โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สารยับยั้งเอซีอี

ดัชนี สารยับยั้งเอซีอี

อซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) หรือ ตัวยับยั้ง แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (Angiotensin-Converting Enzyme) เป็นกลุ่ม ยา ที่ใช้รักษาเบื้องต้นใน โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) และ หัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง (congestive heart failure) โดยจะเป็นยาเลือกใช้อันดับแรก.

23 ความสัมพันธ์: ฟูโรซีไมด์การชำระเลือดผ่านเยื่อภาวะขาดน้ำยายาขับปัสสาวะระบบไหลเวียนวิทยาการระบาดหางนมความล้าความดันโลหิตสูงความดันโลหิตต่ำความดันเลือดความตายปวดศีรษะปัสสาวะนมแบรดีไคนินโพแทสเซียมโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจโรคไตโซเดียมไอเบาหวาน

ฟูโรซีไมด์

ฟูโรซีไมด์ (Furosemide) ขายภายใต้ชื่อการค้า ลาซิกซ์ (Lasix) ฯลฯ เป็นยาที่ใช้รักษาอาการบวมน้ำเนื่องจากภาวะหัวใจวาย โรคตับแข็งหรือโรคไต นอกจากนี้ยังอาจใช้รักษาความดันโลหิตสูง ปริมาณยาที่ใช้แล้วแต่บุคคล ให้ได้ทั้งเข้าหลอดเลือดดำและทางปาก เมื่อรับประทานตรงแบบยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมง แต่ถ้าเข้าหลอดเลือดดำตรงแบบจะเริ่มออกฤทธิ์ในห้านาที ผลข้างเคียงทั่วไปมีความดันเลือดตกเมื่อยืนขึ้น เสียงในหูและภาวะไวแสง ผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้มีการเสียดุลอิเล็กโทรไลต์ ความดันเลือดต่ำ และหูหนวก แนะนำให้ทดสอบเลือดเป็นประจำสำหรับผู้ที่ได้รับยาเพื่อรักษา ฟูโรซีไมด์เป็นยาขับปัสสาวะที่ออกฤทธิ์ที่ลูป (loop diuretic) ชนิดหนึ่งซึ่งออกฤทธิ์โดยลดการดูดกลับโซเดียมที่ไต ฟูโรซีไมด์ถูกค้นพบเมื่อปี 2505 อยู่ในรายการยาหลักของตัวแบบองค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) คือ ยาที่สำคัญที่สุดที่จำเป็นต่อระบบบริการสุขภาพพื้นฐาน ราคาขายส่งทั่วโลกอยู่ระหว่าง 0.004 ถึง 0.02 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ในสหรัฐมีขายเป็นยาสามัญ ราคาประมาณ 0.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ฟูโรซีไมด์อยู่ในรายการยาต้องห้ามขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกเนื่องจากกังวลว่าอาจบดบังยาอื่น ยานี้ใช้ป้องกันและรักษาม้าแข่งที่มีภาวะเลือดออกในปอดที่ชักนำด้วยการออกกำลังกาย (exercise-induced pulmonary hemorrhage).

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและฟูโรซีไมด์ · ดูเพิ่มเติม »

การชำระเลือดผ่านเยื่อ

ผู้ป่วยโรคไตกำลังรับการชำระเลือดผ่านเยื่อกรอง เครื่องชำระเลือดผ่านเยื่อกรอง หรือหน่วยไตเทียม การชำระเลือดผ่านเยื่อ (hemodialysis) หรือที่นิยมเรียกว่าการฟอกเลือดหรือการฟอกไต เป็นวิธีการทางการแพทย์ที่กระทำภายนอกร่างกายในการกำจัดของเสียส่วนเกิน เช่น สารในกลุ่มครีเอทีนีนและยูเรียและน้ำออกจากเลือดในผู้ป่วยโรคไตวายซึ่งไตไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ ถือเป็นวิธีการรักษาทดแทนไตชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากการปลูกถ่ายไตและการชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง (peritoneal dialysis) อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับแยกส่วนประกอบของเลือดเช่นพลาสม่าหรือเซลล์คือ apheresis (กระบวนการหนึ่งที่กระทำภายนอกร่างกายที่เลือดถูกถ่ายออกมาแล้วองค์ประกอบบางอย่างถูกแยกออกโดยการฟอก องค์ประกอบบางส่วนยังคงอยู่ที่เดิม เลือดส่วนที่เหลือจะถูกส่งกลับคืนผู้บริจาคโดยการถ่ายเลือด) การฟอกเลือดสามารถเป็นการบำบัดสำหรับผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน การฟอกเลือดเป็นประจำจะดำเนินการในศูนย์ฟอกไตผู้ป่วยนอกที่เป็นห้องในโรงพยาบาลที่สร้างโดยเฉพาะหรือห้องที่ทำขึ้นเฉพาะในคลินิกที่อยู่ลำพัง การฟอกเลือดที่ทำที่บ้านมีน้อย การฟอกเลือดในคลินิกจะดำเนินการและบริหารจัดการโดยทีมงานพิเศษจากพยาบาลและช่างเทคนิค; การฟอกเลือดที่บ้านสามารถดำเนินการได้เองและบริหารจัดการร่วมกันด้วยความช่วยเหลือของผู้ช่วยที่ผ่านการฝึกอบรมที่มักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและการชำระเลือดผ่านเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะขาดน้ำ

วะขาดน้ำ (dehydration) คือการที่ร่างกายมีปริมาตรน้ำในร่างกายทั้งหมดน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดความผิดปกติของกระบวนการเมตาบอลิซึมต่างๆ ของร่างกาย เกิดขึ้นเมื่ออัตราการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายมากกว่าอัตราการได้รับน้ำเข้าสู่ร่างกาย อาจเกิดจากการออกกำลังกาย ความเจ็บป่วย หรืออุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่สูง ร่างกายของคนปกติสามารถทนรับการขาดน้ำในร่างกายได้จนถึง 3-4% โดยไม่เกิดผลเสียร้ายแรงใดๆ ต่อร่างกาย หากขาดน้ำ 5-8% อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียหรือมึนงง หากมากกว่า 10% อาจทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจอย่างมาก รวมไปถึงความกระหายน้ำอย่างรุนแรงได้.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและภาวะขาดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและยา · ดูเพิ่มเติม »

ยาขับปัสสาวะ

ับปัสสาวะ (diuretic) เป็นยาที่เพิ่มอัตราการถ่ายปัสสาวะออกจากร่างกาย (ไดยูรีสิส) ยาขับปัสสาวะมีผลลดปริมาตรของเหลวนอกเซลล์ (extracellular fluid-ECF) ยาขับปัสสาวะธรรมดาทั่วไปได้แก่คาเฟอีน น้ำเครนเบอรรี่ และแอลกอฮอล์ ในทางการแพทย์ ยาขับปัสสาวะใช้รักษ.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและยาขับปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบไหลเวียน

ระบบไหลเวียน หรือ ระบบหัวใจหลอดเลือด เป็นระบบอวัยวะซึ่งให้เลือดไหลเวียนและขนส่งสารอาหาร (เช่น กรดอะมิโนและอิเล็กโทรไลต์) ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน และเม็ดเลือดเข้าและออกเซลล์ในร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงและช่วยต่อสู้โรค รักษาอุณหภูมิและ pH ของร่างกาย และรักษาภาวะธำรงดุล มักมองว่าระบบไหลเวียนประกอบด้วยทั้งระบบหัวใจหลอดเลือด ซึ่งกระจายเลือด และระบบน้ำเหลือง ซึ่งไหลเวียนน้ำเหลือง ทั้งสองเป็นระบบแยกกัน ตัวอย่างเช่น ทางเดินน้ำเหลืองยาวกว่าหลอดเลือดมาก เลือดเป็นของเหลวอันประกอบด้วยน้ำเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดซึ่งหัวใจทำหน้าที่ไหลเวียนผ่านระบบหลอดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยน้ำออกซิเจนและสารอาหารไปและของเสียกลับจากเนื้อเยื่อกาย น้ำเหลือง คือ น้ำเลือดส่วนเกินที่ถูกกรองจากของเหลวแทรก (interstitial fluid) และกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหัวใจหลอดเลือดประกอบด้วยเลือด หัวใจและหลอดเลือด ส่วนระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ปุ่มน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง ซึ่งคืนน้ำเลือดที่กรองมาจากของเหลวแทรกในรูปน้ำเหลือง มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบปิด คือ เลือดไม่ออกจากเครือข่ายหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย แต่กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบเปิด ในทางตรงข้าม ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบเปิดซึ่งให้ทางที่จำเป็นแก่ของเหลวระหว่างเซลล์ส่วนเกินกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ ไฟลัมสัตว์ไดโพลบลาสติก (diploblastic) บางไฟลัมไม่มีระบบไหลเวียน.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและระบบไหลเวียน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการระบาด

วิทยาการระบาด เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชากร และเป็นพื้นฐานและตรรกะที่ทำให้เกิดแนวคิดความสนใจในสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน สาขาวิชานี้วิธีที่สำคัญพื้นฐานของงานวิจัยด้านสาธารณสุข และเกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์อิงหลักฐาน (evidence-based medicine) ในการหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด งานของนักวิทยาการระบาดที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ มีขอบเขตตั้งแต่การสืบค้นการระบาดของโรค (outbreak investigation) ไปจนถึงการออกแบบการศึกษา การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและการเตรียมผลการวิจัยเพื่อเสนอผลการวิจัย นักวิทยาการระบาดอาจอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเช่นชีววิทยาในการทำความเข้าใจการดำเนินโรค และระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร๋ เช่นสังคมศาสตร์และปรัชญาเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงและไกล.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและวิทยาการระบาด · ดูเพิ่มเติม »

หางนม

หางนมที่เพิ่งได้จากการกรองเนยแข็งใหม่ ๆ หางนม หรือ ซีรัมของนม (whey หรือ milk serum) เป็นของเหลวที่หลงเหลือจากการทำนมให้เป็นลิ่มนมและผ่านกน น ารกรองแล้ว มันเป็นผลผลิตพลอยได้จากการผลิตเนยแข็งหรือเคซีน และสามารถนำไปใช้ใทางธุรกิจได้หลายอย่าง หางนมหวานผลิตได้ระหว่างการทำเนยแข็งชนิดแข็งประเภทเรนเนต อย่างเช่น เนยแข็งเชดดา หรือเนยแข็งสวิส หางนมกรด (หรือที่รู้จักกันในชื่อ "หางนมเปรี้ยว") ได้มาระหว่างการผลิตเนยแข็งประเภทกรด อย่างเช่น เนยแข็งคอทเท.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและหางนม · ดูเพิ่มเติม »

ความล้า

วามล้า หรือ ความอ่อนล้า เป็นความรู้สึกเหนื่อยเชิงจิตวิสัย ซึ่งแตกต่างจากความอ่อนแอ (weakness) และมีการตั้งต้นทีละน้อย ความล้าสามารถบรรเทาได้โดยได้รับการพักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากความอ่อนแอ ความล้าอาจมีสาเหตุทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้ ความล้าทางกายภาพเป็นสภาพที่กล้ามเนื้อไม่สามารถธำรงสมรรถภาพทางกายภาพเหมาะสมได้ชั่วคราว และกิจกรรมทางกายอย่างหักโหมยิ่งทำให้ความล้ารุนแรงขึ้น ความล้าทางจิตใจเป็นการลดสมรรถภาพการรู้สูงสุดไปชั่วคราว อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการคิดยาวนาน ความล้าสามารถแสดงออกมาเป็นอาการง่วงซึม ภาวะง่วงงุน หรือความล้ามุ่งประเด็นตั้งใ.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและความล้า · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตต่ำ

วามดันโลหิตต่ำ (hypotension) ในทางสรีรวิทยาและแพทยศาสตร์ คือ ภาวะที่มีความดันเลือดต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดแดงของระบบไหลเวียนโลหิต ความดันเลือด คือ แรงที่เลือดผลักผนังหลอดเลือดแดงเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือด มักถือว่าความดันโลหิตต่ำ หมายถึง มีความดันช่วงหัวใจบีบต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือความดันช่วงหัวใจคลายต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ การพิจารณาว่าความดันเลือดต่ำหรือไม่นั้นดูจากอาการแสดงที่สังเกตได้เป็นหลัก.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและความดันโลหิตต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันเลือด

วามดันเลือด (blood pressure, ย่อ: BP) หรือเรียก ความดันเลือดแดง เป็นความดันที่เกิดจากเลือดหมุนเวียนกระทำต่อผนังหลอดเลือด และเป็นหนึ่งในอาการแสดงชีพที่สำคัญ คำว่า "ความดันเลือด" โดยไม่เจาะจงปกติหมายถึง ความดันเลือดแดงของการไหลเวียนเลือดทั่วกาย ระหว่างหัวใจเต้นแต่ละครั้ง ความดันเลือดแปรผันระหว่างความดันสูงสุด (ช่วงการบีบตัวของหัวใจ) และความดันต่ำสุด (ช่วงหัวใจคลายตัว) ความดันเลือดในการไหลเวียนเลือดเกิดจากการสูบของหัวใจเป็นหลัก ผลต่างของความดันเลือดเฉลี่ยเป็นผลให้เลือดไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในการไหลเวียนเลือด อัตราการไหลของเลือดเฉลี่ยขึ้นอยู่กับทั้งความดันเลือดและความต้านทานต่อการไหลของหลอดเลือด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงเมื่อเลือดไหลเวียนเคลื่อนห่างจากหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดฝอย เนื่องจากการสูญเสียพลังงานกับความหนืด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงตลอดทั้งการไหลเวียนเลือด แม้ส่วนมากจะตกลงในหลอดเลือดแดงเล็กและหลอดเลือดแดงจิ๋ว (arteriole) ความโน้มถ่วงมีผลต่อความดันเลือดผ่านแรงอุทกสถิต (คือ ระหว่างยืน) และลิ้นในหลอดเลือดดำ การหายใจและการสูบจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อลายยังผลต่อความดันในหลอดเลือดดำ.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและความดันเลือด · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและปวดศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

ปัสสาวะ

ตัวอย่างปัสสาวะมนุษย์ปัสสาวะ (ภาษาปากว่า ฉี่, เยี่ยว หรือ เบา) เป็นของเสียในรูปของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ (cellular metabolism) แล้วทำให้เกิดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นของเสียจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกจากกระแสเลือ.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

นม

นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและนม · ดูเพิ่มเติม »

แบรดีไคนิน

แบรดีไคนิน (bradykinin) คือ เพปไทด์ชนิดหนึ่งที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อเกิดการกระทบกระเทือนหรือเกิดบาดแผล มีผลให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัวและทำให้สารที่ก่อให้เกิดการอักเสบมาคั่งอยู่ที่บริเวณนี้ อีกทั้งยังทำให้ความดันเลือดลดต่ำลงด้วย โดยแบรดีไคนินถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและแบรดีไคนิน · ดูเพิ่มเติม »

โพแทสเซียม

แทสเซียม (Potassium) ธาตุเคมีในกลุ่มโลหะ มีเลขอะตอม 19 สัญลักษณ์ K สัญลักษณ์ของโพแทสเซียม มาจากภาษาเยอรมันว่า Kalium ส่วนชื่อโพแทสเซียม มาจากคำว่า โพแทส ซึ่งเป็นชื่อเรียกแร่ชนิดหนึ่งที่สกัดธาตุโพแทสเซียมได้ โพแทสเซียมเป็นโลหะอัลคาไล เป็นผงสีขาว-เงินอ่อนๆ ในธรรมชาติมักเป็นสารประกอบร่วมกับธาตุอื่นเพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก สามารถออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วในอากาศ มีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับโซเดียม.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและโพแทสเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

รคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (accessdate หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรคไต

รคไต หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายมนุษย์ โรคไตมีหลายประเภทดังนี้.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและโรคไต · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียม

ซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์) โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำมากจนเกิดเปลวไฟได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและโซเดียม · ดูเพิ่มเติม »

ไอ

อาการไอ ไอ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและไอ · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: สารยับยั้งเอซีอีและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ACE inhibitorACE-IAngiotensin converting enzyme inhibitorAngiotensin-converting enzyme inhibitorเอซีอี อินฮิบิเตอร์เอซีอีอินฮิบิเตอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »