โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สี่กั๊กพระยาศรี

ดัชนี สี่กั๊กพระยาศรี

ี่กั๊กพระยาศรี หรืออาจเรียกว่า สี่กั๊ก เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนเฟื่องนคร และถนนบ้านหม้อ ในสมัยรัชกาลที่ 4 บริเวณบ้านของพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) อยู่เชิงสะพานมอญ สี่กั๊กพระยาศรีในสมัยรัชกาลที่ 5 สี่แยกนี้ได้ชื่อมาจากคำว่า กั๊ก (角; จีนกลางออกเสียงว่า เจียว) ซึ่งแปลว่า แยก หรือ มุม ในภาษาจีนฮกเกี้ยนและแต้จิ๋ว เจ๊กลากรถในสมัยนั้นจะเรียกสามแยกว่า ซากั๊ก และสี่แยกว่า สี่กั๊ก และเมื่อเรียกรถมาบริเวณนี้จึงเรียกว่าไป สี่กั๊กบ้านพระยาศรี มาจนถึงปัจจุบัน สี่กั๊กพระยาศรี ยังเป็นสถานที่ตั้งของร้านกาแฟแห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย ชื่อร้าน "Red Cross Tea Room" โดย แหม่มโคล (เอ็ดนา เอส. โคล์) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวังหลัง (โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) โดยเปิดขึ้นเมื่อ..

18 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง)กรุงเทพมหานครฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครรถลากร้านกาแฟสภากาชาดไทยสะพานมอญ (กรุงเทพมหานคร)สี่กั๊กเสาชิงช้าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งถนนบ้านหม้อถนนเฟื่องนครถนนเจริญกรุงแยกบ้านหม้อแยกเฉลิมกรุงโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยเขตพระนคร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง)

ระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) เป็นหลานปู่ในหลวงรักษ์เสนา (จำรัส) ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดาของ เจ้าพระยามหาเสนา ต้นสกุลบุนนาค และหลานตาของเจ้าพระยารามจตุรงค์ หรือพระยารามัญวงษ์ (รามัญวงศ์) พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) จึงมีเชื้อสายแขกเปอร์เซียทางบิดา และมีเชื้อสายมอญทางมารดา พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) เป็นต้นสกุล ศรีเพ็ญ เป็นขุนคลังแก้วในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 มีบทบาทสำคัญในการทำสัมปทานไม้สักขอน สร้างรายได้เข้าคลังหลวงมากมายมหาศาล ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ศรีเพ็ญ ผู้นำชาว มอญ ซึ่งตั้งบ้านเรื่อนอยู่บริเวณสี่แยกพระยาศรี ที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘สี่กั๊กพระยาศรี’ ได้รวบรวมแรงงานชาวมอญก่อสร้างสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม และอยู่ในละแวกเดียวกัน จึงเรียกสะพานดังกล่าวว่า ‘สะพานมอญ’.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รถลาก

รถลาก (Rickshaw) หรือคนไทยในอดีตเรียกว่า รถเจ๊ก เป็นยานพาหนะที่ใช้คนลาก ตัวรถมีลักษณะเป็นเกวียนที่มีสองล้อ รถลากเป็นที่นิยมในเมืองตางๆในเอเชีย อาทิ โยโกฮามา (ญี่ปุ่น),ปักกิ่ง (จีน), เซี่ยงไฮ้ (จีน),ร่างกุ้ง (พม่า) กัลกัตตา มุมไบหรือบอมเบย์ (อินเดีย) และ บางกอก (ไทย).

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและรถลาก · ดูเพิ่มเติม »

ร้านกาแฟ

ร้านกาแฟในสหรัฐอเมริกา ร้านกาแฟ หรือ คาเฟ่ (Café) เป็นร้านประกอบกิจการเกี่ยวกับกาแฟ ลักษณะร้านแบบคาเฟ่นั้น เป็นการผสมรูปแบบระหว่าง "ภัตตาคาร" และ "บาร์" เข้าด้วยกัน โดยทั่วไปดื่มคาเฟ่จะไม่จำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะเน้นไปที่เครื่องดื่มประเภท กาแฟ ชา หรือ ช็อกโกแลต และอาจมีอาหารว่าง ซุป แชนวิช ขนมอบและขนมหวานที่เสิร์ฟเคียงกับเครื่องดื่ม เช่น เค้กหรือคุกกี้ไว้บริการด้ว.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและร้านกาแฟ · ดูเพิ่มเติม »

สภากาชาดไทย

กาชาดไทย เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร..

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและสภากาชาดไทย · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมอญ (กรุงเทพมหานคร)

นมอญ เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมถนนเจริญกรุงในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สะพานมอญเดิมเป็นสะพานช้าง (คือสะพานที่สร้างขึ้นอย่างมั่นคงแข็งแรงพอที่ช้างจะเดินข้ามได้) ซึ่งมีลักษณะเป็นสะพานไม้ข้ามคลองคูเมืองเดิมหลังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพหนีภัยสงครามจากกรุงศรีอยุธยามาพร้อม ๆ กับชาวไทย ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญกลุ่มนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณคลองคูเมืองเดิมใกล้ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ต่อมาพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) เป็นผู้นำรวบรวมแรงงานชาวมอญ ซึ่งก็เป็นบรรดาญาติ ๆ และข้าทาสบริวารทั้งหลายที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นสร้างสะพานข้ามคลองขึ้น จึงได้เรียกกันต่อมาว่า สะพานมอญ ในชั้นแรกสร้างด้วยไม้ธรรมดา ต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้จึงได้มีการก่อสร้างใหม่ก่อด้วยอิฐถือปูนดังในยุคปัจจุบัน ภายหลังทางการได้นำชื่อสะพานมาตั้งเป็นชื่อทางแยกบริเวณที่ถนนเจริญกรุงตัดกับถนนอัษฎางค์ ระหว่างถนนสนามไชยกับถนนบ้านหม้อ ติดกับคลองคูเมืองเดิม และอยู่ใกล้กับสวนสราญรม.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและสะพานมอญ (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

สี่กั๊กเสาชิงช้า

ี่กั๊กเสาชิงช้า เป็นสี่แยกหนึ่งในพื้นที่แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดกันระหว่างถนนตะนาว, ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร โดยเป็นจุดเริ่มของถนนตะนาว และอยู่ใกล้กับแพร่งภูธร ซึ่งบริเวณนี้จะสามารถมองเห็นเสาชิงช้าได้อย่างชัดเจนจากทางด้านถนนบำรุงเมือง ชื่อ "สี่กั๊ก" นั้นมาจากภาษาแต้จิ๋วจากคำที่ออกเสียงว่า ซี้กั๊ก (อักษรจีน: 四角; จีนกลางออกเสียง ซื่อเจี่ยว) มีความหมายถึง "สี่แยก" โดยเป็นคำเรียกขานของชาวจีนที่ลากรถเจ๊กในอดีต ใช้เรียกสถานที่แห่งนี้เมื่อลากรถผ่าน เช่นเดียวกับสี่กั๊กพระยาศรี ที่อยู่ใกล้เคียงออกไปทางถนนเฟื่องนคร ทางทิศใต้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันทางแยกที่ยังคงเรียกว่า "สี่กั๊ก" เหลือเพียงแค่สองที่นี้เท่านั้น ในอดีต ที่ยังคงมีพระราชพิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ที่เสาชิงช้า ขบวนของพิธีก็ตั้งต้นขึ้นที่นี่ อาคารบ้านเรือนของบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้า โดยเฉพาะที่ถนนบำรุงเมืองนั้นจะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ที่มีสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเกส โดยลอกแบบมาจากประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีความสวยงาม และมีจุดเด่นคือ ไม่มีบาทวิถี หรือฟุตบาท เหมือนเช่นถนนอื่น ๆ ส่วนบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้านั้น จะมีลักษณะเป็นวงเวียน ตัวอาคารที่อยู่ที่นี่จึงถูกออกแบบให้มีความโค้งตามไปด้วยเช่นกัน ปัจจุบัน บริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้าเป็นแหล่งรวมของร้านค้าเครื่องสังฆภัณฑ์ ตลอดจนพระพุทธรูปและเทวรูปต่าง ๆ ซึ่งเปิดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีต และยังมีร้านอาหาร, ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาโรเล็กซ์ และเป็นบริเวณด้านหลังของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงร้านจำหน่ายชาที่นำเข้าจากประเทศจีนอีกด้ว.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและสี่กั๊กเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบ้านหม้อ

นนบ้านหม้อ (Thanon Ban Mo) เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนมหาราช ตั้งต้นจากริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าโรงยาเก่า ตัดผ่านถนนจักรเพชรไปออกแยกสี่กั๊กพระยาศรี.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและถนนบ้านหม้อ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเฟื่องนคร

นนเฟื่องนคร (Thanon Fueang Nakhon) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมือง (สี่กั๊กเสาชิงช้า) ในท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธ เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ จนถึงถนนเจริญกรุง (สี่กั๊กพระยาศรี) รวมระยะทางประมาณ 0.5 กิโลเมตร ถนนเฟื่องนครเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก โดยเริ่มตั้งแต่กำแพงเมืองด้านใต้ คือใต้ปากคลองตลาด ผ่านบ้านหม้อ บ้านญวนตัดกับถนนเจริญกรุงเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กพระยาศรี และตัดกับถนนบำรุงเมืองเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กเสาชิงช้า ผ่านวัดมหรรณพาราม โรงเลี้ยงวัวหลวง หรือบ้านท้าวประดู่ในวรรณกรรมระเด่นลันได ซึ่งปัจจุบันนี้คือ สี่แยกคอกวัว สวนหลวง ไปจนถึงกำแพงเมืองด้านเหนือที่ข้างวัดบวรนิเวศวิหาร โดยเริ่มทำพร้อมถนนบำรุงเมืองใน พ.ศ. 2406 และสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2407 จากนั้นได้พระราชทานนามว่า "ถนนเฟื่องนคร" ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง อันสอดคล้องกับชื่อถนนเจริญกรุง และถนนบำรุงเมือง.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและถนนเฟื่องนคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

แยกบ้านหม้อ

แยกบ้านหม้อ (Ban Mo Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนพระพิทักษ์, ถนนบ้านหม้อ และถนนพาหุรัด ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใจกลางพระนคร เป็นย่านค้าขายอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า, วิทยุสื่อสาร, ลำโพง และเครื่องเสียง รวมถึงเครื่องประดับมีค่า จำพวกทองคำ และเพชร ปัจจุบันสี่แยกบ้านหม้อมีการจัดการจราจรแบบทิศทางเดียวทั้ง 4 ด้าน เส้นทางเข้าสู่ทางแยกได้แก่ถนนพระพิทักษ์และถนนบ้านหม้อ (จากปากคลองตลาด) เส้นทางออกจากทางแยกได้แก่ถนนบ้านหม้อ (ไปสี่กั๊กพระยาศรี) และถนนพาหุรัด สถานที่สำคัญบริเวณแยก คือ ตลาดบ้านหม้อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นตลาดที่คึกคัก ปัจจุบันที่บริเวณเหนือประตูทางเข้ายังคงปรากฏสถาปัตยกรรมรูปหม้อ บ่งบอกถึงชื่อของสถานที่ ซึ่งอาชีพปั้นหม้อดินเผา เป็นอาชีพแต่ดั้งเดิมของชาวชุมชนบริเวณนี้ ซึ่งเป็นชาวมอญ และเป็นที่มาของชื่อถนนรวมถึงสี่แยก รวมถึงยังมีศาลเจ้าบ้านหม้อเล่าปึงเถ่ากง (本頭公廟) ศาลเจ้าจีนเก่าแก่ของชาวแต้จิ๋ว ที่สร้างมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและแยกบ้านหม้อ · ดูเพิ่มเติม »

แยกเฉลิมกรุง

แยกเฉลิมกรุง (Chaloem Krung Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนตรีเพชร, ถนนตีทอง และถนนเจริญกรุง ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เคียงกับย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแหล่งใหญ่ และย่านบ้านหม้อ ย่านค้าขายอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า ลำโพงและเครื่องเสียง รวมไปถึงร้านขายเครื่องเพชร อัญมณีและเครื่องประดับ บริเวณแยกเฉลิมกรุงเป็นที่ตั้งของศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นที่มาของชื่อทางแยก และอยู่ถัดจากศูนย์การค้าดิโอลด์สยาม ศูนย์การค้าสมัยใหม่ที่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นย่านเก่าไว้.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและแยกเฉลิมกรุง · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

รงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (Wattana Wittaya Academy) มีชื่อเดิมว่า"กุลสตรีวังหลัง" ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 67 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 เป็นโรงเรียนสตรีหญิงแห่งแรกของประเทศไท.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: สี่กั๊กพระยาศรีและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สี่แยกพระยาศรีแยกสี่กั๊กพระยาศรีแยกพระยาศรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »