โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ห้าเผ่าอารยะ

ดัชนี ห้าเผ่าอารยะ

ตัวแทนของชาวอเมริกันอินเดียนห้าเผ่าที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1775 ถึงปี ค.ศ. 1850 ชนเผ่าผู้มีวัฒนธรรมทั้งห้า (Five Civilized Tribes) หมายถึงกลุ่มชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาห้ากลุ่มที่รวมทั้ง: เชอโรคี, ชิคาซอว์, ชอคทอว์, มัสคีกี (ครีค) และ เซมินโอเล (Seminole) ที่ผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เป็นชาวผิวขาวในสหรัฐอเมริกาในสมัยนั้นถือว่าเป็นเผ่าที่มีวัฒนธรรมเพราะกลุ่มชนเหล่านี้ยอมรับและผสานวัฒนธรรมและความก้าวหน้าของผู้เข้ามาสร้างอาณานิคม และมีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้าน กระบวนการในการพยายามเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของกลุ่มชนพื้นเมืองเป็นนโยบายที่เสนอโดยจอร์จ วอชิงตัน และ เฮนรี น็อกซ์ผู้มีความเห็นว่าระบบด้านการสังคมของกลุ่มชนพื้นเมืองเป็นระบบที่ต่ำกว่าของชาวยุโรปผิวขาว เชอโรคีและชอคทอว์ถือว่าเป็นกลุ่มที่ได้รับความสำเร็จที่สุดในการรับวัฒนธรรมยุโรป-อเมริกัน กลุ่มชนพื้นเมืองทั้งห้าตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐก่อนที่จะถูกโยกย้ายไปส่วนต่างๆ ของประเทศโดยเฉพาะในบริเวณที่ต่อมาเป็นรัฐโอคลาโฮมา กลุ่มชนทั้งห้าเผ่านี้ถูกโยกย้ายจากที่ตั้งถิ่นฐานทางตะวันออกของแม่น้ำมิสซิสซิปปีระหว่างช่วงการอพยพเป็นเวลาหลายสิบปีที่ได้รับการอนุมัติตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวอเมริกันอินเดียนไปยังเขตสงวนอินเดียนที่ปัจจุบันคือทางตะวันออกของรัฐโอคลาโฮมา การโยกย้ายที่มีชื่อเสียงที่สุดคือการโยกย้ายบนเส้นทางธารน้ำตาของเชอโรคี (Cherokee removal) ในปี..

16 ความสัมพันธ์: ชอคทอว์ชิคาซอว์กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐมัสคีกี (ครีค)มาร์ติน แวน บิวเรนรัฐบัญญัติว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวอเมริกันอินเดียนรัฐโอคลาโฮมาวัฒนธรรมสมาพันธรัฐอเมริกาสหรัฐสงครามกลางเมืองอเมริกาจอร์จ วอชิงตันแม่น้ำมิสซิสซิปปีเชอโรคีเส้นทางธารน้ำตาเขตสงวนอินเดียน

ชอคทอว์

อคทอว์ (Choctaw) หมายถึงกลุ่มชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้สหรัฐอเมริกาในรัฐโอคลาโฮมา, แคลิฟอร์เนีย, มิสซิสซิปปี, ลุยเซียนา, เทกซัส และ แอละแบมา ชอคทอว์จัดอยู่ในกลุ่มภาษามัสคีกิน (Muskogean languages) คำว่า “Choctaw” (หรือสะกด: “Chahta” “Chactas” “Chato” “Tchakta” and “Chocktaw”) แผลงมาจากคำในภาษาคาสตีลว่า “Chato” ที่แปลว่า “ราบ” แต่นักโบราณคดีจอห์น สวอนทันให้ความเห็นว่าเป็นคำที่มาจากชื่อผู้นำของชอคทอว์เอง ส่วนนักประวัติศาสตร์เฮนรี ฮาลเบิร์ตให้ความเห็นว่าเป็นคำที่มาจากวลีชอคทอว์ “Hacha hatak” (ชนแห่งลุ่มน้ำ) ชอคทอว์เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมมิสซิสซิปปี ที่มีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่น้ำมิสซิสซิปปี ที่นักสำรวจชาวสเปนได้มีโอกาสได้พบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชอคทอว์ก็ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน “ชนเผ่าผู้มีวัฒนธรรมทั้งห้า” (Five Civilized Tribes) เพราะชอคทอว์ยอมรับและผสานวัฒนธรรมและความก้าวหน้าของผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาณานิคมชาวอเมริกันยุโรป ชาติชอคทอว์แห่งโอคลาโฮมา และ กลุ่มชอคทอว์แห่งมิสซิสซิปปี (Mississippi Band of Choctaw Indians) เป็นกลุ่มองค์กรหลักสองกลุ่มของชอคทอว์ แต่ก็ยังมีกลุ่มอย่อยอื่นที่กระจัดกระจายอยู่ในลุยเซียนา, เทกซัส และ แอละแบม.

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและชอคทอว์ · ดูเพิ่มเติม »

ชิคาซอว์

ซอว์ (Chickasaw) หมายถึงกลุ่มชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ชิคาซอว์พูดภาษาชิคาซอว์ที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษามัสคีกิน (Muskogean languages) ชิคาซอว์เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมมิสซิสซิปปีที่มีถิ่นฐานอยู่ทั่วไปในบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่น้ำมิสซิสซิปปี ก่อนที่จะได้พบกับชาวยุโรปเป็นครั้งแรกชิคาซอว์ย้ายไปทางตะวันออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำแม่น้ำมิสซิสซิปปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชอคทอว์ก็ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน “ชนเผ่าผู้มีวัฒนธรรมทั้งห้า” (Five Civilized Tribes) ผู้ถูกบังคับให้ขายดินแดนบ้านเกิดของตนเองแก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาในปี..

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและชิคาซอว์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐ

กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐอเมริกา (Native Americans in the United States) เป็นวลีที่หมายถึงชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาจากทวีปอเมริกาเหนือที่รวมแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและบางส่วนของอะแลสกาและฮาวาย ที่ประกอบด้วยกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันหลายกลุ่มที่เป็นชนเผ่าอินเดียน (Indian tribe) แต่เป็นคำที่ถือว่าไม่สุภาพต่อคนหลายคนที่รวมทั้งรัสเซลล์ มีนส์นักปฏิกิริยาของขบวนการอเมริกันอินเดียน (American Indian Movement) ตามความเห็นของมีนส์ “ในการสัมนานานาชาติของอินเดียนจากทวีปอเมริกาที่กรุงเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์ที่สหประชาชาติ ใน..

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

มัสคีกี (ครีค)

มัสคีกี หรือ ครีค (Muscogee/Muskogee หรือ Creek) หมายถึงกลุ่มชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา Sequoyah Research Center and the American Native Press Archives คำว่า “Muscogee” แผลงมาจากคำในว่า “Mvskoke” มัสคีกีในปัจจุบันส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ในโอคลาโฮมา, แอละแบมา, จอร์เจีย และ ฟลอริดา ภาษาที่ใช้คือภาษาครีคซึ่งเป็นภาษาในจัดอยู่ในกลุ่มภาษามัสคีกิน (Muskogean languages) มัสคีกีเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมมิสซิสซิปปี ที่มีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่น้ำมิสซิสซิปปี ที่นักประวัติศาสตร์วอลเตอร์ วิลเลียมส์กล่าวว่านักสำรวจชาวสเปนได้มีโอกาสพบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชอคทอว์ก็ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน “ชนเผ่าผู้มีวัฒนธรรมทั้งห้า” (Five Civilized Tribes) เพราะชอคทอว์ยอมรับและผสานวัฒนธรรมและความก้าวหน้าของผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาณานิคมชาวอเมริกันยุโรป.

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและมัสคีกี (ครีค) · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ติน แวน บิวเรน

มาร์ติน แวน บิวเรน (Martin Van Buren.; 5 ธันวาคม ค.ศ. 1782 - 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1862) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 8 ของสหรัฐอเมริกา ผู้ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1837 จนกระทั่งถึงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1841 สืบต่อจากประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็กสัน โดยมีริชาร์ด เมนทอร์ จอห์นสันเป็นรองประธานาธิบดี ประธานาธิบดีมาร์ติน แวน บิวเรน เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1782ที่เมืองคินเดอร์ฮุก รัฐนิวยอร์ก แต่งงานกับแฮนนาห์ โฮส์ แวน บิวเรน และถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1862 ที่เมืองคินเดอร์ฮุก.

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและมาร์ติน แวน บิวเรน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบัญญัติว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวอเมริกันอินเดียน

ำปราศัยต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกาประจำปี” ของปี ค.ศ. 1829) รัฐบัญญัติว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวอเมริกันอินเดียน หรือ รัฐบัญญัติว่าด้วยการโยกย้ายอินเดียน..

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและรัฐบัญญัติว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวอเมริกันอินเดียน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐโอคลาโฮมา

รัฐโอคลาโฮมา (Oklahoma, โอวเคฺลอะโฮ้วเม่อะ) เป็นรัฐหนึ่งใน 50 รัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากรประมาณ 3.64 ล้านคนในปี..

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและรัฐโอคลาโฮมา · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐอเมริกา

มาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America; ย่อ: CSA) มักเรียกว่า สมาพันธรัฐ (Confederate States; ย่อ: CS) เป็นรัฐบาลแยกตัวออกซึ่งสถาปนาใน..

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและสมาพันธรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอเมริกา

งครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War) เป็นสงครามกลางเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐระหว่างปี 1861 ถึง 1865 สืบเนื่องจากข้อโต้แย้งยืดเยื้อเกี่ยวกับทาส ระหว่างฝ่ายหนึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสหภาพซึ่งประกาศความภักดีต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสมาพันธรัฐซึ่งสนับสนุนสิทธของรัฐในการขยายทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในบรรดา 34 รัฐของสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ 1861 เจ็ดรัฐทาสในภาคใต้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐเพื่อตั้งเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา หรือ "ฝ่ายใต้" สมาพันธรัฐเติบโตจนมี 11 รัฐทาส รัฐบาลสหรัฐไม่เคยรับรองทางการทูตซึ่งสมาพันธรัฐ เช่นเดียวกับประเทศอื่นทุกประเทศ (แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะให้สถานภาพคู่สงคราม) รัฐที่ยังภักดีต่อสหรัฐ (รวมทั้งรัฐชายแดนซึ่งทาสชอบด้วยกฎหมาย) เรียก "สหภาพ" หรือ "ฝ่ายเหนือ" สงครามเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน..

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและสงครามกลางเมืองอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ วอชิงตัน

อร์จ วอชิงตัน (George Washington, 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732 Engber, Daniel (2006).. (Both Franklin's and Washington's confusing birth dates are clearly explained.) Retrieved on June 17, 2009.วันเกิดและวันถึงแก่กรรมของจอร์จ วอชิงตันในที่นี้เป็นระบบปฏิทินเกรกอเรียน อย่างไรก็ดี ขณะที่เขาเกิด สหราชอาณาจักรและประเทศอาณานิคมทั้งหมดยังใช้ปฏิทินจูเลียนอยู่ ดังนั้นในบันทึกร่วมสมัยนั้นจึงระบุวันเกิดของเขาเป็นวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732 บทบัญญัติว่าด้วยการใช้ปฏิทินรูปแบบใหม่ ค.ศ. 1750 เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1752 ซึ่งเปลี่ยนแปลงวันที่ในระบบของอังกฤษเดิม มาเป็นปฏิทินเกรกอเรียนโดยเริ่มต้นปี ณ วันที่ 1 มกราคม – 14 ธันวาคม ค.ศ. 1799) เป็นผู้นำทางทหารและการเมืองที่โดดเด่นของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น ระหว่าง..

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและจอร์จ วอชิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำมิสซิสซิปปี

แม่น้ำมิสซิสซิปปี ภาพถ่ายจากสวนสาธารณะในรัฐมินนิโซตา แม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi River) อยู่ตอนกลางของสหรัฐอเมริกา เป็นเครือข่ายสาขาแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ(เครือข่ายแม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี) มีความยาวทั้งสิ้น 3,334 กม.

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและแม่น้ำมิสซิสซิปปี · ดูเพิ่มเติม »

เชอโรคี

งของชาติเชอโรคี กลุ่มสหคีทูวาห์แห่งชาวเชอโรคีอินเดียน กลุ่มเชอโรคีอินเดียนตะวันออก เชอโรคี (ᏣᎳᎩ, Cherokee) หมายถึงกลุ่มชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ในรัฐจอร์เจีย, นอร์ทแคโรไลนา, เซาท์แคโรไลนา และทางตะวันออกของเทนเนสซี ภาษาที่ใช้เป็นภาษาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มภาษาอิโรควอย (Iroquoian languages) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตามประวัติศาสตร์ที่บอกกล่าวกันมากล่าวว่าเชอโรคีย้ายถิ่นฐานมาจากทางตอนใต้ของบริเวณเกรตเลคส์ในสมัยโบราณ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เชอโรคีก็ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน “ชนเผ่าผู้มีวัฒนธรรมทั้งห้า” (Five Civilized Tribes) เพราะเป็นกลุ่มชาวอเมริกันอินเดียนที่ยอมรับและผสานวัฒนธรรมและความก้าวหน้าของผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาณานิคมชาวอเมริกันยุโรป ตามบันทึกสถติของสำนักงานสถิติแห่งสหรัฐอเมริกาของปี..

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและเชอโรคี · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางธารน้ำตา

แผนที่ “เส้นทางธารน้ำตา” เส้นทางธารน้ำตา (Trail of Tears) หมายถึงการบังคับการโยกย้ายถิ่นฐานของชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาที่รวมทั้งเชอโรคี, ชอคทอว์และอื่นจากดินแดนบ้านเกิดไปตั้งถิ่นฐานยังเขตสงวนอินเดียน (Indian Territory) ใหม่ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาที่ในปัจจุบันคือโอคลาโฮมา “เส้นทางธารน้ำตา” มาจากคำบรรยายการโยกย้ายของชาติชอคทอว์ (Choctaw Nation) ในปี ค.ศ. 1831 ชนพื้นเมืองอเมริกันที่โยกย้ายต้องเผชิญกับสภาวะอากาศ เชื้อโรค และความอดอยากระหว่างการเดินทางไปยังจุดหมาย อันเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ที่รวมทั้งจำนวน 4,000 คนของจำนวน 15,000 คนของเชอโรคีที่ต้องย้ายถิ่นฐาน ในปี ค.ศ. 1831 เชอโรคี, ชิคาซอว์, ชอคทอว์, มัสคีกี (ครีค) และ เซมินโอเล (Seminole) (บางครั้งรวมกันเรียกว่าเผ่าวัฒนธรรมห้าเผ่า (Five Civilized Tribes)) ตั้งถิ่นฐานเป็นชาติอิสระในบริเวณที่เรียกว่าดีพเซาธ์ (Deep South) ของสหรัฐอเมริกา ขณะนั้นกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (เสนอโดยจอร์จ วอชิงตัน และ เฮนรี น็อกซ์) ได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่หลายขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มเชอโรคีและชอคทอว์ แอนดรูว์ แจ็คสันเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาที่ใช้วิธีการโยกย้ายชาวพื้นเมืองอเมริกันตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวอเมริกันอินเดียน (Indian Removal Act of 1830) ในปี ค.ศ. 1831 ชอคทอว์เป็นชนกลุ่มแรกที่ถูกโยกย้ายและกลายเป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับการโยกย้ายกลุ่มอื่นๆ ต่อมา หลังจากชอคทอว์เซมินโอเลก็เป็นกลุ่มต่อมาที่ถูกโยกย้ายในปี ค.ศ. 1832, มัสคีกี (ครีค)ในปี ค.ศ. 1834, ชิคาซอว์ในปี ค.ศ. 1837 และ เชอโรคีในปี ค.ศ. 1838 เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1837 ชาวพื้นเมืองอเมริกัน 46,000 ก็ถูกโยกย้ายจากถิ่นฐานเดิมทางตอนใต้ที่ทำให้ที่ดินทั้งหมด 25 ล้านเอเคอร์กลายเป็นดินแดนสำหรับการตั้งถิ่นฐานของชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรปที่เข้ามาใหม.

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและเส้นทางธารน้ำตา · ดูเพิ่มเติม »

เขตสงวนอินเดียน

ตสงวนอินเดียนในสหรัฐอเมริกา เขตสงวนอินเดียน (Indian reservation) เป็นเขตที่รัฐบาลสหรัฐกำหนดให้ชาวอเมริกันอินเดียนใช้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานตามการประกาศของรัฐบาล ให้ชาวอินเดียนแดงทุกคนย้ายเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการกระทำที่โหดร้าย ทารุณต่อมนุษย์ ในสหรัฐอเมริกามีประมาณ 300 เขตสงวนซึ่งบางเผ่าอาจจะมีอยู่ภายในหลายเขตสงวน โดยมี 9 เขตสงวนที่ใหญ่กว่า 5,000 กม² และ 12 เขตสงวนที่มีขนาดใหญ่กว่า 3,000 กม² โดยในแต่ละเขตสงวนจะมีดินแดนที่ต่างกัน รวมถึงภูมิประเทศและภูมิอากาศ พื้นดินในบางดินแดนไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้ ในปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) กฎหมายที่ให้ชาวอเมริกันอินเดียนเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมายผ่านสภา ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาหวังว่าชาวอเมริกันอินเดียนสามารถมีรายได้เพียงพอสำหรับคนในเผ่า ภายใต้ชื่อว่า "1988 Indian Gaming Regulatory Act".

ใหม่!!: ห้าเผ่าอารยะและเขตสงวนอินเดียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Five Civilized Tribesชนเผ่าผู้มีวัฒนธรรมทั้งห้าเผ่าวัฒนธรรมห้าเผ่า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »