โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาลเจ้ายะซุกุนิ

ดัชนี ศาลเจ้ายะซุกุนิ

ลเจ้ายะซุกุนิในปัจจุบัน ในยุคแรกหรือโตเกียวโชกนชะ ศาลเจ้ายะซุกุนิ เป็นศาลเจ้าชินโตตั้งอยู่ที่ เขตชิโยดะ กรุงโตเกียว สร้างขึ้นครั้งแรกในยุคเมจิ ปี..

13 ความสัมพันธ์: ชินโตชิโยดะ (โตเกียว)ยุคเมจิรัฐบาลเอโดะราชสำนักเกียวโตสหรัฐสงครามโบะชิงสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหมู่เกาะญี่ปุ่นฮิเดะกิ โทโจจุนอิจิโร โคอิซูมิโตเกียว

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและชินโต · ดูเพิ่มเติม »

ชิโยดะ (โตเกียว)

แขวงชิโยดะ เป็น 1 ใน 23 แขวงการปกครองพิเศษของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นเขตการปกครองอันเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการปกครองของประเทศ แขวงชิโยดะมีพื้นที่ 11.64 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ของพระราชวังหลวง ราว 12% ของพื้นที่ทั้งหมด ใน..

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและชิโยดะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเมจิ

มจิ เป็นยุคสมัยของญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1868 - ค.ศ. 1912 ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าสู่ ยุคใหม่ (Modern Era) ของญี่ปุ่น ยุคเมจิเริ่มต้นหลังจากที่กลุ่มหัวก้าวหน้าในแคว้นโชชูและแคว้นซะสึมะ ผนึกกำลังกันล้มล้างระบอบโชกุนและระบบซะมุไร หลังจากล้มระบอบโชกุนได้แล้ว ก็สถาปนารัฐธรรมนูญและรัฐบาลใหม่ที่มีองค์จักรพรรดิเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ จักรพรรดิทรงย้ายเมืองหลวงจากเคียวโตะไปยังเอโดะ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว คณะรัฐบาลในสมเด็จพระจักรพรรดิได้ร่วมมือกันปฏิรูปญี่ปุ่นในทุกๆด้าน มีการทำสงครามกับจักรวรรดิรัสเซียและมีชัยเหนือรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจในขณะนั้น รัฐบาลใหม่ได้ยกเลิกระบอบศักดินาสวามิภักดิ์และมีการรวมศูนย์อำนาจไว้ในกรุงโตเกียว มีการสถาปนาสภานิติบัญญัติในสมเด็จพระจักรพรรดิขึ้นมาตามแบบอย่างของรัฐสภาอังกฤษ อันประกอบด้วยสภาขุนนาง (สภาสูง) และสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยได้ เนื่องจากอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองส่วนใหญ่อยู่ที่เหล่าขุนนางในสภาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะเก็นโรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในระบบการเมือง มีการประกาศยกเลิกการครอบครองที่ดินในระบบศักดินานำที่ดินแจกจ่ายให้ชาวไร่ชาวนาทรงสร้างระบบการคมนาคมทั้งถนน ทางรถไฟ ระบบขนส่งทางทะเล เพื่อเสริมสร้างการค้าภายในและภายนอก ปรับปรุงระบบไปรษณีย์ การเงินและธนาคาร และวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเหล็กกล้า และสนับสนุนเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน..

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและยุคเมจิ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชสำนักเกียวโต

หน้า พระราชวังหลวงเคียวโตะ ราชสำนักเคียวโตะ (Imperial Court in Kyoto) ราชสำนักที่ปกครอง ประเทศญี่ปุ่น มาตั้งแต่ ค.ศ. 794 หรือใน ยุคเฮอัง จนกระทั่งถึง ยุคเมจิ ที่ จักรพรรดิเมจิ ทรงได้ย้ายเมืองหลวงและราชสำนักไปยัง เอะโดะ หรือ โตเกียว ในปัจจุบันเมื่อปี ค.ศ. 1868 ในช่วงปลาย ยุคเฮอัง ราวปี ค.ศ. 1192 มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ จากตระกูล มินะโมะโตะ สามารถสถาปนาตนเองขึ้นเป็นโชกุนคนแรกของญี่ปุ่นพร้อมกับย้ายศูนย์กลางอำนาจจาก เฮอัง หรือ เคียวโตะ ในปัจจุบันไปยัง คะมะกุระ ทำให้ยุคสมัยนั้นเรียกกันว่า ยุคคะมะกุระ ทำให้อำนาจทั้งหมดได้ย้ายไปอยู่ในมือของโชกุนส่วนองค์จักรพรรดิจึงมีพระราชสถานะเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ของประเทศเท่านั้น จนกระทั่ง โทะกุงะวะ โยะชิโนะบุ โชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่นได้ตัดสินใจถวายคืนพระราชอำนาจแก่จักรพรรดิเมจิเมื่อปี ค.ศ. 1868 ทำให้องค์จักรพรรดิทรงกลับมามีพระราชอำนาจอีกครั้งหลังจากนั้นไม่กี่เดือนจักรพรรดิเมจิก็โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายเมืองหลวงไปยัง เอะโดะ หรือโตเกียวในปัจจุบันทำให้การปกครองที่เฮอังหรือเคียวโตะที่มีมานานถึง 1074 ปีต้องสิ้นสุดลง.

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและราชสำนักเกียวโต · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโบะชิง

งครามโบะชิง บ้างเรียก การปฏิวัติญี่ปุ่น เป็นสงครามกลางเมืองในประเทศญี่ปุ่น รบพุ่งกันตั้งแต..

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและสงครามโบะชิง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะญี่ปุ่น

มุมมองส่วนหนึ่งของหมู่เกาะญี่ปุ่นจากอวกาศ หมู่เกาะญี่ปุ่น (日本列島, นิฮงเรตโต; Japanese Archipelago) ตั้งอยู่ตะวันออกสุดของแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย ถัดจากคาบสมุทรเกาหลี และตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก เกิดจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 4 แผ่น ได้แก่ แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก ยูเรเชีย ฟิลิปปินส์ และอเมริกาเหนือ เมื่อกว่า 25 ล้านปีก่อน เป็นที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ด้วยจำนวนเกาะกว่า 7,000 เกาะ โดยมีเกาะหลัก ๆ ได้แก่ เกาะฮกไกโด เกาะฮนชู เกาะชิโกะกุ และเกาะคีวชู ซึ่งสภาพอากาศของเกาะญี่ปุ่นในตอนบน จะมีสภาพอากาศแบบป่าสนกึ่งขั้วโลก มีหิมะตกหนาทับถมกันหลายนิ้วในช่วงฤดูหนาว แต่ทว่าในตอนใต้ เช่น เกาะอิริโอะโมะเตะ มีสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าคล้ายป่าฝนเขตร้อน มีป่าโกงกาง ขณะที่ตอนกลางของเกาะฮนชูก็มีป่าแบบป่าดิบ อันเป็นผืนป่าดิบแห่งเดียวของโลกที่ตั้งอยู่ ณ เส้นรุ้งที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ 36 องศาเหนือ ในขณะที่พื้นที่ ๆ อื่น ๆ ของโลกที่ตั้งอยู่ ณ เส้นรุ้งพิกัดเดียวกันกลับไม่มี ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เกิดจากกระแสน้ำอุ่น 2 กระแสหลักรอบเกาะญี่ปุ่น คือ กระแสน้ำอุ่นกุโรชิโว และกระแสน้ำโอยาชิโว.

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและหมู่เกาะญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ฮิเดะกิ โทโจ

กิ โทโจ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2427 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2491) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของญี่ปุ่น (สมัยที่ 40) และเป็นผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนี้ เขายังรู้จักกับแฮร์มันน์ เกอริง, พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นการส่วนตัวตั้งแต่สมัยเรียนวิชาการทหารอยู่ที่เยอรมัน.

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและฮิเดะกิ โทโจ · ดูเพิ่มเติม »

จุนอิจิโร โคอิซูมิ

นอิจิโร โคอิซูมิ เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 56 (สมัยที่ 87-89) ของประเทศญี่ปุ่น จากพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ตำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544-2549 รวม 5 ปี ซึ่งมีผลงานเด่น คือ การส่งทหารไปปฏิบัติงานต่างแดนเป็นครั้งแรกหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เดินทางไปเยือนเกาหลีเหนือ และยังเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรกที่ไปเคารพศาลเจ้ายะซุกุน.

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและจุนอิจิโร โคอิซูมิ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: ศาลเจ้ายะซุกุนิและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ศาลเจ้ายะสุกุนิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »