โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บะช่อ

ดัชนี บะช่อ

อ หรือบ๊ะฉ่อ(肉脞) เป็นอาหารประเภทเนื้อหมูอย่างหนึ่ง ป็นหมูสับผสมเครื่องต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนแต้จิ๋ว บ๊ะฉ่อมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วหมายถึงหมูที่สับจนละเอียด เป็นการนำเนื้อหมูมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก แล้วสับให้ละเอียดด้วยปังตอ ปรุงรสขณะสับด้วยซีอิ๊ว น้ำปลา น้ำตาล แป้งข้าวโพด หรือรากผักชี กระเทียมโขลก สูตรดั้งเดิมของชาวแต้จิ๋วจะใส่เพียงซีอิ๊วและพริกไทยป่น บะช่อที่สับเสร็จแล้วใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงจืด นำไปยัดไส้มะระหรือหมึก บางครั้งนิยมสับส่วนผสมอื่นปนไปด้วยเช่น วุ้นเส้น กุ้ง ใบตำลึง ใบสะระแหน่ บะช่อมีบทบาทในอาหารจีนหลายชนิดและหลายภูมิภาค ชาวจีนแต้จิ๋วนำบะช่อไปนึ่ง ทอด และต้ม โดยนิยมนึ่งกับไข่ตุ๋นหรือผักกาดดอง ชาวจีนกวางตุ้งนิยมนำบะช่อมาผัด นึ่ง และตุ๋น นำมาปรุงคู่กับปลาเค็ม ผักกาดดองเค็ม ไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า นำมานึ่งเช่นคลุกกับข้าวเหนียวดิบแล้วนึ่ง ตุ๋นรวมกับน้ำแกงที่ใส่ของเค็มหรือของแห้ง เช่น เป็ดเค็ม หอยเชลล์แห้ง ผักกาดขาวตากแห้ง ชาวจีนฮกเกี้ยนนิยมนำบะช่อมาเป็นส่วนหนึ่งของน้ำแกง เช่งแกงจืดลำไยยัดไส้หมูสับ แกงจืดหมูสับผสมหัวไชเท้า ชาวจีนแคะใช้บะช่อปรุงอาหารมาก โดยนิยมนำสิ่งอื่นสับลงในบะช่อด้วย เช่น หมึกแห้ง ข้าวหมากแดง เนื้อปลา เนื้อกุ้ง อาหารไทยที่มีบะช่อเป็นองค์ประกอบได้แก่ ม้าอ้วน ที่นำหมูบะช่อ มันหมูแข็ง และเนื้อปูมารวมกัน ปรุงรสด้วยรากผักชี กระเทียม พริกไทย น้ำปลา ใส่ถ้วยตะไล นึ่งจนสุก ใช้เป็นอาหารว่าง.

11 ความสัมพันธ์: พริกไทยกระเทียมภาษาแต้จิ๋วมะระหอยเชลล์ผักชีผักกาดหัวซอสถั่วเหลืองแป้งข้าวโพดไข่เยี่ยวม้าไข่เค็ม

พริกไทย

ริกไทย เป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงอาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากเปลือกเมื่อทำให้แห้งจะมีสีดำ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อน พบทั้งการใช้ประกอบอาหารทั้งผลแห้งและผลสดที่มีสีเขียว หรือผลแห้งป่นเป็นผงเรียกพริกไทยป่น ซึ่งพริกไทยเป็นพืชคนละสายพันธุ์กับพริก (Chilli).

ใหม่!!: บะช่อและพริกไทย · ดูเพิ่มเติม »

กระเทียม

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้).

ใหม่!!: บะช่อและกระเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: บะช่อและภาษาแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

มะระ

มะระ หรือ ผักไห่ เป็นไม้เลื้อยเขตร้อนในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) นิยมปลูกเพื่อใช้ผลและยอดเป็นอาหาร มีรสขม ที่รู้จักกันดีมี 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นกและมะระจีน ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันคือ Momordica charantia สำหรับชื่อในภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ เช่น balsam apple, balsam pear, bitter cucumber, bitter gourd, bitter melon (สำหรับชื่อ bitter gourd หรือ biiter melon นี้มีที่มาจากชื่อจีนที่เรียกว่า 苦瓜).

ใหม่!!: บะช่อและมะระ · ดูเพิ่มเติม »

หอยเชลล์

หอยเชลล์ หรือ หอยพัด (Scallop) เป็นสัตว์มอลลัสกาฝาคู่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ Pectinidae หอยเชลล์พบได้ทุกมหาสมุทรของโลก หอยเชลล์จำนวนมากเป็นแหล่งอาหารราคาสูง ทั้งเปลือกสีสว่าง รูปพัดของหอยเชลล์บางตัว พร้อมกับแบบร่องเว้าแผ่ออกจากศูนย์กลาง ทำให้มีค่าสำหรับนักสะสมหอย โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคำว่า "scallop" แผลงมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า escalope หมายถึง "เปลือก".

ใหม่!!: บะช่อและหอยเชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ผักชี

ใบผักชี ผลแห้งของผักชีที่มักเรียกว่าเมล็ดผักชีหรือลูกผักชี ใช้เป็นเครื่องเทศ ผักชี, ผักชีลา หรือ ผักหอมป้อม เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กในวงศ์ Apiaceae ใบติดกับลำต้น มีใบย่อยเป็นจำนวนมาก ใบหยักลึกเข้าหากลางใบ ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาวอมชมพู ผลมีลักษณะรี ค่อนข้างกลม แก่จัดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล มีเมล็ด 2 เมล็ด ใช้รับประทานเป็นผัก และตกแต่งในอาหารหลายชนิด เช่น ใส่ในลาบ ก้อย แหนมสด รากผักชีใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำพริกแกง ใส่ในทอดมัน ห่อหมก น้ำจิ้ม เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ใส่ในน้ำพริกแกง สะเต๊ะ บาเยีย ข้าวหมกไก.

ใหม่!!: บะช่อและผักชี · ดูเพิ่มเติม »

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว (subsp. longipinnatus) หรือชื่ออื่น ๆ เช่น หัวผักกาด, หัวไช้เท้า หรือ หัวไชเท้า เป็นสปีชีส์ย่อยของ ผักกาดหัวสีแดง (R. sativus) ในอาหารญี่ปุ่นหัวไช้เท้าดิบมาขูดฝอยลงในซีอิ๊วและซอสต่างๆ ใช้เป็นน้ำจิ้ม ใส่ในต้มเค็ม และนิยมต้มปลาหมึกสดกับผักกาดหัวเพื่อช่วยให้เนื้อปลาหมึกนุ่มน่ารับประทานหน้า 22 เกษตร, ผักกาดหัว.

ใหม่!!: บะช่อและผักกาดหัว · ดูเพิ่มเติม »

ซอสถั่วเหลือง

ซอสถั่วเหลือง เป็นเครื่องปรุงอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองหมัก, เมล็ดข้าวย่าง, น้ำเกลือ และเชื้อรา Aspergillus oryzae หรือ Aspergillus sojae ซอสถั่วเหลืองมีการคิดค้นมาราว 2,200 ปี ในช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ของจีนโบราณ และแพร่ขยายไปทั่วเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร.

ใหม่!!: บะช่อและซอสถั่วเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

แป้งข้าวโพด

thumb แป้งข้าวโพด (corn starch, cornflour หรือ maize starch) เป็นแป้งที่ได้จากส่วนเมล็ดของข้าวโพด นิยมใช้ในการเพิ่มความข้นของซอสหรือซุปเนื่องจากให้เนื้อที่ใสกว่าแป้งชนิดอื่น และเป็นวัดถุดิบในการทำน้ำเชื่อมข้าวโพดอีกด้วย.

ใหม่!!: บะช่อและแป้งข้าวโพด · ดูเพิ่มเติม »

ไข่เยี่ยวม้า

ี่ยวม้าที่ถูกผ่าครึ่ง การตกแต่งไข่เยี่ยวม้าอย่างสวยงาม ไข่เยี่ยวม้า หรือ ไข่สำเภา คือ การแปรรูปไข่เพื่อการบริโภครูปแบบหนึ่งของคนจีนที่มีมาแต่โบราณกาล คนจีนเรียกว่า เหอี่ยหม่า หรือจี๋ไฮ่ โดยการใช้กรรมวิธีทำให้เป็นด่างถือว่าเป็นการถนอมอาหารรูปแบบหนึ่ง สามารถทำได้กับไข่เป็ด ไข่ไก่ และไข่นกกระทา โดยนำไข่ไปแช่หรือหมักในส่วนผสมที่มาจาก ปูนขาว, เกลือ, โซเดียมคาร์บอเนต, ใบชาดำ, ซิงก์ออกไซด์ และ น้ำ บางครั้ง ผู้ผลิตจะใส่สารประกอบของตะกั่วลงไป เพื่อควบคุมความเป็นกรดด่าง (pH) ให้คงที่ ซึ่งช่วยให้ไข่ขาวแข็งตัวอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นในไข่เยี่ยวม้า จึงอาจมีสารตะกั่วในรูปของลีดซัลไฟด์อยู่ โดยสังเกตได้จากส่วน ของไข่ขาวจะมีสีดำมาก ลักษณะขุ่น ส่วนไข่เยี่ยวม้าที่ไม่มีลีดซัลไฟด์ ไข่ขาวจะมีสีน้ำตาลคล้ำและมีลักษณะใส ซึ่งถ้าพบไข่เยี่ยวม้ามีลักษณะ ไข่ขาวขุ่นไม่ใสก็ควรจะหลีกเลี่ยงไม่รับประทาน.

ใหม่!!: บะช่อและไข่เยี่ยวม้า · ดูเพิ่มเติม »

ไข่เค็ม

็ม ไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง โดยมากมักจะใช้ไข่เป็ด แล้วนำไปแช่ในน้ำเกลือหรือนำไปพอกด้วยวัสดุที่ผสมเกลือเพื่อให้เกลือซึมเข้าไปในเนื้อของไข่ เพื่อให้สามารถเก็บไข่ไว้ได้นานขึ้น ไข่เป็ดเค็มที่ผลิตจากการแช่น้ำเกลือจะมีกลิ่นน้ำเกลือ ไข่ขาวจะแน่นและเนียน ในขณะที่ไข่แดงจะมีสีออกส้มอมแดง แต่ถ้าใช้ไข่ไก่จะมีรสชาติและรสสมผัสที่แตกต่างออกไป และรสชาติไข่แดงจะเข้มข้นน้อยกว่าไข่เป็ด ไข่เค็มสามารถนำมาใช้ประกอบอาหาร หลังจากที่ผ่านการต้มหรือนึ่ง, เอามาใส่โจ๊ก, กินกับข้าวต้ม, หรือจะเอาไปทอดเป็นไข่ดาวก็ได้ ในส่วนของรสชาติ ไข่ขาวจะมีรสเค็มโดด ในขณะที่ไข่แดงจะมีรสมันและเค็มน้อยกว่าไข่ขาว นอกจากนี้ ไข่แดงเค็ม มักถูกนำไปทำเป็นไส้ของขนมไหว้พระจันทร์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนดวงจันทร.

ใหม่!!: บะช่อและไข่เค็ม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

หมูสับบ๊ะฉ่อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »