านวรรณกรรม ที่หมายถึงวรรณกรรมแนวที่พยายามให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับชีวิตจริง สมเหตุสมผล โดยอาศัยการบรรยายให้เห็นภาพแจ่มชัด เหตุการณ์น่าเชื่อถือ ตัวละครมีแรงจูงใจ เช่น งานเขียนของ ชาร์ลส์ ดิคเก้นส์ หมวดหมู่:คริสต์ศตวรรษที่ 19 หมวดหมู่:ประเภทวรรณกรรม.

ใหม่!!: อะเลคซันดร์ พุชกินและวรรณกรรมแบบสัจนิยม · ดูเพิ่มเติม »

วีรคติ

วีรคติ หรือ โรมานซ์ (romance) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อะเลคซันดร์ พุชกินและวีรคติ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะจินตนิยม

''Wanderer above the Sea of Fog'' ภาพวาดของ แคสเปอร์ เดวิด ฟรีดดริก ในปี 1818 ศิลปะจินตนิยม (Romanticism) เริ่มต้นขึ้นในช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในยุโรปตะวันตก เป็นการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดทางปรัชญา วรรณกรรม และศิลปกรรม อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป กำเนิดของศิลปะจินตนิยมมีส่วนมาจากการต่อต้านแนวคิดทางสังคมและการเมืองแบบเก่าของยุคแสงสว่าง รวมถึงปฏิกิริยาต่อต้านการศึกษาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมากแนวคิดของศิลปะในยุคนี้จะสะท้อนออกมาในงานศิลปะแบบภาพวาด ดนตรี และวรรณกรรม ตัวอย่างศิลปินผู้มีชื่อเสียงในยุคจินตนิยม ได้แก่ ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน, เฟรเดริก ชอแป็ง, วิลเลียม เบลก เป็นต้น.

ใหม่!!: อะเลคซันดร์ พุชกินและศิลปะจินตนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: อะเลคซันดร์ พุชกินและจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: อะเลคซันดร์ พุชกินและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

นาฏกรรม

นาฏกรรม (drama) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่เน้นในด้านการแสดง คำว่า "drama" มาจากคำในภาษากรีกว่า "δράμα" แปลว่า "การกระทำ".

ใหม่!!: อะเลคซันดร์ พุชกินและนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เทพนิยาย

วาดของกุสตาฟ ดอเร เกี่ยวกับเทพนิยายเรื่อง หนูน้อยหมวกแดง เทพนิยาย (Fairy tale) หมายถึงงานประพันธ์ที่มีตัวละครจากความเชื่อพื้นบ้าน (เช่น ภูต ยักษ์ คนแคระ แม่มด สัตว์พูดได้) กับเรื่องของเวทมนตร์ และเหตุการณ์ที่ดำเนินไปเกินคาดคิด ในยุคสมัยใหม่มักใช้คำนี้ในความหมายถึงเรื่องราวที่มีมนต์เสน่ห์กับความสุขอย่างพิเศษ เช่นในคำว่า "จบแบบเทพนิยาย" (หมายถึง "จบอย่างมีความสุข") แม้ว่าในความจริงแล้ว เทพนิยายไม่ได้จบอย่างมีความสุขเสมอไปทุกเรื่อง นอกจากนี้ คำว่า "เทพนิยาย" ยังอาจใช้ในความหมายว่า เรื่องเหลือเชื่อที่เกินจะเป็นความจริงได้ ในวัฒนธรรมที่เชื่อกันว่าปีศาจกับเหล่าแม่มดมีตัวตนจริง ผู้เล่าเรื่องจะเอ่ยถึงเรื่องราวเหมือนกับว่าเป็นประวัติศาสตร์จริงๆ ที่เคยเกิดขึ้นนานมาแล้ว บางครั้ง เทพนิยาย ก็หมายรวมถึง ตำนาน ด้วย อย่างไรก็ดี ส่วนที่ไม่เหมือน ตำนาน หรือ มหากาพย์ ก็คือ เทพนิยายจะไม่อ้างอิงถึงสิ่งที่มีจริงในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา สถานที่ บุคคล หรือเหตุการณ์ใดๆ เหตุการณ์ในเทพนิยายเกิดขึ้นเมื่อ "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว" ที่ไม่สามารถระบุเวลาอย่างแน่ชัดได้ เป็นการยากที่จะสืบหาประวัติความเป็นมาของเทพนิยาย เพราะสิ่งที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันมีแต่เพียงงานเขียนที่เป็นเอกสารเท่านั้น แต่นักเล่านิทานได้สืบทอดเรื่องราวกันมานานหลายศตวรรษแล้ว ซึ่งเทพนิยายอาจเกิดขึ้นมานานพอๆ กัน แม้ในช่วงนั้นยังไม่สามารถแยกประเภทได้ชัดเจน คำว่า "เทพนิยาย" บัญญัติขึ้นใช้สำหรับวรรณกรรมประเภทนี้เป็นครั้งแรกโดยมาดามดัลนอย (Madame d'Aulnoy) ปัจจุบันยังคงมีการประพันธ์เทพนิยายและเรื่องราวที่สืบเนื่องจากเทพนิยายอยู่เสมอ เทพนิยายในยุคก่อนประพันธ์ขึ้นสำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่พอๆ กับเด็ก มีลักษณะใกล้เคียงกับงานประพันธ์แบบ précieuses ในวรรณกรรมฝรั่งเศส พี่น้องตระกูลกริมม์เรียกผลงานของพวกเขาว่าเป็น นิทานสำหรับเด็กและครอบครัว เมื่อเวลาผ่านไป เทพนิยายก็มีความเกี่ยวพันกับเด็กมากขึ้นเรื่อยๆ ในการศึกษาวรรณกรรมประเภทนิทานพื้นบ้าน มีการแบ่งประเภทเทพนิยายหลายวิธี ระบบที่น่าสนใจได้แก่ระบบการจัดประเภทของอาร์นี-ทอมป์สัน (Aarne-Thompson) และการวิเคราะห์ของ วลาดิเมียร์ พร็อพพ์ การศึกษาเทพนิยายในแบบอื่นนิยมการแปลความหมายของจุดสำคัญในนิยาย แต่ไม่มีโรงเรียนแห่งไหนตีความเทพนิยายแบบนั้น.

ใหม่!!: อะเลคซันดร์ พุชกินและเทพนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534) ปัจจุบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีประชากรมากกว่า 4.7 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซีย และเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก.

ใหม่!!: อะเลคซันดร์ พุชกินและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Aleksandr PushkinAlexander Pushkinอเล็กซานเดอร์ พุชกิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »