โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาปัตยกรรมทิวดอร์

ดัชนี สถาปัตยกรรมทิวดอร์

้านนอกของชาเปลคิงส์คอลเลจ สถาปัตยกรรมทิวดอร์ หรือ แบบทิวดอร์ (Tudor style architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นขั้นตอนสุดของสถาปัตยกรรมของยุคกลางที่เกิดขึ้นใน “สมัยทิวดอร์” ระหว่าง ค.ศ. 1485 จนถึง ค.ศ. 1603 และเลยไปกว่านั้นสำหรับผู้สร้างที่ยังคงเป็นอนุรักษนิยม สถาปัตยกรรมทิวดอร์สืบต่อมาจากสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษและตามมาด้วยสถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของผู้มีอันจะกิน แต่ลักษณะการก่อสร้างแบบทิวดอร์ก็มิได้สูญหายไปจนหมดสิ้นและยังคงเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่ยังคงเป็นที่นิยมกันในอังกฤษ ส่วนต่อเติมของวิทยาลัยต่างๆ ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ยังคงสร้างแบบทิวดอร์ที่คาบเกี่ยวกับลักษณะเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมทิวดอร์ก็ได้แก่โค้งทิวดอร์ซึ่งเป็นโค้งแป้น, หน้าต่างมุขโอเรียล (oriel window) ที่เป็นมุขยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้างกรุด้วยหน้าต่างกระจก, บัวที่แผ่กว้างออกไป และ ใบไม้ดอกไม้ตกแต่งที่ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่กระนั้น “แบบทิวดอร์” ก็ยังเป็นงานที่ยังมีลักษณะค่อนข้างแข็งอยู่ ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมทิวดอร์ในสกอตแลนด์ก็ได้แก่วิทยาลัยคิงส์, อเบอร์ดีน.

29 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2028พ.ศ. 2146พระราชวังแฮมป์ตันคอร์ตพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษกรีนิชกลอสเตอร์เชอร์การยุบอารามมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์สมัยทิวดอร์สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษสถาปัตยกรรมเอลิซาเบธหน้าต่างมุขโอเรียลห้องโถงเอกอิฐฮาร์ตฟอร์ดเชอร์คฤหาสน์มอนทาคิวต์คอเวนทรีตรีเอกภาพปล่องไฟนอร์ฟอล์กนอตทิงแฮมเชอร์โรมันคาทอลิกเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เอสเซกซ์เคนต์เตาอิฐ

พ.ศ. 2028

ทธศักราช 2028 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และพ.ศ. 2028 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2146

ทธศักราช 2146 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และพ.ศ. 2146 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังแฮมป์ตันคอร์ต

ระราชวังแฮมป์ตันคอร์ต (Hampton Court Palace) เป็นพระราชวังหลวงที่ตั้งอยู่ที่ลอนดอนบะระห์แห่งริชมอนด์อัพพอนเทมส์ 18.8 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงใต้ของชาริงครอสในกรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักร และเหนือใจกลางลอนดอนบนฝั่งแม่น้ำเทมส์ เป็นพระราชวังที่ไม่ได้ใช้ประทับโดยพระราชวงศ์อังกฤษมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 พระราชวังเดิมสร้างสำหรับพระคาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์ ข้าราชสำนักคนโปรดในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ราวปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และพระราชวังแฮมป์ตันคอร์ต · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ (Henry VII of England) (28 มกราคม ค.ศ. 1457 – 21 เมษายน ค.ศ. 1509) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์ทิวดอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1509.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

กรีนิช

หอดูดาวหลวงกรีนิช กรีนิช (Greenwich) เป็นเขตการปกครองของลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ เป็นที่ตั้งของหอดูดาวหลวงกรีนิชระหว่างปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

กลอสเตอร์เชอร์

กลอสเตอร์เชอร์ (Gloucestershire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน กลอสเตอร์เชอร์ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของค็อตสวอลล์, ลุ่มแม่น้ำเซเวิร์นและฟอเรสต์ออฟดีนทั้งหมด กลอสเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเกว้นท์ในเวลส์ และมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์, มณฑลวอริคเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลวิลท์เชอร์, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท และมณฑลบริสตอลในอังกฤษ ในฐานะมณฑลบริหารกลอสเตอร์เชอร์ไม่รวมเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ที่มีการปกครองระบบการบริหารเป็นของตนเอง กลอสเตอร์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: กลอสเตอร์, ทูคสบรี, เชลท์แนม, ค็อตสวอลล์, สเตราด์, ฟอเรสต์ออฟดีน (ดิสตริคท์)ฟอเรสต์ออฟดีน และเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ โดยมีกลอสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล นอกจากกลอสเตอร์ก็ยังมีเมืองหลักอื่นๆ เช่นเชลท์แนม, สเตราด์, ไซเร็นเซสเตอร์ และทูคสบรี กลอสเตอร์เชอร์มีเนื้อที่ 3,150 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 839,000 คน ถัวเฉลี่ย 266 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และกลอสเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การยุบอาราม

อดีตกลาสตันบรีแอบบีย์ การยุบอาราม (Dissolution of the Monasteries; Suppression of the Monasteries) เป็นกระบวนการตามกฎหมายและการปกครองในช่วง ค.ศ. 1538 ถึงปี ค.ศ. 1541 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษโปรดให้ยุบอาราม ไพรออรี คอนแวนต์ และไฟรอารี ในประเทศอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์ ตามอำนาจใน “พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา” อนุมัติโดยรัฐสภาเมื่อปี ค.ศ. 1534 ซึ่งระบุให้พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษเป็น “ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ” (Supreme Head of the Church in England) ซึ่งถือเป็นการแยกตัวออกมาจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างเป็นทางการ และโดย “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 1 (ค.ศ. 1536)” และ “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 2 (ค.ศ. 1539)” การยุบอารามในอังกฤษเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองหนึ่งเพื่อต่อต้านคริสตจักรโรมันคาทอลิกซึ่งเริ่มคุกรุ่นอยู่ในทวีปยุโรปขณะนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์จาก แต่เหตุผลการแยกตัวจากนิกายโรมันคาทอลิกของอังกฤษมิใช่ข้อขัดแย้งทางปรัชญาทางศาสนาดังเช่นในประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส หรือ โบฮีเมีย แต่เป็นเหตุผลส่วนพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และการยุบอาราม · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกและยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า อ๊อกซบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College)หมายถึง คณะที่เป็นที่อยู่ของนักศึกษาจากหลายสาขาวิชา นักศึกษาจะพักอาศัยกินอยู่และทบทวนวิชาเรียนในคณะอาศัย แต่การเรียนการทำวิจัยต้องทำในคณะวิชา จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอแรม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยทิวดอร์

มัยทิวดอร์ (Tudor period) มักจะกล่าวถึงช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1603 โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษ โดยมีพระเจ้าเฮนรีที่ 7เป็นปฐมกษัตริย์ สมัยทิวดอร์เรียกอย่างกว้างๆ ที่รวมรัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แต่รัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธก็ถือว่าอีกสมัยหนึ่งต่างหากที่เป็นสมัยเอลิซ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และสมัยทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก

วัดโวทิฟ (Votivkirche) เป็นวัดกอทิกใหม่ที่ เวียนนา หอวิคตอเรียที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Victoria Tower, Palace of Westminster) ลอนดอน รายละเอียดกอทิกโดยออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก (Neo-Gothic architecture หรือ Gothic Revival architecture) หรีอ สถาปัตยกรรมวิกตอเรีย (Victorian architecture) เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ

ท้องพระโรงเวสต์มินสเตอร์ที่เป็นเพดานแบบ “hammerbeam roof” ภาพจากคริสต์ศตวรรษที่ 18 สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ (English Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองขึ้นในอังกฤษระหว่างราวปี ค.ศ. 1180 ถึงราวปี ค.ศ. 1520 ลักษณะของสถาปัตยกรรมกอทิกของอังกฤษก็เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมกอทิกของส่วนอื่น ๆ ในยุโรป ที่บ่งลักษณะได้จากการใช้ซุ้มโค้งแหลม, เพดานโค้งแหลม, ค้ำยัน, หน้าต่างกว้างและสูง และหอหรือหลังคาที่เป็นยอดแหลม (spire) สถาปัตยกรรมกอทิกเข้ามาในอังกฤษจากฝรั่งเศส เมื่อองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีลักษณะที่เรียกว่า “กอทิก” ได้รับการสร้างรวมกันในวัดเดียวที่บาซิลิกาแซงต์เดอนีส์นอกกรุงปารีสเป็นครั้งแรกโดยแอบบ็อตซูแกร์ ที่ได้รับการสถาปนาในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ

หาสน์ฮาร์ดวิคฮอลล์ ค.ศ. 1590- ค.ศ. 1597 ลักษณะเด่นคือหน้าต่างกระจกที่เป็นซี่หินซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์แบบอังกฤษขณะที่มีหอทัศนาแบบอิตาลี คฤหาสน์เบอห์ลีย์สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1587 โรเบิร์ต สมิธสัน สถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ (Elizabethan architecture) หมายถึงลักษณะสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ตอนต้นของอังกฤษที่รุ่งเรืองในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งตรงกับสมัยซิงเคเชนโตในอิตาลี หรือสมัยสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ตอนต้นของฝรั่งเศส หรือ Plateresque style ในสเปน สถาปัตยกรรมเอลิซาเบธสืบต่อมาจากสถาปัตยกรรมทิวดอร์และตามมาด้วยสถาปัตยกรรมพาลเลเดียนที่ริเริ่มโดยอินิโก โจนส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์มาถึงอังกฤษระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ จากบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำที่นำเอาลักษณะ “หน้าจั่วบันได” หรือ “หน้าจั่วดัตช์” และแถบตกแต่ง (Strapwork) แบบฟลานเดอร์สที่เป็นลายเรขาคณิตที่ใช้ตกแต่งผนังเข้ามาด้วยเข้ามาด้วย ลักษณะทั้งสองอย่างดังกล่าวปรากฏในงานสร้างคฤหาสน์โวลลาทันฮอลล์ และ ที่คฤหาสน์มองตาคิวท์ ในช่วงเดียวกันนี้สถาปัตยกรรมอังกฤษก็เริ่มรับรูปแบบของสถาปัตยกรรมอิตาลีในการสร้างระเบียงแล่นยาวที่ใช้เป็นบริเวณสำหรับเป็นห้องรับรอง ในอังกฤษสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์มักจะออกมาในรูปของสิ่งก่อสร้างสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เช่นคฤหาสน์ลองลีท สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มักจะมีหอที่มีลักษณะเป็นสมมาตรที่เป็นนัยยะของการวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมการสร้างป้อมปราการในสมัยกลาง คฤหาสน์แฮ็ทฟิลด์ที่สร้างโดยโรเบิร์ต เซซิล เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 1 ระหว่าง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และสถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ · ดูเพิ่มเติม »

หน้าต่างมุขโอเรียล

หน้าต่างมุข หรือ หน้าต่างมุขโอเรียล (Oriel window) คือมุขหน้าต่าง (Bay window) ประเภทหนึ่งที่มักจะพบในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทิวดอร์ และ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกที่ลอยตัวยื่นออกมาจากตัวสิ่งก่อสร้างและไม่จรดพื้น การยึดและรับน้ำหนักของหน้าต่างมุขก็มักจะใช้คันทวย หรือ แท่นยัน หน้าต่างมุขโอเรียลมักจะประกอบกับการสร้างโค้งทิวดอร์ หน้าต่างประเภทนี้มักจะใช้กับสถาปัตยกรรมวิคตอเรียแบบสถาปัตยกรรมควีนแอนน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และหน้าต่างมุขโอเรียล · ดูเพิ่มเติม »

ห้องโถงเอก

ห้องโถงเอก (Great hall) คือห้องหลักของปราสาท, พระราชวัง, วัง หรือ คฤหาสน์มาเนอร์ขนาดใหญ่ในยุคกลาง และในคฤหาสน์ชนบทที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในขณะนั้น “Great” ในคำว่า “Great hall” มีความหมายว่า “ใหญ่” และยังมิได้หมายถึงความเป็น “เอก” เช่นในนัยยะของความหมายที่ใช้กันในปัจจุบัน ในยุคกลางห้องโถงเอกก็จะเรียกกันเพียงว่า “ห้องโถง” เท่านั้นนอกไปเสียจากว่าสิ่งก่อสร้างนั้นจะมีห้องโถงมากกว่าหนึ่งห้อง แต่คำว่า “ห้องโถงเอก” เป็นคำที่ใช้สำหรับห้องโถงประเภทนี้มาเป็นเวลาหลายร้อยปี เพื่อที่จะแยกจากห้องโถงประเภทอื่นที่สร้างขึ้นในสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นหลังยุคกลาง ห้องโถงเอกมักจะพบในฝรั่งเศส, อังกฤษ และ สกอตแลนด์ แต่ห้องที่มีลักษณะดังว่าก็พบในประเทศอื่นๆ บางประเทศในยุโรปด้วย ลักษณะของห้องโถงเอกโดยทั่วไปมักจะเป็นห้องสี่เหลี่ยมระหว่างที่ยาวหนึ่งครึ่งถึงสามเท่าของความกว้าง และจะสูงกว่าความกว้าง ทางเข้าก็จะ “ทางเดินที่เป็นฉาก” ทางด้านหนึ่งของห้อง หน้าต่างจะอยู่ทางด้านยาวของตัวห้อง และมักจะรวม มุขหน้าต่าง และเหนือทางเข้าบางครั้งก็จะมีระเบียงนักดนตรี ด้านตรงกันข้ามของห้องยกขึ้นเป็นยกพื้นเป็นที่ตั้งของโต๊ะของประมุขของเจ้าของสถานที่และแขกสำคัญๆ ห้องส่วนตัวของเจ้าของและครอบครัวก็จะอยู่ถัดออกไปจากบริเวณนี้ ส่วนครัว, ห้องเก็บสุรา และ ห้องเก็บอาหารอยู่ตรงกันข้ามกับทางเข้า ในยุคกลางผู้เป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆ มักจะมีห้องพักผ่อนเพียงไม่กี่ห้อง ฉะนั้นห้องโถงเอกจึงเป็นห้องสารพัดประโยชน์ ที่ใช้เป็นสถานที่รับแขก และสถานที่ที่สมาชิกในครอบครัวมากินอาหารร่วมกัน ที่จะรวมทั้งเจ้าของบ้าน, ผู้รับใช้ชั้นสูงและชั้นรองบางคน ในเวลากลางคืน สมาชิกในบ้านก็อาจจะใช้เป็นที่หลับที่นอนด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และห้องโถงเอก · ดูเพิ่มเติม »

อิฐ

การผลิตอิฐโดยทั่วไป จะผสม ดินเหนียว แกลบ ทราย และน้ำ นวดให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว กดใส่ลงในแบบพิมพ์ แล้วนำเข้าเตาเผาสำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุเพิ่ม เช่น หินเกร็ด สำหรับอิฐประดับ เป็นต้น นอกจากนี้อิฐพิเศษบางประเภทอาจใช้กรรมวิธีการอัดเข้าแม่พิมพ์ด้วยแรงกดสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการป้องกันความร้อน และทนความชื้นได้สูง อิฐโปร่ง หรืออิฐกลวง เป็นวัสดุก่อที่มีส่วนผสมในการผลิต เช่นเดียวกับอิฐสามัญ แต่ภายในจะเจาะรู หรือทำช่องภายในให้กลวง เพื่อให้มีน้ำหนักเบา กำแพงก่อด้วยอิฐมอญ อิฐ เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานสำหรับการก่อสร้างอาคารทั่วไป อิฐแบบธรรมดาผลิตจากส่วนผสมของดินเหนียว ทราย แกลบ และน้ำ สำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุพิเศษเพิ่มเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และอิฐ · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์

ปราสาทฮาร์ตฟอร์ดในฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ หรือ ฮาร์ตฟอร์ดเชียร์ (Hertfordshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์และมณฑลนอกเมโทรโพลิตันที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอังกฤษโดยมีฮาร์ตฟอร์ดเป็นเมืองหลวง ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์เป็นหนึ่งในมณฑลรอบนครลอนดอนที่มีเขตแดนติดกับนครลอนดอนและปริมณฑล, บัคคิงแฮมเชอร์, เบดฟอร์ดเชอร์, เคมบริดจ์เชอร์ และ เอสเซ็กซ์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์มีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองเกิดของสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 4.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์มอนทาคิวต์

หาสน์มอนทาคิวต์ (Montacute House) เป็นคฤหาสน์ชนบทที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านมอนทาคิวต์ในซัมเมอร์เซต สหราชอาณาจักร คฤหาสน์มอนทาคิวต์ก่อสร้างราวปี ค.ศ. 1598 ด้วยหินแฮมให้แก่เซอร์เอดเวิร์ด เฟลิปส์ข้าราชสำนักในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 แห่งอังกฤษ โดยสันนิษฐานกันว่าวิลเลียม อาร์โนลด์เป็นสถาปนิก "คฤหาสน์มอนทาคิวต์" เป็นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในรายชื่อสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ เกรด 1 ปัจจุบันคฤหาสน์มีองค์การอนุรักษ์แห่งชาติเป็นผู้บริหาร องค์การพิทักษ์สิ่งก่อสร้างบรรยายว่าคฤหาสน์มอนทาคิวต์เป็น "สถาปัตยกรรมอันงดงามชิ้นหนึ่งของปลายสมัยเอลิซาเบท" ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และคฤหาสน์มอนทาคิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

คอเวนทรี

ทิวทัศน์เมืองคอเวนทรี คอเวนทรี (Coventry) เป็นนครที่ตั้งอยู่ที่ ในเวสต์มิดแลนด์สในอังกฤษที่มีประชากรทั้งสิ้นราว 306,000 คน (ค.ศ. 2007) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดลำดับที่ 9 ในอังกฤษ, ลำดับที่ 11 ในสหราชอาณาจักร และลำดับที่ 2 เวสต์มิดแลนด์สรองจากเบอร์มิงแฮม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และคอเวนทรี · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเอกภาพ

จิตรกรรมฝาผนัง “ตรึเอกภาพ” โดยลูคา โรสเซ็ทที (Luca Rossetti) แสดงให้เห็นพระเจ้าพระบิดา (พระยาห์เวห์) พระเจ้าพระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในรูปของนกพิราบ (ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739) ที่โบสถ์เซนต์กอเซนซิโอ ที่เมื่องอิฟเรีย ใกล้ตูริน ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือ ตรีเอกานุภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Trinity) คือภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่ปรากฏเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร (เชื่อว่ามาเกิดเป็นพระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์ (hypostatic union) ความเชื่อเรื่อง “ตรีเอกภาพ” เรียกว่า “ตรีเอกภาพนิยม” คริสตจักรเกือบทุกคริสตจักรในคริสต์ศาสนามีความเชื่อแบบ “ตรีเอกภาพนิยม” และถือว่าเป็นรากฐานของคำสอนของคริสต์ศาสนาHarris, Stephen L. (1985) Understanding the Bible Palo Alto: Mayfield.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และตรีเอกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ปล่องไฟ

บ้านซึ่งมีปล่องไฟอยู่ด้านบน ปล่องไฟของโรงงานต้มเหล้า ปล่องไฟ หรือ ปล่องควัน (chimney) เป็นโครงสร้างรูปท่อขนาดใหญ่ ซึ่งต่อออกมาจากด้านบนของบ้านพักอาศัยหรือตึกโรงงาน, เพื่อใช้ระบายควันไฟที่เกิดจากเตาผิง หม้อต้มน้ำ เตาทำอาหารในห้องครัว หรือไอเสียอื่นๆ จากกระบวนการอุตสาหกรรม ปล่องไฟ มักจะสร้างเป็นแนวดิ่ง เพื่ออาศัยประโยชน์จากการพาความร้อน ให้การไหลของอากาศพาควันไฟ (ซึ่งร้อน) ออกไปทางปล่องไฟซึ่งอยู่ด้านบน และให้อากาศบริสุทธิ์ (ซึ่งเย็น) ไหลเข้ามาทดแทนจากด้านล่าง (ข้างจุดเผาไหม้) ทำให้การเผาไหม้เป็นไปได้อย่างสะดวก, และปล่องไฟยังทำให้เขม่าควันถูกปล่อยในที่สูง ไม่ไปคละคลุ้งในบริเวณใกล้พื้นดินโดยรอบ ซึ่งผู้คนอยู่อาศัยและสัญจรไปมาอีกด้วย หมวดหมู่:ส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้าง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และปล่องไฟ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ฟอล์ก

ที่ตั้งของมณฑลนอร์ฟอล์ก นอร์ฟอล์ก หรือ นอร์เฟิก (Norfolk) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษ โดยมีนอริชเป็นเมืองหลวง นอร์ฟอล์กมีเขตแดนติดกับลิงคอล์นเชอร์ทางตะวันตก เคมบริดจ์เชอร์ทางตะวันตกและทางตะวันตกเฉียงใต้ และซัฟฟอล์กทางด้านใต้ ทางเหนือและตะวันออกติดทะเลเหนือ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และนอร์ฟอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

นอตทิงแฮมเชอร์

นอตทิงแฮมเชอร์ (Nottinghamshire เขียนย่อ “Notts”) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน นอตทิงแฮมเชอร์ ตั้งอยู่ทางภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลเซาท์ยอร์คเชอร์, มณฑลลิงคอล์นเชอร์, มณฑลเลสเตอร์เชอร์ และมณฑลดาร์บีเชอร์ นอตทิงแฮมเชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: รัชคลิฟฟ์, บร็อกซโทว์, แอชฟิล์ด, เก็ดลิง, นิวอาร์คและเชอร์วูด, แมนสฟิล์ด, บาสเซ็ทลอว์ และนอตทิงแฮม ตามธรรมเนียมแล้วนอตทิงแฮมเป็นเมืองหลวงของมณฑลแต่ปัจจุบันเมืองหลวงคือเวสต์บริดจ์ฟอร์ดบริเวณหนึ่งของปริมณฑลนอตทิงแฮม การบริหารนอตทิงแฮมเดิมเป็นส่วนหนึ่งของนอตทิงแฮมเชอร์ระหว่างปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และนอตทิงแฮมเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เดิมเป็นแอบบีย์ แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เอสเซกซ์

อสเซ็กซ์ (Essex) เป็นมณฑลหนึ่งทางตะวันออกของอังกฤษ เมืองเอกคือ เชล์มสฟอร์ด (Chelmsford) จุดที่สูงที่สุดของมณฑลนี้คือที่ Chrishall Common ใกล้กับหมู่บ้านแลงลีย์ (Langley) ซึ่งมีความสูง 144.6 เมตร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และเอสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เตาอิฐ

“เตาอิฐ” กับอุปกรณ์การหุงต้ม เตาอิฐ ในการใช้ในประวัติศาสตร์และปัจจุบันหมายถึงเตาหรือเตาอบที่ทำด้วยอิฐหรือหินที่ใช้ในการทำอาหาร และ/หรือ ทำความร้อน ในประวัติศาสตร์เตาอิฐเป็นส่วนประกอบสำคัญของบ้านและมักจะเป็นหัวใจของบ้าน “เตาอิฐ” มาจากภาษาลาตินว่า “focus” ซึ่งแปลว่าจุดศูนย์กลางหรือจุดสนใจ ความคิดนี้กลายมาเป็นวลีที่เกี่ยวกับความเป็นบ้านเช่น “hearth and home” หรือ “keep the home fires burning” ในการออกแบบเตาผิง เตาอิฐมักจะเป็นส่วนที่เห็นได้ของเตาผิงโดยการเน้นส่วนที่ยื่นออกมาและแท่นเหนือเตาผิง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมทิวดอร์และเตาอิฐ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tudor styleTudor style architectureสถาปัตยกรรมแบบทิวดอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »