โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามครูเสดครั้งที่ 2

ดัชนี สงครามครูเสดครั้งที่ 2

“สภาสงครามครูเสดครั้งที่ 2” -- พระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี, พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 แห่งเยรูซาเลม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (Second Crusade) (ค.ศ. 1147-ค.ศ. 1149) เป็นสงครามครูเสด ครั้งสำคัญครั้งที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการเสียอาณาจักรเอเดสสาในปีก่อนหน้านั้น อาณาจักรเอเดสสาเป็นอาณาจักรครูเสดอาณาจักรแรกที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-ค.ศ. 1099) และเป็นอาณาจักรแรกที่ล่ม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 และเป็นสงครามครูเสดครั้งแรกที่นำโดยพระมหากษัตริย์ยุโรปที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้งสองพระองค์แยกกันเดินทางข้ามยุโรปไปยังตะวันออกกลาง หลังจากข้ามเข้าสู่ดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอานาโตเลียแล้ว กองทัพทั้งสองต่างก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อเซลจุคเติร์ก แหล่งข้อมูลของคริสเตียนตะวันตก--โอโดแห่งดุยล์ (Odo of Deuil) และคริสเตียนซีเรียคอ้างว่าจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงมีส่วนในความพ่ายแพ้ครั้งนี้โดยทรงสร้างอุปสรรคแก่การเดินหน้าของกองทัพทั้งสองโดยเฉพาะในอานาโตเลีย และทรงเป็นเป็นผู้สั่งการโจมตีของเซลจุคเติร์ก กองทัพที่ร่อยหรอที่เหลือของพระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าคอนราดก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเลม และในปี..

31 ความสัมพันธ์: ชาวมัวร์พ.ศ. 1638พ.ศ. 1642พ.ศ. 1688พ.ศ. 1690พ.ศ. 1692พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสมุสลิมยุโรปตะวันออกรัฐนักรบครูเสดรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ราชวงศ์เซลจุคราชอาณาจักรเยรูซาเลมลัทธินอกศาสนาศาสนาคริสต์สมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3สงครามครูเสดสงครามครูเสดครั้งที่ 1สงครามครูเสดครั้งที่ 3สงครามครูเสดตอนเหนืออานาโตเลียจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิไบแซนไทน์จักรวรรดิเซลจุคทวีปยุโรปประเทศโปรตุเกสแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์เยรูซาเลมเคาน์ตีอิเดสซา

ชาวมัวร์

ชาวมัวร์ (Moors) ในยุคกลาง คำว่า “มัวร์” เป็นคำที่หมายถึงชนมุสลิมที่อาศัยอยู่ที่คาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาเหนือซึ่งเดิมเป็นชนอาหรับ หรือ เบอร์เบอร์ คำนี้ใช้เฉพาะในการอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันคำนี้ไม่ใช้แล้ว คำนี้จะใช้กล่าวถึงชนมุสลิมในประเทศสเปนแม้แต่ในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นคำโบราณและไม่ถูกต้อง เพราะคำนี้รวมชนมุสลิมและชนที่ไม่ใช่มุสลิมที่เป็นชาวอาหรับ เบอร์เบอร์ และชาวอาฟริกาอื่นๆ หรือบางครั้งก็รวมชนมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรียด้วย ในภาษาสเปนคำนี้เป็นคำที่ถือผิว หมวดหมู่:ชาวอาหรับ.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และชาวมัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1638

ทธศักราช 1638 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และพ.ศ. 1638 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1642

ทธศักราช 1642 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และพ.ศ. 1642 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1688

ทธศักราช 1688 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และพ.ศ. 1688 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1690

ทธศักราช 1690 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และพ.ศ. 1690 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1692

ทธศักราช 1692 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และพ.ศ. 1692 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Louis VII of France หรือ Louis VII the Younger หรือ Louis le Jeune) (ค.ศ. 1120 - 18 กันยายน ค.ศ. 1180) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1131 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1180 รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างอำนาจของขุนนางจากตระกูลต่างๆ โดยเฉพาะตระกูลอองชู (อองเฌแว็ง), เป็นช่วงของการเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอังกฤษ และการเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี ค.ศ. 1120 เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงได้รับขนานพระนามว่า “ผู้ลูก” และ พระราชินีอเดลแลด พระองค์ทรงได้รับการเลี้ยงดูเพื่อให้เข้าเป็นนักบวชเมื่อเจริญพระชนมายุขึ้น แต่เมื่อพระเชษฐาพระเจ้าฟิลิปผู้ครองราชบัลลังก์ร่วมกับพระราชบิดาเสด็จสวรรคตด้วยอุบัติเหตในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันออก

แผนที่ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออก (Eastern Europe) มีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 - 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประกอบไปด้วยประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, อดีตเช็กโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกียและสโลวาเกีย), โปแลนด์, ฮังการี, โรมาเนีย, บัลแกเรีย และอดีตยูโกสลาเวีย ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรแมนซ์และกลุ่มสลาวอนิก.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และยุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนักรบครูเสด

ตะวันออกใกล้ในปี ค.ศ. 1135 โดยมีอาณาจักรครูเสดเป็นสีเขียว อานาโตเลียและอาณาจักรครูเสด ราว ค.ศ. 1140 รัฐนักรบครูเสด (Crusader states) คือกลุ่มรัฐเจ้าขุนมูลนายที่นักรบครูเสดชาวยุโรปตะวันตกตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ในอานาโตเลีย กรีซ และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (อิสราเอลโบราณและปัจจุบัน และในบริเวณปาเลสไตน์) แต่ในที่สุดอำนาจของอิสลามในตะวันออกกลางก็พิชิตรัฐเหล่านี้ได้หมด นอกจากนั้นรัฐนักรบครูเสดก็ยังหมายถึงดินแดนอื่นที่คริสตจักรสมัยกลางได้มา (ส่วนใหญ่เป็นรัฐเล็กและเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น) เพื่อป้องกันชาวมุสลิมและดินแดนของผู้นอกศาสนาอื่น ๆ ด้ว.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และรัฐนักรบครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์

การปกครองฟาฏิมียะห์คือขบวนการปกครองที่เริ่มตนขึ้นเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ)และทำการปกครองเป็นเวลาสองศตวรรษ(จนถึงปี ๑๑๗๑ ค.ศ)โดยปกครองภาคเหนือของแอฟริกาและเอเชียตะวันออกกลาง รวมถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผู้ปกครองฟาฏิมีคือผู้นำชีอะห์นิกายอิสมาอีลียะห์ และชื่อขบวนการของพวกเขาคือ ฟาฏิมี หมายถึงท่านหญิงฟาฏีมะห์(ซ)บุตรสาวของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) พวกเขาได้ก่อตั้งรัฐบาลขึ้นถึงมากกว่าสองศตวรรษในแถบตะวันออกกลางและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมีความรักต่อวิชาความรู้และการค้าขายเป็นอย่างมาก ไคโรเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ถูกก่อตั้งโดย การปกครองฟาฏิมี คอลีฟะห์ การปกครองฟาฏิมี ถูกก่อตั้งเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ) ณ แอฟริกาเหนือ และขยายตัวอย่างรวดเร็วสู่ ประเทศ ซิซิลี ปาเลสไตน์ อียิปต์ และ ซีเรีย และมีอิทธิพลมากที่สุดในยุคคอลีฟะห์คนที่แปด คือ อัลมุสตันศัร บิลลาฮ์ (เสียชีวิตเมื่อปี ๑๐๙๔)ในช่วงสองศตวรรษแห่งการปกครอง พวกเขาได้ทำการปกครองที่ราบรื่นสดใส่ บนรากฐานของสติปัญญา เศรษฐกิจที่สมบูร์ และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ฟาฏีมียอนคือกลุ่มชีอะห์นิการอิสมาอีลียะห์ ซึ่งเป็นผู้ที่คัดค้านการปกครองของอับบาซีโดยอ้างว่าพวกเขาคือผู้ปกครองที่เป็นธรรม การปกครองอันยาวนานของฟาฏิมีทำให้นิกายชีอะห์ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขว้าง ในยุคดังกล่าวสถาบันการศึกษาอิสลามที่ยิ่งใหญ่ อาธิ ญาเมะอฺ อัลอัซฮัร ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่แนวทางอิสมาอีลียะห์ ซึ่งมีผลงานการเขียนมากมายเกี่ยวกับอิสมาอีลียะ กลุ่มฟาฏีมีมุ่งมั่นในการเผยแพร่จึงส่งทูตของตนไปยังประเทศ และ เมืองต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่แนวคิดของตนและสามารถขยายความเชื่ออิสมาอีลียะอย่างกว้างขว้างในประเทศ เยเมน อินเดีย และภาคตะวันออกของประเทศอิหร่าน ผู้นำของฟาฏีมี อัลมะฮ์ดี บิลลาฮ อะบูมุฮัมหมัด อุบัยดัลลอฮ               ปกครองเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ) อัลกออิม บิอัมริลลาฮ อะบูกอเซ็มมุฮัมหมัด ปกครองเมื่อปี ๙๓๔(ค.ศ) อัลมันศูรบิลลาฮ อะบูฏอฮิรอิสมาอีล                              ปกครองเมื่อปี ๙๔๖(ค.ศ) อัลมุอิซ ลิดีนิลลาฮ์ อะบูตะมีม มุอิด                               ปกครองเมื่อปี ๙๕๓(ค.ศ) อัลอะซีซ บิลลาฮ์ อะบูมันศูร นิซาร์                                ปกครองเมื่อปี ๙๗๕ (ค.ศ) อัลฮากิม บิอัมริลลาฮ์ อะบูอาลีมันศูร                              ปกครองเมื่อปี ๙๙๖ (ค.ศ) อัซซอฮิร ลา อิรอซ ดีนิลลาฮ์ อะบูลฮะซัน อะลี           ปกครองเมื่อปี ๑๐๒๑ อัลมุซตันศิร บิลลาฮ์ อะบูตะมีม มุอิด                             ปกครองเมื่อปี ๑๐๓๖ อัลมุสตะอฺลี บิลลาฮ์ อะบูกอเซ็มอะห์หมัด                    ปกครองเมื่อปี ๑๐๙๔ อัลอัมร์ บิอะห์กามิลลาฮ์ อะบูอะลี มันศูร                      ปกครองเมื่อปี ๑๑๐๑ (ค.ศ) อัลฮาฟิซ ลิดีนิลลาฮ์ อะบูอัลมัยมูน อับดุลมะญีด         ปกครองเมื่อปี ๑๑๓๐(ค.ศ) อัลซิฟิร บิอัมริลลาฮ์ อะบูมันศูร อิสมาอีล                     ปกครองเมื่อปี ๑๑๔๙(ค.ศ) อัลฟาอิร บินัศริลลาฮ์ อะบูกอเซ็ม อีซา                          ปกครองเมื่อปี ๑๑๕๔(ค.ศ) อัลอาฎิด ลิดีนิลลาฮ์ อะบูมุฮัมหมัดอับดุลลอฮ              ปกครองเมื่อปี ๑๑๖๐-๑๑๗๑(ค.ศ)  .

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์(الخلافة العباسية: al-Khilāfah al-‘Abbāsīyyah) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ราชวงศ์ที่สามของศาสนาอิสลาม ที่มีเมืองหลวงที่แบกแดดหลังจากที่โค่นราชวงศ์อุมัยยะฮ์ออกจากบริเวณต่าง ๆ ยกเว้นอัล-อันดะลุส (Al-Andalus) รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก่อตั้งโดยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอับบาส อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (العباس بن عبد المطلب‎ – Abbas ibn Abd al-Muttalib) ลุงคนเล็กของมุฮัมมัด โดยก่อตั้งขึ้นในฮาร์รานในปี ค.ศ. 750 และย้ายเมืองหลวงจากฮาร์รานไปแบกแดดในปี ค.ศ. 762 รัฐเคาะลีฟะฮ์นี้รุ่งเรืองอยู่ราวสองร้อยปีแต่ก็มาเสื่อมโทรมลงเมื่ออำนาจของตุรกีแข็งแกร่งขึ้น ภายใน 150 ปีทีแผ่ขยายอำนาจไปทั่วเปอร์เชีย รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก็สูญเสียอำนาจให้แก่จักรวรรดิมองโกล ในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เซลจุค

จักรวรรดิเซลจุค ใน ค.ศ. 1092 เมื่อมาลิค ชาห์ที่ 1เสียชีวิต ราชวงศ์เซลจุค หรือ เซลจุคตุรกี (Seljuq dynasty หรือ Seljuq Turks) “เซลจุค” (หรือ “Seldjuks” “Seldjuqs” “Seljuks” Selçuklular, سلجوقيان Ṣaljūqīyān; سلجوق ''Saljūq'' หรือ السلاجقة ''al-Salājiqa''.) เป็นราชวงศ์เทอร์โค-เปอร์เชีย ซุนนีมุสลิมผู้ปกครองบางส่วนของทวีปเอเชียกลางและตะวันออกกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ราชวงศ์เซลจุคก่อตั้งจักรวรรดิเซลจุคซึ่งในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดมีดินแดนตั้งแต่อานาโตเลียไปจนถึงเปอร์เชียและเป็นฝ่ายปฏิปักษ์ในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ราชวงศ์มีที่มาจากกลุ่มสมาพันธ์ของชนเทอร์โคมันของทางตอนกลางของเอเชีย ซึ่งเป็นการเริ่มการขยายอำนาจของเทอร์กิคในตะวันออกกลาง เมื่อเปอร์เชียขยายตัวเข้ามาเซลจุคก็รับวัฒนธรรม และภาษาเข้ามาเป็นของตนเอง และมีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการของวัฒนธรรมเทอร์โค-เปอร์เชีย ใน “วัฒนธรรมเปอร์เชียที่รับโดยประมุขของเทอร์กิค” ในปัจจุบันเซลจุคเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์อันยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรม, ศิลปะ, วรรณคดี และ ภาษาเปอร์เชียO.Özgündenli, "Persian Manuscripts in Ottoman and Modern Turkish Libraries", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,Encyclopaedia Britannica, "Seljuq", Online Edition,: "...

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และราชวงศ์เซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม หรือ ราชอาณาจักรละตินแห่งเยรูซาเลม (Kingdom of Jerusalem หรือ Latin Kingdom of Jerusalem) เป็นอาณาจักรคริสเตียนที่ก่อตั้งในบริเวณลว้าน (Levant) ในปี ค.ศ. 1099 หลังสงครามครูเสดครั้งที่ 1 และยืนยงต่อมาร่วมสองร้อยปีจนถึงปี ค.ศ. 1291 เมื่อเอเคอร์ดินแดนสุดท้ายที่เป็นของอาณาจักรถูกทำลายโดยมามลุค (Mamluk) ในระยะแรกราชอาณาจักรเป็นเพียงกลุ่มเมืองใหญ่และเล็กที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ระหว่างสงครามครูเสด ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาบริเวณที่ปัจจุบันคืออิสราเอล และอาณาดินแดนปาเลสไตน์ (Palestinian territory) ที่ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณเลบานอนปัจจุบันไปจนถึงทางเหนือของทะเลทรายไซนายทางด้านไต้ ไปยังจอร์แดน และซีเรียทางด้านตะวันออก ระหว่างนั้นก็มีการพยายามที่จะขยายดินแดนไปยังฟาติมิยะห์ (Fatimid) อียิปต์ นอกจากนั้นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็ยังมีอำนาจบางอย่างเหนืออาณาจักรครูเสดอื่นๆ, ตริโปลี, อันติโอค, และเอเดสสา ประเพณีและระบบต่างที่ใช้ในอาณาจักรนำมาจากยุโรปตะวันตกกับนักการสงครามครูเสด ระบบการปกครองและความเกี่ยวดองกับยุโรปเป็นไปตลอดอายุของอาณาจักร แต่เมื่อเทียบกับอาณาจักรในยุโรปแล้วราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็เป็นเพียงอาณาจักรที่ค่อนข้างเล็กและมักจะขาดการหนุนหลังทางด้านการเงินและทางการทหารจากยุโรป ราชอาณาจักรเยรูซาเลมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชอาณาจักรข้างเคียงมากกว่าเช่นราชอาณาจักรอาร์มิเนียแห่งซิลิเซีย (Armenian Kingdom of Cilicia) และจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ได้รับอิทธิพลตะวันออกมา นอกจากนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลจากระบบมุสลิม แต่ทางด้านสังคมแล้วผู้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรจากยุโรปตะวันตกแทบไม่มีการติดต่อกับมุสลิมหรือชนคริสเตียนท้องถิ่นที่ปกครองเลย ในระยะแรกฝ่ายมุสลิมไม่มีความสนใจกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมเท่าใดนักจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออาณาจักรของมุสลิมเริ่มแข็งตัวขึ้นและเริ่มยึดดินแดนที่เสียไปคืนอย่างเป็นจริงเป็นจัง เยรูซาเลมเสียแก่ซาลาดินในปี ค.ศ. 1187 และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนของราชอาณาจักรก็เหลือเพียงแถบตามแนวฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพร้อมกับเมืองสำคัญๆ สองสามเมือง ในช่วงนี้ราชอาณาจักรที่บางครั้งก็เรียกว่า “ราชอาณาจักรเอเคอร์” ก็ปกครองโดยราชวงศ์ลูซิยัน (Lusignan) ของนักครูเสดจากราชอาณาจักรไซปรัส และมีความสัมพันธ์ดีกับทริโปลี, อันติออคและอาร์มีเนีย และได้รับอิทธิพลจากสาธารณรัฐเวนิส และสาธารณรัฐเจนัว และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกันอาณาจักรมุสลิมรอบข้างก็รวมตัวกันภายใต้ราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid) และต่อมาราชวงศ์มามลุคของอียิปต์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลมจึงกลายเป็นเบี้ยประกันของการสงครามและการเมืองในบริเวณนั้น ที่ตามมาโดยการโจมตีโดย คแวเรซเมียน (Khwarezmians) และจักรวรรดิโมกุลราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในที่สุดก็ถูกมามลุคสุลต่านไบบาร์ส (Baibars) และอัล-อัชราฟ คาลิล (al-Ashraf Khalil) ยึดดินแดนที่เหลืออยู่ทั้งหมดได้ รวมทั้งการทำลายเอเคอร์ในปี ค.ศ. 1291.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และราชอาณาจักรเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3

thumb สมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 (Eugene III) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1145 ถึง ค.ศ. 1153 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1080 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ยูจีนที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลจากปิซา.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 1

งครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1096–1099) เริ่มต้นเป็นการแสวงบุญอย่างกว้างขวาง (ฝรั่งเศสและเยอรมนี) และจบลงด้วยปฏิบัติการนอกประเทศของทหารโดยทวีปยุโรปที่นับถือโรมันคาทอลิกเพื่อทวงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถูกยึดในการพิชิตเลแวนต์ของมุสลิม (ค.ศ. 632–661) จนเป็นผลให้ยึดเยรูซาเลมได้เมื่อ..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และสงครามครูเสดครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 3

“การล้อมเมืองเอเคอร์” ระหว่างปี ค.ศ. 1189 ถึงปี ค.ศ. 1191 สงครามครูเสดครั้งที่ 3 หรือ สงครามครูเสดกษัตริย์(Third Crusade หรือ Kings' Crusade) (ค.ศ. 1189-ค.ศ. 1192) เป็นสงครามครูเสดที่ฝ่ายผู้นำยุโรปพยายามกู้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากศอลาฮุดดีน (Salāh al-Dīn Yūsuf ibn Ayyūb).

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และสงครามครูเสดครั้งที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดตอนเหนือ

งครามครูเสดตอนเหนือ (Northern Crusades) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นโดย กษัตริย์เดนมาร์ก สวีเดน รวมถึงภาคีลิวอเนียน และคณะอัศวินทิวทัน ซึ่งร่วมกับเหล่าพันธมิตรต่อต้านชาวลัทธิเพกัน รอบ ๆ ดินแดนยุโรปภาคเหนือ ชายฝั่งตะวันออก และทางตอนใต้ของทะเลบอลติก สงครามครูเสดตอนเหนือนี้อาจรวมไปถึงการรบของสวิดิช และเยอรมันคาทอลิก ที่ต่อสู้กับชาวรัสเซีย ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ หลายสงครามนี้ถูกเรียกว่าเป็นครูเสดในยุคกลาง ส่วนสงครามนอกเหนือจากนั้นซึ่งรวมไปถึงส่วนใหญ่ของสวิดิชครูเสด จะถูกเรียกรวมให้เป็นครูเสด โดยนักประวัติศาสตร์หัวชาตินิยม ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โลกบอลติกตะวันออกนั้น ถูกแปลงให้เป็นพื้นที่ทางการทหารที่มุ่งพิชิตพวกแรก ๆ คือ พวกลิวอเนียน พวกเอสโทเนียน หลังจากนั้น ก็เป็น ชาวเซมิกัลป์เลียน คูโรเนียน และชาวปรัสเซียนที่ได้รับความพ่ายแพ้ ถูกเข้ายึด แม้กระทั่งทำลายล้าง โดยกลุ่มชาวเดนมาร์ก เยอรมัน และสวีเดน.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และสงครามครูเสดตอนเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส

ักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส หรือ โคมเนนัส (Manuel I Komnenos หรือ Comnenus, Μανουήλ Α' Κομνηνός) (28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1118 – 24 กันยายน ค.ศ. 1180) มานูเอลที่ 1 โคมเนนอสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ของราชวงศ์โคมเนนอส ผู้ทรงครองราชย์ระหว่างวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1143 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1180 โดยมีจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 โคมเนนอสเป็นผู้ครองราชย์ต่อมา มานูเอลที่ 1 โคมเนนอสเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1118 เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอส มานูเอล โคมเนนอสทรงปกครองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของจักรวรรดิและของบริเวณเมดิเตอเรเนียน พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูจักรวรรดิให้รุ่งเรืองเช่นในอดีตในฐานะมหาอำนาจของบริเวณเมดิเตอเรเนียนโดยทรงดำเนินนโยบายทางการต่างประเทศอันทะเยอทะยาน ที่รวมทั้งการสร้างพันธมิตรกับพระสันตะปาปา, ทรงรุกรานคาบสมุทรอิตาลี, และทรงสามารถดำเนินสงครามครูเสดครั้งที่ 2 ฝ่าอันตรายของจักรวรรดิของพระองค์ได้ และทรงก่อตั้งระบบการพิทักษ์แก่อาณาจักรครูเสดต่างๆ เมื่อฝ่ายมุสลิมนำทัพเข้ามายังดินแดนศักดิ์สิทธิ์พระองค์ก็เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมในไปการรุกรานฟาติมิดอียิปต์ มานูเอล โคมเนนอสทรงมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแผนที่เขตแดนทางการเมืองของคาบสมุทรบอลข่านและเมดิเตอเรเนียนตะวันออกโดยทรงทำให้ราชอาณาจักรฮังการีและอาณาจักรครูเสดมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระองค์ และทรงรณรงค์อย่างเอาจริงเอาจังในอาณาจักรที่อยู่ใกล้เคียงทั้งทางด้านตะวันออกและตะวันตก แต่ในปลายรัชสมัยความสำเร็จของพระองค์ทางด้านตะวันออกก็ต้องมาเสียไปกับความพ่ายแพ้ในยุทธการไมริโอเคฟาลอน (Battle of Myriokephalon) ซึ่งเป็นความเพลี่ยงพล้ำของพระองค์เองในการพยายามโจมตีที่มั่นของฝ่ายเซลจุคที่มีการป้องกันอย่างแข็งแรง มานูเอลทรงได้รับการขนานพระนามว่า “ho Megas” หรือ “มหาราช” (ὁ Μέγας) โดยกรีก และทรงเป็นผู้นำผู้ทรงสามารถสร้างความจงรักภักดีจากผู้ตามอย่างเหนียวแน่น นักประวัติศาสตร์จอห์น คินนามอส (John Kinnamos) กล่าวว่ามานูเอลทรงเป็นผู้มีคุณลักษณะสมกับเป็นวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นก็ยังทรงเป็นผู้ที่ได้รับความนับถือจากนักรบครูเสดจากตะวันตกว่าเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิลP.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเซลจุค

มหาจักรวรรดิเซลจุค (سلجوقیان.) เป็นจักรวรรดิแบบเปอร์เชียM.A. Amir-Moezzi, "Shahrbanu", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,: "...

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และจักรวรรดิเซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์

ทะเลเดดซี แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land; הקודש; Terra Sancta; الأرض المقدسة; ภาษาอารามิคโบราณ: ארעא קדישא Ar'a Qaddisha) หมายถึงดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณประเทศอิสราเอลซึ่งมีความสำคัญต่อศาสนาสำคัญศาสนาอับราฮัมสามศาสนา ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม สาเหตุของความศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากความสำคัญของกรุงเยรูซาเลมทางศาสนาและความสำคัญของการเป็นดินแดนแห่งอิสราเอล สงครามครูเสดใช้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เป็นสาเหตุในการยึดคืนเพราะเป็นดินแดนที่มีความหมายต่อพันธสัญญาใหม่ ในปัจจุบันดินแดนบริเวณนี้เป็นดินแดนของความขัดแย้งระหว่างอาหรับและอิสราเอล.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เคาน์ตีอิเดสซา

น์ตีอิเดสซา (County of Edessa) เป็นหนึ่งในนครรัฐครูเสด (crusader states) ของคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่มีอาณาบริเวณอยู่รอบตัวเมืองอิเดสซา เคาน์ตีอิเดสซาแตกต่างจากนครรัฐครูเสดอื่น ๆ ตรงที่ไม่มีส่วนใดที่ติดทะเลและไกลจากรัฐอื่น ๆ และไม่ใคร่มีความสัมพันธ์อันดีนักกับนครรัฐอันติโอคที่อยู่ติดกัน ครึ่งหนึ่งของเคาน์ตีรวมทั้งเมืองหลวงตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำยูเฟรทีสทีไกลไปทางตะวันออกจากรัฐอื่น ๆ ซึ่งทำให้เป็นจุดอ่อน ทางตะวันตกของแม่น้ำยูเฟรทีสควบคุมจากป้อมเทอร์เบสเซล (Turbessel).

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 2และเคาน์ตีอิเดสซา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Second Crusadeสงครามครูเสดครั้งที่สอง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »