โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หรคุณจูเลียน

ดัชนี หรคุณจูเลียน

หรคุณจูเลียน (Julian day) บ้างเรียก จำนวนวันจูเลียน หรือ เลขวันจูเลียน หมายถึง หมายเลขประจำวันซึ่งนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ก่อนคริสต์ศักราช 4713 ปี (ค.ศ. -4712) ตามปฏิทินจูเลียน หรือวันที่ 22 พฤศจิกายน ก่อนคริสต์ศักราช 4714 ปี (ค.ศ. -4713) ตามปฏิทินก่อนเกรโกเรียน เวลา 12 นาฬิกาตรง จนถึงปัจจุบันหรือเวลาที่ต้องการ เหตุที่กำหนดให้เริ่มวันที่ดังกล่าวนั้น เป็นเพราะต้องการให้ครอบคลุมถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ นอกจากการที่วันที่ดังกล่าวเป็นวันเริ่มวัฏจักรสิบห้าปี (indiction) วัฏจักรสุริยะ และวัฏจักรเมตอน หรคุณจูเลียนหากคำนวณตามสูตรจากปฏิทินต่างระบบ หากเป็นวันที่เดียวกัน จะได้เลขเดียวกันเสมอไปไม่มีผิดเพี้ยน หรคุณจูเลียน ณ วันเวลาใด ๆ มีค่าเท่ากับหรคุณจูเลียน ลดลงเสีย 0.5 (เพราะนับที่เที่่ยงวันเป็นหลักต้องถอยไปที่เที่ยงคืน) แล้วจึงเอาเวลาเป็นทศนิยมนับแต่เริ่มวันนั้นบวกเข้า"Resolution B1" 1997.

15 ความสัมพันธ์: ชั่วโมงการบริหารรัฐกิจการทหารการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์วัฏจักรเมตอนวินาทีอธิกวินาทีจาวาสคริปต์ปฏิทินก่อนเกรโกเรียนปฏิทินจูเลียนนาทีแมตแล็บไอบีเอ็มเลขคณิตมอดุลาร์เวลามาตรฐานกรีนิช

ชั่วโมง

ั่วโมง อักษรย่อ ชม. (Hour: h หรือ hr) เป็นหน่วยของเวล.

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและชั่วโมง · ดูเพิ่มเติม »

การบริหารรัฐกิจ

การบริหารรัฐกิจ รัฐประศาสนศาตร์ หรือ การบริหารราชการแผ่นดิน (public administration) คือ การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ยกเว้นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบัติการและการเป็นสาขาวิชาหนึ่งในการบริหารและการจัดการภาครัฐ ที่จะไม่เหมือนการบริหารธุรกิจที่เน้นกำไรสูงสุด (profit maximize) แต่เป็นการเน้นการให้บริการที่ให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยลูกค้าก็คือ ประชาชนที่มาใช้บริการ และต้องเป็นการให้บริการต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม รัฐประศาสนศาสตร์ (public administration science) คือ การเรียนการสอนวิชาในด้านการบริหารรัฐกิจ การบริหารและการจัดการภาครัฐ ในประเทศไทยมีหลายสถาบันอุดมศึกษาเปิดสอน ทั้งนี้การสังกัดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มีอยู่ในหลากหลายลักษณะ อาทิ สังกัดอยู่ภายใต้ชื่อคณะโดยตรง เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สังกัดอยู่ภายใต้ชื่อคณะรัฐศาสตร์ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดภายใต้ภาควิชา เช่น ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาการจัดการ รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนี้แล้วยังมีการสังกัดในลักษณะของภาควิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือวิทยาลัยเฉพาะ เช่น มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สังกัดภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ หรือ U-MDC มีหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ทั้งในสาขาการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรม สาขาการจัดการ ฯลฯ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาดังกล่าวมีการจัดหลักสูตรเพื่อเปิดสอนตั้งแต่ระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ทั้งในลักษณะภาคปกติ ภาคสมทบ ภาคพิเศษ หรือโครงการความร่วมมือกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ฯลฯ นอกจากมหาวิทยาลัยทั่วไปแล้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์เช่นกัน.

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและการบริหารรัฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

การทหาร

การทหาร เป็นองค์การที่สังคมอนุญาตให้ใช้อำนาจสำหรับสังหาร (lethal force) ซึ่งโดยปกติรวมการใช้อาวุธ ในการป้องกันประเทศ โดยต่อสู้กับภัยคุกคามที่แท้จริงหรือที่รับรู้เช่นนั้น การทหารอาจมีการทำหน้าที่อื่นต่อสังคม เช่น การเดินหน้าวาระทางการเมือง (ในกรณีคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง) สนับสนุนหรือส่งเสริมการขยายทางเศรษฐกิจผ่านจักรวรรดินิยม และเป็นการควบคุมทางสังคมภายในรูปแบบหนึ่ง คำว่า "การทหาร" หรือ "ทางทหาร" ที่เป็นคำคุณศัพท์ ยังใช้หมายถึง ทรัพย์สินหรือมุมมองของทหาร การทหารทำหน้าที่เป็นสังคมภายในสังคม โดยมีชุมชนทหารเป็นของตนเอง.

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer programming) หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม (Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแลซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และขั้นตอนวิธีที่จะใช้ ซึ่งในวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น การเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซวอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของ ข้อความธรรมดา ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านการคอมไพล์ตัวซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เสียก่อนจึงจะได้เป็นโปรแกรมที่พร้อมใช้งาน การเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรม เข้าด้วยกัน.

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรเมตอน

วัฏจักรเมตอน (Metonic cycle) หมายถึง ช่วงระยะเวลาซึ่งใกล้เคียงกับตัวคูณร่วมน้อยที่สุดของปีสุริยคติ และปีจันทรคติ ซึ่งใกล้เคียงกับระยะเวลา 19 ปี วัฏจักรเมตอนค้นพบโดยชาวบาบิโลน ซึ่งต่อมาได้ค้นพบซ้ำโดยเมตอนแห่งเอเทนส์ (Meton of Athens) ช่วงปลายพุทธกาล โดยเขาได้ระบุว่า วัฎจักรเมตอนกินระยะเวลา 235 เดือนจันทรคติ หรือประมาณ 6,940 วัน ช่วงเวลา 19 ปีข้างต้น ใกล้เคียงกับเดือนราหูคติ (draconic month) หรือรอบคราส 255 เดือน นอกจากนี้ยังใกล้เคียงกับเดือนดาราคติ 254 เดือน อีกด้วย วัฎจักรเมตอนมีที่มาจากการคำนวณปฏิทินจันทรคติโดยสอบทานกับปฏิทินสุริยคติ สมมติให้ปีหนึ่งเป็น ของระยะเวลาตามวัฏจักรเมตอน จะได้ว่าแต่ละปีมีจำนวนวันทั้งสิ้น 365 + + วัน ซึ่งยาวกว่าปีจันทรคติ เมื่อเดินปีในลักษณะเช่นนี้โดยไม่ได้แก้ไขดัดแปลงเลย จะทำให้เดือนจันทรคติค่อย ๆ เลื่อนไปจากตำแหน่งของเดือนสุริยคติที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่างเช่น เดือน 12 ไทย แทนที่จะอยู่เดือนพฤศจิกายน ก็จะเลื่อนไปเดือนตุลาคม กันยายน ตามลำดับ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะต้องเพิ่มเดือนอีกหนึ่งเดือน เรียกว่า อธิกมาส (intercalary month) บางครั้งหากปฏิทินผิดจากจังหวะของดวงจันทร์มาก ก็จะต้องเพิ่มวันอีกหนึ่งวันด้วยเช่นกัน เรียกว่า อธิกวาร (intercalary day) โดยทั่วไปในระยะเวลา 19 ปี จะมีปีอธิกมาส 7 ปี (อาจเปลี่ยนแปลงได้).

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและวัฏจักรเมตอน · ดูเพิ่มเติม »

วินาที

วินาที (Second) เป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (เอสไอ) และยังเป็นหน่วยเวลาในระบบการวัดอื่น เท่ากับ 1 ส่วน 60 ของนาที ระหว่าง..

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและวินาที · ดูเพิ่มเติม »

อธิกวินาที

อธิกวินาที (leap second) คือ วินาทีที่ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อรักษามาตรฐานการประกาศเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลาสุริยะ (UT1) โดยเฉลี่ย เนื่องด้วยการประกาศเวลามาตรฐานมีพื้นฐานอยู่บนเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC) ซึ่งรักษาไว้ด้วยนาฬิกาอะตอมที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสูง แต่เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลง อาทิ การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แผ่นดินไหว ปริมาณน้ำในมหาสมุทร ทำให้อัตราการหมุนของโลกช้าลงหรือเร็วขึ้น ถึงแม้จะเล็กน้อยแต่ก็อาจทำให้เวลาทั้งสองเกิดความแตกต่าง จึงต้องมีการปรับเวลาให้ใกล้เคียงกัน การปรับอธิกวินาทีปัจจุบันควบคุมโดย International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS) ซึ่งก่อนหน้านั้นควบคุมโดย Bureau International de l'Heure (BIH) จนถึง 1 มกราคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) การปรับอธิกวินาทีจะกระทำเมื่อ UT1 แตกต่างจาก UTC เกิน ±0.9 วินาที และจะถูกกำหนดให้เพิ่มหรือลดเมื่อสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน หรือ 31 ธันวาคม โดยจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป (ถึงแม้ว่าอธิกวินาทีสามารถเพิ่มหรือลดในวันไหนก็ได้) ซึ่งจะทำให้นาทีสุดท้ายของวันดังกล่าวเกินมาหรือขาดไป 1 วินาทีตามทฤษฎี อย่างไรก็ตามการปรับอธิกวินาทีที่เคยเกิดขึ้นในอดีต มีเพียงการเพิ่มเวลาเข้าไปอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เวลา 23:59:60 ปรากฏขึ้น ก่อนที่จะเป็น 0:00:00 ในวินาทีถัดไป และจะเกิดพร้อมกันทั่วโลก (เช่นประเทศไทยจะปรากฏเป็นเวลา 6:59:60) การปรับอธิกวินาทีเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) และครั้งล่าสุดเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) กราฟแสดงความแตกต่างระหว่าง UT1 กับ UTC ส่วนที่ตั้งชันคืออธิกวินาที.

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและอธิกวินาที · ดูเพิ่มเติม »

จาวาสคริปต์

วาสคริปต์ (JavaScript) เป็นภาษาสคริปต์ ทีมีลักษณะการเขียนแบบโปรโตไทพ (Prototyped-based Programming) ส่วนมากใช้ในหน้าเว็บเพื่อประมวลผลข้อมูลที่ฝั่งของผู้ใช้งาน แต่ก็ยังมีใช้เพื่อเพิ่มเติมความสามารถในการเขียนสคริปต์โดยฝังอยู่ในโปรแกรมอื่น ๆ ซัน ไมโครซิสเต็มส์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "JavaScript" โดยมันถูกนำไปใช้ภายใต้สัญญาอนุญาตเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีโดย เน็ตสเคป และมูลนิธิมอซิลล.

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและจาวาสคริปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินก่อนเกรโกเรียน

ปฏิทินก่อนเกรโกเรียน เป็นการต่อปฏิทินเกรโกเรียนย้อนหลังไปในอดีตก่อนการใช้ปฏิทินเกรโกเรียนอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและปฏิทินก่อนเกรโกเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจูเลียน

ปฏิทินจูเลียน (Julian calendar; คำว่า จูเลียน แปลว่า แห่งจูเลียส) เป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นโดยกงสุลจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน โดยปฏิรูปจากปฏิทินโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีผลบังคับใช้ในปีถัดไปคือ 45 ปีก่อนคริสต์ศักราช รอบปีหนึ่งของปฏิทินจูเลียนมี 12 เดือน มีจำนวนวันรวม 365 วัน นอกจากนี้เดือนกุมภาพันธ์จะเพิ่มอธิกวารทุก ๆ สี่ปี ดังนั้นรอบปีโดยเฉลี่ยต่อสี่ปีของปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน แรกเริ่มนั้นวันวสันตวิษุวัตตรงกับวันที่ 1 Martius (มีนาคม) จึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในปี 153 ก่อน..

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและปฏิทินจูเลียน · ดูเพิ่มเติม »

นาที

นาที อักษรย่อ น. (Minute) สมัยก่อนใช้คำว่า นาที เป็นหน่วยวัดเวลา โดยหนึ่งหน่วยเท่ากับ ของชั่วโมง.

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและนาที · ดูเพิ่มเติม »

แมตแล็บ

ัญลักษณ์ของแมตแล็บ แมตแล็บ (MATLAB: Matrix Laboratory) เป็นซอฟต์แวร์ในการคำนวณและการเขียนโปรแกรม โปรแกรมหนึ่ง ที่มีความสามารถครอบคลุมตั้งแต่ การพัฒนาอัลกอริธึม การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และการทำซิมูเลชั่นของระบบ การสร้างระบบควบคุม และโดยเฉพาะเรื่อง image processing และ wavelet การสร้างเมตริกซ์ ผลิตโดยบริษัทแมตเวิรกส์ ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยคือ บริษัท เทคซอร์ส ซิสเท็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด แมตแล็บเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในแวดวงของนักวิทยาศาสตร์และ วิศวกรในปัจจุบัน ชื่อโปรแกรม MATLAB นั้นย่อมาจาก Matrix Laboratory แมตแล็บได้เริ่มต้น ขึ้นเพื่อต้องการให้เราสามารถแก้ปัญหาตัวแปรที่มีลักษณะเป็นเมทริดซ์ได้ง่ายขึ้น แมตแล็บ เริ่มพัฒนาครั้งแรกโดย Dr.

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและแมตแล็บ · ดูเพิ่มเติม »

ไอบีเอ็ม

อบีเอ็ม (International Business Machines, IBM) หรือชื่อเล่น บิ๊กบลู (ยักษ์สีฟ้า) เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ รายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา มีพนักงานมากกว่า 330,000 คนทั่วโลก ไอบีเอ็มก่อตั้งมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นบริษัทสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสาขามากกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ไอบีเอ็มเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีเมนเฟรมและนาโนเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและไอบีเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

เลขคณิตมอดุลาร์

ลขคณิตมอดุลาร์ (Modular arithmetic) เป็นระบบเลขคณิตที่มีรากฐานมาจากระบบจำนวนเต็มทั่วไป แต่จำนวนในระบบนี้จะมีการหมุนกลับในลักษณะเดียวกันกับเข็มนาฬิกาเมื่อมีค่าถึงค่าบางค่าที่กำหนดไว้ ซึ่งค่านี้จะเรียกว่า มอดุลัส กล่าวคือ, ตัวเลขที่มีค่าเกินค่าของมอดุลัส จะถูกปรับค่าให้เป็นเศษของจำนวนนั้นเมื่อหารด้วยมอดุลัส ยกตัวอย่างเช่น ภายใต้มอดุลัสที่เป็น 9 เลข 13 จะถูกปรับให้เหลือ 4 หรือ ผลบวกของ 4 กับ 7 ก็คือ 2.

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและเลขคณิตมอดุลาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานกรีนิช

วลามาตรฐานกรีนิช หรือ เวลามัชฌิมกรีนิช (Greenwich Mean Time) ชื่อย่อ จีเอ็มที (GMT) แต่เดิมเป็นคำใช้เรียกเวลาสุริยคติมัชฌิมที่หอดูดาวหลวงกรีนิช เมืองกรีนิช สหราชอาณาจักร ปัจจุบันคำนี้มักใช้เพื่อหมายถึงเวลาสากลเชิงพิกัด (ยูทีซี) ในฐานะเขตเวลา แม้ว่าหากถือโดยเคร่งครัดแล้ว ยูทีซีนั้นเป็นมาตรฐานเวลาที่วัดโดยนาฬิกาอะตอม ซึ่งจะเท่ากันเพียงโดยประมาณกับจีเอ็มทีในความหมายเดิม จีเอ็มทียังใช้หมายถึงเวลาสากล (ยูที) ซึ่งเป็นเวลาเชิงดาราศาสตร์ที่กำหนดขึ้นเพื่อทดแทนจีเอ็มทีโดยตรง เวลาเที่ยงวันของมาตรฐานกรีนิชนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกที่กรีนิชเสมอไป ทั้งนี้เนื่องจากการโคจรของโลกเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเร็วไม่สม่ำเสมอและแกนโลกที่เอียง เวลาเที่ยงวันกรีนิชอาจต่างจากเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกถึง 16 นาที จึงจำเป็นต้องสมมุติดวงอาทิตย์มัชฌิม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากการปรับการเคลื่อนที่ที่ไม่สม่ำเสมอของดวงอาทิตย์ดวงจริงขึ้นใช้คำนวณแทน ดวงอาทิตย์มัชฌิมนี้เองเป็นที่มาของคำว่า มัชฌิม ในคำว่าเวลามัชฌิมกรีนิช ก่อน ค.ศ. 1925 นักดาราศาสตร์ใช้จีเอ็มทีโดยนับเที่ยงวันเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ (เวลาศูนย์นาฬิกา) ในขณะที่ประชาชนทั่วไปนับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ นักดาราศาสตร์ได้เปลี่ยนมานับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปตั้งแต..

ใหม่!!: หรคุณจูเลียนและเวลามาตรฐานกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Julian dayจำนวนวันจูเลียนเลขวันจูเลียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »