โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่

ดัชนี หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่

หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (Nineteen Eighty-Four) บ้างใช้ว่า 1984 เป็นนวนิยายดิสโทเปียโดย จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ใน..

14 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษบิกบราเธอร์การโฆษณาชวนเชื่อระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จรัศมี เผ่าเหลืองทองลัทธิบูชาบุคคลลัทธิอำนาจนิยมจอร์จ ออร์เวลล์ดิสโทเปียนิวสปีกโอเชียเนียไมเคิล แรดฟอร์ดไทม์เรียลลิตีโชว์

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

บิกบราเธอร์

ก บราเธอร์ (Big Brother) เป็นเกมเรียลลิตีโชว์ที่นำผู้เข้าแข่งขันประมาณ 12 คน มาใช้ชีวิตด้วยกันในบ้านหลังหนึ่ง เป็นเวลา 100 กว่าวัน โดยมีกล้องมากกว่า 30 กว่าตัวคอยสอดส่องพฤติกรรมของคนในบ้าน และคนในบ้านถูกตัดขาดจากโลกภายนอก และไม่มี โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อต่าง ๆ ในบ้านบิกบราเธอร์ บิกบราเธอร์ เริ่มขึ้นที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในเดือนกันยายน ปี..

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และบิกบราเธอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การโฆษณาชวนเชื่อ

การโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มุ่งชักจูงทัศนคติของประชาคมต่ออุดมการณ์หรือมุมมองบางอย่างโดยการนำเสนอการให้เหตุผลเพียงข้างเดียว การโฆษณาชวนเชื่อมักทำซ้ำและกระจายในสื่อหลายชนิดเพื่อสร้างผลที่เลือกสรรแล้วในทัศนคติของผู้ชม ตรงข้ามกับการให้สารสนเทศอย่างยุติธรรม การโฆษณาชวนเชื่อ ในความหมายพื้นฐานที่สุด นำเสนอสารสนเทศเพื่อชักจูงผู้ชมเป็นหลัก การโฆษณาชวนเชื่อมักนำเสนอข้อเท็จจริงที่เลือกเฟ้นแล้วเพื่อกระตุ้นการสังเคราะห์อย่างเฉพาะเจาะจง หรือใช้ข้อความจำนวนมากเพื่อสร้างการตอบสนองทางอารมณ์ มิใช่เหตุผล ต่อสารสนเทศที่นำเสนอ ผลที่คาดหวัง คือ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อหัวข้อในผู้ชมเป้าหมายเพื่อส่งเสริมวาระทางการเมืองหรือศาสนาต่อไป การโฆษณาชวนเชื่อยังสามารถใช้เป็นการสงครามการเมืองรูปแบบหนึ่งได้ แม้คำว่า การโฆษณาชวนเชื่อ จะดูมีความหมายเป็นลบ (เช่น การโฆษณาชวนเชื่อของนาซีที่ใช้สร้างความชอบธรรมแก่ฮอโลคอสต์) แต่ยังใช้กับ การแนะนำด้านสาธารณสุข ป้ายกระตุ้นให้พลเมืองเข้าร่วมในการลงประชามติหรือการเลือกตั้ง หรือข้อความกระตุ้นให้บุคคลรายงานอาชญากรรมต่อตำรวจ ก็ได้ หมวดหมู่:โฆษณาชวนเชื่อ หมวดหมู่:มติมหาชน หมวดหมู่:การควบคุมจิตใจ.

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และการโฆษณาชวนเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ

ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) เป็นระบบการเมืองที่รัฐถืออำนาจเบ็ดเสร็จเหนือสังคมและมุ่งควบคุมทุกแง่มุมของชีวิตสาธารณะและชีวิตส่วนตัวตามที่เห็นจำเป็นRobert ConquestReflections on a Ravaged Century (2000) ISBN 0-393-04818-7, page 74 มโนทัศน์ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จพัฒนาขึ้นครั้งแรกในความหมายเชิงบวกในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยฟาสซิสต์อิตาลี มโนทัศน์ดังกล่าวกลายมาโดดเด่นในวจนิพนธ์การเมืองต่อต้านคอมมิวนิสต์ของตะวันตกระหว่างสงครามเย็น เพื่อเน้นความคล้ายที่รับรู้ระหว่างนาซีเยอรมนีและระบอบฟาสซิสต์อื่นด้านหนึ่ง กับคอมมิวนิสต์โซเวียตอีกด้านหนึ่ง.

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ · ดูเพิ่มเติม »

รัศมี เผ่าเหลืองทอง

รัศมี เผ่าเหลืองทอง นักเขียนบท นักแปล และผู้กำกับละครเวที เป็นอาจารย์สอนด้านวรรณกรรมและการละคร ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีงานการแปลวรรณกรรมหลายด้าน เช่น คอยโกโดต์ ดอนกีโฮเต้ รัศมี เผ่าเหลืองทอง เคยเป็นบรรณาธิการนิตยสารโลกหนังสือ และร่วมก่อตั้งกลุ่มละครสองแปดกับ สุชาติ สวัสดิ์ศรี และ บุรณี รัชไชยบุญ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแสงอรุณ.

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และรัศมี เผ่าเหลืองทอง · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบูชาบุคคล

ลสักการะรูปปั้นคิม อิล-ซ็องในกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ ครุชชอฟ และสมาชิกโปลิตบูโรพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เข้าร่วมพาเรดวันแรงงานสากล ในปี 1964 ลัทธิบูชาบุคคล (cult of personality) เกิดขึ้นเมื่อปัจเจกบุคคลใช้สื่อมวลชน โฆษณาชวนเชื่อ หรือวิธีการอื่นเพื่อสร้างภาพลักษณ์อุดมคติ วีรกรรม และบางครั้ง น่าเคารพบูชา มักผ่านการประจบและสรรเสริญโดยปราศจากข้อสงสัย มักซ์ เวแบร์ นักสังคมวิทยา พัฒนาการจำแนกอำนาจสามประการ โดยลัทธิบูชาบุคคล ถือขนานกับสิ่งที่เวแบร์นิยามเป็น "อำนาจบุญบารมี" ลัทธิบูชาบุคคลคล้ายกับการบูชาวีรบุรุษ ยกเว้นดำเนินโดยสื่อมวลชนและโฆษณาชวนเชื่อซึ่งปกติรัฐเป็นผู้ดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็.

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และลัทธิบูชาบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอำนาจนิยม

อำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ ตามปกติมักตรงข้ามกับปัจเจกนิยมและอิสรนิยม ในทางการเมือง รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือรัฐ หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103) โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้นำ ควบคุมสื่อมวลชน ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของมนุษยชาติ ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ในขณะที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่เสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ อำนาจนิยมมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยการปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอเป้าหมายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทางการเมืองได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล แต่กระนั้น ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ บรรทัดฐานหรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบการเมืองก็ได้ ประเทศที่จัดได้ว่าเป็นระบอบอำนาจนิยม เช่น อิหร่าน สหภาพเมียนมาร์ (พม่า--Union of Myanmar) ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย ภายใต้นายพลซูฮาร์โต เป็นต้น ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศในลาตินอเมริกา นำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการอำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายประเทศจำนวนหนึ่งที่เคยเป็นประชาธิปไตย แต่เกิดหักเหจนในที่สุดระบอบประชาธิปไตยต้องล่มสลาย และถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการรัฐประหารยึดกุมสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการพลเรือน นักเทคนิคระดับสูง (technocrats) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการอำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยมแบบพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการอำนาจนิยม เช่น บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี ในยุคปัจจุบันที่ปรากฏมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107) ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เส้นแบ่งใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบอำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในคราบประชาธิปไตยตัวแทนจอมปลอม (authoritarianism disguised in the form of representative democracy) จึงอยู่ที่มิติด้านคุณภาพของการเลือกตั้งและประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบด้วย กล่าวคือ การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี เที่ยงธรรม และโปร่งใส (free, fair, and transparent election) ที่ปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแทรกแซงของคณะทหาร ไม่มีการครอบงำ หรือจำกัดคู่แข่งทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง จึงจะนับได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เพียงพอและจำเป็นที่จะนำไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง (Badie, 2011: 112-114) และเมื่อได้ชัยชนะและมีเสียงข้างมากแล้ว หากใช้กลไกเสียงข้างมากบ่อนทำลายกลไกตรวจสอบ ก็อาจนำไปสู่อำนาจนิยมซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างอำนาจนิยมและประชาธิปไตยที่สำคัญไม่แพ้การเลือกตั้ง คือ การมีหลักนิติธรรมที่ไม่เอนเอียง มีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคต.

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และลัทธิอำนาจนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ออร์เวลล์

อร์จ ออร์เวลล์ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) เป็นนามปากกาของ เอริก อาร์เทอร์ แบลร์ (Eric Arthur Blair) นักเขียนชาวอังกฤษ (25 มิถุนายน พ.ศ. 2446 - 21 มกราคม พ.ศ. 2493) นอกจากจะเป็นนักวิจารณ์ด้านการเมืองและวัฒนธรรมแล้ว ออร์เวลล์ยังเป็นนักเขียนความเรียงที่มีผู้ชื่นชมมากที่สุดคนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตามเขาเป็นที่รู้จักจากนวนิยายสองเรื่องที่เขาเขียนช่วงท้ายทศวรรษ 1940 ชื่อ แอนิมัลฟาร์ม (Animal Farm) ซึ่งเป็นนิยายล้อเลียนการเมือง (มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนในภายหลังด้วย) และ หนึ่งเก้าแปดสี่ (1984) ซึ่งกล่าวถึงดิสโทเปียที่มีการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จได้อย่างเห็นภาพ จนกระทั่งมีการใช้คำว่า แบบออร์เวลล์ เพื่อใช้เรียกระบบระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จในการครอบงำความ.

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และจอร์จ ออร์เวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ดิสโทเปีย

ทเปีย (dystopia; มีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ cacotopiaCacotopia (from κακός kakos "bad") was the term used by Jeremy Bentham in his 19th century works, kakotopia และ anti-utopia) เป็นสังคมที่ไม่พึงประสงค์หรือน่าหวาดกลัว ปกครองด้วยระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ หรือมีภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความหมายโดยพยัญชนะของ ดิสโทเปีย จึงหมายถึง "สถานที่เลวร้าย" ว่าตรงกันข้ามกับแนวคิดสังคมแบบยูโทเปีย คำว่า "ดิสโทเปีย" นี้ ปกติถือว่าเป็นสภาพการควบคุมทางสังคมที่โหดร้าย รุนแรง ว่ากันว่า ผู้ที่ใช้คำนี้เป็นครั้งแรกก็คือ จอห์น สจวร์ต มิลล์ เมื่อ ค.ศ. 1868 โดยใช้ศัพท์δυσ- หมายถึง สถานที่ซึ่งสิ่งต่างๆ ล้วนเลวทราม แทนที่จะเป็นสิ่งดีงามสุขสบายอย่างευ-ในยูโทเปีย อุปสรรค ดิส ในภาษากรีกนั้น หมายถึง ไม่ดี เลว หรือ อปกติ ขณะที่ โอว หมายถึง ไม่ (ยูโทเปีย (Utopia) หมายถึง ไม่มีที่ใด, และเป็นแผลงเป็น อิวโทเปีย (Eutopia) หมายถึง สถานที่แห่งความรื่นรมย์ เพราะอุปสรรค "อิว" นั้น หมายถึง ดี) ด้วยเหตุนี้ ดิสโทเปีย และ ยูโทเปีย ถึงไม่ได้มีความหมายตรงข้ามกันอย่างแท้จริง อย่างในกรณีของ "ดิสฟอเรีย" (dysphoria) และอิวฟอเรีย (euphoria) คำว่า "ดิสโทเปีย" เองนั้นเป็นคำประสมในภาษากรีก ดิส (dys) และ โทเปีย (topia) (จากคำว่า "โทปอส" หมายถึง สถานที่).

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และดิสโทเปีย · ดูเพิ่มเติม »

นิวสปีก

นิวสปีก (Newspeak) เป็นภาษาในนวนิยายเรื่อง หนึ่งเก้าแปดสี่ (Nineteen Eighty-Four) ของ จอร์จ ออร์เวลล์ นวนิยายดังกล่าวอธิบายนิวสปีกว่าเป็น "ภาษาเพียงหนึ่งเดียวในโลก ที่จำนวนคำศัพท์ลดลงทุกปี" ออร์เวลล์ได้รวมข้อความเกี่ยวกับนิวสปีกไว้ในภาคผนวก (เขียนโดยใช้รูปกริยาอดีตกาล) โดยในนั้นได้อธิบายหลักการพื้นฐานของภาษาเอาไว้ นิวสปีกนั้นมีพื้นฐานใกล้ชิดจากภาษาอังกฤษ แต่ได้ลดจำนวนและความซับซ้อนของคำศัพท์และไวยากรณ์ลงอย่างมาก ซึ่งการทำเช่นนี้ เหมาะเจาะกับระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จของพรรค ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะทำให้ความคิดทางเลือก ("thoughtcrime") หรือคำพูดเกี่ยวกับมันนั้นเป็นไปไม่ได้ โดยการกำจัดคำหรือวิธีผูกเรื่องใด ๆ ที่สามารถอธิบายแนวคิดเรื่อง เสรีภาพ การปฏิวัติ ฯลฯ ได้ออกไป คำในนิวสปีกสำหรับเรียกภาษาอังกฤษคือ "Oldspeak" มีความตั้งใจที่จะแทน Oldspeak ด้วย Newspeak โดยสมบูรณ์ภายใน..

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และนิวสปีก · ดูเพิ่มเติม »

โอเชียเนีย

อเชียเนีย (Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะพอลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่นๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่นและหมู่เกาะอาลิวเชียน แต่พบน้อยมาก "โอเชียเนีย" หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะพอลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เก.

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และโอเชียเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ไมเคิล แรดฟอร์ด

มเคิล แรดฟอร์ด (Michael Radford) เกิดที่นิวเดลี ประเทศอินเดีย ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 บิดาเป็นชาวอังกฤษ ส่วนมารดาเป็นชาวออสเตรียเชื้อสายยิว เป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์และนักเขียนบทชาวอังกฤษ.

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และไมเคิล แรดฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ไทม์

ปกฉบับแรกของนิตยสาร Time ไทม์ (Time หรือตามเครื่องหมายการค้าคือ TIME) เป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา เริ่มพิมพ์ฉบับแรก โดยเป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์เล่มแรกของประเทศ โดยในปัจจุบันไทม์มีจัดพิมพ์หลายแห่งทั่วโลก โดยในยุโรปใช้ชื่อว่า "ไทม์ยุโรป" (หรือที่ในอดีตเรียกว่า ไทม์แอตแลนติก) มีสำนักงานอยู่ที่ลอนดอน และออกจำหน่ายในยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา รวมถึงละตินอเมริกา ส่วนในเอเชีย ใช้ชื่อว่า "ไทม์เอเชีย" มีสำนักงานที่ฮ่องกง ขณะที่ "ไทม์แคนาดา" เป็นฉบับสัญชาติแคนาดาซึ่งจัดจำหน่ายในประเทศแคนาดา และ "ไทม์เซาท์แปซิฟิก" ซึ่งจัดจำหน่ายครอบคลุมออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่ซิดนีย์ ในปัจจุบัน นิตยสารไทม์จัดการโดยบริษัทไทม์วอร์เนอร์ สำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก และมีนายริชาร์ด สเตนเจล เป็นบรรณาธิการบริหาร.

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และไทม์ · ดูเพิ่มเติม »

เรียลลิตีโชว์

'''ภาพจากรายการบิ๊ก บราเธอร์ ''' เรียลลิตีโชว์ หรือที่ถูกว่า รีแอลลิทีโชว์ (reality show) เป็นรายการโทรทัศน์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งมักจะดำเนินไปโดยใช้สถานการณ์จริง และไม่มีการเขียนบท คัดเลือกผู้ร่วมรายการจากผู้ชมทางบ้าน ซึ่งจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ทางทีมงานได้จัดเตรียมเอาไว้ ผู้เข้าร่วมรายการจะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ รายการโทรทัศน์เช่นนี้ เริ่มมาช้านานแล้ว แต่เพิ่งจะนิยมอย่างแพร่หลายเมื่อราว พ.ศ. 2543 (โดยเฉพาะจากรายการ Expedition Robinson) นักวิจารณ์บางท่านเห็นว่า การใช้คำว่าเรียลลิตีโชว์นี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะรายการโทรทัศน์แบบนี้จำนวนมากให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันไปอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่แปลกแตกต่างไปจากการใช้ชีวิตจริง จึงไม่น่าจะถือว่าเป็นชีวิตจริงของพวกเขา จากการวิจัยของ Nielsen Media Research พบว่ารายการเช่นนี้มีสัดส่วนถึงร้อยละ 56 ของรายการโชว์ทางโทรทัศน์ของอเมริกา (ทั้งรายการทางเคเบิลทีวี และรายการจากสถานีโทรทัศน์ปกติ) และยังมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 69 ของรายการโชว์ทางโทรทัศน์ทั่วโลก (ทั้งรายการทางเคเบิลทีวี และรายการจากสถานีโทรทัศน์ปกติ).

ใหม่!!: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่และเรียลลิตีโชว์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Nineteen Eighty-Fourหนึ่งเก้าแปดสี่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »