โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนารีวกีว

ดัชนี ศาสนารีวกีว

ลเจ้าฮะริมิซุในศาสนารีวกีวที่เมืองมิยะโกะจิมะ จังหวัดโอะกินะวะ ศาสนารีวกีว หรือ ชินโตแบบรีวกีว บ้างเรียก นิไรคะไนชิงโก (ニライカナイ信仰) หรือ อุตะกิชิงโก (御嶽信仰) เป็นระบบความเชื่อพื้นเมืองของชาวรีวกีวในหมู่เกาะรีวกีว แต่ละเกาะจะมีตำนาน ประเพณี หรือพิธีกรรมแตกต่างกันออกไป สารัตถะของศาสนารีวกีวคือการบูชาบรรพบุรุษ โดยความเคารพนั้นจะสัมพันธ์กันระหว่างช่วงที่มีชีวิต ช่วงที่ตาย หรือที่เป็นเทพเจ้า หรือแม้แต่การเคารพผีธรรมชาติต่าง ๆ บ้างก็เชื่อเรื่องวิญญาณปกปักรักษาและอื่น ๆ โดยจะมีการแบ่งชนชั้นระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์อันบ่งชี้ถึงขนบการนับถือถือผีแบบโบราณที่มีมาแต่เดิม ในเวลาต่อมาศาสนารีวกีวก็รับอิทธิพลจากศาสนาพื้นบ้านจีน (ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า และความเชื่อพื้นบ้าน), ศาสนาพุทธ และลัทธิชินโตของญี่ปุ่น หนึ่งในคุณลักษณะอันเก่าแก่ที่หลงเหลืออยู่คือคติโอะนะริงะมิ (おなり神) หรือคติหญิงเป็นใหญ่ โดยมีพระเจ้าที่สร้างสรรพสิ่งเป็นอิตถีเพศคืออะมะมิคีว (阿摩美久) ทำให้มีนักบวชหญิงเรียกว่าโนะโระ (ภาษาโอะกินะวะเรียก นูรุ) ซึ่งพัฒนามาจากยุตะหรือหญิงคนทรงหรือแม่หมอ.

10 ความสัมพันธ์: ชาวรีวกีวชินโตภาษาโอกินาวะลัทธิขงจื๊อลัทธิเต๋าศาสนาพุทธหมู่เกาะรีวกีวจังหวัดโอกินาวะคนทรงเทวดา

ชาวรีวกีว

รีวกีว (โอะกินะวะ: Ruuchuu minzuku) หรือ โอกินะวะ (โอะกินะวะ: Uchinaanchu) ปรากฏในเอกสารต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ลิชี่ว (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) หรือ ลิ่วขิ่ว (โคลงภาพคนต่างภาษา) เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนหมู่เกาะรีวกีว ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคีวชูกับไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งของจังหวัดโอะกินะวะและคะโงะชิมะของประเทศญี่ปุ่น ภาษาของพวกเขาจัดอยู่ในตระกูลภาษาย่อยรีวกีว หนึ่งในสองตระกูลภาษาย่อยของตระกูลภาษาญี่ปุ่น และถูกนับว่าเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น ชาวรีวกีวไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในญี่ปุ่น เนื่องจากเจ้าหน้าที่จากทางการนับว่าชาวรีวกีวเป็นกลุ่มย่อยของชาวญี่ปุ่น ทำนองเดียวกับชาวยะมะโตะและไอนุ กระนั้นถ้าหากว่าชาวรีวกีวเป็นชนกลุ่มน้อย ก็ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เพียงแค่จังหวัดโอะกินะวะก็มีชาวรีวกีวมากถึง 1.3 ล้านคนอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังมีชาวรีวกีวจำนวนไม่น้อยกว่า 600,000 คน อาศัยกระจายไปยังส่วนอื่น ทั้งภายในประเทศญี่ปุ่นเองและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยมากจะอาศัยอยู่ในรัฐฮาวาย ผลการศึกษาด้านพันธุกรรมและมานุษยวิทยาพบว่าชาวรีวกีวมีความสัมพันธ์กับชาวไอนุเป็นพิเศษ และมีบรรพบุรุษร่วมกันช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นหรือยุคโจมง (10,000-1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะผสมข้ามเผ่าพันธุ์กับชาวยะมะโตะในยุคยะโยะอิ (1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 300) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียตะวันออก (โดยเฉพาะจากจีนและคาบสมุทรเกาหลี) ชาวรีวกีวมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เช่น ความเชื่อ ศาสนา หรือแม้แต่อาหาร โดยมีการเพาะปลูกข้าวเพื่อบริโภคครั้งแรกราวศตวรรษที่ 12 ประชากรอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะอย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลาหลายศตวรรษ ราวศตวรรษที่ 14 ได้มีการรวมสามอาณาจักรเป็นรัฐเดียวคืออาณาจักรรีวกีว (ค.ศ. 1429–1879) ซึ่งโดดเด่นด้านการค้าทางทะเลและมีสถานะเป็นรัฐบรรณาการของจีนยุคราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา กระทั่ง..

ใหม่!!: ศาสนารีวกีวและชาวรีวกีว · ดูเพิ่มเติม »

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

ใหม่!!: ศาสนารีวกีวและชินโต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโอกินาวะ

ษาโอะกินะวะ (沖縄口 อุจินางุจิ) เป็นภาษากลุ่มริวกิว ที่พูดในทางใต้ของเกาะโอะกินะวะ และเกาะข้างเคียงเช่น เกาะเกะระมะ คุมิ-จิมะ โตะนะกิ อะกุนิ และเกาะเล็กๆทางตะวันออกของเกาะโอะกินะว.

ใหม่!!: ศาสนารีวกีวและภาษาโอกินาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: ศาสนารีวกีวและลัทธิขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ศาสนารีวกีวและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ศาสนารีวกีวและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะรีวกีว

หมู่เกาะรีวกีว (ルーチュー รูชู) หรือ หมู่เกาะนันเซ เป็นหมู่เกาะยาวรูปโซ่ในแปซิฟิกตะวันตก อยู่สุดขอบทางตะวันออกของทะเลจีนตะวันออก และอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคีวชูในประเทศญี่ปุ่น จากประมาณปี..

ใหม่!!: ศาสนารีวกีวและหมู่เกาะรีวกีว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดโอกินาวะ

ที่ตั้งของหมู่เกาะรีวกีว แผนที่จังหวัดโอกินาวะ จังหวัดโอกินาวะ (沖縄県 Okinawa-ken) เป็นจังหวัดใต้สุดของญี่ปุ่น พื้นที่ยาวกว่า 1,000 กิโลเมตร กินสองในสามของเกาะรีวกีวซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของคีวชูไปทางไต้หวัน เมืองเอกคือนาฮะซึ่งอยู่ภาคใต้ของเกาะโอกินาวะ แม้จังหวัดโอกินาวะจะเป็นพื้นที่เพียงร้อยละ 0.6 ของดินแดนญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ร้อยละ 75 ของทหารสหรัฐที่ประจำในญี่ปุ่นก็ตั้งอยู่ในจังหวัดนี้ ปัจจุบัน มีกองกำลังสหรัฐราว 26,000 กองตั้งอยู่ในจังหวัดโอกินาว.

ใหม่!!: ศาสนารีวกีวและจังหวัดโอกินาวะ · ดูเพิ่มเติม »

คนทรง

นทรง หรือ ร่างทรง หมายถึง คนที่ให้เจ้าหรือผีมาเข้าสิงในตัว การเข้าสิงนั้นเรียกว่า "การเข้าทรง".

ใหม่!!: ศาสนารีวกีวและคนทรง · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: ศาสนารีวกีวและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »