โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถานีอวกาศมีร์

ดัชนี สถานีอวกาศมีร์

นีอวกาศมีร์ (Мир; โลก และ สันติภาพ) เป็นสถานีอวกาศที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของรัสเซีย และนับเป็นสถานีวิจัยถาวรระยะยาวแห่งแรกในอวกาศของมนุษยชาติ นักบินอวกาศจากหลายชาติได้ใช้งานสถานีอวกาศแห่งนี้ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ สถานีประกอบด้วยมอดูลต่าง ๆ หลายมอดูล แต่ละส่วนถูกทะยอยนำขึ้นสู่อวกาศ เริ่มจากส่วนแรกในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 จนถึงมอดูลสุดท้ายในปี พ.ศ. 2539 สถานีอวกาศมีร์หมดอายุการใช้งานและถูกเผาทำลายในบรรยากาศโลกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2544 จนกระทั่ง รัสเชีย (สหภาพโซเวียตเดิม) สามารถสร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่ที่มีความพร้อมมากกว่าเก่าสถานีอวกาศแห่งนั้นคือสถานีอวกาศมีร์ ด้วยประสบการณ์ในการพัฒนาสถานีอวกาศ Salyut Station ในช่วงปี 1971 ถึง 1982 ทำให้สถานีอวกาศแห่งใหม่ของรัสเซียมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีร์เป็นสถานีอวกาศ ที่มีส่วนประกอบหลัก 7 ส่วนโดยถูกปล่อยขึ้นวงโคจรชิ้นแรกใน เดือนกุมภาพัน..

17 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2529พ.ศ. 2539พ.ศ. 2541พ.ศ. 2544กระสวยอวกาศกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีสหภาพโซเวียตสถานีอวกาศอวกาศประเทศรัสเซียนักบินอวกาศนาทีไบโคนูร์คอสโมโดรมเวลาสากลเชิงพิกัด12 มิถุนายน19 กุมภาพันธ์23 มีนาคม

พ.ศ. 2529

ทธศักราช 2529 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1986 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และพ.ศ. 2529 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2541

ทธศักราช 2541 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1998 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และพ.ศ. 2541 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2544

ทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และพ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยอวกาศ

ลัมเบีย STS-1 พ.ศ. 2524 กระสวยอวกาศ (space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rockwell International สเปซชัทเทิลทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง กระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดยตลอด ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์ นอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB จะหมดลง และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักจึงหยุดทำงาน และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าจะถูกปล่อยตกลงสู่ทะเล เครื่องยนต์ของจรวดสองลำจะรับภาระต่อไป ซึ่งเรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจร เมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และยานจะหลุดออกจากการโคจร แล้วกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนในการกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจะป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์แล้วภารกิจก็จะจบลง.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และกระสวยอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี

STS-92, พ.ศ. 2543 (ภาพจากองค์การนาซา) กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี (Orbiter Vehicle Designation: OV-103) เป็นกระสวยอวกาศลำที่ 3 ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา หมายเลขประจำยาน คือ OV-103 (กระสวยอวกาศลำอื่นได้แก่ แอตแลนติส และ เอนเดฟเวอร์) เริ่มบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ดิสคัฟเวอรี ถือเป็นกระสวยอวกาศปฏิบัติการลำที่สาม (ไม่รวมกระสวยอวกาศ''เอนเทอร์ไพรซ์'' ซึ่งเป็นยานทดสอบ) และเป็นกระสวยอวกาศลำที่มีระยะปฏิบัติการยาวนานที่สุด ในบรรดากระสวยอวกาศทั้งหมด ดิสคัฟเวอรีมีปฏิบัติการหลายชนิด ทั้งงานวิจัย และภารกิจร่วมกับสถานีอวกาศนานาชาติ กระสวยอวกาศลำนี้ได้ชื่อมาจากเรือสำรวจหลายลำในอดีตที่ชื่อ ดิสคัฟเวอรี โดยเรือดิสคัฟเวอรีลำแรก คือ HMS Discovery ของอังกฤษ ซึ่งเป็นเรือสำรวจที่พา เจมส์ คุก เดินทางครั้งสำคัญ นอกจากนี้ยังมีเรือดิสคัฟเวอรีอื่น ๆ อีกมากมาย กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรียังมีชื่อตรงกับยานอวกาศในภาพยนตร์เรื่อง 2001: A Space Odyssey ด้วย ยานดิสคัฟเวอรีเป็นกระสวยอวกาศที่ขึ้นไปปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) รวมทั้งภารกิจซ่อมแซมกล้องฮับเบิลในครั้งที่สองและสามด้วย นอกจากนี้ยังมีภารกิจปล่อยโพร้บยูลิสซิส (Ulysses) และดาวเทียม TDRS สามดวง ยานดิสคัฟเวอรีได้รับเลือกถึงสองครั้งให้ทำหน้าที่แทนกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ และกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ที่ระเบิดเมื่อ ค.ศ. 1986 และ ค.ศ. 2003 ตามลำดั.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สถานีอวกาศ

ำลองของสถานีอวกาศนานาชาติสมบูรณ์แบบ ในปี พ.ศ. 2549 สถานีอวกาศ (Space station เป็นสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบโดยมนุษย์ เพื่อใช้เป็นที่อยู่การดำรงชีพในอวกาศ โดยอยู่ในวงโคจรต่ำ (LEO) สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) หรือ ISS เป็นห้องปฏิบัติการลอยฟ้าซึ่งโคจรรอบโลกที่ระยะสูง 410 กิโลเมตร เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 27,744 กิโลเมตร/ชั่วโมง โคจรรอบโลก 1 รอบใช้เวลา 92 นาที สร้้างขึ้นด้วยความร่วมมือจาก 16 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ญี่ปุ่น แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยียม เนเธอร์แลน์ สเปน อังกฤษ สวิสเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และบราซิล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการค้นคว้าและทดลองทางวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา วัสดุศาสตร์ ชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ เนื่องจากสถานีอวกาศอยู่ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถทำการทดลองหรือประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถกระทำบนพื้นผิวโลกได้  ดังนั้นสถานีอวกาศนานาชาติจึงมีความสำคัญต่ออนาคตของมนุษยชาติเป็นอย่างมาก.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และสถานีอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

อวกาศ

อวกาศ (outer space, หรือ space) คือ ความว่างเปล่าที่มีอยู่ระหว่างวัตถุท้องฟ้า รวมถึงโลก อวกาศมิได้ว่างเปล่าอย่างสิ้นเชิง แต่ประกอบด้วยสุญญากาศแข็งที่ประกอบด้วยอนุภาคความหนาแน่นต่ำ ซึ่งมีพลาสมาของไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก เช่นเดียวกับรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็กและนิวตริโน ปัจจุบัน การสังเกตได้พิสูจน์แล้วว่าอวกาศยังมีสสารมืดและพลังงานมืดอยู่ด้วย อุณหภูมิเส้นฐานกำหนดโดยรังสีพื้นหลังที่หลงเหลือจากบิกแบงมีค่าเพียง 2.7 เคลวิน ในทางตรงข้าม อุณหภูมิในโคโรนาของดาวฤกษ์อาจสูงถึงหนึ่งล้านเคลวิน พลาสมาที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (น้อยกว่าหนึ่งอะตอมไฮโดรเจนต่อลูกบาศก์เมตร) และอุณหภูมิสูง (หลายล้านเคลวิน) ในอวกาศระหว่างดาราจักรเป็นที่มาของสสารแบริออน (baryonic matter) ในอวกาศ ความเข้มข้นเฉพาะถิ่นรวมกันเป็นดาวฤกษ์และดาราจักร อวกาศระหว่างดาราจักรกินปริมาตรส่วนใหญ่ของเอกภพ กระนั้น แม้แต่ดาราจักรและระบบดาวฤกษ์ก็แทบเป็นอวกาศที่ว่างเปล่าสิ้นเชิง หมวดหมู่:สุญญากาศ หมวดหมู่:โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

นักบินอวกาศ

รูซ แมคแคนด์เลส 2 นักบินอวกาศชาวอเมริกัน ขณะทำงานอยู่นอกกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ เมื่อ พ.ศ. 2527 (ภาพจากองค์การนาซา) นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ ไม่ว่าจะไปในฐานะใด และไม่ว่าจะไปด้วยยานอวกาศแบบไหน ทั้งที่โคจรรอบโลก (ในระยะสูงจากพื้นราว 80-100 กิโลเมตรขึ้นไป) หรือที่เดินทางออกไปยังตำแหน่งอื่นใดนอกวงโคจรของโลก คำว่า นักบินอวกาศ ในภาษาไทย นั้น ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ว่าแอสโตรนอท (astronaut) ซึ่งมีความหมายอย่างที่กล่าวมา เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า นักบินอวกาศ ไม่ได้มีความหมายเฉพาะผู้ที่เป็นนักบิน (pilot) เท่านั้น แต่มีความหมายอย่างที่อาจเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ลูกเรืออวกาศ นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาไทยยังมีคำศัพท์อีกคำ ที่มีความหมายเช่นนี้ นั่นคือ มนุษย์อวกาศ คำว่า แอสโตรนอท ในภาษาอังกฤษนั้น มีที่มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก สองคำ คือ astro หมายถึงดวงดาว และ nautes ซึ่งหมายถึง กะลาสี ปัจจุบันมีนักบินอวกาศหลายชาติ จึงมีการสร้างคำสำหรับเรียกนักบินอวกาศของแต่ละชาติต่างๆ กัน เช่น นักบินในโครงการอวกาศของรัสเซีย เรียกว่า คอสโมนอท (cosmonaut) อันเป็นการสร้างคำจากคำศัพท์จากภาษากรีกเช่นกัน โดยใช้คำว่า kosmo ที่หมายถึง อวกาศ และคำว่า nautes ที่หมายถึง กะลาสี ส่วนในยุโรป มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ว่า สเปชันนอท (spationaut) เป็นคำประสม ระหว่าง space ในภาษาละติน (อวกาศ) และ nautes ในภาษากรีก (กะลาสี) โดยมีความหมายว่านักบินอวกาศ หรือมนุษย์อวกาศ นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีคำว่า ไทโคนอท (Taikonaut) เป็นคำศัพท์ที่คิดขึ้นใหม่ เมื่อ เดือนพฤษภาคม ปี..

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และนักบินอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

นาที

นาที อักษรย่อ น. (Minute) สมัยก่อนใช้คำว่า นาที เป็นหน่วยวัดเวลา โดยหนึ่งหน่วยเท่ากับ ของชั่วโมง.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และนาที · ดูเพิ่มเติม »

ไบโคนูร์คอสโมโดรม

"กาการินส์สตาร์ท" หนึ่งในฐานปล่อยของไบโคนูร์คอสโมโดรม แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของไบโคนูร์คอสโมโดรมในประเทศคาซัคสถาน ไบโคนูร์คอสโมโดรม (Космодром Байконур; Байқоңыр ғарыш айлағы; Baikonur Cosmodrome) หรือเรียกว่า ไทยูเรตัม (Tyuratam) เป็นศูนย์ปล่อยอวกาศยานแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของโลก ตั้งอยู่ในเขตทะเลทรายทุ่งหญ้าสเตปป์ของประเทศคาซัคสถาน ห่างจากทะเลอารัลไปทางทิศตะวันออกราว 200 กิโลเมตร ทางเหนือของแม่น้ำเซียร์ดาเรีย ใกล้กับสถานีรถไฟไทยูเรตัม ที่ความสูง 90 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล รัฐบาลรัสเซียเช่าศูนย์ดังกล่าวจากรัฐบาลคาซัคสถาน (จนถึง ค.ศ. 2050) และอยู่ภายใต้การบริหารร่วมกันขององค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียและกำลังป้องกันห้วงอากาศ-อวกาศรัสเซีย สหภาพโซเวียตสร้างศูนย์ดังกล่าวเมื่อปลายคริสต์ทศวรษ 1950 เป็นฐานปฏิบัติการโครงการอวกาศภายใต้โครงการอวกาศรัสเซียในปัจจุบัน ไบโคนูร์ยังเป็นศูนย์ที่คับคั่ง โดยมีภารกิจทางพาณิชย์ ทางทหารและทางวิทยาศาสตร์ถูกปล่อยจำนวนมากทุกปี วอสตอก 1 ยานอวกาศที่มีมนุษย์โดยสารขึ้นไปด้วยลำแรกในประวัติศาสตร์ ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศจากหนึ่งในฐานปล่อยของไบโคนูร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันว่า "กาการินส์สตาร์ท" ตามชื่อของนักบินคือ ยูริ กาการิน เช่นเดียวกับดาวเทียมดวงแรกของโลก ดาวเทียมสปุตนิก 1.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และไบโคนูร์คอสโมโดรม · ดูเพิ่มเติม »

เวลาสากลเชิงพิกัด

แผนที่โลกแสดงเขตเวลาในปัจจุบัน เวลาสากลเชิงพิกัด (Coordinated Universal Time; ตัวย่อ: UTC) คือ หน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (-) เทียบจากหน่วยเวลาสากลซึ่งเป็นระบบอ้างอิงจากเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) จุดอ้างอิงของเวลาสากลเชิงพิกัดคือที่ลองจิจูด ที่ 0° ที่ตัดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิชในกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร (และเป็นสาเหตุหลักที่เวลามาตรฐานกรีนิชยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และเวลาสากลเชิงพิกัด · ดูเพิ่มเติม »

12 มิถุนายน

วันที่ 12 มิถุนายน เป็นวันที่ 163 ของปี (วันที่ 164 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 202 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และ12 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

19 กุมภาพันธ์

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 50 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 315 วันในปีนั้น (316 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และ19 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

23 มีนาคม

วันที่ 23 มีนาคม เป็นวันที่ 82 ของปี (วันที่ 83 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 283 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สถานีอวกาศมีร์และ23 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สถานีอวกาศเมียร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »