โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สเตโกดอน

ดัชนี สเตโกดอน

ตโกดอน (Stegodon) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกช้างที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegodon (หมายถึง "รากฟัน" จากภาษากรีกคำว่า στέγειν อ่านว่า "stegein" หมายถึง "ครอบคลุม" และ ὀδούς อ่านว่า "odous" หมายถึง "ฟัน") เดิมทีสเตโกดอนถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Elephantidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับวงศ์ของช้างในยุคปัจจุบัน แต่ต่อมาได้ถูกแบ่งแยกออกมาเป็นวงศ์ของตัวเอง คือ Stegodontidae มีชีวิตอยู่ในยุคไมโอซีนตอนปลาย ถึงต้นยุคไพลสโตซีน ราว 1,800,000 ปีก่อน จัดว่าเป็นช้างรุ่นที่ 6 ในลำดับวิวัฒนาการของช้าง ซึ่งนับว่าว่าเก่าแก่กว่าช้างแมมมอธ ซึ่งถูกจัดอยู่ในรุ่นที่ 8 ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีเสียอีก สเตโกดอน จัดว่าเป็นช้างโบราณ ที่เชื่อว่ามีสายสัมพันธ์กับช้างในสกุล Elephas หรือช้างเอเชียในยุคปัจจุบัน เป็นไปได้ว่าช้างเอเชียอาจสืบสายพันธุ์หรือวิวัฒนาการมาจากสเตโกดอน นอกจากนี้แล้วสเตโกดอนยังถือว่าเป็นช้างที่มีลักษณะร่วมกันของช้างเอเชียกับมาสโตดอน ซึ่งเป็นช้างโบราณอีกสกุลหนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้วเช่นกัน สเตโกดอน มีรูปร่างที่สูงใหญ่ บางตัวหรือบางชนิดอาจสูงถึง 4 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับช้างในยุคปัจจุบัน กะโหลกมีขนาดใหญ่ ขากรรไกรสั้น ไม่มีงาล่าง ฟันกรามประกอบด้วยสันฟันแนวขวาง 6–13 สัน มีลักษณะเด่น คือ มีงาหนึ่งคู่ที่ยาวงอกออกมาจากมุมปากทั้งสองข้าง มีลักษณะชิดติดกัน ซึ่งในบางชนิดมีความยาวได้ถึง 3.3 เมตร งวงไม่สามารถแทรกลงตรงกลางงาได้ ต้องพาดไปไว้ข้างใดข้างหนึ่ง ซากดึกดำบรรพ์ของสเตโกดอนถูกค้นพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยค้นพบที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล โดยที่จังหวัดสตูลนั้น ถูกค้นพบในถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นถ้ำที่มีน้ำทะเลไหลผ่านพื้นถ้ำด้วยความยาวกว่า 4 กิโลเมตร เดิมชาวบ้านที่นี่เรียก "ถ้ำวังกล้วย" แต่ปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ถ้ำเลสเตโกดอน" จากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดด้ว.

16 ความสัมพันธ์: ช้างแมมมอธช้างเอเชีย (สกุล)ภาษากรีกริชาร์ด โอเวนวงศ์เอลิฟานติดีสมัยไพลสโตซีนสมัยไมโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสปีชีส์อันดับช้างอำเภอทุ่งหว้าอำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดนครราชสีมา)จังหวัดสตูลจังหวัดนครราชสีมา

ช้างแมมมอธ

้างแมมมอธ หรือ แมมมอธ (Mammoth) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae เช่นเดียวกับช้างที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยอยู่ในสกุล Mammuthus จำแนกออกได้ทั้งหมด 9 ชนิด (ดูในตาราง) โดยคำว่า "แมมมอธ" นั้นมาจากคำว่า "Mammal" หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมมมอธ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรปและเอเชียเหนือ เช่น ไซบีเรีย ยกเว้นออสเตรเลียและอเมริกาใต้ เป็นช้างที่มีลำตัวและงาใหญ่กว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก ปัจจุบันจะค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมมมอธได้ในยุคไพลสโตซีน แมมมอธ กำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 2.6 ล้านปีก่อน ในยุคไพลโอซีนตอนต้น และสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง เมื่อ 11,700 ปีที่ผ่านมา (แมมมอธตัวสุดท้ายที่สูญพันธุ์ คือ แมมมอธแคระ ที่อาศัยบนเกาะแรงเกล ในทะเลอาร์กติก เมื่อราว 3,700 ปีก่อน) แมมมอธมีขนาดโดยเฉลี่ย 4 เมตร (14 ฟุต) ตั้งแต่เท้าจนถึงหัวไหล่ มีสีขนที่หลากหลายตั้งแต่น้ำตาล หรือน้ำตาลออกเหลือง ความยาวตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร (1 นิ้ว) จนถึง 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) ภายใต้ผิวหนังหนาและมีชั้นไขมันเป็นฉนวนกันความหนาว 8 เซนติเมตร (3 นิ้ว) มีส่วนหัวที่กลม ใบหูเล็กกว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก มีโหนกไขมันอยู่บริเวณส่วนหลัง มีงายาวโค้งได้ถึง 13 ฟุต (4 เมตร) มีฟันกรามเป็นสัน ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเหมาะแก่การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความหนาวในยุคน้ำแข็ง เพื่อรักษาความอบอุ่นในร่างกาย แมมมอธ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคหินเก่า ด้วยการล่าเอาเนื้อเป็นอาหาร หนังและไขมันเป็นเครื่องสร้างความอบอุ่น จนมีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหลายแห่งที่ปรากฏภาพ การล่าแมมมอธด้วยอาวุธที่ทำจากหินในยุคนั้น ภาพเปรียบเทียบขนาดของมนุษย์กับแมมมอธแต่ละชนิด แมมมอธ จำแนกออกได้เป็นทั้งหมด 9 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่าง แตกต่างกันออกไป โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด คือ แมมมอธขนดก (Mammuthus primigenius) ที่มีขนปกคลุมอยู่ทั้งตัว เชื่อว่า แมมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะถูกล่าโดยมนุษย์จนหมด แต่จากการศึกษาด้านพันธุกรรมศาสตร์และดีเอ็นเอพบว่า แมมมอธนั้นมีสายสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ Elephas หรือช้างเอเชียที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน จึงมีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์ที่จะโคลนนิงตัวอ่อนของแมมมอธให้เกิดขึ้นมาให้ได้ โดยให้แม่ช้างเอเชียเป็นฝ่ายอุ้มท้อง จากการสกลัดนิวเคลียสจากซากดึกดำบรรพ์ของลูกแมมมอธที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะถูกแช่แข็งในน้ำแข็ง จากไขกระดูกบริเวณต้นขา และจากหลักฐานใหม่ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า แมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากกว่า โดยประชากรในยุโรปเกือบสูญพันธุ์ไปก่อนหน้านั้นเมื่อ 20,000-30,000 ปีก่อน จากนั้นเมื่อ 14,000 ปีก่อน โลกเริ่มมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น จึงพากันสูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพร่างกายที่ใหญ่และมีขนยาวปกคลุมลำตัว ในปลายเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: สเตโกดอนและช้างแมมมอธ · ดูเพิ่มเติม »

ช้างเอเชีย (สกุล)

้างเอเชีย หรือ ช้างยูเรเชีย (Asian elephant, Eurasian elephant) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับ Proboscidea หรืออันดับช้าง ใช้ชื่อสกุลว่า Elephas (/อี-เล-ฟาส/) จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae.

ใหม่!!: สเตโกดอนและช้างเอเชีย (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: สเตโกดอนและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด โอเวน

ริชาร์ด โอเวน เซอร์ ริชาร์ด โอเวน (Sir Richard Owen KCB) (20 ก.ค. ค.ศ. 1804 - 18 ธ.ค. ค.ศ. 1892) เป็นนักชีววิทยา, นักกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ, และนักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลแลงคาสเชอร์.

ใหม่!!: สเตโกดอนและริชาร์ด โอเวน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เอลิฟานติดี

วงศ์เอลิฟานติดี (อังกฤษ: Elephant) เป็นวงศ์ตามการอนุกรมวิธาน ได้แก่สัตว์จำพวกช้าง คือ ช้างและแมมมอธ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Elephantidae เป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ที่มีงวงและงา สกุลและชนิดส่วนใหญ่ในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือเพียงสองสกุลเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ Loxodonta (ช้างแอฟริกา) และ Elephas (ช้างเอเชีย) เท่านั้น และเหลือเพียง 3 ชนิดเท่านั้น วงศ์ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อโดยจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ในปี..

ใหม่!!: สเตโกดอนและวงศ์เอลิฟานติดี · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลสโตซีน

มัยไพลสโตซีน (Pleistocene เครื่องหมาย PS) เป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ชาลส์ ไลเอลล์ บัญญัติคำนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: สเตโกดอนและสมัยไพลสโตซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไมโอซีน

รรดาสัตว์สมัยไมโอซีนในอเมริกาเหนือ สมัยไมโอซีน (Miocene) เป็นสมัยแรกของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 23.03 ถึง 5.333 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่ต่อมาจากสมัยโอลิโกซีนและตามด้วยสมัยไพลโอซีน ชาร์ลส์ ไลแอลได้นำจากคำภาษากรีก คำว่าμείων (meiōn, “น้อย”) และคำว่า καινός (kainos, “ใหม่”)มาตั้งชื่อให้กับสมัยนี้ สาเหตุที่ใช้คำว่า"น้อย"เพราะว่ามีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังสมัยใหม่น้อยกว่าสมัยไพลโอซีน 18% ขณะที่เวลาได้ผ่านตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนมาถึงไมโอซีนและผ่านไปยังสมัยไพลโอซีนอากาศค่อย ๆ เย็นลงซึ่งเป็นผลมาจากยุคน้ำแข็ง การแบ่งยุคสามยุคนี้ออกจากกันนั้นไม่ได้ใช้เหตุการณ์ระดับโลกในการแบ่งแต่ใช้ระดับอุณหภูมิในการแบ่งโดยสมัยโอลิโกซีนอุ่นกว่าไมโอซีนและไมโอซีนอุ่นกว่าสมัยไพลโอซีน เอปได้เกิดและมีความหลากหลายขึ้นในยุดนี้จากนั้นก็เริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่วพื้นที่โลกเก่า ในช่วงท้ายของสมัยนี้บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เริ่มแยกตัวออกจากบรรพบุรุษของลิงชิมแปนซี (ช่วงประมาณ 7.5 ถึง 5.6 ล้านปีก่อน) สมัยนี้มีลักษณะเหมือนสมัยโอลิโกซีนคือทุ่งหญ้าขนายตัวขึ้นและป่าไม้ลดน้อยลง ทะเลในสมัยนี้ป่าสาหร่ายเริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกและกลายเป็นระบบนิเวศที่สำคัญมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก พืชและสัตว์ยุคนี้มีวิวัฒนาการแบบใหม่มากขึ้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกสามารถพบได้มาก สาหร่ายทะเล วาฬและสัตว์ตีนครีบเริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่ว ยุคนี้มีเป็นยุคที่มีความน่าสนใจเกี่ยวกับธรณีวิทยาและภูมิอากาศบรรพกาลวิทยาเป็นอย่างมากเนื่องจากยุคนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเกิดเทือกเขาหิมาลัยซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบของมรสุมในเอเชียซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของธารน้ำแข็งในซีกโลกเหนือ.

ใหม่!!: สเตโกดอนและสมัยไมโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: สเตโกดอนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: สเตโกดอนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: สเตโกดอนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: สเตโกดอนและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับช้าง

อันดับช้าง เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Proboscidea (/โพร-โบส-ซิ-เดีย/) มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์กินพืชที่มีร่างกายใหญ่โต มีจมูกและริมฝีปากบนยาว เรียกว่า "งวง" ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ใช้สำหรับหายใจ หยิบจับสิ่งของ และจับอาหารเข้าปาก มีฟันซี่หน้า 2 ซี่ บนขากรรไกรบนยาวใหญ่ และเจริญไปเป็น "งา" ฟันกรามมีขนาดใหญ่ โดยมากไม่เกิน 1 คู่ ขณะที่บางสกุล บางชนิด หรือบางวงศ์มีมากกว่านั้น ไม่มีฟันเขี้ยว ขาใหญ่ตรงลักษณะคล้ายต้นเสา ขาหน้ามีกระดูกเรเดียส และอัลนาร์สมบูรณ์ ขาหลังก็มีกระดูกทิเบีย และฟิบูลาสมบูรณ์ เท้ามีนิ้วข้างละ 5 นิ้ว แต่เล็บนิ้วก้อยบางตัวนั้น เมื่อโตขึ้นจะหายไป มีกระเพาะอาหารแบบธรรมดา ไม่ได้เป็นกระเพาะอาหารที่แบ่งเป็นห้อง ๆ แบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง ตัวผู้มีลูกอัณฑะอยู่ในท้อง ไม่อยู่ในถุงห้อยออกมาอย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ขณะที่ตัวเมียมีมดลูกแยกเป็นไบคอร์เนาท์ มีเต้านม 1 คู่ อยู่ที่หน้าอกระหว่างขาหน้าทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบัน หลงเหลือสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้เพียงวงศ์เดียว คือ Elephantidae 3 ชนิด (ไม่นับชนิดย่อย) คือ ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ที่พบในทวีปเอเชีย, ช้างพุ่มไ้ม้แอฟริกา (Loxodonta africana) และช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) พบในทวีปแอฟริกา ซึ่งจัดเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว สัตว์ในอันดับช้างยังมีความคล้ายคลึงกับสัตว์ในอันดับไฮแรกซ์ (Hyracoidea) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กคล้ายหนูตะเภาที่พบในแอฟริกาอีก ด้วยการที่มีฟันกรามและข้อต่อนิ้วเท้าที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: สเตโกดอนและอันดับช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอทุ่งหว้า

ทุ่งหว้า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสตูล.

ใหม่!!: สเตโกดอนและอำเภอทุ่งหว้า · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดนครราชสีมา)

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีม.

ใหม่!!: สเตโกดอนและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดนครราชสีมา) · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสตูล

ตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูเกดะห์ว่า เซอตุล (ستول) (ภาษามาเลย์ว่า เซอตุล (setul)) แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ใหม่!!: สเตโกดอนและจังหวัดสตูล · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครราชสีมา

นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ..

ใหม่!!: สเตโกดอนและจังหวัดนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Stegodon

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »