โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หมูป่าอินโดจีน

ดัชนี หมูป่าอินโดจีน

หมูป่าอินโดจีน (Heude's pig, Indochinese warty pig, Vietnam warty pig) เป็นหมูป่าชนิดหนึ่ง จัดเป็นหมูป่าชนิดที่หาได้ยากมาก หมูป่าชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในโลกเมื่อมีเก็บซากกะโหลกเมื่อปี ค.ศ. 1890 ที่บริเวณแม่น้ำด่งนาย ของเวียดนาม และในปี ค.ศ. 1995 ได้มีการล่าหมูป่าอินโดจีนได้ที่บริเวณพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนาไก-น้ำเทิน ซึ่งอยู่ในภาคกลางของลาว ปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างหมูป่าอินโดจีนกับหมูป่าธรรมดา (S. scrofa) ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอ นอกจากการอธิบายจากรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้นที่หมูป่าอินโดจีนมีขนตามลำตัวยาวกว่ายิ่งโดยเฉพาะขนบริเวณปากและหน้า การกระจายพันธุ์เชื่อว่ามีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ตามป่าลึกของเทือกเขาอันนัมซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างลาวกับเวียดนาม และจากการศึกษาล่าสุดเป็นไปได้ว่า หมูป่าอินโดจีนอาจจะเป็นชื่อพ้องของหมูป่าที่อาศัยอยู่ทางด้านตะวันออกของลุ่มแม่น้ำโขง หรือภูมิภาคอินโดจีน.

15 ความสัมพันธ์: ชื่อพ้องพ.ศ. 2433พ.ศ. 2435พ.ศ. 2538กะโหลกศีรษะสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหมูป่าอันดับสัตว์กีบคู่ประเทศลาวประเทศเวียดนามนากาย-น้ำเทินโลกเทือกเขาอันนัม

ชื่อพ้อง

ในระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ชื่อพ้องคือชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันสำหรับสิ่งมีชีวิตสิ่งเดียวในทางอนุกรมวิธาน ชื่อให้ใช้ชื่อตั้งขึ้นก่อนหรือที่ถูกต้องได้รับการยอมรับจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ส่วนชื่ออื่น ๆให้เป็นชื่อพ้อง การใช้และคำศัพท์ก็จะต่างกันไปในสัตววิทยาและพฤกษศาสตร.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและชื่อพ้อง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2433

ทธศักราช 2433 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1890 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและพ.ศ. 2433 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2435

ทธศักราช 2435 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1892 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและพ.ศ. 2435 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

หมูป่า

หมูป่า เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ เป็นต้นสายพันธุ์ของหมูบ้านในปัจจุบัน.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและหมูป่า · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

นากาย-น้ำเทิน

ตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาตินากาย-น้ำเทิน (Nakai–Nam Theun National Biodiversity Conservation Area) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า นากาย-น้ำเทิน เป็นเขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (ตัวย่อ: NBCA) แห่งหนึ่งในประเทศลาว มีพื้นที่ประมาณ 3,445 ตารางกิโลเมตร บริเวณเทือกเขาอันนัมและที่ราบสูงนากาย ในแขวงคำม่วนและแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว มีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองนากาย นากาย-น้ำเทินอยู่ทางตะวันออกของบริเวณเขื่อนน้ำเทิน 2 มีสภาพเป็นลาดเขาที่ค่อยสูงขึ้นไปไปจนถึงสันเขาที่เป็นชายแดนติดต่อกับเวียดนาม เป็นป่ารับน้ำที่ป้อนน้ำเข้าสู่เขื่อนน้ำเทิน 2 และเป็นเขตป่าที่ได้รับการอนุรักษ์ปกปักรักษาให้คงสภาพป่าที่สมบูรณ์ตามธรรมชาติโดยไม่ถูกรบกวน มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลมารวมกันเรียกว่า "น้ำเทิน" ได้แก.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและนากาย-น้ำเทิน · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและโลก · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาอันนัม

ทือกเขาอันนัม เทือกเขาอันนัม (Annamite Range, Annamese Mountains, Annamese Range, Annamese Cordillera, Annamite Mountains, Annamite Cordillera) เป็นเทือกเขาในภูมิภาคอินโดจีน มีความยาวประมาณ 1,100 กิโลเมตร (680 ไมล์) เป็นชายแดนตลอดแนวทิศตะวันตกของประเทศเวียดนามต่อกับลาวและทางตอนเหนือของกัมพูชา มีชื่อเรียกในภาษาเวียดนามว่า "สายเจื่องเซิน" (Dãy Trường Sơn) และ "สายภูหลวง" (ພູຫລວງ) ในภาษาลาว เทือกเขาอันนัมประกอบด้วยภูเขาและยอดเขาเป็นจำนวนมาก โดยยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ภูเบี้ย ที่ความสูง 2,819 เมตร และยังเป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย ทางด้านชีววิทยา เทือกเขาอันนัมเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าและพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งหลายชนิดเป็นการค้นพบใหม่หรือไม่ได้มีศึกษาทางสัตววิทยามาก่อนจำนวนมาก อาทิ ซาวลา (Pseudoryx nghetinhensis), เก้งยักษ์ (Muntiacus vuquangensis), เก้งเจื่องเซิน (M. truongsonensis), หมูป่าอินโดจีน (Sus bucculentus) เป็นต้น โดยตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา มีการค้นพบผีเสื้อ 2 ชนิด, งู 1 ชนิด, กล้วยไม้ 5 ชนิด และพืชชนิดอื่น ๆ อีก 3 ชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่พบนี้ไม่มีสีเขียวหรือไม่มีคลอโรฟิลล์สังเคราะห์ด้วยแสงแต่ดำรงชีพด้วยการกินอินทรีย์สารที่เน่าเปื่อยเป็นอาหารคล้ายพวกฟังไจแทน โดยทางกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) เชื่อว่า เป็นเพราะป่าดิบชื้นแถบนี้ไม่เคยถูกรบกวนจากมนุษย์มาเป็นเวลานานหลายพันปีแล้ว และเชื่อว่ายังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้ถูกค้น.

ใหม่!!: หมูป่าอินโดจีนและเทือกเขาอันนัม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sus bucculentus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »