โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การสูญพันธุ์

ดัชนี การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

41 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาช้างแมมมอธกวางไอริชการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่วัวทะเลชเตลเลอร์วงศ์ลิงใหญ่สมันสยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิสสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสิงโตบาร์บารีสถานะการอนุรักษ์สปีชีส์สไมโลดอนสเตโกดอนออสตราโคเดิร์มอินทรีฮาสท์ควากกาความหลากหลายทางชีวภาพคางคกไวโอมิงคิงคองยักษ์ปลามีเกราะปลาหวีเกศปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)นกโมอานิเวศวิทยานีแอนเดอร์ทาลแรดชวาแรดดำตะวันตกแอมโมนอยด์โลมาแม่น้ำจีนโดโดไทรโลไบต์ไทลาซีนไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสไดโนเสาร์เม็กกาโลดอนเสือโคร่งชวาเสือโคร่งบาหลีเสือโคร่งแคสเปียนเดดิคูรัสเต่าอาร์คีลอน

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างแมมมอธ

้างแมมมอธ หรือ แมมมอธ (Mammoth) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae เช่นเดียวกับช้างที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยอยู่ในสกุล Mammuthus จำแนกออกได้ทั้งหมด 9 ชนิด (ดูในตาราง) โดยคำว่า "แมมมอธ" นั้นมาจากคำว่า "Mammal" หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมมมอธ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรปและเอเชียเหนือ เช่น ไซบีเรีย ยกเว้นออสเตรเลียและอเมริกาใต้ เป็นช้างที่มีลำตัวและงาใหญ่กว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก ปัจจุบันจะค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมมมอธได้ในยุคไพลสโตซีน แมมมอธ กำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 2.6 ล้านปีก่อน ในยุคไพลโอซีนตอนต้น และสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง เมื่อ 11,700 ปีที่ผ่านมา (แมมมอธตัวสุดท้ายที่สูญพันธุ์ คือ แมมมอธแคระ ที่อาศัยบนเกาะแรงเกล ในทะเลอาร์กติก เมื่อราว 3,700 ปีก่อน) แมมมอธมีขนาดโดยเฉลี่ย 4 เมตร (14 ฟุต) ตั้งแต่เท้าจนถึงหัวไหล่ มีสีขนที่หลากหลายตั้งแต่น้ำตาล หรือน้ำตาลออกเหลือง ความยาวตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร (1 นิ้ว) จนถึง 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) ภายใต้ผิวหนังหนาและมีชั้นไขมันเป็นฉนวนกันความหนาว 8 เซนติเมตร (3 นิ้ว) มีส่วนหัวที่กลม ใบหูเล็กกว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก มีโหนกไขมันอยู่บริเวณส่วนหลัง มีงายาวโค้งได้ถึง 13 ฟุต (4 เมตร) มีฟันกรามเป็นสัน ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเหมาะแก่การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความหนาวในยุคน้ำแข็ง เพื่อรักษาความอบอุ่นในร่างกาย แมมมอธ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคหินเก่า ด้วยการล่าเอาเนื้อเป็นอาหาร หนังและไขมันเป็นเครื่องสร้างความอบอุ่น จนมีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหลายแห่งที่ปรากฏภาพ การล่าแมมมอธด้วยอาวุธที่ทำจากหินในยุคนั้น ภาพเปรียบเทียบขนาดของมนุษย์กับแมมมอธแต่ละชนิด แมมมอธ จำแนกออกได้เป็นทั้งหมด 9 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่าง แตกต่างกันออกไป โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด คือ แมมมอธขนดก (Mammuthus primigenius) ที่มีขนปกคลุมอยู่ทั้งตัว เชื่อว่า แมมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะถูกล่าโดยมนุษย์จนหมด แต่จากการศึกษาด้านพันธุกรรมศาสตร์และดีเอ็นเอพบว่า แมมมอธนั้นมีสายสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ Elephas หรือช้างเอเชียที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน จึงมีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์ที่จะโคลนนิงตัวอ่อนของแมมมอธให้เกิดขึ้นมาให้ได้ โดยให้แม่ช้างเอเชียเป็นฝ่ายอุ้มท้อง จากการสกลัดนิวเคลียสจากซากดึกดำบรรพ์ของลูกแมมมอธที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะถูกแช่แข็งในน้ำแข็ง จากไขกระดูกบริเวณต้นขา และจากหลักฐานใหม่ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า แมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากกว่า โดยประชากรในยุโรปเกือบสูญพันธุ์ไปก่อนหน้านั้นเมื่อ 20,000-30,000 ปีก่อน จากนั้นเมื่อ 14,000 ปีก่อน โลกเริ่มมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น จึงพากันสูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพร่างกายที่ใหญ่และมีขนยาวปกคลุมลำตัว ในปลายเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และช้างแมมมอธ · ดูเพิ่มเติม »

กวางไอริช

กวางไอริช หรือ กวางยักษ์ (Megaloceros giganteus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สูญพันธ์เมื่อประมาณ 11,700 ปีก่อน ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในแถบทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย (จากการขุดพบซากฟอสซิล) ลำตัวสูง 2 เมตร ความกว้างของเขา 4 เมตร อาศัยอยู่กันเป็นฝูง.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และกวางไอริช · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

ำลองเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (mass extinction) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นข้อสันนิษฐานว่า เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตบนโลกหลากชนิดหลายสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ไปในเวลาพร้อมๆกันหรือไล่เลี่ยกัน เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียว ในช่วง ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์เป็นสิ่งมีชีวิตอันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ หากแต่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง การประเมินระยะเวลาการเกิดเหตุการณ์ ทำโดยการวินิจฉัยจากซากฟอสซิลจากทะเลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากว่าสามารถ ค้นพบได้ง่ายกว่าฟอสซิลที่อยู่บนบก เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจและผู้คนทั่วไปรู้จักกันดีที่สุดคือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ทั้งหมด เมื่อทำการศึกษาพบว่าตั้งแต่ 550 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปราวๆ 50% ของทั้งหมด เนื่องจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก่อนหน้ายุคครีเตเชียสมักลำบากในการศึกษารายละเอียด เพราะหลักฐานซากฟอสซิลสำหรับตรวจสอบมีหลงเหลือน้อยมาก.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

วัวทะเลชเตลเลอร์

วัวทะเลชเตลเลอร์ (Steller's sea cow, Great northern sea cow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในอันดับพะยูน (Sirenia) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Hydrodamalis วัวทะเลชเตลเลอร์จัดเป็นพะยูนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เคยปรากฏมา มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 8 เมตร น้ำหนักมากถึง 3 ตัน นับได้ว่ามีขนาดพอ ๆ กับวาฬเพชฌฆาต อาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ในเขตอาร์กติกและช่องแคบเบริง ซึ่งอยู่ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เมื่อกลางปี..

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และวัวทะเลชเตลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ลิงใหญ่

ลิงใหญ่ หรือ โฮมินิด (Hominid, Great ape) เป็นวงศ์หนึ่งในทางอนุกรมวิธานของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primates) จำพวกเอป หรือลิงไม่มีหาง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hominidae ซึ่งในปัจจุบันนี้มีดำรงเผ่าพันธุ์อยู่เพียง 4 สกุล คือ Pan, Gorilla, Homo และPongo ลักษณะสำคัญของวงศ์นี้ คือ มีฟันเขี้ยวขนาดเล็กและอยู่ในระดับเดียวกับฟันอื่น ๆ เดินด้วยขาหลัง 2 ขา เนื่องจากเปลี่ยนวิถีชีวิตจากบนต้นไม้มาสู่พื้นดิน เดิมเคยเชื่อว่าในวงศ์นี้ ประกอบไปด้วยสกุล 3 สกุล คือ Ramapithecus, Australopithecus และ Homo แต่จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า Ramapithecus มีลักษณะคล้ายลิงอุรังอุตังมากกว่า Australopithecus และHomo จึงจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Ponginae ของลิงอุรังอุตัง ในวงศ์นี้ ชนิดที่ทราบว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจำนวนหนึ่งถูกจัดกลุ่มกับมนุษย์ในวงศ์ย่อย Homininae ส่วนชนิดอื่น ๆ ถูกจัดในวงศ์ย่อย Ponginae กับลิงอุรังอุตัง บรรพบุรุษร่วมกันหลังสุดของลิงใหญ่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 14 ล้านปีก่อน เมื่อบรรพบุรุษของลิงอุรังอุตังวิวัฒนามาจากบรรพบุรุษของอีก 3 ชนิดที่เหลือDawkins R (2004) The Ancestor's Tale.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และวงศ์ลิงใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สมัน

มัน หรือ ฉมัน หรือ เนื้อสมัน หรือ กวางเขาสุ่ม (Schomburgk's deer) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rucervus schomburgki เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ท้องมีสีอ่อนกว่า ริมฝีปากล่างและด้านล่างของหางเป็นสีขาว มีลักษณะเด่นคือ ตัวผู้จะมีเขาแตกแขนงออกไปมากมายเหมือนกิ่งไม้ แลดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยที่สุดในโลก มีกิ่งรับหมาหรือกิ่งเขาที่ยื่นออกไปข้างหน้ายาวกว่ากิ่งรับหมาของกวางชนิดอื่น ๆ สมันมีความยาวลำตัว 180 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 100-110 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 100-120 กิโลกรัมสมันนั้นวิ่งเร็วประมาณ 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง มีการกระจายพันธุ์เฉพาะในที่ราบลุ่มภาคกลางของไทยเท่านั้น รวมถึงบริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบันด้วย โดยอาศัยอยู่ในที่ทุ่งโล่งกว้าง ไม่สามารถหลบหนีเข้าป่าทึบได้เนื่องจากกิ่งก้านของเขาจะไปติดพันกับกิ่งไม้ จึงเป็นจุดอ่อนให้ถูกล่าได้อย่างง่ายดาย ในสมัยอดีต ชาวบ้านจะล่าสมันด้วยการสวมเขาปลอมเป็นตัวผู้เพื่อล่อตัวเมียออกมา จากนั้นจึงใช้ปืนหรือหอกพุ่งยิง ปัจจุบัน สมันสูญพันธุ์แล้ว สมันในธรรมชาติตัวสุดท้ายถูกนายตำรวจคนหนึ่งยิงตายเมื่อ พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดกาญจนบุรี สมันตัวสุดท้ายในที่เลี้ยงถูกชายขี้เมาตีตายที่วัดแห่งหนึ่งในตำบลมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อ พ.ศ. 2481 ในปี พ.ศ. 2534 มีรายงานว่าพบซากเขาสมันสดขายในร้านขายยาใจกลางเมืองพงสาลี และแขวงหลวงพระบาง ทางภาคเหนือของลาว ทำให้สันนิษฐานว่าอาจจะมีสมันหลงเหลืออยู่ในประเทศลาวก็เป็นได้ แต่เรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเพียงพอ โดยที่ทั้งชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ของสมันตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์โรเบิร์ต แฮร์มันน์ โชมบวร์ก ผู้เป็นกงสุลอังกฤษประจำราชอาณาจักรสยามที่นำสมันเข้าไปเผยแพร่ในยุโรปเป็นคนแรก.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และสมัน · ดูเพิ่มเติม »

สยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส

มโมอะ​เดปิส​ ​แม่​เมาะ​เอนซิส เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในอันดับไพรเมต (Primate) ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siamoadapis maemohensis อยู่ในวงศ์ศิวะอะปิด (Sivaladapidae) ซึ่งมีกรามล่างจำ​นวน 4 กราม​ ​มีลักษณะสำคัญ คือ มีฟันกรามน้อยหนึ่งซี่​ซึ่ง​มีขนาด​ใหญ่​กว่าฟันกรามน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับไพรเมตวงศ์อื่น ๆ สยามโมอะ​เดปิส​ ​แม่​เมาะ​เอนซิส มีลักษณะ​ใกล้​เคียง​กับลีเมอร์ มีหางยาว​ไว้​เกาะเกี่ยวต้นไม้และ​มีวิวัฒนาการน้อย​ซึ่ง​พบเฉพาะ​เกาะมาดากัสการ์​ ​ในทวีปแอฟริกา ขณะที่ลำ​ตัวของ สยามโมอะ​เดปิส​ ​แม่​เมาะ​เอนซิส มี​ความ​ยาว 15 เซนติเมตร หรือ​เล็ก​กว่าลิงลมในปัจจุบันครึ่งหนึ่ง​ มีน้ำหนักเพียง​ 500-700 กรัม หากินในเวลากลางคืน​ โดย​กินแมลง,​ ใบไม้และผลไม้​เป็น​อาหาร​ ​ไม่​สามารถ​กัดกินอาหารแข็ง ๆ ได้ ​มีอายุ​อยู่​เมื่อประมาณ 13 ล้านปีก่อน​หรือ​ตอนกลางของยุคไมโอซีนเมื่อ 8 ล้านปีที่​แล้ว โดยขุดค้นเป็นซากฟอสซิลครั้งแรกในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคแถบนี้ เมื่อปี ค.ศ. 2004 โดย ดร.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และสยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตบาร์บารี

งโตบาร์บารี หรือ สิงโตแอตลาส หรือ สิงโตนูเบียน (Barbary lion; Atlas lion; Nubian lion) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo leo เป็นสิงโตชนิดย่อยชนิดหนึ่ง ที่เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว สิงโตบาร์บารีเป็นสิงโตที่มีขนาดใหญ่ มีจุดเด่นคือ ตัวผู้มีแผงขนคอที่มีสีดำมากกว่าสิงโตสายพันธุ์อื่น ๆ และมีน้ำหนักตัวมากที่สุดในบรรดาสิงโตด้วยกัน โดยเพศผู้มีน้ำหนักตัว 200- 295 กิโลกรัม เพศเมียมีน้ำหนักตัว 120- 180 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามมีผู้เชี่ยวชาญบางท่านกล่าวว่าการคาดคะเนน้ำหนักดูเกินความจริงไปมาก เดิมสิงโตชนิดย่อยนี้พบแพร่กระจายตามแนวเทือกเขาแอตลาสในแอฟริกาเหนือ ไปจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลางในทวีปเอเชีย ได้มีการจับสิงโตชนิดนี้เป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในการต่อสู้ในยุคโรมัน สิงโตบาร์บารีในธรรมชาติตัวสุดท้ายถูกล่าเมื่อปี ค.ศ. 1922 ในบริเวณเทือกเขาแอตลาส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีการเลี้ยงสิงโตสายพันธุ์นี้อยู่โรงแรม หรือคณะละครสัตว์หลายแห่งในทวีปยุโรป ในช่วงยุคกลางมีการเลี้ยงสิงโตบาร์บารี่ในบริเวณหอคอยลอนดอน ในปี ค.ศ. 1835 ได้มีการย้ายสิงโตออกจากหอคอยลอนดอนไปยังสวนสัตว์ลอนดอน โดยสิงโตบาร์บารี่ตัวที่มีชื่อเสียงที่สุด ชื่อ สุลต่าน ซึ่งอาศัยอยู่ในสวนสัตว์ลอนดอนในปี ค.ศ. 1896 ปัจจุบัน สิงโตกลุ่มที่คาดว่าน่าจะสืบเชื้อสายมาจากสิงโตบาร์บารี่มากที่สุดคือกลุ่มของสิงโตที่สวนสัตว์ในโมร็อคโค แอฟริกาเหนือ ซึ่งระบุว่าได้มาจากเทือกเขาแอตลาส และมีการทำประวัติไว้ทุกตัว ตลอดระยะเวลาหลายปี แต่จากผลตรวจดีเอ็นเอ โดย ดร.โนะบุยุกิ ยะมะกุชิ แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ซึ่งนำตัวอย่างซากของสิงโตที่คาดว่าจะเป็นสิงโตบาร์บารี่จากหลายพิพิธภัณฑ์มาตรวจสอบ เทียบกับสิงโตที่คาดว่าจะเป็นสิงโตบาร์บารี่ ในสวนสัตว์หลายแห่งในทวีปยุโรป รวมทั้งสิงโตในสวนสัตว์โมรอคโคบางตัว พบว่าไม่ได้มีสิงโตตัวใดเป็น สิงโตบาร์บารี่ อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้ศึกษาถึงกลุ่มประชากรของสิงโตที่มีที่มาจากหอคอยลอนดอนในสวนสัตว์ลอนดอน ในปี ค.ศ. 2008 มีการศึกษาพบว่าสิงโตในโมร็อคโค มี mitochondrial haplotypes (H5 และ H6) เหมือนกับสิงโตในแอฟริกากลาง และยังพบว่า mitochondrial haplotypes (H7 และ H8) พบได้ในสิงโตอินเดีย อาจกล่าวได้ว่าสิงโตเริ่มแพร่กระจายจากแอฟริกาตะวันออกสู่พื้นที่อื่น ๆ และเข้าสู่ทวีปเอเชียในภายหลัง.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และสิงโตบาร์บารี · ดูเพิ่มเติม »

สถานะการอนุรักษ์

นะการอนุรักษ์ หรือ สถานะการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิต (Conservation status) คือการจัดระดับความเสี่ยงของสิ่งมีชีวิตที่จะทำให้เกิดการสูญพันธุ์ในปัจจุบันและในอนาคตที่ไม่ไกลจากนี้ การจัดระดับอนุรักษ์ใช้กฎเกณฑ์ในการพิจารณาหลายข้อ มิใช่แต่เพียงจำนวนประชากรที่ยังคงเหลือ แต่การเพิ่มหรือลดจำนวนประชากรในช่วงเวลา, อัตราความสำเร็จในการแพร่พันธุ์, สิ่งที่เป็นภัยต่อสปีชีส์ และอื่นๆ ลำดับของความเสี่ยงแบ่งได้อย่างกว้างๆ เป็น.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และสถานะการอนุรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

สไมโลดอน

มโลดอน (Smilodon) หรือ เสือเขี้ยวดาบ สไมโลดอนเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่มีเขี้ยวยาวที่สุดในโลก และเมื่อมันกัดเข้าไปที่คอเหยื่อ เหยื่อจะตายในทันทีเพราะเขี้ยวมันยาวและแทงลึกถึงหลอดลม แต่อย่างไรก็ตามสไมโลดอนก็ยังมีขนาดที่เล็กกว่านักล่าตระกูลแมวใหญ่ทั่วไปเนื่องจากมันมีขนาดเท่ากันกับสิงโตแอฟริกาในปัจจุบัน แต่ขนาดที่เล็กก็ยังทำให้มันวิ่งได้เร็วและคล่องแคล่วว่องไวเหมือนกับสิงโตอเมริกา หลังจากการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์และโลกเข้าสู่ยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ก็ได้มีนักล่าสายพันธุ์ต่าง ๆ ปรากฏขึ้นมามากมาย โดยเสือเขี้ยวดาบถือเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนักล่าที่โดดเด่นและน่าสะพรึงกลัวที่สุดพวกหนึ่งที่เคยท่องเที่ยวอยู่บนโลกใบนี้.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และสไมโลดอน · ดูเพิ่มเติม »

สเตโกดอน

ตโกดอน (Stegodon) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกช้างที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegodon (หมายถึง "รากฟัน" จากภาษากรีกคำว่า στέγειν อ่านว่า "stegein" หมายถึง "ครอบคลุม" และ ὀδούς อ่านว่า "odous" หมายถึง "ฟัน") เดิมทีสเตโกดอนถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Elephantidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับวงศ์ของช้างในยุคปัจจุบัน แต่ต่อมาได้ถูกแบ่งแยกออกมาเป็นวงศ์ของตัวเอง คือ Stegodontidae มีชีวิตอยู่ในยุคไมโอซีนตอนปลาย ถึงต้นยุคไพลสโตซีน ราว 1,800,000 ปีก่อน จัดว่าเป็นช้างรุ่นที่ 6 ในลำดับวิวัฒนาการของช้าง ซึ่งนับว่าว่าเก่าแก่กว่าช้างแมมมอธ ซึ่งถูกจัดอยู่ในรุ่นที่ 8 ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีเสียอีก สเตโกดอน จัดว่าเป็นช้างโบราณ ที่เชื่อว่ามีสายสัมพันธ์กับช้างในสกุล Elephas หรือช้างเอเชียในยุคปัจจุบัน เป็นไปได้ว่าช้างเอเชียอาจสืบสายพันธุ์หรือวิวัฒนาการมาจากสเตโกดอน นอกจากนี้แล้วสเตโกดอนยังถือว่าเป็นช้างที่มีลักษณะร่วมกันของช้างเอเชียกับมาสโตดอน ซึ่งเป็นช้างโบราณอีกสกุลหนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้วเช่นกัน สเตโกดอน มีรูปร่างที่สูงใหญ่ บางตัวหรือบางชนิดอาจสูงถึง 4 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับช้างในยุคปัจจุบัน กะโหลกมีขนาดใหญ่ ขากรรไกรสั้น ไม่มีงาล่าง ฟันกรามประกอบด้วยสันฟันแนวขวาง 6–13 สัน มีลักษณะเด่น คือ มีงาหนึ่งคู่ที่ยาวงอกออกมาจากมุมปากทั้งสองข้าง มีลักษณะชิดติดกัน ซึ่งในบางชนิดมีความยาวได้ถึง 3.3 เมตร งวงไม่สามารถแทรกลงตรงกลางงาได้ ต้องพาดไปไว้ข้างใดข้างหนึ่ง ซากดึกดำบรรพ์ของสเตโกดอนถูกค้นพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยค้นพบที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล โดยที่จังหวัดสตูลนั้น ถูกค้นพบในถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นถ้ำที่มีน้ำทะเลไหลผ่านพื้นถ้ำด้วยความยาวกว่า 4 กิโลเมตร เดิมชาวบ้านที่นี่เรียก "ถ้ำวังกล้วย" แต่ปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ถ้ำเลสเตโกดอน" จากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดด้ว.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และสเตโกดอน · ดูเพิ่มเติม »

ออสตราโคเดิร์ม

ภาพวาดของออสตราโคเดิร์ม (เฉพาะรูปด้านบนเท่านั้น รูปด้านล่างเป็นภาพวาดของปลามีเกราะหรือพลาโคเดิร์ม ซึ่งไม่ใช่ออสตราโคเดิร์ม) ออสตราโคเดิร์ม (Ostracoderm) เป็นปลาโบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เกิดขึ้นเป็นกลุ่มแรกๆ พบเป็นซากฟอสซิลอายุระหว่างยุคออร์โดวิเชียนจนถึงยุคดีโวเนียน ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ถือเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เกิดก่อนสัตว์กลุ่มอื่นๆ ความยาวไม่เกิน 30 ซม..

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และออสตราโคเดิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

อินทรีฮาสท์

อินทรีฮาสท์ (Haast's Eagle; คืออินทรีสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว ครั้งหนึ่งมันเคยอาศัยอยู่ที่เกาะใต้ของนิวซีแลนด์ เป็นสายพันธุ์อินทรีที่เชื่อกันว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีมา อินทรีฮาสท์มีถิ่นกำเนิดในนิวซีแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นนกอินทรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมันมีความยาวจากปลายปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งกว่า 10 ฟุต หรือสามเมตร น้ำหนักราว 15 -20 กิโลกรัม กรงเล็บของอินทรีฮาสท์มีขนาดพอ ๆ กับเล็บเสือโคร่ง จัดว่าเป็นนักล่าที่น่ากลัวที่สุดของนิวซีแลนด์ เนื่องจากนกอินทรีชนิดนี้อาศัยอยู่ในเกาะใต้ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าหนาทึบ มันจึงมีปีกที่ค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบตามสัดส่วนร่างกาย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์ขณะที่บินล่าเหยื่อในป่า ช่วงปีกค่อนข้างสั้นและแผ่กว้างทำให้อินทรีฮาสท์ไม่ร่อนหาเหยื่อจากที่สูงเหมือนอย่างพวกแร้ง แต่มักจะบินไปตามแนวป่ามากกว่า เหยื่อสำคัญของอินทรีฮาสท์คือบรรดานกโมอาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะนกโมอายักษ์ที่หนักกว่า 250 กิโลกรัม แม้ว่าโมอายักษ์จะใหญ่กว่าอินทรีฮาสท์หลายเท่า แต่มันก็ค่อนข้างเชื่องช้าและยังมีคอและศีรษะขนาดเล็กทำให้ง่ายต่อการโจมตี โดยอินทรีฮาสต์จะโฉบลงที่ลำคอหรือไม่ก็ศีรษะของเหยื่อ ก่อนใช้กรงเล็บสังหารเหยื่อของมัน เนื่องจากเหยื่อของมันมีขนาดใหญ่มาก อินทรีฮาสต์จึงมักกินเหยื่อที่พื้นและอยู่กับซากเป็นเวลาหลายวัน การที่อินทรีฮาสต์ล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างนกโมอายักษ์ ก็เพราะว่าในนิวซีแลนด์ มันเป็นนักล่าที่ใหญ่ที่สุดของดินแดนแห่งนี้ ตามปกติสัตว์จำพวกเหยี่ยวและนกอินทรีจะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่าพวกมันเพื่อให้ง่ายต่อการนำขึ้นไปกินบนกิ่งไม้สูงทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ถูกสัตว์นักล่าบนพื้นดินชนิดอื่นที่แข็งแรงกว่ามาแย่งเหยื่อไป แต่ในนิวซีแลนด์ไม่มีสัตว์นักล่าบนพื้นดิน ที่แข็งแกร่งกว่าอินทรีฮาสท์ ทำให้พวกมันสามารถกินเหยื่อบนพื้นดินได้โดยไม่ต้องกลัวถูกแย่งไป ไม่เคยมีชาวผิวขาวคนใดได้เห็น นกอินทรีฮาสท์ คงมีเพียงชาวมาวรีเท่านั้นที่เคยเห็นมัน พวกมาวรีเรียกนกอินทรีชนิดนี้ว่า "โปวาไก" (Pouakai). Museum of New Zealand: Te Papa Tongarewa. Retrieved 27 October 2010. ในตำนานพื้นบ้านเล่าว่า มันจะเกาะอยู่บนยอดไม้สูง เมื่อมนุษย์เดินผ่าน มันจะพุ่งเข้าจู่โจมโดยใช้กรงเล็บขยุ้มที่ศีรษะเหยื่อ และเมื่อเหยื่อตายแล้วมันจะนำกลับไปที่รัง เมื่อดูจากกรงเล็บและขนาดของมันแล้ว ก็พอจะกล่าวได้ว่า ตำนานนี้ไม่เกินจริงนัก ภาพวาดนกอิทรียักษ์ฮาสท์กำลังล่านกโมอา กระดูกของอินทรียักษ์ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1871 ระหว่างการขุดค้นกระดูกนกโมอาที่บึงเกลมมาร์ก (Glemmark) ในแคนเทอร์บรี (Canterbury) จากนั้นได้มีการศึกษา และตั้งชื่อในปีต่อมา กระดูกของอินทรีฮาสท์ไม่ได้พบทั่วไป แต่มีอยู่เฉพาะในเกาะใต้ และทางตอนใต้ของเกาะเหนือของประเทศนิวซีแลนด์เท่านั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านกอินทรีฮาสท์เป็นนกนักล่าที่น่ากลัวที่สุดของนิวซีแลนด์ พวกมันสามารถล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างนกโมอาที่หนักกว่า 250 กิโลกรัมได้ โดยนกอินทรีฮาสท์จะใช้วิธีพุ่งเข้าชนเหยื่อ แรงปะทะของมันจะทำให้นกโมอาเสียหลักล้มลง จากนั้นมันจึงเล่นงานด้วยกรงเล็บ นอกจากนี้พวกมันก็อาจเล่นงานชาวพื้นเมืองเหมือนดังในตำนานก็ได้ จากหลักฐานที่พบ สรุปได้ว่าอินทรีฮาสท์สูญพันธุ์ไปเมื่อ 500 ปีก่อน สาเหตุของการสูญพันธุ์น่าจะเกี่ยวเนื่องกับการเข้ามาของชาวมาวรี ทั้งนี้เมื่อเหยื่อขนาดใหญ่อย่างนกโมอาถูกมนุษย์ล่า ทำให้นกอินทรีขาดแหล่งอาหาร นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่า ชาวมาวรีล่าอินทรีเหล่านี้เพื่อใช้ขนทำเสื้อด้วย อย่างไรก็ดี ในช่วงปี 1800 มีผู้อ้างว่า ได้ยิงอินทรียักษ์สองตัว แม้ไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่ก็พอจะพูดได้ว่านั่นเป็นข่าวการพบเห็นครั้งสุดท้าย เพราะนับแต่นั้นมาก็ไม่เคยมีใครพบนกอินทรีชนิดนี้อีกเล.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และอินทรีฮาสท์ · ดูเพิ่มเติม »

ควากกา

ม้าลายควากกา (Quagga) เป็นชนิดย่อยของม้าลายธรรมดา (E. quagga) ชนิดหนึ่ง ม้าลายควากกา เป็นม้าลายที่มีลวดลายหรือลักษณะที่จำแนกได้เด่นชัดที่สุดในบรรดาม้าลายทั้งหมด เพราะมีลายเฉพาะบริเวณส่วนหัวไล่ลงมาถึงต้นคอเท่านั้น จากนั้นจะจางลงจนเกือบขาวที่บริเวณขา และขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมแดง ในอดีตม้าลายควากกา อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้ากึ่งแห้งแล้งร่วมกับสัตว์อื่น ๆ ในแอฟริกาใต้ เมื่อชาวเนเธอร์แลนด์เข้ามาตั้งรกรากในแอฟริกาใต้ ชาวบัวร์ได้ล่าสัตว์ชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ม้าลายควากกามีขนสวยงาม และอ่อนนุ่มกว่าม้าลายชนิดอื่น ๆ จึงกลายเป็นเป้าหมายของนักล่า ม้าลายควากกาถูกฆ่าเป็นจำนวนมาก เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร และใช้หนังเพื่อทำกระเป๋า ม้าลายควากกาตัวสุดท้ายในป่า ถูกยิงตายในปี..

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และควากกา · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพ

วามหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (Species) สายพันธุ์ (Genetic) และระบบนิเวศ (Ecosystem.) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995) ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

คางคกไวโอมิง

งคกไวโอมิง (Wyoming toad; หรือ Bufo baxteri) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหายากที่ปัจจุบันยังเหลือรอดเฉพาะในสถานที่เพาะเลี้ยง และในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งชาติทะเลสาบมอร์เทนสัน ในรัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ถูกขึ้นทะเบียนอยู่ในรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เมื่อ..

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และคางคกไวโอมิง · ดูเพิ่มเติม »

คิงคองยักษ์

งคองยักษ์ (อังกฤษ: Gigantopithecus) เป็นสัตว์ที่สูญพันธ์ุไปเมื่อ 100,000 ปีก่อนเพราะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปและเป็นสัตว์ตระกูลลิงที่ใหญ่ที่สุดเป็นสัตว์นักล่าที่เก่งและฉลาดและถ้าเกิดสัตว์ตัวอื่นๆมาอยู่ในถิ่นของคิงคองยักษ์ ก็จะโดนพวกมันไล่ล่าและเป็นคิงคองที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์ Primate.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และคิงคองยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลามีเกราะ

ปลามีเกราะ หรือ ปลาหุ้มเกราะ (Armored fish) เป็นปลายุคก่อนประวัติศาสตร์ในชั้น Placodermi หรือ Placoderm ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บรรพบุรุษของปลาถือกำเนิดขึ้นมาในยุคออร์โดวิเชียน (500 ล้านปีก่อน) โดยวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า แอมฟิออกซัส ที่มีกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแกนหลักในร่างกาย และกลายมาเป็นปลาปากกลมที่ไม่มีขากรรไกร หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งเหมือนเกราะหนาหุ้มตัว จากนั้นในยุคดีโวเนียน (360 ล้านปีก่อน) จึงเป็นปลาที่มีเกล็ดหุ้มร่างกายอย่างหนาแน่นคล้ายชุดเกราะ มีขากรรไกร ก็คือ ปลามีเกราะปรากฏขึ้นมา โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ เกราะบริเวณส่วนหัว และเกราะบริเวณลำตัว ปลามีเกราะมีกระจายพันธุ์แพร่หลายทั้งในน้ำจืดและทะเล แบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ถึง 10 อันดับ (ดูในตาราง) ปลามีเกราะแพร่พันธุ์ด้วยการแพร่พันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยออกเป็นไข่ แต่ก็มีบางจำพวกที่ค้นพบว่าคลอดลูกเป็นตัวด้วย โดยปลามีเกราะขนาดใหญ่ที่สุด คือ ดังเคิลออสเตียส ที่มีส่วนหัวและริมฝีปากที่แหลมคมขนาดใหญ่ใช้แทนฟัน มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 10 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 3.6-4 ตัน.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และปลามีเกราะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหวีเกศ

ปลาหวีเกศ (Siamese schilbeid catfish, Siamese flat-barbelled catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) เป็นปลาไม่มีเกล็ด มีรูปร่างคล้ายปลาสังกะวาดและปลาเนื้ออ่อนผสมรวมกัน ตัวเรียวยาว มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนหลังเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กมาก มีลักษณะเด่นคือ มีหนวดยาว 4 คู่ แต่หนวดจะแบนไม่เป็นเส้น คล้ายกับเส้นผมของผู้หญิง จึงเป็นที่มาของชื่อ พบอาศัยอยู่เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น กินแมลงเป็นอาหาร ขนาดโตเต็มที่ราว 20 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีรายชื่ออยู่ในกาพย์แห่ชมปลาของเจ้าฟ้ากุ้งนับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายที่ว่า ปัจจุบันนี้ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติมานานแล้ว จึงเชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือแต่เพียงซากที่ถูกดองเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยากรมประมงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ที่เก็บตัวอย่างได้จากตลาดปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 และสถาบันสมิธโซเนียนเท่านั้น มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาสายยู" หรือ "ปลาเกด".

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และปลาหวีเกศ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)

ปลาหางไหม้ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาฉลามหางไหม้ (Burnt-tailed barb, Siamese bala-shark) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ปลาหางไหม้ มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหาง สีส้มแดงและขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20–30 เซนติเมตร นิยมอยู่เป็นฝูง หากินตามใต้พื้นน้ำ ในอดีตพบชุกชุมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย แต่ปัจจุบันไม่พบแล้ว เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปจนหมดแล้ว สันนิษฐานว่าเป็นผลมาจากการจับจากธรรมชาติเพื่อจำหน่ายเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เพียงข้อสันนิษฐาน โดยถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว แม้จะมีรายงานพบในลุ่มแม่น้ำโขง ในเวียดนาม, กัมพูชา และลาว แต่ทว่าก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน และไม่เป็นที่ยอมรับจาก IUCN ซึ่งในอดีตปลาหางไหม้ได้ถูกใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ร่วมกับปลาฉลามหางไหม้ชนิดที่พบในประเทศอินโดนีเซีย (B. melanopterus) และถูกใช้ชื่อวิทยาศาสตร์และข้อมูลนี้มาโดยตลอด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2007 มีการจัดอนุกรมวิธานกันขึ้นมาใหม่ Ng, Heok Hee; Kottelat, Maurice (2007).

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และปลาฉลามหางไหม้ (ไทย) · ดูเพิ่มเติม »

นกโมอา

นกโมอา (moa) เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์ Dinornithidae เคยอาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธ์ไปหมดแล้ว มีความเกี่ยวข้องกับนกอีมูจากออสเตรเลีย ในช่วงศตวรรษที่ 1800 ถึงต้นศตวรรษที่ 1900 มีหลายสายพันธุ์ของนกโมอาอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์สรุปอย่างเป็นทางการได้ว่ามีอยู่ประมาณ 10 หรือ 12 ชนิด จากการศึกษาดีเอ็นเอ ของนกโมอา ได้มีการค้นพบว่านกโมอาตัวเมียกับตัวผู้มีความแตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นทางขนาดลำตัวรึขนาดของกระดูก ตัวเมียมีขนาดที่ใหญ่กว่าและสูงกว่าตัวผู้อยู่ประมาณร้อยละ 150 และมีน้ำหนักกว่าร้อย 280 เหตุผลนี้ทำให้ตอนแรกมีการเข้าใจผิดคิดว่าโครงกระดูกที่ถูกค้นพบนี้เป็นของนก 2 ชนิด โครงกระดูกที่ถูกค้นพบได้ถูกนำมาประกอบกันแล้วจัดแสดงอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และนกโมอา · ดูเพิ่มเติม »

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ") คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

นีแอนเดอร์ทาล

นีแอนเดอร์ทาล คือมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ชนิดหนึ่ง ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยจัดอยู่ในสกุลเดียวกับมนุษย์ยุคปัจจุบัน คือ Homo นีแอนเดอร์ทาลถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อราว 160 ปีที่แล้ว ที่ถ้ำเฟลด์โฮเฟอร์ในหุบเขาเนอันเดอร์ ใกล้เมืองดึสเซลดอร์ฟ ทางตอนเหนือของเยอรมนี โดยคนงานเหมืองขุดค้นพบกระดูกโบราณซึ่งตอนแรกเข้าใจว่าเป็นหมี และได้ส่งกระดูกนั้นแก่นักธรรมชาติวิทยา โยฮันน์ คาร์ล ฟูลรอทท์ ฟูลรอทท์จึงได้ส่งต่อให้แก่นักกายวิภาควิทยา เมื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วจึงพบว่าเป็นมนุษย์ดึกดำบรรพ์ชนิดใหม่ จึงให้ชื่อว่า "นีแอนเดอร์ทาล" เพื่อเป็นเกียรติแก่หุบเขาเนอันเดอร์ สถานที่ที่ค้นพบ โดยรวมนีแอนเดอร์ทาลมีรูปร่างที่กำยำล่ำสัน แข็งแรง รวมถึงมีภูมิคุ้มกันโรคที่ดีกว่ามนุษย์ปัจจุบัน แต่มีระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่า ด้วยเหตุนี้เป็นสาเหตุหลักที่เชื่อว่าทำให้สูญพันธุ์ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนได้ถอดรหัสพันธุกรรมของนีแอนเดอร์ทาลได้เป็นผลสำเร็จเมื่อปี..

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และนีแอนเดอร์ทาล · ดูเพิ่มเติม »

แรดชวา

แรดชวา หรือ ระมาด หรือ แรดซุนดา (Javan Rhinoceros) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคี่ในวงศ์แรด อยู่ในสกุลเดียวกันกับแรดอินเดีย เป็นหนึ่งในห้าชนิดของแรดที่ยังเหลืออยู่ ลำตัวยาว 3.1–3.2 ม.สูง 1.4–1.7 ม.มีขนาดใกล้เคียงกับแรดดำ เหนือจมูกมีนอสั้น ๆ หนึ่งนอมีขนาดเล็กกว่าแรดทุกชนิด จึงได้อีกชื่อว่า แรดนอเดียว แรดชวาเป็นแรดเอเชียที่มีการกระจายพันธุ์กว้างที่สุดตั้งแต่เกาะในอินโดนีเซีย ตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และจีน ปัจจุบันแรดชวาถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติ มีเพียงสองแห่งเท่านั้นที่ยังมีประชากรหลงเหลืออยู่ในป่า ไม่มีแรดชวาจัดแสดงในสวนสัตว์ แรดชวาอาจเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบได้ยากที่สุดในโลก มีประชากรแรดน้อยกว่า 40-50 ตัวในอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลนบนเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย และประชากรจำนวนเล็กน้อย (ประเมินเมื่อปี พ.ศ. 2550) ไม่เกิน 8 ตัวในอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียนในประเทศเวียดนาม แต่ในปัจจุบันมีการยืนยันว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว การลดลงของแรดชวาเกิดจากการล่าเอานอซึ่งเป็นสิ่งมีค่าในการแพทย์แผนจีนซึ่งมีราคาถึง $30,000 ต่อกก.ในตลาดมืด การสูญเสียถิ่นอาศัยโดยเฉพาะผลของสงครามอย่างสงครามเวียดนาม มีส่วนในการลดลงและขัดขวางการฟื้นฟูของจำนวนประชากร แม้พื้นที่ถิ่นอาศัยที่เหลือจะได้รับการปกป้องแต่แรดชวายังคงเสี่ยงต่อการถูกล่า โรคภัยไข้เจ็บ และการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมซึ่งจะนำไปสู่การผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกัน แรดชวามีอายุประมาณ 30-45 ปีในธรรมชาติ อาศัยอยู่ในป่าดินชื้น ป่าหญ้าชื้นแฉะ และลุ่มน้ำขนาดใหญ่ แรดชวาเป็นสัตว์สันโดษมักอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นช่วงจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน บางครั้งจะรวมฝูงกันเมื่อลงแช่ปลักโคลนหรือลงกินโป่ง มีอาหารหลักเป็น ใบไม้อ่อน ยอดไม้ ตาไม้ และผลไม้สุกที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน นอกจากมนุษย์แล้วแรดชวาไม่มีศัตรูอื่นอีก แรดชวาจะหลีกเลี่ยงมนุษย์แต่จะโจมตีเมื่อรู้สึกถูกคุกคาม เป็นการยากที่นักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์จะศึกษาในแรดชวาโดยตรงเพราะพบยากมากและเป็นอันตรายต่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดจากการรบกวน นักวิจัยอาศัยเพียงกับดักกล้องและตัวอย่างมูลเพื่อประเมินสุขภาพและพฤติกรรม ดังนั้นจึงมีการศึกษาในแรดชวาน้อยกว่าในแรดทุกชน.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และแรดชวา · ดูเพิ่มเติม »

แรดดำตะวันตก

แรดดำตะวันตก หรือ แรดดำแอฟริกันตะวันตก เป็นสปีชีส์ย่อยหายากของแรดดำ การสำรวจล่าสุดไม่พบแม้แต่เพียงตัวเดียว และใน..

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และแรดดำตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมนอยด์

แอมโมนอยด์ เป็นกลุ่มของสัตว์ทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ในทางชีววิทยาได้จัดให้อยู่ในชั้นย่อย แอมโมนอยดี ของชั้นเซฟาโลพอด ในไฟลั่มหอยหรือมอลลัสกา แอมโมไนต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่ดีสามารถใช้กำหนดอายุของชั้นหินในทางธรณีวิทยาได้ ญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของแอมโมไนต์อาจจะไม่ใช่หอยวงช้าง (''Nautilus'' spp.) แม้จากลักษณะภายนอกแล้วจะมีความใกล้เคียงกันมาก แต่แท้จริงแล้วอาจมีความใกล้ชิดกับพวกในชั้นย่อยโคโลอิดี คือพวกหมึกและออคโตปุส ปรกติแล้วเปลือกกระดองจะขดม้วนในแนวระนาบ แม้ว่าจะพบบ้างว่ามีการขดม้วนเป็นรูปเกลียวและแบบไม่มีการขดม้วนเลยก็มี (เฮตเทอโรมอร์พ) ชื่อ “แอมโมไนต์” มาจากลักษณะของเปลือกกระดองที่มีการขดม้วนเป็นรูปเกลียวดังที่พบเปลือกกระดองเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ขดม้วนกันแน่นแบบเขาแกะ Pliny the Elder (d. 79 A.D. near Pompeii) เรียกซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ชนิดนี้ว่า “ammonis cornua” (เขาของแอมมอน) เพราะว่า แอมมอน แอมุน เทพเจ้าของชาวอียิปต์จะสวมเขาแกะ ชื่อสกุลของแอมโมไนต์จะพบว่าลงท้ายด้วยว่า -“ceras” บ่อยๆซึ่งหมายถึงเขาสัตว์นั่นเอง เช่น Pleuroceras เป็นต้น.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และแอมโมนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

โลมาแม่น้ำจีน

ลมาแม่น้ำจีน หรือ โลมาแม่น้ำแยงซี หรือ โลมาครีบขาว (Chinese river dolphin, Yangtze river dolphin, White-flag dolphin; หรือ "ไป๋จี" 白鱀豚) เป็นโลมาน้ำจืด อาศัยอยู่ในแม่น้ำแยงซีตอนกลางและตอนล่างของประเทศจีน รวมทั้งแม่น้ำเชียนถังที่อยู่ใกล้เคียง จัดเป็นโลมาเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Lipotes และวงศ์ Lipotidae (แต่บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Iniidae).

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และโลมาแม่น้ำจีน · ดูเพิ่มเติม »

โดโด

(dodo) เป็นนกท้องถิ่นที่พบได้เฉพาะบนหมู่เกาะมอริเชียสในมหาสมุทรอินเดีย เป็นนกที่บินไม่ได้อยู่ในตระกูลเดียวกับนกพิราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raphus cucullatus ในปี พ.ศ. 2048 ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่พบ และเพียงประมาณปี พ.ศ. 2224 มันก็สูญพันธุ์อย่างรวดเร็วโดยมนุษย์ รวมถึงสุนัขล่าเนื้อ หมู หนู ลิง ที่ถูกนำเข้าโดยชาวยุโรป โดโดไม่ใช่นกเพียงชนิดเดียวในมอริเชียสที่สูญพันธุ์ในศตวรรษนี้ จากนกกว่า 45 ชนิดที่พบบนเกาะ มีเพียง 21 ชนิดเท่านั้นที่เหลือรอด นกสองชนิดซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับโดโดก็สูญพันธุ์ไปเช่นกัน คือ Reunion solitaire (Raphus solitarius) ประมาณปี พ.ศ. 2289 และ Rodrigues solitaire (Pezophaps solitaria) ประมาณปี พ.ศ. 2333 เมื่อทศวรรษ พ.ศ. 2533 วิลเลียม จ. กิบบอนส์ นำคณะสำรวจขึ้นค้นหาบนเขาบนเกาะมอริเชียส แต่ก็ไม่มีใครค้นพบ จึงประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และโดโด · ดูเพิ่มเติม »

ไทรโลไบต์

ทรโลไบต์ (Trilobite; สามพู) เป็นสัตว์ทะเลที่มีรยางค์เป็นข้อปล้องในไฟลัมอาร์โธรโพดา ในชั้น “ไทรโลไบตา” เริ่มปรากฏครั้งแรกในยุคแคมเบรียนตอนต้นและชุกชุมในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้นก่อนที่จะเริ่มต้นลดจำนวนลงและสูญพันธุ์ไปในที่สุด โดยระหว่างช่วงเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคดีโวเนียนตอนปลายไทรโลไบต์ทุกอันดับได้สูญพันธุ์ไปยกเว้นแต่เพียงอันดับพรีเอตทิดา และไทรโลไบต์ก็ได้สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปทั้งหมดเมื่อสิ้นยุคเพอร์เมียนประมาณ 250 ล้านปีมาแล้ว ไทรโลไบต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางและอาจจะเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับสองรองจากไดโนเสาร์ เมื่อไทรโลไบต์ได้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นของยุคแคมเบรียนก็เกิดการแตกแขนงเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็วและแผ่ขยายแพร่พันธุ์ไปกว้างขวาง เนื่องด้วยความหลากหลายในสายพันธุ์และมีเปลือกกระดองที่ง่ายต่อการกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์จึงได้พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้มากกว่า 17,000 ชนิดในช่วงตลอดมหายุคพาลีโอโซอิก ไทรโลไบต์มีความสำคัญในการวิจัยทางด้านการลำดับชั้นหินทางชีวภาพ บรรพชีวินวิทยา และเพลทเทคโทนิก ไทรโลไบต์ถูกจัดให้อยู่ในไฟลัมอาร์โธรโพดา ไฟลัมย่อยชีสโซราเมีย อยู่ในเหนือชั้นอะราชโนมอร์ฟา (เทียบเคียงได้กับ อะราชนาต้า) แต่ก็พบว่ามีผู้จัดจำแนกที่แตกต่างไปจากนี้ ไทรโลไบต์ต่างชนิดกันก็มีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป บางกลุ่มก็อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล อาจเป็นนักล่า กินของเน่า หรือดูดกรองอาหารจากน้ำทะเล บางกลุ่มก็ดำรงชีวิตด้วยการว่ายน้ำและกินแพลงตอนเป็นอาหาร การดำรงชีวิตทั้งหลายก็จะคล้ายกับสัตว์ทะเลปัจจุบันที่อยู่ในไฟลั่มนี้ทั้งหลายยกเว้นไม่เป็นพวกพาราสิต ไทรโลไบต์บางกลุ่ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อยู่ในวงศ์โอลีนิดา) ถูกเข้าใจว่าได้วิวัฒนาการมีความสัมพันธ์แบบซิมไบโอติกกับแบคทีเรียที่กินกำมะถันจากอาหารที่ตนได้รับม.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และไทรโลไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทลาซีน

ทลาซีน (Thylacine;; มาจากภาษากรีก แปลว่า "มีหัวเหมือนสุนัขและมีกระเป๋าหน้าท้อง") หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ เสือแทสเมเนีย หรือ หมาป่าแทสมาเนีย (Tasmanian tiger, Tasmanian wolf) เนื่องจากมีลายทางที่หลังคล้ายเสือ และลักษณะคล้ายหมาป่าหรือสุนัข มีฟันแหลมคม และสามารถยืนด้วยสองขาหลังได้เหมือนจิงโจ้ ในอดีตไทลาซีนเคยเป็นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องประเภทกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นฐานอยู่ในออสเตรเลีย รัฐแทสเมเนีย และนิวกินี ไทลาซีนสูญพันธุ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีบันทึกไว้ว่า ไทลาซีนตัวสุดท้ายที่สวนสัตว์โฮบาร์ต ชื่อ "เบนจามิน" ได้ตายลงเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1936 เนื่องจากถูกละเลย ขาดการดูแลรักษา และถูกประกาศสถานะสูญพันธุ์โดย IUCN ในปี..

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และไทลาซีน · ดูเพิ่มเติม »

ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส

ททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส (ชื่อย่อ: ไททันโอโบอา (Titanoboa)) เป็นชื่องูขนาดใหญ่ที่ไม่มีพิษ ในวงศ์ Boidae ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ถูกค้นพบโดยคณะนักวิทยาศาสตร์สาขาบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ไททันโอโบอาเป็นงูที่อยู่ในวงศ์เดียวกับงูไม่มีพิษจำพวกโบอา ที่คล้ายกับงูเหลือมหรืองูหลาม ที่พบได้ในทวีปอเมริกากลางและเกาะมาดากัสการ์ในปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า ไททันโอโบอา มีรูปร่างลักษณะและมีพฤติกรรมคล้ายงูอนาคอนดาซึ่งปัจจุบันพบในป่าดิบชื้นทวีปอเมริกาใต้ โดยหากินในน้ำ ซึ่งอาหารได้แก่ จระเข้และปลาขนาดใหญ่ แต่ทว่ามีความยาวกกว่ามาก โดยมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 13.5 เมตร และอาจยาวได้ถึง 15 เมตร หนักถึง 2.6 ตัน โดยชื่อของมันเป็นภาษาลาติน แปลได้ว่า "งูยักษ์จากแซร์อาโฮน" (Titanic boa from Cerrejon) ซึ่งมาจากชื่อเมืองแซร์อาโฮน ซึ่งเป็นเหมืองแร่ ในประเทศโคลอมเบีย ซึ่งเป็นที่ ๆ ค้นพบซากฟอสซิลของมันเป็นครั้งแรก ซากฟอสซิลของไททันโอโบอา ที่ค้นพบเป็นกระดูกสันหลัง จำนวน 180 ชิ้น คาดว่าน่าจะเป็นของงูทั้งหมด 12 ตัว ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2007 ซึ่งกระดูกสันหลังนั้นมีขนาดใหญ่กว่ากระดูกสันหลังของงูอนาคอนดามากนัก จากการวิเคราะห์และคำนวณด้วยเครื่องมือต่าง ๆ พบว่า ไททันโอโบอามีชีวิตอยู่ในยุคพาลีโอซีน (56-60 ล้านปีก่อน) ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบชื้น มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 30-34 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของป่าดิบชื้นในยุคราว 3-4 องศาเซลเซียส และสอดคล้องกับสภาพอากาศในยุคพาลีโอซีนที่คาดว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศปริมาณมาก.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เม็กกาโลดอน

ม็กกาโลดอน (Megalodon; มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า μέγας (megas) "ใหญ่, ทรงพลัง" และ ὀδoύς (odoús), "ฟัน"—ต้นกำเนิดคือ odont-, ตามที่เห็นในรูปแบบสัมพันธ์รูปแบบ ὀδόντος, odóntos; หมายความโดยรวม คือ ฟันใหญ่) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เม็ก (Meg) ปลาฉลามขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharocles megalodon โดยเดิมใช้ชื่อวิทยาศาตร์ว่า Carcharodon megalodon ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันกับปลาฉลามขาว (C. carcharias) ด้วยเชื่อว่ามีพฤติกรรมและลักษณะคล้ายคลึงกัน แม้ว่าเม็กกาโลดอนจะมีขนาดใหญ่กว่ามาก และจัดอยู่ในวงศ์ Lamnidae แต่ปัจจุบันได้มีการพิจารณาใหม่ให้ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharocles megalodon และอยู่ในวงศ์ Otodontidae ซึ่งเป็นวงศ์ของปลาฉลามขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในอันดับ Lamniformes.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และเม็กกาโลดอน · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งชวา

ือโคร่งชวา เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris sondaica เป็นเสือโคร่ง 1 ใน 3 สายพันธุ์ที่เคยพบได้ในอินโดนีเซีย โดยจะพบได้เฉพาะบนเกาะชวาเท่านั้น ปัจจุบันเสือโคร่งชวาได้สูญพันธุ์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับเสือโคร่งบาหลี (P. t. balica) เสือโคร่งชวาเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดเล็ก เช่นเดียวกับเสือโคร่งบาหลี และเสือโคร่งสุมาตรา (P. t. sumatrae) โดยตัวผู้มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 100-140 กิโลกรัม มีความยาวตั้งแต่หัวจรดหาง 245 เซนติเมตร ตัวเมียมีน้ำหนักระหว่าง 75-115 กิโลกรัม และมีขนาดตัวเล็กกว่าตัวผู้ เสือโคร่งชวาถูกคุกคามอย่างหนักจากการล่าของมนุษย์และการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย โดยส่วนมากถูกล่าอย่างหนักในช่วงทศวรรษที่ 40 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1970 เหลือเสือโคร่งชวาเพียงแห่งเดียวที่อุทยานแห่งชาติเมรูเบติลีที่ชวาตะวันตกเท่านั้น และหลังจากปี ค.ศ. 1976 ก็ไม่มีใครพบเสือโคร่งชวาอีกเลย ปัจจุบัน มีรายงานการพบเห็นเสือโคร่งชวาบ้าง แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่มีน้ำหนักมายืนยันได้อย่างเพียงพอ โดยการพบเห็นครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 พบร่างนักปีนเขาหญิงนิรนามผู้หนึ่งถูกสัตว์ที่คาดว่าเป็นเสือโจมตี ที่อุทยานแห่งชาติเขาเมอร์บารู ในชวากลาง และในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 มีชาวบ้านอ้างว่าพบเห็นแม่เสือพร้อมลูกเสือ 2 ตัวที่ใกล้กับหมู่บ้านที่เขาลาวู.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และเสือโคร่งชวา · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งบาหลี

ือโคร่งบาหลี (Bali tiger) เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris balica เป็นเสือโคร่ง 1 ใน 3 สายพันธุ์ที่เคยมีอยู่ในอินโดนีเซีย โดยเสือโคร่งบาหลีจะพบได้เฉพาะบนเกาะบาหลีเท่านั้น ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วจากการล่าด้วยน้ำมือของมนุษย์ เสือโคร่งบาหลีนับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่มีในโลก เมื่อเทียบกับเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่เป็นเสือโคร่งขนาดใหญ่ที่สุดแล้ว เสือโคร่งบาหลีมีขนาดลำตัวเพียงครึ่งหนึ่งของเสือโคร่งไซบีเรียเท่านั้น โดยมีลำตัวไล่เลี่ยกับเสือดาว (P. pardus) หรือเสือพูม่า (Puma concolor) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ น้ำหนักในตัวผู้โดยเฉลี่ย 90-100 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียจะอยู่ที่ 65-80 กิโลกรัม ความยาวตั้งแต่หัวจรดหางของตัวผู้ 220 เซนติเมตร ตัวเมีย 195-200 เซนติเมตร เสือโคร่งบาหลีมีสีขนและลวดลายบนลำตัวเข้มที่สุดในบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด เสือโคร่งบาหลีตัวสุดท้ายตายลงเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1937 เป็นเสือตัวเมียที่ถูกยิงในบาหลีตะวันตก ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วโลก มีซากเสือโคร่งบาหลีเพียง 8 ตัวเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะได้มาจากการล่าในทศวรรษที่ 30.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และเสือโคร่งบาหลี · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งแคสเปียน

ือโคร่งแคสเปียน หรือ เสือโคร่งเปอร์เซีย (Caspian tiger, Persian tiger.; ببر قزويني) เสือโคร่งสายพันธุย่อยสายพันธุ์หนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีการกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียกลางจนถึงตะวันออกกลาง เช่น อัฟกานิสถาน, เทือกเขาคอเคซัส, ภาคตะวันตกของจีน, ที่ราบสูงแมนจูเรีย, อิหร่าน, อิรัก, ตุรกี, มองโกเลีย, คาซัคสถาน, ทาจิกิสถาน, คีร์กีซสถาน, เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน รวมถึงอาจจะแพร่กระจายพันธุ์ไปถึงซูดานในแอฟริกาเหนือด้วยก็เป็นได้ เนื่องจากมีผู้พบขนเสือโคร่งวางขายในตลาดของไคโร อียิปต์ ในปี ค.ศ. 1951 ซึ่งขนเสือผืนนี้มาจากซูดาน เสือโคร่งแคสเปียน มีลักษณะคล้ายคลึงกับเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) มาก นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่อีกสายพันธุ์หนึ่ง โดยตัวผู้ในเตอร์กิสถานมีความยาวลำตัว 270 เซนติเมตร นับเป็นสถิติที่ใหญ่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ในขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กลงมา น้ำหนักตัวเต็มที่ประมาณ 240 กิโลกรัม ล่ากวางและหมูป่า รวมถึงไก่ฟ้า กินเป็นอาหาร ถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่ง 2 สายพันธุ์นี้ต่อติดกัน โดยเสือโคร่งแคสเปียนจะกระจายพันธุ์อยู่แถบตะวันตกของภูมิภาคเอเชียกลาง และเสือโคร่งไซบีเรียจะกระจายพันธุ์อยู่ทางตะวันออกของภูมิภาคเอเชียกลางจนถึงเอเชียเหนือ ภาพวาดแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของลายที่หางของเสือโคร่งแคสเปียน (ซ้าย) กับเสือโคร่งไซบีเรีย (ขวา) เสือโคร่งแคสเปียน สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 70 โดยที่เทือกเขาคอเคซัสตัวสุดท้ายถูกฆ่าตายไปในปี ค.ศ. 1922 ใกล้กับทบิลิซี จอร์เจีย หลังจากไปฆ่าสัตว์เลี้ยงในฟาร์มของชาวบ้าน เสือโคร่งแคสเปียนตัวสุดท้ายในตุรกีถูกฆ่าในปี ค.ศ. 1970 ใกล้กับอูลูเดเร ฮักการี ในอิรักเคยพบเสือโคร่งแคสเปียนเพียงตัวเดียว ถูกฆ่าใกล้กับโมซูล ในปี ค.ศ. 1887 ในอิหร่าน เสือโคร่งแคสเปียนตัวสุดท้ายถูกฆ่าในปี ค.ศ. 1959 ในโกลีสตาน เสือโคร่งแคสเปียนตัวหนึ่งในลุ่มแม่น้ำทาริม ของจีนถูกฆ่าตายในปี ค.ศ. 1899 ใกล้กับทะเลสาบลอปนอร์ในมณฑลซินเจียง และหลังจากทศวรรษที่ 20 ก็ไม่มีใครเห็นเสือโคร่งสายพันธุ์นี้ในลุ่มแม่น้ำนี้อีกเลย เสือโคร่งแคสเปียนหายไปจากลุ่มแม่น้ำมานัสในเทือกเขาเทียนซานทางตะวันตกของอุรุมชี ในทศวรรษที่ 60 ที่แม่น้ำไอรี ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยสำคัญแหล่งสุดท้ายในบริเวณทะเลสาบบัลฮัช มีผู้พบครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1948 และตอนปลายแม่น้ำอามูดาร์ยาบริเวณชายแดนระหว่างเติร์กเมนิสถาน, อุซเบกิสถาน และอัฟกานิสถาน เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 70 แล้ว แม้จะมีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่าพบเสือโคร่งแคสเปียนบริเวณทะเลอารัลใกล้กับนูคัส ในปี ค.ศ. 1968 หรือในเขตสงวนทางธรรมชาติทิโกรวายาบัลกา ซึ่งเป็นป่ากกริมแม่น้ำอามูดาร์ยา บริเวณชายแดนทาจิกิสถานและอัฟกานิสถาน มีผู้พบเห็นครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1953 แต่มีผู้อ้างว่าพบเห็นรอยเท้าคล้ายรอยเท้าเสือโคร่งขนาดใหญ่ในปี..

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และเสือโคร่งแคสเปียน · ดูเพิ่มเติม »

เดดิคูรัส

ูรัส เป็นสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ประเภท Glytodont มีชีวิตอยู่ระหว่างสมัยไพลสโตซีนจนกระทั่งสิ้นสุดยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ 11,000 ปีก่อน เป็น Glytodontid ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยรู้จัก มีความสูง 1.5 เมตร ยาว 3.6 เมตร มีกระดองรูปโดมขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจาก Scute จำนวนมากติดกันอย่างแน่นหนา ค่อนข้างคล้ายกับ Armadillo ในปัจจุบัน หางห่อหุ้มด้วยแผ่นกระดูกที่ยืดหยุ่น มีเดือยแหลมหรือปุ่มยาวอยู่ที่ปลายหาง ซึ่งจะพบได้ในตัวผู้ทุกตัว D. clavicaudatus อาศัยอยู่ในป่าและทุ่งหญ้า กินพืชเป็นอาหาร สันนิษฐานว่าน่าจะใช้หางในการต่อสู้กันเองมากกว่าใช้ป้องกันตัวจากสัตว์นักล่า และการใช้งานร่างกายส่วนหลังอาจทำได้ยากเนื่องจากสัตว์ชนิดนี้มีระยะการมองเห็นที่จำกัด ดังนั้นมันจึงมองไม่เห็นปลายหางที่ถูกเหวี่ยงเข้าใส่คู่ต่อสู้ นอกจากนี้ กระดองที่ถูกพบยังแสดงให้เห็นรอยแตกที่เกิดจากแรงกระแทกที่มากเท่าๆกับแรงที่เกิดจากกล้ามเนื้อหาง กระดองยึดติดอย่างแน่นหนากับเชิงกราน แต่จะหลวมที่บริเวณไหล่ ที่ลำตัวส่วนหน้าจะมีกระดองขนาดเล็กกว่าอีกอันหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดช่องว่างที่เต็มไปด้วยไขมัน เช่นเดียวกับโหนกของอูฐ ที่ใช้เก็บพลังงานสำหรับใช้ในฤดูแล้ง และยังช่วยบรรเทาแรงกระแทกจากหางของคู่ต่อสู้ ฟอสซิลของ D. clavicaudatus ถูกพบในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่ Ensenada Formation ในอาร์เจนตินา เนื่องจากสัตว์ชนิดนี้สูญพันธุ์ไปเมื่อไม่นานมานี้ จึงสันนิษฐานว่าอาจถูกล่าโดยมนุษย์กลุ่มแรกที่ตั้งรกรากอเมริกาใต้.

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และเดดิคูรัส · ดูเพิ่มเติม »

เต่าอาร์คีลอน

อาร์คีลอน (Archelon) เป็นสกุลของเต่าทะเลสูญพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด ฟอสซิลของมันพบในปี..1895 ที่รัฐเซาท์ ดาโคตา ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับการบรรยายในปี..

ใหม่!!: การสูญพันธุ์และเต่าอาร์คีลอน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Extinctionสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วสูญพันธุ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »