โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สุวิทย์ วัดหนู

ดัชนี สุวิทย์ วัดหนู

วิทย์ วัดหนู (20 ธันวาคม พ.ศ. 2495 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2550) เป็นนักพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย สลัม และคนจนเมือง เคยเป็นเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.), ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน, ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัม 4 ภาค เลขาธิการเครือข่ายคนเดือนตุลา มีบทบาทขับไล่เผด็จการในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และเข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี.

36 ความสัมพันธ์: ชุมชนแออัดพ.ศ. 2495พ.ศ. 2516พ.ศ. 2519พ.ศ. 2535พ.ศ. 2550พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยพฤษภาทมิฬพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งกิโลกรัมมหาวิทยาลัยบูรพารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549ลานพระราชวังดุสิตวิทยากร เชียงกูลศาสนาพุทธสมัชชาคนจนอำเภอสัตหีบจรัล ดิษฐาอภิชัยจังหวัดชลบุรีจังหวัดชุมพรจังหวัดสุราษฎร์ธานีถนอม กิตติขจรณรงค์ กิตติขจรคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยคนเดือนตุลางานบริการชุมชนประภาส จารุเสถียรประเทศไทยโรคระบบหัวใจหลอดเลือดเมตรเหตุการณ์ 14 ตุลาเหตุการณ์ 6 ตุลา12 มีนาคม20 ธันวาคม3 ทรราช

ชุมชนแออัด

มชนแออัดที่ใหญ่ที่สุด 30 อันดับแรกของโลก ชุมชนแออัด คีเบรา ในเคนยา ชุมชนแออัด ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน สาขานิติศาสตร์ ปรับปรุง 11 มี..

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและชุมชนแออัด · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2495

ทธศักราช 2495 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1952.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและพ.ศ. 2495 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2516

ทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและพ.ศ. 2516 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2519

ทธศักราช 2519 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1976 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและพ.ศ. 2519 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

รรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) (Communist Party of Thailand - CPT) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ไม่เคยจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายอย่างเป็นทางการ ดำเนินแนวทางตาม ลัทธิมาร์กซ์ ลัทธิเลนิน และลัทธิเหมา นอกจากนั้น ในอดีตยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของ พคท.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาทมิฬ

หตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองที่มีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็น นายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหาร รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน) และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เหตุการณ์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีหัวหน้าคณะคือ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในขณะนั้นภายหลังการรัฐประหารได้เลือกนาย อานันท์ ปันยารชุน เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีและได้ร่างรัฐธรรมนูญจนมีการเลือกตั้งผลปรากฏว่านายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ตั้งขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในคณะ ร. ได้คะแนนมากที่สุด แต่สุดท้ายไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เนื่องจากถูกรัฐบาลสหรัฐขึ้นบัญชีดำจากความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด ทำให้ พล.อ.สุจินดา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเป็นการตระบัดสัตย์ที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายา "เสียสัตย์เพื่อชาติ" จากสื่อมวลชนในเวลาต่อมา จากผลดังกล่าว ทำให้ประชาชนหลายส่วนไม่พอใจการขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.สุจินดา ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย จนนำไปสู่การประท้วงทั้งการอดอาหาร การเดินขบวน และการชุมนุมในสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ทำให้รัฐบาลพล.อ.สุจินดาใช้คำสั่งสลายการชุมนุม เกิดการปะทะขึ้น มีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงรับสั่งให้พลเอกสุจินดา คราประยูรและพลตรีจำลอง ศรีเมืองเข้าเฝ้า โดยทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งได้มีการเผยแพร่ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นอีก 4 วัน พล.อ.สุจินดา จึงได้ประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก่อนการเลือกตั้งในเวลาต่อมา การชุมนุมในครั้งนี้ยังเป็นการชุมนุมที่ผู้ประท้วงมีโทรศัพท์มือถือใช้สื่อสารจนถูกเรียกว่าเป็น "ม็อบมือถือ" และรวมถึงการเรียกชื่อฝั่งพรรคซึ่งแตกออกเป็น 2 ฝั่งจากผู้สื่อข่าว โดยเรียกฝั่งพรรคที่เข้าไปทางรัฐบาลของพล.อ.สุจินดา ว่า "พรรคมาร" ส่วนฝั่งพรรคที่คัดค้านการมีอำนาจของพล.อ.สุจินดา เรียกว่า "พรรคเทพ".

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและพฤษภาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy, PAD) หรือเรียกว่า กลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ หรือ กลุ่มคนเสื้อเหลือง เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในช่วง พ.ศ. 2548-2552 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กรทั่วประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ภายใต้จุดประสงค์ในการขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแสดงความต้องการให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนอย่างเปิดเผยBloomberg,, 19 December 2008 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแกนนำคนสำคัญ ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง สัญลักษณ์หลักของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีการใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์หลัก และมีการใส่เสื้อสีเหลืองพร้อมผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า "กู้ชาติ" และผ้าพันคอสีฟ้า และมีมือตบเป็นเครื่องมือสัญลักษณ์ ในปี..

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง

การประท้วงทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน..

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาวิทยาลัยบูรพา (Burapha University) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตั้งอยู่ที่ ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยอดีตเป็นวิทยาเขตหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปัจจุบัน)ก่อตั้งโดย พลเอกมังกร พรหมโยธี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงครามตั้งอยู่ ณ เลขที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 647 ไร่ 35 ตารางวา โดยมีชื่อว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน หรือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ในเวลาต่อมา ด้วยเหตุนี้วันที่ 8 กรกฎาคม หรือที่เรียกว่า "แปดกรกฎ" ของทุกปีจึงนับเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยโดยเอกเทศด้วยผลการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูร..

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและมหาวิทยาลัยบูรพา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

รัฐประหารในประเทศไท..

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

ลานพระราชวังดุสิต

ระบรมรูปทรงม้า ภาพถ่ายประมาณ สมัยรัชกาลที่ 6 พระบรมรูปทรงม้า และ ลานพระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน ภาพน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2485 หมุดคณะราษฎร พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนาม ของทหารรักษาพระองค์ ภาพแสดงที่ตั้งของหมุดคณะราษฎร (วงกลมสีเหลือง) พระลานพระราชวังดุสิต หรือที่นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นลานกว้างอยู่ด้านหน้าของพระที่นั่งอนันตสมาคมและสวนอัมพร ในเขตพระราชวังดุสิต ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ "พระบรมรูปทรงม้า" และหมุด 24 มิถุนายน 2475 ที่ระลึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและลานพระราชวังดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

วิทยากร เชียงกูล

วิทยากร เชียงกูล รองศาสตราจารย์ วิทยากร เชียงกูล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2489 ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี คณบดีกิตติคุณและอดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เรียนจบชั้นมัธยมปลายที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 และปริญญาโท จากสถาบันศึกษาสังคม เมืองเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้เขียนบทกลอน "เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน" เมื่อ พ.ศ. 2511 ซึ่งมีท่อนติดปากว่า "ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว" บทกลอนนี้ได้กลายเป็นข้อเขียนหนึ่งในหลายชิ้น ที่มีอิทธพลต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในช่วงนั้น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 และ เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและวิทยากร เชียงกูล · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สมัชชาคนจน

มัชชาคนจน เป็นเครือข่ายชาวบ้านที่ได้รับความเดือนร้อนในประเด็นความขัดแย้งในสิทธิการใช้ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม และเครือข่ายอื่นๆ ในช่วง พ.ศ. 2538 ได้มีการประสานงานเพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายระดับภาคต่างๆ ที่กำลังเคลื่อนไหวต่อสู้ เช่น สมัชชาเขื่อนแห่งชาติ เครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานฯ เครือข่ายสลัม เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นคัดค้านโรงไฟฟ้าพลังขยะลิกไนท์ อ.หางดง (คณะกรรมการประสานงานประชาชนเพื่อท้องถิ่น - ค.ป.ถ.) กรณีคัดค้านศูนย์ราชการโพธิ์เขียว จ.สุพรรณบุรี รวมทั้ง สมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน - สก.อ. สมัชชาคนจน ให้คำอธิบายตัวเองว่าเป็น "เครือข่ายของชาวบ้านคนยากคนจนจากชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางสงครามการแย่งชิง ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ระหว่างรัฐและภาคธุรกิจกับชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่นทั้งในชนบทและในเมือง นโยบาย และโครงการพัฒนาของรัฐ กฎหมาย ฯลฯ ได้รุกรานวิถีชีวิตปกติ ละเมิดสิทธิในการจัดการทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น ทำลายวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย" ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (วันสิทธิมนุษยชนสากล) สมัชชาคนจนได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีตัวแทนชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบทั้งในประเทศ และอีก 10 ประเทศในทวีปเอเชีย ได้เข้าร่วมในการก่อตั้ง ภายใต้ "คำประกาศลำน้ำมูล" หรือ "ปฏิญญาปากมูล" ที่ร่างโดยตัวแทนของเครือข่าย ณ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี วัตถุประสง์ในการรวมเป็นเครือข่าย สมัชชคนจน ก็เพื่อเป็นเวทีรวมพลังแห่งความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประสานความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน "เรามีความเห็นร่วมกันว่า แนวความคิดที่สนับสนุนแต่เพียงการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐ และภาคธุรกิจเอกชน เป็นแนวคิดที่เป็นอันตรายต่อประชาชนและต่อการพัฒนาสังคม จึงถือเป็นการจำเป็นอย่างเร่งด่วน ที่จะต้องได้รับการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงทัศนะ ความคิด ยุทธศาสตร์ และการปฏิบัติในกระบวนการพัฒนาทั้งของรัฐและบรรษัทธุรกิจเอกชนเสียใหม่ ตามแนวทางที่จะมุ่งไปสู่ความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติที่ไร้พรมแดน" คำประกาศลำน้ำมูล, 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ในช่วงแรกสมัชชาคนจน จัดโครงสร้างของเครือข่าย โดยมีคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มปัญหาที่ได้รับผลกระทบ 16 กลุ่มๆ ละ 1 คน ตัวแทนภาคๆ ละ 1 คน กรรมการตัวแทนเครือข่ายต่างประเทศ 1 คน ด้านสิ่งแวดล้อม 2 เครือข่าย ลักษณะของเครือข่ายสมัชชาคนจน ประกอบด้วย ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น ชาวบ้านที่ประสบกับปัญหาความขัดแย้ง อาศัยอยู่ในเขตป่า คนจนในเมือง ฯลฯ กับพันธมิตรที่เป็นคนชั้นกลางในเมือง ประกอบด้วย นักอนุรักษ์ NGOs นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา ฯลฯ ซึ่งรวมกันเป็นเครือข่ายและร่วมกันเคลื่อนไหวต่อสู้ เพื่อปกป้องสิทธิและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติร่วมกัน สมัชชาคนจนถือได้ว่าเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและสมัชชาคนจน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสัตหีบ

อำเภอสัตหีบ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดชลบุรีประมาณ 85 กิโลเมตร ความสำคัญของสัตหีบคือเป็นเมืองแห่งฐานทัพเรือและเป็นฐานทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและอำเภอสัตหีบ · ดูเพิ่มเติม »

จรัล ดิษฐาอภิชัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรัล ดิษฐาอภิชัย (เกิด 6 กรกฎาคม 2490 ที่จังหวัดพัทลุง) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่ออดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยเป็นหนึ่งใน 11 คน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดแรกของประเทศไทย ซึ่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไท..

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและจรัล ดิษฐาอภิชัย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชลบุรี

ังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดที่ติดกับอ่าวไทยจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก นอกจากนั้นยังเป็นทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศ ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและจังหวัดชลบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชุมพร

มพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี "อาสาจาม" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี และต่อมาระหว่าง ปี พ.ศ. 2173 - 2199 ในแผ่นดิน พระเจ้าปราสาททองแห่งราชอาณาจักกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนชาวเมืองแถง หรือ (เดียนเบียนฟู) อยู่ในประเทศเวียดนาม และชาวเมืองพงสาลี อยู่ในประเทศลาว มาเป็นพลเมือง เมืองชุมพร เมืองปะทิว(อำเภอปะทิว) เพื่อทำการเกษตรกรรม และเมืองท่าการค้าสำคัญ ตั้งแต่นั้นมา เดิมชาวจามนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พ.ศ. 1400 นับถือศาสนาพุทธมหายาน และเมื่อค้าขายกับอาหรับก็นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ชาวจามที่มาอยู่เมืองชุมพร ต่อมานับถือ ศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม ประเพณี เหมือนกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 500 -600 ปี ที่ชาวจาม เข้าปกครองเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้จนแทบจะไม่เหลือวัฒนธรรมเดิมเลย เช่น ข้าวต้มใบพ้อ ที่ใช้ในงานมงคล เช่นเดียวกับชาวมุสลิม บ้านกาลอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ก็สูญหายไม่ได้ใช้ในงานมงคลแล้ว.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและจังหวัดชุมพร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า สุราษฎร์ฯ ใช้อักษรย่อ สฎ เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง 108 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี 155 เกาะ และจังหวัดภูเก็ตที่มี 154 เกาะ เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พิ้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถยนต์ส่วนบุคคล สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุศรีสุราษฎร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไข่เค็มไชยา หอยนางรม และเงาะโรงเรียน ดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวั.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและจังหวัดสุราษฎร์ธานี · ดูเพิ่มเติม »

ถนอม กิตติขจร

อมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ถนอม กิตติขจร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454—16 มีนาคม พ.ศ. 2547) เป็น อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์การประท้วงของ นิสิต นักศึกษา และประชาชน โดยในเหตุการณ์ ทหารได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเดินทางออกจากประเทศ พร้อมกับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ภายหลังเหตุการณ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับ แล้วบวชเป็นพระสามเณร เป็นชนวนไปสู่การ ขับไล่ ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ จนโยงไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา ปี 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ และนับจากการเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายทหารที่มาจากคนธรรมดาสามัญที่ครองยศจอมพลสายทหารบก มีด้วยกัน 7 คน จอมพลถนอมเป็นคนที่ 6 จอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นคนที่ 7 แต่ผู้ที่มีอายุยืนที่สุด คือจอมพลถนอม จึงกลายเป็น "จอมพลคนสุดท้าย" จอมพลถนอมถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อกลางดึก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน..

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและถนอม กิตติขจร · ดูเพิ่มเติม »

ณรงค์ กิตติขจร

ันเอก ณรงค์ กิตติขจร (21 ตุลาคม พ.ศ. 2476 —) เป็นบุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 10 จอมพลถนอม กิตติขจร อีกทั้งยังเป็นบุตรเขยของ จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นหนึ่งใน 3 บุคคลของฝ่ายรัฐบาลที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 77 ราย ส่งผลให้.อ.ณรงค์ กิตติขจร, จอมพล ถนอม กิตติขจร และ จอมพลประภาส ต้องออกจากประเทศ ภายหลังเหตุการณ์สงบลง.อ.ณรงค์ กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับประเทศไทย และได้ลงเล่นการเมือง โดยก่อตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า "พรรคเสรีนิยม".อ.ณรงค์ กิตติขจร ได้รับเลือกเป็น..

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและณรงค์ กิตติขจร · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย

ณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ตัวย่อ: ครป. Campaign for Popular Democracy-CPD) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรณรงค์ให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2521 ให้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งได้ยุติบทบาทลงเมื่อปี พ.ศ. 2526 แต่เมื่อเกิดรัฐประหารโดยคณะ รสช. ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 องค์กรสิทธิมนุษยชนองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และนักศึกษาจึงได้กลับมารวมตัวกันรื้อฟื้น ครป.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

คนเดือนตุลา

นเดือนตุลา เป็นชื่อเรียกกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมชุมนุม ในเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ซึ่งส่วนมากขณะนั้นเป็นนักศึกษา โดยในปัจจุบัน กลุ่มคนเดือนตุลาบางส่วน ก็เข้าสู่แวดวงการเมืองและสังคม.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและคนเดือนตุลา · ดูเพิ่มเติม »

งานบริการชุมชน

มืองนอร์ทวิล รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา งานบริการชุมชน หรือกฎหมายไทยเรียก งานบริการสังคมหรืองานสาธารณประโยชน์ (community service) เป็นงานบริการหรือกิจกรรมที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลทำให้เปล่าเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้ทำงานบริการชุมชนอาจเรียก "อาสาสมัคร" (volunteer) แต่ใช่ว่าทุกคนที่ทำงานบริการชุมชนจะเป็นอาสาสมัคร บางคนอาจถูกบังคับให้ทำงานบริการชุมชนตามคำสั่งศาลเพื่อแทนโทษทางอาญา เช่น ทำงานบริการชุมชนแทนค่าปรับที่ไม่มีเงินชำระ หรือตามคำสั่งของรัฐเพื่อแทนการเป็นทหาร หรือตามคำสั่งของสถาบันการศึกษาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสำเร็จวิชาศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น สำหรับกรณีบริการชุมชนตามคำสั่งศาลนั้น ผู้ต้องโทษทางอาญาจะต้องทำงานบริการชุมชนหรือหน่วยงานสาธารณะภายในเขตอำนาจศาลนั้น ๆ แทนการไม่ต้องรับโทษหรือวิธีการบังคับอย่างอื่นทางอาญา ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น กักขัง หรือปรับ เป็นต้นว่า ค่าปรับอาจลดลงตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานบริการชุมชนแล้วแต่ศาลจะกำหนดอัตรา ในบางกรณี งานบริการชุมชนอาจมีลักษณะเป็นโทษทางอาญาอยู่ในตัว เป็นต้นว่า ผู้ทิ้งขยะเรื่อยเปื่อยอาจต้องทำความสะอาดสวนสาธารณะหรือทางหลวง หรือผู้ขับรถยนต์ขณะเมาสุราอาจต้องไปอธิบายให้นักเรียนฟังว่าเป็นไฉนพฤติกรรมของเขาจึงเป็นโทษต่อสังคม ศาลอาจให้ผู้ต้องโทษเลือกประเภทงานบริการชุมชนเองก็ได้ แต่มักให้ผู้นั้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรหรือเจ้าพนักงานที่เชื่อถือได้ เช่น พนักงานคุมประพฤติ หรือองค์การสาธารณประโยชน์ และบางครั้ง ศาลอาจห้ามผู้ต้องโทษทำงานบางประเภท เช่น ทนายความที่ต้องโทษอาจต้องห้ามให้บริการทางกฎหมายบางประการต่อสังคม ในสหรัฐอเมริกา ศาลหลายศาลวางรายการสำหรับให้ผู้เยาว์ที่กระทำความผิดได้ทำงานเพื่อบ้านเมืองหรือหน่วยงานราชการบ้านเมืองโดยมีเจ้าพนักงานตำรวจหรือนายอำเภอคอยกำกับ เพื่อไม่ต้องรับโทษจำคุก และในบางโอกาส ผู้ต้องขังอาจได้รับอนุญาตให้ทำงานบริการสังคมภายนอกที่คุมขังก็ได้ เช่น งานผลิตแสงสว่าง งานซ่อมบำรุง งานเอกสาร งานในไร่ งานสงวนที่ดิน หรืองานโยธาอื่น ๆ โดยอาจได้รับการลดวันในที่คุมขังด้วยก็ได้ การบริการของผู้ต้องขังเช่นนี้มักจัดว่าเป็นแรงงานนักโทษประเภทหนึ่ง มากกว่าจะเป็นการบริการสังคม ทฤษฎีเกี่ยวกับการเลือกให้ทำงานบริการชุมชนแทนการลงโทษนั้นอย่างน้อยมีอยู่ว่า งานบริการชุมชนจะสร้างคุณประโนชน์ให้แก่สังคมมากกว่าการลงโทษผู้กระทำความผิด ทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการคุมขัง และเป็นหนทางหนึ่งในการอบรมสั่งสอนผู้กระทำความผิดให้เห็นแก่ส่วนรวมและเป็นพลเมืองดีอีกด้ว.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและงานบริการชุมชน · ดูเพิ่มเติม »

ประภาส จารุเสถียร

อมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก ประภาส จารุเสถียร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2455 — 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540) อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและประภาส จารุเสถียร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบบหัวใจหลอดเลือด

รคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปล.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและโรคระบบหัวใจหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ 14 ตุลา

หตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง.อ.ณรงค์ กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า "3 ทรราช" เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสำเร็จและยังถือเป็นการรวมตัวของประชาชนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้นหนังสือ มาร์ค เขาชื่อ...

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและเหตุการณ์ 14 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ 6 ตุลา

หตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์จลาจลและปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิการHandley, Paul M. The King Never Smiles: A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและเหตุการณ์ 6 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

12 มีนาคม

วันที่ 12 มีนาคม เป็นวันที่ 71 ของปี (วันที่ 72 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 294 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและ12 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

20 ธันวาคม

วันที่ 20 ธันวาคม เป็นวันที่ 354 ของปี (วันที่ 355 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 11 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและ20 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

3 ทรราช

3 ทรราช หมายถึง 3 ผู้มีอำนาจในประเทศไทยช่วงก่อนเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้แก่ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร.อ. ณรงค์ นั้น เป็นลูกของจอมพลถนอม และเป็นลูกเขยของจอมพลประภาส การปกครองในยุคของ ถนอม–ประภาส นั้นเรียกกันโดยทั่วไปว่า เป็นยุคของ "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" กล่าวคือเป็นระบอบเผด็จการนั่นเอง และมีการวางทายาททางการเมืองกันอย่างชัดเจน รัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ถนอม กิตติขจร ประกาศลาออก เมื่อเย็นวันที่ 14 ตุลาคม..

ใหม่!!: สุวิทย์ วัดหนูและ3 ทรราช · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »