โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์

ดัชนี สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์

มเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์ (Jadwiga of Poland) (3 ตุลาคม 1373 - 17 กรกฎาคม 1399) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรโปแลนด์ ต้งแต่ปี 1384 จนถึงการสวรรคตของพระองค์ พระองค์เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 1 แห่งฮังการีกับสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธแห่งบอสเนีย พระองค์เป็นที่รู้จักในภาษาโปแลนด์ในพระนามว่า เจดวิกา ในภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมันว่า เฮ็ดวิก ยุโรปในช่วงเวลานั้นการครองราชย์ของพระราชินีนาถค่อนข้างไม่ใช่เรื่องที่ปกติ พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการของประเทศโปแลนด์Hedvigis Rex Polonie: M. Barański, S. Ciara, M. Kunicki-Goldfinger, Poczet królów i książąt polskich, Warszawa 1997, also Teresa Dunin-Wąsowicz,.

14 ความสัมพันธ์: บูดอพระเจ้าววาดือสวัฟที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์กรากุฟภาษาอังกฤษภาษาโปแลนด์ภาษาเยอรมันมหาวิหารวาเวลราชอาณาจักรฮังการีราชอาณาจักรโปแลนด์ (ค.ศ. 1385-1569)รายพระนามพระมหากษัตริย์โปแลนด์สมเด็จพระราชินีนาถตระกูลกาแปประเทศโปแลนด์เอลิซาเบธแห่งบอสเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งฮังการีและโปแลนด์

บูดอ

ปราสาทบูดอ บูดอ (Buda) หรือ โอเฟิน (Ofen) เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของกรุงบูดาเปสต์ (บูดอเปชต์) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศฮังการี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดานูบ ชื่อเมืองตั้งตามเบลดาประมุขชาวฮั่นที่มีเป็นภาษาฮังการีว่า "บูดอ" โรมันตั้งชื่อเมืองนี้ว่า "อากวินกุม" (Aquincum) บูดอมีเนื้อที่หนึ่งในสามของบูดาเปสต์ที่เป็นบริเวณที่เป็นป่าโปร่งและเนิน และมักจะเป็นบริเวณที่มีความเป็นอยู่ดีกว่าทางฝั่งตะวันออกแต่ก็ขึ้นอยู่กับบริเวณ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดที่เห็นได้เด่นชัดคือปราสาทบูดอบนเนินซิทาเดลลา (Citadella).

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และบูดอ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าววาดือสวัฟที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์

กลา หรือ พระเจ้าววาดือสวัฟที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์He is known under a number of names: Jogaila Algirdaitis; Władysław II Jagiełło; Jahajła (Ягайла) (Jogaila) (ราว ค.ศ. 1362 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1434) โยไกลาเป็นแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียและต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ โยไกลาปกครองลิทัวเนียตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และพระเจ้าววาดือสวัฟที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กรากุฟ

กรากุฟ (Kraków) หรือ คราเคา (Krakow หรือ Cracow) เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองและเก่าแก่ที่สุดในโปแลนด์และเป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมของนักท่องเที่ยวเขตเมืองเก่าได้รับการบรรจุอยู่ในรายชื่อมรดกโลก เมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวิสตูลาในจังหวัดมาวอปอลสกา (เลสเซอร์โปแลนด์) เมืองมีที่มาตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 7The Municipality Of Kraków Press Office, 1996–2007, in participation with ACK Cyfronet of the AGH University of Science and Technology, กรากุฟเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางชั้นนำอย่างมีแบบแผนของสถาบันการศึกษาโปแลนด์ วัฒนธรรมและชีวิตศิลปะ และยังเป็นหนึ่งเมืองศูนย์กลางสำคัญด้านธุรกิจของโปแลนด์ เป็นเมืองหลวงของโปแลนด์ระหว่างปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และกรากุฟ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปแลนด์

ษาโปแลนด์ (język polski, polszczyzna) คือภาษาทางการของประเทศโปแลนด์ ภาษาโปแลนด์เป็นภาษาหลักของแขนงเลกิติกของภาษากลุ่มสลาวิกตะวันตก มีต้นกำเนิดมาจากพื้นที่ของโปแลนด์ ในปัจจุบันจากภาษาท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะที่พูดใน Greater Poland และ Lesser Poland ภาษาโปแลนด์เคยเป็นภาษากลาง (lingua franca) ในพื้นที่ต่างๆ ของยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก เนื่องจากอิทธิพลทางการเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการทหารของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ในปัจจุบันภาษาโปแลนด์ไม่ได้ใช้กันกว้างขวางเช่นนี้ เนื่องจากอิทธิพลของภาษารัสเซีย อย่างไรก็ดี ยังมีคนพูดหรือเข้าใจภาษาโปแลนด์ในพื้นที่ชายแดนทางตะวันตกของยูเครน เบลารุส และลิทัวเนีย เป็นภาษาที่สอง อักษรที่ใช้ในภาษาโปแลน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และภาษาโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารวาเวล

มหาวิหารวาเวล (Wawel Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า อัครอาสนมหามหาวิหารหลวงนักบุญสตานิสลาฟและนักบุญวาสลาฟบนเนินเขาวาเวล (Bazylika archikatedralna św.) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำอัครมุขมณฑลกรากุฟ ตั้งอยู่บนเนินเขาวาเวลที่เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ เป็นอาสนวิหารที่มีประวัติเก่าแก่ยืดยามมาร่วมหนึ่งพันปี และมักจะเป็นสถานที่พระมหากษัตริย์โปแลนด์ทำพิธีราชาภิเษก สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันที่เป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นอาสนวิหารที่สามที่สร้างขึ้นบนตำแหน่งเดียวกันนี้ อาสนวิหารแรกสร้างขึ้นและถูกทำลายในคริสต์ศตวรรษที่ 11 มหาวิหารที่สองที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถูกทำลายในเพลิงไหม้ในปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และมหาวิหารวาเวล · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฮังการี

ราชอาณาจักรฮังการี หรือเรียกสั้นๆ ว่า ฮังการี (Kingdom of Hungary, Magyar Királyság) มีชื่อเต็มว่า “ราชอาณาจักรแห่งพระมหามงกุฎอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเซนต์สตีเฟน” (A magyar Szent Korona országai) เริ่มก่อตั้งราชอาณาจักรขึ้นราว..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และราชอาณาจักรฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรโปแลนด์ (ค.ศ. 1385-1569)

ราชอาณาจักรโปแลนด์ หรือ ราชอาณาจักรโปแลนด์แห่งยากีลโล (Królestwo Polskie, Kingdom of Poland หรือ Kingdom of Poland of the Jagiellons) เป็นราชอาณาจักรโปแลนด์ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อโยไกลา แกรนด์ดยุคแห่งลิทัวเนียขึ้นครองราชบัลลังก์โปแลนด์ในปี ค.ศ. 1385 พระราชบัญญัติสหภาพเครโวรวมราชอาณาจักรโปแลนด์เดิมและอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งลิทัวเนียภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน การรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรได้รับการยืนยันอีกครั้งในพระราชบัญญัติสหภาพลูบลินในปี ค.ศ. 1569 ที่ไม่นานนักก็ตามด้วยการสิ้นสุดการครองราชบัลลังก์โปแลนด์โดยราชวงศ์ยากีลโล (Jagiellon dynasty) ที่ดำเนินมาราวสองร้อยปี และราชวงศ์เจดิมินิด (Gediminids dynasty) ผู้ครองลิทัวเนียมาราวสี่ร้อยปี.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และราชอาณาจักรโปแลนด์ (ค.ศ. 1385-1569) · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์โปแลนด์

ปแลนด์ถูกปกครองโดยผู้ปกครองที่มีพระยศต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นดยุค (คริสต์ศตวรรษที่ 10-14)หรือพระมหากษัตริย์(คริสต์ศตวรรษที่ 10-18) ในภายหลังพระยศ พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ (ในภายหลังควบรวมพระยศแกรนด์ดยุคแห่งลิทัวเนียด้วย) กลายเป็นตำแหน่งที่เลือกตั้งมาโดยขุนนางและสภา โดยการคัดเลือกจะมาจากขุนนางชาวโปแลนด์-ลิทัวเนียหรือเจ้านายต่างชาติ อำนาจของกษัตริย์โปแลนด์นั้นแตกต่างจากกษัตริย์ในอาณาจักรอื่น กล่าวคือในขณะที่กษัตริย์ในอาณาจักรอื่น (เช่นฝรั่งเศสและคาสตีล) สามารถรวบอำนาจจากขุนนางเข้าสู่ศูนย์กลางได้ หรือถูกจำกัดพระราชอำนาจ (เช่นอังกฤษ) กษัตริย์โปแลนด์กลับไม่ทรงมีพระราชอำนาจอันใดเลย บทความนี้รวบรวมรายพระนามผู้ปกครองในตำแหน่ง "ดยุคแห่งชนโปล", "ดยุคแห่งโปแลนด์ใหญ่, "ดยุคแห่งโปแลนด์น้อย, เจ้าชายแห่งโปแลนด์และ "พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์" ด้ว.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และรายพระนามพระมหากษัตริย์โปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถ

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยแบบรัฐสภา สมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) คือ พระมหากษัตริย์หญิงผู้ครองราชสมบัติด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง ต่างจาก "สมเด็จพระราชินี" (Queen Consort) ซึ่งเป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติ และไม่ทรงมีอำนาจในการบริหารราชกิจของบ้านเมืองอย่างเป็นทางการใด ๆ โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์มีทั้ง "สมเด็จพระราชาธิบดี" (King Regnant) และ "พระมหากษัตริย์พระราชสวามี" (King Consort) แต่เกิดขึ้นได้ยาก และมีการใช้พระอิสริยยศเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ ระบอบราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงครองราชบัลลังก์ พระสวามีของพระองค์จะไม่ได้มีพระอิสริยยศเป็นพระราชา แต่เป็นเพียงแค่ชั้นเจ้าชายเท่านั้น พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระสวามีคนที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชสวามีในอาณาจักรของพระองค์เอง แต่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของพสกนิกรและการอภิเษกสมรสกินเวลาเพียงไม่นาน พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระราชินีนาถแห่งชาวสก็อต ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์ที่ปกครองร่วมกันเป็น พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ และที่ 1 แห่งไอร์แลนด์ แต่ถือเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองร่วมกันครั้งเดียว และเป็นทางการที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ แต่หลังจากนั้นมา พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถในประเทศอังกฤษได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายพระราชสวามี" (Prince Consort) (มีเพียงคนเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งพระอิสริยยศนี้อย่างเป็นทางการคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถจะเกิดขึ้นเมื่อลำดับการสืบราชบัลลังก์เอื้ออำนวย วิธีการสืบราชสมบัติ (เป็นพระมหากษัตริย์ หัวหน้าเผ่า ฯลฯ) และรวมถึงการแต่งตั้ง (พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา หรือ คณะมนตรีแต่งตั้งรัชทายาท) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติก่อนที่สุด (primogeniture) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติหลังที่สุด (ultimogeniture) ขอบเขตในการสืบราชสมบัติอาจยึดจากสายทางพระชนก สายทางพระชนนีหรือทั้งสองฝ่าย หรือที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น (เมื่อถึงคราวจำเป็น) มาจากการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการสืบราชสมบัติโดยตามเพศ อาจจะให้ทั้งชายและหญิง จำกัดแต่เพศชายเท่านั้น หรือจำกัดแต่เพศหญิงเท่านั้น การสืบราชบัลลังก์ที่เป็นแบบแผนมากที่สุดตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นแบบการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดา (male-preference primogeniture) กล่าวคือ ลำดับการสืบราชบัลลังก์อยู่ในบรรดาพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ตามลำดับการประสูติก่อนแล้วจึงตามมาด้วยของพระราชธิดา ในบางอาณาจักรทางประวัติศาสตร์ห้ามมิให้มีการสืบราชสมบัติโดยผู้หญิงหรือผ่านทางเชื้อสายของผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางแห่งที่ยังคงยึดถือหลักเกณฑ์นี้ตามกฎหมายแซลิก ดังตัวอย่างเช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก แต่เมื่อกษัตริย์ดัตช์พระองค์สุดท้ายเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2433 และสืบราชบัลลังก์ต่อมาโดยพระราชธิดา กฎหมายแซลิกจึงไม่ยอมให้ลักเซมเบิร์กยอมรับพระองค์ในฐานะเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองตามพระราชสิทธิของพระองค์เอง เช่นเดียวกับตอนที่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระองค์ไม่ได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งแฮโนเวอร์ด้วย ถึงแม้ว่าสมเด็จพระปิตุลาธิราชของพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ของทั้งสองประเทศมาก่อน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ได้แก้ไขพระราชบัญญัติการสืบราชบัลลังก์จากการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดามาเป็นมีสิทธิสืบราชสมบัติเท่ากันตามลำดับการประสูติโดยไม่จำกัดเรื่องเพศ ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงอาจยังไม่ส่งผลอะไรมากมายจนกว่ารุ่นต่อจากรุ่นปัจจุบันเกิดขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดตำแหน่งของบุคคลที่อยู่ในลำดับการสืบราชบัลลังก์มาก่อน โดยเฉพาะในพระอิสริยยศพิเศษ.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และสมเด็จพระราชินีนาถ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลกาแป

นตนาการของอูก กาแปผู้เป็นต้นตระกูลกาแป ตระกูลกาแป หรือ สายตรงจากราชวงศ์กาเปเซียง (Les Capétiens หรือ la Maison capétienne) หรือบางครั้งก็เรียกว่า "ตระกูลฝรั่งเศส" (la maison de France) หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า "กาแป" เป็นประมุขผู้ปกครองราชอาณาจักรฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 987 ถึง ค.ศ. 1328 เป็นสาขาที่อาวุโสที่สุดของผู้ที่สืบเชื้อสายจากราชวงศ์กาเปเซียง - ที่เป็นเชื้อสายที่มาจากตระกูลรอแบร์ ในฐานะประมุขของฝรั่งเศสตระกูลกาแปสืบการปกครองต่อจากตระกูลการอแล็งเฌียง ชื่อของตระกูลมาจากพระนามเล่นของอูก พระมหากษัตริย์กาเปเซียงองค์แรกที่รู้จักกันในพระนามว่า "อูก กาแป" (Hugues Capet) ตระกูลกาแปมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1328 เมื่อไม่มีพระราชโอรสองค์ใดในสามองค์ของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 ที่สามารถมีทายาทสืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศสได้ เมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 4 เสด็จสวรรคตราชบัลลังก์จึงตกไปเป็นของราชวงศ์วาลัวผู้สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากชาร์ลแห่งวาลัว พระราชโอรสองค์รองในพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ต่อมาราชบัลลังก์ก็ตกไปเป็นของราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์ออร์เลอ็อง ทั้งสองราชวงศ์สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 9) ซึ่งต่างก็สืบเชื้อสายไม่ทางใดทางหนึ่งก็มาจาก "อูก กาแป".

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และตระกูลกาแป · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลิซาเบธแห่งบอสเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งฮังการีและโปแลนด์

อลิซาเบธแห่งบอสเนีย (ราวค.ศ. 1339 – มกราคม ค.ศ. 1387) เป็นสมเด็จพระราชินีและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งราชอาณาจักรฮังการีและราชอาณาจักรโครเอเชีย และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรโปแลนด์ เป็นพระธิดาในบานสตีเฟนที่ 2 แห่งบาเนทบอสเนีย เอลิซาเบธอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 1 แห่งฮังการีในปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์และเอลิซาเบธแห่งบอสเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งฮังการีและโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »