โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หลอดเลือดดำรักแร้

ดัชนี หลอดเลือดดำรักแร้

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หลอดเลือดดำรักแร้ (axillary vein) เป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่นำเลือดมาจากด้านนอกลำตัวของอก, รักแร้, และรยางค์บนไปยังหัวใจ มนุษย์มีหลอดเลือดดำรักแร้ข้างละ 1 เส้น จุดเริ่มต้นของหลอดเลือดดำนี้อยู่ที่ขอบล่างของกล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (teres major muscle) และต่อเนื่องกับหลอดเลือดดำแขน (brachial vein) สาขาของหลอดเลือดดำรักแร้ประกอบด้วยหลอดเลือดดำเบซิลิค (basilic vein) และหลอดเลือดดำเซฟาลิค (cephalic vein) ซึ่งต่างเป็นหลอดเลือดดำชั้นผิว (superficial vein) ทั้งคู่ หลอดเลือดดำรักแร้สิ้นสุดที่ขอบด้านข้างของกระดูกซี่โครงซี่แรก กลายเป็นหลอดเลือดดำใต้กระดูกไหปลาร้า (subclavian vein) หลอดเลือดแดงที่ทอดตัวขนานไปกับหลอดเลือดดำนี้มีชื่อเดียวกัน คือ หลอดเลือดแดงรักแร้ (axillary artery).

11 ความสัมพันธ์: กระดูกซี่โครงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์รยางค์บนหลอดเลือดหลอดเลือดดำผิวหลอดเลือดดำแขนหลอดเลือดดำเบซิลิคหลอดเลือดดำเซฟาลิคหัวใจอกเลือด

กระดูกซี่โครง

กระดูกซี่โครง (Ribs) เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณส่วนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebral column) ทางด้านหลัง กับกระดูกอก (Sternum) ทางด้านหน้า และประกอบขึ้นเป็นโครงร่างของผนังช่องอกและช่วยในการป้องกันอวัยวะภายในของช่องอกที่สำคัญ เช่นปอดและหัวใจ โดยทั่วไปแล้วในผู้ใหญ่จะมีกระดูกซี่โครงทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ซี่ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อย่างไรก็ตามในบางคนอาจมีจำนวนของกระดูกซี่โครงที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติได้เล็กน้อ.

ใหม่!!: หลอดเลือดดำรักแร้และกระดูกซี่โครง · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์มนุษย์

รูปแสดงระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์ในลักษณะธรรมชาติ จากหนังสือ ''Fabrica'' โดยแอนเดรียส เวซาเลียส กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (Human anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาโครงสร้างต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สาขาหลัก ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) และกายวิภาคศาสตร์การเจริญเติบโต (Developmental anatomy) ในปัจจุบันการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะเน้นไปในด้านการประยุกต์ใช้ และการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ.

ใหม่!!: หลอดเลือดดำรักแร้และกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รยางค์บน

ต้นแขนของมนุษย์ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ รยางค์บน (upper limb หรือ upper extremities) คือส่วนของร่างกายมนุษย์ที่เรียกโดยทั่วไปว่า แขน (arm) คือโครงสร้างตั้งแต่แขนจนถึงปลายนิ้ว รวมทั้งส่วนของต้นแขน (upper arm) ด้ว.

ใหม่!!: หลอดเลือดดำรักแร้และรยางค์บน · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: หลอดเลือดดำรักแร้และหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำผิว

หลอดเลือดดำชั้นผิวของรยางค์บน หลอดเลือดดำชั้นผิว (Superficial vein) เป็นคำที่ใช้อธิบายหลอดเลือดดำที่อยู่ชิดกับพื้นผิวของลำตัว ซึ่งต่างกับหลอดเลือดดำอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ลึกลงไปจากผิวหนัง เรียกว่าหลอดเลือดดำชั้นลึก (deep vein) หลอดเลือดดำชั้นผิวจะไม่ทอดคู่กับหลอดเลือดแดงเหมือนกับหลอดเลือดดำชั้นลึกที่จะมีลักษณะเป็น venae comitantes หรือลักษณะทอดคู่ขนาบหลอดเลือดแดงที่มีชื่อเดียวกัน หลอดเลือดดำชั้นผิวมีความสำคัญในทางสรีรวิทยาในแง่การระบายความร้อนให้แก่ร่างกาย เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ร่างกายจะลัดเลือดจากหลอดเลือดดำชั้นลึกมายังหลอดเลือดดำชั้นตื้นเพื่อระบายความร้อนออกไปยังสิ่งแวดล้อม หลอดเลือดดำชั้นผิวสามารถมองเห็นได้จากผิวหนัง โดยเฉพาะเมื่ออวัยวะนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ หลอดเลือดดำชั้นผิวจะพองออก สังเกตได้เมื่อเรายกแขนขึ้นเหนือระดับหัวใจ เลือดจะไหลออกจากหลอดเลือดนั้น แต่เมื่อเราวางแขนลงในระดับต่ำกว่าหัวใจ เลือดจะไหลกลับเข้ามาใหม่ หลอดเลือดนี้สามารถเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อเรายกของหนักๆ ในทางสรีรวิทยา หลอดเลือดดำชั้นผิวนี้ไม่มีความสำคัญเท่าหลอดเลือดดำชั้นลึก เพราะขนส่งเลือดในปริมาณน้อยกว่า และบางครั้งหลอดเลือดนี้สามารถตัดเอาออกได้โดยไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติใดๆ เรียกว่าวิธี vein stripping ซึ่งเป็นการรักษาหลอดเลือดดำขอด (varicose vein) ที่ใช้กันในปัจจุบัน.

ใหม่!!: หลอดเลือดดำรักแร้และหลอดเลือดดำผิว · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำแขน

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หลอดเลือดดำแขน (Brachial vein) เป็น venae comitantes (หรือหลอดเลือดดำที่ทอดขนานไปกับหลอดเลือดแดง) ของหลอดเลือดแดงแขน (brachial artery) ที่อยู่ในต้นแขน หลอดเลือดดำนี้อยู่ในชั้นลึกต่อกล้ามเนื้อ จึงเรียกหลอดเลือดนี้ว่าเป็นหลอดเลือดดำชั้นลึก (deep vein) เส้นทางเดินของหลอดเลือดดำนี้เหมือนกับหลอดเลือดแดงแขน (ย้อนกลับทาง) เริ่มจากหลอดเลือดดำเรเดียล (radial veins) และหลอดเลือดดำอัลนา (ulnar veins) รวมกัน (ตำแหน่งเดียวกับที่หลอดเลือดแดงแขนแตกออกเป็น 2 เส้นคือหลอดเลือดแดงอัลนาและหลอดเลือดแดงเรเดียล) หลอดเลือดนี้สิ้นสุดที่ขอบล่างของกล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (teres major) ณ จุดนี้หลอดเลือดดำแขนจะรวมกับหลอดเลือดดำเบซิลิค (basilic vein) กลายเป็นหลอดเลือดดำรักแร้ (axillary vein) หลอดเลือดดำแขนมีสาขาเล็กๆ ที่รับเลือดมาจาดกล้ามเนื้อของแขนช่วงบน เช่นกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (biceps brachii muscle) และกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii muscle).

ใหม่!!: หลอดเลือดดำรักแร้และหลอดเลือดดำแขน · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำเบซิลิค

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หลอดเลือดดำเบซิลิค (Basilic vein) เป็นหลอดเลือดดำชั้นผิวขนาดใหญ่ของรยางค์บนซึ่งช่วยระบายเลือดจากส่วนของมือและปลายแขน เริ่มต้นจากร่างแหหลอดเลือดดำหลังมือด้านใกล้ลำตัว (หรือด้านกระดูกอัลนา) มาตามฐานของปลายแขนและต้นแขน แนวเส้นทางของเส้นเลือดส่วนใหญ่อยู่ในชั้นผิว โดยทั่วไปหลอดเลือดนี้มาตามชั้นไขมันและพังผืดอื่นๆ ที่อยู่ในชั้นตื้นต่อกล้ามเนื้อของรยางค์บน ดังนั้นเราสามารถเห็นเส้นเลือดนี้ได้ผ่านผิวหนัง ใกล้บริเวณด้านหน้าของแอ่งแขนพับ (cubital fossa) หลอดเลือดดำเบซิลิคมักจะเชื่อมกับหลอดเลือดดำชั้นผิวขนาดใหญ่อื่นๆ ในรยางค์บนนั่นคือ หลอดเลือดดำเซฟาลิค (cephalic vein) โดยผ่านหลอดเลือดดำมีเดียน คิวบิตัล (median cubital vein) ลักษณะของหลอดเลือดดำชั้นผิวของปลายแขนมีความแปรผันมากในแต่ละบุคคล ทำให้มีหลอดเลือดดำชั้นผิวจำนวนมากที่เชื่อมกับหลอดเลือดดำเบซิลิคที่ไม่มีชื่อ เมื่อหลอดเลือดมาถึงประมาณครึ่งทางของต้นแขน (ครึ่งหนึ่งที่อยู่ระหว่างไหล่และข้อศอก) หลอดเลือดดำเบซิลิคจะลงไปในชั้นลึกมากขึ้น และไหลใต้กล้ามเนื้อ บริเวณขอบล่างของกล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (teres major muscle) จะมีหลอดเลือดดำรอบกระดูกต้นแขนด้านหน้าและด้านหลังไหลเข้ามาเชื่อม ก่อนที่จะเชื่อมกับหลอดเลือดดำแขน (brachial veins) แล้วกลายเป็นหลอดเลือดดำรักแร้ (axillary vein) เช่นเดียวกับหลอดเลือดดำชั้นผิวของปลายแขน การเจาะหลอดเลือดดำ (venipuncture) สามารถใช้หลอดเลือดแดงเบซิลิคได้.

ใหม่!!: หลอดเลือดดำรักแร้และหลอดเลือดดำเบซิลิค · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำเซฟาลิค

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หลอดเลือดดำเซฟาลิค (Cephalic vein) เป็นหลอดเลือดดำชั้นผิวของรยางค์บน เชื่อมต่อกับหลอดเลือดดำเบซิลิค (basilic vein) โดยผ่านหลอดเลือดดำมีเดียน คิวบิตัล (median cubital vein) ที่ข้อศอก และอยู่ในแผ่นพังผืดชั้นผิว (superficial fascia) ที่อยู่ในตลอดพื้นผิวด้านหน้าส่วนข้าง (anterolateral surface) ของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (biceps brachii muscle) ด้านบนของหลอดเลือดดำเซฟาลิคผ่านระหว่างกล้ามเนื้อเดลทอยด์ (deltoid muscle) และกล้ามเนื้อเพคทอราลิส เมเจอร์ (pectoralis major muscle) (ร่องเดลโทเพคทอรัล (deltopectoral groove)) และผ่านสามเหลี่ยมเดลโทเพคทอรัล (deltopectoral triangle) ที่ซึ่งหลอดเลือดดำนี้เทเข้าสู่หลอดเลือดดำรักแร้ (axillary vein) หลอดเลือดดำนี้มักจะมองเห็นได้ผ่านผิวหนัง และตำแหน่งของหลอดเลือดนี้ในร่องเดลโทเพคทอรัลมักคงที่ไม่แปรผันมาก จึงเป็นบริเวณที่ใช้ในการใส่หลอดสวน (cannulation).

ใหม่!!: หลอดเลือดดำรักแร้และหลอดเลือดดำเซฟาลิค · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยการหดตัวเป็นจังหวะซ้ำ ๆ พบในสัตว์ทุกชนิดที่มีระบบไหลเวียน ซึ่งรวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย หัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้ หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย คำคุณศัพท์ cardiac มาจาก kardia ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงหัวใจ หทัยวิทยาเป็นแขนงแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของหัวใ.

ใหม่!!: หลอดเลือดดำรักแร้และหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

อก

ปรียบเทียบอกของมนุษย์และมด แผนภาพของแมลงดูดเลือด แสดงส่วนหัว อก และท้อง อก (อังกฤษ: thorax) เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของสัตว์ที่อยู่ระหว่างศีรษะและท้อง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อกเป็นบริเวณของร่างกายที่เกิดจากกระดูกอก (sternum), กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebra), และกระดูกซี่โครง (rib) นับตั้งแต่คอไปจนถึงกะบังลม แต่ไม่รวมถึงรยางค์บน (upper limb) อวัยวะที่สำคัญที่อยู่ภายในช่องอกเช่น หัวใจ, ปอด รวมถึงหลอดเลือดจำนวนมากมาย อวัยวะภายในช่องอกจะถูกปกป้องด้วยกระดูกซี่โครงและกระดูกอก ไตรโลไบต์แบ่งร่างกายออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ หัว (cephalon) ซึ่งมีตา, ส่วนปาก และอวัยวะรับความรู้สึก เช่น หนวด (antennae), ส่วนอกซึ่งแบ่งเป็นปล้องๆ (ในบางชนิด การเป็นปล้องช่วยให้สามารถม้วนตัวได้), ส่วนหาง หรือ pygidium สำหรับในแมลงและไตรโลไบต์ (trilobite) ซึ่งเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อกเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณหลักๆ 3 ส่วน (tagmata) ของร่างกายซึ่งแบ่งออกได้เป็นปล้องย่อยๆ อีกหลายปล้อง บริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่มีปีกและขายึดเกาะหรือเป็นบริเวณแผ่นข้อต่อหลายแผ่นในไตรโลไบต์ ในแมลงส่วนใหญ่ อกจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ prothorax, mesothorax, และ metathorax ในแมลงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วน prothorax จะไม่มีปีกแต่จะมีขาในตัวเต็มวัย ส่วนปีกจะมีอยู่บ้างในส่วนของ mesothorax และโดยทั่วไปจะอยู่ที่ metathorax แต่ปีกอาจจะลดรูป หรือเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ (เช่นในแมลงวัน ปีกในปล้อง metathorax จะลดรูปเป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัวเล็กๆ ชื่อว่า halteres) แมลงในอันดับย่อย Apocrita ในอันดับแตนจะมีท้องปล้องแรกรวมกับ metathorax เป็นโครงสร้างที่เรียกว่า propodeum ดังนั้นแมลงในอันดับย่อยนี้ อกจะประกอบไปด้วย 4 ปล้อง เรียกส่วนอกใหม่ว่า mesosoma ส่วนอกของแมลงสามารถแบ่งย่อยออกเป็นส่วนต่างๆ หลากหลาย ที่สำคัญได้แก่ส่วนหลัง (notum), ส่วนข้าง (pleuron มีอยู่ข้างละ 1 อัน), และส่วนท้อง (sternum) ในแมลงบางชนิดส่วนต่างๆ เหล่านี้จะประกอบด้วยแผ่นโครงกระดูกภายนอกอิสระ 1 อันหรือหลายอันโดยมีเยื่อแผ่นระหว่างกันเรียกว่า sclerites.

ใหม่!!: หลอดเลือดดำรักแร้และอก · ดูเพิ่มเติม »

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ใหม่!!: หลอดเลือดดำรักแร้และเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Axillary vein

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »