โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง

ดัชนี สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง

งครามชเลสวิจครั้งที่สอง (2.; Deutsch-Dänischer Krieg) เป็นความขัดแย้งทางการทหารระหว่างเดนมาร์ก และ ปรัสเซีย เป็นผลพันธ์ของ ปัญหาชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์ โดยสงครามเริ่มขึ่นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1864, เมื่อ กองทัพปรัสเซียข้ามพรมแดนสู่ชเลสวิจ สงครามจบลงในวันที่ 30 ตุลาคม 1864 ด้วยความพ่ายแพ้ของเดนมาร์ก, โดยตาม สนธิสัญญาเวียนนา เดนมาร์กต้องคืนดัชชีชเลสวิก, โฮลชไตน์, และ Saxe-Lauenburg ให้กับ ปรัสเซีย และ ออสเตรี.

11 ความสัมพันธ์: พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์กการรวมชาติเยอรมันยุทธการที่ตึปเปิลราชอาณาจักรปรัสเซียสงครามชเลสวิจครั้งที่หนึ่งออทโท ฟอน บิสมาร์คฮ็อลชไตน์จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรียจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนีจักรวรรดิออสเตรียดัชชีชเลสวิจ

พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก

ระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก (ประสูติ 8 เมษายน ค.ศ. 1818 — สวรรคต 29 มกราคม ค.ศ. 1906) คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ.

ใหม่!!: สงครามชเลสวิจครั้งที่สองและพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

การรวมชาติเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมันระหว่างค.ศ. 1871–1918 การรวมชาติเยอรมัน (Deutsche Einigung) คือการที่รัฐเล็กน้อยต่างๆที่พูดภาษาเยอรมันถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน การรวมชาติมีขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม..

ใหม่!!: สงครามชเลสวิจครั้งที่สองและการรวมชาติเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ตึปเปิล

ทธการที่ตึปเปิล (Slaget ved Dybbøl; Erstürmung der Düppeler Schanzen) เป็นหนึ่งในสมรภูมิหลักของ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง ยุทธการจบลงเมื่อตอนเช้าของวันที่ 18 เมษายน 1864 หลังจากที่ล้อมไว้ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน เดนมาร์ก ประสบความพ่ายแพ้อย่างรุนแรงต่อกองทัพปรัสเซีย, นอกจากนี้ ตึปเปิล เป็นหนึ่งในสมรภูมิหลักของ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง อีกด้ว.

ใหม่!!: สงครามชเลสวิจครั้งที่สองและยุทธการที่ตึปเปิล · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

ใหม่!!: สงครามชเลสวิจครั้งที่สองและราชอาณาจักรปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามชเลสวิจครั้งที่หนึ่ง

งครามชเลสวิจครั้งที่หนึ่ง (Schleswig-Holsteinischer Krieg) หรือสงครามสามปี (Treårskrigen) เป็นสงครามแรกของกองทัพทางภาคใต้ และภาคเหนือของเยอรมนี เป็นการประกาศการควบคุมดัชชนีของรัฐชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์ สงครามซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2391 ถึง พ.ศ. 2394 ยังเกี่ยวข้องกับกองกำลังจากราชอาณาจักรปรัสเซีย และสวีเดน ท้ายที่สุดแล้วภายใต้แรงกดดันในราชอาณาจักรปรัสเซียจนต้องถอนกำลังออกไป เป็นผลให้สงครามสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของเดนมาร์ก ต่อมาสงครามชเลสวิจครั้งที่สองก็เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2407.

ใหม่!!: สงครามชเลสวิจครั้งที่สองและสงครามชเลสวิจครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ.

ใหม่!!: สงครามชเลสวิจครั้งที่สองและออทโท ฟอน บิสมาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ฮ็อลชไตน์

มุทรจัตแลนด์และทางตอนเหนือสุดของเยอรมนีแสดงบริเวณชเลสวิจและโฮลชไตน์ในรัฐชเลสวิจ-โฮลชไตน์ของเยอรมนีปัจจุบัน ฮ็อลชไตน์ (Holstein) เป็นแคว้นระหว่างแม่น้ำเอลเบและแม่น้ำไอเดอร์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐชเลสวิจ-โฮลชไตน์ทางตอนเหนือสุดของเยอรมนี เดิมฮ็อลชไตน์เป็น “เคาน์ตีฮ็อลชไตน์” (Grafschaft Holstein) และต่อมาเป็น “ดัชชีฮ็อลชไตน์” (Herzogtum Holstein) และเป็นดินแดนบริวารทางตอนเหนือสุดของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ประวัติของฮ็อลชไตน์มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์ของดัชชีชเลสวิจของราชอาณาจักรเดนมาร์ก ฮ็อลชไตน์มีเมืองหลวงอยู่ที่คีล “ฮ็อลชไตน์” มาจากคำว่า “Holcetae” ซึ่งเป็นภาษาชาวแซกซันที่อาดัมแห่งเบรเมินกล่าวถึง ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำเอลเบ ทางตะวันตกของฮัมบูร์ก ที่แปลว่า “คนป่า”.

ใหม่!!: สงครามชเลสวิจครั้งที่สองและฮ็อลชไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย

ักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย พระนามเต็ม: ฟรันซ์ โยเซฟ คาร์ล (Franz Joseph Karl von Habsburg-Lorraine) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย และ กษัตริย์แห่งฮังการี และทรงเป็นจักรพรรดิและพระราชาธิบดีพระองค์แรกในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 พระองค์ทรงเป็นองค์พระประมุขที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดเป็นอันดับที่สามในยุโรป รองจากเจ้าชายโจฮันน์ที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองพระองค์นี้ทรงครองราชย์เป็นเวลา 70 กว่าปีเท่ากัน.

ใหม่!!: สงครามชเลสวิจครั้งที่สองและจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี

วิลเฮล์ม ฟรีดริช ลุดวิจ ฟอน โฮเอินโซลเลิร์น (Wilhelm Friedrich Ludwig von Hohenzollern) เป็นกษัตริย์แห่งปรัสเซียและจักรพรรดิเยอรมันจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น ภายใต้การปกครองของพระองค์ร่วมกับนายกรัฐมนตรีออทโท ฟอน บิสมาร์ค สามารถนำพาราชอาณาจักรปรัสเซียมีชัยเหนือสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียและนำไปสู่การรวมชาติเยอรมันขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมันในปี..

ใหม่!!: สงครามชเลสวิจครั้งที่สองและจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย

ักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire; Kaisertum Österreich) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งจากอาณาบริเวณที่เหลือจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน รุ่งเรืองในช่วง..

ใหม่!!: สงครามชเลสวิจครั้งที่สองและจักรวรรดิออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีชเลสวิจ

ัชชีแห่งชเลสวิจ (Duchy of Schleswig) หรือ ดัชชีแห่งจัตแลนด์ใต้ (Sønderjylland, Hertugdømmet Slesvig) เป็นดัชชีที่ตั้งครอบคลุมเนื้อที่ราว 60 ถึง 70 กิโลเมตรทางตอนใต้ของพรมแดนระหว่างเยอรมนี และ เดนมาร์ก ซึ่งเป็นบริเวณที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า "Sleswick" (ซเลสวิค) ความสัมพันธ์ของบริเวณนี้อยู่ที่การขนส่งสินค้าระหว่างทะเลเหนือ และ ทะเลบอลติก ที่เชื่อมเส้นทางการค้าของรัสเซียกับเส้นทางการค้าตามลำแม่น้ำไรน์และฝั่งทะเลแอตแลนติก.

ใหม่!!: สงครามชเลสวิจครั้งที่สองและดัชชีชเลสวิจ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »