โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล

ดัชนี สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล

หัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล เป็นช่วงเวลาในช่วงยุคเหล็กและเป็นเวลาที่พบเห็นการปรากฏของจักรวรรดิต่างๆมากมายอย่างต่อเนื่อง ช่วงเวลานี้เริ่มตั้งแต่ 1000 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 1 ปีก่อนคริสตกาล.

24 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 543พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันกำแพงเมืองจีนภาษาสันสกฤตยุคเหล็กราชวงศ์ฉินลอนดอนศาสนายูดาห์ศาสนาโซโรอัสเตอร์ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลสุสานจักรพรรดิฉินที่ 1หน้าไม้อักษรกรีกอาร์คิมิดีสทฤษฎีบทพีทาโกรัสดิมอคริตัสประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรียนาฬิกาน้ำนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)เรขาคณิตเอกเทวนิยมเอราทอสเทนีส

พ.ศ. 543

ทธศักราช 543 ใกล้เคียงกับ 1 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและพ.ศ. 543 · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน

ัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน (Metropolitan Museum of Art หรือ the Met) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ตั้งอยู่ที่ทางตะวันออกของเซ็นทรัลพาร์คในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1870 พิพิธภัณฑ์เป็นเจ้าของงานศิลปะถาวรกว่าสองล้านชิ้นที่แบ่งเป็นสิบเก้าแผนก อาคารหลักมักจะเรียกสั้นๆ ว่า “the Met” เป็นหอศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหอศิลป์หนึ่งแลมีสาขาที่สองที่เล็กกว่าที่“เดอะคล็อยสเตอร์ส” ในอัพเพอร์แมนแฮตตัน ซึ่งเป็นที่ตั้งแสดงศิลปะยุคกลาง ศิลปะถาวรที่เป็นเจ้าของเป็นงานศิลปะตั้งแต่ศิลปะยุคคลาสสิกและศิลปะอียิปต์โบราณ, จิตรกรรมและประติมากรรมของจิตรกรชั้นครูจากเกือบทุกประเทศในยุโรปตะวันตก และงานสะสมศิลปะอเมริกันและศิลปะสมัยใหม่ นอกจากนั้นพิพิธภัณฑ์ก็ยังเป็นเจ้าของงานศิลปะจากแอฟริกา, เอเชีย, ศิลปะจากหมู่เกาะปาซิฟิค, ศิลปะไบเซนไทน์ และศิลปะอิสลาม นอกไปจากศิลปะแล้วพิพิธภัณฑ์ก็ยังสะสมเครื่องดนตรี, เสื้อผ้าและเครื่องตกแต่ง, อาวุธโบราณ, เสื้อเกราะและอาวุธจากทั่วโลก ภายในพิพิธภัณฑ์มีสิ่งก่อสร้างที่แสดงการตกแต่งภายในเป็นการถาวรตั้งแต่จากคริสต์ศตวรรษที่ 1 ของสมัยโรมันไปจนถึงสมัยใหม่ของสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตันก่อตั้งในปี ค.ศ. 1870 โดยกลุ่มชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งรวมทั้งนักธุรกิจและนักการเงินและผู้นำศิลปินและนักคิดในสมัยนั้นผู้ที่ประสงค์จะก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ที่นำศิลปะและการศึกษาศิลปะมาสู่ประชาชนอเมริกัน พิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1872 ในปี..

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน · ดูเพิ่มเติม »

กำแพงเมืองจีน

ราชวงศ์ฉิน กำแพงเมืองจีน ("ฉางเฉิง", Great Wall of China) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัย ราชวงศ์ฉิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจาก ชาวฮัน หรือ ซฺยงหนู คำว่า ซฺยงหนู บางทีก็สะกดว่า ซุงหนู หรือ ซวงหนู ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับอารยธรรมจีนในยุคต้นๆ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว (ราว 400 ปีก่อนคริสตกาล) เนื่องจากจะเข้ามารุกรานจีนตามแนวชายแดนทางเหนือ ในสมัยราชวงค์ฉิน ได้สั่งให้สร้างกำแพงหมื่นลี้ตามชายแดน เพื่อป้องกันพวกซยงหนูเข้ามารุกรานและพวกเติร์กจากทางเหนือ หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ ("ว่านหลี่ฉางเฉิง") สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ว่านักโบราณคดีได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือ "กำแพงเมืองจีน" อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ และนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ยุคกลาง ด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและกำแพงเมืองจีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเหล็ก

หล็ก เกิดหลังจากยุคสำริดสิ้นสุดลงในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เหล็กในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต ยุคต่อมาหลังยุคเหล็ก คือ สมัยโบราณ.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและยุคเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฉิน (Qin Dynasty; 秦朝) หรือจิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง พ.ศ. 323–พ.ศ. 338 (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ.) ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐและทำสงครามกันอยู่เนืองๆ ต่อมากษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ คนไทยจึงออกเสียงเพี้ยนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 322–พ.ศ. 333 ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงใน พ.ศ. 337 อ๋องแห่งรัฐฉิน ได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก และสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ นั่นเอง นครหลวงอยู่ที่เมืองเสียนหยาง (หรือซีอานในปัจจุบัน) ฉินอ๋องได้หาชื่อใหม่ให้ตนเอง เนื่องจากเห็นว่า ตนสามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ คำว่า อ๋อง ไม่ยิ่งใหญ่พอ จึงได้เลือกคำว่า หวงตี้ (ฮ่องเต้) ซึ่งแปลว่า "เจ้าแผ่นดิน หวาง หรือ อ๋อง แปลว่า เจ้า ตี๋ลี่ หรือ ตี้ แปลว่า แผ่นดิน" มาใช้ แล้วเรียกชื่อตน ตามชื่อราชวงศ์ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้เรียกตัวเองว่า "เจิ้น" (เดิมเรียกว่า "กู") เป็นการเปิดฉากโอรสแห่งสวรรค์ครองเมือง มีการปฏิรูประบบตัวอักษร ระบบชั่ง, ตวง, วัด (เช่น เพลารถ) ให้เหมือนกันทั้งประเทศ (สำหรับตัวอักษรนั้น อ่านออกเสียงต่างกันได้ แต่จะต้องเขียนเหมือนกัน เช่นเลข 1 เขียนด้วยขีดแนวนอนขีดเดียว จีนกลางออกเสียงว่า "อิ๊" แต่แต้จิ๋วอ่านว่า "เจ๊ก") และแบ่งการปกครองเป็นระบบจังหวัด, อำเภอ นับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ต่อมาฉินซีฮ่องเต้ได้ให้ขุนศึกเหมิงเถียนหรือเม่งเถียน ยกทัพไปปราบชนเผ่าซ่งหนู (เฉียนหนู) แล้วก่อสร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน ฉินซีฮ่องเต้ ได้ชื่อว่า เป็นทรราชที่โหดร้ายทารุณมาก ปกครองด้วยความเฉียบขาด อำมหิต กล่าวกันว่า แค่มีคนจับกลุ่มคุยกัน ก็จะถูกจับไปประหารทันที ข้อหาให้ร้ายราชสำนัก มีการยัดเยียดข้อหาแล้วประหารทั้งโคตร การประหารมีทั้งตัดหัว, ตัดหัวเสียบประจาน หรือ "ห้าม้าแยกร่าง" (เอาเชือกมัดแขนขาไว้กับม้าหรือรถม้า 5 ทิศ แล้วให้ม้าควบไป ฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ) และกรณีที่อื้อฉาวมากคือ การเผาตำราสำนักขงจื๊อ แล้วจับบัณฑิตสำนักขงจื๊อสังหารหมู่ ด้วยการเผาทั้งเป็น, ฝังทั้งเป็น หรือฝังดินแล้วตัดหัว แม้แต่รัชทายาทฝูซู (พระโอรสองค์โต) ยังถูกเนรเทศไปชายแดน ไป "ช่วย" เหมิงเถียนสร้างกำแพงเมืองจีน ด้วยข้อหา ขัดแย้งกับพระองค์ จึงมีคนหาทางปลงพระชนม์ตลอดเวลา แม้แต่พระสหายที่สนิทก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังกลัวความตายมาก พยายามเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะมาทุกวิถีทาง แต่สุดท้าย ฉินซีฮ่องเต้ก็ป่วยหนัก และสิ้นพระชนม์ลง ในระหว่างที่ออกตามหายาอายุวัฒนะ ในแดนทุรกันดารนั่นเอง และได้มีพระราชโองการเรียกฝูซู รัชทายาทกลับมา เพื่อสืบราชบัลลังก์ (โอรสองค์นี้มีนิสัยอ่อนโยนกว่าบิดา และยังเก่งกาจอีกด้วย จึงเป็นที่คาดหวังจากราษฎรเป็นอย่างมาก) แต่หูไห่ โอรสอีกองค์ ได้ร่วมมือกับเจ้าเกา ขันทีและอัครเสนาบดี และหลี่ซือ ปลอมราชโองการ ให้ฝูซูและเหมิงเถียนฆ่าตัวตาย แล้วตั้งหูไห่เป็นฮ่องเต้องค์ถัดมา เรียกว่า พระเจ้าฉินที่สอง หรือฉินเอ้อซื่อ ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม แต่ไร้สามารถ ผิดกับพระบิดา แถมยังอยู่ใต้การชักใยของขันทีเจ้าเกา ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มจม หูไห่ได้ใช้เงินทองจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้างสุสานของฉินซีฮ่องเต้ และยังรีดภาษีจากราษฎรอีก ทำให้ประชาชนก่อกบฏขึ้น ในเวลานั้น มีกบฏอยู่หลายชุด มีข้อตกลงกันว่า หากใครบุกเข้าทางกวนจง ของราชวงศ์ฉินได้ก่อน จะได้เป็นใหญ่ หลิวปัง ได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น และได้ผู้ช่วยมือดีมา 3 คน คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ มาช่วยในการวางแผนรบ และประสานงานต่างๆ จึงโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ โดยเจ้าเกาได้ฆ่าหลี่ซือ ปลงพระชนม์หูไห่ แล้วตั้งจื่ออิง หลานของหูไห่เป็นฮ่องเต้แทน แต่เจ้าเกาก็ถูกจื่ออิงฆ่าตาย จื่ออิงยอมสวามิภักดิ์ต่อหลิวปัง เวลาเดียวกัน เซี่ยงอี้ ได้ละเมิดข้อตกลง โดยตั้งตัวเป็นซีฉู่ป้าอ๋อง หรือฌ้อป้าอ๋อง (แปลว่า อ๋องแห่งแคว้นฉู่ ที่ยิ่งใหญ่เหนืออ๋องอื่นๆ ว่ากันว่า เซี่ยงอี้นิยมสงคราม และคิดจะทำให้แผ่นดินแตกแยก กลับไปสู่ยุคจ้านกว๋ออีกครั้ง) เซี่ยงอี้ได้เผาพระราชวังอาฝางกงของฉินซีฮ่องเต้ ปลงพระชนม์จื่ออิง แล้วสู้รบกับหลิวปัง การสู้รบได้ยืดเยื้ออยู่นาน เซี่ยงอี้คิดจะแบ่งแผ่นดินปกครองกับหลิวปัง แต่ในที่สุด หลิวปังได้ยกทัพเข้าสู้รบขั้นเด็ดขาด ทำให้เซี่ยงอี้ต้องฆ่าตัวตายในที่สุด เรื่องราวสมัยราชวงศ์ฉิน มีอยู่ในวรรณกรรมไซ่ฮั่น ซึ่งกล่าวถึงการสิ้นสุดราชวงศ์ฉินและการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น ปัจจุบัน ราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นราชวงศ์แรกของจีน ด้วยมีหลักฐานทางโบรารคดีและประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการมากที่สุดและแผ่นดินก็ยงได้ถูกรวมเป็นหนึ่งครั้งแรก และยกให้ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนด้วย ด้วยคำว่า "China" ในภาษาอังกฤษ หรือคำว่า "จีน" ในภาษาไทยก็ล้วนเพี้ยนมาจากคำว่าฉินนี้ทั้งสิ้น หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ฉิน หมวดหมู่:ยุคเหล็ก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 323 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและราชวงศ์ฉิน · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาโซโรอัสเตอร์

ฟาร์วาฮาร์ สัญลักษณ์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism) เป็นศาสนาและปรัชญาศาสนาอิหร่านเอกเทวนิยมโบราณอย่างหนึ่ง เคยเป็นศาสนาแห่งรัฐจักรวรรดิอะคีเมนิด พาร์เธียและแซสซานิด ประมาณจำนวนศาสนิกโซโรอัสเตอร์ทั่วโลกปัจจุบันอยู่ระหว่างประมาณ 145,000 คนเมื่อประมาณ..

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและศาสนาโซโรอัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล

ตวรรษ: ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล - คริสต์ศตวรรษที่ 1 ทศวรรษ: 90 80 70 60 50 40 30 20 10 0 ก่อนคริสตกาล ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล อยู่ระหว่าง 100 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 1 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล · ดูเพิ่มเติม »

ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล

ตวรรษ: ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล ทศวรรษ: 190 180 170 160 150 140 130 120 110 100 ก่อนคริสตกาล ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล อยู่ระหว่าง 200 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 101 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล · ดูเพิ่มเติม »

ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล

ตวรรษ: ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ทศวรรษ: 290 280 270 260 250 240 230 220 210 200 ก่อนคริสตกาล ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล อยู่ระหว่าง 300 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 201 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล · ดูเพิ่มเติม »

สุสานจักรพรรดิฉินที่ 1

นฉินสื่อหวง (ฉินสื่อหวงปิงหมาหย่ง แปลว่า หุ่นทหารและม้าของฉินสื่อหวง) คือ ฮวงซุ้ยของจักรพรรดิจีนฉินสื่อหวงแห่งราชวงศ์ฉิน ตั้งอยู่ที่ตำบลหลินถง ห่างจากเมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน สุสานฉินสื่อหวงได้ค้นพบโดยบังเอิญเมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 โดยชาวนาในหมู่บ้านซีหยาง ชื่อ หยางจื้อฟา ในขณะที่ขุดดินเพื่อทำบ่อน้ำ บริเวณเชิงเขาหลีซาน ห่างจากตัวเมืองซีอาน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 35 กม.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและสุสานจักรพรรดิฉินที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

หน้าไม้

ก็ตช์โดย เลโอนาโด ดาวินชี ประมาณ ค.ศ. 1500 หน้าไม้ เป็นอาวุธอันประกอบด้วยคันศรติดตั้งบนด้าม และยิงกระสุนวิถีโค้ง ที่มักเรียกว่า bolt หรือ quarrel หน้าไม้ในยุคกลางมีชื่อเรียกหลายชื่อ ซึ่งส่วนมากมีรากศัพท์มาจากคำว่า ballista ซึ่งเป็นเครื่องบิดที่มีรูปลักษณ์คล้ายกับหน้าไม้ ในประวัติศาสตร์ หน้าไม้มีบทบาทสำคัญในการสงครามเอเชียตะวันออก ยุโรป และเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบัน หน้าไม้ใช้ในกีฬา การล่าสัตว.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและหน้าไม้ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อาร์คิมิดีส

อาร์คิมิดีส (Αρχιμήδης; Archimedes; 287-212 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักฟิสิกส์ และวิศวกรชาวกรีก เกิดเมื่อ287 ปีก่อนคริสตกาล ในเมืองซีรากูซา ซึ่งในเวลานั้นเป็นนิคมท่าเรือของกรีก แม้จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของเขาน้อยมาก แต่เขาก็ได้รับยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบรรดานักวิทยาศาสตร์ชั้นนำในสมัยคลาสสิก ความก้าวหน้าในงานด้านฟิสิกส์ของเขาเป็นรากฐานให้แก่วิชา สถิตยศาสตร์ของไหล, สถิตยศาสตร์ และการอธิบายหลักการเกี่ยวกับคาน เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมเครื่องจักรกลหลายชิ้น ซึ่งรวมไปถึงปั๊มเกลียว (screw pump) ซึ่งได้ตั้งชื่อตามชื่อของเขาด้วย ผลการทดลองในยุคใหม่ได้พิสูจน์แล้วว่า เครื่องจักรที่อาร์คิมิดีสออกแบบนั้นสามารถยกเรือขึ้นจากน้ำหรือสามารถจุดไฟเผาเรือได้โดยอาศัยแถบกระจกจำนวนมาก อาร์คิมิดีสได้รับยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล เช่นเดียวกับ นิวตัน เกาส์ และ ออยเลอร์ เขาใช้ระเบียบวิธีเกษียณ (Method of Exhaustion) ในการคำนวณพื้นที่ใต้เส้นโค้งพาราโบลาด้วยการหาผลรวมของชุดอนุกรมอนันต์ และได้ค่าประมาณที่ใกล้เคียงที่สุดของค่าพาย เขายังกำหนดนิยามแก่วงก้นหอยของอาร์คิมิดีส ซึ่งได้ชื่อตามชื่อของเขา, คิดค้นสมการหาปริมาตรของรูปทรงที่เกิดจากพื้นผิวที่ได้จากการหมุน และคิดค้นระบบสำหรับใช้บ่งบอกถึงตัวเลขจำนวนใหญ่มาก ๆ อาร์คิมิดีสเสียชีวิตในระหว่างการล้อมซีราคิวส์ (ราว 214-212 ปีก่อนคริสตกาล) โดยถูกทหารโรมันคนหนึ่งสังหาร ทั้ง ๆ ที่มีคำสั่งมาว่าห้ามทำอันตรายแก่อาร์คิมิดีส ซิเซโรบรรยายถึงการเยี่ยมหลุมศพของอาร์คิมิดีสซึ่งมีลูกทรงกลมจารึกอยู่ภายในแท่งทรงกระบอกเหนือหลุมศพ เนื่องจากอาร์คิมิดีสเป็นผู้พิสูจน์ว่า ทรงกลมมีปริมาตรและพื้นที่ผิวเป็น 2 ใน 3 ส่วนของทรงกระบอกที่บรรจุทรงกลมนั้นพอดี (รวมพื้นที่ของฐานทรงกระบอกทั้งสองข้าง) ซึ่งนับเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาในทางคณิตศาสตร์ ขณะที่ผลงานประดิษฐ์ของอาร์คิมิดีสเป็นที่รู้จักกันดี แต่งานเขียนทางด้านคณิตศาสตร์กลับไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก นักคณิตศาสตร์จากอเล็กซานเดรียได้อ่านงานเขียนของเขาและนำไปอ้างอิง ทว่ามีการรวบรวมผลงานอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในช่วง ค.ศ. 530 โดย ไอซิดอร์ แห่งมิเลตุส (Isidore of Miletus) ส่วนงานวิจารณ์งานเขียนของอาร์คิมิดีสซึ่งเขียนขึ้นโดย ยูโตเซียส แห่งอัสคาลอน (Eutocius of Ascalon) ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ช่วยเปิดเผยผลงานของเขาให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเป็นครั้งแรก ต้นฉบับงานเขียนของอาร์คิมิดีสหลงเหลือรอดผ่านยุคกลางมาได้ไม่มากนัก แต่ก็เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ในยุคเรอเนสซองส์ ปี..

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและอาร์คิมิดีส · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส: ผลรวมของพื้นที่ของสี่เหลี่ยมสองรูปบนด้านประชิดมุมฉาก (''a'' และ ''b'') เท่ากับพื้นที่ของสี่เหลี่ยมบนด้านตรงข้ามมุมฉาก (''c'') ในวิชาคณิตศาสตร์ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส แสดงความสัมพันธ์ในเรขาคณิตแบบยุคลิด ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือ ในแง่ของพื้นที่ กล่าวไว้ดังนี้ ทฤษฎีบทดังกล่าวสามารถเขียนเป็นสมการสัมพันธ์กับความยาวของด้าน a, b และ c ได้ ซึ่งมักเรียกว่า สมการพีทาโกรัส ดังด้านล่าง โดยที่ c เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก และ a และ b เป็นความยาวของอีกสองด้านที่เหลือ ทฤษฎีบทพีทาโกรัสตั้งตามชื่อนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก พีทาโกรัส ซึ่งถือว่าเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีบทและการพิสูจน์ แม้จะมีการแย้งบ่อยครั้งว่า ทฤษฎีบทดังกล่าวมีมาก่อนหน้าเขาแล้ว มีหลักฐานว่านักคณิตศาสตร์ชาวบาบิโลนเข้าใจสมการดังกล่าว แม้ว่าจะมีหลักฐานหลงเหลืออยู่น้อยมากว่าพวกเขาปรับให้มันพอดีกับกรอบคณิตศาสตร.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและทฤษฎีบทพีทาโกรัส · ดูเพิ่มเติม »

ดิมอคริตัส

มอคริตัส (Democritus; Δημόκριτος, Dēmokritos) (ราว 460 ก่อน ค.ศ. – ราว 370 ก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีก เขาเป็นสาวกผู้ทรงอิทธิพลของโสกราตีส (Socrates) และเป็นศิษย์ของลูซิปปัส (Leucippus) ผู้ตั้งทฤษฎีอะตอมBarnes (1987).

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและดิมอคริตัส · ดูเพิ่มเติม »

ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย

วาดในจินตนาการของประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย หรือ ประภาคารแห่งอเล็กซานเดรีย (Pharos of Alexandria, Lighthouse of Alexandria, คำว่าฟาโรสในภาษากรีก (Φάρος) แปลว่าประภาคาร) เป็นประภาคารโบราณซึ่งจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนเกาะฟาโรส เมืองอเล็กซานเดรีย ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สร้างประมาณ 270 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในรัชสมัยพระเจ้าปโตเลมีที่ 1 โดยสถาปนิกชื่อ โซสเตรโตส ตัวประคาภารมีความสูงเท่าใดไม่แน่ชัด แต่อยู่ในระหว่าง 200-600 ฟุต (ขนาดพอ ๆ กับ เทพีเสรีภาพ) สร้างด้วยหินอ่อนแกะสลัก มีตะเกียงขนาดใหญ่บนยอด นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าในเวลากลางวันจะปล่อยควัน ในเวลากลางคืนจะเป็นแสงไฟสว่างที่เห็นได้จากระยะไกล ซึ่งยังไม่ทราบว่าใช้วิธีใดในการจุดไฟและส่องแสง บ้างก็สันนิษฐานว่าใช้กระจกในการส่องแสง บ้างก็เชื่อว่า สามารถส่องแสงได้ถึง 4 ทาง แต่บางส่วนก็เชื่อว่า ส่องแสงได้เพียงแค่ 2 ทางเท่านั้น ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย มีอายุอยู่ได้ยาวนานถึง 1,600 ปี จนกระทั่งในประมาณศตวรรษที่ 13-14 เกิดแผ่นดินไหวทำให้ประภาคารพังลงมา ในปี ค.ศ. 1994 นักโบราณคดีได้ดำน้ำสำรวจบริเวณปากอ่าวอเล็กซานเดรีย พบหลักฐานของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นซากชิ้นส่วนของประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย ซึ่งบางส่วนเป็นหินที่หนักถึง 70 ตันและเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

นาฬิกาน้ำ

นาฬิกาน้ำ คำว่า clepsydra มีรากศัพท์มาจากคำว่า clep ซึ่งมีความหมายว่า ขโมย และคำว่า sydra ที่หมายถึง น้ำ) ชาวกรีกโบราณใช้หลักการทำงานโดยการใช้ภาชนะดินเผาบรรจุน้ำ และเมื่อถูกเจาะมาที่ก้น น้ำจะค่อย ๆ ไหลออกทีละเล็ก ทีละน้อย เหมือนกับการขโมยน้ำ โดยชาวกรีกกำหนดระยะเวลาที่น้ำไหลออกจากภาชนะจนหมดว่า 1 clepsydra แต่นาฬิกาน้ำจะต้องทำการเติมน้ำใหม่ทุกครั้งที่หมดเวลา 1 clepsydra และไม่สามารถใช้ในช่วงฤดูหนาวได้เนื่องจากน้ำจะแข็งตัว.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและนาฬิกาน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เรขาคณิต

รขาคณิต (Geometry; กรีก: γεωμετρία; geo.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและเรขาคณิต · ดูเพิ่มเติม »

เอกเทวนิยม

อกเทวนิยมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 364 (Monotheism มาจากภาษาμόνος, monos - เดียว, และ θεός, theos - เทพ) คือความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว หรือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว (ไม่ทรงแบ่งภาค) แนวคิดเอกเทวนิยมแบบบริสุทธิ์พบในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ส่วนแบบอ่อนพบในศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ ลัทธิซาเบียน นิกายมอรมอน และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดูในบางสำนัก.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและเอกเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เอราทอสเทนีส

เอราทอสเทนีส (Ἐρατοσθένης; Eratosthenes) เป็นนักภูมิศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งภูมิศาสตร์” (father of geography) เนื่องจากว่า ระหว่างที่ปราชญ์ท่านอื่นให้ความสนใจต่อการบรรยายทางภูมิศาสตร์อยู่นั้น เอราทอสเทนีส เป็นคนแรกที่ใช้คำว่าภูมิศาสตร์และเรียกตัวเองว่าเป็นนักภูมิศาสตร์ (geographer) และจากการสังเกตพบว่างานทางภูมิศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งหลายไม่ได้เกิดจากนักภูมิศาสตร์ที่แท้จริง นอกจากนี้ปราชญ์ผู้ศึกษาปรากฏการณ์เองก็ไม่ได้มีเป้าหมายในการอธิบายในเชิงภูมิศาสตร์ กล่าวกันว่า เขามีแนวทางในการศึกษาโดยมุ่งเน้นว่า โลกเป็นที่อยู่อาศัยของมวลมนุษย์ โดยเป็นคนแรกที่ค้นคิดหาวิธีการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ต่างได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของที่ตั้งของเทหะวัตถุบนท้องฟ้า หรือจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลกกับการเคลื่อนที่ของเทหะวัตถุ ทั้งนี้ การคิดค้นระบบเส้นกริดอย่างหยาบๆ ของ เอราทอสเทนีส ทำโดยการแบ่งโลกออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเส้นสมมุติลากผ่านเมืองสำคัญและลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่น ระบบเส้นกริดนี้ใช้เป็นกรอบสำหรับสร้างแผนที่และการกำหนดที่ตั้ง ทำให้แผนที่มีความถูกต้องยิ่งขึ้น เอราทอสเทนีสได้รับการศึกษาหลากหลายสาขา เป็นต้นว่า นิรุกติศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา เชื่อกันว่าเขาได้เข้าศึกษาทั้งใน academy ของ Plato และ Lyceam ของ Aristotle เขาเกิดในอาณาจักรกรีกที่ Cyrene ในลิเบีย ต่อมาจึงย้ายไปอยู่ในเอเธนส์ ในปี 244 ก่อนคริสตกาล เขาได้รับเชิญจากกษัตริย์อียิปต์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้สอนส่วนพระองค์ (royal tutor) และต่อมาได้เข้าทำงานใน Alexandria ศูนย์รวมวิทยากรสมัยกรีก ในฐานะหัวหน้างานบรรณารักษ์ นานถึง 42 ปี (ระหว่าง ปี 234 – 192 ก่อนคริสตกาล) ชื่อเสียงของ เอราทอสเทนีส ขจรกระจายอย่างกว้างขวาง เนื่องจากการยอมรับว่าโลกกลม และเขาพยายามคำนวณเส้นรอบโลก หรือ วงกลมใหญ่ และผลการคำนวณใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด กล่าวคือ คำนวณได้ 25,000 ไมล์ คาดเคลื่อนไปเพียง 140 ไมล์เท่านั้น วิธีการคำนวณนั้นเขาได้สังเกตตำแหน่งของพระอาทิตย์ ณ บริเวณ 2 จุด คือ Syene และ Alexandria ในช่วง Summer solstice (วันที่ 21 มิถุนายน วันนี้มีแสงตั้งฉากของพระอาทิตย์จะขึ้นไปได้ไกลที่สุดในซีกโลกเหนือ และจะตกลงที่ลติจูด 23 องศาเหนือ ทุกส่วนในซีกโลกเหนือที่เหนือแนว arctic circle จะเป็นเวลากลางวัน 24 ชั่วโมง ส่วนในซีกโลกใต้ต่ำกว่าแนว antarctic circle จะเป็นเวลากลางคืน 24 ชั่วโมง ผลที่เกิดขึ้นในแต่ละลติจูดจะทำให้เส้นแบ่งเวลากลางวัน–กลางคืน ไม่เท่ากัน) ณ เมือง Syene หรือ Aswan บนเกาะแห่งหนึ่งในแม่น้ำไนล์ บริเวณพระอาทิตย์สะท้อนขึ้นมาจากน้ำก้นบ่อ เหตุการณ์เกิดขึ้นมาช้านานโดยไม่มีนักเดินทางคนใดเป็นพยานได้ เพราะขาดความสนใจ ลักษณะเช่นนี้แสดงว่า พระอาทิตย์ส่องแสงลงมาตรงหัวพอดี ในเวลาเที่ยงวัน และตำแหล่งที่สองที่เขาสังเกตคือ บริเวณนอกพิพิธภัณฑ์ใน Alexandria ซึ่งมีอนุสาวรีย์ยอดแหลมตั้งอยู่ และเขาก็สามารถใช้อนุสาวรีย์แทน gnomon แล้ววัดความยาวของเงาอนุสาวรีย์ช่วงเที่ยงวันของ summer solstice เพื่อคำนวณมุมระหว่างยอดอนุสาวรีย์กับทิศทางของแสงพระอาทิตย์ ด้วยข้อมูลเหล่านี้ เอราทอสเทนีส ใช้หลักการเรขาคณิตของ thales ข้อที่สาม เกี่ยวกับเส้นคู่ขนานและมุมตรงข้าม ด้วยการสร้างเส้นคู่ขนานสมมุติขึ้นจากทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้นโลกในวันนั้น ลำแสงอาทิตย์ ณ เมือง Syene จะตั้งตรง ซึ่งเขาโยงไปยังแกนกลางโลก (SC) ส่วนที่เมือง Alexandria ฐานของอนุสาวรีย์จะชี้ไปยัง (BOC) จะต้องมีค่าเท่ากับมุมตรงข้าม ณ ศูนย์กลางโลก (OCS) คำถามต่อไปคือมุม OCS มีค่าเป็นเท่าไรของวงกลม เอราทอสเทนีส วัดระยะทางนี้ได้ 1/50 ของวงกลม โดยระยะทางระหว่าง Syene และ Alexandria (WO) ชาวอียิปต์วัดได้ 5,000 stades ดังนั้น เขาจึงวัดเส้นรอบโลกได้เท่ากับ 50×5,000 หรือ 250,000 stades โดย 10 stades เท่ากับ 1 ไมล์ ดังนั้นความยาวของเส้นรอบโลกของเขา จึงเท่ากับ 25,000 ไมล์ ซึ่งถือกันว่าใกล้กลับความจริงมากที่สุดเท่าที่มีการวัดมาของปราชญ์กรีกโบราณ ทั้งนี้เพราะเส้นรอบโลกวัดจากขั้นโลกเท่ากับ 24,860 ไมล์ อย่างไรก็ดีระยะทางระหว่างเมือง Syene กับAlexandria ที่แท้จริงเท่ากับ 453 ไมล์ เอราทอสเทนีส เขียนหนังสือบรรยายถึงดินแดนที่มนุษย์ สามารถอาศัยอยู่ได้ หรือ ekumene (เอราทอสเทนีส เชื่อว่า ดินแดนที่มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ได้แผ่ขยายจากเมือง Thule ทางเหนือลงมาถึง Taproban (Ceylon หรือศรีลังกา) ทางใต้ ส่วนทางตะวันตกเริ่มจากมหาสมุทรแอตแลนติคไปถึงอ่าวเบงกอลทางตะวันออก) ซึ่งเขายอมรับว่ามีอยู่จริง และยังได้แบ่งโลกออกเป็นสามส่วนคือ ยุโรป เอเชีย และลิเบีย นอกจากนี้ยังยอมรับการแบ่งส่วนของโลกออกเป็น 5 ส่วนที่ Aristotle เสนอไว้ ได้แก่ เขตร้อน (torrid zone) เขตอบอุ่น 2 เขต (two temperate zone) และเขตหนาวเย็น 2 เขต (two frigid zone) เขาได้เสนอแนะเพิ่มเติม โดยใช้คณิตศาสตร์เข้าช่วยในการกำหนดเขตดังกล่าว กล่าวคือ เขตร้อนนั้น เขาคิดว่ามีความกว้างประมาณ 48 องศา โดยอยู่ระหว่างลติจูด 24 องศาเหนือ–ใต้ เขตหนาวเย็นกระจายอยู่ที่ขั้วโลกราว 24 องศา หรือตั้งแต่ลติจูด 84 องศาเหนือ–ใต้ขึ้นไป ขณะที่เขตอบอุ่นเป็นเขตที่อยู่ตรงกลางระหว่างลติจูด 24–89 องศาเหนือใต้ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิด 276 ปีก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ หมวดหมู่:ชาวกรีกโบราณ หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก.

ใหม่!!: สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและเอราทอสเทนีส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »