โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์

ดัชนี หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์

หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ (เกิด: 2 สิงหาคม พ.ศ. 2499) เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ กับหม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา (Elisabeth Hunter; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) และเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หม่อมราชวงศ์นริศราสมรสครั้งแรกกับคุณแอลเลน เลวี่ มีบุตรชาย 1 คนคือ จุลจักร จักรพงษ์ หรือ "เล็ก" หรือ "ฮิวโก้" และสมรสครั้งที่สองกับกอสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ ทอมสัน (กี้, บุตรชายของ หม่อมราชวงศ์สายสวัสดี สวัสดิวัตน์ ทอมสัน กับ แกรี ทอมสัน) มีบุตรชายอีก 1 คนคือภูวสวัสดิ์ จักรพงษ์ หรือ "กู้".

26 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2551พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์กลุ่มภาษาจีนการวิ่งคบเพลิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008มหาวิทยาลัยศิลปากรมีนาคม พ.ศ. 2551ลอนดอนลาซาวังจักรพงษ์สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีสิทธิมนุษยชนหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์หม่อมเอลิซาเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยาจุลจักร จักรพงษ์ทิเบตทุติยจุลจอมเกล้าคอร์นวอลล์ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาประเทศอังกฤษโรงเรียนจิตรลดาเพลิงโอลิมปิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก19 เมษายน

พ.ศ. 2551

ทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และพ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

ลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ หรือ พระองค์จุล (28 มีนาคม พ.ศ. 2451 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2506) พระโอรสพระองค์เดียวในจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กับ หม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก ชาวรัสเซีย ทรงสมรสกับหม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 30 กันยายน..

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

การวิ่งคบเพลิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008

การคุ้มกันผู้วิ่งคบเพลิงที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ การวิ่งคบเพลิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) เพื่อนำไปจุดในงานเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน แผนการของการวิ่งนั้นได้ถูกประกาศเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ.2550) ภายใต้สโลแกนว่า "Journey of Harmony" (和諧之旅) และคาดว่าจะใช้เวลาวิ่ง 130 วัน ผ่าน 21 ประเทศรวมประเทศจีน ระยะทาง 137,000 ก.ม. (85,100 ไมล์) ซึ่งถือได้ว่าเป็นการวิ่งคบเพลิงที่ยาวที่สุดนับตั้งแต่การวิ่งคบเพลิงครั้งแรก เมื่อปี..

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และการวิ่งคบเพลิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University; ชื่อย่อ: มศก. – SU) เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะและการออกแบบ ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์ ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร" ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น "โรงเรียนศิลปากร" และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม..

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และมหาวิทยาลัยศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

มีนาคม พ.ศ. 2551

มีนาคม..

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และมีนาคม พ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ลาซา

ลาซา เป็นเมืองหลวงของเขตปกครองตนเองทิเบตแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองในที่ราบสูงทิเบต รองจากเมืองซีหนิง และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,490 เมตร (11,450 ฟุต) ซึ่งนั่นเองทำให้ลาซากลายเป็นหนึ่งในเมืองที่อยู่สูงที่สุดของโลก ในเมืองประกอบไปด้วยหลายวัฒนธรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะศาสนสถานของศาสนาพุทธ-ทิเบต เช่นพระราชวังโปตาลา หรือ วัดโจคัง หรือ พระราชวังโนร์บูกลิงกา เป็นต้น.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และลาซา · ดูเพิ่มเติม »

วังจักรพงษ์

ประตูวังจักรพงษ์ วังจักรพงษ์ หรือ บ้านจักรพงษ์ ตั้งอยู่ที่ถนนมหาราช เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ติดกับโรงเรียนราชินี เคยเป็นตำหนักส่วนพระองค์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ต่อมาตกเป็นของทายาทคือ หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ ปัจจุบันวังจักรพงษ์เป็นที่ตั้งของสำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊ค จักรพงษ์วิลล่า และมูลนิธิโลกสีเขียว.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และวังจักรพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

อมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (3 มีนาคม พ.ศ. 2426-13 มิถุนายน พ.ศ. 2463) ทรงเป็นต้นราชสกุล "จักรพงษ์" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 40 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงรับราชการทหารเป็นเสนาธิการทหารบก โดยทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการ ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบินในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" และ "พระบิดาแห่งการบินไทย" ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากนายพลเอกเป็นจอมพล และทรงเป็นผู้ที่จัดส่งทหารอาสาเขาทำการรบในสงครามครั้งนั้น ต่อมาสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคพระปับผาสะ ขณะเสด็จไปประทับพักผ่อนพระวรกายที่สิงคโปร์ พระชนม์เพียง 37 พรรษา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าจิตรเจริญ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประสูติแต่พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณร.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

ตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) พระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิตสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มีพระธิดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ พระองค์ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม..

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิมนุษยชน

ทธิมนุษยชน (human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีตJames Nickel, with assistance from Thomas Pogge, M.B.E. Smith, and Leif Wenar, December 13, 2013, Stanford Encyclopedia of Philosophy,, Retrieved August 14, 2014ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์" และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"Burns H. Weston, March 20, 2014, Encyclopedia Britannica,, Retrieved August 14, 2014 โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล และสมภาคในแง่ที่เหมือนกับสำหรับทุกคนThe United Nations, Office of the High Commissioner of Human Rights,, Retrieved August 14, 2014 สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรมGary J. Bass (book reviewer), Samuel Moyn (author of book being reviewed), October 20, 2010, The New Republic,, Retrieved August 14, 2014 และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการประหารชีวิตMerriam-Webster dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "rights (as freedom from unlawful imprisonment, torture, and execution) regarded as belonging fundamentally to all persons" ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันโลกและภูมิภาค การกระทำของรัฐและองค์การนอกภาครัฐก่อพื้นฐานของนโยบายสาธารณะทั่วโลก แนวคิดสิทธิมนุษยชนเสนอว่า "หากวจนิพนธ์สาธารณะสังคมโลกยามสงบสามารถกล่าวเป็นภาษาศีลธรรมร่วมได้ สิ่งนั้นคือสิทธิมนุษยชน" การอ้างอย่างหนักแน่นโดยลัทธิสิทธิมนุษยชนยังกระตุ้นกังขาคติและการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหา สภาพและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนตราบจนทุกวันนี้ ความหมายแน่ชัดของคำว่า "สิทธิ" นั้นมีการโต้เถียงและเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาต่อไป ขณะที่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม การคุ้มครองจากการเป็นทาส การห้ามพันธุฆาต เสรีภาพในการพูดMacmillan Dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "the rights that everyone should have in a society, including the right to express opinions about the government or to have protection from harm"หรือเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษา แต่ยังเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับว่าสิทธิใดบ้างต่อไปนี้ควรรวมอยู่ในกรอบทั่วไปของสิทธิมนุษยชน นักคิดบางคนเสนอว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการละเมิดที่ร้ายแรงที่สุด ขณะที่บางคนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูง ความคิดพื้นฐานดังกล่าวจำนวนมากซึ่งขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์ จนลงเอยด้วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงปารีสในปี 2491 คนโบราณไม่มีแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลสมัยใหม่แบบเดียวกัน การบุกเบิกวจนิพนธ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงนั้นคือมโนทัศน์สิทธิธรรมชาติซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีกฎหมายธรรมชาติยุคกลางซึ่งโดดเด่นขึ้นระหว่างยุคภูมิธรรมยุโรปโดยมีนักปรัชญาอย่างจอห์น ล็อก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และฌ็อง-ฌัก บือลามาคี (Jean-Jacques Burlamaqui) และซึ่งมีการเสนออย่างโดดเด่นในวจนิพันธ์การเมืองของการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส จากรากฐานนี้ การให้เหตุผลสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาจเป็นปฏิกิริยาต่อความเป็นทาส การทรมาน พันธุฆาตและอาชญากรรมสงคราม โดยความตระหนักถึงความเปราะบางของมนุษย์ในตัวและเป็นเงื่อนไขก่อนความเป็นไปได้ของสังคมยุติธรรม.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และสิทธิมนุษยชน · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์

หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ (เกิด: 2 สิงหาคม พ.ศ. 2499) เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ กับหม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา (Elisabeth Hunter; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) และเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หม่อมราชวงศ์นริศราสมรสครั้งแรกกับคุณแอลเลน เลวี่ มีบุตรชาย 1 คนคือ จุลจักร จักรพงษ์ หรือ "เล็ก" หรือ "ฮิวโก้" และสมรสครั้งที่สองกับกอสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ ทอมสัน (กี้, บุตรชายของ หม่อมราชวงศ์สายสวัสดี สวัสดิวัตน์ ทอมสัน กับ แกรี ทอมสัน) มีบุตรชายอีก 1 คนคือภูวสวัสดิ์ จักรพงษ์ หรือ "กู้".

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเอลิซาเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา

หม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา มีนามเดิมว่า เอลิสะเบธ ฮันเตอร์ (Elisabeth Hunter; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 — 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) เป็นหม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสพระองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กับหม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก หม่อมมารดาชาวรัสเซี.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และหม่อมเอลิซาเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จุลจักร จักรพงษ์

ลจักร จักรพงษ์ (Chulachak Chakrabongse; 6 สิงหาคม พ.ศ. 2524) มีชื่อจริงว่า ฮิวโก้ จุล อเล็กซานเดอร์ เลวี (Hugo Chula Alexander Levy) และมีชื่อเล่นว่า เล็ก แต่นิยมเรียกกันว่า ฮิวโก้ เป็นบุตรชายคนโตของหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ กับแอลเลน เลวี เป็นหลานตาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชาน.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และจุลจักร จักรพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทิเบต

ทิเบต (ภาษาทิเบต: བོད་ เป้อ, ภาษาจีน: 西藏 xīzàng ซีจ้าง) เป็นเขตที่ราบสูงในทวีปเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่อยู่ของชาวทิเบต และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ และปัจจุบันมีชาวฮั่นและหุยมาอยู่อาศัยด้วยเป็นจำนวนมาก ทิเบตเป็นบริเวณที่สูงที่สุดในโลก มีระดับความสูงเฉลี่ย 4,900 เมตร หมวดหมู่:เอเชียกลาง หมวดหมู่:เอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ทุติยจุลจอมเกล้า

ทุติยจุลจอมเกล้า มีอักษรย่อว่า ท.. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานทั้งฝ่ายหน้า (บุรุษ) จำนวน 250 สำรับ และฝ่ายใน (สตรี) จำนวน 100 สำรับ โดยทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอันดับที่ 18 ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย การพระราชทานขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัยเท่านั้น.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และทุติยจุลจอมเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

คอร์นวอลล์

อร์นวอลล์ (Cornwall) หรือ แคร์นอว์ (Kernow) เป็นเทศมณฑลแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษภายในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางปลายแหลมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ทางด้านเหนือและด้านตะวันตกจรดทะเลเคลติก ทางด้านใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ด้านตะวันออกติดกับเทศมณฑลเดวอนโดยมีแม่น้ำเทมาร์เป็นเส้นแบ่งเขต คอร์นวอลล์มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 526,300 คน ในเนื้อที่ 3,563 ตารางกิโลเมตร ศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมืองทรูโร ดินแดนบริเวณคอร์นวอลล์เดิมเป็นที่ตั้งหลักแหล่งของชนยุคหินจากนั้นก็เป็นชนยุคสำริดและต่อมาในสมัยยุคเหล็กโดยชาวเคลต์ คอร์นวอลล์เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่พูดภาษากลุ่มบริทอนิก (Brythonic languages) ที่ตัดขาดจากกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มเดียวกันในเวลส์หลังจากยุทธการเดอรัม (Battle of Deorham) โดยมักขัดแย้งกับชาวแซกซันแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ที่พยายามขยายดินแดนเข้ามา ก่อนที่พระเจ้าแอเทลสตันจะกำหนดเขตแดนระหว่างชาวอังกฤษกับชาวคอร์นิชโดยใช้แม่น้ำทามาร์ คอร์นวอลล์รวมกับอังกฤษเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่การใช้ภาษาคอร์นิชยังคงใช้กันต่อมาจนคริสต์ศตวรรษที่ 18 การฟื้นฟูการใช้ภาษาคอร์นิชอีกครั้งมาเริ่มต้นขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษ 20 และเพิ่มความนิยมมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบันคอร์นวอลล์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุตสาหกรรมเหมืองดีบุกและอุตสาหกรรมการประมงเสื่อมโทรมลงและต้องหันมาพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลัก ดินแดนคอร์นวอลล์มีชื่อในทางที่มีภูมิทัศน์เป็นดินแดนสูงที่เป็นทุ่งที่มีแต่พืชพรรณเตี้ย ๆ เติบโตอยู่ที่เรียกว่า "ทุ่งมัวร์" (Moorland) และชายฝั่งทะเลที่น่าดูและอากาศที่อุ่นกว่าบริเวณอื่นของอังกฤษ.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และคอร์นวอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา

วีนัสเดอมิโลที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา (Art history) ตามที่เข้าใจกันในประวัติศาสตร์หมายถึงสาขาวิชาทางด้านงานศิลปะที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และบริบทของลักษณะ (stylistic contexts) เช่น ประเภทของศิลปะ (genre), ลักษณะการออกแบบ (design), รูปทรง (format) และ การออกมาเป็นรูปร่าง (look) ซึ่งรวมทั้งศิลปะสาขาหลักที่ได้แก่จิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม และรวมทั้งสาขาย่อยเช่นเซรามิค เฟอร์นิเจอร์ และศิลปะการตกแต่งอื่นๆ หลักของสาขาวิชานี้มาจากงานชิ้นสำคัญๆ ที่สร้างโดยศิลปินตะวันตก และกฎว่าด้วยศิลปะตะวันตกก็ยังเป็นแกนสำคัญในการเลือกสรรงานที่ได้รับการบรรยายในตำราประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยามาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการพยายามที่จะวางความหมายของสาขาวิชานี้ใหม่ให้กว้างขึ้น เพื่อรวมศิลปะที่ไม่ใช่ศิลปะตะวันตก, ศิลปะที่สร้างโดยศิลปินสตรี และศิลปะพื้นบ้านเข้าด้วย คำว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา” (หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์”) ครอบคลุมวิธีการศึกษาจักษุศิลป์หลายวิธี ที่โดยทั่วไปหมายถึงงานศิลปะ และ งานสถาปัตยกรรม สาขาของการศึกษาต่างๆ บางครั้งก็คาบกันเช่นที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์เอิร์นสท กอมบริค ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ก็คล้ายกับบริเวณกอลของจูเลียส ซีซาร์ที่แบ่งออกเป็นสามส่วน อาศัยอยู่โดยชนสามเผ่าพันธุ์ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน: (1) ผู้ที่เป็นคอศิลป์ (connoisseurs), (2) ผู้ที่เป็นนักวิพากษ์ศิลป์ และ (3) ผู้ที่เป็นนักวิชาการจากสถาบันผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์” ในฐานะที่เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งประวัติศาสตร์ศิลป์ต่างจากการวิพากษ์ศิลปะที่จะเน้นการสร้างพื้นฐานของคุณค่าของศิลปะโดยการเปรียบเทียบกับงานชิ้นอื่นที่เปรียบเทียบกันได้ทางด้านลักษณะ หรือการหันหลังให้แก่ลักษณะ หรือขบวนการศิลปะทั้งหมดที่พิจารณา และต่างจาก “ทฤษฎีศิลป์” (art theory) หรือ “ปรัชญาศิลป์” (philosophy of art) ที่คำนึงถึงธรรมชาติพื้นฐานของศิลปะ สาขาย่อยสาขาหนึ่งของการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์คือวิชาสุนทรียศาสตร์ (aesthetics) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงสุนทรียปรัชญา (Sublime) และการระบุหัวใจของสิ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีความเป็นสุนทรีย์ แต่ตามทฤษฎีแล้วประวัติศาสตร์ศิลป์ไม่ใช่สิ่งที่กล่าวมาเพราะนักประวัติศาสตร์ศิลป์ใช้การวิจัยโดยวิธีประวัติศาสตร์ (historical method) ในการตอบคำถาม “ศิลปินสร้างงานขึ้นมาได้อย่างไร”, “ใครเป็นผู้อุปถัมภ์”, “ใครเป็นครู”, “ใครคือผู้ชมงาน”, “ใครเป็นผู้ได้รับอิทธิพลจากลักษณะงาน”, “ประวัติศาสตร์ตอนใดที่มีอิทธิพลต่องาน” และ “งานที่สร้างมีผลทางเหตุการณ์ทางศิลปะ การเมือง และ สังคมอย่างใด” แต่กระนั้นประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาก็มิได้หมายความว่าเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการติดตามประวัติของงานเท่านั้น อันที่จริงแล้วนักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะวางพื้นฐานมาตรการการศึกษาโดยการวิเคราะห์งานแต่ละชิ้น และพยายามตอบปัญหาต่างๆ เช่น “อะไรคือสิ่งสำคัญของลักษณะของสิ่งที่ศึกษา”, “ความหมายใดที่งานชิ้นนี้พยายามสื่อ”, “งานชิ้นนี้มีผลต่อการดูอย่างใด”, “ศิลปินบรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการหรือไม่”, “งานที่ศึกษาประกอบด้วยสัญลักษณ์อะไรบ้าง” และ “งานที่ศึกษาเป็นงานที่ออกนอกประเด็นหรือไม่”.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนจิตรลดา

รงเรียนจิตรลดา (อังกฤษ: Chitralada School) เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นในบริเวณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าใช้จ่ายของโรงเรียน นักเรียนที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาเรียน จึงไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระบรมราโชบายให้โรงเรียนจิตรลดาได้ดำเนินงานมาโดยตลอด ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นองค์บริหาร โรงเรียนจึงได้รับสนองพระราโชบายในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยมีท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ ผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาในขณะนั้นเป็นผู้รับสนองพระราโชบายมาบริหารและดำเนินการ โรงเรียนจิตรลดาได้รับการยอมรับว่าเป็น "the most exclusive school in Thailand".

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และโรงเรียนจิตรลดา · ดูเพิ่มเติม »

เพลิงโอลิมปิก

ลิงโอลิมปิกในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ณ เมืองซอลต์เลกซิตี (Salt Lake City) รัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2545 เพลิงโอลิมปิก (Olympic Flame, Olympic Fire, Olympic Torch, Olympic Light, Olympic Eye, Olympic Sun) คือเพลิงที่ใช้จุดในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นสัญลักษณ์และอนุสรณ์ถึงเพลิงที่เทพโพรมีเทียสขโมยจากเทพเจ้าซุสมามอบให้แก่มนุษยชาติมีไว้บริโภคเป็นครั้งแรก การจุดคบเพลิงโอลิมปิกเป็นประเพณีปฏิบัติตั้งแต่สมัยกรีกโบราณที่ต้องรักษาให้เพลิงโชติช่วงตลอดการแข่งขันกีฬาดังกล่าว สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยุคปัจจุบัน ประเพณีการจุดเพลิงเช่นว่านี้ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม พ.ศ. 2471 สืบมาจนทุกวันนี้ ส่วนการส่งผ่านและวิ่งซึ่งคบเพลิงโอลิมปิกจากประเทศกรีซผ่านประเทศเครือข่ายต่าง ๆ ไปยังประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขันนั้นมีนายคาร์ล ไดเอ็ม (Carl Diem) และนายโยเซฟ เกิบเบลส์ (Joseph Goebbels) เป็นผู้ริเริ่มในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงเบอร์ลิน พ.ศ. 2479.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และเพลิงโอลิมปิก · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย

รื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (The Most Noble Order of the Crown of Thailand) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูง แก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แล้ว ให้ประกาศรายนามในราชกิจจานุเบกษา ปรกติแล้วจะประกาศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ของทุกปี แยกเป็น 2 ฉบับ คือชั้นต่ำกว่าสายสะพาย และชั้นสายสะพาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้น เมื่อ..

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

รื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก (The Most Exalted Order of the White Elephant) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แล้ว ให้ประกาศรายนามในราชกิจจานุเบกษา ปรกติแล้วจะประกาศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ของทุกปี แยกเป็น 2 ฉบับ คือชั้นต่ำกว่าสายสะพาย และชั้นสายสะพาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

19 เมษายน

วันที่ 19 เมษายน เป็นวันที่ 109 ของปี (วันที่ 110 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 256 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และ19 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กอสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ภูวสวัสดิ์ จักรพงษ์นริศรา จักรพงษ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »