โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตว์เคี้ยวเอื้อง

ดัชนี สัตว์เคี้ยวเอื้อง

ัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Artiodactyla ซึ่งย่อยอาหารที่ประกอบด้วยพืชเป็นหลัก โดยเริ่มจากการย่อยให้นุ่มก่อนในกระเพาะอาหารส่วนแรกของสัตว์นั้น ซึ่งเป็นการกระทำของแบคทีเรียเป็นหลัก แล้วจึงสำรอกเอาอาหารที่ย่อยแล้วครึ่งหนึ่งออกมา เรียกว่า เอื้อง (cud) ค่อยเคี้ยวอีกครั้ง ขบวนการเคี้ยวเอื้องอีกครั้งเพื่อย่อยสลายสารที่มีอยู่ในพืชและกระตุ้นการย่อยอาหารนี้ เรียกว่า "การเคี้ยวเอื้อง" (ruminating) มีสัตว์เคี้ยวเอื้องอยู่ราว 150 สปีชีส์ ซึ่งมีทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคี้ยวเอื้องมีทั้งปศุสัตว์ แพะ แกะ ยีราฟ ไบซัน กวางมูส กวางเอลก์ ยัค กระบือ กวาง อูฐ อัลปากา ยามา แอนทิโลป พรองฮอร์น และนิลกาย ในทางอนุกรมวิธาน อันดับย่อย Ruminanti มีสัตว์ทุกสปีชีส์ที่กล่าวมาข้างต้น ยกเว้นอูฐ ลามาและอัลปากา ซึ่งอยู่ในอันดับย่อย Tylopoda ดังนั้น คำว่า "สัตว์เคี้ยวเอื้อง" จึงมิได้มีความหมายเหมือนกับ Ruminantia คำว่า "ruminant" มาจากภาษาละตินว่า ruminare หมายถึง "ไตร่ตรองถี่ถ้วนอีกครั้ง" (to chew over again).

19 ความสัมพันธ์: กวางกวางเอลก์ยามา (สัตว์)ยีราฟ (สกุล)วงศ์กระจงวงศ์กวางชะมดวงศ์วัวและควายสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสปีชีส์อัลปากาอันดับสัตว์กีบคู่อูฐควายนิลกายแพะแกะแอนทิโลป

กวาง

กวางเรนเดียร์ หรือกวางแคริบู (''Rangifer tarandus'') ซึ่งเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือ กวาง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง) ที่จัดอยู่ในวงศ์ Cervidae มีลักษณะขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา ลักษณะเขาตัน ไม่กลวง เป็นเกลียว บางชนิดอาจแตกแขนงได้มากเหมือนกิ่งไม้ ไม่มีถุงน้ำดี ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและกวาง · ดูเพิ่มเติม »

กวางเอลก์

กวางเอลก์ (elk) เป็นกวางขนาดใหญ่ หัวยาว คอและหางสั้น ขายาว เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีเขาเฉพาะตัวผู้ กวางเอลก์โตเต็มที่เขาจะมีแขนงข้างละประมาณ 10-12 กิ่ง ขนลำตัวหยาบสีน้ำตาล หางสั้น ลำตัวจากปลายปากถึงโคนหางยาวประมาณ 2.5 เมตร หางยาวประมาณ 20 เซนติเมตร สูงช่วงไหล่ประมาณ 1.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 250-450 กิโลกรัม มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินอพยพไปเรื่อย ๆ ชอบอยู่ในทุ่งโล่ง ๆ ตัวผู้จะดุเมื่อเขาแก่ขวิดแย่งตัวเมีย ว่ายน้ำเก่ง.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและกวางเอลก์ · ดูเพิ่มเติม »

ยามา (สัตว์)

ำหรับนักบวชในศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแบบทิเบต ดูที่ ลามะ ยามา หรือ ลามา (llama,; llama, เสียงอ่าน:; llama) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในตระกูลอูฐ (camelid) ของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นรู้จักกันอย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมของชาวแอนดีสตั้งแต่สมัยก่อนการเข้ามาของชาวสเปน.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและยามา (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

ยีราฟ (สกุล)

thumb ยีราฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Giraffa) เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่ตัวสูง ขายาว ลำคอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16-18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย จัดเป็นสัตว์บกที่มีความสูงที่สุดในโลก ยีราฟ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา ที่เขามีขนปกคลุมอยู่ เขาของยีราฟเป็นสิ่งแสดงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ เขาของยีราฟตัวผู้ด้านบนมีลักษณะตัดราบเรียบและมีความใหญ่อวบกว่า ขณะที่ของตัวเมียจะมีขนสีดำปกคลุมเห็นเป็นพุ่มชัดเจน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงราว 15-20 ตัว หรือมากกว่านั้น ในทุ่งโล่งร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แอนทิโลป, ม้าลาย หรือนกกระจอกเทศ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-461 วัน ลูกยีราฟหย่านมเมื่ออายุได้ 10 เดือน เมื่อคลอดออกมาแล้วจะสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนสัตว์กีบคู่ทั่วไป และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและยีราฟ (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กระจง

วงศ์กระจง (Chevrotain, Mouse-deer, Napu; อีสาน: ไก้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulidae กระจงถือเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับกวาง (Cervidae) มีกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 ส่วน มีการหมักอาหารที่กระเพาะอาหาร แต่กระเพาะห้องที่สามจะลดขนาดลง เหลือไว้เพียงร่องรอยเท่านั้น มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก ไม่มีเขา จะงอยหน้าแหลมและแคบ จมูกไม่มีขน ไม่มีทั้งต่อมที่ใบหน้าและต่อมกับ ขายาวเรียวและเล็ก ตัวผู้ที่โตเต็มวัยมีเขี้ยวงอกจากขากรรไกรบนยาวยื่นออกมาใช้สำหรับป้องกันตัว ส่วนตัวเมียมีเขี้ยวเหมือนกับตัวผู้ แต่มีขนาดเล็กมาก ไม่มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีระยะเวลาตั้งท้องนานราว 120–180 วัน ตัวเมียสามารถกลับมาเป็นสัดได้ ใน 7 วันหลังจากออกลูก ออกลูกโดยปกติครั้งละ 1 ตัว ถือได้ว่าเป็นสัตว์กีบที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ด้วยว่ามีขนาดพอ ๆ กับกระต่ายตัวหนึ่งเท่านั้นเอง พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ในอนุทวีปอินเดีย และเอเชียอาคเนย์ แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 10 ชนิด และสูญพันธุ์ไปแล้วอีก 6 สกุล (ดูในตาราง) สำหรับในประเทศไทย พบ 2 ชนิด คือ กระจงควาย หรือ กระจงใหญ่ (Tragulus napu) และกระจงเล็ก หรือ กระจงหนู (T. kanchil) ซึ่งถือได้เป็นสัตว์กีบที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้ว.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและวงศ์กระจง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กวางชะมด

กวางชะมด (Musk deer) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Moschidae และสกุล Moschus.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและวงศ์กวางชะมด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์วัวและควาย

วงศ์วัวและควาย เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bovidae จัดเป็นสัตว์กินพืช ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ จะมีเขาที่ไม่มีการแตกกิ่ง ไม่มีการหลุดหรือเปลี่ยนในตลอดช่วงอายุขัย มีกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ห้องหรือ 4 ส่วน และมีการหมักย่อย โดยการหมักของกระเพาะอาหารจะอาศัยแบคทีเรียในท่อทางเดินอาหาร โดยส่วนใหญ่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ที่ 6.7+0.5 มีถุงน้ำดี นอกจากนั้นสัตว์ในตระกูลนี้สามารถสำรอก อาหารออกมาจากกระเพาะหมัก เพื่อทำการเคี้ยวใหม่ได้ ที่เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง" ลูกที่เกิดใหม่จะใช้เวลาไม่นานในการเดินและวิ่งได้ อันเนื่องจากการวิวัฒนาการเพื่อให้เอาตัวรอดจากสัตว์กินเนื้อที่เป็นผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยและผูกพันอย่างดีในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและปศุสัตว์ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ เป็นต้น สำหรับสัตว์ป่า มีการกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย ในแอฟริกาและบางส่วนของทวีปเอเชีย จะมีบางชนิดที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับกวาง (Cervidae) เช่น อิมพาลาหรือแอนทีโลป แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นสัตว์ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและวงศ์วัวและควาย · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลปากา

อัลปากา (Alpaca; ชื่อวิทยาศาสตร์: Vicugna pacos) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในวงศ์อูฐ (Camelidae) มีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวยามา อัลปากาเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ในที่สูงบริเวณแถบเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของประเทศเปรู ตอนเหนือของประเทศโบลิเวีย ประเทศเอกวาดอร์ และตอนเหนือของประเทศชิลี อัลปากาเป็นสัตว์ที่มีความทรหดอดทนมาก โดยจะอยู่บริเวณที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 3,500 เมตร (11,000 ฟุต) ถึง 5,000 เมตร (16,000 ฟุต).

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและอัลปากา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

อูฐ

อูฐ (Camel; جمليات, ญะมัล) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในสกุล Camelus จัดอยู่ในวงศ์ Camelidae เป็นสัตว์ที่มีความอดทนสูง สามารถอาศัยอยู่ได้โดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำเลย 2 สัปดาห์ เพราะมีไขมันสะสมไว้ในหนอกและร่างกายเก็บรักษาน้ำได้เป็นอย่างดี จึงสามารถอยู่ในที่ทุรกันดารเช่นทะเลทรายได้เป็นอย่างดี กินอาหารประเภทใบไม้ในทะเลทราย ตัวโตเต็มที่มีความสูงถึงบ่าประมาณ 1.85 เมตร และหนอกสูงอีก 75 เซนติเมตร ความสามารถ วิ่งได้เร็ว 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเดินด้วยความเร็วคงที่ประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แบกน้ำหนักได้ 150-200 กิโลกรัม อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงได้จาก 34 องศาเซลเซียสในตอนกลางคืนมาเป็น 41 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน ปัจจุบันสัตว์ในตระกูลอูฐได้ถูกนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในบางประเทศ แต่ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เป็นอาหาร ตัดขน รีดนม และใช้เนื้อเพื่อบร.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและอูฐ · ดูเพิ่มเติม »

ควาย

| name.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและควาย · ดูเพิ่มเติม »

นิลกาย

นิลกาย (Nilgai, Blue bull; নীলগাই; नीलगाय) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) จัดเป็นเพียงสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boselaphus มีรูปร่างลักษณะคล้ายวัวผสมกับม้า ตัวผู้มีลักษณะเด่น ที่ สีลำตัวเมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มขึ้นเรื่อย ๆ หรือสีเทาปนดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ถือเป็นแอนทีโลปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย โดยมีส่วนสูงวัดถึงไหล่ประมาณ 1.2–1.5 เมตร และยาว 1.8–2 เมตร หางยาว 40–45 เซนติเมตร ตัวเต็มวัยมีน้ำหนักประมาณ 120–140 กิโลกรัม ลำตัวใหญ่ แต่มีขาเล็กเรียว ตัวผู้มีเขาเล็ก ๆ โค้งไปข้างหน้าเล็กน้อย ยาวประมาณ 21-25 เซนติเมตร มีขนแข็งยาวขึ้นจากส่วนหัวไล่ไปถึงกลางหลังทั้งสองเพศ ขณะที่ตัวเมียมีสีออกน้ำตาลแดง นิลกาย เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ในราบตอนเหนือของอินเดียและทางภาคตะวันออกของปากีสถาน ชอบอยู่ตามที่ราบและเนินเขาที่มีไม้พุ่มเตี้ยมากกว่าอยู่ในป่าทึบ นิลกายเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 18 เดือน ซึ่งหลังผสมพันธุ์แล้ว มีระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ออกลูกคราวละ 2 ตัวหรือมากได้ถึง 3 ตัว น้ำหนักตัวเมื่อเกิดใหม่ราว 13–16 กิโลกรัม มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 21 ปี นิลกายเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางวัน และพักผ่อนในเวลากลางคืนเหมือนสัตว์ในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ แต่กินอาหารหลากหลายกว่า เพราะกินทั้งต้นไม้, ใบหญ้า, ใบไม้ และผลไม้ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความสามารถพิเศษ คือ สามารถอดน้ำได้หลายวันโดยไม่มีน้ำดื่ม แต่มักจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ โดยส่วนใหญ่จะอยู่กันเป็นกลุ่มประมาณ 15 ตัว บางกลุ่มอาจมีถึง 20 ตัว ยกเว้นตัวที่อายุมากแล้วมักจะปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง และจะรวมตัวกันอีกทีก็ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอาจจะมีจำนวนถึง 30–100 ตัว ปัจจุบัน นิลกายพบจำนวนมากในที่ สวนลุมพินีวัน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า และเชื่อว่าเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ด้วย เป็นสัตว์ที่เชื่อว่าหากใครได้พบเห็น จะพบกับความเป็นสิริมงคล แต่นิลกายก็ถือเป็นสัตว์ที่รบกวนกินพืชผลของเกษตรกรเสียหายได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก ทางการอินเดียจึงอนุญาตให้ล่าสัตว์ชนิดนี้ได้อย่างถูกกฎหมาย ขณะที่อีกไม่น้อยถูกรถชน นอกจากนี้ยังต้องขาดแคลนที่อยู่ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และมีศัตรูตามธรรมชาติอีกอย่างคือเสือและสิงโต ทำให้ปัจจุบันเหลือปริมาณ นิลกายอยู่ไม่มากแล้ว ในอินเดียมีประมาณ 100,000 ตัวเท่านั้น ส่วนที่รัฐเทกซัสในสหรัฐอเมริกาถูกนำไปเลี้ยงในสวนสัตว์บ้าง ในธรรมชาติบ้าง ช่วงทศวรรษ 1920 เหลือปริมาณนิลกายประมาณ 1,500 ตัว สำหรับในประเทศไทย นิลกายมีอยู่ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งได้ตกลูกในไทยมาแล้วถึง 4 ตัว นอกจากนี้แล้วยังเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับซาวลา (Pseudoryx nghetinhensis) ที่พบในป่าทึบของเวียดนามอีกด้ว.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและนิลกาย · ดูเพิ่มเติม »

แพะ

แพะ เป็นชนิดย่อยของแพะซึ่งทำให้เชื่องจากแพะป่าในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และยุโรปตะวันออก แพะนี้อยู่ในสกุล Bovidae และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแกะเพราะต่างอยู่ในวงศ์ย่อยแกะและแพะ (Caprinae) มีแพะกว่า 300 สายพันธุ์Hirst, K. Kris.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและแพะ · ดูเพิ่มเติม »

แกะ

ลูกแกะที่สวนสัตว์พาต้า แกะ เป็นสัตว์สี่เท้าเคี้ยวเอื้องและเลี้ยงลูกด้วยนม แกะเป็นสัตว์กีบคู่เหมือนสัตว์กับเคี้ยวเอื้องส่วนใหญ่ แกะส่วนใหญ่เคยเป็นแกะป่าที่พบได้ตามป่าของเอเชียและยุโรป ซึ่งแกะป่าเป็นสัตว์ชนิดแรก ๆ ที่นำมาทำให้เชื่องเพื่อใช้งานเกษตรกรรม ขน หนัง เนื้อและนม ขนแกะเป็นเส้นใยจากสัตว์ที่ผู้คนใช้มากที่สุด ส่วนมากจะเก็บขนแกะด้วยการโกนขน เนื้อแกะจะมีทั้งเนื้อของลูกแกะและเนื้อของตัวโตเต็มวัย กินอาหารประเภทพืชและหญ้าเป็นหลัก มีขนหนาฟู ออกลูกเป็นตัวและเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แกะบางพื้นที่กินดอกไม้และแมลงบางชนิด เช่น แกะภูเขา ส่วนใหญ่แกะจะอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยอยู่ตามพื้นที่หนาวเย็น แถบภูเขาและพื้นที่ราบโล่ง เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย อเมริกาตอนกลาง และตอนใต้ของประเทศแคนาดา โดยมีการกระจายอยู่ตลอดแถบประเทศเขตหนาว ในโลกนั้นมีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยมีตั้งแต่สายพันธุ์ดังเดิมจนถึง สายใหม่ที่ถูกผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ และสายพันธุ์ที่มนุษย์พัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพของการใช้งานผลิตภัณฑ์ เช่น ขนสัตว์, เนื้อ, นม.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและแกะ · ดูเพิ่มเติม »

แอนทิโลป

วาดของส่วนหัวและเขาของแอนทิโลปหลายชนิด แอนทิโลป (antelope) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ในหลายสกุล ในอันดับสัตว์กีบคู่ ในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) โดยทั่วไปแล้วแอนทิโลปจะมีลักษณะคล้ายกับกวางซึ่งเป็นสัตว์กีบคู่เหมือนกัน แต่อยู่ในวงศ์กวาง (Cervidae) และคำนิยามในพจนานุกรมก็มักจะระบุเช่นนั้นว่า แอนทิโลปเป็นสัตว์จำพวกเนื้อและกวางชนิดที่มีเขาเป็นเกลียว หรือบางทีก็แปลว่า ละมั่ง แต่ที่จริงแล้วแอนทิโลปมิใช่กวาง แม้จะมีรูปร่างภายนอกคล้ายคลึงกันก็ตาม แต่แอนทิโลปเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับวัวหรือควาย, แพะ หรือแกะ เนื่องจากจัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน ซึ่งลักษณะสำคัญของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ เขามีลักษณะโค้งเป็นเกลียว แต่ข้างในกลวง และมีถุงน้ำดี แอนทิโลปกระจายพันธุ์ไปในแอฟริกาและยูเรเชีย แต่ไม่พบในประเทศไทย โดยสัตว์ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นแอนทิโลปได้ในประเทศไทย ได้แก่ เลียงผา และกวางผา ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ตามภูเขาสูง พบเห็นตัวได้ยาก คำว่า แอนทิโลป ปรากฏครั้งแรกในภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1417 โดยได้รับมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า หรืออาจจะมาจากภาษากรีกคำว่า "anthos" ซึ่งหมายถึง "ดอกไม้" และ "ops" ที่หมายถึง "ตา" อาจหมายถึง "ตาสวย" หรือแปลได้ว่า "สัตว์ที่มีขนตาสวย" แต่ในระยะต่อมาในเชิงศัพทมูลวิทยาคำว่า "talopus" และ "calopus" มาจากภาษาละตินในปี ค.ศ. 1607 ใช้เป็นครั้งแรกเพื่อเรียกสัตว์จำพวกกวาง แอนทิโลปมีประมาณ 90 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา มี 30 สกุล กระจายไปในวงศ์ย่อยต่าง ๆ เช่น Alcelaphinae, Antilopinae, Hippotraginae, Reduncinae, Cephalophinae, Bovinae รวมถึงอิมพาลา บางครั้งก็ถูกเรียกว่าแอนทิโลปบ้างเหมือนกัน.

ใหม่!!: สัตว์เคี้ยวเอื้องและแอนทิโลป · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ruminant

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »