โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลี

ดัชนี สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลี

นธิสัญญาฉบับฮิตไทต์ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลี หรือ สนธิสัญญาคาเดซ มีการลงนามและให้สัตยาบันระหว่างศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล ระหว่างฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 แห่งอียิปต์ และกษัตริย์ฮัททูซิลีที่ 2 แห่งฮิตไทต์ จุดประสงค์ของข้อตกลงนี้คือสร้างและรักษาความสัมพันธ์อย่างสันติระหว่างทั้งสองฝ่าย มันเป็นความตกลงที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันจากตะวันออกใกล้Barker, Craig J. International Law and International Relations.

7 ความสัมพันธ์: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2อัสซีเรียตะวันออกใกล้ประเทศตุรกีประเทศซีเรียแม่น้ำออรอนตีสไฮเออโรกลีฟอียิปต์

ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2

แรเมซีสที่ 2 หรือ แรมซีสที่ 2 (url หรือ Ramses II; ประสูติ ราว 1303 ปีก่อนคริสตกาล; สวรรคต กรกฏาคมหรือสิงหาคม 1213 ปีก่อนคริสตกาล; เสวยราชย์ 1279–1213 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 1276–1210 ปีก่อนคริสตกาล) สมัญญา แรเมซีสมหาราช (Ramesses the Great) เป็นฟาโรห์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ที่ 19 ของจักรวรรดิอียิปต์ เป็นกษัตริย์ที่ถือกันว่า ยิ่งใหญ่ ทรงอำนาจ และมีชื่อเสียงมากที่สุดของอียิปต์ ผู้ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์และชนอียิปต์รุ่นหลังขนานนามพระองค์ว่า มหาบรรพชน (Great Ancestor) ส่วนเอกสารกรีกออกนามพระองค์ว่า โอซีแมนเดียส (Ozymandias) ซึ่งมาจากการทับศัพท์ชื่อรัชกาลพระองค์ในภาษาอียิปต์ คือ Usermaatre Setepenre ("ความยุติธรรมของรานั้นทรงพลานุภาพ — ผู้ได้รับเลือกแห่งรา") ออกเป็นภาษากรีก ขณะที่พระองค์มีพระชนม์ได้ 14 ชันษา ฟาโรห์เซติที่ 1 (Seti I) พระบิดาของพระองค์ ทรงตั้งพระองค์เป็นเจ้าชายผู้สำเร็จราชการ (Prince Regent)Putnam (1990) พระองค์ทรงยกทัพเข้าลิแวนต์ (Levant) หลายครั้งเพื่ออ้างย้ำซึ่งอำนาจของอียิปต์ในการปกครองเคนัน (Canaan) ทั้งมีการยกพลลงใต้ไปนิวเบีย (Nubia) โดยจารึกไว้เป็นอนุสรณ์ไว้ที่เบตเอล-วาลี (Beit el-Wali) และเกิร์ฟฮุสเซน (Gerf Hussein) หลังขึ้นเสวยราชย์แล้ว ต้นรัชกาล เน้นการสร้างบ้านแปงเมือง ก่ออารามวิหาร สถาปนาอนุสรณ์สถาน ในการนี้ พระองค์ทรงตั้งเมืองเพีย-ราเมส (Pi-Ramesses) ขึ้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมไนล์ (Nile Delta) ให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของพระองค์ และเป็นฐานที่มั่นเตรียมการศึก รัชกาลของพระองค์ยังมีการฉลองเทศกาลเซด (sed festival) ถึง 14 ครั้ง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ และมากครั้งกว่าฟาโรห์พระองค์อื่นใด ตามธรรมเนียมแล้ว เทศกาลดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อกษัตริย์เสวยราชสมบัติครบ 30 ปี จากนั้นก็จัดอีกทุก 3 ปี เชื่อกันว่า พระองค์ขึ้นสู่ราชสมบัติเมื่อพระชนมายุเข้าสู่ปลายวัยรุ่นแล้ว เป็นที่รับรู้กันว่า ทรงปกครองอียิปต์ตั้งแต่ 1279 ถึง 1213 ปีก่อนคริสตกาล นักบวชแมนีโท (Manetho) ระบุว่า พระองค์ทรงครองราชย์ 66 ปี 2 เดือน นักวิทยาการอียิปต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เชื่อว่า พระองค์ขึ้นครองราชย์วันที่ 31 พฤษภาคม 1279 ปีก่อนคริสตกาล โดยอ้างอิงวันขึ้นครองราชย์ที่ตรวจทราบได้ว่า คือ วัน 27 ฤดูเก็บเกี่ยว 3 (III Shemu day 27) ส่วนพระชนม์ขณะสวรรคตนั้นมีการประมาณแตกต่างกันไป โดย 90 หรือ 91 ชันษาน่าจะเป็นไปได้ที่สุด เมื่อสวรรคตแล้ว พระศพของพระองค์ฝังไว้ที่หลุมแห่งหนึ่งในหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ภายหลัง ย้ายไปฝังยังอีกหลุมหนึ่ง ที่ซึ่งค้นพบใน..

ใหม่!!: สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลีและฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อัสซีเรีย

อัสซีเรีย หรือ จักรวรรดิอัสซีเรีย (Assyria หรือ Assyrian Empire) เป็นอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่แม่น้ำไทกริสในเมโสโปเตเมีย (อิรัก) ที่มามีอำนาจปกครองจักรวรรดิเป็นช่วงๆ หลายครั้งในประวัติศาสตร์ “อัสซีเรีย” เป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อเมืองหลวงเดิม “อัสเซอร์” (Assur) (Aššur; أشور; אַשּׁוּר) นอกจากนั้นคำว่า “อัสซีเรีย” ก็ยังหมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์หรือดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิด้วย ระหว่างสมัยอัสซีเรียเก่าระหว่างศตวรรษที่ 20 ถึง 15 ก่อนคริสต์ศักราชอัสเซอร์มีอำนาจในบริเวณส่วนใหญ่ของเมโสโปเตเมียเหนือ ในยุคกลางของอัสซีเรียระหว่างศตวรรษที่ 15 ถึง 10 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจของอัสซีเรียก็เสื่อมโทรมลง แต่ต่อมาก็สามารถกู้ดินแดนที่เสียไปคืนได้ในชัยชนะที่ได้รับหลายครั้ง เมื่อมาถึงสมัยจักรวรรดิอัสซีเรียในยุคเหล็กตอนต้นระหว่างปี 911 ถึง 612 ก่อนคริสต์ศักราชอัสซีเรียก็ขยายอำนาจไกลออกไป และภายใต้การปกครองของอัสเชอร์บานิปาล (Ashurbanipal) (ปกครอง 668 – 627 ก่อนคริสต์ศักราช) อัสซีเรียก็ปกครอง Fertile Crescent ทั้งหมด รวมทั้งอียิปต์จนกระทั่งมาพ่ายแพ้เมื่อจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ และเปอร์เชียขยายอำนาจ และในที่สุดก็มาล่มสลายเมื่อราชวงศ์ชาลเดียของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ปล้นทำลายเมืองนิเนเวห์ในปี 612 ก่อนคริสต์ศักร.

ใหม่!!: สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลีและอัสซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกใกล้

ตะวันออกใกล้ในบริบททางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ตะวันออกใกล้ (Near East) เป็นคำที่มีความหมายกำกวมที่ครอบคลุมกลุ่มประเทศที่ต่างกันระหว่างนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ฝ่ายหนึ่ง และนักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้สื่อข่าวอีกฝ่ายหนึ่ง เดิมคำว่า "ตะวันออกใกล้" หมายถึงรัฐในคาบสมุทรบอลข่านทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป แต่ในปัจจุบันมักจะหมายถึงประเทศในบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอิหร่านโดยเฉพาะในบริบททางประวัติศาสตร์ คำว่า “ตะวันออกใกล้” ที่ใช้โดยนักโบราณคดี นักภูมิศาสตร์ และ นักประวัติศาสตร์ยุโรปหมายถึงบริเวณที่รวมทั้งอานาโตเลีย (บริเวณตุรกีที่อยู่ในเอเชีย), บริเวณเลแวนต์ (ซีเรีย, เลบานอน, จอร์แดน, ไซปรัส, อิสราเอล และดินแดนในปาเลสไตน์ (Palestinian territories)), เมโสโปเตเมีย (อิรัก) และคอเคซัสใต้ (จอร์เจีย, อาร์มีเนีย และอาเซอร์ไบจาน) แต่ในบริบททางการเมืองและการสื่อข่าว "ตะวันออกใกล้" หมายถึงจะรวมบริเวณที่กว้างกว่าของตะวันออกกลาง ขณะที่คำนี้หรือคำว่าเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นคำที่นิยมมากกว่าในบริบทของการศึกษาทางโบราณคดี ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษย์วิทยา และพันธุศาสตร์ของประชากร.

ใหม่!!: สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลีและตะวันออกใกล้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลีและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลีและประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำออรอนตีส

แม่น้ำออรอนตีส (Orontes River) หรือ อาซี (العاصي, ตุรกี: Asi) เป็นแม่น้ำในประเทศเลบานอน ซีเรีย และตุรกี มีต้นน้ำอยู่ในหุบเขาเบกาในประเทศเลบานอน ไหลไปทางเหนือ ลงสู่บริเวณตะวันตกของเทือกเขาแอนติ-เลบานอน ผ่านเมืองฮอมส์และฮะมะ โค้งไปทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านทางตอนใต้ของประเทศตุรกีที่เมืองฮาไต ผ่านเมืองอันตาเกีย ลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่เมืองซามันดัก หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศเลบานอน หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศซีเรีย หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศตุรกี หมวดหมู่:แม่น้ำนานาชาติในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลีและแม่น้ำออรอนตีส · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

ออโรกลีฟอียิปต์ (Egyptian hieroglyphs) เป็นระบบการเขียนที่ชาวอียิปต์โบราณใช้อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยอักษร (alphabet) และสัญรูป (logograph) อักขระในระบบไฮเออโรกลีฟอียิปต์นี้ยังสัมพันธ์กับอักขระอียิปต์อีก 2 ชุด คือ อักขระไฮเออแรติก (hieratic) และอักขระดีมอติก (demotic) ไฮเออโรกลีฟอียิปต์แบบหวัดนั้นมักใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนาลงบนแผ่นไม้และแผ่นพาไพรัส ไฮเออโรกลีฟอียิปต์ยุคแรกย้อนหลังไปได้ไกลถึง 3,300 ปีก่อน..

ใหม่!!: สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลีและไฮเออโรกลีฟอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Egyptian–Hittite peace treatyสนธิสัญญารามเสส-ฮัททูซิลีสนธิสัญญาคาเดซ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »