โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมัน

ดัชนี ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมัน

"ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมัน" (On the Cult of Personality and Its Consequences; О культе личности и его последствиях) เป็นรายงานโดย นิกิตา ครุสชอฟ ที่จัดทำต่อการประชุมครั้งที่ 20 ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2499 สุนทรพจน์ของครุสชอฟวิจารณ์การปกครองของโจเซฟ สตาลิน เลขาธิการและนายกรัฐมนตรีผู้ล่วงลับอย่างแหลมคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ครุสชอฟกล่าวหาสตาลินว่าสนับสนุนการเติบโตของลัทธิบูชาบุคคลของผู้นำแม้ภายนอกแสดงว่ายังสนับสนุนอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ สุนทรพจน์นี้เป็นหลักสำคัญใน "การผ่อนคลายความตึงเครียดครุสชอฟ" (Khrushchev Thaw) โดยผิวเผิน สุนทรพจน์ดังกล่าวเป็นความพยายามดึงพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตให้เข้าใกล้ลัทธิเลนินมากขึ้น ทว่า แรงจูงใจลับของครุสชอฟ คือ สร้างความชอบธรรมและช่วยรวบการควบคุมพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลของเขา อำนาจซึ่งได้มาในการแย่งชิงทางการเมืองกับผู้ภักดีต่อสตาลิน วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ และเกออร์กี มาเลนคอฟ รายงานของครุสชอฟถูกเรียกว่า "สุนทรพจน์ลับ" เพราะมีการกล่าวในสมัยประชุมปิดของผู้แทนพรรคอมมิวนิสต์ที่ไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยห้ามแขกและสื่อมวลชน ข้อความของรายงานครุสชอฟมีการอภิปรายกว้างขวางในวงพรรคแล้วในต้นเดือนมีนาคม ซึ่งมักมีผู้ที่มิใช่สมาชิกพรรคร่วมด้วย ทว่า ข้อความภาษารัสเซียอย่างเป็นทางการนั้นมีการจัดพิมพ์อย่างเปิดเผยก็ในปี 2532 ระหว่างการรณรงค์กลัสนอสต์ของมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำโซเวียต ในเดือนเมษายน 2550 หนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน ของบริเตน รวมสุนทรพจน์นี้อยู่ในชุด "สุนทรพจน์ยิ่งใหญ่แห่งคริสต์ศตวรษที่ 20".

9 ความสัมพันธ์: กลัสนอสต์มีฮาอิล กอร์บาชอฟลัทธิคอมมิวนิสต์ลัทธิเลนินวยาเชสลาฟ โมโลตอฟนีกีตา ครุชชอฟโจเซฟ สตาลินเกออร์กี มาเลนคอฟเดอะการ์เดียน

กลัสนอสต์

กลัสนอสต์ (гла́сность, Glasnost; ท. "การเผยแพร่") เป็นนโยบายเรียกร้องให้เพิ่มความเปิดเผยและความโปร่งใสในสถาบันและกิจกรรมรัฐบาลในสหภาพโซเวียต มีฮาอิล กอร์บาชอฟริเริ่มนโยบายดังกล่าวในครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1980 มักถูกจับคู่กับเปเรสตรอยคา (Perestroika) ซึ่งเป็นอีกการปฏิรูปที่กอร์บาชอฟริเริ่มในห้วงเวลาเดียวกัน กอร์บาชอฟมักใช้คำนี้เพื่อเจาะจงนโยบายที่เขาเชื่อว่าอาจช่วยลดการฉ้อราษฎร์บังหลวงในผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลโซเวียต และบรรเทาการละเมิดอำนาจบริหารในคณะกรรมการกลาง กลัสนอสต์ยังหมายถึงสมัยที่เจาะจงในประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียตระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 เมื่อมีการตรวจพิจารณาลดลงและมีเสรีภาพในสารสนเทศเพิ่มขึ้น.

ใหม่!!: ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมันและกลัสนอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

มีฮาอิล กอร์บาชอฟ

มีฮาอิล เซียร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ (Михаи́л Серге́евич Горбачёв, Mikhail Sergeyevich Gorbachyov) เป็นอดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วย ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการยุติสงครามเย็น เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี..

ใหม่!!: ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมันและมีฮาอิล กอร์บาชอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมันและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเลนิน

ในปรัชญาลัทธิมากซ์ ลัทธิเลนิน (Leninism) เป็นทฤษฎีการเมืองส่วนสำหรับการจัดระเบียบพรรคการเมืองแนวหน้าปฏิวัติอย่างเป็นประชาธิปไตย และการบรรลุลัทธิเผด็จการโดยชนกรรมาชีพซึ่งเป็นประชาธิปไตยทางตรง เช่นเดียวกับสังคมนิยม เลนินเป็นผู้พัฒนา และเป็นชื่อของลัทธิเลนิน ประกอบด้วยทฤษฎีการเมืองและเศรษฐกิจสังคมนิยม พัฒนามาจากลัทธิมากซ์ และการตีความทฤษฎีลัทธิมากซ์ของเลนิน เพื่อการประยุกต์ปฏิบัติเข้ากับสภาพทางสังคมและการเมืองของจักรวรรดิรัสเซียซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในเดือนกุมภาพันธ์ 1917 เป็นเวลาห้าปี ลัทธิเลนินเป็นการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจและการเมืองลัทธิมากซ์ของรัสเซีย ผู้นำไปปฏิบัติ คือ พรรคบอลเชวิก ในการนำไปปฏิบัติ พรรคแนวหน้าแบบลัทธิเลนินให้ความสำนึกทางการเมือง (การศึกษาและการจัดระเบียบ) แก่ชนชั้นกรรมกร และผู้นำปฏิบัติที่จำเป็นต่อการโค่นทุนนิยมในจักรวรดิรัสเซีย หลังการปฏิวัติตุลาคม ค.ศ. 1917 ลัทธิเลนินเป็นรุ่นของลัทธิมากซ์ที่เด่นในรัสเซีย และต่อมาเป็นอุดมการณ์ของรัฐอย่างเป็นทางการของประชาธิปไตยแบบโซเวียต (โดยสภากรรมกร) ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ก่อนควบเข้ากันเป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1922 ยิ่งไปกว่านั้น ในยุคหลังเลนิน โจเซฟ สตาลินรวมลัทธิเลนินเข้ากับเศรษฐศาสตร์แบบมากซ์ และ พัฒนาลัทธิมากซ์–เลนิน ซึ่งต่อมาเป็นอุดมการณ์รัฐคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมันและลัทธิเลนิน · ดูเพิ่มเติม »

วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ

วยาเชสลาฟ มีฮาอิลโลวิช โมโลตอฟ (Вячесла́в Миха́йлович Мо́лотов; 9 มีนาคม 1890 – 8 พฤษจิกายน 1986) เป็นนักการเมืองและนักการทูตโซเวียตในสมัยของโจเซฟ สตาลิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงสงครามโลกครั่งที่สองและในช่วงปี 1957 ก็ถูกไล่ออกจากประธานคณะกรรมาธิการกลางด้วยนีกีตา ครุชชอฟ และไม่เล่นการเมืองอีกเลยจนเขาเสียชีวิตลง.

ใหม่!!: ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมันและวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ · ดูเพิ่มเติม »

นีกีตา ครุชชอฟ

นีกีตา เซียร์เกเยวิช ครุชชอฟ (Никита Сергеевич Хрущёв; Nikita Sergeyevich Khrushchev 17 เมษายน ค.ศ. 1894 - 11 กันยายน ค.ศ. 1971) เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากโจเซฟ สตาลิน ซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1953 ประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากนิโคไล บัลกานิน.

ใหม่!!: ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมันและนีกีตา ครุชชอฟ · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

ใหม่!!: ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมันและโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

เกออร์กี มาเลนคอฟ

กออร์กี มักซีมีลีอะโนวิช มาเลนคอฟ (Гео́ргий Максимилиа́нович Маленко́в; Georgy Maximilianovich Malenkov; 8 มกราคม พ.ศ. 2445 - 14 มกราคม พ.ศ. 2531) เป็นนักการเมืองโซเวียตและผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ ครอบครัวของเขาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวลาดิมีร์ เลนินทำให้ช่วยส่งเสริมเขาในการเข้าพรรคและในปี..

ใหม่!!: ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมันและเกออร์กี มาเลนคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะการ์เดียน

อะการ์เดียน (The Guardian) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันฝ่ายซ้ายกึ่งสายกลางแห่งชาติอังกฤษ ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมันและเดอะการ์เดียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

On the Cult of Personality and Its Consequences

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »