โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สกุลแพนเทอรา

ดัชนี สกุลแพนเทอรา

กุลแพนเทอรา (Roaring cat) เป็นสกุลของวงศ์ Felidae (วงศ์แมว) ที่ประกอบไปด้วย เสือโคร่ง, สิงโต, เสือจากัวร์, และ เสือดาว สปีชีส์ของสกุลเป็นสมาชิกประมาณครึ่งหนึ่งของวงศ์ย่อย Pantherinae ใช้ชื่อสกุลว่า Panthera เสือในสกุลแพทเทอรา ทั้ง 4 ชนิดมีโครงสร้างทางกายวิภาคที่ช่วยให้พวกมันสามารถคำรามได้ เริ่มแรกมีสมมุติฐานว่าเกิดจากการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่การศึกษาครั้งใหม่แสดงว่าความสามารถในการคำรามมาจากลักษณะสัณฐานอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่องเสียง เสือดาวหิมะ (Uncia uncia) บางครั้งถูกรวมอยู่ในสกุล Panthera แต่มันไม่สามารถคำรามได้ เพราะแม้ว่ามันมีขบวนการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่ขาดลักษณะพิเศษของกล่องเสียงไป.

43 ความสัมพันธ์: ชื่อพ้องกระดูกไฮออยด์กล่องเสียงการกลายเป็นกระดูกการสูญพันธุ์ภาษากรีกภาษาสันสกฤตวงศ์ย่อยเสือใหญ่วงศ์เสือและแมวสกุลสมัยไพลสโตซีนสมัยไพลโอซีนสัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสิงโตสิงโตบาร์บารีสิงโตมาไซสิงโตอินเดียสิงโตทรานส์วาลสิงโตซาโวสิงโตแหลมกู๊ดโฮปคาโรลัส ลินเนียสเสือจากัวร์เสือดาวเสือดาวหิมะเสือดาวอามูร์เสือดาวอาระเบียเสือดาวอินโดจีนเสือดาวอินเดียเสือดาวแอฟริกาเสือโคร่งเสือโคร่งชวาเสือโคร่งบาหลีเสือโคร่งมลายูเสือโคร่งสุมาตราเสือโคร่งอินโดจีนเสือโคร่งจีนใต้เสือโคร่งแคสเปียนเสือโคร่งไซบีเรียเสือโคร่งเบงกอล

ชื่อพ้อง

ในระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ชื่อพ้องคือชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันสำหรับสิ่งมีชีวิตสิ่งเดียวในทางอนุกรมวิธาน ชื่อให้ใช้ชื่อตั้งขึ้นก่อนหรือที่ถูกต้องได้รับการยอมรับจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ส่วนชื่ออื่น ๆให้เป็นชื่อพ้อง การใช้และคำศัพท์ก็จะต่างกันไปในสัตววิทยาและพฤกษศาสตร.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและชื่อพ้อง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไฮออยด์

กระดูกไฮออยด์ เป็นกระดูกที่อยู่ในคอ และเป็นกระดูกเพียงชิ้นเดียวในร่างกายมนุษย์ที่ไม่เกิดข้อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆ เลย กระดูกนี้ค้ำจุนโดยกล้ามเนื้อของคอและทำหน้าที่ช่วยค้ำจุนโคนลิ้น กระดูกไฮออยด์มีรูปร่างคล้ายเกือกม้า และแขวนจากยอดของสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกขมับโดยเอ็นสไตโลไฮออยด์ (stylohyoid ligaments).

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและกระดูกไฮออยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กล่องเสียง

กล่องเสียง หรือ ลาริงซ์ (larynx) เป็นอวัยวะในคอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันท่อลม (trachea) และการทำให้เกิดเสียง ในกล่องเสียงมีสายเสียงแท้หรือเส้นเสียงแท้ (vocal fold) ซึ่งอยู่ใต้บริเวณที่คอหอย (pharynx) แยกออกเป็นท่อลมและหลอดอาหาร (esophagus).

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและกล่องเสียง · ดูเพิ่มเติม »

การกลายเป็นกระดูก

การกลายเป็นกระดูก หรือ การสร้างกระดูก เป็นกระบวนการสร้างเนื้อกระดูก โดยที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่นกระดูกอ่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระดูกหรือเนื้อเยื่อที่คล้ายกระดูก เนื้อเยื่อที่เกิดกระบวนการกลายเป็นกระดูกจะมีหลอดเลือดยื่นเข้าไปข้างใน หลอดเลือดเหล่านี้จะนำแร่ธาตุ เช่นแคลเซียม และเข้ามาในเนื้อเยื่อเพื่อให้เกิดการสร้างเนื้อกระดูกแข็ง การสร้างกระดูกเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัต คือมีกระบวนการสร้างและสลายทดแทนกันอยู่ตลอด โดยมีเซลล์ออสติโอบลาสต์ (osteoblast) ทำหน้าที่พาเอาแร่ธาตุเข้ามา และมีออสติโอคลาสต์ (osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูก กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า กระบวนการก่อรูปกระดูก (bone remodeling) ซึ่งจะเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและการกลายเป็นกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยเสือใหญ่

วงศ์ย่อยเสือใหญ่ หรือ วงศ์ย่อยเสือ (Panther, Big cat) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pantherinae ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์ย่อยนี้ คือ เป็นเสือขนาดใหญ่ ที่อุ้งตีนมีซองหุ้มเล็บได้ทั้งหมด ในลำคอมีกระดูกกล่องเสียงชิ้นกลางดัดแปลง มีลักษณะเป็นแถบเส้นเอ็นสั่นไหวได้ดี จึงสามารถใช้ส่งเสียงร้องดัง ๆ ได้ ที่เรียกว่า คำราม จากการศึกษาพบว่า วงศ์ย่อยนี้แยกออกมาจากวงศ์ย่อย Felinae เมื่อ 60 ล้านปีก่อน และจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอพบว่า เสือดาวหิมะ เป็นรากฐานของเสือในวงศ์ย่อยนี้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามีจีโนมที่แตกต่างกันของเสือและแมวในวงศ์นี้ โดยเสือที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 7 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา และพบเพียงชนิดเดียวในทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและวงศ์ย่อยเสือใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เสือและแมว

วงศ์เสือและแมว (Cat, Felid, Feline) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท เสือ, สิงโต, ลิงซ์ และแมว โดยทั้งหมดอยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) โดยปรากฏครั้งแรกในสมัยโอลิโกซีน เมื่อประมาณ 30 ล้านปีก่อน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Felidae.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและวงศ์เสือและแมว · ดูเพิ่มเติม »

สกุล

กุล อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสกุล · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลสโตซีน

มัยไพลสโตซีน (Pleistocene เครื่องหมาย PS) เป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ชาลส์ ไลเอลล์ บัญญัติคำนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสมัยไพลสโตซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)

สัณฐานวิทยา (morphology) หมายถึง การศึกษารูปพรรณสัณฐานของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะรูปร่างของดอกไม้ หรือ การจัดเรียงตัวของใบ หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสัณฐานวิทยา (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สิงโต

งโต (Lion) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป (P. tigris) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุล Panthera เหมือนกัน จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) พื้นลำตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตบาร์บารี

งโตบาร์บารี หรือ สิงโตแอตลาส หรือ สิงโตนูเบียน (Barbary lion; Atlas lion; Nubian lion) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo leo เป็นสิงโตชนิดย่อยชนิดหนึ่ง ที่เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว สิงโตบาร์บารีเป็นสิงโตที่มีขนาดใหญ่ มีจุดเด่นคือ ตัวผู้มีแผงขนคอที่มีสีดำมากกว่าสิงโตสายพันธุ์อื่น ๆ และมีน้ำหนักตัวมากที่สุดในบรรดาสิงโตด้วยกัน โดยเพศผู้มีน้ำหนักตัว 200- 295 กิโลกรัม เพศเมียมีน้ำหนักตัว 120- 180 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามมีผู้เชี่ยวชาญบางท่านกล่าวว่าการคาดคะเนน้ำหนักดูเกินความจริงไปมาก เดิมสิงโตชนิดย่อยนี้พบแพร่กระจายตามแนวเทือกเขาแอตลาสในแอฟริกาเหนือ ไปจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลางในทวีปเอเชีย ได้มีการจับสิงโตชนิดนี้เป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในการต่อสู้ในยุคโรมัน สิงโตบาร์บารีในธรรมชาติตัวสุดท้ายถูกล่าเมื่อปี ค.ศ. 1922 ในบริเวณเทือกเขาแอตลาส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีการเลี้ยงสิงโตสายพันธุ์นี้อยู่โรงแรม หรือคณะละครสัตว์หลายแห่งในทวีปยุโรป ในช่วงยุคกลางมีการเลี้ยงสิงโตบาร์บารี่ในบริเวณหอคอยลอนดอน ในปี ค.ศ. 1835 ได้มีการย้ายสิงโตออกจากหอคอยลอนดอนไปยังสวนสัตว์ลอนดอน โดยสิงโตบาร์บารี่ตัวที่มีชื่อเสียงที่สุด ชื่อ สุลต่าน ซึ่งอาศัยอยู่ในสวนสัตว์ลอนดอนในปี ค.ศ. 1896 ปัจจุบัน สิงโตกลุ่มที่คาดว่าน่าจะสืบเชื้อสายมาจากสิงโตบาร์บารี่มากที่สุดคือกลุ่มของสิงโตที่สวนสัตว์ในโมร็อคโค แอฟริกาเหนือ ซึ่งระบุว่าได้มาจากเทือกเขาแอตลาส และมีการทำประวัติไว้ทุกตัว ตลอดระยะเวลาหลายปี แต่จากผลตรวจดีเอ็นเอ โดย ดร.โนะบุยุกิ ยะมะกุชิ แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ซึ่งนำตัวอย่างซากของสิงโตที่คาดว่าจะเป็นสิงโตบาร์บารี่จากหลายพิพิธภัณฑ์มาตรวจสอบ เทียบกับสิงโตที่คาดว่าจะเป็นสิงโตบาร์บารี่ ในสวนสัตว์หลายแห่งในทวีปยุโรป รวมทั้งสิงโตในสวนสัตว์โมรอคโคบางตัว พบว่าไม่ได้มีสิงโตตัวใดเป็น สิงโตบาร์บารี่ อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้ศึกษาถึงกลุ่มประชากรของสิงโตที่มีที่มาจากหอคอยลอนดอนในสวนสัตว์ลอนดอน ในปี ค.ศ. 2008 มีการศึกษาพบว่าสิงโตในโมร็อคโค มี mitochondrial haplotypes (H5 และ H6) เหมือนกับสิงโตในแอฟริกากลาง และยังพบว่า mitochondrial haplotypes (H7 และ H8) พบได้ในสิงโตอินเดีย อาจกล่าวได้ว่าสิงโตเริ่มแพร่กระจายจากแอฟริกาตะวันออกสู่พื้นที่อื่น ๆ และเข้าสู่ทวีปเอเชียในภายหลัง.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสิงโตบาร์บารี · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตมาไซ

| name.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสิงโตมาไซ · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตอินเดีย

งโตอินเดีย หรือ สิงโตเอเชีย หรือ สิงโตเปอร์เซีย (أسد آسيوي; Indian lion, Asiatic lion, Persian lion) เป็นชนิดย่อยของสิงโตที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน มีรูปร่างทั่วไปคล้ายสิงโตที่พบในทวีปแอฟริกา แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยตัวผู้เมื่อโตเต็มมีน้ำหนักประมาณ 160–190 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 110–120 กิโลกรัม ความยาวหัวถึงหางของตัวผู้ 2.92 เมตร ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของสิงโตอินเดีย คือ มีแผงคอทั้งตัวผู้และตัวเมีย และแผงคอของตัวผู้ไม่หนาและใหญ่เหมือนสิงโตในทวีปแอฟริกา มองเห็นใบหูเห็นชัดเจน ดังนั้นตัวผู้และตัวเมียจึงมีรูปลักษณ์ที่คล้ายกันมาก นอกจากนี้แล้วยังมีหนังทอดยาวตลอดใต้ลำตัวซึ่งไม่พบในสิงโตในทวีปแอฟริกา ทั้งนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ต่างกันเนื่องจากสิงโตอินเดียอาศัยอยู่ในป่าทึบไม่เหมือนกับสิงโตในแอฟริกาที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าโล่งกว้าง และทำให้สิงโตอินเดียเป็นสัตว์ที่แฝงตัวได้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติรอบตัวในศรีลังกามีสิงโตอีกสายพันธ์คือ สิงโตศรีลังกา แต่สูญพันธ์เมื่อ32,000ปีก่อนไปพร้อมกับ เสือศรีลังกา มีซากฟอสซิลบางส่วนในพิพิธภัณฑ์ในศรีลังกา ในอดีต มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง, เปอร์เซีย, อิรัก, ซีเรีย, อัฟกานิสถาน, ปากีสถานไปจนถึงมาซิโดเนียในกรีซ และ ศรีลังกา ด้วยแต่ปัจจุบันพบเหลือเพียงแห่งเดียวในธรรมชาติ คือ อุทยานแห่งชาติป่ากีร์ ในรัฐคุชราตทางตอนเหนือของอินเดียเท่านั้น และอยู่ในสถานะวิกฤตต่อการสูญพันธุ์ แต่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นจากเมื่อประมาณ 30 ปี ก่อนที่เหลือเพียงไม่กี่สิบตัวเท่านั้น เป็น 530 ตัวในปัจจุบัน และอยู่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการรวมฝูงของสิงโตอินเดีย แตกต่างไปจากสิงโตในทวีปแอฟริกา กล่าวคือ มีขนาดฝูงที่เล็กกว่า โดยมีจำนวนอย่างมากที่สุดเพียง 5 ตัวเท่านั้น และอาจมีตัวเมียเพียง 2 ตัว และอาจมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง 2 ตัวก็เป็นได้ โดยเป็นลักษณะร่วมปกครอง ขณะที่ตัวผู้จะเข้าร่วมฝูงก็ต่อเนื่องจะล่าเหยื่อหรือในการผสมพันธุ์เท่านั้น ในวัฒนธรรมของอินเดีย มีสิงโตอยู่มากมาย เช่น หัวเสาหินสลักในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่เป็นรูปสิงโตอินเดีย รวมถึงปรัมปราในศาสนาฮินดูที่เป็นศาสนาพื้นเมืองของอินเดีย ก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสิงโตอยู่มาก หรือแม้กระทั่งในประวัติศาสตร์ยุโรปเอง ก็มีภาพโมเสกของอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงร่วมล่าสิงโตกับพระสหาย ซึ่งเชื่อว่าเป็นแม่ทัพชื่อ เฮฟฟาฮิสเตียน เชื่อว่าสิงโตชนิดนั้นก็คือ สิงโตอินเดีย นั่นเอง ทางวัฒนธรรมจีน มีการละเล่นเชิดสิงโต ซึ่งในประเทศจีนเองไม่มีสิงโตเป็นสัตว์พื้นเมือง เชื่อว่าเป็นการรับมาจากเปอร์เซีย ด้วยการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันผ่านเส้นทางสายไหม สิงโตอินเดียตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4 ปี ซึ่งมากกว่าสิงโตในทวีปแอฟริกา และจะออกลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนเมษายน และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 16–18 ปี ในตัวผู้ และตัวเมีย 17–18 ปี พบมากที่สุดคือ 21 ปี ถือว่ามากกว่าสิงโตทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสิงโตอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตทรานส์วาล

งโตทรานส์วาล หรือ สิงโตแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ (Transvaal lion, Southeast african lion) เป็นชนิดย่อยของสิงโตชนิดหนึ่งที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เป็นสิงโตที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ เช่น อุทยานแห่งชาติครูเกอร์และเขตสงวนส่วนบุคคลคาลาฮารี โดยที่ได้ชื่อมาจากจังหวัดทรานส์วาลในแอฟริกาใต้ โดยได้รับการจำแนกออกมาจากสิงโตแหลมกู๊ดโฮป (P. l. melanochaitus) ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งไม่แตกต่างอะไรจากสิงโตที่พบในแอฟริกาใต้ ดังนั้นสิงโตแหลมกู๊ดโฮปอาจจะถือได้ว่าเป็นตัวแทนของสิงโตทรานส์วาล ตัวผู้มีขนแผงคอใหญ่และยาว มีความยาวลำตัว 2.6-3.20 เมตร รวมทั้งหาง ตัวเมียยาว 2.35-2.75 เมตร น้ำหนักของตัวผู้โดยทั่วไป 150-250 กิโลกรัม ในขณะที่ตัวเมียประมาณ 110-182 กิโลกรัม ความสูงที่หัวไหล่ 0.92-1.23 เมตร ล่าสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ม้าลาย, ควายป่า, แอนทิโลป เป็นอาหาร รวมถึงลูกยีราฟที่เกิดใหม่หรืออ่อนแอด้วย นอกจากนี้แล้ว สิงโตทรานส์วาลยังมีอีกประเภทหนึ่งที่หายาก คือ สิงโตขาว ที่มีลำตัวและแผงคอเป็นสีขาวเกือบทั้งหมด โดยที่ไม่ใช่สัตว์เผือก แต่เกิดจากการผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งหาได้ยากมากและมีปริมาณที่น้อยมากแล้วในธรรมชาติ โดยจะพบได้เฉพาะอุทยานแห่งชาติครูเกอร์เท่านั้น สิงโตทรานส์วาลมีมากกว่า 2,000 ตัวที่ได้รับการลงทะเบียนและคุ้มครองในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์The Kruger Nationalpark Map.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสิงโตทรานส์วาล · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตซาโว

งโตซาโวตัวผู้ สิงโตซาโว (Tsavo lion) เป็นสิงโตที่เป็นความหลากหลายทางชีวภาพของสิงโตมาไซ (Panthera leo nubica) อย่างหนึ่ง มีการกระจายพันธุ์อยู่รอบ ๆ แม่น้ำซาโว บริเวณอุทยานแห่งชาติซาโวในเคนยา ซึ่งสิงโตชนิดนี้ในเพศผู้มีความแตกต่างไปสิงโตชนิดอื่น ๆ คือ มีส่วนร่วมในการล่าเหยื่อด้วย และไม่มีแผงคอ หรือมีแต่เพียงสั้น ๆ ซึ่งขนบริเวณคอนี้จะมีสีและความหนาแตกต่างกันออกไปตามแต่ละตัว ซึ่งสันนิษฐานว่าพฤติกรรมนี้เกิดจากความขาดแคลนอาหารในพื้นที่ ๆ อาศัย เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่แห้งแล้ง และแผงคอเป็นอุปสรรคเพราะมีพืชที่มีหนามแหลมขึ้นอยู่ สิงโตชนิดนี้ขึ้นชื่อว่ามีความโหดร้าย เนื่องจากเคยมีประวัติจู่โจมใส่มนุษย์มาแล้ว ที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ เรื่องราวของสิงโตคู่หนึ่งที่เข้าโจมตีใส่มนุษย์ ระหว่างที่มีการสร้างทางรถไฟและสะพานข้ามแม่น้ำซาโว จากเคนยาไปอูกันดา ระหว่างเดือนมีนาคม-ธันวาคม ค.ศ. 1898 โดยจักรวรรดิอังกฤษขณะที่ปกครองทวีปแอฟริกาในฐานะเจ้าอาณานิคม สิงโตที่ซาโว ได้คาบเอาคนงานก่อสร้างไปกินหลายต่อหลายครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งผิดไปจากพฤติกรรมของสิงโตและสัตว์ป่าทั่วไป ทำให้เกิดความหวาดกลัวและวุ่นวายไปทั่วไซส์งานก่อสร้าง บ้างก็เชื่อว่ามันคือ สิงโตปีศาจ ซึ่งนายทหารผู้คุมการก่อสร้าง คือ พันตรี จอห์น เฮนรี แพตเตอร์สัน ต้องหยุดการก่อสร้างและตามล่าสิงโตคู่นี้อย่างจริงจัง ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคม ในที่สุดเขาก็สามารถสังหารสิงโตตัวแรกได้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม..

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสิงโตซาโว · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตแหลมกู๊ดโฮป

งโตแหลมกู๊ดโฮป (Cape lion) เป็นสิงโตชนิดย่อยชนิดหนึ่ง ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เช่นเดียวกับสิงโตบาร์บารี (P. l. leo) สิงโตแหลมกู๊ดโฮป มีการกระจายพันธุ์อยู่บริเวณแหลมที่ติดชายฝั่งทะเลหรือทะเลทรายกึ่งทุ่งหญ้าในแอฟริกาใต้ เช่น แหลมกู๊ดโฮป อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีลักษณะที่เด่นคือ มีขนแผงคอสีดำซึ่งบางตัวอาจยาวถึงกลางหลังและมีปลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนทั่วใบหน้า จัดเป็นสิงโตขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ตัวผู้เมื่อขนาดโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 2.74-3.35 เมตร น้ำหนักประมาณ 90-100 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียยาวได้ประมาณ 2.13-2.74 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 65-80 กิโลกรัม สิงโตแหลมกู๊ดโฮป ตัวสุดท้ายในธรรมชาติได้ถูกสังหารด้วยฝีมือมนุษย์เมื่อปี ค.ศ. 1858 และตัวสุดท้ายได้ตายลงเมื่อปี ค.ศ. 1860 สถานภาพในปัจจุบัน ได้ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) ของไซเตส แต่ในปลายปี ค.ศ. 2000 ได้มีลูกสิงโต 2 ตัวที่เชื่อว่าสืบสายพันธุ์มาจากสิงโตแหลมกู๊ดโฮปนี้ มาจากสวนสัตว์ในไซบีเรียที่มีอุณหภูมิต่ำถึง -40 องศาเซลเซียส ได้ถูกส่งไปยังแอฟริกาใต้เพื่อทำการอนุรักษ์ต่อไป.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและสิงโตแหลมกู๊ดโฮป · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

เสือจากัวร์

ือจากัวร์ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ วงศ์เสือและแมว (Felidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera onca เป็นเสือขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง (P. tigris) และสิงโต (P. leo).

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือจากัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาว

ำหรับเสือดำ มีบทความขยายที่: เสือดำ เสือดาว หรือ เสือดำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) เป็นเสือขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง (P. tigris) thumb.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือดาว · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวหิมะ

ือดาวหิมะ (Snow leopard, Ounce) สัตว์ในวงศ์ Felidae ชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ป่าที่หายากใกล้สูญพันธุ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera uncia เดิมทีเสือดาวหิมะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Uncia uncia โดยถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Uncia โดยใช้มาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 30 แต่จากการศึกษาด้านจีโนไทป์พบว่าอยู่ในสกุล Panthera เช่นเดียวกับเสือใหญ่หลายชนิด ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือดาวหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวอามูร์

ือดาวอามูร์ หรือ เสือดาวไซบีเรีย (Amur leopard, Siberian leopard) เป็นเสือดาวชนิดย่อยชนิดหนึ่ง เสือดาวอามูร์ มีลักษณะคล้ายกับเสือดาวทั่วไป เพียงแต่ลายจุดตามลำตัวเทียบกันแล้วกับเสือดาวชนิดอื่น เสือดาวอามูร์ลายจะค่อนข้างเล็กกว่า อยู่ชิดกันมากกว่า และสันจุดบางกว่า การเปลี่ยนสีตามฤดูกาลด้วย โดยจะมีสีซีดที่สุดในฤดูหนาว เสือดาวอามูร์ พบกระจายพันธุ์ในแถบตะวันออกไกลของรัสเซีย, จีนทางภาคตะวันออกจรดพรมแดนเกาหลีเหนือและคาบสมุทรเกาหลี โดยที่ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 32-48 กิโลกรัม แต่บางตัวอาจมีน้ำหนักมากถึง 75 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีน้ำหนัก 25-43 กิโลกรัม เสือดาวอามูร์ นับเป็นเสือดาวและสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วชนิดหนึ่งของโลก โดยคาดว่ามีจำนวนประชากรในธรรมชาติในปัจจุบันเหลือเพียงไม่เกิน 50 ตัว โดยในกลางปี ค.ศ. 2012 มีการบันทึกภาพของเสือดาวอามูร์วัยเต็มตัวได้ที่เขาฉังไป๋ซาน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งเป็นการบ่งบอกด้วยว่าสภาพแวดล้อมของป่าแถบนี้ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือดาวอามูร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวอาระเบีย

ือดาวอาระเบีย หรือ เสือดาวอาหรับ (Arabian leopard; อาหรับ: نمر) เสือใหญ่จำพวกเสือดาวชนิดหนึ่ง เสือดาวอาระเบีย เป็นเสือดาวชนิดย่อยชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางแถบคาบสมุทรอาระเบียจนถึงคาบสมุทรไซนาย เสือดาวอาระเบียจัดเป็นเสือดาวขนาดเล็ก มีขนาดเล็กกว่าเสือดาวที่พบในทวีปแอฟริกาและในทวีปเอเชีย โดยจัดเป็นเสือดาวชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุด ตัวผู้ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของทะเลทรายจูดีนของอิสราเอล เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเพียง 30 กิโลกรัม และตัวเมียเพียง 23 กิโลกรัมเท่านั้น เสือดาวอาระเบีย เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามลำพังและโดดเดี่ยวในสภาพแวดล้อมที่เป็นหุบเขาหรือทะเลทรายแห้งแล้งของคาบสมุทรอาระเบีย โดยใช้ถ้ำหรือซอกหลีบหินต่าง ๆ เป็นที่อยู่อาศัย เสือดาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขานูฟา จะกินน้ำโดยอาศัยจากหมอกที่จับตัวแน่นหนาจนกลายเป็นฝนตกลงมา ซึ่งก็ตกเพียงปีละไม่กี่ครั้งเท่านั้น และถือเป็นพื้นที่ ๆ ชุ่มชื้นที่สุดในภูมิภาคแถบนี้ เสือดาวอาระเบีย ถือเป็นสัตว์นักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันร่วมกับสัตว์นักล่าชนิดอื่น ๆ เช่น หมาป่าอาระเบีย, ไฮยีนาลายแถบ โดยจะล่าสัตว์ต่าง ๆ กินเป็นอาหาร เช่น ไฮแรกซ์, กระต่ายป่า, แกะหรือแพะภูเขา หรือปศุสัตว์ต่าง ๆ ของชนพื้นเมือง รวมถึงสัตว์ขนาดเล็กอย่างนก, กบ หรือแมลงด้วยKingdon, J. (1990) Arabian Mammals. A Natural History.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือดาวอาระเบีย · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวอินโดจีน

ือดาวอินโดจีน หรือ เสือดาวจีนใต้ (Indochinese leopard, South-Chinese leopard) เป็นชนิดย่อยของเสือดาว (P. pardus) ชนิดหนึ่ง โดยชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ฌ็อง เตออดอร์ เดอลากูร์ นักปักษีวิทยาชาวฝรั่งเศส-อเมริกัน เสือดาวอินโดจีนมีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับเสือดาวอินเดีย (P. pardus fusca) ที่พบในภูมิภาคอนุทวีปอินเดีย แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าเล็กน้อย โดยมีสีขนออกเป็นสีแดงเข้ม แต้มจุดรอบนอกของลายขยุ้มตีนหมาค่อนข้างหนา ขนาดของลายขยุ้มตีนหมาโดยเฉลี่ยเล็กกว่าของเสือดาวอามูร์ (P. pardus orientalis) และเสือดาวจีนเหนือ (P. pardus japonensis) พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน ภาคตะวันออกของอินเดีย และหลายประเทศในภูมิภาคอินโดจีนรวมถึงประเทศไทย เสือดาวอินโดจีนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าชะตี้นของพม่ามีปริมาณลดลงอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940–1980 จนกระทั่งมีสถานะเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในท้องถิ่นเมื่อถึงปี..

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือดาวอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวอินเดีย

ือดาวอินเดีย (Indian leopard) เป็นชนิดย่อยของเสือดาว (P. pardus) ที่พบกระจายพันธุ์อยู่ในอนุทวีปอินเดีย นับเป็นเสือขนาดใหญ่ 1 ใน 5 ชนิด ที่พบได้ในภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งประกอบด้วยสิงโตเอเชีย, เสือเบงกอล, เสือดาวหิมะ และเสือลายเมฆ เสือดาวอินเดียลักษณะทั่วไปคล้ายกับเสือดาวจีนใต้ หรือเสือดาวอินโดจีน (P. pardus delacouri) มาก ขนสั้นเกรียนยาวประมาณ 1 นิ้ว ขนเรียบเปนมนและนุ่ม สีของขนโดยทั่วไปมักเปนสีสดใส เชน สีเหลืองทอง, สีสม หรือน้ำตาลแกมเหลือง สีขนบริเวณหลังจะเขมกวาบริเวณอื่น ลักษณะของลายขยุมตีนหมา ไมมีแบบแผนแนนอน บางตัวอาจมีลายขยุมตีนหมาขนาดเล็ก และแตมจุดในขยุ้มลายเชื่อมตอกันเปนวง แต่บางตัวอาจมีขยุมตีนหมาขนาดใหญ และแต้มจุดอยู่หางกัน แตลักษณะของขยุมตีนหมานี้สีขนตรงกลางของขยุมลายจะเขมกวาสีพื้นทั่วไป ขาดานในสีขาวและมีแตมจดสีดำกระจายทั่วไป ถิ่นที่อยูของเสือดาวอินเดีย มีอาศัยอยูทั่วไปในประเทศอินเดีย ตั้งแต่รัฐแคชเมียร์ และบริเวณเชิงเขาหิมาลัย ลงมาจดแหลมคอมอรินทางภาคใต เสือดาวอินเดีย นับเป็นเสือดาวสายพันธุ์ที่คุกคามมนุษย์และปศุสัตว์มากที่สุด แม้ในอินเดียเองจะมีกฎหมายคุ้มครองให้เป็นสัตว์สงวนก็ตาม แต่เสือดาวอินเดียในหลายพื้นที่อยู่อาศัยในป่าที่ใกล้กับแหล่งชุมนุมของมนุษย์ บางครั้งอาจหลุดเข้าไปถึงตัวเมืองจนกลายเป็นการโกลาหล จึงทำให้มีการทำร้ายมนุษย์ได้รับบาดเจ็บและถึงขั้นล้มตายเป็นจำนวนมาก หลายครั้งที่ต้องถูกฆ่าเพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทของอินเดีย คาดว่าจำนวนประชากรในธรรมชาติของเสือดาวอินเดียเหลืออยู่ประมาณ 12,000-14,000 ตัว ในปัจจุบันหน้า 100-119, ก้าวย่างจากเงื้อมเงา โดย ริชาร์ด คอนนิฟฟ.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือดาวอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวแอฟริกา

ือดาวแอฟริกา (African leopard) เป็นชนิดย่อยชนิดหนึ่งในบรรดา 8 ชนิดของเสือดาว จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae).

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือดาวแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่ง

ือโคร่ง หรือ เสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือชนิดที่ใหญ่ที่สุดด้ว.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งชวา

ือโคร่งชวา เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris sondaica เป็นเสือโคร่ง 1 ใน 3 สายพันธุ์ที่เคยพบได้ในอินโดนีเซีย โดยจะพบได้เฉพาะบนเกาะชวาเท่านั้น ปัจจุบันเสือโคร่งชวาได้สูญพันธุ์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับเสือโคร่งบาหลี (P. t. balica) เสือโคร่งชวาเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดเล็ก เช่นเดียวกับเสือโคร่งบาหลี และเสือโคร่งสุมาตรา (P. t. sumatrae) โดยตัวผู้มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 100-140 กิโลกรัม มีความยาวตั้งแต่หัวจรดหาง 245 เซนติเมตร ตัวเมียมีน้ำหนักระหว่าง 75-115 กิโลกรัม และมีขนาดตัวเล็กกว่าตัวผู้ เสือโคร่งชวาถูกคุกคามอย่างหนักจากการล่าของมนุษย์และการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย โดยส่วนมากถูกล่าอย่างหนักในช่วงทศวรรษที่ 40 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1970 เหลือเสือโคร่งชวาเพียงแห่งเดียวที่อุทยานแห่งชาติเมรูเบติลีที่ชวาตะวันตกเท่านั้น และหลังจากปี ค.ศ. 1976 ก็ไม่มีใครพบเสือโคร่งชวาอีกเลย ปัจจุบัน มีรายงานการพบเห็นเสือโคร่งชวาบ้าง แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่มีน้ำหนักมายืนยันได้อย่างเพียงพอ โดยการพบเห็นครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 พบร่างนักปีนเขาหญิงนิรนามผู้หนึ่งถูกสัตว์ที่คาดว่าเป็นเสือโจมตี ที่อุทยานแห่งชาติเขาเมอร์บารู ในชวากลาง และในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 มีชาวบ้านอ้างว่าพบเห็นแม่เสือพร้อมลูกเสือ 2 ตัวที่ใกล้กับหมู่บ้านที่เขาลาวู.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งชวา · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งบาหลี

ือโคร่งบาหลี (Bali tiger) เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris balica เป็นเสือโคร่ง 1 ใน 3 สายพันธุ์ที่เคยมีอยู่ในอินโดนีเซีย โดยเสือโคร่งบาหลีจะพบได้เฉพาะบนเกาะบาหลีเท่านั้น ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วจากการล่าด้วยน้ำมือของมนุษย์ เสือโคร่งบาหลีนับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่มีในโลก เมื่อเทียบกับเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่เป็นเสือโคร่งขนาดใหญ่ที่สุดแล้ว เสือโคร่งบาหลีมีขนาดลำตัวเพียงครึ่งหนึ่งของเสือโคร่งไซบีเรียเท่านั้น โดยมีลำตัวไล่เลี่ยกับเสือดาว (P. pardus) หรือเสือพูม่า (Puma concolor) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ น้ำหนักในตัวผู้โดยเฉลี่ย 90-100 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียจะอยู่ที่ 65-80 กิโลกรัม ความยาวตั้งแต่หัวจรดหางของตัวผู้ 220 เซนติเมตร ตัวเมีย 195-200 เซนติเมตร เสือโคร่งบาหลีมีสีขนและลวดลายบนลำตัวเข้มที่สุดในบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด เสือโคร่งบาหลีตัวสุดท้ายตายลงเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1937 เป็นเสือตัวเมียที่ถูกยิงในบาหลีตะวันตก ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วโลก มีซากเสือโคร่งบาหลีเพียง 8 ตัวเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะได้มาจากการล่าในทศวรรษที่ 30.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งบาหลี · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งมลายู

ือโคร่งมลายู หรือ เสือโคร่งมาเลเซีย (Harimau Malaya) เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris jacksoni ในวงศ์ Felidae เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งถูกอนุกรมวิธานแยกออกจากเสือโคร่งอินโดจีน (P. t. corbetti) เมื่อปี ค.ศ. 2004 อันเนื่องจากดีเอ็นเอที่ต่างกันKhan, M.K.M. (1986).

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งมลายู · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งสุมาตรา

ำหรับเสือสุมาตราที่หมายถึงปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาเสือสุมาตรา เสือโคร่งสุมาตรา (Sumatran tiger) เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris sumatrae ในวงศ์ Felidae จัดเป็นเสือโคร่งขนาดเล็กที่สุดในโลกที่ยังคงพบได้จนถึงทุกวันนี้.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งอินโดจีน

ือโคร่งอินโดจีน (Indochinese tiger, Corbett's tiger) เสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris corbetti อยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) รูปร่างเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่มีลายเส้นที่เล็กกว่าเสือโคร่งเบงกอล (P. t. tigris) และขนาดลำตัวก็เล็กกว่า โดยตัวผู้มีความยาวจากหัวถึงหางประมาณ 2.7 เมตร หนักประมาณ 180 กิโลกรัม ตัวเมีย ยาวประมาณ 2.4 เมตร หนักประมาณ 115 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, พม่า และมาเลเซีย โดยถูกอนุกรมวิธานแยกออกมาจากเสือโคร่งเบงกอลในปี พ.ศ. 2511 โดยเฉพาะที่พม่าจะมีเสือโคร่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ โดยแบ่งตามภูมิศาสตร์โดยถือเอาแม่น้ำอิรวดีเป็นเกณฑ์ คือ เสือโคร่งสายพันธุ์เบงกอลจะอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี ส่วนเสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนจะอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ นอกจากนี้ในอดีตเคยมีในจีนด้วย เสือโคร่งอินโดจีนในจีนตัวสุดท้ายตายลงเมื่อปลายปี พ.ศ. 2552 ที่เมืองลา มณฑลยูนนาน เนื่องจากชาวบ้านคนหนึ่งฆ่า เสือโคร่งอินโดจีนอาศัยและหากินอยูในป่าที่ราบต่ำใกล้แหล่งน้ำ มีอาหารอุดมสมบูรณ์ สามารถอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า เช่น ป่าดิบชื้น, ป่าผลัดใบ ล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และกลาง เช่น วัว, ควายป่า, กวาง, กระทิง เป็นอาหาร โดยมักจะกินเนื้อบริเวณตะโพกก่อน เมื่อเหลือจะนำไปซ่อน แล้วจะกลับมากินใหม่จนหมด ในบางครั้งเมื่อมีลูกเสือที่อ่อนแอ แม่เสืออาจกินลูกด้วยถ้าหากปกป้องหรือเลี้ยงต่อไปไม่ได้ เสือโคร่งเป็นเสือที่ชอบเล่นน้ำและว่ายน้ำเก่ง เคยมีรายงานว่าสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะและชายฝั่งทะเลได้ เสือตัวผู้จะแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ โดยการใช้เล็บตะกุยดินหรือปัสสาวะรดต้นไม้ ในฤดูผสมพันธุ์เสือตัวผู้จะรับรู้ถึงความต้องการของเสือตัวเมียจากเสียงร้องที่ดังขึ้นบ่อยขึ้น เมื่อได้ผสมพันธุ์แล้วเสือตัวผู้จะจากไป และอาจไปผสมพันธุ์กับเสือตัวเมียอื่น ๆ ได้อีก เสือโคร่งอินโดจีนมีระยะตั้งท้อง 3 เดือน และจะออกลูกในที่ปลอดภัย ออกลูกครั้งละ 1–7 ตัว ลูกเสือที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา ลูกเสือที่ไม่แข็งแรงจะตายไป ตัวที่เหลือจะได้รับการเลี้ยงดูและฝึกสอนให้หาอาหารจากแม่ต่อไป เมื่อลูกเสือโตพอที่จะล่าเหยื่อได้เอง ก็จะแยกตัวออกไปหากินตามลำพัง สถานะของเสือโคร่งอินโดจีนในธรรมชาติในประเทศไทย เหลือเพียง 2 ที่ คือ ป่าเขาใหญ่และป่าผืนภาคตะวันตกซึ่งติดกับชายแดนพม่าเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า เสือโคร่งอินโดจีนที่พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งมีพฤติกรรมล่าเหยื่อสัตว์จำพวกสัตว์กีบมากที่สุด โดยสัตว์ที่ถูกล่าเป็นเพื่อเป็นอาหารมากที่สุด คือ วัวแดง --> สำหรับประเทศพม่าผู้เชี่ยวชาญรายงานว่า ทางรัฐบาลทหารพม่านับจำนวนประชากรเสือในป่าได้ทั้งหมด 85 ตัว ในปี 2553 ตัวเลขนี้ไม่สามารถนับเป็นข้อมูลสถิติได้ เนื่องจากข้อมูลการนับดังกล่าวไม่ได้ระบุวันเวลาและข้อมูลอื่นๆไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เชื่อได้ว่ายังมีเสือโคร่งอินโดจีนจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตามป่าแถบตะวันออกบริเวณรอยต่อชายแดนไทย ในภูมิภาคอินโดจีน เสือโคร่งถูกล่าอย่างหนักจนสูญพันธุ์จากพื้นที่แถบนี้ทั้งหมด ที่ประเทศเวียดนาม ปี..

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งจีนใต้

ือโคร่งจีนใต้ หรือ เสือโคร่งจีน หรือ เสือโคร่งเซียะเหมิน (อักษรจีนตัวเต็ม: 华南虎, อักษรจีนตัวย่อ: 華南虎, หัวหนันหู่) เสือโคร่งพันธุ์ย่อยพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris amoyensis อยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) รูปร่างเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่มีสีขนที่อ่อนกว่าเสือโคร่งเบงกอล (P. t. tigris) หรือเสือโคร่งอินโดจีน (P. t. corbetti) มีหางสั้นกว่า มีลวดลายที่น้อยกว่า นับเป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลวดลายน้อยที่สุด มีขนาดรูปร่างและน้ำหนักเล็กกว่าเสือโคร่งอินโดจีนเล็กน้อย และมีลักษณะของโครงสร้างกะโหลกที่แตกต่างออกไป มีเบ้าตาลึก และมีโหนกนูนเล็กน้อยบริเวณด้านหลังต้นคอ มีการกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะประเทศจีนทางตอนใต้ ตามที่ปรากฏหลักฐานพบว่า เสือชนิดนี้อาศัยอยู่ในบริเวณประเทศจีนมากว่า 2 ล้านปีแล้ว และเชื่อว่าเป็นต้นสายพันธุ์ของเสือโคร่งพันธุ์อื่น ๆ แต่ปัจจุบัน มีสถานะขั้นวิกฤตในธรรมชาติ โดยพบในธรรมชาติครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2507 คาดว่ามีเหลืออยู่ในธรรมชาติราว 30 ตัว และมี 60 ตัวที่อยู่ในสวนสัตว์ประเทศจีน ในอดีตเชื่อว่าอาจมีในเกาหลีใต้ด้วย แต่ปัจจุบันไม่พบแล้ว อุปนิสัยของเสือโคร่งจีนใต้ เหมือนกับเสือโคร่งทั่วไป คือ ชอบเล่นน้ำและมีพฤติกรรมล่าเหยื่อที่คล้ายคลึงกันคือซ่อนเหยื่อและมักกินเนื้อบริเวณสะโพกก่อน ในปี พ.ศ. 2546 ทางการจีนได้ร่วมมือกับทางการแอฟริกาใต้ทำโครงการการอนุรักษ์และขยายพันธุ์เสือโคร่งจีน โดยใช้พื้นที่ป่าของแอฟริกาใต้เป็นสถานที่อาศัยและขยายพันธุ์ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นที่โล่งกว้างขวางและมีภูมิอากาศที่เหมาะสม มีฝนตกเหมาะกับอุปนิสัยที่ชอบเล่นน้ำของเสือ โดยใช้เนื้อที่ 330 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเคยเป็นฟาร์มเลี้ยงแกะมาก่อน การขยายพันธุ์ประสบความสำเร็จเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เมื่อแม่เสือชื่อ "คาเธย์" ได้คลอดลูกเสือเพศผู้ออกมาตัวหนึ่ง จากการผสมกับเสือเพศผู้ชื่อ "ไทเกอร์วู้ด" นับเป็นครั้งแรกที่ลูกเสือโคร่งจีนใต้ได้ถือกำเนิดขึ้นนอกประเทศจีน ทางเจ้าหน้าที่โครงการคาดว่าในอีก 15 ปี ข้างหน้า จะได้ลูกเสือเช่นนี้ออกมาเป็นจำนวนมากขึ้น.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งจีนใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งแคสเปียน

ือโคร่งแคสเปียน หรือ เสือโคร่งเปอร์เซีย (Caspian tiger, Persian tiger.; ببر قزويني) เสือโคร่งสายพันธุย่อยสายพันธุ์หนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีการกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียกลางจนถึงตะวันออกกลาง เช่น อัฟกานิสถาน, เทือกเขาคอเคซัส, ภาคตะวันตกของจีน, ที่ราบสูงแมนจูเรีย, อิหร่าน, อิรัก, ตุรกี, มองโกเลีย, คาซัคสถาน, ทาจิกิสถาน, คีร์กีซสถาน, เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน รวมถึงอาจจะแพร่กระจายพันธุ์ไปถึงซูดานในแอฟริกาเหนือด้วยก็เป็นได้ เนื่องจากมีผู้พบขนเสือโคร่งวางขายในตลาดของไคโร อียิปต์ ในปี ค.ศ. 1951 ซึ่งขนเสือผืนนี้มาจากซูดาน เสือโคร่งแคสเปียน มีลักษณะคล้ายคลึงกับเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) มาก นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่อีกสายพันธุ์หนึ่ง โดยตัวผู้ในเตอร์กิสถานมีความยาวลำตัว 270 เซนติเมตร นับเป็นสถิติที่ใหญ่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ในขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กลงมา น้ำหนักตัวเต็มที่ประมาณ 240 กิโลกรัม ล่ากวางและหมูป่า รวมถึงไก่ฟ้า กินเป็นอาหาร ถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่ง 2 สายพันธุ์นี้ต่อติดกัน โดยเสือโคร่งแคสเปียนจะกระจายพันธุ์อยู่แถบตะวันตกของภูมิภาคเอเชียกลาง และเสือโคร่งไซบีเรียจะกระจายพันธุ์อยู่ทางตะวันออกของภูมิภาคเอเชียกลางจนถึงเอเชียเหนือ ภาพวาดแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของลายที่หางของเสือโคร่งแคสเปียน (ซ้าย) กับเสือโคร่งไซบีเรีย (ขวา) เสือโคร่งแคสเปียน สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 70 โดยที่เทือกเขาคอเคซัสตัวสุดท้ายถูกฆ่าตายไปในปี ค.ศ. 1922 ใกล้กับทบิลิซี จอร์เจีย หลังจากไปฆ่าสัตว์เลี้ยงในฟาร์มของชาวบ้าน เสือโคร่งแคสเปียนตัวสุดท้ายในตุรกีถูกฆ่าในปี ค.ศ. 1970 ใกล้กับอูลูเดเร ฮักการี ในอิรักเคยพบเสือโคร่งแคสเปียนเพียงตัวเดียว ถูกฆ่าใกล้กับโมซูล ในปี ค.ศ. 1887 ในอิหร่าน เสือโคร่งแคสเปียนตัวสุดท้ายถูกฆ่าในปี ค.ศ. 1959 ในโกลีสตาน เสือโคร่งแคสเปียนตัวหนึ่งในลุ่มแม่น้ำทาริม ของจีนถูกฆ่าตายในปี ค.ศ. 1899 ใกล้กับทะเลสาบลอปนอร์ในมณฑลซินเจียง และหลังจากทศวรรษที่ 20 ก็ไม่มีใครเห็นเสือโคร่งสายพันธุ์นี้ในลุ่มแม่น้ำนี้อีกเลย เสือโคร่งแคสเปียนหายไปจากลุ่มแม่น้ำมานัสในเทือกเขาเทียนซานทางตะวันตกของอุรุมชี ในทศวรรษที่ 60 ที่แม่น้ำไอรี ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยสำคัญแหล่งสุดท้ายในบริเวณทะเลสาบบัลฮัช มีผู้พบครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1948 และตอนปลายแม่น้ำอามูดาร์ยาบริเวณชายแดนระหว่างเติร์กเมนิสถาน, อุซเบกิสถาน และอัฟกานิสถาน เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 70 แล้ว แม้จะมีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่าพบเสือโคร่งแคสเปียนบริเวณทะเลอารัลใกล้กับนูคัส ในปี ค.ศ. 1968 หรือในเขตสงวนทางธรรมชาติทิโกรวายาบัลกา ซึ่งเป็นป่ากกริมแม่น้ำอามูดาร์ยา บริเวณชายแดนทาจิกิสถานและอัฟกานิสถาน มีผู้พบเห็นครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1953 แต่มีผู้อ้างว่าพบเห็นรอยเท้าคล้ายรอยเท้าเสือโคร่งขนาดใหญ่ในปี..

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งแคสเปียน · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งไซบีเรีย

ือโคร่งไซบีเรีย หรือ เสือโคร่งอามูร์ หรือ เสือโคร่งจีนเหนือ หรือ เสือโคร่งแมนจูเรีย (Siberian tiger จีนตัวเต็ม: 东北虎; จีนตัวย่อ: 東北虎; รัสเซีย: Амурский тигр; มองโกล: Сибирийн бар; เปอร์เซีย: ببر سیبری; เกาหลี: 시베리아호랑이) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือชนิดหนึ่ง เป็นสายพันธุ์ย่อยของเสือโคร่ง (P. tigris) เป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังหลงเหลือเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึงเกือบ 3 เมตร และหนักได้ถึงเกือบ 300 กิโลกรัม เป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเสือโคร่งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด ใบหน้าแผ่กว้าง กรามใหญ่ ลวดลายน้อย และพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองออกขาวมากกว่าเสือโคร่งชนิดอื่น ๆ สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะการปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่มีหิมะและความหนาวเย็นอยู่รอบตัว ในอดีต เสือโคร่งไซบีเรียเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่กว้างขวางของทวีปเอเชีย แต่ในปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรียมีแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นป่าผืนเล็กที่อยู่ตอนเหนือของเมืองวลาดิวอสตอค ประเทศรัสเซีย ตามแนวชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นทางตอนเหนือ และมีจำนวนเพียง 400 ตัว การทำเหมืองแร่และการทำไม้ในแถบไซบีเรียตะวันออกซึ่งเป็นถิ่นของเสือโคร่งไซบีเรีย ที่ประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1990 มีการพบเห็นเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียในเทือกเขาฉางไป๋ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ในประเทศเกาหลีเหนือ สันนิษฐานว่ายังมีเสือโคร่งไซบีเรียหลงเหลืออยู่บริเวณภูเขาเปกดู ซึ่งเป็นบริเวณพรมแดนที่ติดต่อเทือกเขาฉางไป๋ของจีน ปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรีย พบอาศัยอยู่ในป่าไทก้าของไซบีเรีย คาดมีเหลืออยู่ในธรรมชาติราวกว่า 200 ตัว ส่วนในจีนคาดว่ามีประมาณ 14-17 ตัว โดยพบล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายน..

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งเบงกอล

ือโคร่งเบงกอล (เบงกาลี:বাঘ, ฮินดี: बाघ; Bengal tiger, Royal bengal tiger) เป็นเสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่พบในแถบไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เสือโคร่งเบงกอลตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180-270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140–180 กิโลกรัม การกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย สถานะในธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกล่าเพื่อทำหนังเป็นเครื่องประดับ และกระดูก, อวัยวะ เป็นยาสมุนไพรตามความเชื่อ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งเบงกอลนั้นนับได้ว่าเป็นเสือโคร่งชนิดที่ยังมีเหลืออยู่มากที่สุดในธรรมชาติ คาดว่ามีอยู่ประมาณ 2,000 ตัวในธรรมชาติ ในเขตป่าอนุรักษ์และอินเดียและเนปาล และเป็นเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้มากและแพร่หลายที่สุด ในสถานที่เลี้ยง พบว่า เสือโคร่งเบงกอลเป็นเสือโคร่งที่มีความเชื่องและดุร้ายน้อยที่สุด จนสามารถฝึกหัดให้เล่นละครสัตว์ได้ เสือโคร่งเบงกอลขึ้นชื่อว่าเป็นเสือโคร่งที่กินมนุษย์มาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในอินเดีย การล่าเสือเป็นเกมกีฬาของราชวงศ์ชั้นสูง แม้แต่ในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างออกล่าในตามทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูงและหญ้าต่ำ ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีเสือโคร่งเบงกอลคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันที่การล่าเสือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และผู้คนเข้าใจถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น แต่ทว่าก็ยังคงมีการโจมตีมนุษย์อยู่เป็นระยะ ๆ ของเสือ โดยเฉพาะในสุนทรพนะซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน เสือโคร่งเบงกอลที่นี่มีความดุร้ายและไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะโจมตีมนุษย์เสมอ ๆ โดยเฉพาะการจู่โจมจากด้านหลัง ชาวพื้นเมืองที่นี่จึงต้องสวมหน้ากากไว้ด้านหลังเพื่อป้องกัน ด้วยการทำให้เสือเข้าใจผิดว่ากำลังถูกจ้องดูอยู่ เสือที่โจมตีมนุษย์ส่วนมากเป็นตัวเมียในช่วงฤดูเก็บน้ำผึ้ง ซึ่งตรงกับฤดูที่เสือโคร่งเบงกอลจะมีลูกพอดี.

ใหม่!!: สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Panthera

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »