โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สังคมนิยมแบบเสรีนิยม

ดัชนี สังคมนิยมแบบเสรีนิยม

ังคมนิยมแบบเสรีนิยม (liberal socialism) เป็นปรัชญาการเมืองสังคมนิยมซึ่งรวมหลักการเสรีนิยมไว้ด้วยGerald F. Gaus, Chandran Kukathas.

7 ความสัมพันธ์: จอห์น ดูอีทุนนิยมความเสมอภาคทางสังคมปล่อยให้ทำไปเศรษฐกิจแบบผสมเสรีภาพเสรีนิยม

จอห์น ดูอี

แสตมป์ของสหรัฐอเมริการูปจอห์น ดูอี จอห์น ดูอี (John Dewey) (20 ตุลาคม ค.ศ. 1859 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1952) เป็นนักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักปฏิรูปการศึกษาชาวอเมริกัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ ในปี ค.ศ. 1879 หลังจากนั้นใช้เวลาว่างช่วงสั้นๆ เป็นอาจารย์สอนพิเศษที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง ก่อนจะกลับมาศึกษาต่อจนจบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ในปี ค.ศ. 1884 ดูอีเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิชาปรัชญา จิตวิทยา และการสอน ของมหาวิทยาลัยชิคาโก เขามีบทบาทสำคัญในการบุกเบิกแนวคิดและวิธีการสอนแบบใหม่ๆ ทั้งยังได้สร้างโรงเรียนสาธิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับทดสอบพัฒนาและวิเคราะห์ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนการสอนและที่สำคัญ ยังถือได้ว่าเขาเป็นนักปรัชญาทางการศึกษาแนวหน้าของโลก โดยมีปรัชญามากมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่แตกแขนงออกไปอย่างมากมาย หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2402 หมวดหมู่:ทฤษฎีการศึกษา หมวดหมู่:ปรัชญาการศึกษา หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักจิตวิทยา.

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบเสรีนิยมและจอห์น ดูอี · ดูเพิ่มเติม »

ทุนนิยม

"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบเสรีนิยมและทุนนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ความเสมอภาคทางสังคม

วามเสมอภาค (Equality) เป็นมโนทัศน์พื้นฐานที่สุดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะกล่าวในมิติทางการเมืองหรือในทางเศรษฐกิจ คนทั่วไปมักสับสนคำว่า “เสมอภาค” กับ “เหมือนกัน” (sameness) กล่าวคือ คิดว่าการรับรองความเสมอภาคของมนุษย์เท่ากับการทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากัน จนมักโต้แย้งว่าความเสมอภาคไม่มีทางเป็นไปได้ จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าหลักการของความเสมอภาค ไม่ได้และไม่เคยเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนต้องเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมชาติทั้งโดยชาติพันธุ์ รูปร่าง ผิวพรรณ เพศสภาพ บุคลิก ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้มนุษย์ต้องไม่เสมอภาคกัน เพราะความเสมอภาค (Equality) ตรงข้ามกับความไม่เสมอภาค (Inequality) ไม่ได้ตรงข้ามกับคำว่าความแตกต่าง (Difference) อย่างที่หลายคนทึกทัก นั่นหมายความว่า มนุษย์เราแตกต่างกันโดยธรรมชาติ แต่ก็สามารถและควรเท่าเทียมกันได้ (different but Equal) ดังนั้นเมื่อกล่าวว่า คนเสมอภาคกัน จึงไม่ได้หมายความว่าคนเหมือนกันทุกด้านไม่ว่าจะเป็นชาติตระกูล หน้าตา ความสามารถ สติปัญญา แต่การที่บอกว่าเสมอภาคกันมีความหมายว่า มนุษย์เท่าเทียมกันทั้งในความเป็นมนุษย์ และตามกฎหมายของรัฐ (Kurian, 2011: 515) ดังที่มีวลีสำคัญที่สะท้อนความเสมอภาคคือ “Equality Before the Law” ซึ่งหมายความว่าบุคคลทุกผู้ทุกนามย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกระบวนของกฎหมายอย่างเป็นธรรม หรือความเสมอภาคกันในทางการเมืองคือ พลเมืองที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดย่อมสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างเท่าเทียมกัน ในบางกรณี ที่ความเสมอภาคยึดโยงเข้ากับหลักความเป็นธรรม (Justice) จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อผู้คนที่แตกต่างกันด้วยมาตรการเฉพาะเพื่อช่วยให้ความแตกต่างกันโดยธรรมชาติได้รับการแก้ไขให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น เช่น มาตรการช่วยเหลือคนด้อยโอกาส คนทุพพลภาพ เพื่อความเสมอภาคในสังคม ดังนั้น การมองอย่างฉาบฉวยว่าการเรียกร้องให้คนเท่ากันหมายถึงการเรียกร้องให้คนเหมือนกันนั้น จึงเป็นความเข้าใจผิดในประเด็นพื้นฐาน.

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบเสรีนิยมและความเสมอภาคทางสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ปล่อยให้ทำไป

ในทางเศรษฐศาสตร์ ปล่อยให้ทำไป (laissez-faire) หมายถึง ปล่อยให้อุตสาหกรรมดำเนินการไปโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจำกัดในรูปของพิกัดอัตราศุลกากรและการผูกขาดโดยรัฐบาล วลี "Laissez-faire" เป็นวลีภาษาฝรั่งเศส ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า "ปล่อยให้ทำไป" จัดเป็นนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมรูปแบบหนึ่ง.

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบเสรีนิยมและปล่อยให้ทำไป · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจแบบผสม

รษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งทั้งภาคเอกชนและรัฐชี้นำเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนลักษณะของทั้งเศรษฐกิจแบบตลาดและเศรษฐกิจที่มีการวางแผน เศรษฐกิจแบบผสมส่วนมากอาจอธิบายได้ว่าเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดที่มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มแข็งและการจัดหาสินค้าสาธารณะของรัฐบาล เศรษฐกิจแบบผสมบางแห่งยังมีลักษณะรัฐวิสาหกิจ โดยทั่วไป เศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะคือ เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ความเด่นของตลาดสำหรับการประสานงานเศรษฐกิจ และวิสาหกิจแสวงผลกำไรและการสะสมทุนที่เหลือเป็นปัจจัยขับหลักมูลเบื้องหลังกิจกรรมเศรษฐกิจ ทว่า รัฐบาลจะถืออิทธิพลเศรษฐกิจมหภาคโดยอ้อมเหนือเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังและการเงินซึ่งออกแบบมาเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและแนวโน้มของทุนนิยมต่อวิกฤตการณ์การเงินและการว่างงาน ร่วมกับมีบทบาทในการแทรกแซงซึ่งสนับสนุนสวัสดิการสังคม ซึ่งไม่เหมือนกับเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ต่อมา เศรษฐกิจแบบผสมบางประเทศได้ขยายขอบเขตให้รวมบทบาทสำหรับการวางแผนเศรษฐกิจชี้นำและ/หรือภาควิสาหกิจสาธารณะขนาดใหญ่ด้วย ไม่มีนิยามระบบเศรษฐกิจแบบผสมอย่างเดียว โดยนิยามหลากหลายว่าเป็นการผสมตลาดเสรีกับการแทรกแซงของรัฐ หรือการผสมวิสาหกิจสาธารณะและเอกชน หรือเป็นการผสมระหว่างตลาดและการวางแผนเศรษฐกิจ จุดแข็งหรือจุดอ่อนเปรียบเทียบของแต่ละส่วนในเศรษฐกิจของชาติอาจต่างกันได้มากแล้วแต่ประเทศ เศรษฐกิจตั้งแต่ของสหรัฐอเมริกาจนถึงคิวบาเรียก เศรษฐกิจแบบผสม คำนี้ยังใช้อธิบายเศรษฐกิจของประเทศที่เรียก รัฐสวัสดิการ เช่น ประเทศนอร์ดิก รัฐบาลในเศรษฐกิจแบบผสมมักจัดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การรักษามาตรฐานการจ้างงาน ระบบสวัสดิการปรับมาตรฐานและการรักษาการแข่งขัน.

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบเสรีนิยมและเศรษฐกิจแบบผสม · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพ

รีภาพ, อิสรภาพ หรือเสรีธรรม ในทางปรัชญา หมายถึง เจตจำนงเสรี ซึ่งตรงข้ามกับนิยัตินิยม ในทางการเมือง เสรีภาพประกอบด้วยเสรีภาพทางสังคมและการเมืองที่รับประกันแก่พลเมืองทุกคน ในทางเทววิทยา เสรีภาพ คือ อิสรภาพจากพันธะบาป.

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบเสรีนิยมและเสรีภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนิยม

เสรีนิยม (liberalism) เป็นปรัชญาการเมืองหรือมุมมองทางโลกซึ่งตั้งอยู่บนความคิดเสรีภาพและความเสมอภาค นักเสรีนิยมยอมรับมุมมองหลากหลายขึ้นอยู่กับความเข้าใจหลักการเหล่านั้น แต่โดยทั่วไปสนับสนุนความคิดอย่างเสรีภาพในการพูด เสรีภาพสื่อ เสรีภาพทางศาสนา ตลาดเสรี สิทธิพลเมือง สังคมประชาธิปไตย รัฐบาลฆราวาส ความเสมอภาคทางเพศและการร่วมมือระหว่างประเทศ ทีแรก เสรีนิยมเป็นขบวนการทางการเมืองต่างหากระหว่างยุคเรืองปัญญา เมื่อได้รับความนิยมในหมู่นักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์ในโลกตะวันตก เสรีนิยมปฏิเสธความคิดซึ่งสามัญในเวลานั้น เช่น เอกสิทธิ์แบบสืบเชื้อสาย ศาสนาประจำชาติ สมบูรณาญาสิทธิราชและเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ มักยกย่องจอห์น ล็อก นักปรัชญาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็นผู้ก่อตั้งเสรีนิยมเป็นประเพณีปรัชญาต่างหาก ล็อกแย้งว่ามนุษย์มีสิทธิธรรมชาติในชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สิน และตามสัญญาสังคม รัฐบาลต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้ นักเสรีนิยมคัดค้านอนุรักษนิยมประเพณีและมุ่งเปลี่ยนสมบูรณาญาสิทธิ์ในการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและหลักนิติธรรม นักปฏิวัติผู้โด่งดังในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ การปฏิวัติอเมริกา และการปฏิวัติฝรั่งเศสใช้ปรัชญาเสรีนิยมเพื่ออ้างความชอบธรรมการโค่นสิ่งที่มองว่าเป็นการปกครองทรราชด้วยอาวุธ เสรีนิยมเริ่มลามอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการตั้งรัฐบาลเสรีนิยมในประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาใต้และอเมริกาเหนือ ในช่วงนี้คู่แข่งอุดมการณ์หลัก คือ อนุรักษนิยม แต่ภายหลังเสรีนิยมรอดการท้าทายทางอุดมการณ์วสำคัญจากคู่แข่งใหม่อย่างฟาสซิสต์และลัทธิคอมมิวนิสต์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความคิดเสรีนิยมยิ่งลามอีกเมื่อประชาธิปไตยเสรีนิยมเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกทั้งสองครั้ง ในทวีปยุโรปและอเมริกา การสถาปนาเสรีนิยมสังคม (social liberalism) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการขยายรัฐสวัสดิการ ปัจจุบัน พรรคการเมืองเสรีนิยมยังครองอำนาจและอิทธิพลทั่วโลก หมวดหมู่:ขบวนการทางปรัชญา หมวดหมู่:ปรัชญาการเมือง หมวดหมู่:อุดมการณ์ทางการเมือง หมวดหมู่:วัฒนธรรมทางการเมือง หมวดหมู่:ทฤษฎีสังคม หมวดหมู่:ปัจเจกนิยม.

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบเสรีนิยมและเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Liberal Socialismสังคมนิยมเสรีนิยม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »