โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว

ดัชนี สะพานมิตรภาพไทย–ลาว

นมิตรภาพไทย-ลาว อาจหมายถึง.

18 ความสัมพันธ์: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง)ห้วยทรายจังหวัดบึงกาฬจังหวัดมุกดาหารจังหวัดหนองคายจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดนครพนมจังหวัดเชียงรายท่าแขกปากซันแขวงสาละวันแขวงสุวรรณเขตเวียงจันทน์

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)

้อความภาษาลาวในป้ายหมายถึง "จุดเปลี่ยนแนวทางการสัญจร อยู่เบื้องหน้า ให้เตรียมหยุด" ภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (First Thai–Lao Friendship Bridge.; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທຳອິດ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก โดยเชื่อมต่อหมู่ที่ 1 คุ้มจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เข้ากับบ้านท่านาแล้ง เมืองหาดซายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว ตัวสะพานมีความยาว 1,170 เมตร มีทางรถ 2 ช่องจราจร กว้างข่องละ 3.5 เมตร ทางเท้า 2 ช่องทาง กว้างช่องละ 1.5 เมตร และรถไฟทางเดี่ยวกว้าง 1 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี..

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)

อีกมุมหนึ่งของสะพาน การเปลี่ยนจากการขับรถทางซ้ายเป็นทางขวา สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (Second Thai–Lao Friendship Bridge; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທີສອງ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย เข้ากับแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกตะวันออก ซึ่งเริ่มจากพม่า ผ่าน ไทย ลาวและสิ้นสุดที่เวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 1,600 เมตร มีความกว้าง 12 เมตร และมีช่องการจราจร 2 ช่อง มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแหล่งทุนในการก่อสร้างเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับรัฐบาลลาว 4,011 ล้านเยน และให้กับรัฐบาลไทย 4,079 ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)

นมิตรภาพไทย-ลาว 3 เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 1 บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม กับประเทศลาวที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ควบคุมการก่อสร้างโดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงและบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทยทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน แล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งด้านการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และภาคใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีความยาวรวม 1,423 เมตร มีความกว้าง 13 เมตร และมีการช่องจราจร 2 ช่อง และไม่มีทางรถไฟ และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม - คำม่วน) วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ มณฑลพิธี บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม และเสด็จทรงเป็นประธานพิธีเปิดอย่างเป็นทางการร่วมกับสหายบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศลาว ในวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)

นมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) (ຂົວມິດຕະພາບລາວ - ໄທ ແຫ່ງທີ 4) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 9 บ้านดอนมหาวัน ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับประเทศลาวที่บ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ระยะทาง 2.48 กิโลเมตร รูปแบบของสะพานเป็นคอนกรีตรูปกล่อง (Segmental Concrete Box Girder) มีเสา 4 เสา กว้าง 14.70 เมตร เป็นสะพานขนาด 2 เลน แต่ละเลนกว้าง 3.50 เมตร นอกจากสะพานแล้วยังมีโครงการก่อสร้างถนนไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตรเข้าในเขตเมืองห้วยทราย ซึ่งเป็นถนนลาดยางขนาดสองเลน รวมทั้งมีการก่อสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง เป็นการเชื่อมต่อกับเส้นทางR3A ที่เชื่อมต่อระหว่างจีน – ลาว –ไทย บริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นกลุ่ม CR5-KT Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China Railway No.5 ของจีนและบริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัดของไทย งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,624 ล้านบาท โดยการสมทบทุนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ส่วนรัฐบาลลาวรับผิดชอบค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยก่อสร้างตัวสะพานแล้วเสร็จในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ร่วมกับนายบุนยัง วอละจิต รองประธานประเทศลาว สำหรับสะพานแห่งนี้ เป็นสะพานที่เชื่อต่อเส้นทางอาร์ 3 เอจากกรุงเทพ - คุณหมิง เพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 เส้นทางอาร์3เอ มีต้นทางเริ่มจากเชียงของ ประเทศไทย-บ่อแก้ว-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น ของประเทศลาว-บ่อหาน-เชียงรุ่งหรือจิ่งหง ในแคว้นสิบสองปันนา-นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ของจีน โดยมีระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงคุนหมิงรวมกว่า 1,800 กิโลเมตร สำหรับการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจอาร์3เอ เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนับเป็นโครงการบูรณาการเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวนับว่าเป็นโอกาสสูงมากที่ประเทศไทยจะมีช่องทาง โอกาสในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนตอนใต้ ที่จะเดินทางมาทางรถยนต์และทางเรือเพื่อมาท่องเที่ยวยังจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากจำนวนประชากรของจีนนั้น มีจำนวนมากกว่า 1,400 ล้านคน.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)

นมิตรภาพ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) (5th Thai-Lao Friendship Bridge; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ 5) เป็นโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมมิตรภาพระหว่างไทยกับลาว เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 โครงการนี้จะยกระดับข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 บริเวณกิโลเมตรที่ 125+925 ในท้องที่หมู่ 2 บ้านดอนยม ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ข้ามแม่น้ำโขง และเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 13 ที่บ้านกล้วย เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางหลวงของลาวที่จะก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองปากซันด้านตะวันออก โดยโครงการนี้ทั้ง 2 ประเทศ ตั้งใจจะเสริมสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมระหว่างไทย ลาว เวียดนาม และจีน ให้มีความสะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ปัจจุบันจังหวัดบึงกาฬมีด่านสากลไทย-ลาว (บึงกาฬ-ปากซัน) เปิดให้บริการประชาชนที่เดินทางและขนส่งสินค้าเข้า-ออกระหว่างประเทศผ่านเรือและแพขนานยนต์เป็นหลัก.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง)

นมิตรภาพไทย-ลาว 6 (นาตาล-ละคอนเพ็ง) เป็นโครงการใหม่ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2555 ที่จังหวัดสุรินทร์ มีมติเห็นชอบในหลักการของกรอบข้อเสนอแผนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงช่วงอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี กับเมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน จุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ทางทิศใต้ บ้านปากแซง หมู่ 3 ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งสถานที่แห่งนี้ ครม.สัญจร ได้ลงความเห็นชอบอนุมัติเมื่อครั้งประชุมสัญจรที่จังหวัดสุรินทร์ เป็นสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 6 ข้อดี คือ เมื่อสร้างสะพานตรงนั้น จะเป็นการยกระดับความเจริญในหลาย ๆ ด้าน และที่จะเป็นจุดเด่นของสะพานแห่งนี้ คือ จะสามารถย่นระยะทางในการที่จะออกจากประเทศไทย ในด้านการค้าขาย ด้านเศรษฐกิจผ่านประเทศลาว ไปที่เมืองดานัง ระยะทางเพียง 137 กม.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง) · ดูเพิ่มเติม »

ห้วยทราย

ห้วยทราย (ຫ້ວຍຊາຍ) เป็นเมืองเอกของแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ประกอบด้วย 88 หมู่บ้าน 14 หมู่บ้านพัฒนา และ 1 บ้านใหญ่ มี 13,086 ครอบครัว ประชากรทั้งหมด 62,223 คน เป็นหญิง 31,500 คน ประชากรในช่วงอายุ 15-40 ปี มี 26,998 คน เป็นหญิง 13,314 คน ตัวเมืองห้วยทรายตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยอีกฝั่งที่อยู่ตรงข้ามกันคือตัวอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงร.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและห้วยทราย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบึงกาฬ

ึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนสุดของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 765 กิโลเมตร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม..

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและจังหวัดบึงกาฬ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดมุกดาหาร

มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไท.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและจังหวัดมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดหนองคาย

หนองคาย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 เป็นจังหวัดชายแดนและเป็นจังหวัดที่เงียบสงบ น่าอยู่และน่าท่องเที่ยว มีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับประเทศลาว มีพื้นที่แคบแต่ยาว มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการชมบั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษ.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและจังหวัดหนองคาย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุบลราชธานี

อุบลราชธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไท.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและจังหวัดอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครพนม

ังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอ.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและจังหวัดนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงราย

ังหวัดเชียงราย (55px เจียงฮาย; 50px) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีภูมิศาสตร์อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ที่ตั้งของเมืองมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีน้ำแม่กก น้ำแม่อิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอดีตเป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้ ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3 เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและจังหวัดเชียงราย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าแขก

ท่าแขก (ທ່າແຂກ) เป็นเมืองเอกในแขวงคำม่วน ประเทศลาว ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ตรงข้ามอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนมImage.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและท่าแขก · ดูเพิ่มเติม »

ปากซัน

ปากซัน (ປາກຊັນ) เป็นเมืองเอกของแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว ตั้งอยู่ตรงข้ามอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ตัวเมืองตั้งอยู่ปากแม่น้ำซันที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ปากซันเชื่อมต่อกับลาวใต้ด้วยทางหลวงหมายเลข 13.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและปากซัน · ดูเพิ่มเติม »

แขวงสาละวัน

ละวัน (ສາລະວັນ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงบอละเวนทางตอนใต้ของประเทศ ชื่อของแขวงสาละวันมาจากบริเวณที่ตั้งเมืองสาละวันมีต้นฮังหรือต้นรังเป็นจำนวนมาก ต้นรังในภาษาบาลีเรียกว่า สาละ ส่วนคำว่า วัน แปล ว่าป่าไม้ ดังนั้นคำว่าสาละวันจึงหมายความว่า ดินแดนแห่งป่าไม้รัง.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและแขวงสาละวัน · ดูเพิ่มเติม »

แขวงสุวรรณเขต

หวันนะเขต เชื่อมโยงมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่นของสุวรรณเขต ดูที่ สุวรรณเขต (แก้ความกำกวม) สุวรรณเขต หรือ สะหวันนะเขต (ສະຫວັນນະເຂດ สะกด สะหวันนะเขด) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศ ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับแขวงคำม่วน ทิศใต้ติดกับแขวงสาละวัน เป็นแขวงที่มีเนื้อที่ใหญ่อันดับที่ 2 รองจากแขวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและแขวงสุวรรณเขต · ดูเพิ่มเติม »

เวียงจันทน์

วียงจันทน์ (ວຽງຈັນ) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ, 102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 200,000 คน (ค.ศ. 2005) แต่ประชากรทั้งหมดที่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ เชื่อว่ามีอยู่ถึงกว่า 730,000 คน เวียงจันทน์มีชื่อที่ตั้งในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ว่า กรุงศรีสัตนาคคนหุต วิสุทธิ์รัตนราชธานีบุรีรม.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาวและเวียงจันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Thai–Lao Friendship Bridgeสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาวสะพานมิตรภาพไทย-ลาว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »