โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค

ดัชนี ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค

ูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (Regional Specialized Meteorological Center, ย่อว่า RSMC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการเผยแพร่ข้อมูล คำแนะนำ และคำเตือนทางอุตุนิยมวิทยาในภูมิภาคที่ตนเองตั้งอยู่ ได้รับการยอมรับโดยความเห็นพ้องที่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในฐานะส่วนหนึ่งของหน่วยงานการเฝ้าระวังสภาพอากาศโลก.

20 ความสัมพันธ์: บริสเบนบริเวณความกดอากาศต่ำพอร์ตมอร์สบีพายุหมุนเขตร้อนกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกอ่าวเบงกอลจาการ์ตาทะเลอาหรับดาร์วินประเทศมอริเชียสประเทศมาดากัสการ์ประเทศอินโดนีเซียประเทศปาปัวนิวกินีแอ่งพายุหมุนเขตร้อนเพิร์ท (ออสเตรเลีย)เส้นขนานที่ 25 องศาใต้เส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออก

บริสเบน

ริสเบน (Brisbane) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของรัฐควีนส์แลนด์ประเทศออสเตรเลีย อีกทั้งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ของประเทศออสเตรเลีย มีจำนวนประชากรเกือบ 2.2 ล้านคน โดยถ้ารวมทั้งรัฐควีนสแลนด์แล้วจะมีมากกว่า 4.5 ล้านคน บริสเบนเป็นเมืองที่อยู่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก และมีแม่น้ำบริสเบน (Brisbane River) ไหลผ่านบนที่ราบระหว่างมอร์ทันเบย์ (Moreton Bay) กับเทือกเขาเกรตดิไวดิง (Great Dividing Range) ส่วนชื่อเมืองตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์โทมัส บริสเบน (Sir Thomas Brisbane).

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและบริสเบน · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณความกดอากาศต่ำ

การหมุนทวนเข็มนาฬิกาของบริเวณความกดอากาศต่ำในซีกโลกเหนือ บริเวณเหนือประเทศไอซ์แลนด์ การหมุนตามเข็มนาฬิกาของบริเวณความกดอากาศต่ำในซีกโลกใต้(ในภาพเป็นบริเวณทางใต้ของประเทศออสเตรเลีย) บริเวณจุดศูนย์กลางมักจะเป็นบริเวณที่มีค่าความกดอากาศต่ำสุด บริเวณความกดอากาศต่ำ หรือ หย่อมความกดอากาศต่ำ (Low-pressure area) คือ บริเวณที่มีค่าความกดอากาศต่ำจากการเปรียบเทียบกับบริเวณรอบโดยรอบ การเกิดความกดอากาศต่ำ เกิดจากการที่มวลของอากาศได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ มวลอากาศจะยกตัวสูงขึ้นทำให้ความกดอากาศบริเวณนั้นมีค่าลดลง เมื่อมวลอากาศที่ลอยตัวขึ้นเนี่องจากความร้อนเย็นตัวลงด้านบนทำให้เกิดเป็นเมฆขึ้น โดยทั่วไปท้องฟ้าบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำจะมีเมฆปกคลุม ผลคือทำให้อุณหภูมิของพื้นที่นั้นลดลงจากการสะท้อนแสงและคลื่นที่มาจากดวงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวัน ในยุโรปการเรียกชื่อบริเวณความกดอากาศต่ำจะใช้ชื่อเรียกว่า "ดีเปรสชั่น" (depression).

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและบริเวณความกดอากาศต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

พอร์ตมอร์สบี

อร์ตมอร์สบี (Port Moresby) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศปาปัวนิวกินี จากการสำรวจประชากรในปี..

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและพอร์ตมอร์สบี · ดูเพิ่มเติม »

พายุหมุนเขตร้อน

รนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากอวกาศ พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี

กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี (Fiji Meteorological Service, FMS) คือหน่วยงานระดับกรมของรัฐบาลฟีจี ทำหน้าที่รับผิดชอบในการพยากรณ์อากาศ และมีฐานที่ตั้งอยู่ในนันจี ปัจจุบันเจ้ากรมคือ Ravind Kumar ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี · ดูเพิ่มเติม »

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น หรือ JMA เป็นหน่วยราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคม ให้บริการด้านสภาพอากาศของรัฐบาลญี่ปุ่น มีหน้าที่รับผิดชอบในการรวบรวมและรายงานข้อมูลสภาพอากาศและพยากรณ์อากาศในญี่ปุ่น และยังรับผิดชอบในการสังเกตการณ์และเตือนภัยแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ และการปะทุของภูเขาไฟ มีที่ทำการกรมตั้งอยู่ในแขวงชิโยะดะ กรุงโตเกียว แบ่งการจัดการออกเป็น 6 สำนักงานส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ JMA ยังได้ดำเนินการเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับไซโคลนเขตร้อนในพื้นที่ JMA มีจุดตรวจวัด 627 จุดทั่วประเทศ ทำหน้าที่ตรวจวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

ตราสัญลักษณ์ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization; ย่อ WMO) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลซึ่งมีรัฐและดินแดนสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดราย จัดตั้งขึ้นเป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติเมื่อ..

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเบงกอล

แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งอ่าวเบงกอล เรือประมงในอ่าวเบงกอล เกาะเซนต์มาร์ติน อ่าวเบงกอล ชายหาดมารีนา เจนไน อ่าวเบงกอล (Bay of Bengal) เป็นอ่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรอินเดีย มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมล้อมรอบด้วยประเทศอินเดียและศรีลังกาทางด้านตะวันตก บังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดียทางด้านเหนือ (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ) และประเทศพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ทางด้านตะวันออก อาณาเขตด้านใต้แผ่ถึงเส้นเขตจินตนาการที่ลากจากดอนดราเฮดตอนใต้ของศรีลังกาไปถึงปลายด้านเหนือของเกาะสุมาตรา อ่าวเบงกอลมีเนื้อที่ 2,172,000 กม² มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลมาลงทะเล เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำโคทาวรี แม่น้ำมหานที แม่น้ำกฤษณา และแม่น้ำกาเวรี เมืองท่าสำคัญของอ่าวเบงกอล ได้แก่ กัททะลูร์ เจนไน กากีนาทะ มะจิลีปัตนัม วิศาขปัตนัม พาราทิพ โกลกาตา จิตตะกอง และย่างกุ้ง.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและอ่าวเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

จาการ์ตา

การ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาวียา หรือ ปัตตาเวีย (Batavia) คนไทยในอดีตเรียก กะหลาป๋.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและจาการ์ตา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอาหรับ

ทะเลอาหรับ ทะเลอาหรับ (Arabian Sea, بحر العرب) เป็นบริเวณหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศอินเดีย ทิศเหนือติดประเทศปากีสถานและประเทศอิหร่าน ทิศตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับ ส่วนที่ลึกที่สุดของทะเลอาหรับลึก 4,652 เมตร ส่วนที่ยาวที่สุดยาว 2,400 กิโลเมตร แม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดที่ไหลลงทะเลอาหรับคือแม่น้ำสินธุ อาหรับ หมวดหมู่:คาบสมุทรอาหรับ.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและทะเลอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ดาร์วิน

ร์วิน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและดาร์วิน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมอริเชียส

มอริเชียส (Mauritius) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐมอริเชียส (Republic of Mauritius) คือประเทศที่เป็นเกาะนอกชายฝั่งแอฟริกาในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาดากัสการ์ ประมาณ 900 กิโลเมตร (560 ไมล์) และทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียประมาณ 3,943 กิโลเมตร (2,450 ไมล์) นอกจากตัวเกาะมอริเชียสแล้ว สาธารณรัฐมอริเชียสประกอบด้วยเกาะเซนต์แบรนดอน เกาะรอดรีกส์ และหมู่เกาะอากาเลกา มอริเชียสเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะแมสการีน มีเกาะเรอูนียงของฝรั่งเศส ตั้งอยู่ห่างจากมอริเชียสไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร (125 ไมล์).

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและประเทศมอริเชียส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาดากัสการ์

มาดากัสการ์ (Madagascar; Madagasikara) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมาดากัสการ์ (République de Madagascar; Repoblikan'i Madagasikara) คือชาติเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทางตะวันออกของแอฟริกา ใกล้กับโมซัมบิก เกาะมาดากัสการ์ที่เป็นเกาะหลักเป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นถิ่นของสายพันธุ์พืชและสัตว์ถึงร้อยละ 5 ของโลก และมีมากกว่าร้อยละ 80 ที่เป็นสัตว์หรือพืชเฉพาะถิ่นมาดากัสการ์ ที่เด่นคือตัวลีเมอร์ซึ่งอยู่ในตระกูลไพรเมต ตัวฟอสซา (fossa) ซึ่งกินเนื้อ นกเฉพาะถิ่น 3 ตระกูล และต้นบาวบับ (baobab) 6 ชนิด ภาษาหลักคือภาษามาลากาซี สมดุลทางธรรมชาติของมาดากัสการ์ถูกคุกคาม เนื่องจากป่าส่วนใหญ่เสียหาย และลีเมอร์ได้สูญพันธุ์ถึง 15 สายพัน.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและประเทศมาดากัสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปาปัวนิวกินี

ปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea; Papua Niugini) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี (Independent State of Papua New Guinea; Independen Stet bilong Papua Niugini) เป็นประเทศในแถบโอเชียเนีย เป็นพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะนิวกินี (พื้นที่ทางตะวันตกเป็นของจังหวัดปาปัวของประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ทางตะวันตกของหมู่เกาะโซโลมอน ปัจจุบันปาปัวนิวกินีเป็นประเทศสังเกตการณ์ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน).

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและประเทศปาปัวนิวกินี · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งพายุหมุนเขตร้อน

thumb ตามธรรมเนียม พายุหมุนเขตร้อนจะก่อตัวขึ้นแยกกันภายในทั้งหมดเจ็ดแอ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ด้านตะวันออกและตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ, ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก, ด้านตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดีย (ทะเลอาหรับ และ อ่าวเบงกอล) ซึ่งในเจ็ดแอ่งนี้ มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกมีการกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนบ่อยที่สุด และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดียมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยของพายุหมุนเขตร้อน ที่มีความรุนแรงในระดับมากกว่าพายุโซนร้อน ทั่วโลกอยู่ที่ 86 ลูก ในจำนวนนี้ 47 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุเฮอร์ริเคน/พายุไต้ฝุ่น และอีก 20 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง (อย่างน้อยมีความรุนแรงอยู่ในระดับ 3).

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและแอ่งพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เพิร์ท (ออสเตรเลีย)

ร์ท เพิร์ท (Perth) เป็นเมืองหลวงของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ในประเทศออสเตรเลีย มีประชากรอาศัยอยู่ 1,507,900 (ธันวาคม 2006) ทำให้เพิร์ทเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และเป็น 3 ใน 4 ของรัฐ ความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่อันดับที่ 4 ในออสเตรเลีย ด้วยอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 2.1 (2006) และคาดว่าจะเจริญได้ถึงร้อยละ 2.5 ในปี 2007.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและเพิร์ท (ออสเตรเลีย) · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 25 องศาใต้

้นขนานที่ 25 องศาใต้ คือวงกลมละติจูดที่ 25 องศา ด้านใต้ของระนาบศูนย์สูตรโลกทางใต้ของทรอปิกออฟแคปริคอร์น เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ออสตราเลเซีย มหาสมุทรแปซิฟิก และทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและเส้นขนานที่ 25 องศาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก ในแอนตาร์กติกา เส้นเมริเดียนนี้มีความหมายเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างดินแดนแอนตาร์กติกาของออสเตรเลียกับรอสส์ดีเพนเดนซี.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนนี้ถูกใช้เป็นเส้นแบ่งเขตของแอ่งพายุหมุนเขตร้อนสองแอ่ง คือ ภูมิภาคออสเตรเลีย และพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ แนวสันเขามหาสมุทรไนน์ตีอีสท์ถูกตั้งชื่อตามเส้นเมริเดียนนี้ เส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ศูนย์กลางอุตุนิยมวิทยากำหนดขอบเขตส่วนภูมิภาค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »