โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศเบลารุส

ดัชนี ประเทศเบลารุส

ลารุส (Беларусь บฺแยลารูสฺย; Беларусь, Белоруссия) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเบลารุส (Рэспубліка Беларусь; Республика Беларусь) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกัยรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวีย เมืองหลวงของประเทศคือกรุงมินสก์ เมืองสำคัญของประเทศนี้ ได้แก่ เบรสต์ กรอดโน กอเมล และวีเซี.

48 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษพ.ศ. 2533พ.ศ. 2534กรอดโนกลุ่มภาษาสลาวิกกอเมลการตุ๋นภาษารัสเซียภาษาราชการภาษาเบลารุสมินสค์มืย เบลารูซืยยุโรปตะวันออกระบบรัฐสภาระบบเสียงลัทธินอกศาสนาวีเต็บสค์วงศัพท์ศาสนาศาสนายูดาห์ศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์สหภาพโซเวียตสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโคขนมปังข้าวสาลีข้าวไรย์ตระกูลของภาษาประชาธิปไตยประเทศประเทศยูเครนประเทศรัสเซียประเทศลัตเวียประเทศลิทัวเนียประเทศสวีเดนประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลประเทศโปแลนด์โรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์ไวยากรณ์เบรสต์ (เบลารุส)เอกราชเครือรัฐเอกราช.by25 สิงหาคม27 กรกฎาคม

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2533

ทธศักราช 2533 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1990 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและพ.ศ. 2533 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

กรอดโน

กรอดโน, ครอดนา หรือ ครอดโน (Гродна; Гродно; Grodna, Grodnae; Gardinas; Grodno) เป็นเมืองในประเทศเบลารุส ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเนแมน อยู่ใกล้กับชายแดนประเทศโปแลนด์และลิทัวเนีย (ราว 20 กม. และ 30 กม. ตามลำดับ) มีประชากร 327,540 คน.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและกรอดโน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาสลาวิก

ประเทศที่มกลุ่มภาษาสลาวิกใต้เป็นภาษาประจำชาติ กลุ่มภาษาสลาวิก เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มภาษาบัลโต-สลาวิก ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน กลุ่มภาษาสลาวิกเป็นภาษาแม่ของชาวสลาฟ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปตะวันออกและคาบสมุทรบอลข่าน แก้ไข กลุ่มภาษาสลาวิก.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและกลุ่มภาษาสลาวิก · ดูเพิ่มเติม »

กอเมล

กอเมล (Gomel) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดกอเมล และเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศเบลารุส มีประชากร 482,652 คน (การสำรวจประชากรในปี ค.ศ. 2009) เมืองมีพื้นที่ 121 ตร.กม.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและกอเมล · ดูเพิ่มเติม »

การตุ๋น

การตุ๋น การตุ๋น (Braiser; Braising) เป็นการผสมผสานรูปแบบการทำอาหารโดยใช้ทั้งความชื้นและความร้อน โดยทั่วไปแล้ว อาหารจะถูกให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง และนำไปไว้ในหม้อมีฝาปิดที่มีของเหลวปริมาณไม่คงที่ ทำให้เกิดรสชาติพิเศษขึ้นมา หมวดหมู่:เทคนิคการทำอาหาร.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและการตุ๋น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราชการ

ษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คือภาษาที่มีการกำหนดให้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้น บางครั้งภาษาท้องถิ่นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาษาทางการเพราะมีการใช้การติดต่อกับทางส่วนการปกครองของท้องที่นั้น ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่มีภาษาทางการ 1 ภาษา บางประเทศมีภาษาทางการ 2 ภาษาขึ้นไป เช่น เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ขณะเดียวกันบางประเทศไม่มีภาษาทางการ เช่น สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฯลฯ ภาษาทางการของบางประเทศที่อยู่ภายใต้อาณานิคม เช่น ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส ถูกใช้เป็นภาษาทางการ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ภาษาที่มีการใช้เป็นหลักในประเทศนั้นๆ ในประเทศไอร์แลนด์ ภาษาไอร์แลนด์ (ไอริช) เป็นภาษาทางการและเป็นภาษาประจำชาติของประเทศ แต่มีผู้ใช้ภาษาไอร์แลนด์น้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ขณะที่ผู้คนส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ในบางประเทศมีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในประเด็นที่ว่าควรใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการของประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น ใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เป็น "ภาษากลาง" ที่ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากภาษาไทยถิ่นกลางมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางอื่นๆ เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ เป็นภาษาที่ใช้ในเอกสารราชการ การประชุมที่เป็นทางการ หนังสือ และตำราต่างๆ โดยปรากฏแนวการพัฒนาเป็นภาษากลางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและภาษาราชการ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบลารุส

ภาษาเบลารุส (беларуская мова) เป็นภาษาราชการของประเทศเบลารุส และยังพูดในบางส่วนของรัสเซีย ยูเครน และโปแลนด์ จัดอยู่ในภาษากลุ่มสลาวิกซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมาก และภาษาเบลารุสยังคงเป็นภาษาที่คล้ายกับรัสเซียมากถึงแม้ว่าจะคล้ายมาก แต่ชาวเบลารุสยังรักษาภาษาของตนให้ดำรงไว้สืบทอดต่อคนรุ่นหลาน เบลารุส หมวดหมู่:ภาษาในประเทศโปแลนด์ หมวดหมู่:ภาษาในประเทศรัสเซีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศยูเครน.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและภาษาเบลารุส · ดูเพิ่มเติม »

มินสค์

ริเวณจัตุรัสแห่งชัยชนะในกรุงมินสค์ มินสค์ (Minsk; Мінск; Минск) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเบลารุส ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสวิสลาช (Svislach) และแม่น้ำเนียมีฮา (Niamiha) ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 280.4 เมตร กรุงมินสค์เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเครือรัฐเอกราช (CIS) ในที่เป็นฐานะเมืองหลวงของประเทศ ยังมีสถานะการบริหารพิเศษและยังเป็นศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดมินสค์และเขตมินสค์อีกด้วย ในปี ค.ศ. 2006 กรุงมินสค์มีประชากรประมาณ 1,780,000 คน และมีนายมีคาอิล ปัฟลอฟ (Mikhail Pavlov) เป็นนายกเทศมนตรี หลักฐานยุคแรกเริ่มสุดที่กล่าวถึงมินสค์นั้นย้อนไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ค.ศ. 1067) ในปี ค.ศ. 1242 มินสค์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชรัฐลิทัวเนีย (Grand Duchy of Lithuania) และได้รับอภิสิทธิ์เมืองในปี ค.ศ. 1499 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1569 เมืองนี้ได้เป็นเมืองหลวงของมินสค์วอยวอดชิป (Minsk Voivodship) ในเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ต่อมาถูกผนวกเข้ากับรัสเซียในปี ค.ศ. 1793 ซึ่งเป็นผลจากการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1919-1991 มินสค์เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian SSR) ก่อนสหภาพโซเวียตล่มสล.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและมินสค์ · ดูเพิ่มเติม »

มืย เบลารูซืย

มืย เบลารูซืย (Мы, беларусы; Мы, белорусы, "เรา, ชาวเบลารุส") เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของเพลงชาติเบลารุส และและเป็นวรรคแรกที่ปรากฏอยู่ในเพลงนี้ ชื่ออย่างเป็นทางการคือ เพลงชาติสาธารณรัฐเบลารุส (Дзяржаўны гімн Рэспублікі Беларусь; Государственный гимн Республики Беларусь) เดิมเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นและเริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ในฐานะเพลงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตไบโลรัสเซีย ทำนองโดยเนียสต์เซียร์ ซาคาโลว์สกี (Niescier Sakałoŭski) เนื้อร้องโดยมีคัส คลิมโควิช (Mikhas Klimkovich) หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทำนองของเพลงเดิมที่ซาคาโลว์สกีแต่งไว้นั้นยังคงใช้อยู่ แต่เนื้อร้องเดิมถูกยกเลิกไป และมีการใช้เนื้อร้องใหม่ ซึ่งประพันธ์โดยมีคัส คลิมโควิช และอูลัดซีมีร์ คารึซนืย (Uladzimir Karyzny) ตามคำสั่งของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเบลารุส ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งเนื้อร้องดังกล่าวนี้ มีเนื้อหาถึงความเป็นมิตรของชาวเบลารุส การยกย่องถึงการสู้รบเพื่อชาติในอดีต และความมุ่งหวังต่ออนาคตในวันหน้า ส่วนทำนองนั้นยังคงความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ของเบลารุสไว้.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและมืย เบลารูซืย · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันออก

แผนที่ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออก (Eastern Europe) มีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 - 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประกอบไปด้วยประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, อดีตเช็กโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกียและสโลวาเกีย), โปแลนด์, ฮังการี, โรมาเนีย, บัลแกเรีย และอดีตยูโกสลาเวีย ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรแมนซ์และกลุ่มสลาวอนิก.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและยุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรัฐสภา

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยมีประเทศที่ใช้ระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น ส่วนประเทศที่ใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและระบบรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเสียง

ระบบเสียง หมายถึง การนำอุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆมาต่อเชื่อมกันให้ทำงานอย่างเป็นระบบ จึงเป็นการรวบรวมอุปกรณ์เกี่ยวกับเสียงที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดให้เกิดความสมดุลในการเชื่อมต่อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ระบบเสียง ถือเป็นระบบที่ต้องอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์เกี่ยวกับเสียง มาประยุกต์ใช้ในการสร้างระบบเพื่อตอบสนองการใช้งานด้านเสียงโดยเฉพาะ และ อาจมีการใช้งานร่วมกับระบบภาพและแสง ต้องมีการรวมระบบ เข้าด้วยกันเป็นระบบภาพและเสียง หรือที่ผู้ใช้สื่อเรียกว่า มัลติมีเดีย และ บางครั้งอาจรวมระบบควบคุมแสง เข้ามาด้วยโดยเรียกรวมกันว่า AVL ระบบขยายพลังเสียง เรียกกันอีกแบบว่าระบบ PA ซึ่งย่อมาจากคำว่า Public Address ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักในระบบ คือ ภาครับสัญญาณเสียงขาเข้า (Audio signal inputs) จาก ไมโครโฟน เครื่องเล่นแผ่น CD และ แหล่งกำเนิดสัญญาณเสียงอื่นๆ มาผสมและปรับแต่งให้เข้ากันที่ Audio Mixer ซึ่งอาจรวมเครื่องประมวลสัญญาณเสียง อยู่ด้วยกัน หรือพ่วงต่อเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ เมื่อได้สัญญาณเสียงที่รวมกันมาและปรับแต่งตามความต้องการแล้ว จึงส่งออกไปที่ภาคสัญญาณเสียงขาออก Audio Signal Outputs และนำสัญญาณเสียงไปขยายด้วยเครื่องขยายเสียง Amplifiers เพื่อขับลำโพง Loudspeakers ให้เปล่งเสียงตามที่ผู้ออกแบบระบบเสียงนั้นกำหนดพื้นที่การกระจายเสียงและคุณลักษณะของเสียงไว้ ระบบขยายพลังเสียง มีจุดประสงค์หลักคือให้คนได้ยินดังชัดเจนขึ้น หรือได้ยินเสียงโดยทั่วถึงกัน ทำให้เสียงดังขึ้นเพื่อเหตุผลด้านศิลป เพื่อให้คนสนใจหรือตื่นเต้นในพลังเสียงที่เหนือธรรมชาติ ทำให้คนสามารถได้ยินเสียงในบริเวณที่ต้องควบคุมจากระยะไกล คือ การส่งสัญญาณเสียงไปขยายให้คนในอีกพื้นที่หนึ่งได้ยินพร้อมกันกับพื้นที่กิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและระบบเสียง · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

วีเต็บสค์

วีเต็บสค์ (Vitebsk) หรือ วีตเซียบสค์ (Ві́цебск; Ви́тебск; Viciebsk หรือ Vitsyebsk) เป็นเมืองในประเทศเบลารุส ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนประเทศรัสเซีย เป็นเมืองหลวงของวีเต็บสค์โอบลาสต์ ในปี..

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและวีเต็บสค์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศัพท์

ำศัพท์ ของบุคคล หมายถึงกลุ่มของคำในภาษาหนึ่ง ๆ อันเป็นที่คุ้นเคยต่อบุคคลนั้น วงศัพท์โดยปกติจะพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ และทำหน้าที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานและมีประโยชน์ เพื่อการสื่อสารตและการเรียนรู้ การได้วงศัพท์ที่กว้างขวางเป็นความท้าทายยิ่งใหญ่ที่สุดในการเรียนรู้ภาษาที่สอง.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและวงศัพท์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian Soviet Socialist Republic; Белару́ская Саве́цкая Сацыялісты́чная Рэспу́бліка; Белору́сская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต หลังการประกาศเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนเบลารุสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 กลุ่มบอลเชวิคจากสหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองดินแดนเบลารุสและประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมเบียโลรัสเซีย (Socialist Soviet Republic of Byelorussia) ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1919 ต่อมาสาธารณรัฐแห่งนี้ถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบลารุส แต่ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 โดยใช้ชื่อว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย" สาธารณรัฐสังคมนิยมเบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1922 ร่วมกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเชีย และสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐหลายแห่งในสหภาพโซเวียตที่ถูกเยอรมนีนาซียึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1945 ร่วมกับชาติอื่น ๆ รวมทั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและสหภาพโซเวียตอีกด้วย จุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียมาถึงในปี ค.ศ. 1991 เมื่อสาธารณรัฐแห่งนี้กลายเป็นรัฐเอกราชและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐเบลารุส เบียโลรัสเซีย หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป หมวดหมู่:อดีตรัฐสมาชิกสหประชาชาติ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2462 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2463.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค

อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค (Алякса́ндр Рыго́равіч Лукашэ́нка Алекса́ндр Григо́рьевич Лукаше́нко, เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2497) เป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบันของเบลารุส ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 20 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค · ดูเพิ่มเติม »

ขนมปัง

นมปัง ขนมปัง หรือ ปัง เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำและยีสต์ หรือผงฟู นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อแต่งสี รสชาติและกลิ่น แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของขนมปัง และ แต่ละประเทศที่ทำ โดยนำส่วนผสมมาตีให้เข้ากันและนำไปอบ ขนมปังมีหลายประเภท เช่น ขนมปังฝรั่งเศส ขนมปังไรย์ หรือแม้กระทั่งเพรตเซิล ของขึ้นชื่อประเทศเยอรมนี เป็นต้น ชาวสวิสที่อาศัยอยู่ตามทะเลสาบในยุคหินเป็นผู้ริเริ่มนำเมล็ดข้าวสาลีมาบดโดยใช้ครกหยาบ ๆ ตำ แล้วนำไปผสมน้ำ แล้วนำไปเทลงบนหินร้อนๆเพื่อให้สุก ผลที่ได้คือขนมปังที่ขึ้นฟูโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งค้นพบมากว่า 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ประวัติที่ยอมรับสืบเนื่องกันมาก็คือพวกทาสในสมัยราชวงศ์อียีปต์ ได้ผสมก้อนแป้งที่ลืมทิ้งไว้ลงไปในแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ผลที่ได้คือแป้งที่เบาและรสชาติดี.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและขนมปัง · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวสาลี

้าวสาลี (Triticum spp.) Belderok, Bob & Hans Mesdag & Dingena A. Donner.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและข้าวสาลี · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวไรย์

ข้าวไรย์ (rye) เป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลข้าวสาลี ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์มาก เมล็ดของมันเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งมีประโยชน์มากสำหรับมนุษย์และสัตว์ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปทำเป็นแป้ง ขนมปัง วิสกี้และเบียร์ได้อีกด้วย หมวดหมู่:ธัญพืช หมวดหมู่:หญ้า หมวดหมู่:อาหารหลัก ar:شيلم.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและข้าวไรย์ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลของภาษา

ตระกูลภาษาต่างๆทั่วโลก ภาษาส่วนใหญ่สามารถจะจำแนกให้อยู่ในตระกูลของภาษา (ซึ่งจะเรียกว่า "กลุ่มภาษา" ในบทความนี้) กลุ่มภาษาที่มีการจัดกลุ่มอย่างชัดเจน จะเป็นหน่วยทางวิวัฒนาการ กล่าวคือ ทุกสมาชิกจะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้ว ภาษาบรรพบุรุษมักจะไม่เป็นที่รู้จักโดยตรง เนื่องจากภาษาส่วนใหญ่จะมีประวัติของการเขียนสั้นมาก อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ที่จะค้นพบคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาษาบรรพบุรุษโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบ (comparative method) -- เป็นวิธีการสร้างใหม่ที่คิดโดย นักภาษาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชื่อ เอากุสต์ ชไลเกอร์ ซึ่งสามารถแสดงถึงสถานภาพของกลุ่มภาษาของกลุ่มจำนวนมากที่จะได้กล่าวถึงต่อไป ตระกูลของภาษาสามารถแบ่งย่อยเป็นหน่วยที่เล็กลงไปอีก ซึ่งมักจะเรียกหน่วยย่อยว่า "สาขา" (เนื่องจากประวัติของกลุ่มภาษามักจะเขียนเป็นแผนผังต้นไม้) บรรพบุรุษของกลุ่มภาษา (หรือสาขาของภาษา) เรียกว่า "protolanguage" เช่น protolanguage ของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่สร้างใหม่เรียกว่า โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน (Proto-Indo-European, ไม่เป็นที่รู้จักจากการเขียน เนื่องจากพูดกันในสมัยที่ก่อนจะมีการประดิษฐ์การเขียนขึ้น) ในบางกรณี สามารถจะระบุ protolanguage ได้เป็นภาษาที่รู้จักในสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ภาษาย่อยตามมณฑลชนบทต่าง ๆ ของภาษาละติน ("Vulgar Latin") ทำให้เกิดตระกูลภาษาโรมานซ์ปัจจุบัน ฉะนั้น ภาษาโปรโต-โรมานซ์จะค่อนข้างเหมือนกับภาษาละติน (ถ้าไม่ใช่ภาษาละตินที่นักเขียนคลาสสิกใช้เขียน) และภาษาย่อยของภาษานอร์สโบราณ (Old Norse) เป็น protolanguage ของภาษานอร์เวย์, ภาษาสวีเดน, ภาษาเดนมาร์ก และภาษาไอซ์แลนด์ ภาษาที่ไม่สามารถจัดได้อย่างแน่นอนลงไปในกลุ่มภาษาใด ๆ เรียกว่า ภาษาโดดเดี่ยว (language isolate).

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและตระกูลของภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศ

แผนที่แสดงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศ เป็นบริเวณที่ระบุเป็นเอนทิตีต่างหากในภูมิศาสตร์การเมือง ประเทศอาจเป็นรัฐเอกราชหรือรัฐที่ถูกรัฐอื่นยึดครอง เป็นรัฐซึ่งไร้เอกราชหรืออดีตเขตปกครองทางการเมืองเอกราช หรือพื้นที่ภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของประชาชนที่เดิมไม่ขึ้นต่อกันหรือมีความสัมพันธ์ต่างกันซึ่งมีลักษณะทางการเมืองเป็นเอกลักษณ.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูเครน

ประเทศยูเครน (Ukraine) หรือ อูกรายีนะ (Україна, Ukrayina) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและประเทศยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลัตเวีย

ลัตเวีย (Latvia; Latvija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐลัตเวีย (Republic of Latvia; Latvijas Republika) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอีก 2 รัฐบอลติก คือ เอสโตเนียทางทิศเหนือ และลิทัวเนียและเบลารุสทางทิศใต้ จดรัสเซียทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศตะวันตกนั้น ลัตเวียมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับสวีเดน กรุงรีกา เมืองหลวงของลัตเวียเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองที่อยู่ในกลุ่มรัฐบอลติก.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและประเทศลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลิทัวเนีย

ลิทัวเนีย (Lithuania; Lietuva เลฺยียทุวะ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Republic of Lithuania; Lietuvos Respublika) ตั้งอยู่กลางทวีปยุโรป ทางฝั่งตะวันออกของทะเลบอลติก ทิศเหนือจรดลัตเวีย ทิศตะวันออกและทิศใตัจรดเบลารุส และทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดโปแลนด์และรัสเซีย (แคว้นคาลินินกราด) เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซี.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและประเทศลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวีเดน

วีเดน (Sweden; สฺแวรฺแย) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในยุโรปเหนือ เขตแดนทางตะวันตกจรดประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศฟินแลนด์ และช่องแคบ สแกเกอร์แรก (Skagerrak) ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดช่องแคบแคทีแกต (Kattegat) และทางตะวันออกจรดทะเลบอลติก และอ่าวบอทเนีย มีกรุงสต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวง ประเทศสวีเดนมีประชากรที่เบาบาง เว้นแต่ในเขตเมืองใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบด้วยป่าไม้ และภูเขาสูง หลังจากสิ้นสุดยุคไวกิง สวีเดนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพคาลมาร์ ร่วมกับเดนมาร์กและนอร์เวย์ (ในช่วงเวลานี้ ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสวีเดน) สวีเดนได้ออกจากสหภาพในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และได้รบสู้กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะรัสเซีย และเดนมาร์กกับนอร์เวย์ที่ยังเป็นสหภาพอยู่ ซึ่งไม่ยอมรับการที่สวีเดนออกจากสหภาพ ในคริสศตวรรษที่ 17 สวีเดนได้ขยายเขตด้วยสงครามและกลายเป็นมหาอำนาจด้วยขนาด 2 เท่าของปัจจุบัน ถึง..

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและประเทศสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มักจะถูกนิยามว่าเป็นประเทศที่ถูกปิดล้อมหรือเกือบถูกปิดล้อมด้วยแผ่นดิน ในปี 2551 มีทั้งหมด 45 ประเทศ การเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลนับเป็นข้อด้อยทางภูมิศาสตร์ เพราะนอกจากจะถูกปิดกั้นจากทรัพยากรทางทะเลแล้ว ยังทำให้ไม่สามารถค้าขายทางทะเลได้อีกด้วย ประเทศที่มีชายฝั่งมีแนวโน้มที่จะร่ำรวยกว่าและมีประชากรมากกว่าประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล นอกจากนี้ยังมีคำว่า ทะเลปิด หมายถึงทะเลที่ไม่ได้เชื่อมกับมหาสมุทร เช่น ทะเลแคสเปียน ซึ่งในบางครั้งมองเป็นทะเลสาบ นอกจากนี้ทะเลอื่นๆ เช่น ทะเลดำ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลบอลติก และ ทะเลแดง มีช่องทางออกสู่ทะเลน้อ.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวยากรณ์

วยากรณ์ (Grammar) คือ การศึกษากฎเกณฑ์ของภาษา ซึ่งรวมถึง เสียง คำศัพท์ ประโยค และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น การประสมคำ และการตีความ คำว่าไวยากรณ์ยังหมายถึงคุณลักษณะเชิงนามธรรมของตำราที่นำเสนอกฎเหล่านี้ด้วย สำหรับคำว่า หลักภาษา แม้จะมีความหมายเดียวกันกับคำวำไวยากรณ์ แต่จะใช้เรียกกับภาษาไทยและภาษาไทยใต้เท่านั้น การศึกษาทฤษฎีทางไวยากรณ์เป็นที่สนใจของนักปรัชญา, นักมานุษยวิทยา นักจิตวิทยา และนักวิเคราะห์ทางวรรณกรรมมาหลายศตวรรษ ทุกวันนี้ ไวยากรณ์เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภาษาศาสตร์ แต่ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาขาอื่นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว พัฒนาการของทฤษฎีไวยากรณ์นั้นมีผลเพียงเล็กน้อยแต่ตัวเนื้อหาของไวยากรณ์ในสถานศึกษาทั่วไป สำหรับคนส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่าไวยากรณ์หมายถึงกฎที่เราจะต้องทราบ เพื่อจะพูด หรือ เขียนได้อย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและไวยากรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เบรสต์ (เบลารุส)

รสต์ (Брэст Brest or traditionally Берасце, Bierascie; Брест Brest; Brestas, earlier name Lietuvos Brasta (literally, 'Lithuanian Ford'); Brześć; Брест Brest, traditionally Берестя Berestia; בריסק Brisk), เดิมชื่อ Brest-on-the-Bug ("Brześć nad Bugiem" ในภาษาโปแลนด์) และ เบรสท์-ลีตอฟสก์ ("Brześć Litewski" ในภาษาโปแลนด์) เป็นเมืองในประเทศเบลารุส มีประชากร 310,800 คน ในปี..

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและเบรสต์ (เบลารุส) · ดูเพิ่มเติม »

เอกราช

อกราช คือ ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาติหรือรัฐ มีอำนาจอธิปไตยไม่ถูกกดขี่ควบคุมทางการเมืองหรือเป็นอาณานิคมจากรัฐบาลภายนอก.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

เครือรัฐเอกราช

รือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States หรือ CIS Содружество Независимых Государств หรือ СНГ) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นหลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง โดยมีประเทศสมาชิกเป็นประเทศที่ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต (ยกเว้นกลุ่มประเทศบอลติก).

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและเครือรัฐเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

.by

.by เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศเบลารุส เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2537.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและ.by · ดูเพิ่มเติม »

25 สิงหาคม

วันที่ 25 สิงหาคม เป็นวันที่ 237 ของปี (วันที่ 238 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 128 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและ25 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

27 กรกฎาคม

วันที่ 27 กรกฎาคม เป็นวันที่ 208 ของปี (วันที่ 209 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 157 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศเบลารุสและ27 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Belarusสาธารณรัฐเบลารุสเบลารุสเบลารุสเซียเบียลารุส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »