โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สะพานแผ่นดิน

ดัชนี สะพานแผ่นดิน

การแลกเปลี่ยนทางภูมิสัตวภาพระหว่างทวีปอเมริกา สะพานแผ่นดิน (land bridge) ทางชีวภูมิศาสตร์ หมายถึงคอคอดหรือแผ่นดินที่กว้างกว่านั้น ที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินสองแผ่นดินที่ตามปกติแล้วแยกจากกัน การเชื่อมทำให้เกิดภาวะที่ทำให้สัตว์บกและพืชสามารถเดินทางข้ามแลกเปลี่ยนไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนใหม่ได้ สะพานแผ่นดินอาจจะเกิดได้จากการการร่นถอยของทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลแห้งเหือดลง ที่ทำให้บริเวณไหล่ทวีปที่เคยอยู่ใต้น้ำตื้นเขินขึ้น หรือเมื่อแผ่นเปลือกโลกเลื่อนตัวจนทำให้เกิดแผ่นดินใหม่ขึ้น หรือเมื่อท้องทะเลสูงตัวขึ้นในกรณีแผ่นดินสูงคืนตัวหลังการละลายของธารน้ำแข็ง (Post-glacial rebound) หลังจากยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลง.

5 ความสัมพันธ์: พืชการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคยุคน้ำแข็งธรณีสัณฐานวิทยาคอคอด

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: สะพานแผ่นดินและพืช · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500) โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี.

ใหม่!!: สะพานแผ่นดินและการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

ยุคน้ำแข็ง

แผ่นน้ำแข็งที่ขยายระหว่างยุคน้ำแข็ง ภาพนี้เป็นแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย (Ice Age)เป็นช่วงเวลาที่มีการลดลงของอุณหภูมิอย่างยาวนานบนพิ้นผิวและชั้นบรรยากาศโลกและโลกเกือบถึงจุดจบ ทำให้เกิดการขยายตัวของแผ่นน้ำแข็งในผืนทวีป แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก และธารน้ำแข็งอัลไพน์ เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย จะมีหิมะตกลงมาอย่างหนักทั่วผืนผิวโลก ทั้งพื้นดิน และพื้นน้ำ เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก เป็นต้น เมื่อพื้นผิวมหาสมุทรถูกปกคลุมด้วยหิมะ ทำให้ใต้ท้องมหาสมุทรไม่ได้รับแสงอาทิตย์ หรือได้รับน้อยมาก และหลังจากนั้นได้มีการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ขึ้น และพ่นเถ้าถ่านออกมาจากปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก ทำให้โลกเกิดปรากฏการณ์โลกร้อน(Green House Effect)แล้วน้ำแข็ง และหิมะที่ปกคลุมทั่วโลกนั้นได้ละลายกลายเป็นน้ำ เมื่อน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำ ทำให้น้ำที่ละลายไปนั้นไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่พื้นดินดังเดิม.

ใหม่!!: สะพานแผ่นดินและยุคน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีสัณฐานวิทยา

รณีสัณฐาน. ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) คือศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของภูมิประเทศชนิดต่าง ๆ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาตามกระบวนการทางกายภาพหรือทางเคมี เช่น ภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ การพัดพา การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกนักธรณีวิทยาพยายามที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิทัศน์ว่าทำไมแต่ละที่จึงมีลักษณะต่างกันจึงพยายามศึกษาประวัติและพลศาสตร์ของธรณีสัณฐานเพื่อรวบรวมการเปลี่ยนแปลงผ่านการสังเกตภาคสนาม การทดลองทางกายภาพและการสร้างแบบจำลองเชิงตัวเลข ธรณีสัณฐานวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในสาขาของภูมิศาสตร์กายภาพ ธรณีวิทยา จีออเดซี วิศวกรรมธรณี โบราณคดีและวิศวกรรมธรณีเทคนิคซึ่งแต่ละสาขาวิชาจะทำให้เกิดรูปแบบและผลงานวิจัยที่แตกก่างกันไป.

ใหม่!!: สะพานแผ่นดินและธรณีสัณฐานวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

คอคอด

อคอด (isthmus) หมายถึง แผ่นดินลักษณะแคบที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินขนาดใหญ่สองแห่งที่มีขนาดใหญ่กว่าเข้าด้วยกัน อย่างเช่น คอคอดปานามา ซึ่งเชื่อมระหว่างทวีปอเมริกาเหนือเข้ากับทวีปอเมริกาใต้ มักจะมีการขุดคลองในบริเวณที่มีลักษณะเป็นคอคอด เพื่อประโยชน์ในการย่นระยะทางและระยะเวลาการขนส่งทางทะเล ตัวอย่างเช่น คลองปานามา เชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก โดยสร้างทับคอคอดปานามา เป็นต้น.

ใหม่!!: สะพานแผ่นดินและคอคอด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Land bridgeLandbridge

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »