โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระยาภักดีนุชิต

ดัชนี พระยาภักดีนุชิต

พระยาภักดีนุชิต (?-2091) หรือ หมื่นราชเสน่หา (นอกราชการ) ขุนนางคนสำคัญในแผ่นดิน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และเป็น 1 ใน 4 ผู้ร่วมก่อการโค่นล้ม ขุนวรวงศาธิราช และ แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ หมื่นราชเสน่หาผู้นี้เป็นข้าหลวงเดิมที่รับใช้ พระเฑียรราชา ใกล้ชิดเมื่อขุนวรวงศาธิราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ขึ้นครองเมืองหมื่นราชเสน่หาจึงได้ร่วมมือกับขุนนางอีก 3 ท่านคือ ขุนพิเรนทรเทพ เจ้าเมือง พิษณุโลก,ขุนอินทรเทพ อดีตราชองครักษ์ในรัชสมัย สมเด็จพระชัยราชาธิราช และ หลวงศรียศ ขุนนางคนสนิทของขุนพิเรนทรเทพโดยมี โดยวางอุบายให้ขุนวรวงศาธิราชไปคล้องช้างป่าที่ ลพบุรี และเมื่อถึงที่ซุ่มตรง คลองปลาหมอ ผู้ก่อการทั้ง 4 ก็เข้าต่อสู้พร้อมกับจับขุนวรวงศาธิราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์พร้อมบุตรชายประหารชีวิตส่วนพระศรีศิลป์นั้นรอดชีวิตทางด้านหมื่นราชเสน่หา (นอกราชการ) นั้นทำหน้าที่ลั่นไกสังหาร อุปราชจัน น้องชายของขุนวรวงศาธิราชตายตกคอช้าง หลังจากพระเฑียรราชาซึ่งทรงพระผนวชอยู่ ณ วัดราชประดิษฐาน ได้ลาผนวชมารับราชสมบัติพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็ได้มีการปูนบำเหน็จคณะผู้ก่อการโดยเฉพาะหมื่นราชเสน่หา (นอกราชการ) ได้รับการปูนบำเหน็จเป็น พระยาภักดีนุชิต หลังจากครองราชย์ได้เพียง 6 เดือนสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ต้องทำศึกป้องกันพระนครจากกองทัพพม่าของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ที่จะยกมาทางเมือง กาญจนบุรี พระยาภักดีนุชิตจึงอาสาเป็นทัพหน้าโดยตั้งค่ายที่ เขาชนไก่ พระยาภักดีนุชิตตายในที่รบเมื่อปี พ.ศ. 2091 ในศึกครั้งนี้โดยผู้ที่รับบทหมื่นราชเสน่หา (นอกราชการ) ในภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท คือ สรพงศ์ ชาตรี หมวดหมู่:ขุนนางไทย หมวดหมู่:ขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์สุพรรณภูมิ.

18 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2091พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้มหาอุปราช (จัน)วัดราชประดิษฐานสมเด็จพระมหาจักรพรรดิสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสมเด็จพระไชยราชาธิราชสรพงศ์ ชาตรีสุริโยไทหลวงศรียศอาณาจักรอยุธยาจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดลพบุรีขุนวรวงศาธิราชค่ายฝึกเขาชนไก่นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช

พ.ศ. 2091

ทธศักราช 2091 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและพ.ศ. 2091 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

ระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ หรือ ตะเบ็งเฉวฺ่ที (Tabinshwehti, တပင်ရွှေထီး; สำเนียงพม่าออกว่า "ตะเบ็งเฉวฺ่ที") เป็นพระมหากษัตริย์พม่ารัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์ตองอู เป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวในพระเจ้าเมงจีโย ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอู.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ · ดูเพิ่มเติม »

มหาอุปราช (จัน)

มหาอุปราช (จัน) เป็นพระมหาอุปราชในรัชกาลขุนวรวงศาธิราช ทรงได้รับการอุปราชาภิเษกได้เพียงไม่กี่วันก็ถูกลอบปลงพระชนม.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและมหาอุปราช (จัน) · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชประดิษฐาน

วัดราชประดิษฐาน ตั้งอยู่ที่ถนนอู่ทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยามีกล่าวถึงวัดราชประดิษฐานหลายครั้ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นคนสร้างและสร้างในรัชสมัยใด ปัจจุบัน เป็นวัดราษฎร.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและวัดราชประดิษฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

มเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า (พระนามเดิม พระเทียรราชา) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 15 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องว่ามีบุญญาธิการมากเพราะทรงมีช้างเผือกในครอบครองถึง 7 ช้าง จนได้รับการขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก ในรัชกาลนี้ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจากคราวขุนวรวงศาธิราช สภาพบ้านเมืองไม่ได้สงบสุขเท่าที่ควร มีเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะสงครามกับกรุงหงสาวดี.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

มเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1 พระมหากษัตริย์ไทยผู้สถาปนาราชวงศ์สุโขทัยสมัยอาณาจักรอ.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระไชยราชาธิราช

มเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 13 แห่งอาณาจักรอยุธยาในสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ หลังจากครองราชย์ได้ทรงเป็นผู้นำทัพออกรบปราบกบฏหัวเมืองอยู่เนือง.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและสมเด็จพระไชยราชาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

สรพงศ์ ชาตรี

รพงษ์ ชาตรี หรือชื่อจริง กรีพงษ์ เทียมเศวต หรือ พิทยา เทียมเศวต นักแสดงชายชั้นแนวหน้าของไทย ผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ในปี..

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและสรพงศ์ ชาตรี · ดูเพิ่มเติม »

สุริโยไท

ริโยไท เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ เน้นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตัวละครเอก คือ พระสุริโยไท พระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอ.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและสุริโยไท · ดูเพิ่มเติม »

หลวงศรียศ

ต๊อก ศุภกรณ์ ผู้รับบทหลวงศรียศ ใน สุริโยไท หลวงศรียศ (?-?) เป็นขุนนางคนสำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช และได้ร่วมกับขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ และหมื่นราชเสน่หา (นอกราชการ) ร่วมก่อการโค่นอำนาจขุนวรวงศาธิราชและนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ หลวงศรียศ เกิดที่บ้านลานตากฟ้า แขวงเมืองนครสวรรค์ แต่เมื่อใดและมีนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏ ปรากฏตัวครั้งแรกในพระราชพงศาวดารเมื่อได้เข้าร่วมกับสมเด็จพระชัยราชาธิราชก่อการรัฐประหารสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมารในปี พ.ศ. 2077 จนปี พ.ศ. 2091 เมื่อพระยอดฟ้า พระราชโอรสของพระชัยราชาซึ่งครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ. 2089 ได้ถูกแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราชปลงพระชนม์ด้วยการวางยาพิษในพระกระยาหารเช่นเดียวกับพระราชบิดา หลวงศรียศจึงได้ร่วมมือกับขุนนางอีก 3 ท่านโค่นอำนาจของขุนวรวงศาธิราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์พร้อมกับทูลอัญเชิญพระเฑียรราชา พระราชอนุชาต่างพระราชมารดาของสมเด็จพระชัยราชาธิราช ซึ่งผนวชอยู่ ณ วัดราชประดิษฐาน ขึ้นครองสิริราชสมบัติทรงพระนามว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ หลวงศรียศจึงได้รับการปูนบำเหน็จเป็นเจ้าพระยามหาเสนาที่สมุหพระกลาโหม พร้อมกับพระราชทานลูกพระสนมองค์หนึ่งให้เป็นภรรยาและเครื่องประดับยศอีกมากมาย หลวงศรียศ หรือเจ้าพระยามหาเสนาบดีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อใดไม่ปรากฏแต่หายสาบสูญไปในการกบฏของพระศรีศิลป์ หมวดหมู่:สุริโยไท หมวดหมู่:ขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและหลวงศรียศ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพิษณุโลก

ังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี..

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและจังหวัดพิษณุโลก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกาญจนบุรี

ังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและจังหวัดกาญจนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลพบุรี

ังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นถึง 8 จังหวัด วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและจังหวัดลพบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ขุนวรวงศาธิราช

นวรวงศาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านไม่นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์เพราะถือว่าเป็นกบฏสมคบกับนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์แย่งชิงราชบัลลังก์จากพระยอดฟ้า อย่างไรก็ตาม ในพงศาวดารได้ระบุว่าพระองค์ได้ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและขุนวรวงศาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายฝึกเขาชนไก่

อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ค่ายฝึกเขาชนไก่ เป็นสถานที่ฝึกภาคสนามของนักศึกษาวิชาทหาร สังกัดหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน กองทัพบกไทย ตั้งอยู่ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3199 (กาญจนบุรี–เขื่อนศรีนครินทร์) อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 150 กิโลเมตร ในเวลาที่ไม่มีการฝึกจะเปิดเป็นค่ายฝึกสำหรับประชาชนทั่วไปมีกิจกรรมเช่น การโดดหอสูง การยิงปืน การไต่เชือกข้ามลำน้ำ ชมพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปีจะเป็นค่ายฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ค่ายฝึกเขาชนไก่ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 ชื่อ "เขาชนไก่" เชื่อว่าเป็นบ้านเดิมของขุนไกร พ่อของขุนแผน เป็นสถานที่ที่นางทองประศรี แม่ของขุนแผนพาขุนแผนหรือพลายแก้ว เมื่อครั้งยังเด็กมาหลบราชภัย เข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่ "ดอนเขาชนไก่" บนยอดเขาชนไก่มีลานกว้าง มีหลักหินแสดงบริเวณอยู่ เชื่อกันว่า เป็นลานชนไก่ของขุนแผน โดยขุนแผนหลังเข้ารับราชการและได้รับตำแหน่งเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองกาญจนบุรี หรือ พระสุรินททร์ฤๅชัย ชาวบ้านจึงได้สร้างศาล"เจ้าพ่อเขาชนไก"่ ขึ้นมาสักการะ ในปี..

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและค่ายฝึกเขาชนไก่ · ดูเพิ่มเติม »

นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์

นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ คือพระมเหสีฝ่ายซ้ายคำให้การชาวกรุงเก่า, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2553, หน้า 492-494ในสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระอัครมเหสีในขุนวรวงศาธิราช และพระราชมารดาในพระยอดฟ้าและพระศรีศิลป์พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2553, หน้า 66-7.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช

เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช จากภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท แสดงโดย อำพล ลำพูน เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช เป็นชื่อตำแหน่งเจ้านายในราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช สมัยอยุธยา ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปกครองทางใต้ของไทย มีเมืองสิบสองเมืองชื่อเมืองสิบสองนักษัตร เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราชที่ปรากฏเด่นชัดในประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง คือ เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ผู้ที่อวยยศมาจากขุนอินทรเทพ ราชองครักษ์ของสมเด็จพระชัยราชาธิราช พระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราชผู้นี้ ได้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับออกญาพิษณุโลก เพื่อสังหารขุนวรวงศาธิราช และท้าวศรีสุดาจันทร์ อนึ่งเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชองค์นี้ ยังเป็นพระอนุชาของพระนางเจ้าอินทรเทวี พระมเหสี 1 ใน 4 พระองค์ของพระเจ้าไชยราชาธิราช ที่เป็นพระธิดาพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งนครศรีธรรมราช หมวดหมู่:บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา.

ใหม่!!: พระยาภักดีนุชิตและเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

หมื่นราชเสน่หา (นอกราชการ)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »