โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศิริวร แก้วกาญจน์

ดัชนี ศิริวร แก้วกาญจน์

ริวร แก้วกาญจน์ (มีนาคม พ.ศ. 2511 -) จิตรกร กวี และนักเขียนชาวไทย ผู้มีผลงานโดดเด่นและเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์มากที่สุดในประเทศไทย ศิริวรจบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราชเริ่มเข้าสู่โลกการอ่านอย่างจริงจังตอนเรียนที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นครศรีธรรมราช จากนั้นก็ เข้าไปเป็นทหารอยู่ในกองทัพภาคที่ 4 เป็นเวลา 1 ปี, เข้ากรุงเทพฯ ปี..

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2511พ.ศ. 2550พฤษภาทมิฬกรุงเทพกวีกวีนิพนธ์มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนาคมมติชนรางวัลศิลปาธรรางวัลซีไรต์จังหวัดนครศรีธรรมราชจิตรกรรมคตินิยมนักวิชาการงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประเทศไทยนวนิยายนักดนตรีนักเขียนเรื่องสั้นเรียงความ

พ.ศ. 2511

ทธศักราช 2511 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1968 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และพ.ศ. 2511 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาทมิฬ

หตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองที่มีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็น นายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหาร รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน) และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เหตุการณ์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีหัวหน้าคณะคือ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในขณะนั้นภายหลังการรัฐประหารได้เลือกนาย อานันท์ ปันยารชุน เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีและได้ร่างรัฐธรรมนูญจนมีการเลือกตั้งผลปรากฏว่านายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ตั้งขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในคณะ ร. ได้คะแนนมากที่สุด แต่สุดท้ายไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เนื่องจากถูกรัฐบาลสหรัฐขึ้นบัญชีดำจากความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด ทำให้ พล.อ.สุจินดา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเป็นการตระบัดสัตย์ที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายา "เสียสัตย์เพื่อชาติ" จากสื่อมวลชนในเวลาต่อมา จากผลดังกล่าว ทำให้ประชาชนหลายส่วนไม่พอใจการขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.สุจินดา ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย จนนำไปสู่การประท้วงทั้งการอดอาหาร การเดินขบวน และการชุมนุมในสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ทำให้รัฐบาลพล.อ.สุจินดาใช้คำสั่งสลายการชุมนุม เกิดการปะทะขึ้น มีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงรับสั่งให้พลเอกสุจินดา คราประยูรและพลตรีจำลอง ศรีเมืองเข้าเฝ้า โดยทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งได้มีการเผยแพร่ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นอีก 4 วัน พล.อ.สุจินดา จึงได้ประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก่อนการเลือกตั้งในเวลาต่อมา การชุมนุมในครั้งนี้ยังเป็นการชุมนุมที่ผู้ประท้วงมีโทรศัพท์มือถือใช้สื่อสารจนถูกเรียกว่าเป็น "ม็อบมือถือ" และรวมถึงการเรียกชื่อฝั่งพรรคซึ่งแตกออกเป็น 2 ฝั่งจากผู้สื่อข่าว โดยเรียกฝั่งพรรคที่เข้าไปทางรัฐบาลของพล.อ.สุจินดา ว่า "พรรคมาร" ส่วนฝั่งพรรคที่คัดค้านการมีอำนาจของพล.อ.สุจินดา เรียกว่า "พรรคเทพ".

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และพฤษภาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพ

กรุงเทพ อาจหมายถึง; ดินแดนและการปกครอง.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

กวี

กวี หมายถึง ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทร้อยกรองในรูปฉันทลักษณ์อันหมายถึงแบบข้อบังคับสัมผัส วรรคตอน และถ้อยคำให้เรียงร้อยรับกันอย่างเหมาะเจาะไพเราะด้วยจังหวะและน้ำหนักของคำที่กำหนดไว้ โดยทั่วไป อาจจำแนกแบบฉันทลักษณ์ออกเป็น 7 ชนิดด้วยกันคือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต และกลบท มักใช้คำนี้ในภาษาแบบแผนหรือภาษาการประพันธ์ในวรรณคดีโบราณ และอาจรวมถึงปัจจุบัน โดยปร..หมายถึง ผู้ชำนาญในการประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบทร้อยกรอง หรือวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆ โดยมีความหมายในเชิงยกย่อง.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และกวี · ดูเพิ่มเติม »

กวีนิพนธ์

กวีนิพนธ์ (Poetry, Poem, Poesy) คือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา เพื่อคุณประโยชน์ด้านสุนทรียะ ซึ่งเพิ่มเติมจากเนื้อหาทางความหมาย นับเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม โดยเป็นคำประพันธ์ที่กวีแต่ง เป็นงานเขียนที่มีวรรณศิลป์ เร้าให้สะเทือนอารมณ์ได้ คำที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้แก่ ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกับ กวีนิพนธ์ และร้อยกรอง ได้แก่ บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงคำประพันธ์ที่มีรูปแบบต่างกัน ก็เคยใช้ในความหมายเดียวกันกับ กวีนิพนธ์ และ ร้อยกรอง มาในยุคสมัยหนึ่ง ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี ส่วนผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว เรียกว่า กวี หรือ นักกวี บทกวี คือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน กวีอาจไม่มีหน้าที่สรุปหรือฟันธงความจริง แต่กวีอาจหมุนแปรคำและความให้เห็นความจริงใหม่ ๆ ของชีวิตหลายด้าน ทั้งเรื่องที่บางทีคนทั่วไปคิดไม่ถึง และแม้แต่ตัวกวีเองก็เพิ่งจะคิดถึง.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และกวีนิพนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Ramkhamhaeng University; ชื่อย่อ: ม.ร. - RU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา คือมีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ แต่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน อันเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย และมีชื่อเสียงในด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์อย่างมาก.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และมหาวิทยาลัยรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

มีนาคม

มีนาคม เป็นเดือนสามของปี ในทั้งปฏิทินเกรกอเรียนและปฏิทินจูเลียน เป็นหนึ่งในเจ็ดเดือนที่มี 31 วัน เดือนมีนาคมในซีกโลกเหนือมีฤดูกาลเทียบเท่ากับเดือนกันยายนในซีกโลกใต้ ในซีกโลกเหนือ วันที่ 1 มีนาคมเป็นวันเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิทางอุตุนิยมวิทยา ส่วนในซีกโลกใต้ วันเดียวกันเป็นการเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงทางอุตุนิยมวิทยา เดือนมีนาคมมีวันในสัปดาห์เริ่มต้นตรงกับเดือนพฤศจิกายนทุกปี และเดือนกุมภาพันธ์เฉพาะปีปกติสุรทิน เดือนมีนาคมสิ้นสุดวันในสัปดาห์เดียวกับเดือนมิถุนายนทุกปี ในปีอธิกสุรทิน เดือนมีนาคมเริ่มต้นในวันเดียวกับเดือนกันยายนและธันวาคมของปีก่อนหน้า ในปีปกติสุรทิน เดือนมีนาคมเริ่มต้นในวันเดียวกับเดือนมิถุนายนปีก่อนหน้า คำว่า "March" ในภาษาอังกฤษ มาจากโรมโบราณ เมื่อเดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของปี และได้ชื่อภาษาละตินว่า "มาร์ติอุส" (Martius) ตามมาร์ส หรือแอรีส เทพแห่งสงครามของกรีก ในโรม ซึ่งมีลักษณะอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน เดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของฤดูใบไม้ผลิ จุดเริ่มต้นปีตามหลักเหตุผล และการเริ่มต้นฤดูกาลศึกสงคราม เดือนมกราคมเป็นเดือนแรกของปีปฏิทินในรัชสมัยกษัตริย์นูมา ปอมปิเลียส (ประมาณ 713 ปีก่อน ค.ศ.) หรือในรัชสมัยกษัตริย์เดเซมวีร์ราว 450 ก่อน..

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และมีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

มติชน

ริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) (Matichon Public Company Limited) เป็นบริษัทแม่เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย สิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ และเป็นผู้ริเริ่มกิจการสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างไปจากสื่อมวลชนไทยในวงการ เพื่อเติมเต็มข้อมูลให้แก่สังคมข่าวสาร.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และมติชน · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลศิลปาธร

รางวัลศิลปาธร เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทย ผู้มีผลงานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง และอายุตั้งแต่ 30-50 ปี จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริม สนับสนุน และเชิดชูเกียรติศิลปินร่วมสมัยให้ก้าวไปในเส้นทางอาชีพได้อย่างมั่นคงและมีกำลังใจในการสร้างสรรค์งานอย่างอิสระ แบ่งออกเป็น 5 สาขาคือ สาขาทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ สาขาคีตศิลป์ สาขาภาพยนตร์ และสาขาศิลปะการแสดง เริ่มมอบรางวัลครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และรางวัลศิลปาธร · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลซีไรต์

ัญลักษณ์ของรางวัลซีไรต์ รางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และรางวัลซีไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครศรีธรรมราช

นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดในประเทศไทย มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ในอดีต มีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ เช่น ในคัมภีร์มหานิเทศของอินเดีย ที่เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 เรียกว่า "ตามพรลิงก์" หรืออาณาจักรตามพรลิงก์, บันทึกโบราณของเมืองจีนเรียก "เซี้ยะ-โท้ว (ถู-กวั่ว) ", "รักตะมฤติกา" (จารึกภาษาสันสกฤต) ซึ่งล้วนหมายถึง "ดินแดนที่มีดินสีแดง", ตะวันตกนิยมเรียกกันมา จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต มีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาห.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และจังหวัดนครศรีธรรมราช · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

คตินิยมนักวิชาการ

ตินิยมนักวิชาการ (technocracy) เป็นระบอบการปกครองซึ่งวิทยาศาสตร์จะมีอยู่ในการควบคุมการตัดสินใจทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและนักเทคโนโลยีผู้มีความรู้ ความชำนาญหรือทักษะจะก่อตัวเป็นองค์การปกครอง แทนนักการเมือง นักธุรกิจและนักเศรษฐศาสตร์ ในคตินิยมนักวิชาการ ผู้ตัดสินใจจะถูกเลือกโดยดูจากความรู้และทักษะที่พวกเขามีในสาขาของตน คำว่า "คตินิยมนักวิชาการ" นี้ เดิมทีใช้เรียกการใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งต่างไปจากการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีทางเศรษฐกิจ การเมืองหรือปรัชญาแบบเก่า ตามผู้เสนอมโนทัศน์นี้ บทบาทของเงินและคุณค่าทางเศรษฐกิจ ความเห็นทางการเมืองและกลไลการควบคุมซึ่งยึดมั่นในศีลธรรมจะถูกตัดทิ้งไปทั้งหมด หากเมื่อรูปแบบการควบคุมทางสังคมนี้ได้ถูกนำไปใช้ในพื้นที่แห่งทวีป ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอ บุคลากรซึ่งถูกฝึกทางเทคนิค และสินค้าอุตสาหกรรมที่ติดตั้งแล้ว เพื่อที่จะเปิดให้การผลิตและการแจกจ่ายสินค้าและบริการทางภายภาพแก่พลเมืองแห่งทวีปทั้งหมดในปริมาณที่เกินความสามารถทางกายของปัจเจกบุคคลจะบริโภคได้p.35 (p.44 of PDF), p.35 ในการจัดเตรียมเช่นนัน ความกังวลจะเป็นเรื่องความยั่งยืนภายในฐานทรัพยากร แทนที่จะเป็นการได้ประโยชน์ทางการเงิน เพื่อที่จะรับประกันให้หน้าที่ทางสังคม-อุตสาหกรรมทั้งหมดดำเนินต่อไปในอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดp.35 (p.44 of PDF), p.35 ทักษะทางเทคนิคและความเป็นผู้นำจะถูกเลือกบนพื้นฐานของความรู้และสมรรถนะทางวิชาการ มากกว่าการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย โดยผู้ไม่มีความรู้หรือทักษะเช่นนั้นซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น บางคนใช้คำว่า คตินิยมนักวิชาการ หมายถึงรูปแบบหนึ่งของคุณธรรมนิยม (meritocracy) ซึ่งเป็นระบบที่ "ผู้มีคุณวุฒิสูงสุด" และผู้ซึ่งตัดสินความสมบูรณ์ของคุณสมบัตินั้นคือคน ๆ เดียวกัน การนำไปใช้อื่นได้ถูกอธิบายว่าไม่เป็นกลุ่มผู้ควบคุมที่เป็นมนุษย์แบบคณาธิปไตย (oligarchy) แต่เป็นเหมือนการบริหารจัดการโดยวิทยาศาสตร์เฉพาะสาขา อย่างเห็นได้ชัดโดยปราศจากอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์พิเศษ ปัจจุบัน ความหมายของคำว่า คตินิยมนักวิชาการ ได้ขยายไปบ่งชี้การจัดการหรือการบริหารทุกประเภทโดยผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ ("นักวิชาการ") ในสาขาใด ๆ ไม่เพียงแต่วิทยาศาสตร์กายภาพเท่านั้น และมีการใช้อธิบายรัฐบาลที่รวมผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้ถูกเลือกตั้งขึ้นที่ระดับรัฐมนตรี.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และคตินิยมนักวิชาการ · ดูเพิ่มเติม »

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

ัญลักษณ์ประจำงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (Thai National Book Fair) เป็นงานจำหน่ายหนังสือและสื่อการศึกษา ที่มีบริษัทผู้ผลิตหนังสือ สำนักพิมพ์และร้านหนังสือ ร่วมออกร้านมากที่สุดในประเทศไทย ตามปกติจะจัดขึ้นในราวปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยาย

นวนิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมลายลักษณ์ แต่งในรูปของร้อยแก้ว มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งงงแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือนิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ (novel) ตามแบบตะวันตก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาพูดโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "นิยาย" ซึ่งกะทัดรัดกว่า โดยคำว่า "นิยาย" เป็นคำมาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า "นิเยย" (និយាយ) หมายถึง "พูด" นวนิยายนั้น เป็นเรื่องราวที่มีลักษณะสมจริงมากกว่านิทานหรือนิยายแบบเดิม บางครั้งอาศัยฉากหรือเหตุการณ์จริง หรืออิงความเป็นจริง มีบทสนทนา และบรรยายเหตุการณ์อย่างปุถุชนทั่วไป.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และนวนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

นักดนตรี

Guy Pratt นักดนตรีมืออาชีพ กำลังเล่นกีตาร์เบส นักดนตรี หมายถึง บุคคลที่เล่นเครื่องดนตรี หรือผู้ที่มีความสามารถทางด้านดนตรี ไม่ว่าจะเป็นนักประพันธ์ วาทยากร หรือนักแสดงดนตรี ก็สามารถเรียกว่านักดนตรีได้ นักดนตรีมีความสามารถเฉพาะบางแนวเพลง หรือบางคนอาจเล่นในแนวเพลงที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างทักษะต่าง ๆ ของนักดนตรี ได้แก่ การแสดง การอำนวยเพลง การร้องเพลง องค์ประกอบ การจัดการ และการเรียบเรียงเพลง.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และนักดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียน

นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี นักเขียนอื่น ๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และนักเขียน · ดูเพิ่มเติม »

เรื่องสั้น

รื่องสั้น คือ บันเทิงเรียงความร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิด เป็นต้น การดำเนินเรื่องจะมุ่งเข้าสู่ประเด็นหลักอย่างรวดเร็ว ต้นกำเนิดของเรื่องสั้นมาจากประเพณีการเล่านิทาน ซึ่งมักจะปูโครงเรื่องอย่างคร่าวๆ แล้วเข้าสู่จุดสำคัญของเรื่องอย่างรวดเร็ว ลักษณะเด่นของเรื่องสั้นคือ มักมีเหตุการณ์หลักเพียงเหตุการณ์เดียว โครงเรื่องเป็นคู่ ฉากคู่ จำนวนตัวละครมีมากหรือน้อยก็ได้ และมีระยะเวลาตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องไม่นานนัก สามารถให้อารมณ์ได้เช่นเดียวกับนวน.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และเรื่องสั้น · ดูเพิ่มเติม »

เรียงความ

รียงความ เป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการใช้ภาษาเรียบเรียงความคิดเป็นเรื่อง โดยแสดงความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และความเข้าใจ ด้วยภาษาที่ถูกต้อง สละสลวย ในความหมายที่เฉพาะทางมากขึ้น เรียงความ จะหมายถึงการเขียนที่มีรูปแบบค่อนข้างตายตัว กล่าวคือประกอบด้วย คำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป ซึ่งแตกต่างจากความเรียงที่มีรูปแบบในการเขียนที่กว้างกว่า ในความหมายนี้ เรียงความที่ดีจะต้องมี.

ใหม่!!: ศิริวร แก้วกาญจน์และเรียงความ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »