โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิทยาศาสตร์สุขภาพ

ดัชนี วิทยาศาสตร์สุขภาพ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ วิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การศึกษา วิจัย และความรู้ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ส่วนที่ 2 คือ การนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสุขภาพ, รักษาโรค และทำความเข้าใจการทำงานของร่างกายมนุษย์และสัตว์ งานวิจัยด้านนี้วางอยู่บนฐานของชีววิทยา, เคมี และฟิสิกส์ รวมไปถึงความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เช่น สังคมวิทยาการแพท.

30 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาชี่กงฟิสิกส์พยาบาลศาสตร์กายภาพบำบัดการแพทย์แผนไทยกิจกรรมบำบัดมนุษย์วารีบำบัดวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาศาสตร์ประยุกต์สมาธิสมุนไพรสังคมศาสตร์สัตว์สุขภาพสีบำบัดจิตวิทยาคลินิกธรรมชาติบำบัดทัศนมาตรศาสตร์ทันตแพทยศาสตร์ดนตรีบำบัดนักเทคนิคการแพทย์แพทยศาสตร์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะโรคเภสัชศาสตร์เทคนิคการสัตวแพทย์เคมี

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชี่กง

ี่กง (จีนตัวเต็ม: 氣功; จีนตัวย่อ: 气功; พินอิน: qìgōng) หมายถึงวิธีปฏิบัติเพื่อเร่ง หมุนเวียน และทำงานกับ "ชี่" หรือลมปราณภายในร่างกาย การปฏิบัติชี่กงนั้นเพื่อประโยชน์ทางรักษาสุขภาพ เพื่อฝึกจิตใจ และเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้จีน.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและชี่กง · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พยาบาลศาสตร์

ลโดยทั่วไปจะมีสีขาว สำหรับชุดพยาบาลในบางวัฒนธรรมอาจใช้สีอื่น การพยาบาล หรือ พยาบาลศาสตร์ (nursing) ตามความหมายที่ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ให้ไว้ หมายถึง กิจกรรมการช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อให้อยู่ในสภาวะที่จะต่อสู้การรุกรานของโรคได้อย่างดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกับความหมายของการพยาบาลที่เสนอโดย เวอร์จิเนีย เฮนเดอร์สัน ได้แก่ การพยาบาลคือการช่วยเหลือบุคคล (ทั้งยามปกติและยามป่วยไข้) ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ หรือส่งเสริมการหายจากโรค (หรือแม้กระทั่งการช่วยให้บุคคลได้ไปสู่ความตายอย่างสงบ) ซึ่งบุคคลอาจจะปฏิบัติได้เองในสภาวะที่มีกำลังกาย กำลังใจ และความรู้เพียงพอ และเป็นการกระทำที่จะช่วยให้บุคคลกลับเข้าสู่สภาวะที่ช่วยตนเองได้โดยไม่ต้องรับการช่วยเหลือนั้น โดยเร็วที.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและพยาบาลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กายภาพบำบัด

กายภาพบำบัด (physical therapy หรือ physiotherapy) เป็นวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ ที่เกิดขึ้นจากสภาพและภาวะของโรค ที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของชีวิต กายภาพบำบัด จะกระทำโดย นักกายกายภาพบำบัด (Physical therapist หรือ Physiotherapist หรือย่อว่า PT) หรือผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด (Physical Therapy Assistant) ภายใต้การดูแลและแนวทางของนักกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้การรักษาทางกายภาพบำบัดบางอย่างโดยผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ เช่น ไคโรแพรคเตอร์, แพทย์ทางด้านการจัดกระดูก และโปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัด ยังเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการสาธารณสุขอื่นๆอีกด้วย นักกายภาพบำบัด จะใช้ประวัติทางการรักษา และข้อมูลจากการตรวจร่างกาย เพื่อประกอบการให้การบำบัด ถ้าหากว่าจำเป็น นักกายภาพบำบัดอาจจะใช้ผลจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และการศึกษาภาพถ่ายทางรังสี ประกอบการบำบัดรักษาด้วย เป็นต้น นักกายภาพบำบัด ปฏิบัติงานในหลายลักษณะงาน เช่น ในส่วนของผู้ป่วยนอก คลินิค หรือสำนักงาน, แผนกผู้ป่วยใน เกี่ยวกับเวชกรรมฟื้นฟู, ผู้ป่วยที่ทำการฟื้นฟูอยู่บ้าน, วงการการศึกษา หรือศูนย์วิจัย, โรงเรียน, สถานพักฟื้น,โรงงานอุตสาหกรรม,ศูนย์ฟิตเนส และ สถานการฝึกสอนนักกีฬา แพทย์อย่างเช่น ฮิปโปกราเตส และ เฮกเตอร์ เป็นผู้ที่ซึ่งเชื่อว่า เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ริเริ่มการรักษาทางกายภาพบำบัดในสมัยโบราณ ได้นำการรักษาโดยการนวดและการทำธาราบำบัด มาใช้รักษาผู้ป่วย ตั้งแต่ 460 ปีก่อนคริสตกาล หลักฐานในสมัยแรกสุดที่ถูกบันทึกไว้เกี่ยวกับกายภาพบำบัดจัดว่า กายภาพบำบัด คือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนไปในปี 1894 เมื่อพยาบาลสี่คนในอังกฤษ รวมตัวกันเพื่อจัดตั้ง ชมรมผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ประเทศอื่นๆ ก็ได้ดำเนินการเช่นกันและเริ่มมีการทำหลักสูตรการสอนที่เป็นระบบ เช่นเมื่อปี 1913 ได้มีโรงเรียนกายภาพบำบัด ที่มหาวิทยาลัยโอทาโก ในนิวซีแลนด์, และในสหรัฐอเมริกา ในปี 1914 ที่ Reed College ในพอร์ทแลนด์ รัฐ ออริกอน งานวิจัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบำบัด งานวิจัยทางกายภาพบำบัดฉบับแรก ถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ เดือนมีนาคม ปี 1921 ใน The PT Review ในปีเดียวกันนั้น แมรี่ แมคมิลลาน ได้ก่อตั้ง สมาคมกายภาพบำบัด (ปัจจุบันคือ สมาคมกายภาพบำบัดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ APTA) ในปี 1924 มูลนิธิ Georgia Warm Spring ได้สนับสนุนองค์กรนี้ โดยกล่าวว่า กายภาพบำบัดคือการรักษาสำหรับโรคโปลิโอ การรักษา ในช่วงทศวรรษที่ 1940 มีหลักที่ประกอบไปด้วย การออกกำลัง การนวด และการดึง ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1950 วิธีการใช้มือกดหรือทำการเคลื่อนไหวโดยตรง (Manipulation) ลงบนกระดูกสันหลัง และข้อต่อของกระดูกระยางค์ ได้ถูกนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ในช่วง 10 ปีหลังจากนั้น นักกายภาพบำบัด ได้เริ่มมีบทบาทในโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยนอก ในส่วนของคลินิคผู้ป่วยทางออโธปิดิกส์, โรงเรียนรัฐบาล, วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย, การดูแลผู้สูงวัย, ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู, โรงพยาบาล, และศูนย์การแพทย์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับกายภาพบำบัดในสหรัฐอเมริกา เริ่มขึ้นในปี 1974 ในสาขาของ ออร์โธปิดิกส์ หน่วยงานใน APTA ก็ได้รวมตัวเพื่อนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ออร์โธปิดิกส์ ในปีเดียวกัน ได้เกิด สหพันธ์ออร์โธปิดิกส์หัตถการนานาชาติ (the International Federation of Orthopedic Manipulative Therapy) ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับ หัตถการขั้นสูงนับตั้งแต่นั้นมา ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เกิดการตื่นตัวทางทางด้านเทคโนโลยีและ คอมพิวเตอร์ ทำให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆมากขึ้นสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จากผลของความก้าวหน้านี้ ก่อให้เกิดเครื่องมือการรักษาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกำเนิดคลื่นเหนือเสียง หรือ Ultrasound, เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า, เครื่องผลักประจุไฟฟ้า iontophoresis, และล่าสุดคือ การรักษาด้วยเลเซอร์เย็น ซึ่งผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2002 ปัจจุบันในประเทศไทย นักกายภาพบำบัดสามารถใช้คำนำหน้านามว่า ก. นำหน้าชื่อสกุลได้.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและกายภาพบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

การแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นการดูแลสุขภาพทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายและกายวิภาคศาสตร์ (anatomy) หลักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาอธิบาย ตามหลักวิชาการหลักเวชปฎิบัติ จากหลักฐานสมัยอยุธยาพบว่า การแพทย์แผนไทยได้รับจากอายุรเวทอินเดียเป็นสำคัญ โดยกล่าวว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์ประจำตัวของพระพุทธเจ้า) เป็นผู้แต่งคัมภีร์แพทย์ ครั้นพระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาสู่ไทย พระสงฆ์ผู้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้นำความรู้ในการรักษาโรคเข้ามาใช้กับชาวบ้านด้วย จึงเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการสะสมประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมองว่าจิตใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีการทำงานที่สัมพันธ์และเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงจักรวาล การแก้ปัญหาจึงใช้วิธีแบบองค์รวม (holistic) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการแพทย์อย่างเดียวล้วน ๆ แต่เป็นเรื่องของปรัชญาความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินชีวิตตามแบบวิถีชีวิตคนไท.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและการแพทย์แผนไทย · ดูเพิ่มเติม »

กิจกรรมบำบัด

กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) เป็นวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีโดยอาศัยกิจกรรมเป็นสื่อ เป้าหมายเบื้องต้นของกิจกรรมบำบัด คือ การส่งเสริมให้บุคคลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ผู้พิการทางกาย เด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการหรือการเรียนรู้ ผู้ป่วยจิตเวช ผู้สูงอายุ ฯลฯ สามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มความสามารถ ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะต้องอาศัยความรู้หลายๆด้าน เพื่อช่วยลดข้อจำกัดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมของบุคคลเหล่านั้น อีกทั้งยังอาจต้องช่วยปรับ/ให้คำแนะนำในการปรับสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มศักยภาพ ผู้ประกอบวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ต้องสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขากิจกรรมบำบัดก่อน จึงจะสามารถปฏิบัติงานได้.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและกิจกรรมบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วารีบำบัด

วารีบำบัด (Hydrotherapy) เป็นการใช้น้ำในการรักษาโรค บรรเทาอาการปวดทำให้ผ่อนคลายและรักษาสุขภาพทั่วไป การรักษาอาจใช้น้ำร้อน น้ำเย็น น้ำแข็ง หรือไอน้ำ โดยการแช่ในอ่างน้ำเย็น อ่างน้ำร้อน อ่างนั่ง โดยอ่างนั่งให้มีความสูงระดับเอว อ่างโคลน อบไอน้ำ ฝักบัวชนิดรูน้ำเล็ก นวดเกลือ ฉีดน้ำความดันสูง ประคบความเย็นหรือร้อน ล้างช่องคลอด และล้างลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นการล้างผนังด้านในของลำไส้ใหญ่ วารีบำบัดอาจครอบคลุมไปถึงการดื่มน้ำที่มีคุณสมบัติพิเศษ อย่างเช่น น้ำแร่ เนื่องจากน้ำมีอยู่เกือบทุกที่ทุกแห่ง สามารถหาและใช้ได้ง่าย จึงถูกนำมาใช้เพื่อดูแลสุขภาพและรักษาโรคไม่ว่าจะเป็นในวัฒนธรรมใด อย่างเช่น ในช่วงสมัยโรมันที่มีอ่างอาบน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ในโรงยิม เพื่อสร้างสังคมและสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยการออกกำลังกายสลับเป็นการผ่อนคลายไปในตัว และในประเทศฟินแลนด์จะนิยมการอบเซาน่า ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ทำกันมาเป็นเวลา 2,000 ปี ซึ่งผู้อพยพย้ายถิ่นนำมาสู่อเมริกาเมื่อหลายปีก่อนก็ยังเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในระยะหลังวารีบำบัดได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งข้อควรระวังในการทำวารีบำบัด ไม่เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์และผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจเรื้อรัง และถ้าใช้น้ำแข็งในการประคบ ควรห่อด้วยผ้าขนหนูหรือผ้าอย่างอื่นก่อน เพื่อไม่ประคบลงบนผิวโดยตรง เครื่องมือช่วยผู้ทุพพลภาพ หรือผู้ที่มีน้ำหนักมากลงอ่างอาบน้ำ เพื่อการบำบั.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและวารีบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์สุขภาพ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ วิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การศึกษา วิจัย และความรู้ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ส่วนที่ 2 คือ การนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสุขภาพ, รักษาโรค และทำความเข้าใจการทำงานของร่างกายมนุษย์และสัตว์ งานวิจัยด้านนี้วางอยู่บนฐานของชีววิทยา, เคมี และฟิสิกส์ รวมไปถึงความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เช่น สังคมวิทยาการแพท.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์ประยุกต์

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (อังกฤษ: applied science) คือสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่นำความรู้จากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติไปใช้กับปัญหาในทางปฏิบัติ สาขาวิชาต่างของวิศวกรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์มีความสำคัญสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และในด้านอุตสาหกรรมเรียกวิทยาศาสตร์ประยุกต์ว่า การวิจัยและพัฒนา (research & development) มีนักวิทยาศาสตร์ดังนี้ 1.ทอมัส อัลวา เอดิสัน 2.ไมเคิล ฟาราเดย์ 3.หลุยส์ ปาสเตอร์ 4.พี่น้องตระกูลไรต์ 5.กาลิเลโอ กาลิเลอี.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมาธิ

มาธิ (สันสกฤต: समाधि) คือการฝึกฝนทางจิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงาน การทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้ การมีจิตใจที่เข้มแข็ง รู้จักไตร่ตรองความคิดให้ถูกต้อง รูปแบบการฝึกสมาธินั้นมากมายและมีความหลากหลาย คนทั่วไปอาจจะเข้าใจคำว่า "สมาธิ" ในบริบทที่แตกต่างกัน การทำสมาธินั้นมีมาตั้งแต่โบราณและ การฝึกฝนสืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นองค์ประกอบของประเพณีทางศาสนา ในประเพณีจิตวิญญาณตะวันออก เช่น ศาสนาฮินดู และ พุทธศาสนา แม้ในประเทศแถบตะวันตกบางแห่งก็เช่นกัน ในปี 2007 การศึกษาของรัฐบาลสหรัฐพบว่าเกือบ 9.4% ของผู้ใหญ่ (มากกว่า 20 ล้านคน) มีการฝึกสมาธิภายใน 12 เดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก 7.6% (มากกว่า 15 ล้านคน) ในปี 2002 ตั้งแต่ปี 1960, การทำสมาธิได้รับการเพิ่มจุดเน้นของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การทำสมาธิมีปรากฏในหลายศาสนา ซึ่งรวมถึง พุทธศาสนา ฮินดู และเต๋า และยังคงรวมถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เช่น.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและสมาธิ · ดูเพิ่มเติม »

สมุนไพร

ต้นหอม สมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหาร สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและสมุนไพร · ดูเพิ่มเติม »

สังคมศาสตร์

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (social science) คือ สาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2529: 129) ทรงกล่าวถึงความหมายของสังคมศาสตร์และขอบเขตของการศึกษาวิชานี้ไว้ว่า สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตามความเป็นจริง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและสังคมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สุขภาพ

หมายถึงระดับของประสิทธิภาพเชิงการทำงานหรือเชิงเมตาบอลิกของสิ่งมีชีวิตทั่วๆไป องค์การอนามัยโลกให้คำนิยาม "สุขภาพ" ไว้อย่างกว้างๆในธรรมนูญปี..

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและสุขภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สีบำบัด

Edwin Dwight Babbitt ผู้เริ่มคัดค้านสีบำบัดคนแรก ๆ สีบำบัด (chromotherapy, color therapy, colorology, cromatherapy) เป็นการแพทย์ทางเลือกที่ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม นักสีบำบัดอ้างว่าสามารถใช้แสงในรูปแบบของสีเพื่อสร้างสมดุล "พลังงาน" ซึ่งอาจขาดหายไปในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางอารมณ์ ทางจิตใจ หรือทางจิตภาพ สีบำบัดแตกต่างจากแสงบำบัดชนิดอื่น เช่น การบำบัดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด และการบำบัดเลือดด้วยการฉายรังสี ซึ่งเป็นการรักษาทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์สำหรับรักษาอาการต่าง ๆ และจากชีววิทยาเชิงแสง (photobiology) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของแสงต่อสิ่งมีชีวิต Sébastien Point นักฟิสิกส์ด้านแสงผู้สงสัยเกี่ยวกับการบำบัดด้วยสีชี้ว่าโคมไฟแอลอีดีซึ่งถูกใช้ในสีบำบัดอาจมีความเสี่ยงจะสร้างความเสียหายแก่จอประสาทต.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและสีบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาคลินิก

ตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) คือ สาขาหนึ่งของวิชาจิตวิทยา (Psychology) ที่มีองค์ประกอบของข้อมูลวิชาความรู้ที่หลากหลายทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (Arts and Science) นอกเหนือไปจากวิชาจิตวิทยาในแขนงต่างๆ (จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย จิตวิทยาบุคลิกภาพ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาแรงจูงใจ จิตวิทยาการรับรู้ ฯลฯ) ที่จำเป็นต่อการเข้าใจบุคคลแล้ว วิชาจิตวิทยาคลินิกยังต้องการองค์ความรู้อื่นที่สำคัญ อาทิ องค์ความรู้ด้านจิตเวช(Psychiatry) จิตวิเคราะห์(Psychoanalysis) ประสาทวิทยา(Neurology) ประสาทจิตวิทยา(Neuropsychology) สารเสพติดและการติดยา นิติจิตเวช (Forensic Psychiatry) จิตเวชเด็กและวัยรุ่น การทำจิตบำบัดและการให้การปรึกษา(Psychotherapy and Counseling) พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูดูแลทางด้านจิตใจ และ การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือทางจิตวิทยาคลินิก เป็นต้น ผู้รับบริการด้านจิตวิทยาคลินิก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้ป่วยจิตเวชหรือผู้มีอาการทางจิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง ผู้ป่วยโรคทางด้านร่างกายอื่นๆที่มีปัญหาทางจิตใจอารมณ์หรือพฤติกรรมร่วมด้วย นอกจากนี้ บุคคลทั่วไปที่มีประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้เกิดความเครียด ความเศร้า ความกลัว หรือความรู้สึกไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ก็สามารถรับบริการจิตวิทยาคลินิกได้เช่นกัน หรือแม้แต่ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาครอบครัว คู่สมรส หรือปัญหาด้านสัมพันธภาพต่าง.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและจิตวิทยาคลินิก · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมชาติบำบัด

รรมชาติบำบัด (Naturopathy หรือ naturopathic medicine หรือ natural medicine) คือการดูแลสุขภาพด้วยวิธีทางธรรมชาติ ในหลายแบบไม่ว่า ดีท็อกซ์ อโรมาเธอราปี โยคะ สมุนไพร สปา การนวด การฝังเข็ม ชี่กง สมาธิ หรือการทานอาหารตามแนวทางธรรมชาติ ธรรมชาติบำบัดเป็นวิธีต่างๆ ของการแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) ที่เน้นการบำบัดรักษาโดยวิธีที่เป็นธรรมชาติและโดยความเชื่อที่ว่าร่างกายมีความสามารถในการบำบัดรักษาตนเอง ปรัชญาของธรรมชาติบำบัดนิยมใช้การรักษาโดยวิธี Holistic health และการลดการใช้ศัลยกรรมและยาในการรักษา ธรรมชาติบำบัดใช้วิธีการรักษาหลายวิธีที่เป็นที่ยอมรับในระดับต่างๆ ในวงการแพทย์ที่รวมทั้งการกินอาหาร (diet), การดำรงชีวิต และ การฝังเข็มที่อาจจะช่วยลดความเจ็บปวดได้ในบางกรณี.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและธรรมชาติบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

ทัศนมาตรศาสตร์

ทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) เป็นหนึ่งในวิชาชีพการประกอบโรคศิลปะที่เกี่ยวข้องกับตาและโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสายตา ระบบการเห็น และการประมวลผลของระบบการเห็นในมนุษย์ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometrist) ได้รับการฝึกฝนเฉพาะทางเพื่อสั่งจ่ายและประกอบเลนส์ชนิดต่างๆเพื่อปรับปรุงสภาพการเห็น ในบางประเทศ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรยังได้รับการฝึกเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคของตาหลายอย่าง อีกทั้งยังทำหน้าที่ของ "แพทย์ปฐมภูมิ" หรือ Primary care physician ซึ่งเป็นรูปแบบของการบูรณาการในการปฏิบัติทางการแพทย์ทั่วไประดับปฐมภูมิเข้ากับหน้าที่เฉพาะทางด้านทัศนมาตรศาสตร.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและทัศนมาตรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทันตแพทยศาสตร์

ทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์กำลังผ่าตัดช่องปากผู้ป่วย ทันตแพทยศาสตร์ (dentistry) เป็นสาขาวิชาที่ประเมิน วินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรค ความผิดปกติ หรือภาวะในช่องปาก บริเวณใบหน้าขากรรไกร และ/หรือบริเวณใกล้เคียงและโครงสร้างอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ บุคคลที่ประกอบอาชีพที่กระทำหัตถการดังกล่าวจะเรียกว่า ทันตแพทย์ (dentist) ทันตแพทย์เป็นวิชาชีพทางสาธารณสุขที่ผ่านการศึกษาและฝึกฝนจนสำเร็จการศึกษา ซึ่งในประเทศไทยจะได้รับปริญญาบัตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต (ท.บ.) หรือเทียบเท่ากับ Doctor of Dental Surgery (DDS) สำหรับในต่างประเทศยังมีวุฒิการศึกษาอื่นๆ ที่เทียบเท่า เช่น Doctor of Dental Medicine (DMD), Bachelor of Dentistry (BDent), Bachelor of Dental Science (BDSc), หรือ Bachelor of Dental Surgery/Chirurgiae (BDS หรือ BChD) ในประเทศไทยนอกจากจะต้องผ่านการศึกษาในคณะทันตแพทยศาสตร์เป็นเวลา 6 ปีแล้วจะต้องได้รับอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งออกโดยทันตแพท.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและทันตแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีบำบัด

นตรีบำบัดหรือดุริยางคบำบัด คือ การวางแผนในการใช้กิจกรรมทางดนตรีควบคุม ในกลุ่มของคนทุกวัยไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก จนถึงวัยสูงอายุ เพื่อให้เกิดผลบรรลุในการรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกิดมาจากความบกพร่องต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ ทางร่างกาย และสติปัญญ.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและดนตรีบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

นักเทคนิคการแพทย์

ทคนิคการแพทย์ (Medical technologist หรือ Medical laboratory technologist หรือ Medical Laboratory Scientist) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานด้านการตรวจทางเทคนิคการแพทย์ ภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หรือ ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร หรือ ณ ตำแหน่งดูแลและให้บริการทางการแพทย์ Point of care ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพท..

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและนักเทคนิคการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นใบอนุญาตให้สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ตามสาขาที่เรียนมา โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องมีคุณสมบัติตามที่องค์กรออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำหนดไว้ ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้ ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ · ดูเพิ่มเติม »

ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ

ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ เป็นใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ และการผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ที่มีการตั้งสภาวิชาชีพเพื่อควบคุมดูแลในแต่ละวิชาชีพแล้ว ซึ่งใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะออกโดยคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ กองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข สำหรับผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ แต่กระทำการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าตนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในปัจจุบัน มีวิชาชีพที่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ จากกองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและโรค · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชศาสตร์

ร้านยาแผนปัจจุบันในประเทศนอร์เวย์ เภสัชศาสตร์ ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค โดยศึกษาตั้งแต่วัตถุดิบที่จะนำมาผลิตยา การปรุงยา การเก็บรักษา ตลอดจนกระบวนการกระจายยา โดยศึกษาตั้งแต่แหล่งของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์ การวิจัยและการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารเสพติด สารพิษ และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่างๆ เภสัชศาสตร์กำเนิดขึ้นควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ในการบำบัดรักษาคนป่วยในสมัยโบราณได้นำพืช สัตว์ และแร่ธาตุในการบำบัดรักษา โดยศึกษาวิธีการจากสิ่งมีชีวิตรอบตัว จนได้มีการจดบันทึกสั่งสมองค์ความรู้สู่การพัฒนาเภสัชตำรับฉบับแรกของโลกโดยชาวสุเมเรียน และได้เริ่มมีการศึกษาฤทธิ์ของยาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในสมัยของฮิปโปเครตีส การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์ในสมัยโบราณเป็นการศึกษาในวงจำกัดของชนชั้นสูงในสังคมอาหรับและการสืบทอดตำราโดยบาทหลวงเท่านั้น จนกระทั่งสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม และการฝึกหัดทางเภสัชศาสตร์ทำให้มีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น เภสัชศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างยิ่ง การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์เน้นหลักในวิชาการด้านเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีการแบ่งสาขาวิชาทางเภสัชศาสตร์จำแนกย่อยอีกหลายสาขา โดยแบ่งเป็นด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ประกอบด้วยสาขาเภสัชวิทยา เภสัชเวท เภสัชเคมี เภสัชวิเคราะห์และเภสัชภัณฑ์ จวบจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น การผลิตยาจึงได้ประยุกต์สู่ด้านเภสัชอุตสาหกรรมด้วย ด้านเภสัชบริบาลศาสตร์ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการบริบาลผู้ป่วยและดูแลรักษาควบคุมการใช้ ตลอดจนติดตามผลการรักษาจากการใช้ยา ประกอบด้วยสาขาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล และด้านเภสัชสาธารณสุข เภสัชศาสตร์สังคมและบริหารเภสัชกิจที่ดูแลการใช้ยาในระดับประชากรและการบริหารจัดการเรื่อง.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและเภสัชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทคนิคการสัตวแพทย์

นักเทคนิคการสัตวแพทย์ หรือ นักเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ คือ บุคคลที่จบการศึกษา สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ (Veterinary Technology) ซึ่งทำหน้าที่เชิงบูรณาการในกลุ่มการดูแลสุขภาพสัตว์ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการดูแลและจับบังคับสัตว์ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการชีวิตทั้งปกติและผิดปกติของสัตว์และสามารถปฏิบัติหน้าที่การจัดการดูแลสัตว์ การตรวจชันสูตรทางปฏิบัติการและสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นพยาบาลสัตว์ได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล (Supervision) ของสัตวแพทย์ผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น 1 เท่านั้น โดยสามารถเป็นผู้สนับสนุนในงานสัตวแพทย์ในหลายประการ แต่ไม่สามารถบำบัดรักษาโรค วินิจฉัยโรค จ่ายยา ผ่าตัด ฉีดยา หรือการกระทำอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดห้ามได้ โดยปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะสำหรับอาชีพเทคนิคการสัตวแพทย์ (การปฏิบัติหน้าที่ด้านพยาบาลสัตว์ หรือการสนับสนุนช่วยเหลือสัตวแพทย์ด้านบำบัดรักษา นักเทคนิคการแพทย์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เพียงลำพัง ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสัตวแพทย์ผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น 1 เท่านั้น ยกเว้นการปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เช่น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ด้านสัตว์ทดลอง ฯลฯ นักเทคนิคการสัตวแพทย์สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ และ/หรือ ตามภาระงาน - Job description ทั้งนี้ในอเมริกาเหนือ ผู้จบการศึกษาทุกระดับ ต้องขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตทำงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ และ/หรือรัฐ นอกจากนั้นการทำงานเป็นคณะ - teamwork มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อระบบบริการสุขภาพสัตว์) การแบ่งประเภทของสาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ ตามระบบการศึกษาของอเมริกาเหนือ (North America) แบ่งออกตามระดับการศึกษาเป็น 3 ระดับ ตามคุณวุฒิ ดังนี้ 1.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคนิคการสัตวแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมี

มี (chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: วิทยาศาสตร์สุขภาพและเคมี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Health SciencesHealth scienceวิทยาศาสตร์การแพทย์ชีวการแพทย์เวชชีวศาสตร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »