โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หมู่โลหิต

ดัชนี หมู่โลหิต

หมู่โลหิต แอนติเจนของหมู่เลือด ABO แสดงบนเม็ดเลือดแดง หมู่โลหิต (Blood Type หรือ Blood Group) คือ การแยกแยะ เลือด เป็นหมวดหมู่ ปัจจุบันมีระบบหมู่โลหิต 32 ระบบ ระบบหมู่โลหิตที่สำคัญ ระบบเอบีโอ (ABO System) และ ระบบอาร์เอช (Rh System) โดยจำแนกตาม แอนติเจน ที่อยู่บน เม็ดเลือดแดง.

9 ความสัมพันธ์: ระบบหมู่โลหิตอาร์เอชระบบหมู่โลหิตเอบีโอรูปแบบพันธุกรรมรูปแบบปรากฏสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา)ทฤษฎีบุคลิกภาพหมู่โลหิตแอนติเจนเม็ดเลือดแดงเลือด

ระบบหมู่โลหิตอาร์เอช

ระบบหมู่โลหิตอาร์เอช (รีซัส) (Rh (Rhesus) blood group system) รวมทั้งอาร์เอชแฟกเตอร์ เป็นหนึ่งใน 33 หมู่โลหิตของมนุษย์ในปัจจุบัน เป็นระบบหมู่โลหิตที่สำคัญที่สุดรองจากระบบเอบีโอ ปัจจุบัน ระบบหมู่โลหิตอาร์เอชประกอบด้วยแอนติเจนหมู่โลหิตที่มีการนิยาม 50 แอนติเจน ที่สำคัญที่สุดมีห้าแอนติเจน ได้แก่ D, C, c, E และ e เมื่อเอ่ยว่าอาร์เอชบวกหรืออาร์เอชลบนั้นจะหมายถึงเฉพาะแอนติเจน D นอกเหนือไปจากการถ่ายเลือด ระบบหมู่โลหิตอาร์เอช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอนติเจน D ยังใช้กำหนดความเสี่ยงของโรคเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกเกิด (hemolytic disease of the newborn หรือ erythroblastosis fetalis) ชนิดที่เกิดจากหมู่โลหิต Rh เพราะการป้องกันเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในจัดการกับสภาพนี้ มารดาควรทดสอบเลือดเพื่อหาหมู่โลหิตเป็นการป้องกันก่อนคลอด หากเลือดไม่มีแอนติเจนอาร์เอช จะเรียกว่า อาร์เอชลบ หากมีแอนติเจน เรียกว่า อาร์เอชบวก เมื่อมารดามีหมู่อาร์เอชลบ ส่วนบิดามีหมู่อาร์เอชบวก ทารกในครรภ์สามารถรับอาร์เอชแฟกเตอร์จากบิดาได้ และจะทำให้ทารกในครรภ์มีหมู่อาร์เอชบวก อาจเกิดปัญหาขึ้นหากเกิดกรณีเช่นนี้ มารดาที่มีหมู่อาร์เอชลบ อาจสร้างแอนติบอดีต่อทารกในครรภ์ หากเลือดทารกเล็กน้อยผสมกับเลือดมารดา ซึ่งมักเกิดขึ้น ร่างกายมารดาอาจตอบสนองราวกับภูมิแพ้ต่อทารก แอนติบอดีนั้นสามารถผ่านรกและทำลายเลือดของทารกในครรภ์ได้ หมวดหมู่:เลือด หมวดหมู่:ระบบแอนติเจนเลือด.

ใหม่!!: หมู่โลหิตและระบบหมู่โลหิตอาร์เอช · ดูเพิ่มเติม »

ระบบหมู่โลหิตเอบีโอ

แอนติเจนหมู่โลหิตเอบีโอปรากฏบนเม็ดเลือดแดง และแอนติบอดี IgM ปรากฏในซีรัม หมู่โลหิตเอบีโอเป็นระบบหมู่โลหิตที่สำคัญที่สุดในการถ่ายเลือดมนุษย์ แอนตี-เอและแอนตี-บีแอนติบอดีมักเป็นแอนติบอดีมักเป็นแอนติบอดีชนิด IgM ซึ่งผลิตในปีแรกของชีวิตโดยการสัมผัสกับสารในสิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร แบคทีเรียและไวรัส หมู่โลหิตเอบีโอยังปรากฏในสัตว์อื่นบางชนิด เช่น สัตว์ฟันแทะ ลิงไม่มีหาง เช่น ชิมแปนซี ลิงโบโนโบและกอริลลา หมวดหมู่:ระบบหมู่โลหิต.

ใหม่!!: หมู่โลหิตและระบบหมู่โลหิตเอบีโอ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบพันธุกรรม

ลักษณะทางพันธุกรรม (genotype.) หมายถึงลักษณะองค์ประกอบของยีน (gene) ของสิ่งมีชีวิตที่มีการแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏที่แตกต่างกัน และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นอื่นๆ ต่อไปได้ โดยการถ่ายทอดยีน ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะมีหน่วยควบคุมลักษณะ (genetic unit) ควบคุมสิ่งมีชีวิตให้มีรูปร่าง และลักษณะเป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของพ่อแม่ เรียกว่า ยีน ดังนั้นยีนจึงทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นหลาน ลักษณะต่างๆ ที่ถ่ายทอดไปนั้นพบว่าบางลักษณะไม่ปรากฏในรุ่นลูก แต่อาจจะปรากฏในรุ่นหลานหรือเหลนก็ได้ จึงมีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันของลักษณะทางพันธุกรรมจนมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลาย แต่การสะสมลักษณะทางพันธุกรรมจำนวนมากทำให้เกิดสปีชีส์ต่างๆ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน หมวดหมู่:ภาวะพหุสันฐาน หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ he:גן (ביולוגיה)#מושגים בסיסיים.

ใหม่!!: หมู่โลหิตและรูปแบบพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบปรากฏ

patterning in their phenotypes. Here the relation between genotype and phenotype is illustrated, using a Punnett square, for the character of petal color in pea plants. The letters B and b represent genes for color, and the pictures show the resultant flowers. ลักษณะปรากฏ หรือ รูปแบบปรากฏ (phenotype) (φαίνω แปลว่า "เปิดเผย, แสดงออก"; τύπος แปลว่า "รูปแบบ") หมายถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็นได้หรือตรวจสอบได้ โดยไม่ต้องตรวจลงไปถึงระดับพันธุกรรม ลักษณะเหล่านี้ เช่น รูปร่าง การพัฒนา คุณสมบัติทางสรีรวิทยา คุณสมบัติทางชีวเคมี พฤติกรรม หรือผลที่เกิดจากพฤติกรรม (เช่น รูปร่างใยแมงมุม) ลักษณะปรากฏเหล่านี้เป็นผลจากการแสดงออกของพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเรียกว่า ลักษณะพันธุกรรม (genotype) ซึ่งอาจมีหรือไม่มีผลจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องก็ได้ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:ภาวะพหุสันฐาน.

ใหม่!!: หมู่โลหิตและรูปแบบปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา)

อาคาร 50 ของเอ็นไอเอช สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) หรือ เอ็นไอเอช (NIH) เป็นหน่วยงานวิจัยในสหรัฐอเมริการับผิดชอบในด้านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ โดยมีหน่วยงานย่อย 27 สถาบัน หน่วยงานก่อตั้งในปี พ.ศ. 2430 ภายใต้ชื่อ Laboratory of Hygiene ได้เติบโตและเปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. 2473 สถาบันปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองบาเธสดา ในรัฐแมริแลน.

ใหม่!!: หมู่โลหิตและสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีบุคลิกภาพหมู่โลหิต

มีความเชื่อที่ได้รับความนิยมทั่วไปในประเทศญี่ปุ่นและประเทศเอเชียตะวันออกอื่นว่าหมู่โลหิตเอบีโอของบุคคล หรือเค็ทซุเอะกิงะตะ (血液型) สามารถทำนายบุคลิกภาพ พื้นอารมณ์แต่กำเนิดและความเข้ากันได้กับผู้อื่นของบุคคลนั้นได้ ความเชื่อนี้คล้ายกับการมองว่าสัญลักษณ์ทางโหราศาสตร์เป็นปัจจัยส่งผลในชีวิตของบุคคลในประเทศอื่นทั่วโลก ทว่า หมู่โลหิตมีบทบาทเด่นกว่าโหราศาสตร์ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศเอเชียตะวันออกอื่นเมื่อเทียบกับในประเทศอื่น ความเชื่อนี้รับมาจากมโนภาพคตินิยมเชื้อชาติทางวิทยาศาสตร์ในอดีต กำเนิดขึ้นจากสิ่งพิมพ์เผยแพร่โดยมะซะฮิโกะ โนะมิในคริสต์ทศวรรษ 1970 ประชาคมวิทยาศาสตร์และวิชาการไม่สนใจความเชื่อดังกล่าวโดยมองว่าเป็นสิ่งงมงายหรือวิทยาศาสตร์เทียมเนื่องจากขาดพื้นฐานหลักฐานที่พิสูจน์ได้หรือการอ้างอิงเกณฑ์ที่ทดสอบได้ แม้การวิจัยความเชื่อมโยงเหตุกรรมระหว่างหมู่โลหิตและบุคลิกภาพมีจำกัด แต่การวิจัยได้แสดงเป็นที่ยุติว่าไม่มีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต.

ใหม่!!: หมู่โลหิตและทฤษฎีบุคลิกภาพหมู่โลหิต · ดูเพิ่มเติม »

แอนติเจน

255px ในวิทยาภูมิคุ้มกัน แอนติเจน หรือ สารก่อภูมิต้านทาน คือสารใด ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว (adaptive immune response) แอนติเจนมักเป็นสารที่แปลกปลอมหรือเป็นพิษต่อร่างกาย (เช่น ตัวเชื้อแบคทีเรีย) ซึ่งเมื่อเข้ามาในร่างกายแล้วจะถูกจับโดยแอนติบอดีที่มีความจำเพาะ แอนติบอดีแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับแอนติเจนชนิดหนึ่ง ๆ เนื่องจากมีความแตกต่างอย่างจำเพาะในส่วนจับคอมพลีเมนท์ (complementary determining region) ของแอนติบอดีนั้น ๆ (มักเปรียบเทียบว่าเหมือนการจับคู่กันได้พอดีของลูกกุญแจกับแม่กุญแจ) ผู้เสนอให้ใช้คำว่าแอนติเจนคือ ลาสโล เดเทอร์ (László Detre) ซึ่งใช้ครั้งแรกในบทความวิชาการที่เขียนร่วมกับอีลี เมตช์นิคอฟ (Élie Metchnikoff) ในปี..

ใหม่!!: หมู่โลหิตและแอนติเจน · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดแดง

ซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดง (red blood cell, Erythrocyte: มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้.

ใหม่!!: หมู่โลหิตและเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ใหม่!!: หมู่โลหิตและเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Blood groupBlood typeกรุ๊ปเลือดกลุ่มเลือดหมู่เลือด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »