โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ออริกซ์

ดัชนี ออริกซ์

ออริกซ์ (oryx) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคู่เคี้ยวเอื้อง จำพวกแอนทิโลปหรือกาเซลล์ พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและคาบสมุทรอาหรับ มีลักษณะเด่น คือ เป็นแอนทิโลปขนาดใหญ่ และมีเขาที่บิดเป็นเกลียวยาวแหลม เห็นได้ชัดเจน มีใบหน้ารวมถึงลำตัวช่วงขาที่เป็นลายสีเส้นดำพาดผ่าน ขณะที่ตามลำตัวเป็นสีขาวหรือสีสว่าง.

15 ความสัมพันธ์: กาเซลล์ภาษากรีกวงศ์วัวและควายสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสัตว์เคี้ยวเอื้องสปีชีส์อันดับสัตว์กีบคู่คาโรลัส ลินเนียสแอนทิโลปแอนทิโลปปศุสัตว์ไบซาออริกซ์เฮอรอโดทัสเจมส์บอก

กาเซลล์

กาเซลล์ (Gazelle) เป็นสัตว์กีบคู่ขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Eudorcas อยู่ในวงศ์ Antilopinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ลักษณะโดยรวมของกาเซลล์ คือ มีความสูงที่ไหล่ราว 70-100 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 20-35 กิโลกรัม มีลักษณะปราดเปรียวว่องไว เวลาเดินหรืออยู่เฉย ๆ หางจะปัดตลอดเวลา ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัว ท้องสีขาว อาศัยอยู่เป็นฝูง พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปแอฟริกาและเอเชีย คำว่า "กาเซลล์" นั้นมาจากภาษาอาหรับคำว่า غزال‎ (ġazāl).

ใหม่!!: ออริกซ์และกาเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ออริกซ์และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์วัวและควาย

วงศ์วัวและควาย เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bovidae จัดเป็นสัตว์กินพืช ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ จะมีเขาที่ไม่มีการแตกกิ่ง ไม่มีการหลุดหรือเปลี่ยนในตลอดช่วงอายุขัย มีกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ห้องหรือ 4 ส่วน และมีการหมักย่อย โดยการหมักของกระเพาะอาหารจะอาศัยแบคทีเรียในท่อทางเดินอาหาร โดยส่วนใหญ่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ที่ 6.7+0.5 มีถุงน้ำดี นอกจากนั้นสัตว์ในตระกูลนี้สามารถสำรอก อาหารออกมาจากกระเพาะหมัก เพื่อทำการเคี้ยวใหม่ได้ ที่เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง" ลูกที่เกิดใหม่จะใช้เวลาไม่นานในการเดินและวิ่งได้ อันเนื่องจากการวิวัฒนาการเพื่อให้เอาตัวรอดจากสัตว์กินเนื้อที่เป็นผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยและผูกพันอย่างดีในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและปศุสัตว์ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ เป็นต้น สำหรับสัตว์ป่า มีการกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย ในแอฟริกาและบางส่วนของทวีปเอเชีย จะมีบางชนิดที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับกวาง (Cervidae) เช่น อิมพาลาหรือแอนทีโลป แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นสัตว์ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: ออริกซ์และวงศ์วัวและควาย · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ออริกซ์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ออริกซ์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: ออริกซ์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เคี้ยวเอื้อง

ัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Artiodactyla ซึ่งย่อยอาหารที่ประกอบด้วยพืชเป็นหลัก โดยเริ่มจากการย่อยให้นุ่มก่อนในกระเพาะอาหารส่วนแรกของสัตว์นั้น ซึ่งเป็นการกระทำของแบคทีเรียเป็นหลัก แล้วจึงสำรอกเอาอาหารที่ย่อยแล้วครึ่งหนึ่งออกมา เรียกว่า เอื้อง (cud) ค่อยเคี้ยวอีกครั้ง ขบวนการเคี้ยวเอื้องอีกครั้งเพื่อย่อยสลายสารที่มีอยู่ในพืชและกระตุ้นการย่อยอาหารนี้ เรียกว่า "การเคี้ยวเอื้อง" (ruminating) มีสัตว์เคี้ยวเอื้องอยู่ราว 150 สปีชีส์ ซึ่งมีทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคี้ยวเอื้องมีทั้งปศุสัตว์ แพะ แกะ ยีราฟ ไบซัน กวางมูส กวางเอลก์ ยัค กระบือ กวาง อูฐ อัลปากา ยามา แอนทิโลป พรองฮอร์น และนิลกาย ในทางอนุกรมวิธาน อันดับย่อย Ruminanti มีสัตว์ทุกสปีชีส์ที่กล่าวมาข้างต้น ยกเว้นอูฐ ลามาและอัลปากา ซึ่งอยู่ในอันดับย่อย Tylopoda ดังนั้น คำว่า "สัตว์เคี้ยวเอื้อง" จึงมิได้มีความหมายเหมือนกับ Ruminantia คำว่า "ruminant" มาจากภาษาละตินว่า ruminare หมายถึง "ไตร่ตรองถี่ถ้วนอีกครั้ง" (to chew over again).

ใหม่!!: ออริกซ์และสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ออริกซ์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

ใหม่!!: ออริกซ์และอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ออริกซ์และคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

แอนทิโลป

วาดของส่วนหัวและเขาของแอนทิโลปหลายชนิด แอนทิโลป (antelope) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ในหลายสกุล ในอันดับสัตว์กีบคู่ ในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) โดยทั่วไปแล้วแอนทิโลปจะมีลักษณะคล้ายกับกวางซึ่งเป็นสัตว์กีบคู่เหมือนกัน แต่อยู่ในวงศ์กวาง (Cervidae) และคำนิยามในพจนานุกรมก็มักจะระบุเช่นนั้นว่า แอนทิโลปเป็นสัตว์จำพวกเนื้อและกวางชนิดที่มีเขาเป็นเกลียว หรือบางทีก็แปลว่า ละมั่ง แต่ที่จริงแล้วแอนทิโลปมิใช่กวาง แม้จะมีรูปร่างภายนอกคล้ายคลึงกันก็ตาม แต่แอนทิโลปเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับวัวหรือควาย, แพะ หรือแกะ เนื่องจากจัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน ซึ่งลักษณะสำคัญของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ เขามีลักษณะโค้งเป็นเกลียว แต่ข้างในกลวง และมีถุงน้ำดี แอนทิโลปกระจายพันธุ์ไปในแอฟริกาและยูเรเชีย แต่ไม่พบในประเทศไทย โดยสัตว์ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นแอนทิโลปได้ในประเทศไทย ได้แก่ เลียงผา และกวางผา ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ตามภูเขาสูง พบเห็นตัวได้ยาก คำว่า แอนทิโลป ปรากฏครั้งแรกในภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1417 โดยได้รับมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า หรืออาจจะมาจากภาษากรีกคำว่า "anthos" ซึ่งหมายถึง "ดอกไม้" และ "ops" ที่หมายถึง "ตา" อาจหมายถึง "ตาสวย" หรือแปลได้ว่า "สัตว์ที่มีขนตาสวย" แต่ในระยะต่อมาในเชิงศัพทมูลวิทยาคำว่า "talopus" และ "calopus" มาจากภาษาละตินในปี ค.ศ. 1607 ใช้เป็นครั้งแรกเพื่อเรียกสัตว์จำพวกกวาง แอนทิโลปมีประมาณ 90 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา มี 30 สกุล กระจายไปในวงศ์ย่อยต่าง ๆ เช่น Alcelaphinae, Antilopinae, Hippotraginae, Reduncinae, Cephalophinae, Bovinae รวมถึงอิมพาลา บางครั้งก็ถูกเรียกว่าแอนทิโลปบ้างเหมือนกัน.

ใหม่!!: ออริกซ์และแอนทิโลป · ดูเพิ่มเติม »

แอนทิโลปปศุสัตว์

แอนทิโลปปศุสัตว์ (Grazing antelopes) เป็นแอนทิโลปที่อยู่ในวงศ์ย่อย Hippotraginae จัดเป็นแอนทิโลปขนาดใหญ่ พบได้เฉพาะในทวีปแอฟริกาและบางส่วนของคาบสมุทรอาหรับ เขามีลักษณะยาวใหญ.

ใหม่!!: ออริกซ์และแอนทิโลปปศุสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ไบซาออริกซ์

ซาออริกซ์ หรือ ออริกซ์แอฟริกาตะวันออก (Beisa oryx, East African oryx; หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ไบซา" หรือ "ออริกซ์") แอนทิโลปขนาดใหญ่จำพวกออริกซ์ มีลักษณะคล้ายกับเจมส์บอก (O. gazella) ซึ่งในอดีตเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของกันและกัน (โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryx gazella beisa) แต่ปัจจุบันได้มีการจัดให้เป็นชนิดต่างหาก โดยแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ 2 ชนิด ไบซาออริกซ์ มีลักษณะคล้ายกับเจมส์บอก มีความแตกต่างกันที่มีรูปร่างที่เล็กกว่า ปลายเขาคู่กางถ่างออกน้อยกว่าเจมส์บอก และไม่มีแถบสีดำคล้ายปานพาดเฉียงเหนือท้องทั้งสองข้าง รวมถึงแถบสีดำบริเวณใบหน้าก็มีน้อยกว่า ไบซาออริกซ์ ถือเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบได้ในเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู ในเคนยา โดยถือว่าเป็น "สัตว์ทั้ง 5 ของแซมบูรู" ร่วมกับ เจเรนุค, ยีราฟลายร่างแห, นกกระจอกเทศโซมาลี และม้าลายเกรวี แต่ปัจจุบันได้มีการนำไปขยายพันธุ์ในเขตอนุรักษ์เอกชนสวีตวอเตอร์ที่อยู่ใกล้เคียงกันด้ว.

ใหม่!!: ออริกซ์และไบซาออริกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮอรอโดทัส

รูปแกะสลักเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส (Herodotos หรือ Herodotus – ประมาณ พ.ศ. 58-118) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้บันทึกสงครามเปอร์เซีย ผู้เริ่มต้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก เกิดที่เมืองฮาลิคาร์นาสซัส ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย เฮอโรโดทัสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลาง และยังได้เดินทางลงใต้ไปอียิปต์ถึงเมืองเอเลแฟนทีน (อัสวานในปัจจุบัน) Oikumene) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล โดยจำลองจากบันทึกของเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส เคยอาศัยอยู่ที่กรุงเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับโสโฟเคิลส์ (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับอาณานิคมกรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี..

ใหม่!!: ออริกซ์และเฮอรอโดทัส · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์บอก

มส์บอก หรือ เจมส์บัก (gemsbok, gemsbuck) เป็นแอนทิโลปจำพวกออริกซ์ชนิดหนึ่ง จัดเป็นแอนทิโลปขนาดใหญ่ มีรูปร่างกำยำล่ำสัน ดูมีพละกำลัง โดยที่ชื่อ "เจมส์บอก" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาแอฟริคานส์คำว่า gemsbok ซึ่งมาจากภาษาดัตช์ที่หมายถึงชื่อของชามอยส์ตัวผู้ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกัน (โดยเฉพาะรูปแบบใบหน้า) แต่ทั้งนี้ชามอยส์และออริกซ์เป็นสัตว์ที่ไม่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยออกเสียงตามปกติในภาษาอังกฤษว่า ในอดีตเคยถูกจัดให้มีอีกหนึ่งชนิดย่อย คือ ไบซาออริกซ์ หรือออริกซ์แอฟริกาตะวันออก (O. beisa) แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาเป็นชนิดต่างหาก ตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 170–210 กิโลกรัม ตัวเมีย 140–185 กิโลกรัม ความสูงจากปลายกีบเท้าจรดหัวไหล่ 1.2 เมตร ความยาวลำตัว 2 เมตร ความยาวหาง 85 เซนติเมตร อายุโดยเฉลี่ย 12–15 ปี มีลักษณะเด่น คือ ปลายเขาที่แหลมยาวนั้นเป็นคู่ถ่างกางออก และมีแถบสีดำคล้ายปานขนาดใหญ่ที่บั้นท้ายลำตัวและที่โคนขาทั้งหน้าและหลัง และยังมีแผ่นหนังสีดำยาวใหญ่พาดเฉียงอยู่เหนือท้องทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นความแตกไปจากไบซาออริกซ์ อีกทั้งลำตัวก็บึกบึนกว่า และยังมีแถบสีดำครอบคลุมบริเวณใบหน้ามากกว่า เจมส์บอกพบได้ทั่วไปในตอนใต้ของแอฟริกา เช่น แอฟริกาใต้, นามิเบีย, บอทสวานา มักอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งหญ้าแห้งแล้ง เช่น พื้นที่กึ่งทะเลทรายและทะเลทราย เช่น ทะเลทรายนามิบ, ทะเลทรายคาลาฮารี พบเป็นจำนวนมากในอุทยานแห่งชาติอีโตซา และอุทยานแห่งชาตินามิบ-นูคลัฟต์ ในนามิเบีย ซึ่งที่นี่เจมส์บอกได้ปรากฎอยู่ในตราแผ่นดินของนามิเบีย ด้วยเป็นสัตว์ที่มีปริมาณมากถึง 373,000 ตัว โดยในธรรมชาติจะตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่า เช่น สิงโต, ไฮยีนา และหมาป่าแอฟริก.

ใหม่!!: ออริกซ์และเจมส์บอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Oryxโอริกซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »